คิดว่า น่าจะเป็นอันนี้มั้ง
ขอค่ากู้ข้อมูลด้วยนะครับ ต้องไปรื้อมาจาก database backup เลยนะเนี่ย

ผมต้องการตอบคำถามข้างล่าง ต่อเนื่องมาจาก
http://forum.serithai.net/index.php?topic=5355.0 แต่ผมเกรงใจเจ้าของกระทู้ครับ
คุณ mini นำเสนอแนวคิด Social Liberalism ที่ค่อนข้างขัดแย้งกับแนวเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปรัชญาพื้นฐานเรื่อง "เสรี" ในโอกาสการเข้าถึงทางเศรษฐกิจ การศึกษาพื้นฐาน การสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นสภาพ idealism แตกต่างจากเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นการเสนอคำตอบจากประสบการณ์และภาคปฏิบัติ
แต่ผมคิดว่าเราจะ "เสรี" ดังกล่าวได้ ย่อมมีสมมติฐานเกี่ยวกับ "ฐานทรัพยากร" ที่รัฐสามารถจัดสรรให้อย่างไม่จำกัด
ผมขอถามคุณ mini ว่า ในสภาพที่เรามีทรัพยากรจำกัด จะสามารถประยุกต์ใช้แนวคิด Social Liberalism ได้อย่างไร?
ยกตัวอย่างนะครับ.. ในภูเขาแห่งหนึ่งมีพืชของป่าประจำภูเขาเป็นยาวิเศษที่ไม่มีในแห่งอื่นในประเทศเรา ไปปลูกที่อื่นมีแต่เหี่ยวแห้งเฉาตาย แน่นอนว่าพืชของป่านั้นมีจำกัดแต่มีเรื่่อยๆ ถ้าไม่มีการตัดมาใช้จนเกินไปย่อมงอกเงยออกมาให้เราใช้ได้เรื่อยๆ ... แต่โบราณมีเพียงแค่คนในชุมชนแถบนั้นเท่านั้นที่ตัดพืชชนิดนั้นมาใช้รักษาโรคภัย
ต่อมาคนต่างถิ่นต่างก็แย่งกันเข้ามาเก็บพืชยาวิเศษที่ภูเขาแห่งนี้ ต่างอ้างสิทธิว่าภูเขาเป็นของประเทศ คนในประเทศล้วนมีสิทธิในการเข้ามาเก็บพืชยาวิเศษไปขาย แต่ชุมชนใกล้ภูเขาก็พยายามขัดขวาง เนื่องด้วยคนจำนวนมากไปย่อมทำให้พืชยาวิเศษสูญพันธุ์ไปจากภูเขาอย่างรวดเร็ว
สุดท้าย.. รัฐก็เข้ามาระบุว่าทุกอย่างบนภูเขาเป็นทรัพย์สมบัติของประเทศ... คุณ mini จะใช้หลัก Social Liberalism อย่างไรให้ประชาชนทุกคนสามารถมีสิทธิในการเข้าถึงยาวิเศษตัวนี้อย่างเท่าเทียมกัน สมมติว่าพืชยาวิเศษมีกำลังผลิตแค่วันละ 200 ต้น แต่ทั้งประเทศมีคนป่วยหนักใกล้ตายเฉลี่ยวันละ 1000 คน เป็นต้น
ขอยืมมุขของคุณ Jerasak มาใช้... สมมติให้เปลี่ยนจากยาวิเศษเป็นเรื่องอื่นๆ เช่น การศึกษา เป็นต้น
ผมคิดว่าความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ในกรณีนี้คงมีเพียงการ "จับฉลาก" เท่านั้นที่ให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน... แต่ถ้าเป็นกรณีจับฉลาก ผมว่าน่าจะขัดกับความคิดของคุณ mini ที่ไม่สนับสนุนการพยายามจำกัด individual freedomใดใด (น่าจะรวมไปถึงการจับฉลากด้วย)
คุณ mini จะแก้ปัญหานี้อย่างไรครับ?
เป็นคำถามที่มีประโยชน์และน่าสนใจมากครับ
ถึงแม้ว่า ผมไม่แน่ใจ ว่าผมจะเข้าใจคำถามทั้งหมดรึป่าว แต่จะพยายามอธิบายในสิ่งที่ผมเข้าใจดังนี้นะครับ
(ผมคิดว่า วิธีที่เหมาะสมกว่านี้คือ คำถามที่คุณตั้ง คุณก็ควรใช้แนวคิด ที่คุณยอมรับ ... ตอบคำถามด้วย
เพื่อจะได้เปรียบเทียบกันได้ครับ ว่าใครมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร และเราจะช่วยกันปรับปรุงกันและกันได้หรือไม่)
ก่อนอื่น ผมอยากทำความเข้าใจ หลักการสำคัญๆ บางส่วนก่อนนะครับ จะได้อธิบายต่อไปได้
(ผมไม่แน่ใจว่า เราเข้าใจ Social Liberalism ในแนวทางเดียวกันรึป่าว)
Social Liberalism --- แตกต่าง จาก Classical Liberalism
ที่สำคัญคือ เรายอมรับการยับยั้งเบี่ยงเบน เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจบางอย่างได้ ย้ำว่าแค่บางอย่างนะครับ
เช่น ให้มี anti-trust ให้มี การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำได้
และเรายอมให้มีกฎเกณฑ์ของรัฐ ที่จะจัดหา สวัสดิการพื้นฐานได้ เช่น การศึกษา การสาธารณสุข
ถึงแม้ว่า "individual freedom" คือเป้าหมายที่สำคัญที่สุดครับ
(ตัวอย่างสุดโต่งเช่น ยอมรับการผูกพันทางกฎหมายของบุคคลเพศเดียวกัน การค้าบริการทางเพศ การพนันถูกกฎหมาย รวมไปถึง ต่อต้าน capital punishment อาจรวมถึงยอมให้มี การทำแท้ง และ mercy killing)
คำถามเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ใช่คำถามที่ Social Liberalism ไม่สนใจแน่นอนครับ
เพราะทุกที่ มีทรัพยากรจำกัดอย่างแน่นอน และนี่ย่อมไม่ใช่ แนวคิดลอยๆที่เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น
และอย่างน้อย เราไม่คิดว่าเราจะจัดสรรทรัพยากรที่จำกัดนี้ โดยการให้สัมปทานไปเรื่อยๆแน่นอน
ผมไม่แน่ใจว่าควรจะตอบคำถามคุณจาก เหตุการณ์สมมติข้างบน หรือเหตุการณ์จริง แต่ผมจะพยายามตอบทั้งคู่นะครับ
1 เหตุการณ์สมมติ
1.1 ก่อนอื่น ต้องดูว่า คนป่วยหนักใกล้ตายนั้น จำเป็นต้องใช้ยานี้โดยเฉพาะในการรักษาหรือไม่ ถ้าไม่จำเป็น ก็ตัดทิ้งได้ครับ เพราะใช้ยาพื้นฐานอื่นๆได้ ส่วนถ้ารัฐจะเอาสิทธิตรงนี้ ไปจัดสรร ก็ให้เอกชนมาประมูลได้ในระยะสั้น (ไม่ใช่สัมปทานนะครับ)
โดยเลือกผลประโยชน์แบบอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงิน แต่อาจเป็นข้อเสนออื่นๆ เช่น ใครที่เอาไปทำประโยชน์ให้ประชาชนได้มากสุด
หรือถ้ารัฐไม่เอาไปจัดสรร ปล่อยให้ชาวบ้านแถวนั้นที่มาก่อน จัดสรรกันเองไปก่อนก็ได้ ถ้ามีใครบังเอิญเป็นเจ้าของที่
(แต่ถ้าเป็นภูเขา น่าจะเป็นที่ดินของรัฐ เพราะมีความลาดชันสูงและถือว่าเป็นป่าครับ)
1.2 กรณีต้นไม้นี้ เท่านั้นที่รักษาได้ ก็ยังต้องดูอีกว่า เป็นโรคเฉพาะหรือเปล่า
(เช่น ไข้หวัด กับมะเร็ง เราคงไม่จำเป็นต้องรักษามะเร็งให้กับทุกคนนะครับ หรือแนวคิดเศรษฐกิจอื่นๆจำเป็นต้องทำ แต่กับไข้หวัด เราก็จ่ายยาให้คนไข้ส่วนใหญ่ได้ เพราะมันเป็นพื้นฐาน)
ถ้าเป็นโรคเฉพาะ รักษายาก ค่าใช้จ่ายสูงมากๆ ไม่ใช่ว่าคนทั่วไปจะเป็น ก็ยังไม่จำเป็นต้องทำอะไรอยู่ดี ใช้วิธี 1.1
1.3 กรณีที่ต้มไม้นี้เท่านั้นที่รักษาได้ และเป็นโรคทั่วไปสุดๆ สมมติประเภทไข้หวัดก็ได้
รัฐก็อาจเข้ามาจัดสรรตรงนี้ คือ รัฐเอาไปใช้ของรัฐไม่แบ่งให้เอกชน โดยคิดค่าใช้จ่ายที่สูงประมาณหนึ่ง
(ผมไม่แน่ใจว่า ตาย 1000 คน ต้นไม้ 200 ต้น จะให้หมายความว่า 1 คนต่อ 1 ต้นรึป่าว ถ้าใช่จริงๆ เศษฐกิจพอเพียง แก้ได้หรือครับ หรือทุนนิยมอื่นๆ ประชานิยม แก้ได้หรือครับ มันไม่เท่ากันแบบนี้ อย่างอื่นก็แก้ไม่ได้มั้งครับ)
ที่ต้องคิดค่าใช้จ่ายที่สูงประมาณหนึ่ง เพราะการรักษาที่ต้องใช้ต้นทุนที่สูง จำเป็นจะต้องได้รับผลประโยชน์สูงสุด และคนที่สามารถสร้างผลประโยชน์ให้รัฐสูง คือสามารถหารายได้สร้างผลทางเศรษฐกิจได้สูง ได้รับการคัดเลือก
2 เหตุการณ์จริง
1 กรณี สาธารณสุข --- ไม่จำเป็นต้องมี 30 บาทครับ
มีแค่ รับผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในระบบใดๆ ทั้งประกันชีวิต ประกันสังคม ในแบบอานาถาและเป็นโรคแบบธรรมดาก็พอ เพราะนี่คือขั้นพื้นฐาน
(โอกาสในการรักษาโรคพื้นฐานเท่ากันครับ)
(โรคพื้นฐาน ก็เหมือนการศึกษาชั้นประถม มัธยม โรคเฉพาะ ก็อุดมศึกษา และมากกว่านั้น
เราคงไม่ให้คนเรียนฟรีจนจบเอกกันทุกคน ก็เช่นเดียวกันครับ เราไม่ได้ต้องการรักษาทุกคนให้ทุกคน
หรือ แนวคิดอื่นๆที่ไม่ใช่ Social Liberalism จะรักษาทุกโรค ให้เรียนทุกระดับหล่ะครับ)
ส่วนคนอีกหลายล้านคน ก็มีประกันสังคมอยู่แล้ว หรือพวกที่มีกำลังทรัพย์จ่าย ก็ต้องจ่ายครับ
2 กรณี การศึกษา --- อาจจะให้ฟรีจริงๆ ในระดับ 9-12 ปีแรก
ส่วนอุดมศึกษา ถึงเป็นมหาลัยรัฐ ก็ควรยกเลิกให้เงินอุดหนุนเป็นพิเศษ
(ทำไมต้องเอาเงินมาอุดหนุนการเรียนของนักศึกษาบางคนที่เอนติดเท่านั้น ทั้งๆที่บางคนนั้น มีกำลังทรัพย์ที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนที่แท้จริงได้ ขณะที่มีคนเรียนในระดับนี้จริงๆมากกว่านี้ รัฐก็ช่วยได้ไม่หมดอยู่ดี)
แต่เปลี่ยนเป็นการกู้ยืมทั้งหมดแทน ถ้ามีเงินจ่ายค่าเรียนไม่พอ
(เปลี่ยนงบอุดหนุน เป็นกองทุนการศึกษา)
โดยวิธีคืนเงินกู้อาจใช้วิธีการทางภาษีก็ได้
(จนหรือไม่จน ก็กู้ได้ เพื่อจะได้เรียน นี่คือสิ่งที่ให้โอกาสเท่าๆกันครับ แต่ถ้าจะกู้ต้องยอมรับหนี้จากค่าเล่าเรียนแพงๆให้ได้ด้วยนะครับ คนที่จะเรียนๆเล่นๆ จะเริ่มคิดหนัก คนเรียนก็คงต้องตั้งใจเรียนจริงๆกันหล่ะ เพราะมันแพง)
เช่น ใครที่กู้เงิน จะได้รับการลดหย่อนภาษี ในปีที่คืนเงินกู้ เพื่อจูงใจให้รีบคืน
แต่จริงๆ ในความคิดผม ควรจัดหางาน parttime ให้ทำควบคู่ไปด้วยมากกว่า
แต่ผมอยากจะบอกว่า Social Liberalism ไม่ได้หมายถึงความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ในทุกๆเรื่องครับ
ถ้าจะพูดถึงความเท่าเทียม ก็เป็นความเท่าเทียมกัน สำหรับโอกาสในการเข้าถึง ปัจจัยพื้นฐานต่าง ทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข และที่สำคัญบางเรื่อง
แต่ที่สำคัญสุด คือ liberal ครับ (ความเป็นอิสระเสรี) ในการเลือกที่จะเป็นอย่างที่จะเป็น
(เสรีแบบนี้ จำเป็นต้องมีทรัพยากรไม่จำกัดหรือครับ ผมคิดว่าไม่เกี่ยวเท่าไหร่)
(การแข่งขันที่เป็นธรรม การค้าเสรี รัฐเข้ามายุ่งแต่น้อย ภาษีต่ำ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม รักสันติภาพ ต่อต้านความรุนแรง แต่เลือกจะตาย เลือกใช้ยาเสพติด เลือกเพศเดียวกัน เลือกศาสนาที่จะนับถือหรือไม่นับถือก็ได้)
โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปบอกว่าอะไรดีที่สุดสำหรับใครแต่ละคน
เพราะเรามีพื้นฐานที่แตกต่างกัน เติบโตมาในสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างกัน
(บ้านเป็นสังคมหน่วยย่อย แต่ละบ้านไม่เหมือนกันซะทีเดียว)
ตัวอย่างเช่น ถ้าผมใช้ยาเสพติดมากๆ เพราะผมชอบ จนผมใกล้ตายอยู่แล้ว
คุณไม่มีสิทธิบอกว่า ผมควรหยุด เพราะ คุณไม่รู้หรอกว่า ผมเลือกที่จะตาย แลกกับความสุขในการใช้ยาช่วงสั้นๆ
และนั่นคือการเลือกของผมครับ คุณไม่มีสิทธิใช้ความคิดคุณเป็นบรรทัดฐานให้คนอื่นในทุกเรื่อง บอกว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิดในโลก
(ทุกคนมีอิสระที่จะเลือกเท่าๆกัน แม้สิ่งที่เลือกจะไม่เหมือนกัน)
(เดี๋ยวเข้าใจผิด นึกว่าถ้าผมเลือกจะฆ่าใครก็ควรไปฆ่าได้ --- แต่ตัวอย่างนี้ไม่ได้นะครับ เพราะผมไม่มีอิสระไปละเมิดคนอื่นนะครับ ต้องแยกให้ออกด้วย, เช่น ถ้าอยากสูบบุหรีจนเป็นมะเร็งตาย ไม่ผิด เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้าสูบที่สาธารณะ ผิด เพราะละเมิดคนอื่นที่ไม่ได้อยากสูบ ทำให้เค้าต้องสูดควันเข้าไปด้วย แบบนี้น่ะครับ พอเข้าใจรึป่าว)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทั้งหมดนี้ ผมไม่ได้บังคับหรือคาดหวังว่าคุณต้องคิดเหมือนผมครับ แค่เก็บไปคิดบ้าง ก็รู้สึกสำนึกมากแล้ว
แต่สิ่งสำคัญคือ ผมอยากให้คนที่เข้ามา ลองตอบคำถามข้างบนนั้น
โดยใช้แนวทางที่คุณเชื่อ ชื่นชอบ ศรัทธา คิดว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง หรือคิดว่าดีที่สุดดูครับ
หรือแม้กระทั่ง ทักษิณจะแก้ปัญหาอย่างไรรวมไปด้วยก็ได้ครับ