ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 21:34
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คาร์ล มาร์กซ์ กับ เฮนรี จอร์จ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2
คาร์ล มาร์กซ์ กับ เฮนรี จอร์จ  (อ่าน 5372 ครั้ง)
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« เมื่อ: 18-11-2006, 10:44 »

คาร์ล มาร์กซ์ กับ เฮนรี จอร์จ

มาร์กซ์เกิด ค.ศ.1818 ตาย 1883  จอร์จเกิด ค.ศ.1839 ตาย 1897
ปัญหาที่ทั้งมาร์กซ์และจอร์จเห็นคือ สมัยอุตสาหกรรมปฏิวัติ คนงานกลับยากจน ไม่ได้มีชีวิตดีขึ้นตามที่คาดหวังกัน
มาร์กซ์เห็นว่านายทุนขูดรีด เหลือให้แรงงานเพียงที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตต่อไป วิธีแก้คือให้ทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม จากแต่ละคนตามความสามารถ แก่แต่ละคนตามความจำเป็น
จอร์จเห็นว่าเจ้าของที่ดินเป็นผู้ได้ประโยชน์ไปตามกฎการแบ่งผลตอบแทน วิธีแก้คือให้ที่ดินเป็นของส่วนรวมโดยเก็บภาษีมูลค่าที่ดินแทนภาษีจากการลงแรงลงทุนผลิตและค้า

ข้อความข้างล่างสองย่อหน้า ได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Land_value_tax ครับ

คำวิจารณ์ของมาร์กซ์เรื่องภาษีที่ดิน (ในฐานะที่นอกไปจากการเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้ในระยะเปลี่ยนแปลงสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์) นับว่ามีอิทธิพลมากอยู่ มาร์กซ์แย้งว่า “ทั้งหมดเป็น . . . เพียงความพยายามตกแต่งแสดงร่วมกับลัทธิสังคมนิยมเพื่อรักษาฐานะการมีอำนาจครอบงำของฝ่ายนายทุนไว้และเพื่อก่อตั้งมันขึ้นใหม่ให้กว้างขวางกว่าปัจจุบัน” มาร์กซ์ยังคัดค้านการที่ลัทธิภาษีมูลค่าที่ดินเน้นให้เห็นความสำคัญของมูลค่าที่ดินด้วย โดยโต้แย้งว่า “โดยทฤษฎี ผู้นี้ [Henry George] เป็นคนล้าหลังอย่างสิ้นเชิง! เขาไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับสภาพของมูลค่าส่วนเกิน จึงเฉไฉออกไปในเรื่องการเก็งกำไรที่ดินซึ่งเป็นการเอาอย่างอังกฤษ แต่ปัจจุบันได้ล้าสมัยไปแล้วแม้ในหมู่คนอังกฤษ เรื่องส่วนต่างๆ ของมูลค่าส่วนเกินซึ่งถือว่ามีอยู่จริงโดยอิสระ และ เรื่องความสัมพันธ์ของกำไร ค่าเช่า และ ดอกเบี้ย ฯลฯ คำสอนหลักของเขา [Henry George] คือทุกสิ่งจะเรียบร้อยถ้ามีการจ่ายค่าเช่าที่ดินให้แก่รัฐ” (จาก http://www.marxists.org/archive/marx/works/1881/letters/81_06_20.htm )

อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ.1875 [ก่อนมีจดหมายฉบับข้างบน] มาร์กซ์ก็ยอมรับอานุภาพของที่ดิน เขาเขียนในจดหมายอีกฉบับหนึ่งว่า “ในสังคมปัจจุบันเครื่องมือของแรงงานถูกผูกขาดโดยเจ้าของที่ดิน (การผูกขาดกรรมสิทธิ์ที่ดินถึงกับเป็นมูลฐานของการผูกขาดทุน) และนายทุน . . . นายทุนปกติมิใช่เจ้าของที่ดิน แม้แต่ที่ดินอันเป็นที่ตั้งแห่งโรงงานของเขาเอง” (จาก Marginal Notes to the Programme of the German Workers’ Party Written by Karl Marx, เม.ย./พ.ค. 1875 ตีพิมพ์ใน Die Neue Zeit, No. 18, Vol. I, 1891, พร้อมด้วยฉบับตัดย่อ ต้นฉบับเป็นภาษาเยอรมัน http://www.oppressedpeople.org/library/cgp75.html )

และใน Das Kapital, vol. III, p. 901-2 คาร์ล มาร์กซ์ได้กล่าวว่า - "จากมุมมองของรูปแบบทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นของสังคม การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง แม้แต่สังคมหนึ่ง หรือแม้แต่ทุกสังคมรวมกัน ก็ไม่ใช่เจ้าของแผ่นดินโลก พวกเขาเป็นเพียงผู้ครอบครอง ผู้ใช้แผ่นดินโลก และจะต้องส่งต่อไปยังชนรุ่นหลังๆ ในภาวะที่ดีขึ้น เสมือนบิดาที่ดีของครอบครัว" (จาก http://www.progress.org/geonomy/thinkers.html )

จาก George on socialism http://members.aol.com/_ht_a/tma68/george.htm#socialism:--

“เราผิดกับพวกสังคมนิยมที่การวินิจฉัยความชั่วร้าย และเราผิดกับพวกเขาที่วิธีแก้ไข เราไม่กลัวทุน โดยถือว่าทุนทำจากฝีมือตามธรรมชาติของแรงงาน เรามองว่าดอกเบี้ย [ผลตอบแทนการลงทุน] เป็นไปตามธรรมชาติและเป็นธรรม เราจะไม่กำหนดขีดจำกัดต่อการสะสม จะไม่ก่อภาระให้แก่คนรวยโดยไม่เป็นภาระเท่าเทียมกันแก่คนจน เราไม่เห็นว่าการแข่งขันเป็นความชั่วร้าย แต่ถือว่าการแข่งขันโดยไม่มีข้อจำกัดเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพแห่งองคาพยพทางอุตสาหกรรมและสังคมประดุจการหมุนเวียนโดยเสรีของโลหิตที่จำเป็นต่อสุขภาพของกายินทรีย์ เป็นตัวกระทำที่จะช่วยให้เกิดการร่วมมือกันเต็มที่” (The Condition of Labor, p. 61)

“สังคมนิยมไม่ได้สนใจกฎธรรมชาติ ไม่แสวงหา และไม่ใช้ความพยายามปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติ . . . . ลัทธินี้ขาดแคลนหลักการที่เป็นแกนกลางและเป็นเครื่องนำทางมากกว่าปรัชญาใดๆ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก” (The Science of Political Economy, p. 198)

“ที่จริงแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าการพยายามเข้าใจพวกสังคมนิยมมีแต่ทำให้ท่านเองสับสน ซึ่งข้าพเจ้าไม่ประหลาดใจ ความจริงคือพวกเขาไม่เข้าใจตัวเอง สำหรับคาร์ล มาร์กซ์ เขาคือเจ้าชายผู้ฟุ้งซ่าน” (An Anthology of Henry George's Thought, p. 78)

ในคำนำของหนังสือ Progress and Poverty นั้น Henry George เองกล่าวไว้ว่าสิ่งที่ตนได้พยายามกระทำถือว่าก่อให้เกิดความสอดคล้องต้องกันระหว่างอุดมคติของฝ่ายเสรีนิยมในเรื่อง "เสรีภาพ" และ "ปัจเจกนิยม" (Individualism) กับจุดประสงค์ของฝ่ายสังคมนิยมในเรื่อง "ความยุติธรรม" ทางเศรษฐกิจ "เป็นการเชื่อมสัจจะตามความคิดของสำนัก Smith และ Ricardo กับสัจจะตามความคิดของสำนัก Proudhon และ Lassalle ให้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน"

คำโต้วาทีภาษาอังกฤษระหว่าง เฮนรี จอร์จ กับ Serge Schevitch ผู้แทนพรรคสังคมนิยมที่นิวยอร์ก ค.ศ. 1887
และกับ H. M. Hyndman ที่ลอนดอน ค.ศ.1889 สามารถอ่านดูได้ที่
http://www.cooperativeindividualism.org/george_socialist_debate.html และที่
http://www.wealthandwant.com/HG/debate_hyndman_1889.html ครับ


หมายเหตุ เรื่องหน้าที่ของรัฐบาลนั้น จาก George on government http://members.aol.com/_ht_a/tma68/george.htm#govt จอร์จกล่าวไว้บางตอนดังนี้:--

“เพื่อป้องกันมิให้รัฐบาลฉ้อโกงและกดขี่ การจัดองค์การและวิธีการของรัฐควรให้เป็นแบบธรรมดาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หน้าที่ของรัฐบาลควรจำกัดเฉพาะที่จำเป็นต่อความอยู่ดีกินดีร่วมกัน  . . . . 
ความมุ่งหมายประการแรกและประการสำคัญของรัฐบาลมีกล่าวไว้อย่างน่าชื่นชมในเอกสารยิ่งใหญ่ซึ่งเราชาวอเมริกันให้เกียรติสูงมาก และละเลยอย่างมาก คือ คำประกาศเอกราช ความมุ่งหมายนี้คือให้มีหลักประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันและไม่อาจโอนกันได้แก่ประชาชนตามที่พระผู้สร้างประทานไว้” (Social Problems, p. 171)

“ . . . . รัฐบาลไม่ควรควบคุมมากเกินกว่าที่จำเป็นในการประกันเสรีภาพด้วยการคุ้มครองสิทธิเท่าเทียมกันของแต่ละบุคคลจากการรุกรานของผู้อื่น และเมื่อการห้ามของรัฐบาลขยายออกล้ำเส้นนี้ ก็อาจมีอันตรายซึ่งเป็นการทำลายจุดหมายปลายทางที่ข้อห้ามเหล่านี้ตั้งใจจะรักษา” (Social Problems, p. 173)

(จาก http://geocities.com/utopiathai)
(บทความที่เกี่ยวข้องคือ หลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิในที่ดิน http://forum.serithai.net/index.php?topic=8422.0 )
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #1 เมื่อ: 18-11-2006, 13:19 »

ผมเห็นด้วยกับ มาร์กซ์ นะ   
ไม่ควรจะมีใครได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยเด็ดขาด  ควรจะให้รัฐเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทั้งหมดและมีอำนาจในการจัดการบริหาร
ส่วนผู้ที่ครอบครองที่ดิน ก็ ได้รับค่าตอบแทนเป็นผลผลิตจากการลงทุนในผืนดินนั้นๆ
หากผู้ครอบครองที่ดินไม่ประสงค์จะใช้ที่ดินเพื่อลงทุนในการผลิตต่อไป ก็ต้องขายสิทธินี้คืนให้รัฐ
เพื่อรัฐจะได้นำมาให้กับผู้ที่ต้องการที่จะใช้ที่ดินนั้น สร้างผลผลิตต่อไปให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการครอบครองที่ดินนั้น
บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #2 เมื่อ: 18-11-2006, 15:20 »

บทความชิ้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งงานเขียนของ "เพลิง ศรัทธาธรรม" ซึ่งถูกนำออกเผยแพร่เมื่อปี 2539 ผมขออนุญาตเอามาให้อ่านกันบางส่วนและขออนุญาตลบหรือละข้อความบางข้อความไว้ในฐานะที่เข้าใจ เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย

ความคิดลัทธิมาร์กซและฟริคริคเองเกลส์ คือ การพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของมนุษย์

ลัทธิมาร์กซ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.       ปรัชญา (Philosophy) ปรัชญาของลัทธิมาร์กซ คือ วัตถุนิยม (ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ) คือ

1.1  มีความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ คือ ไม่หลงเชื่องมงายต่ออิทธิพลปฏิกิริยาของ ชนชั้นปกครอง ที่กดขี่ขูดรีด และข่มเหงประชาชน ทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม

1.2 ให้เข้าใจว่า การเมืองเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมชนชั้นตั้งแต่ยุคทาสเป็นต้นมา การเมืองคือการต่อสู้ทางชนชั้น การเมืองคือความขัดแย้ง ที่เป็นรูปธรรม ของความสัมพันธ์ทางการผลิต ซึ่งสามารถเห็นชัด จากฐานะเศรษฐกิจของชนชั้นที่ได้เปรียบกับชนชั้นทีเสียเปรียบทางสังคม และเป็นรูปแบบการต่อสู้ทางชนชั้นที่สูงสุด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อกุมอำนาจรัฐ หรือยื้อแย่งอำนาจรัฐเพื่อพิทักษ์สิทธิผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของตน ดังนั้นทุกคนที่อยู่ในสังคมมนุษย์ล้วนต้องเกี่ยงข้องกับการเมือง เพราะถ้าไม่สังกัดชนชั้นที่ได้เปรียบก็ต้องสังกัดชนชั้นที่เสียเปรียบไม่ระดับใดก็ระดับหนึ่ง มนุษย์ไม่สามารถปลีกตัวให้พ้นไปจากชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งได้ มนุษย์ไม่สามารถปลีกตัวออกไปจากการเมืองได้ไม่ว่าจะสนใจหรือไม่สนใจ การเมืองคือเรื่องของประชาชนนั่นเอง

1.3 ให้เข้าใจว่า การเมือง คือโครงสร้างชั้นบนของสังคม ขณะที่เศรษฐกิจเป็นโครงสร้างพื้นฐาน มีเศรษฐกิจแล้วเท่านั้นจึงมีการเมือง ดังนั้นเศรษฐกิจจึงเป็นพื้นฐานของปรากฏการณ์ ทางการเมืองทั้งปวง ตัวกำหนดฐานะทางสังคมของคนเรามีอยู่ประการเดียวคือ “ฐานะทางเศรษฐกิจ”

1.4  ให้เข้าใจว่า มนุษย์เรามีความสัมพันธ์กับปัจจัยการผลิต ที่แตกต่างกันสองแบบ คือ คนพวกหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต อีกพวกหนึ่งไม่มี ความแตกต่างของความสัมพันธ์สองแบบนี้เป็นตัวการแบ่งแยกมนุษย์ในสังคมออกเป็น
2 ประเภท การต่อสู้ของคนสองประเภทนี้มีอยู่หลายรูปแบบ แบ่งออกได้ 3 แบบ คือ

การต่อสู้ทางความคิด คือ การต่อสู้กับกระแสของสังคม และวัฒนธรรม

การต่อสู้ทางเศรษฐกิจ คือ การต่อสู้กับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การต่อสู้ทางการเมือง คือ การต่อสู้กับการถูกกดขี่จากอำนาจรัฐ เผด็จการ และสิทธิเสรีภาพ

2.       เศรษฐศาสตร์การเมือง ( Economic Policy )

2.1 ให้เข้าใจระบบเศรษฐกิจเป็นรากฐาน ซึ่งโครงสร้างชั้นบนทางการเมืองอาศัยเป็นที่ตั้ง

2.2 ลัทธิมาร์กซกำหนดทฤษฎีว่า ด้วยมูลค่าของแรงงานคือ “มูลค่าของสินค้าใดๆ ล้วนแต่กำหนดโดยจำนวนเวลา ทำงานที่จำเป็นของสังคมที่ได้ใช้ไปในการผลิตสินค้านั้นทั้งสิ้น”

2.3 พลังแรงงานของสังคมได้กลายเป็นสินค้า กรรมกรรับจ้างขายพลังแรงงานของตนให้แก่ผู้ถือครองที่ดิน โรงงาน และเครื่องมือการทำงาน กรรมกรส่วนหนึ่งใช้เวลาส่วนหนึ่ง เป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของตนเองและครอบครัว (ค่าแรง) เวลาทำงานอีกส่วนหนึ่งนั้นกรรมกรทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นการสร้าง “มูลค่าส่วนเกิน” ให้แก่นายทุน นี่คือแหล่งที่มาของกำไร แหล่งที่มาของโภคทรัพย์ของชนชั้นนายทุน.

2.4 ทฤษฎีว่าด้วยมูลค่าส่วนเกิน เป็นรากฐานของทฤษฎีเศรษฐกิจของลัทธิมาร์กซ

2.5 ลัทธิมาร์กซ เสนอ เรื่อง “ทุน” และ “เงินตรา”

3.       สังคมนิยม  ( Socialism )

เมื่อระบบทาสกสิกรในอดีตกาล ได้ถูกโค่นล้มไป ก็เกิดเป็นสังคมทุนนิยมเสรีขึ้น เกิดระบบขูดรีดแบบใหม่ๆ ความคิดสังคมนิยมก็เกิดคู่ขนานขึ้น ในระยะแรกๆ เป็นสังคมนิยมแบบ “เพ้อฝัน” ซึ่งทำได้แค่การวิจารณ์สังคมทุนนิยม ประณามสาปแช่ง และเพ้อฝันที่จะทำลายระบบสังคมทุนนิยม เพื่อต้องการระบบที่ดีกว่า ได้ตักเตือนชี้ให้คนร่ำรวยเห็นว่าการขูดรีดกันเป็นสิ่งไร้ศีลธรรม

แต่สังคมนิยม (แบบเพ้อฝัน) ในยุคนั้นไม่อาจชี้ทางออกที่แท้จริงได้ ไม่สามารถอธิบายถึงการเป็นทาสรับจ้างภายใต้ระบบทุนนิยม ไม่สามารถค้นพบกฎแห่งการพัฒนาของทุนนิยม ไม่สามารถค้นพบ “พลังสังคม” ที่สามารถจะกลายเป็นผู้สร้างสังคมใหม่ได้

การปฏิวัติในยุโรปโดยเฉพาะการปฏิวัติฝรั่งเศส นั้นแสดงให้เห็นว่า “การต่อสู้ทางชนชั้น” เป็นพื้นฐานและพลังของวิถีดำเนินแห่งการพัฒนาทั้งกระบวน

ลัทธิมาร์กซ จึงได้สรุปว่า การต่อสู้กับการถูกกดขี่จากนายทุนและชนชั้นปกครองศักดินา และการต่อสู้ให้ได้มาเพื่อสิทธิชน ให้การศึกษา จัดตั้งมวลชนไปทำการต่อสู้โดยมีองค์กรนำให้การศึกษา จัดตั้งเป็นระบบไปต่อสู้กวาดล้างระบบเก่าโดยมีทฤษฎีขี้นำ มีพรรคคอมมิวนิสต์ มีกระบวนการไปต่อสู้เพื่อโค่นล้มพลังของการกดขี่ขูดรีดจากชนชั้นปกครองประเทศต่างๆ ทั่วโลก

การศึกษาลัทธิมาร์กซ ไม่เพียงแต่ต้องศึกษาจากตำราเท่านั้น ที่สำคัญต้องผ่านการต่อสู้ทางชนชั้น และการปฏิบัติในการงานใกล้ชิดมวลชน กรรมกร ชาวนา นายทุนน้อย จึงจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง นั่นแหละจึงจะเป็นชาว.............ได้

 ชาว........................นั้นแตกต่างกับ สมาชิกพรรคการเมืองอื่นๆ คือ “มีความสัมพันธ์สนิทแน่นแฟ้นที่สุด กับมวลประชาชนอันไพศาล” รับใช้ประชาชน ไม่เหินเป็น ห่างมวลชนแม้แต่ขณะเดียว ทุกสิ่งทุกอย่าง เริ่มต้นจากผลประโยชน์ของประชาชน มิใช่เริ่มต้นจากผลประโยชน์ของเอกชนคนกลุ่มน้อย การรับผิดชอบต่อประชาชน กับการรับผิดชอบต่อองค์กรนำของพรรค อันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหล่านี้คือ จุดเริ่มต้นของเรา พรรคการเมืองอื่นๆ ใกล้เลือกตั้งก็จะวิ่งหาประชาชนเพื่อคะแนนเสียง เมื่อได้แล้วก็เหินห่างประชาชน ชาว.................ต้องพร้อมที่จะยืนหยัดในสัจธรรมทุกเมื่อ เพราะว่าสัจธรรมใดๆ ล้วนสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนทั้งสิ้น

และนี่คือ ที่มาของชาว..........................

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 15:24 โดย ss2507 » บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #3 เมื่อ: 18-11-2006, 15:30 »

(บางส่วนบทความ "เพลิง ศรัทธาธรรม")

ประมาณ 2470-2471 ลัทธิคอมมิวนิสต์หรือลัทธิมาร์กซ ได้เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย โดย 2 ทาง คือ

1    มาจากสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ถูกกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่ง มีเจียงไค เช็ค เป็นผู้นำตีแตกพ่ายกำลังส่วนหนึ่ง หลบหนีมาอยู่ในสยาม (เดิมเรียกสยาม) และได้เผยแพร่ลัทธิมาร์กซ ในหมู่คนจีนด้วยกันเจตนาก็เพื่อรวบรวมเงินไปหนุนช่วยการปฏิวัติต่อไป ต่อมาตั้งเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาประเทศสยาม”

2    เข้ามาจากกลุ่มปัญญาชน นักศึกษาไทย ที่ไปเรียนในทวีปยุโรป ได้มีโอกาสศึกษาลัทธิมาร์กซ และนำมาเผยแพร่จนขยายกว้าง ขวางออกไป และรวมตัวกันตั้งเป็น “กลุ่มคอมมิวนิสต์สยาม”

1 ธันวาคม 2485 ก่อตั้งเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์สยาม” (มีกฎหมายพรรคการเมืองใช้แล้ว) และจัดให้มีการประชุม เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคฯ เรียกว่า สมัชชา ครั้งที่ 1
------------------------------------------------------------------------------------------------

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(สยาม) คนปัจจุบัน คือ ลุงธง แจ่มศรี(ss2507)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 15:32 โดย ss2507 » บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 18-11-2006, 16:18 »



สำหรับสังคมไทยปัจจุบัน แนวทางที่เป็นวิธีการเพื่อหัฒนาต่อไป

เป็นสิ่งสำคัญเหนือกว่าเป้าหมายที่ส่วนใหญ่ไม่มีวันจะเข้าใจหรือยอมรับครับ...

ผมยังเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย แบบทุนเสรีนิยม ที่มีการจัดการ


ไม่มีอะไรที่ไรที่รัฐจะให้เป็นหลักประกันแก่ปัจเจกบุคคลได้อย่างแท้จริง..

รัฐจึงควรส่งเสริม เรื่องการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่สังคม คุณภาพของคนในด้านต่างๆ ตลอดจนประสิทธิภาพในการผลิตของเขา

และตัวรัฐบาลกกลางและจำนวนข้าราชการ สมควรจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพ ลดขนาดลง..

จะใช้วิธีการของระบบใดได้ละครับ??


บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 18-11-2006, 17:11 »

เมื่อไหร่เราจะมีแบบของไทยไทย ใช้กันเองซักทีละครับ

อ่านเจอที่ใหนไม่รู้ เค้าบอกว่า ถ้าประชาธิปไตยขึ้นสูง ๆ แล้ว ความพอเพียงมันจะตามมา

คล้าย ๆ ประเทศเล็ก ๆ แถบสแกนดิเนเวีย...แต่ประชาชนก็ต้องรู้ทั้งสิทธิ์และหน้าที่ ไม่เห็นแก่ตัวเกินกว่าสาธารณะ

เช่น หาได้มากก็เสียภาษีมาก แต่รัฐต้องชดเชย ( รัฐสวัสดิการ ) จนกว่าประชาชนจะเสียชีวิต

ในที่สุด คนที่ทำงานทั้งหมด ก็ไม่คิดที่จะสะสมเกินความจำเป็น

ใช้ชีวิตพอเพียง แสวงหาความสุขทางใจ ด้วยการท่องเที่ยว อ่านหนังสือ เข้าป่า ยิงนกตกปลา

แต่เมืองไทย กลับไม่นิยมแบบนี้ บ้างาน กลัวคนอื่นแซงหน้า

วันเสาร์-อาทิตย์ ควรพักก็ไม่พัก....แล้วมันจะพอเพียงได้ยากครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 17:15 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #6 เมื่อ: 18-11-2006, 18:45 »

ข้อนึงที่น่าสนใจในแถลงการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์สากลคือ
"หากสามารถประสานเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมเข้าด้วยกันได้แล้ว จะทำให้ความเป็นปรปักษ์ระหว่างเมืองกับชนบทจะค่อยๆหมดไป"

ผมว่ามันสะท้อนปัญหาของสังคมไทยในเวลานี้ได้เป็นอย่างดี 
ปัญหาการเมืองที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ มาจากความแตกต่างทางความคิดระหว่าง ชาวเมืองกับชาวชนบท

ที่ผ่านมารัฐบาลเอาแต่มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมเพีอการส่งออก โดยเน้นไปที่การขายแรงงานของกรรมกรไทย เพีอให้ได้เงินเร็วๆ
ไม่เคยมีแนวทางที่จะมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่มากมายในประเทศ มาเป็นวัตถุดิบ

ทำให้เกิดความแปลกแยกอย่างมากระหว่างชนชั้น นายทุน แรงงาน เกษตรกร
บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 18-11-2006, 18:58 »

ตามสภาพธรรมชาติ การผลิตที่มีราคาแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งมันมาจาก "ความรู้และเทคโนโลยี" ซึ่งมีการจ่ายค่า "ลิขสิทธิ์"

เรื่องพวกนี้มันแตกกอ ต่อยอดมาจากทุนนิยมเสรี ที่มุ่งกำไรสูงสุด และมุ่งอัตราการเจริญเติบโต ให้ทันกับอัตราเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยและกำไรมาตรฐาน

ทำแล้วอยู่นิ่งไม่ได้ เว้นแต่ขายทิ้งแล้วหยุดไปเลย อาจไปเสวยสุขในโลกส่วนตัวที่ใหนก็ได้ในโลก

ถึงที่สุด ทุนนิยมยุคใหม่ มันไม่มีเชื้อชาติ เส้นแบ่งพรมแดนก็ไม่มี

มีอย่างเดียวคือ "ศาสนาเงินตรา"


คนทำอุตสาหกรรม เค้าคงคิดแล้ว อุตสาหกรรมอาหาร อาจ"กำไรน้อย" ก็เป็นได้

สู้นั่งเล่นหุ้น ซื้อ ๆ ขาย ๆ ไม่ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 22:17 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 18-11-2006, 19:25 »



โลกไร้พรมแดน จะเป็นปัญหาที่ท้าทายรัฐชาติและชาตพันธ์ต่อไปอย่างมาก

หากไม่มีการสะสมความมั่งคั่งและความรู้ การปรับตัว และระบบของชาติที่ยืดหยุ่นอย่างพอเพียงครับ
 

ถึงแม้ว่าคนไทยจะไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ก็ตาม 

เพราะจะอย่างไรก็ตามการยืนหยัดอย่างมีอนาคตของชาติไทย

อย่างมีศักดิ์ศรี ก็จำเป็นต้องพึ่งพาคนไทยเป็นหลักเท่านั้น...
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 18-11-2006, 20:02 »

เท่าที่ผมมองดู บริษัทหรือวิสาหกิจต่าง ๆ มุ่งเข้าไปหา "ทุน" จากตลาดทุนเพิ่มมากขึ้น เพื่อแปรสินทรัพย์ของตนให้มีมูลค่ามากขึ้น

ยิ่งตลาดทุนขยายตัว นักวิสาหกิจต่าง ๆ ก็ยิ่งอยากร่ำรวย อยากสร้างอาณาจักร์ และแข่งขันกันโต

ส่วน เกษตรกร แรงงาน พนักงาน ก็ยิ่งจะถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อย ๆ

มองอนาคตไม่เห็นครับ เว้นแต่จะ "ลืมโลก" กลับไปนั่งปลูกผักขายคนในเมือง ใช้ชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง


( เช่นผมเป็นต้น )
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 18-11-2006, 20:39 »




รัฐสวัสดิการ ที่จำเป็นที่สุดคือการให้งบอุดหนุนเป็นทุนการศึกษาโดยตรงแก่นักเรียนส่วนใหญ่ครับ

เด็กไทยคืออนาคตของชาติ   รองลงมาก็คือการเน้นการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาราคาแพง


การเพิ่มคุณภาพของสิ่งต่างๆ ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมาก ต้องเน้นเรื่องการยกมาตรฐาน

การศึกษา และการเปิดโอกาสในด้านข้อมูลข่าวสาร จะสามารถลดช่องว่างของรายได้ประชาชนได้

หากรัฐสามารถควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศและประเภทการเติบโตของภาคเศรษกิจของประชาชนที่จำเป็นได้จริง


ผมยังเสนอเช่นเดิมคือ  ควรลดขนาดของภาครัฐโดยเฉพาะจำนวนข้าราชการลงครับ
บันทึกการเข้า

นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #11 เมื่อ: 18-11-2006, 21:20 »

ความบางตอนจาก "รู้มั้ยว่า “คอมมิวนิสต์”คืออะไร" ของ "ณัฐ ธารพานิช และ จิตรลดา อุดมประเสริฐกุล" โครงการเศรษฐศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ความไม่ยั่งยืนของระบบทุนนิยม

นอกจากนี้ถ้าเราลองมาพิจารณาในเชิงพลวัต กล่าวคือถ้าปล่อยให้มีการขูดรีดแรงงานต่อไป มาร์กซ์เชื่อว่าจะก่อให้เกิดสงครามและวิกฤตเศรษฐกิจและท้ายที่สุดระบบนี้ก็จะสลายไปในที่สุด(ฟังแล้วน่าขนลุก) เพราะถ้าปล่อยให้ระบบทุนนิยมดำเนินต่อไปก็จะเกิดการสะสมทุนหรือสะสมความมั่งคั่ง นายทุนลงทุนมากขึ้น มีการนำเอาเครื่องจักรทำให้แรงงานมีผลผลิตภาพมากขึ้น และผลิตคุณค่าส่วนเกินให้นายทุนมากขึ้นไปอีก แต่การใช้เครื่องจักรทำให้คนงานว่างงานมาก แต่เมื่อทำการผลิตสินค้าแล้วจะขายสินค้าจะยากขึ้น เนื่องจากแรงงานได้รับค่าจ้างที่เพียงพอที่จะซื้อแค่บางส่วนของสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นมาเท่านั้น แต่การขายสินค้านั้นต้องขายให้หมดเนื่องจากจะต้องเอารายได้จากการขายสินค้าเหล่านั้นไปให้นายทุนในรูปของกำไร แล้วใครจะมาซื้อสินค้าส่วนเกินเหล่านั้น เพราะฉะนั้นถึงแม้ในระยะสั้นธุรกิจต่างๆจะได้กำไรแต่ในระยะยาวในที่สุดธุรกิจหรือกิจการต่างๆก็จะต้องลดกำลังการผลผลิตลง ปลดพนักงานออก ทำให้การว่างงานมากขึ้นเรื่อยๆ นายทุนขนาดเล็กก็จะอยู่ไม่ได้ต้องยุบกิจการ กลายเป็นชนชั้นแรงงานขายแรงงานให้กับนายทุนขนาดใหญ่กว่า

นอกจากนี้จะสามารถสังเกตได้ว่าสงครามโลกและสงครามต่างๆในยุดล่าอาณานิคมเป็นตัวอย่างอย่างดีที่อธิบายว่าเมื่อการขูดรีดภายในประเทศถึงจุดสูงสุดแล้ว นายทุนต่างๆก็พากันไปแสวงหาทรัพยากรและปัจจัยการผลิตต่างๆในต่างประเทศมาขูดรีดต่อ และเมื่อนายทุนเหล่านี้แสวงหาไป แสวงหามาก็มาขัดแย้งกัน มาแย่งทรัพยากรและปัจจัยการผลิตราคาถูกกัน และก่อให้เกิดสงครามในที่สุด ยิ่งอยู่ไปในระบบทุนนิยมปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความขัดแย้งในสังคมก็จะทวีขึ้นเรื่อยๆ ฝ่ายนายทุนจะขัดแย้งกันเองและล้มหายตายจากไปในที่สุด ฝ่ายนายทุนก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันชนชั้นแรงงานก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ

มาร์กซ์กล่าวว่าสังคมทุนนิยมแบบนี้ย่อมยั่งยืนอยู่ไม่ได้ ชนชั้นกรรมาชีพที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆก็จะมีการรวมกลุ่มกันและตระหนักได้ว่าจะต้องอะไรบางอย่างเพื่อทำการยึดเอาปัจจัยการผลิตเหล่านั้นเอามาเป็นของชนชั้นกรรมาชีพซึ่งการกระทำนั้นก็คือการปฏิวัตินั่นเอง ในที่สุดชนชั้นกรรมาชีพก็จะปกครองประเทศและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด เพราะฉะนั้นยุคที่เกิดต่อจากยุคทุนนิยมก็คือยุคคอมมิวนิสต์นี่เอง

การขูดรีดที่มีมาตั้งแต่ยุคทาสจนถึงยุคทุนนิยมนั้นจะหมดไปได้ก็ด้วยการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้น ตามความเห็นของมาร์กซ์นั้นจะเห็นได้ว่ายังไงก็ตามสังคมคอมมิวนิสต์นั้นจะต้องเกิดแน่นอน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบคอมมิวนิสต์สมบูรณ์นั้นต้องใช้เวลาคือต้องรอจนถึงสถานการณ์สุกงอมพอที่ชนชั้นกรรมาชีพที่ถูกขูดรีดมีจำนวนมากพอและตระหนักถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง

จากตัวอย่างเดิมของบริษัท B.E. ขายหมูย่างจำกัดมหาชนที่นายทุนไม่สามารถขายหมูย่างได้เพราะแรงงานไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อหมูย่าง ถึงแม้นายทุนคนอื่นจะมีกำลังซื้อ แต่ก็ไม่สามารถซื้อหมูย่างได้หมดอยู่ดี เพราะนายทุนเหล่านั้นย่อมต้องการเก็บความมั่งคั่งของตัวเองเอาไว้ ดังนั้นนายทุนเจ้าของบริษัท B.E.ขายหมูย่างจึงไม่มีทางเลือกต้องลดราคาขายหมูย่างลงเหลือไม้ละ 3 บาท เพื่อให้ขายออก และนายทุนคนนั้นก็จะไม่ได้กำไร 2 บาทฟรีๆ รายได้ก็จะไม่แตกต่างอะไรกับพนักงานของเขา นายทุนคนนั้นก็กลายสภาพเป็นชนชั้นแรงงาน กระบวนการนี้ดำเนินต่อไปทุกๆตลาดสินค้า จะทำให้นายทุนลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่จำนวนผู้ใช้แรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดระบบทุนนิยมก็จะอยู่ไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาบางทีอาจจะเป็นร้อยเป็นพันปีก็ได้

ในระบบคอมมิวนิสต์นั้น ถ้าจะให้สังคมมีความยุติธรรม จะต้องมีชนชั้นเดียวในสังคมคือชนชั้นแรงงานหรือชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องปกครองสังคม และชนชั้นกรรมาชีพเหล่านี้จะต้องลุกฮือปฏิวัติยึดอำนาจรัฐ ล้มล้างระบบนาบทุน ล้มลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยมลงไป และทุน หรือที่ดินหรือปัจจัยการผลิตทั้งหมดจะต้องเป็นของชนชั้นกรรมาชีพทั้งหมดร่วมกัน เป็นไปไม่ได้ที่จะให้กรรมการกับนายทุนออมชอม  แบ่งปันผลประโยชน์กัน (irreconcilibility)มีแต่การปฏิวัติ ใช้กำลังของชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่จะให้ความเสมอภาคและความยุติธรรมกับสังคมได้ แต่ละคนจะได้รับผลประโยชน์จากการทำงานตามความจำเป็นในการยังชีพของตน โดยไม่คำนึงถึงว่าใครจะทำงานมากน้อย จะไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ นอกจากนี้จะต้องทำลายล้างศาสนา กฎหมาย ลัทธิต่างๆหรือเครื่องมือในการปกครองประเทศของชนชั้นปกครองเก่า กล่าวคือพวกนายทุน ขุนศึก ศักดินาต่างๆให้หมดไป แล้วใช้เครื่องมือในการปกครองประเทศซึ่งคิดค้นโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และความคิดอันนี้เองก็คือความคิดของคาร์ล ไฮริช มาร์กซ์ ซึ่งประกาศอยู่ในหนังสือ The Communist Manifesto ซึ่งแปลว่าคำประกาศของคอมมิวนิสต์ หรือคำประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์ หรือคำประกาศแห่งความเสมอภาค หรืลัทธิมาร์กซ์ หรือ ทฤษฎีชี้นำการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ สุดแล้วแต่ใครจะเรียก และการประกาศคำประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) นี้ก็คือคำประกาศที่จะให้ชนชั้นกรรมาชีพทุกคนร่วมมือกันปฏิวัติล้มล้างระบบนายทุนนั่นเอง

บทความเต็ม ๆ อ่านได้จากที่นี่ครับ
http://www-unix.oit.umass.edu/~pokpongj/Interest/interest_acad_01.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 21:22 โดย ss2507 » บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 18-11-2006, 22:24 »

ถามเล่น ๆ นะครับ ไม่ซีเรียส อเมริกา ถือว่าเป็น ทุนนิยมเสรีสุดโต่ง มันข้ามพ้นทฤษฎีนี้ไปได้อย่างไร

การล่มสลายของ รัสเซีย...มันมาจากอะไร ความโลภของมนุษย์ใช่มั๊ย...
บันทึกการเข้า

สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #13 เมื่อ: 18-11-2006, 22:50 »

ถ้ามาร์กซ์และเองเกล อยู่มาถึงวันนี้

พวกเขาคงจะผิดหวังอย่างแรงจนต้องเผาตำราที่ข่วยกันแต่ง

เพราะว่า แนวความคิดตามระบอบของพวกเขา เป็นเส้นขนานที่ไม่มีวันจะบรรจบ

กับระบอบนายทุนหน้าเลือด ขูดรีโกงค่าโทรศัพท์ พอถูกลูกค้าจับได้ ก็อ้างแถไปว่า ..

"ระบบคอมพิวเตอร์ บกพร่องโดยสุจริต แต่ก็ไม่ยอมคืนตังค์ที่โกง .. เอ๊ย ! คิดเกิน


มาร์กซ์และเองเกล คงจะงงเป็นไก่ตาแตก ถ้ามาเห็นนายทุนหน้าเลือดจับมือกับพวกหัวเอียงซ้าย

ช่วยกันมอมเมาคนจนให้เล่นหวย และบอกให้ชาวนานำที่ดิน สปก.มาเปลี่ยนเป็นเงิน   
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #14 เมื่อ: 18-11-2006, 22:50 »

จากบทความ "ความไม่ยั่งยืนของระบบทุนนิยม"

ผมว่าอเมริกาอาจจะกำลังเดินไปหาจุดนั้นครับ ยังไม่ได้ล้มทฤษฎีนี้
คาดว่ากลุ่มต่อต้านโลกาภิวัฒน์ที่ออกมาประท้วงตามงานประชุมสุดยอดทั้งในอเมริกา-ยุโรปก็มีแนวคิดประมาณนี้

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 18-11-2006, 23:03 »

รัสเซียก็ไปแล้ว จีนเริ่มเปิดประเทศ ค่ายคอมฯ แทบจะนับประเทศได้แล้ว

หากอเมริกาจะล่มลง คงไม่ใช่เพราะระบบเศรษฐกิจ กิเลสมนุษย์ มันทำให้วิถีชีวิตในระบบเศรษฐกิจแบบนั้นได้ยากมาก

เหมือนคนไทยนี่แหละ ขนาดประชาธิปไตย ทุนนิยมเสรีของเค้าดี ๆ ยังทำไม่เข้าท่าเลย

ความไม่มีวินัยมันจะไปทำให้เกิดสังคม ยูโทเปีย ยากสุด ๆ แค่ก้าวก็ล้มแล้ว

เว้นต่จะเป็นชุมชนเล็ก ๆ สร้างนิคมหรือ คอมมูนของตัวเองขึ้นมา หาคนร่วมอุดมการณ์ทำกันไป

เพื่อนผมไปทำ ตลาดบุญ ทำนารวมแถว ๆ โคราช นับว่าได้ผลดีอยู่บ้าง

แต่เพื่อมผมสบายกว่าคนอื่น เพราะไปหลอกเอางบซีอีโอ มาผลาญเล่น อิ อิ

เพลิดเพลินพวกสหายเก่าเค้าละ...ว่าง ๆ ชวนกันไปเที่ยว "นารวม" ที่โคราช นะครับ

เค้าชื่อ ดร.เสือ อภิชาติเกรียงไกร วันคาราวานคนจน ไหงมาโผล่ที่สวนจตุจักร กับแกนนำด้วย ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #16 เมื่อ: 18-11-2006, 23:34 »

ทุนนิยมมักจะมาพร้อมกับบริโภคนิยม นั่นก็คือเดินตามกิเลสของมนุษย์ตามธรรมชาติ
ตัวอย่างที่สังเกตได้ง่ายๆ คืออเมริกาไม่ยอมลงนามสนธิสัญญาเกียวโต เพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ
ไม่สามารถหยุดการบริโภคได้ แม้จะรู้ว่ากำัลังเดินไปสู่ความหายนะ


บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 19-11-2006, 01:57 »

สมัยผมเรียนจบใหม่ ๆ งบประมาณแผ่นดินของไทย มันอยู่แค่ หมื่น-สองหมื่นล้าน ซักก่อน 14 ตุลา ปี 2 ปี

งบกระทรวงสาธารณะสุขอยู่ที่พันกว่าล้าน

ทำลืม ๆ แป๊บเดียว งบประมาณมันพุ่งมาเป็น 150,000 ล้านบาทได้ยังไง
บันทึกการเข้า

utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 19-11-2006, 08:49 »

สวัสดีครับ เมื่อวานไปงานสมรสของหลานกลับมาเช้านี้ดีใจเห็นพี่น้องเข้ามาร่วมวงกันตรึม
สวัสดีลุงแคนด้วยครับ ไม่ได้ร่วมวงกันเสียนาน ผมยังอ่านข้อเขียนของลุงอยู่เรื่อยๆ แต่แค่อ่านเฉยๆ เพราะข้อเขียนของลุงหนักไปทางการเมืองภายใน อุณหภูมิมันสูงอยู่แล้วครับ

14 ต.ค.16 ผ่านมาแล้ว 33 ปี งบพันกว่าล้านกลายเป็น 1.5 แสนล้าน เห็นท่านพูดกันว่าส่วนที่เพิ่มจริงก็มี แต่อีกส่วนก็เพราะเงินเฟ้อ (เงินเสื่อมค่า) เพราะรัฐ(แทบทุกรัฐ) เก็บภาษีจากการผลิต (แทนที่จะเก็บจากมูลค่าที่ดิน) มันก็เลยทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนที่ดิน ใครครองไว้ได้เปรียบ จึงมีการเก็งกำไรเก็บกักกันไว้มากๆ ค่าเช่าและราคาที่ดินสูงเกินจริง มันก็เป็นส่วนที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นไปอีก ก็ต้องขายแพงขึ้น คือเงินเสื่อมค่านั่นเอง มิหนำ ซ้ำรัฐยังพิมพ์เงินกระดาษออกมามูลค่าเกินทุนสำรองที่แท้จริงอีก เงินก็ยิ่งเฟ้อหนักขึ้นไปอีก


มาถึงเรื่องการทำกำไรสูงสุด เมื่อคิดกันให้ถึงที่สุด ไม่ว่าระบบไหนหรือคนไหนก็ต้องการประโยชน์ (หรือกำไร) สูงสุดกันทั้งนั้น
โดยเปรียบเทียบกับมูลค่าของการลงทุนผลิต (และ ค้า ถ้าจะแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น)
คำว่า maximize profit ที่มีผู้ใช้พาดพิงถึงระบบทุนนิยม ก็เหมือนกับกรณีของทุกคนที่ว่า
1. Man seeks to gratify his desires with the least exertion.
2. Man's desires are unlimited.
มนุษย์จึงมีเครื่องมือช่วยการผลิต (ทุน) ตั้งแต่ท่อนไม้ ขวานหิน ควายไถนา
 และซับซ้อนขึ้นจนถึงเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอินเทอร์เนต

ถ้าไม่มีศีลธรรมกำกับ มนุษย์ก็เป็นเหมือนเดรัจฉาน
เศรษฐศาสตร์สมัยคลาสสิกเขาก็ถือจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญ
ผมไม่ทราบว่าเพราะอะไรสมัยนี้จึงพูดกันราวกับว่าระบบทุนนิยมนั้นต้องไร้ศีลธรรม
อาจเป็นได้ไหมว่าลัทธิมาร์กซ์เป็นต้นเหตุ ที่พูดทำนองนายทุนขูดรีดแรงงานส่วนเกิน
อาจเป็นได้ว่าการค้าทำกันกว้างขวางระยะไกลมากไป
จนคนเราไม่คิดว่าคนด้วยกันเป็นเพื่อนหรือญาติ แต่เป็นเหยื่อสำหรับแสวงประโยชน์

การแข่งกันทำกำไรปกติจะต้องขายของดีราคาถูกกว่าผู้อื่น นี่เป็นเรื่องทางบวก
ทางลบ ก็คือการใช้เล่ห์เหลี่ยมทุจริต แสวงหาอำนาจผูกขาด คนดีย่อมไม่ทำ

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ, Good Governance, Transparency
เหล่านี้ ถือจริยธรรมหรือศีลธรรมเป็นเรื่องสำคัญทั้งนั้น
หรือว่ามนุษย์ย่อหย่อนลงด้านศีลธรรม ใจมืดบอดไปเพราะกลัวความยากจน
นายทุนขูดรีดจริงหรือ นายทุนเป็นผู้ร้ายตัวสำคัญหรือ?
พิจารณาให้ดี ต้นเหตุความเสื่อมศีลธรรมอยู่ที่ไหน
แรงงานส่วนเกินนั้นเจ้าของที่ดินต่างหากที่ได้ไป - ในรูปของค่าเช่าที่ดิน ตามระบบภาษีที่เอื้อเจ้าของที่ดินในแทบทุกรัฐ
นายทุนผู้จ้างงานและนายทุนเงินกู้เป็นเพียงผู้ร้ายตัวรองที่ได้โอกาสซ้ำเติมคนงานยากจนที่ถ้าไม่ทำงานให้นายจ้างก็อดตาย
นายทุนเอง ถ้าไม่เป็นเจ้าของที่ดินด้วย ก็เสียเปรียบเจ้าของที่ดินเหมือนกัน
วิธีแก้ - เก็บภาษีมูลค่าที่ดินแทนการเก็บภาษีจากการผลิต (เช่นภาษีเงินได้, ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ครับ
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #19 เมื่อ: 19-11-2006, 09:07 »

เป็นกระทู้ที่ดีครับ
อธิบายตัวตน โดยเฉพาะพฤติกรรม "เดรัจฉานเศรษฐกิจภายใต้ระบอบทักษิณ" ได้อย่างมีอารยธรรม
 Laughing
บันทึกการเข้า

แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #20 เมื่อ: 19-11-2006, 11:15 »

จะว่าไปแล้ว ที่ดินก็คือสัญญลักษณ์ของสังคมศักดินาเก่า 
แสดงว่าการขูดรีดทางชนชั้นไม่เคยหมดไป เพียงแค่เปลี่ยนชื่อไปเท่านั้น จาก ส่วย เป็น ค่าเช่า

การเก็บภาษีมูลค่าที่ดิน ทั้งๆที่ยังคงใช้ระบบทุนนิยมอยู่เหมือนในทุกวันนี้  จะยิ่งเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคเข้าไปใหญ่น่ะสิครับ
หากไม่มีมาตรการใดๆมารองรับ ยังไงๆ นายทุนก็ไม่ยอมเสียกำไรที่ตัวเองเคยได้รับมาแล้วแน่ๆ ก็จะผลักภาระเข้าไปในราคาสินค้า
ถ้าจะแก้โดยยกเลิกภาษีจาการบริโภค คนก็จะยิ่งบริโภคกันเกินตัวอีก จะเกิดปัญหาใหม่ๆตามมาให้แก้ไข

ควรจะต้องมีการปฎิรูปที่ดินครับ กำหนดพื้นที่และวัตถุประสงค์ของการมีที่ดินแล้วให้ถือกันในรูปแบบของสหกรณ์ 
ยกตัวอย่าง เช่น พื้นที่ทางการเกษตร  ก็ค่อยๆทำไปในแต่ละพื้นที่ มุ่งไปที่พื้นที่เกิดใหม่ก่อน
เช่น พื้นที่ป่าสงวนซึ่งถูกชาวบ้านบุกรุกเข้าไปจับจองเป็นที่ทำกิน
ส่วนของเดิมที่มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว ก็ให้ครอบครองจนสิ้นอายุไป แต่มีเงื่อนไขข้ามนำไปซื้อ-ขายก่อนได้รับอนุญาต
ให้เป็นมรดกได้ในกรณีที่ยังคงทำการเกษตรอยู่  แต่หากไม่ต้องการต้องขายคืนให้กับสหกรณ์เพื่อนำไปจัดสรร

ขืนปล่อยทิ้งไว้แบบทุกวันนี้ พื้นที่ป่าก็ไม่เหลือจะถูกบุกรุกจับจองไปอยู่เรื่อยๆจนหมด
ที่ดินที่จะให้เกษตรกรจริงๆทำกินก็จะไม่มี มีแต่รีสอร์กับสนามกลอฟ์
เมื่อถึงเวลานั้นแล้วสงครามแย่งชิงการถือครองที่ดินก็จะเกิดขึ้น 
ผู้ชนะก็จะเป็นชนชั้น นายทุนและศักดินาอีกนั่นแหละ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-11-2006, 11:20 โดย แอบอ่าน ซุ่มเงียบ » บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 19-11-2006, 13:53 »

หวัดดีครับ ท่านปู่ ผมก็เล่นกระทู้การเมืองเป็นหลัก หันเหไปด้านสังคมบ้างเล็ก ๆ น้อย

เศรษฐกิจผมแค่หางอึ่ง อิ อิ อ้อ...ตอนนี้ พม.( กระทรวงที่ชื่อยาว ๆ อะครับ ) กำลังชงเรื่องให้ที่ดินผู้ยากไร้ คนละ 5 ไร่

สัมนาไป 2-3 วันก่อน สังคมไม่ทิ้งกันจะเริ่มเสนอของจริงใน 6 เดือนครับ

มีคุณหมอประเวศ วสี เป็นที่ปรึกษา

ท่านปู่ไม่ไปจองตัวฟังทำนายเศรษฐกิจปีหน้าบ้างเหรอครับ บัตร 3,000 บาทมั๊ง สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์จัด

คนตรึมทุกปี เห็นพี่ซูมเขียนแนะนำไว้ 2-3 วันที่แล้ว


บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 19-11-2006, 15:10 »

พูดถึงเรื่องที่ดิน ว่าง ๆ ท่านปู่และท่านผู้รู้ ลอง ๆ หยิบเรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ เรื่องเมืองอุตสาหกรรม

มาลอง ๆ ไล่เรียงปรัชญาเรื่อง ทุน ที่ดิน อำนาจบริหาร เอาที่ อมตะนคร ก่อนก็ได้ครับ

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=3466.0

ในมุมมองของคุณวิกรม กับ เขตเศรษฐกิจพิเศษที่เวียตนามยอมให้นักลงทุนไปเช่า

ว่ากันได้ยาวเป็นเดือน ๆ กระมังครับ

อาจจะยาวไปถึงเรื่องกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ ระบบสหกรณ์หุบกระพง ศึกษาเชิงเปรียบเทียบ

น่าลองนะครับ


เรื่องกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ที่นี่ครับ

http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=1868&db_file=

เขตเศรษฐกิจพิเศษ
 
     สาระสำคัญ ร่างพ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ
     เขตเศรษฐกิจพิเศษ สถาปนา 'แลนด์ลอร์ด' ปฏิรูปที่ดินเพื่อ 'นายทุนไทย'
     เขตเศรษฐกิจพิเศษกับอำนาจในสังคมไทย
     เขตเศรษฐกิจพิเศษ เงื่อนงำที่ต้องตรวจสอบ
     สมทบทุนนอกขี่คิอรัฐ นักวิชาการชำแหละเขตเศรษฐกิจ'วิเศษ'
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-11-2006, 15:12 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 19-11-2006, 18:33 »

ถ้าเก็บภาษีมูลค่าที่ดินเท่ากับค่าเช่าตามที่ควรเป็นแล้ว (ควรค่อยเป็นค่อยไป สัก 30 ปี) พร้อมกับลด-เลิกภาษีจากการลงแรงลงทุน  ผู้ถือครองที่ดินโดยเก็งกำไรโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์เหมือนกันแต่ไม่เต็มที่ จะหาทางใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มากขึ้น เช่น ให้ผู้อื่นเช่าทำประโยชน์อีกต่อหนึ่งหรือดำเนินการเอาเองหรือจ้างคนอื่นมาใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ว่าจะเป็นการทำไร่นา หรือประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรม หัตถกรรม หรือสร้างบ้านหรือแฟลตให้เช่า การจะหาทางใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์มากขึ้นเช่นนี้จะต้องแข่งขันกันเองในบรรดาเจ้าของที่ดินเพราะถ้าที่ดินไม่ได้รับการทำประโยชน์มากขึ้น ก็จะไม่คุ้มกับภาษีที่จะต้องจ่าย ดังนั้นเจ้าของที่ดินจะเรียกค่าเช่าได้ต่ำลง สำหรับการหาคนมาทำงานในที่ดินก็จะต้องจ่ายค่าแรงสูงขึ้น
   ถ้าเจ้าของที่ดินไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไรดีจึงจะคุ้มกับภาษีที่จะต้องเสีย หรือไม่อยากยุ่งยากเป็นภาระ ก็มีอีกทางหนึ่งคือ ขายที่ดินไปเสียเลย ซึ่งเมื่อมีผู้ต้องการขายที่ดินมากขึ้น ราคาที่ดินก็ย่อมจะลดต่ำลง สำหรับผู้จะซื้อที่ดินก็จะไม่ยินยอมซื้อในราคาสูงเพราะรู้อยู่ว่าตนจะต้องรับภาระภาษีมูลค่าที่ดิน ซึ่งหนักพอสมควร
   (ที่จริง เมื่อภาษีสูงเท่ากับค่าเช่าที่ดินตามที่ควรเป็น เจ้าของที่ดินก็ไม่ได้ประโยชน์จากการให้เช่าที่ดิน ราคาขายของที่ดินจะลดลงแทบเป็นศูนย์ แต่เขายังได้ผลตอบแทนจากการให้เช่าในส่วนที่เป็นอาคารโรงเรือนเต็มที่ ซึ่งจะมากกว่าปัจจุบันเพราะส่วนนี้จะไม่ต้องเสียภาษีต่อไป)
   ยังมีอีกประการหนึ่ง คือ เมื่อมีการทำประโยชน์ในที่ดินมากขึ้น ก็หมายถึงว่ามีการผลิตมากขึ้นหรือสร้างอาคารมากขึ้น ดังนั้นราคาสินค้าและค่าเช่าอาคารก็จะลดลง ยิ่งถ้าลดภาษีชนิดอื่นๆ ซึ่งถ่วงการผลิตและทำให้ของแพงเป็นการชดเชยกับภาษีมูลค่าที่ดินซึ่งเพิ่มขึ้น มนุษย์ก็จะมีกำลังใจทำงานหรือผลิตมากขึ้น และสินค้าจะยิ่งมีราคาต่ำลงอีก
   นี่คือเหตุผลกว้างๆ ที่ว่าภาษีมูลค่าที่ดินจะไม่ทำให้ค่าเช่าที่ดินหรือราคาสินค้าสูงขึ้น แต่กลับต่ำลง (จากหนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม ข้อ 3. ภาษีที่ดินผลักภาระไม่ได้จริงหรือ ? http://www.geocities.com/utopiathai/UPp093-118ch7.doc )
   เวลาพิจารณาปัญหา เราต้องระวังในการใช้ถ้อยคำ โดยเฉพาะคือต้องแยกระหว่าง เจ้าของที่ดิน กับ นายทุน ให้ดี ถึงแม้คนหนึ่งๆ จะสามารถเป็นได้ทั้งสองฐานะก็ตาม  ชาวนาเองส่วนหนึ่งจะเป็นทั้งสามฐานะ คือ เจ้าของที่ดิน นายทุน และ ผู้ใช้แรงงาน (สมอง, กาย)
   ภาษีการบริโภค กับ ภาษีการผลิต ผมมองว่าคือสิ่งเดียวกัน คือมีผลเพิ่มต้นทุนการผลิต หรือ ทำให้ของแพงขึ้นสำหรับผู้บริโภค ผลิตแล้วไม่มีผู้บริโภคก็สูญเปล่า ถ้าใครจะฟุ่มเฟือยก็คงต้องช่างเขา รัฐไม่ควรทำตนเป็น “คุณพ่อรู้ดี” ไปควบคุมจำกัดสิทธิของเขา ราวกับว่าทุกคนคือเด็กอมมือ ไม่รู้จักตัดสินใจด้วยตัวเอง มิฉะนั้นจะไปทำให้ของแพง ซึ่งผิดความมุ่งหมายของการให้พลเมืองอยู่ดีมีสุข ขอเพียงอย่าให้มีการกินแรงงานส่วนเกินกันก็น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใช้แรงงานที่ยากจน และสร้างสุขแก่ทุกคนที่มีที่ดินไม่เกินส่วนที่ตนควรมีด้วยการทำให้ค่าจ้างเงินเดือนสูงขึ้น แต่ของกินของใช้ถูกลง ตามที่ผมเขียนไว้แล้วในบทความเรื่อง หลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิในที่ดิน http://forum.serithai.net/index.php?topic=8422.0 ตอบ #26 ครับ
   รัฐไม่ควรดำเนินการมากในเรื่องที่ดิน เมื่อเก็บภาษีมูลค่าที่ดินเท่าค่าเช่าตามที่ควรเป็นแล้ว ปล่อยให้ราษฎรจัดการเองตามที่เขาเห็นควรเหมือนปัจจุบัน เพราะรัฐยิ่งมีอำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ยิ่งมีช่องทางแสวงประโยชน์เข้าตัว สหกรณ์นั้นควรมี ควรส่งเสริม แต่ไม่ต้องให้สิทธิ์พิเศษ ไม่ต้องหาที่ดินให้ การเก็บภาษีมูลค่าที่ดินเพิ่ม และลด-เลิกภาษีจากผู้ทำงานและผู้ลงทุน คือการให้สิทธิเท่าเทียมกันอยู่แล้ว คนรวยที่จ้างชาวบ้านหักร้างถางพงเพื่อหวังกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่ก็จะต้องเลิกทำเพราะต่อไปจะถูกภาษีที่ดินเท่าค่าเช่าที่ควรเป็น ตนก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรแล้ว หรือถ้าใครจะครองที่ดินมากเท่าไรก็ไม่แปลก ขอให้เขาจ่ายภาษีเท่าค่าเช่าที่ดินที่ควรเป็นเท่านั้นก็พอแล้ว
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #24 เมื่อ: 19-11-2006, 18:57 »

เออ..ลุงแคนครับ จขกท.หายไปไหนครับ ไม่เห็นนำข้อมูล หรือทฤษฎีใหม่ ๆ มาเล่าขานต่อเลย กลายป็นผม "เจือก" อีกละมังนี่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-11-2006, 19:04 โดย ss2507 » บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #25 เมื่อ: 19-11-2006, 19:57 »

ไม่ขอวิพากษ์..ไร้ซึ่งคำวิจารณ์ แต่ขออนุญาตยกบทความนี้มาให้อ่ากันอีกตลบหนึ่ง

pt]ลัทธิสังคมนิยมวิทยาศาสตร์กับสถานการณ์ปัจจุบัน

    คำว่า “ลัทธิสังคมนิยมวิทยาศาสตร์” ในชั้นต้นเราหมายถึงคำสอนของปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ สองท่าน  คือ ท่านคาร์ล มาร์กซ์ ( 1818-1883 )  และท่านฟรีดริช เอ็งเจิลส์ ( 1820-1895 ) คำสอนของท่านทั้งสองประกอบขึ้นด้วยคำสอนสามด้านใหญ่ๆ คือ ด้านปรัชญา ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง และด้านสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ คำสอนทั้งสามด้านนี้ได้พัฒนาขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ห้า ถึง ทศวรรษที่เก้าแห่งศตวรรษที่ 19 ได้กลายเป็นทฤษฎีทางสังคมที่สมบูรณ์และรอบด้านที่สุดนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา คำสอนทั้งสามด้านนี้มีรายละเอียดดังนี้

()ยังมีต่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-11-2006, 20:06 โดย ss2507 » บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #26 เมื่อ: 19-11-2006, 20:03 »

()ต่อ 2(จบ)

1.        สมัยโจซิป วิสซาริโอโนวิช สตาลิน (18791953)

    สตาลิน เป็นผู้สืบทอดจากเลนิน เป็นทั้งนักทฤษฎีและนักปฏิบัติ เป็น ผู้สรุปคำสอนของเลนิน ออกมาเป็นภาษาง่ายๆ และเป็นระบบ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ระบอบสังคมนิยมในสภาพโซเวียต นับตั้งแต่ช่วงสงครามกลาเมือง ซึงถูกปิดล้อมโดยประเทศทุนนิยม 14 ประเทศ ไปจนถึงเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง สตาลินได้มีโอกาสครองอำนาจเกือบ  29 ปี ช่วงสมัยของสตาลินนับได้ว่าเป็นช่วงสมัยที่สหภาพโซเวียตมีความยากลำบากมากที่สุด การปฏิบัติตามนโยลายของเลนินในเรื่องการทำทั่วประเทศเป็นแบบไฟฟ้า การวางรากฐานอุตสาหกรรมหนัก การแปรเกษตรกรรมให้เป็นแบบรวมหมู่ และแบบทันสมัยเหล่านี้ ได้ปูพื้นให้สหภาพโซเวียต เป็นมหาอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้สามารถเอาชนะฟาสซิสต์เยอรมันได้ นอกจากนี้

    สตาลินยังได้พิทักษ์ และส่งเสริมขบวนการคอมมิวนิสต์สากลอย่างเข้มแข็ง ยังผลให้เกิดการปฏิวัติสังคมนิยมขึ้นในประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 14 ประเทศ ทั้งในยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ในเอเชีย และอเมริกันละติน ข้อบกพร่องของสตาลินมิใช่เป็นข้อบกพร่องในการยึดกุมทิศทางหลักของการปฏิวัติ หากเป็นข้อบกพร่องในด้านการบริหารงานภายใน เช่น การจัดการปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นประชาธิปไตยกับการรวมศูนย์ ระหว่างการรับผิดชอบโดยเอกชนกับการนำแบบรวมหมู่ ระหว่างการลงโทษและการให้การศึกษาใหม่หๆ ที่กระทำต่อพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ ได้เน้นการลงโทษ การบังคับใช้แรงงานมากกว่าการพยายามจูงใจและให้การศึกษาใหม่ การปฏิบัติต่อชาวนากลางในการชักชวนเข้าร่วมสหกรณ์ เข้าร่วมระบบนารวม นารัฐ ก็ขาดความละมุนละไม ใช้วิธีบังคับขู่เข็นมากเกินไปพูดง่ายๆ ก็คือ การใช้ระบอบเผด็จการมากเกินไป ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างฝ่ายนำและฝ่ายถูกนำ การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์เฉพาะหน้าและผลประโยชน์ยาวไกล ก็เน้นแต่ปัญหาผลประโยชน์ยาวไกล ละเลยผลประโยชน์เฉพาะหน้าทำให้มวลชนไม่พอใจในช่วงหลังๆ ข้อบกพร่องเหล่านี้เมื่อเทียบกับคุณงามความดีแล้วคุณงามความดีมีมากกว่า ดังนั้นสตาลินจึงยังคงเป็นนักลัทธิมาร์กซ์-เลนิน อยู่ และเป็นผู้สมควรได้รับการยกย่องตลอดไป

2.        นิกิตา  เซอร์เดกวิช ครุสฟซอฟ (1894-1971)

    ครุสซอฟคอรงอกนาจต่อจากสตาลิน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 9 ปี  ในช่วง 1955-1964 เป็นนักปฏิบัติ นักพัฒนามากกว่านักทฤษฎี มีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาข้อบกพร่องในเรื่องการจัดความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์เฉพาะหน้าและผลประโยชน์อันยาวไกล โดยเน้นงานปรับปรุงการเกษตรและการบูรณนครมอสโคว์ พยายามแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างการรวมศูนย์กับการเป็นประชาธิปไตย นำไปสู่การวิจารณ์ สตาลินในสมัชชา ครั้งที่ 20 (20 ก.พ. 1956) และที่ 22 (22 ต.ค. 1961) ของพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต ด้านสากล ได้พยายามดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสหรัฐอเมริกา ทำให้นโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติเปลี่ยนจากการเป็นเพียง “ยุทธวิธี” กลายเป็น “ยุทธศาสตร์” ไป

    ข้อบกพร่องสำคัญของครุสซอฟ คือ ยึดกุมปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการปฏิวัติโลก กับบทบาทการพิทักษ์สันติภาพของโลก บทบาทการหลีกเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์คลาดเคลื่อนไป ทำให้ไม่มีการจำแนกระหว่างสงครามที่เป็นธรรมและสงครามอธรรม ทำให้บทบาทเป็นกองหน้าของขบวนการปฏิวัติโลกเสียไป เน้นแต่การสร้างสรรค์ภายในเน้นแต่การพยายามทำความเข้าใจกับประเทศจักรพรรดินิยม เช่น การพยายามลงนามในสนธิสัญญาการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์และไม่เป็นผู้โจมตีก่อน การพยายามลดกำลังอาวุธอย่งรอบด้านและอย่างถึงที่สุด ครุสซอฟได้กลายเป็นักสันตินิยมแบบชนชั้นนายทุนไป การพิทักษ์สันติภาพของโลก แทนที่จะฝากความหวังไว้กับประชาชนปฏิวัติของประเทศต่างๆ กับฝากความหวังไว้กับการทำความเข้าใจกับประเทศจักรพรรดินิยมเป็นสำคัญ เหตุนี้ครุสซอฟจึงเป็นนักสันตินิยมของชนชั้นนายทุนไป

3.        เลโอนิด อิลยิช เบ๊รซเนฟ (1906-1982)

    เบร๊ซเนฟ ได้ครองนอำนาจต่อจากครุสซอฟ ไม่น้อยกว่า 14 ปี จาก 1964 ถึง เดือนพฤศจิกายน 1978 จากสัมชชาครั้งที่ 23 ถึงสมัชชาครั้งที่ 26 หลังจากนั้น เป็นการต่อสู้กันระหว่างกำลังที่สนับสนุนเบร๊ซเนฟ กับกำลังที่สนับสนุนกอร์บาชอฟ โดยมีฝ่ายเบร๊ซเนฟยังครองฐานะเป็นฝ่ายนำอยู่จนถึง 10 พ.ย. 1982 อันเป็นวาระที่เบร๊ซเนฟถึงแก่กรรม ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน เบร๊ซเนฟ ด้านหนึ่งได้พยายามแก้ไขข้อบกพร่องแห่งลัทธิยอมจำนนของครุสซอฟ พยายามกู้เกียรติภูมิทางสากลของสหภาพโซเวียตกลับมา พยายามจำกัดพวกฝ่ายขวาจัดภายในพรรคมิให้ขยายวงการวิจารณ์สตาลินมากเกินไป ขณะเดียวกันก็พยายามเก็บรับบทเรียนจากทั้งของยุคสตาลินและของยุคครุสซอฟ ต่อครุสซอฟก็มิได้กดขี่บีฑา เพียงแต่ปลดออกจากอำนาจเท่านั้น ต่อจักรพรรดินิยม ด้านหนึ่งพยายามต่อสู้เพื่อบรรลุนโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ขณะเดียวกันก็พยายามหนุนช่วยการปฏิวัติประเทศต่างๆ อยู่ พยายามไม่อ่อนข้อต่อจักรพรรดินิยมมากเกินไป เหตุนี้พรรคพี่น้องของประเทศต่างๆ เช่น ลาว เวียดนาม จึงถือว่ายุคเบร๊ฟเนฟ สหภาพโซเวียต ยังเป็นลัทธิสังคมนิยมอยู่ ฝ่ายนำของพรรคและของรัฐยังเป็นนักลัทธิมาร์กซ์-เลนินอยู่

    คุณงามความดีสำคัญของยุคเบร๊ซเนฟ ก็คือ ในยุคนี้ได้มีการผลิตตำราของลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ออกมาค่อนข้างมากและสมบูรณ์ที่สุด ทั้งตำราเชิงประวัติศาสตร์ เช่น ชีวประวัติของคาร์ล มาร์กซ์ ของฟริดริซ เอ็งเจิลส์ ของวะลาดีมีร์ อิลยิช เลนิน ประวัติของพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต และประวัติของขบวนการชนชั้นกรรมกรสากล เป็นต้น เป็นการช่วงชิงผลิตตำราในช่งเริ่มมีความไม่แน่ใจในอนาคตของค่ายสังคมนิยม

    จากช่วง 1978 ถึงปลายปี 1982 สุขภาพของเบร๊ซเนฟอยู่ในสภาพลุ่มๆ ดอนๆ แพทย์พยายามรักษาไว้อย่างเต็มที่ พร้อมกันนั้นกำลังของฝ่ายกอร์บาซอฟก็เริ่มเติบใหญ่ เริ่มก่อกระแสวิจารณ์สตาลินขึ้นมาใหม่อีก การวิจารณ์ลัทธิบูชาบุคคลและลัทธิสงวนความลับ (Cult of Secrecy) กล่าวให้ถึงที่สุด ก็คือ การทำลายระบอบเผด็จการของชนชั้น และลักษณะเป็นกองหน้าของพรรค และรัฐอย่างเต็มที่ กลุ่มนักลัทธิ์มาร์กซ์-เลนิน ยังคงกุมอำนาจอยู่จนถึง 10 พ.ย. 1982 อันเป็นวาระสุดท้ายของเบร๊ซเนฟ

4.        มิคาอิล เซกีเยวิข กอร์บาชอฟ (เกิด 2 มี.ค. 1931)

    กอร์บาชอฟ ได้เริ่มคอรงอำนาจอย่างแท้จริงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1978 อันเป็นวาระที่เขา ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรค และได้ครองอำนาจอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 1985 อันเป็นปีที่เขาได้รับแต่งตั้งให้รับตำแหน่งในคณะประธานของโซเวียตสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง

    รวมความว่ากอร์บาชอฟ ได้เริ่มไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจตั้งแต่เดือน พ.ย. 1978 อันเป็นสมัยที่เบร๊ซเนฟยังครองอำนาจอยู่ และได้ครองอำนาจอย่างเต็มที่ในช่วงสมัชชาครั้งที่ 27  (เปิดเมื่อ 3 มี.ค. 1986) และสมัชชาครั้งที่ 28 (เปิดเมื่อ 2 ก.ค. 1990)

    ในช่วงสมัยกอร์บาชอฟ ได้พยายามทำสิ่งที่เรียกว่า “การปฏิรูปโครงสร้างสังคมอย่างทั่วด้าน” หรือ “เปเรสตอยก้า” พูดให้ถึงที่สุด ก็คือ เป็นการสืบทอดนโยบายของครุสซอฟอย่างสมบูรณ์แบบ ในด้านปรัชญา เขาได้กลายเป็นนักลัทธิฮิวแมนนิสต์ นักลัทธิเหตุผลนิยมที่ไม่คำนึงชนชั้นและยุคสมัยของประวัติศาสตร์ และเป็นนักสันตินิยมที่ไม่นำพาต่อการใช้อำนาจบังคับ ซึ่งเป็นรูปการจิตสำนำของชนชั้นนายทุนอย่างเต็มตัว

    ต่อจักรพรรดินิยม เขาประจบเอาใจอย่างสุดตัว ฝากความหวังในเรื่องสันติภาพไว้ กับการทำความเข้าใจและความตื่นตัวของจักรพรรดินิยม แทนที่จะฝากไว้กับความตื่นตัวของประชาชนปฏิวัติทั่วโลก ยุติการปฏิบัติหน้าที่ทางสากลของพรรค และรัฐแห่งสหภาพโซเวียตอย่างสิ้นเชิง

    ในด้านการปฏิรูปภายใน เขาดำเนินนโยบายแบบเอาตัวรอดเพียงชาติเดียว คิดจะสร้างสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์ภายในวงล้อมของจักรพรรดินิยม และละทิ้งเผด็จการของชนชั้นกรรมกรอุตสาหกรรมสมัยใหม่และพันธมิตรอย่างสิ้นเชิง นี่คือ ข้อบกพร่องที่สำคัญของฝ่ายนำสหภาพโซเวียตในช่วงสุดท้าย

    กอร์บาชอฟ ได้พ่ายแพ้แก่บอริส เยลท์ซิ่น ผู้นำฝ่ายขวาของมลรัฐรัสเซีย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 1991 นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สหภาพโซเวียตแห่งสังคมนิยมก็ได้แปรสภาพเป็นสมาพันธรัฐรัสเซียแห่งเสรีนิยม หรือแห่งทุนนิยมอย่างเต็มรูป และเสื่อมโทรมลงไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

สรุปความ             
    ที่กล่าวมานี้เป็นการกล่าวถึงลัทธิสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ และสถานการณ์ปัจจุบันอย่างคร่าวๆ อาจมีข้อบกพร่องในปัญหารายละเอียดบ้าง เพราะเป็นการเตรียมคำบรรยายอย่างรีบๆ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงที่จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้พิจารณา

    ผู้บรรยายมีความเชื่อมั่นว่าข้อบกพร่องของค่ายสังคมนิยม และขบวนการคอมมิวนิสต์สากลเป็นสิ่งสามารถสรุป และเก็บรับบทเรียนได้ กระแสของสังคมนิยมสามารถฟื้นคืนขึ้นใหม่ได้ ระบอบสังคมนิยมจะต้องเข้าแทนที่ระบอบจักรพรรดินิยมตามกฎเกณฑ์ของประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน การแปรรูปเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นแบบนายทุนนิยม และลัทธิล่าเมืองขึ้นสมัยใหม่เป็นการทวนกระแสของประวัติศาสตร์ และจะต้องได้รับการต่อต้านจากทั่วประเทศอย่างแน่นอน

โดย เปลว  สัจจาภา

22 กุมภาพันธ์ 2539


หมายเหตุ; ใจจริงผมอยากเปิดเผยที่มาเหมือนกัน แต่ติดเงื่อนไขบางอย่าง "มิตรสหาย"อาจกังวลใจได้ เลยไม่ขอนำมาเปิดเผยนะที่นี่ แต่ยืนยันว่านี่คือข้อเขียนที่ "เปลว สัจจาภา" เขียนจริง นำออกเผยแพร่จริง
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 19-11-2006, 21:58 »

อ๋อครับ ท่านเจ้าของกระทู้ เขียนมาเยอะ เขียนไม่หยุด น่านับถือ

บางเวที ผมก็แอบ้ไปเป็้นลูกศิษย์ท่านเหมือนกันครับ

อยากรู้จักท่านปู่ กดไปที่... http://geocities.com/utopiathai

พอผมเห็น เฮนรี่ จอร์จ ผมก็นึกว่าไเป็นหน้าท่านปู่ทุกที ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #28 เมื่อ: 19-11-2006, 22:11 »

กำลังตามอ่าน แนวความคิดของเจ้าของกระทู้ ตามลิงค์ที่ให้เอาไว้ครับ ทั้ง บทที่ 7 และกระทู้เก่า  
ผมเพิ่งจะเข้ากระทู้ของคุณ utopiathai อันนี้เป็นอันแรกครับ
เลยต้องเข้ามาขออภัย ที่ยกประเด็นเดิมๆที่เคยมีคนคุยไว้แล้วมาพูด ทำให้เจ้าของกระทู้ต้องอธิบายซ้ำอีกครั้ง
ขอเวลาอ่านและศึกษาก่อนแล้วค่อยมาเรียนถามที่ไม่เข้าใจอีกทีหนึ่ง

แต่ตอนนี้ขอถามเรื่องแนวคิดของเจ้าของกระทู้ ในเรื่องบทบาทของรัฐในระบอบสังคมนิยมสักหน่อยครับ
เท่าที่อ่านจากความเห็นในเวลานี้ รู้สึกว่าจะเป็นแนวคิดที่รัฐควรมีบทบาทให้น้อยที่สุด และให้ประชาชนเป็นกลไกหลักในการพํฒนาสังคม

ซึ่งต่างจากที่ผมคิดไว้ ในความเห็นของผม รัฐจะต้องเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนและควบคุมทิศทางให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
เป็นเพราะอย่างนี้หรือเปล่าครับ จึงเป็นเหตุของการล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์ในทุกวันนี้ คือรัฐควบคุมมากเกินไป
แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น จะต่อต้านกับ ทุนนิยม บริโภคนิยม ได้อย่างไร
บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 20-11-2006, 02:50 »

สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ : ทุนนิยม VS ศีลธรรม

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5900&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

กำลังทะเลาะกันใหญ่....ทุนนิยม ไม่มีคำว่า ศีลธรรม เพราะทุนนิยมคือ "การขูดรีด"...เค้าต่อว่ากันมาแบบนี้
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 20-11-2006, 05:38 »



จะเอา ธรรม ใส่เข้าไปในการเมือง ได้ก็เมื่อสังคมนั้นมีอารยธรรม

คือต้องเจริญขึ้นพ้นการคำนึงถึง ภาวะภายนอกทางกายภาพเพียงอย่างเดียวในภาพรวม

แต่เราจะเดินไปถึงจุดก่อเกิด อารยธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ได้หรือไม่? ยังเป็นเรื่องอีกยาวไกล?

ความเห็นส่วนตัวผมคือ ตั้งเป้าหมายเชิงสังคมให้ดีที่สุด ใจเย็นๆ เดินไปอย่าหยุด อย่าบิดเบี้ยวครับ การเมืองไทยอาศัยคนไทยเป็นตัวขับเคลื่อน

                                                                                                                                                                                                       
บันทึกการเข้า

utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 20-11-2006, 14:06 »

ขอบคุณคุณลุงแคนมากครับที่ช่วยให้ภาพลักษณ์ผมดูดีในส่วนที่ตอบคุณ ss2507 ส่วนบทความของคุณ สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ผมเลยลอกเอาเรื่องเหตุแห่งความโลภไปใส่ไว้ด้วย เรื่องเหตุแห่งความโลภนี้เคยมีผู้ท้วง 2 ท่านแล้ว ท่านว่าโลภ โกรธ หลง นี้เป็นกิเลสตัวต้นเหตุแล้ว ไม่มีเหตุอื่นอีก พอดีมีอีกท่านหนึ่งช่วยแก้ให้ว่า ความกลัว (กลัวจน) อยู่ในประเภทความโกรธ และทั้งสามตัว คือ โลภ โกรธ หลง ต่างมีผลต่อกันให้กิเลสเพิ่มมากขึ้นได้ แต่มนุษย์ก็ควรรู้จักขัดเกลาให้กิเลสลดลง

ขอตอบคุณ ss2507 ด้วยนิดหน่อย ว่าผมยินดีให้ลงเรื่องของมาร์กซ์ในกระทู้ของผมครับเพราะเกี่ยวข้องกัน สำหรับทฤษฎีใหม่ๆ นั้นผมไม่มี มีแต่ทฤษฎีที่ผมเห็นว่าดีมาก เป็นของเฮนรี จอร์จ เก่าแล้ว และของท่านอื่นๆ อีกมากที่นิยมแนวของเฮนรี จอร์จ  เป็นเว็บไซต์ที่ผมรวบรวมไว้ อยู่ที่ http://geocities.com/utopiathai/Links ตอนล่าง นอกจากนี้ก็มี:--
- งานเขียน-พูดของจอร์จ ที่ http://www.geocities.com/utopiathai/Link02 รวมทั้ง:--
- - คำโต้วาทีกับผู้แทนพรรคสังคมนิยมที่นิวยอร์ก http://www.cooperativeindividualism.org/george_socialist_debate.html
- - คำโต้วาทีกับผู้แทนพรรคสังคมนิยมที่ลอนดอน http://www.wealthandwant.com/HG/debate_hyndman_1889.html
- ถ้าจะอ่านภาษาไทยก็มีหนังสืออเมริกันดีเด่น ความก้าวหน้ากับความยากจนแปล ที่ http://geocities.com/utopiathai/ProgressAndPoverty
- หนังสือที่ผมเขียนเองแบบไทยๆ แต่ก็อาศัยแนวคิดของจอร์จ เรื่อง ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม ที่ http://geocities.com/utopiathai/UnjustPoverty
- บทความจำนวนหนึ่งของผมที่ http://geocities.com/utopiathai/ArticlesAndWebboard
มีเพียงเท่านี้ครับ ขอเชิญเลือกอ่านได้ตามอัธยาศัย ขอบคุณครับ

สำหรับคุณ แอบอ่าน ซุ่มเงียบ ผมคิดว่าเป็นความผิดของผมเองด้วยที่คงอธิบายอะไรๆ ไม่ค่อยจะแจ่มชัดตามที่มีหลายคนวิจารณ์ไว้ รวมทั้งเรื่องที่ทำให้คุณคิดว่าเฮนรี จอร์จ เป็นสังคมนิยมด้วย ซึ่งที่จริงสังคมนิยมนั้นคือมาร์กซ์ ครับ
ส่วนจอร์จ นั้น พวกลัทธินายทุนก็ว่าเป็นสังคมนิยม พวกสังคมนิยมก็ว่าจอร์จเป็นเฮือกสุดท้ายของลัทธินายทุน
จะว่าไปอีกที ลัทธิภาษีเดี่ยวจากที่ดินของเฮนรี จอร์จเป็นทั้งสังคมนิยม แรงงานนิยม และ ทุนนิยม
ที่ว่าเป็นสังคมนิยมนั้นถูกเฉพาะเมื่อคิดถึงปัจจัยที่ดินอย่างเดียว (คือถือว่าที่ดินเป็นของส่วนรวม จึงเก็บภาษีที่ดินมาบำรุงส่วนรวม
แต่ไม่ต้องการให้รัฐเข้าไปจัดการที่ดินโดยตรง เช่น บังคับจัดแบ่งที่ดิน ทั้งนี้ตามหลักให้รัฐมีหน้าที่น้อยที่สุด)
ที่ว่าเป็นแรงงานนิยมก็ถูกเพราะพยายามไม่เก็บภาษีจากแรงงานเลย
และ่ก็ต้องถือว่าเป็นทุนนิยมสุดขั้วอย่างไม่เคยปรากฏ เพราะพยายามไม่เก็บภาษีจากทุนเหมือนกัน

มาว่าเรื่องหน้าที่ของรัฐ
ถ้าปล่อยเอกชนแก้ปัญหากันเอง เอกชนจะเก่งขึ้น ถ้าช่วยเขา เขาก็หวังให้รัฐช่วยต่อไปเรื่อยๆ
ลองดูตัวอย่างนิดหน่อย การช่วยของรัฐต้องใช้เงินจากภาษีเพิ่มหรือไม่ เช่น รณรงค์ให้ต่างชาติมาท่องเที่ยวไทย รัฐต้องจ่ายเงินเท่าไร ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวได้เพิ่มไปฟรีหรือเปล่า  กลุ่มอื่นเสียเปรียบไหม
ถ้ารัฐบาลคาดเดาสถานการณ์พลาด ความผิดพลาดจะเป็นมูลค่ามหาศาล ถ้าเอกชนผิดพลาด ก็จะเป็นเพียงบางส่วน ไม่ใช่ทั้งประเทศ
การตั้งราคาขายเบนซินต่ำของรัฐบาลทักษิณ โดยคิดว่าราคาจะไม่สูงขึ้นไปอีก ก็ทำให้กองทุนน้ำมันติดลบมากพอดู
มติชนรายวัน  วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10478
"อุ๋ย"เผยงบประมาณปี 50 ตั้งวงเงินรายจ่าย 1.56 ล้านล้านบาท อ้างเอาไปใช้หนี้เดิม 8.5 หมื่นล้าน ยอมรับส่งผลกระทบการลงทุน ทำได้กระมิดกระเมี้ยน คาดมีรายได้ 1.36 ล้านล. หวังเป้าเก็บภาษี 1.42 ล้านล. เตรียมออกพันธบัตรชดเชยขาดดุล เผยรายละเอียดหนี้ค้างจ่ายรัฐบาลชุดเก่า ยันตัวเลขจริงไม่ได้มั่ว ระบุโครงการ"ยาง-ข้าว"ขาดทุนบานเบอะ
ปัญหาสำคัญคือเจ้าหน้าที่ที่คอยแสวงผลประโยชน์ส่วนตัวมีอยู่มาก ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
การนำสิ่งของไปบรรเทาทุกข์ราษฎร ปรากฏว่าราษฎรส่วนหนึ่งร้องเรียนว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือ
บางท่านเลยแนะนำให้แจกราษฎรเป็นตัวเงินไปเลย
แต่เรื่องนี้ผมขอแนะนำให้ลองดูอย่างที่เป็นกลาง คือ ใช้คำ หน้าที่ของรัฐ กรอกให้  http://www.google.co.th ช่วยค้นให้ด้วยครับ เรื่องนี้รับรองว่าเถียงกันได้ไม่รู้จบ
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 20-11-2006, 15:26 »

ท่านอาจารย์ปู่ มีตารางเปรียบเทียบ "ภาษีที่ดิน" ( ของไทยเรียก ภาษีบำรุงท้องที่ ภบท. ) ของประเทศต่าง ๆ มั๊ยครับ ( รวมทั้งไทยด้วย )

ขอแบบ อเมริกา ยุโรป ( ทั้งสังคมนิยมประชาธิปไตยและประชาธิปไตย )

อย่างผมมีนา 100 ไร่ นิด ๆ เสียภาษีประจำปี( ภาษีบำรุงท้องที่ให้กับ อบต. ) ไร่่ละประมาณ 2 บาท

ใบเสร็จออกมาปีละ 249 บาท ผู้ใหญ่บ้านตามมาเก็บถึงบ้าน

ถ้าผมให้เช่า ไร่ละ 50 บาท ก็กำไรไม่รู้กี่เท่า ( ไม่ได้คิดมูลค่าที่ดินนะครับ อิ อิ ที่จริงให้เค้าทำฟรี ๆ ครับ แล้วแต่ชาวนาจะมาจ่ายให้ )

ปกติ นายทุนที่ดิน ( เจ้าของนา ) จะมาเก็บค่าเช่าเป็น "ข้าว" หรือผลผลิต แบ่งกันตอนสีข้าวเปลือกนั่นแหละครับ ( อัตราค่าเช่า 50/50 จากผลผลิต )

หากจะคิดว่าเป็น "ค่าเช่าจากรัฐ" ก็นับว่า "ถูก" มากจริง ๆ

ส่วน "ค่าเช่านา" ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ กลับเป็น "ต้นทุน" อีกตัวหนึ่ง ที่ "ชาวนา" ผู้อยากทำนาเป็น "การผลิต" ทางการค้า

ดังนั้นคนมี "ที่ดิน" เป็นของตนเอง จึงเป็น"การลงทุน" อีกแบบหนึ่ง ( หากไม่ต้องการทำนาด้วยตนเอง )
บันทึกการเข้า

utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 20-11-2006, 22:33 »

คำถามของท่านลุงยากมากสำหรับผม ผมเองก็พยายามหาว่าจีน-เวียดนามเขาเก็บภาษีที่ดินกันยังไงหรือไม่ แต่ก็หาไม่ได้ ค้นๆ ไปก็เจอว่าระบบทะเบียนที่ดินเวียดนามยังยุ่งเหยิงอยู่ กำลังนี้มีอเมริกัน 2 คน คือ Nicolaus Tiderman, Prof of Economics, Virginia Polytechnic Institute & State University and Bruno Moser, International Consultant from International Land Economics ไปเผยแพร่ลัทธิภาษีเดี่ยวจากที่ดินอยู่ในเวียดนาม ซึ่งถ้าได้ผล เวียดนามจะมีความสามารถแข่งขันด้านการค้าสูงกว่าไทย เพราะภาษีจากการลงแรงลงทุนผลิตจะไม่มีหรือมีก็น้อย จะทำให้สินค้าของเขามีราคาถูกกว่าไทย

มีหนังสือที่ฝ่ายนิยมจอร์จเขาจัดทำเป็นระยะๆ ชื่อ Land Value Taxation Around the World ผมมีแต่เล่มเก่า 9 ปีแล้วได้มาฟรี เล่มล่าสุดคงจะเป็นการพิมพ์ข้อมูลใหม่ครั้งที่ 3 ค.ศ.2000 แต่ผมไม่ได้ซื้อ เสียดายตังค์

แต่ก็มีย่อสั้นๆ ไม่กี่ประเทศอยู่ใน http://www.henrygeorge.org/rem4.htm และ http://www.progress.org/geonomy/geono05.php

ลุงแคนใจดีกับผู้เช่ามาก บุญกุศลคงหนุนส่งให้อยู่เย็นเป็นสุขและได้ไปเกิดเป็นชาวสวรรค์นะครับ

การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ.2528-2550
http://www.thailandreform.org/webboard/im_comment.php?im_id=11&pageno=1

http://landprice.treasury.go.th/ เขาให้ค้นราคาที่ดินรายแปลงแต่ละแปลงครับ ซึ่งคงจะมีแต่ราคาปัจจุบัน

ส่วนการดูราคาทั่วไป ปี 2547-2550 ก็ที่ http://www.treasury.go.th/template.php?selectedMenuIdx=8&targetURL=/statistics/st_asses_text.htm
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 21-11-2006, 00:30 »

กฎหมายภาษีที่ดินใหม่ ยังไม่ออกนะครับ ท่านปู่ เห็นตั้งท่ามานาน

ชาวบ้านยังยินดีจะเสีย 12.5 จาก "ค่าเช่า" รวมกับภาษีโรงเรือน ( แถมภาษีรายได้ระบบก้าวหน้าถึง 37 % )

และเสียงคัดค้าน ไม่ให้รวมภาษีในเมือง กับภาษี ที่สวน-ที่นา

ผมยังไม่เห็นการเคลื่อนไหว หลังจากปี 2548 เลยครับ ไม่ทราบไปถึงใหน

แต่ในใจคิดว่าคงออกยาก พอ ๆ กับ กฎหมายภาษีมรดก
บันทึกการเข้า

สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #35 เมื่อ: 21-11-2006, 00:47 »

ถ้ารัฐบาลทักษิณยังอยู่ อย่าหวังเลยว่าจะมีการปรับปรุง

๑. กฏหมายการปฏิรูปที่ดิน
๒. การจัดเก็บภาษีที่ดิน

เพราะว่า นายหญิง และ เจ๊ใหญ่ ถือครองที่ดินมากที่สุดยิ่งกว่าสมัยศักดินา 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 21-11-2006, 00:54 »

มันไม่ไหวซีครับคุณสมชาย

ให้ชาวนา เสียภาษีที่ดินจากราคาประเมิน เห็นจะต้องดิ้นแน่

ยิ่งระบบท่านปู่ให้เก็บ เพิ่ม 2 เท่าหากปล่อยว่างเปล่า ฯ  จริง ๆ "นาร้าง" ในอีสานก็เยอะครับ

ที่ดินบางแปลง "นายทุน" ไปกว้านซื้อทิ้งรกร้างรอราคาเยอะเลยครับ

พอใกล้ ๆ ครบกำหนด 2-3 ปี ก็จ้างคนไป หว่านหญ้า ทำประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ

ก็กลายเป็น " ที่ดินซึ่งยังทำประโยชน์์ ต่อไป ไม่ต้องโดนภาษีรอบสอง

การบังคับใช้กฎหมายจะมีใครทำละครับ เห็นแต่จะเพิ่มช่องทางแสวงหาประโยชน์ของเจ้าหน้าที่อีกช่องทางหนึ่ง
บันทึกการเข้า

utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 21-11-2006, 08:15 »

โอ๊ะ โอ๊ะ ท่านลุง ระบบของผม (ของเฮนรี จอร์จน่ะ) ไม่มีการเก็บภาษีที่ดินรกร้างเป็น 2 เท่าหรือเก็บภาษีที่ดินก้าวหน้าตามขนาดถือครอง เลย
ระบบนั้นเป็นของท่าน ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์แห่งสถาบันที่ดิน ซึ่งมีส่วนในการรวม พรบ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับ พรบ.ภาษีบำรุงท้องที่ เข้าด้วยกันเป็น ร่าง พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ ฐานเศรษฐกิจ บอกเมื่อ 28กพ48 ว่าจะเลื่อนไปใช้ในปี 49 แล้วก็เงียบหายไปเลย
http://www.bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=82&c=1&order=numtopic

ดร.วารินทร์ยังจะให้เก็บภาษีที่ดินก้าวหน้าตามขนาดถือครองด้วย (ซึ่งระบบของจอร์จนั้นไม่จำเป็น เพราะเก็บภาษีที่ดินเต็มที่เท่าค่าเช่าตามที่ควรจะเป็นแล้ว) และภาษีที่ดินก้าวหน้าก็เลี่ยงได้ โดยคนหนึ่งๆ สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ทั้งในฐานะบุคคลธรรมดา และฐานะนิติบุคคลหรือบริษัท ซึ่งเขาก็รวมกันจัดตั้งได้หลายๆ บริษัทเสียอีกด้วย แล้วไหนยังจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์ว่าบริษัทขนาดไหนควรถือครองได้เท่าไรจึงจะไม่ต้องเข้าข่ายเสียภาษีที่ดินก้าวหน้าอีกล่ะ
นี่คือช่องโหว่มหึมาที่ไม่เห็นมีใครพูดถึง (หรือเขาจะเตรียมไว้ให้พวกเขาเองลอด?) ในที่สุดคนรวยก็จะถือครองกันได้มากๆ โดยเสียภาษีที่ดินน้อย?


วิธีของผมไม่จำกัดการถือครองที่ดิน ปล่อยให้ราษฎรซื้อขายหรือทำอะไรกับที่ดินได้เสรี
ภาษีที่ดินก็เก็บอัตราเดียวเหมือนกันหมด คือเท่ากับค่าเช่าที่ควรเป็น
การเก็บภาษีที่ดินเพิ่ม มีการชดเชยโดยลดภาษีอื่นๆ ลงเท่าๆ กัน หักกลบลบกันแล้ว -
- ถ้าครอบครัวหนึ่งมีฐานะเจ้าของที่ดินสมส่วนกับฐานะผู้ลงแรงและผู้ลงทุน ครอบครัวนั้นจะเสียภาษีเกือบเหมือนเดิม
- ถ้ามีฐานะเจ้าของที่ดินมากเกินส่วนความเป็นผู้ลงแรงลงทุน ภาระภาษีจะมากขึ้นตามส่วน ซึ่งสมควรแล้ว
เพราะนั่นคือการเก็งกำไรที่ดิน ซึ่งผลร้ายของมันได้กล่าวไว้แล้วในเรื่อง หลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิในที่ดิน
http://forum.serithai.net/index.php?topic=8422.0
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #38 เมื่อ: 21-11-2006, 08:47 »

มันไม่ไหวซีครับคุณสมชาย

ให้ชาวนา เสียภาษีที่ดินจากราคาประเมิน เห็นจะต้องดิ้นแน่

ยิ่งระบบท่านปู่ให้เก็บ เพิ่ม 2 เท่าหากปล่อยว่างเปล่า ฯ  จริง ๆ "นาร้าง" ในอีสานก็เยอะครับ

ที่ดินบางแปลง "นายทุน" ไปกว้านซื้อทิ้งรกร้างรอราคาเยอะเลยครับ

พอใกล้ ๆ ครบกำหนด 2-3 ปี ก็จ้างคนไป หว่านหญ้า ทำประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ

ก็กลายเป็น " ที่ดินซึ่งยังทำประโยชน์์ ต่อไป ไม่ต้องโดนภาษีรอบสอง

การบังคับใช้กฎหมายจะมีใครทำละครับ เห็นแต่จะเพิ่มช่องทางแสวงหาประโยชน์ของเจ้าหน้าที่อีกช่องทางหนึ่ง


วันก่อนผมไปนั่งคุยเล่นกับชาวบ้านที่ไปติดต่อขอโอนที่ดินมรดกกับสำนักงานที่ดินจังหวัด "พี่สาว"ในฐานะ"ผู้จัดการมรดก" ทำหน้าที่แบ่งที่ดินให้ทายาท 3 คน ๆ ละ 8 ไร่

เจ้าหน้าที่บอกต้องเสียภาษีที่ดินคนละ 24,000 บาท(ราคาประเมินภาษีไร่ละ 3,000 บาท) ชาวบ้านต้องนั่งปรึกษาหารือกันหน้าดำคร่ำเครียด สุดท้ายได้ข้อสรุปว่าต้องไปขอกู้เงินเจ๊กในตลาดมาคนละ 30,000 บาท หลังจากโอนที่ดินเสร็จแล้ว โฉนดปลิวไปเก็บอยู่ในตู้เซฟของเจ๊กในตลาดทันที ถ้ามีปัญหาสู้ดอกเบี้ยไม่ไหวจนดอกทบต้นต้นทบดอกก็มีสิทธิ์ที่ดินตกไปเป็นของนายทุน 
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 21-11-2006, 09:09 »

การโอนที่ดินนี้จะเก็บเป็นค่าธรรมเนียมการโอนหรือเปล่าก็ไม่ทราบครับ
ถ้าเป็นค่าธรรมเนียม ผมเห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงให้เก็บแต่น้อยพอสมกับค่าดำเนินการของเจ้าพนักงาน
ไม่ควรคิดตามราคาที่ดิน
เพราะรัฐควรส่งเสริมการซื้อขายเพื่อให้ทุกคนหาซื้อที่ดินได้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ซื้อ
เพราะจะทำให้คนสามารถใช้ที่ดินได้เป็นประโยชน์ตามศักยภาพของทั้งคนซื้อและที่ดิน (ในระบบภาษีมูลค่าที่ดิน)
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #40 เมื่อ: 21-11-2006, 09:36 »

การโอนที่ดินนี้จะเก็บเป็นค่าธรรมเนียมการโอนหรือเปล่าก็ไม่ทราบครับ
ถ้าเป็นค่าธรรมเนียม ผมเห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงให้เก็บแต่น้อยพอสมกับค่าดำเนินการของเจ้าพนักงาน
ไม่ควรคิดตามราคาที่ดิน
เพราะรัฐควรส่งเสริมการซื้อขายเพื่อให้ทุกคนหาซื้อที่ดินได้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ซื้อ
เพราะจะทำให้คนสามารถใช้ที่ดินได้เป็นประโยชน์ตามศักยภาพของทั้งคนซื้อและที่ดิน (ในระบบภาษีมูลค่าที่ดิน)

ผมก็ว่าน่าจะเป็นอย่างที่อาจารย์ว่า
แต่ในทางปฏิบัติและข้อกฎหมายกลับกลายเป็นอีกอย่าง สุดท้ายก็คือชาวบ้านรับกรรมไปเต็ม ๆ

ประเด็นปัญหาตรงนี้ เป็นจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งที่กลายเป็นปมเงื่อนขนาดใหญ่

เพราะค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงทั้งเรื่องการยื่นคำร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้วายชนม์ เฉลี่ยคดีละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ค่าภาษีที่ดินเมื่อผู้จัดการมรดกไปดำเนินการแบ่งปันในทายาทตามคำสั่งศาล

ผลก็คือ ในชนบทที่ดินร้อยละไม่น้อยกว่า 60 เป็นที่ดินของ "คนตาย" ลูกหลานทำกินเสียภาษีให้รัฐโดยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตัวเองครอบครองทำประโยชน์
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #41 เมื่อ: 21-11-2006, 09:39 »



สัดส่วนของที่ดินป่าสงวน ต้นนำลำธาร และที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ ควรถูกกันไว้มากกว่านี้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21-11-2006, 09:41 โดย Q » บันทึกการเข้า

นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #42 เมื่อ: 21-11-2006, 10:00 »



สัดส่วนของที่ดินป่าสงวน ต้นนำลำธาร และที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ ควรถูกกันไว้มากกว่านี้ครับ

ที่ดินสาธารณะ ที่ราชพัสดุ ที่หลวง ที่รัฐวิสาหกิจ ป่าไม้ กำลังกลายเป็มปมที่กำลังถกเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุด

บางแห่ง บางแปลง ทางราชการประกาศทับที่ดินทำกินของเกษตรกรที่ถือครองทำกินกันมาแต่บรรพบุรุษ

บางแปลงถูกชาวบ้านบุกรุกเข้ายึดครองด้วยเหตุผลที่ว่าที่ทำกินเดิมถูกนายทุน สถาบันการเงิน(ธนาคาร-สหกรณ์)ยึดเนื่องจากนำไปจำนอง จำนำแล้วไม่มีปัญญาไถ่ถอน ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมดำเนินคดีแทบไม่เว้นวัน

กลายเป็นวัฎจักรอัปยศในสังคม ที่รัฐบาลทุกรัฐบาลไม่พยายามที่จะหาทางแก้ไข ปล่อยให้เป็นปัญหาวนเวียนอยู่เช่นนี้ทุกวี่วัน เห็นแล้วผมอิจหนาระอาใจจริง ๆ
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 21-11-2006, 10:08 »



สัดส่วนของที่ดินป่าสงวน ต้นนำลำธาร และที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ ควรถูกกันไว้มากกว่านี้ครับ

ที่ดินสาธารณะ ที่ราชพัสดุ ที่หลวง ที่รัฐวิสาหกิจ ป่าไม้ กำลังกลายเป็มปมที่กำลังถกเถียงกันไม่มีที่สิ้นสุด

บางแห่ง บางแปลง ทางราชการประกาศทับที่ดินทำกินของเกษตรกรที่ถือครองทำกินกันมาแต่บรรพบุรุษ

บางแปลงถูกชาวบ้านบุกรุกเข้ายึดครองด้วยเหตุผลที่ว่าที่ทำกินเดิมถูกนายทุน สถาบันการเงิน(ธนาคาร-สหกรณ์)ยึดเนื่องจากนำไปจำนอง จำนำแล้วไม่มีปัญญาไถ่ถอน ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมดำเนินคดีแทบไม่เว้นวัน

กลายเป็นวัฎจักรอัปยศในสังคม ที่รัฐบาลทุกรัฐบาลไม่พยายามที่จะหาทางแก้ไข ปล่อยให้เป็นปัญหาวนเวียนอยู่เช่นนี้ทุกวี่วัน เห็นแล้วผมอิจหนาระอาใจจริง ๆ

ผมเสนอว่ารัฐควรจัดสรรค์ที่ดินนิคมสร้างต้นเอง กระจายไว้ให้ทั่วครับ แล้วค่อยๆดึงดูดคนเข้าไป ด้วยโครงการที่น่าสนใจของชาวบ้านในนิคมเอง
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 21-11-2006, 14:14 »

มันไม่ไหวซีครับคุณสมชาย

ให้ชาวนา เสียภาษีที่ดินจากราคาประเมิน เห็นจะต้องดิ้นแน่

ยิ่งระบบท่านปู่ให้เก็บ เพิ่ม 2 เท่าหากปล่อยว่างเปล่า ฯ  จริง ๆ "นาร้าง" ในอีสานก็เยอะครับ

ที่ดินบางแปลง "นายทุน" ไปกว้านซื้อทิ้งรกร้างรอราคาเยอะเลยครับ

พอใกล้ ๆ ครบกำหนด 2-3 ปี ก็จ้างคนไป หว่านหญ้า ทำประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ

ก็กลายเป็น " ที่ดินซึ่งยังทำประโยชน์์ ต่อไป ไม่ต้องโดนภาษีรอบสอง

การบังคับใช้กฎหมายจะมีใครทำละครับ เห็นแต่จะเพิ่มช่องทางแสวงหาประโยชน์ของเจ้าหน้าที่อีกช่องทางหนึ่ง


วันก่อนผมไปนั่งคุยเล่นกับชาวบ้านที่ไปติดต่อขอโอนที่ดินมรดกกับสำนักงานที่ดินจังหวัด "พี่สาว"ในฐานะ"ผู้จัดการมรดก" ทำหน้าที่แบ่งที่ดินให้ทายาท 3 คน ๆ ละ 8 ไร่

เจ้าหน้าที่บอกต้องเสียภาษีที่ดินคนละ 24,000 บาท(ราคาประเมินภาษีไร่ละ 3,000 บาท) ชาวบ้านต้องนั่งปรึกษาหารือกันหน้าดำคร่ำเครียด สุดท้ายได้ข้อสรุปว่าต้องไปขอกู้เงินเจ๊กในตลาดมาคนละ 30,000 บาท หลังจากโอนที่ดินเสร็จแล้ว โฉนดปลิวไปเก็บอยู่ในตู้เซฟของเจ๊กในตลาดทันที ถ้ามีปัญหาสู้ดอกเบี้ยไม่ไหวจนดอกทบต้นต้นทบดอกก็มีสิทธิ์ที่ดินตกไปเป็นของนายทุน 

มีระเบียบกรมที่ดิน เรื่อง "ภาษี" หาก ผู้รับมรดกเป็นผู้ยากไร้ เจ้าพนักงานที่ดิน สามารถยกเว้นภาษีการรับโอนมรดกได้ครับ

แต่กรณีนี้ต้องพิสูจน์ ปกติภาษีมรดก ( ให้ทายาทโดยธรรม ) จะอยู่ที่ ร้อยละ 0.50 บาท ( ของราคาประเมิน )
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 21-11-2006, 14:24 »

เมื่อ "ที่ดิน" กลายเป็น "ทุน" อย่างหนึ่ง ตามระบอบทุนนิยม การจะจัดการเรื่อง "กรรมสิทธิ์ในที่ดิน" จึงเป็นเรื่องยาก

เพราะเราอยู่ในระบบกฎหมายที่อนุญาตให้ประชาชนมี "สิทธิครอบครอง" หรือ "สิทธิในที่ดิน"

หากจะแก้ไขตรงนั้น ต้องไปตีประเด็น "สิทธิครอบครอง" ให้ตกครับ

"สิทธิครอบครอง" นั้น  เกิดตั้งแต่เข้าไปทำประโยชน์โดยเปิดเผยและเป็นที่ดินซึ่ง...ไม่เป็นที่หลวงหวงห้าม ที่สาธารณะประโยชน์

เมื่อนำเรื่อง "สิทธิในที่ดิน" มาเป็นตัวตั้ง สิทธิ์นั้นจึงกลายมาเป็น "สินทรัพย์" และในที่สุด ก็เลยมี "โครงการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน"

หากท่านปู่จะนำเสนอเรื่องนี้ เท่ากับเปลี่ยนระบบสิทธิ์ในที่ดินทั้งหมด....( ผมมองว่าโดยเหตุผลเป็นเรื่องดี แต่สังคมจะรับไหวเหรอครับ )
บันทึกการเข้า

utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 21-11-2006, 14:53 »

ขอให้เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป อาจต้องนานหลายสิบปี แบบ ร.5 ทรงเลิกทาสครับ
เพื่อให้ทุกคนมีเวลาปรับตัวได้พอควร และถือเป็นการชดใช้ให้แก่เจ้าของที่ดินไปด้วยในตัว
จะชดใช้ให้แก่เจ้าของที่ดินวิธีอื่นก็ไม่ควร เพราะเงินชดใช้นั้นจะได้มาจากใครถ้ามิใช่ผู้ลงแรงผู้ลงทุน
ซึ่งเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่นานมากแล้วและยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่รู้ว่าจะต้องเสียเปรียบไปอีกนานเท่าไร
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #47 เมื่อ: 21-11-2006, 15:33 »

ขอบคุณครับ "ลุงแคน" ผมรู้แล้วว่าทำไมมันถึงได้แพงหูดับตับไหม้กันขนาดนั้น

กรณีตัวอย่างที่ผมยกมาข้างต้น "ผู้จัดการมรดก" แบ่งปันทรัพย์มรดกอันเป็นที่ดินให้กับทายาท 3 คน ๆ ละ 8 ไร่(รวมส่วนของผู้จัดการมรดกด้วย)

ที่ดินเรียกเก็บเงินดังนี้ครับ

มรดก
ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน ร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ เว้นแต่เป็นการโอนมรดก ระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส ร้อยละ 0.5 ของราคาประเมินทุนทรัพย์
ค่าอากรแสตมป์ ไม่เสีย
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่เสีย
ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  ไม่เสีย
ขั้นตอนการจดทะเบียน
(กรณีนี้ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน ร้อยละ ๒ ของราคาประเมิน เนื่องจากไม่ใช่การโอนมรดกระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส ราคาประเมินไร่ละ 12,000 บาท ค่าธรรมเนียมไร่ละ 240 บาท รวมเป็นเงิน 1,920 บาท)

การรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน(เพื่อแบ่งแยกแปลงให้แก่ทายาท)

1. เนื้อที่ไม่เกิน     5 ไร่ เวลาทำการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน      1,950   บาท
2. เนื้อที่ไม่เกิน   15 ไร่ เวลาทำการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน      3,750   บาท
3. เนื้อที่ไม่เกิน   30 ไร่ เวลาทำการ 3 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน      5,550   บาท
4. เนื้อที่ไม่เกิน   50 ไร่ เวลาทำการ 4 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน      7,350   บาท
5. เนื้อที่ไม่เกิน  100 ไร่ เวลาทำการ 5 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน     9,150   บาท
6. เนื้อที่ไม่เกิน  150 ไร่ เวลาทำการ 6 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน    10,950   บาท
7. เนื้อที่เกิน      150 ไร่ เวลาทำการ 7 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน    12,750   บาท

กรณีนี้เรียกเก็บอัตราเหมาตามตาม 2 คือ 3,750  บาท เมื่อรวมกับค่าธรรมเนียมเป็นเงินแปลงละ 5,675 บาท (รวมกับค่าคำขอแปลงละ 5 บาท)

มันมาบรรลัยเอาตรงนี้ครับ "ลุงแคน" ผู้จัดการมรดกกับทายาทต้องการความรวดเร็วเนื่องจากต้องการเอาที่ดินเข้าไปค้ำประกันเงินกู้นายทุน ไปเพิ่มเงินให้กับเจ้าหน้าที่รังวัดเป็นกรณีพิเศษอีกแปลงละ 5,000 บาท ส่วนอีกจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าน้ำร้อนน้ำชาให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด(จ่ายให้ในราคาต่อไร่) เพราะไม่เช่นนั้นรออยู่ 3 วันก็ไม่เสร็จ สุดท้ายงบเลยบานเบอะออกไปเป็นไร่ละ 3,000 บาท

พฤติกรรม จนท.ที่ดินผมคิดว่า "ลุงแคน" คงพอจะรู้อยู่นะครับ ชาวบ้านธรรมดาสามัญชนไปติดต่อเดินทางไปกลับอยู่ 5 เที่ยวก็ยังไม่เสร็จ แต่ถ้าบรรดาเจ๊กจีนไปติดต่อมีธนบัตรแนบท้ายเอกสารเป็น "สิ่งที่ส่งมาด้วย"ให้ ช้าสุดไม่เกิน 3 ชั่วโมงเรียบร้อยแถมนำส่งให้ถึงบ้านอีกต่างหาก
 
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #48 เมื่อ: 21-11-2006, 17:57 »

ทราบครับ แปลงละ 5,000 บ้าง 4,000 บ้าง ( เจ้าหน้าที่คนใหนเรียกเอง มีสิทธิ์ถูกร้องเรียนนะครับ )

เพราะความรีบร้อนนั่นแหละ ( ชาวบ้านถึงอยากจ่าย คิดว่าต้องใช้เวลานาน )

ถ้าจะว่าไปถ้ารู้ระเบียบ จะไม่จำเป็นต้องจ่ายอะไร เพราะระเบียบกรมที่ดินออกใหม่

ให้นัดรังวัดภายใน 1 เดือน ( บางแห่งไม่ถึง )

รังวัดแล้วให้ส่งเรื่องรายงานการรังวัดภายใน 1 เดือน ( ถึงฝ่ายทะเบียน )

ฝ่ายทะเบียนรับช่วงต่อ ก็ไม่ควรเกิน 1 เดือน จดทะเบียนแบ่งแยกได้โฉนด

รวมเวลา ไม่น่าจะเกิน 3 เดือนครับ

หากประชาชนอยากทราบความคืบหน้าให้นำใบคำขอ ไปติดตามเรื่องที่สำนักงานที่ดินได้ครับ

หากช้าหรือโดนโยกโย้ ให้ขอพบ เจ้าพนักงานที่ดิน ( หัวหน้าสาขา หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือ ขอพบ ที่ปรึกษาเจ้าพนักงานที่ดินก็ได้ครับ )
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 21-11-2006, 18:04 »

น่าเสียดายส่วนของผู้จัดการมรดกนะครับ

ที่จริง กรมที่ดินมีบริการให้ ไม่ต้องผ่าน"ผู้จัดการมรดก" แต่อย่างใด ( ระเบียบออกมาหลายปีแล้ว )

แต่ "ทายาทโดยธรรม" สามารถชักชวนกันไปให้ครบ ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนมรดก ( ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ) ได้เลยครับ

ส่วนใหญ่ การจดทะเบียนรับมรดก จะจบในวันเดียว ( หากมีเอกสารครบถ้วน )

เมื่อจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ร่วมแล้ว ก็ยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม

หากมีการจดทะเบียนจำนองอยู่ก่อน มีข้อให้ปฏิบัติ 2 วิธี

1. ไถ่ถอนจำนองก่อน
2. จดทะเบียนได้ โดยคำยินยอมของ "ผู้รับจะนอง" ( มีหนังสือยินยอมจากผู้รับจำนอง )

หากไม่ได้รับความไม่สะดวก ขอพบเจ้าพนักงานที่ดิน หรือ ที่ปรึกษาเจ้าพนักงานที่ดินประจำสำนักงานนั้น ( ที่ปรึกษาเจ้าพนักงานที่ดินเป็นเอกชน ซึ่งทางกรมแต่งตั้งให้ช่วยเหลือประชาชนอีกแรงหนึ่ง )
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2
    กระโดดไป: