ความเห็นจากแพทย์ 3 สถาบัน ที่สัมผัสผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 51 โดยตรงครับ
นอกจากนี้มีความเห็น อดีตผู้บัญชาการ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และความเห็น จาก อดีตแม่ทัพภาคที่ 4
ตอนนี้ผมค่อนข้างมั่นใจแล้วว่า การบาดเจ็บเสียชีวิตมาจากใช้แก๊สน้ำตาแบบระเบิดรุนแรง----------------------------------------------------------------------------------------------------------
แพทย์3รพ.ยันไม่ใช่แก๊สน้ำตา แต่อดีตผบ.นิติฯเผยทำในจีน รุนแรงถึงตาย10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 05:00:00
http://www.bangkokbiznews.com/2008/10/10/news_302049.phpแพทย์จุฬาฯ-ราม-วชิระ ชำแหละ เหยื่อสลายม็อบไม่ได้เกิดจากแก๊สน้ำตาเพราะอานุภาพรุนแรง
แม้แต่กระสุนยางก็รุนแรงฝังในตัว ด้านผบ.นิติวิทยาศาสตร์แฉแก๊สน้ำตาที่ใช้ผลิตในจีน อานุภาพ
รุนแรงถึงตาย คนละแบบกับที่ตร.สาธิต
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ - ในการเสวนาวิชาการเรื่อง อาการของผู้บาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม
โดยมีศัลยแพทย์รักษาผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มพันธมิตร 3 โรงพยาบาลเข้าร่วม อาทิ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลวชิระพยาบาล พร้อมมีการนำเสนอภาพในการรักษาผู้บาดเจ็บ
และผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์การชุมนุมมาแสดง เพื่อชี้ให้เห็นถึงลักษณะบาดแผลที่เกิดขึ้นยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตั้งแต่
บาดเล็กน้อยจากการถูกสะเก็ดระเบิด รวมถึงบาดแผลที่เกิดจากการสูญเสียอวัยวะ ทั้งนิ้วมือ แขน ขา เท้า และอวัยวะส่วนอื่นๆ
เพื่อรวมกันวิเคราะห์ว่าเกิดจากการใช้แก๊สน้ำตาหรืออาวุธชนิดใด
นพ.ศิรชัย จินดารักษ์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่ได้ติดตามการสลายการชุมนุม เมื่อเปรียบเทียบการใช้แก๊สน้ำตาในสลาย
กลุ่มผู้ชุมนุมทั่วโลก จะเห็นได้ว่า เหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมามีความแตกต่างกับประเทศอื่นๆ อย่างมาก เพราะเกิดบาดเจ็บ
ตั้งแต่เล็กน้อยถึงขั้นบาดเจ็บรุนแรง
ดังนั้นในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บแพทย์จำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในการช่วยผู้บาดเจ็บอย่างดีที่สุด รวมทั้งใช้ในการประเมิน
เพื่อเป็นข้อมูลวิชาการในการรักษาผู้บาดเจ็บต่อไป
นพ.อัฉริยะ สาโรวาท ภาควิชาศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ในส่วนของ น.ส.อังคณา
ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบ ที่เสียชีวิตระหว่างการนำส่ง ลักษณะบาดแผลพบว่ามีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อบริเวณหน้าอก
ต้นแขน เต้านมด้านซ้ายหายไป ซีกโครงด้านซ้ายหักทั้งหมด มีเลือดออกที่ช่องปอด ซึ่งทางนิติเวชสรุปว่า เกิดจากการ
กระแทกด้วยของแข็งความเร็วสูง และมีความร้อน อีกทั้งบริเวณ แผลโดยรอบมีเขม่าดำ แต่ไม่พบวัตถุที่เป็นโลหะ
ที่สะเก็ดระเบิดใดๆ ในร่างกาย
นอกจากนี้จากการรักษาผู้บาดเจ็บรายอื่นๆ พบว่า บางรายมีบาดแผลสาหัสที่ข้อเท้า ขา มือ และแขน โดยเนื้อเยื่อเละเป็นชิ้นๆ
บางรายลึกถึงกระดูก มีถึงขึ้นกระดูหักเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทำให้ต้องมีการตัดอวัยวะส่วนนั้นออกไป เพราะไม่สามารถรักษาได้
นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บอีก 1 ราย ขณะนี้อยู่ในห้องไอซียูของโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยได้รับบาดเจ็บที่หน้าอก และบริเวณลำคอ
ซึ่งพบว่าหลอดลมถูกตัดขาด ทำให้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และอีก 1 รายสูญเสียดวงตา 1 ข้าง
นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ ผู้ช่วยอำนวยการด้านผู้ป่วยวิกฤต ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า
เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างการชุมนุม จากบาดแผลที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา ซึ่งตั้งแต่เหตุการณ์ปะทะที่บริเวณ
สะพานมัฆวานรังสรรค์ จากการรักษาผู้บาดเจ็บรายหนึ่งซึ่งมีบาดแผลเป็นรูหน้าขา รักษาไม่หาย ทำให้ต้องผ่าตัดและพบว่า
มีกระสุนยางฝังตัวอยู่ จะเห็นได้ว่า แม้เพียงการใช้กระสุนยางก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ดังนั้นเหตุการณ์สลายกลุ่มผู้ชุมนุม
ที่ผ่านมาคงไม่ต้องพูดถึง
นพ.รัฐพลี กล่าวต่อว่า โรงพยาบาลจุฬาฯ ตั้งอยู่ไกลจากจุดเกิดเหตุ แต่มีการนำส่งผู้บาดเจ็บกว่า 10 ราย ซึ่งส่วนมีบาดแผลที่มี
รอยฉีกขาด บางรายมีสะเก็ดทั่วร่างกาย รอยฟกซ้ำที่หน้าตา บางรายสูญเสียเส้นเอ็น ลึกกระดูก และเท่าที่ดูเห็นว่าไม่น่าจะเกิดจาก
แก๊สน้ำตาได้ อีกทั้งแผลส่วนใหญ่ยังมีรอยเขม่าดำๆ โดยรอบ อีกทั้งจากฟิลม์เอ็กซ์เรย์บาดแผลยังชี้ว่าไม่ใช่เกิดจากแรงกระแทก
โดยตรงจากของแข็ง เช่น การทุบตี แต่เกิดจากแรงกระแทกในแนวบิดเฉียงที่แรงกระทำรุนแรง วิ่งไม่ตรงไปตรงมา
จากภาพบาดแผลที่ปรากฏ ไม่คิดว่าอาวุธธรรมดาทำให้เกิดแผลเหล่านี้ได้ ไม่ใช่อาวุธปืน กระบอง ซึ่งในฐานะแพทย์คงบอก
ไม่ได้ว่าเป็นอาวุธใด และใครเป็นคนทำ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นรู้สึกว่ารุนแรงมากที่เกิดขึ้นกับคนไทย เป็นภาพสะเทือนใจ ไม่ว่าใครถูกผิด
อาวุธร้ายแรงแบบนี้ก็ไม่ควรนำมาใช้กับคนไทยทั่วไป บาดแผลมีกระดูกโผล่ กระดูกหัก ที่ถูกแรงกระทำรุนแรงมาก ไม่ใช่แค่
กระดูกหักธรรมดา แต่เกิดจากแรงบิด แรงหมุน ทั้งเส้นเลือด กล้ามเนื้อ เส้นประสาท โดยบางรายหมอไม่สามารถรักษาอวัยวะ
ผู้บาดเจ็บได้ ต้องตัดทิ้ง เพื่อรักษาชีวิตผู้บาดเจ็บไว้ ผมคิดว่าสภาพแบบนี้ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับใคร และในฐานะบุคลากรแพทย์
ขอบอกว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเราคงต้องทำหน้าที่รักษาต่อไป นพ.รัฐพลี
ด้าน
พล.ต.ท.อัมพร จารุจินดา อดีตผู้บัญชาการสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด
กล่าวว่า จากการนำเสนอภาพของสื่อมวลชนในเหตุการณ์ เห็นว่า แก๊สน้ำตาที่ใช้มี 2 แบบ ลักษณะยาวประมาณ 6 นิ้ว ขนาด
น้ำหนัก 2 ขีด เวลายิงจะเร็วมาก 200 feet/session ดังนั้นจึงมีแรงกระแทกมหาศาล และเมื่อตกพื้นจะระเบิดออก มาจากประเทศจีน
ต่างจากแก๊สน้ำตาที่ใช้ในกลุ่มประเทศรวย เมื่อตกพื้นจะไม่ระเบิด แต่แก๊สน้ำตาจะค่อยๆ ซึมออกมาแทน
แก๊สน้ำตาที่ใช้ขว้างออกไป เมื่อกระทบพื้นจะระบิดตูมและมีไฟลุกขึ้น ขณะที่แก๊สน้ำตาที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกา เมื่อตกพื้นจะดังฟึบ
แล้วแก๊สค่อยๆ ซึมออกมา ดังนั้นบาดแผลของผู้บาดเจ็บที่เกิดการเผาไหม้ย่อมเกิดขึ้นได้ รวมถึงน้ำหนักและแรงความเร็วของแก๊สน้ำตา
หากวิ่งมากระทบอวัยวะส่วนใดย่อมทำให้ขาด ชนขา ขาก็ขาดได้ เช่นเดียวกับนิ้วและมือ และเมื่อเกิดการระเบิด ไฟลุก ก็ทำให้เนื้อ
ส่วนนั้นรุ่งริ่ง มีรอยไหม้เหมือนภาพบาดแผลที่ปรากฏในข่าว พล.ต.ท.อัมพร กล่าว และว่า ศัลยแพทย์ทั่วไปหากเคยรักษาเด็กที่ถือ
ประทัดระบิดในมือ หากเป็นประทัดลูกเล็กๆ นิ้วและมือเนื้อจะแหว่ง แต่หากเป็นประทัดลูกใหญ่มือก็จะถูกแรงระเบิดตัดขาดไป ดังนั้น
แรงระเบิดแก๊สน้ำตาคงไม่ต้องพูดถึง
พล.ต.ท.อัมพร กล่าวต่อว่า สิ่งที่แพทย์พบในร่างกายผู้บาดเจ็บ จะมีชิ้นส่วนเล็กๆ ที่เป็นพลาสติกบางๆ นั้น เป็นพลาสติกที่ห่อหุ้ม
แก๊สน้ำตาไว้ และจากการสอบถามแพทย์ ไม่พบสะเก็ดระเบิดที่เป็นโลหะ ดังนั้นจึงตัดประเด็นการใช้ระเบิดที่เป็นระเบิดแท้จริงออกไป
แต่น่าจะเกิดจากการใช้แก๊สน้ำตานี้มากกว่า
ต่อข้อซักถามว่า จากการแถลงข่าวของตำรวจระบุว่า นส.อังคณาเสียชีวิตจากระเบิดที่พกมาเอง พล.ต.ท.อัมพร กล่าวว่าไม่ว่าจะเป็น
ระเบิดปิงปอง หรือระเบิดลูกเกลี้ยง หากระเบิดขึ้นจะต้องพบเศษโลหะในร่างกาย แต่การตรวจของแพทย์ไม่พบ ดังนั้นการที่จะพกระเบิด
มาเองจากที่ตำรวจตั้งข้อสังเกตหรือไม่ ให้สังคมกลับไปคิดเอง และคิดว่าคงตอบเองได้ เพราะทุกคนมีสติสัมปชัญญะเท่ากัน อย่างไร
ก็ตามจากเขม่าที่ติดตามร่างกายสามารถตอบได้ว่าเกิดจากอะไร แต่ตอนนี้ต้องรอผลการชันสูตรก่อน
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ในวันที่ตำรวจแถลงข่าวยืนยันใช้แก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุม และมีการสาธิตการใช้แก๊สน้ำตานั้น เป็นแบบเดียวกับ
ในวันที่สลายผู้ชุมนุมหรือไม่ พล.ต.ท.อัมพร กล่าวว่า เท่าที่เห็นไม่เหมือนกันแต่เป็นแก๊สน้ำตาที่ผลิตโดยสหรัฐ เป็นแบบเซฟตี้
เพราะเป็นลักษณะควัน เมื่อกระทบพื้นแล้วจะค่อยๆ ไหลออก อย่างไรก็ตามเท่าที่ทราบประเทศไทยมีการใช้แก๊สน้ำตาในทุกแบบ
ต่อข้อซักถามว่า เหตุใดเมื่อแก๊สน้ำตาที่ใช้มีความรุนแรง จึงมีการนำมาใช้สลายกลุ่มชุมนุม พล.ต.ท.อัมพร กล่าวว่า ทุกคนมีความรู้
เกี่ยวกับอาวุธ แต่รู้ไม่จริง ที่รู้จริงมีไม่กี่คน และหากรู้ว่ายิ่งแล้วทำให้เกิดความรุนแรงอาจไม่ทำแบบนี้ก็ได้ เพราะแม้แต่กระสุนยาง
ที่ใช้ยังทะลุหน้าแข่งได้ ซึ่งตนก็ไม่เคยทราบ แต่เพิ่งทราบจากของแพทย์เมื่อครู่
อย่างไรก็ตามการปราบจลาจล แม้ใช้กระสุนยางก็จะไม่ยิงโดยตรง แต่จะยิงที่พื้นให้กระเด้ง ดังนั้นในรายที่กระสุนยางทะลุนั้น
ไม่รู้ว่าเกิดจากตำรวจอ่อนซ้อมหรือตั้งใจกันแน่ ก็บอกไม่ได้
ต่อข้อซักถามเพิ่มเติมว่า แสดงว่าความสูญเสียจากการสลายการชุมนุมที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากผู้รู้ผู้สั่งการไม่มีความรู้ในการใช้
พล.ต.ท.อัมพร กล่าวว่า ไม่สามารถตอบได้ เพราะไม่รู้ว่าภายในจิตใจใครเป็นอย่างไร แต่คนที่มีความรับผิดชอบที่ดีก็อีกเรื่องหนึ่ง
ด้าน
พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ อดีตแม่ทัพภาค 4 และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ตนอยู่ในสนามรบมาหลายปี
เคยชินกับบาดแผลสงคราม เวลาที่มีคนเจ็บ ตนจะไปรับด้วยตนเอง และจะตามไปในห้องผ่าตัดด้วยทุกครั้ง ตนไม่เคยพูดเสียงเครือ
แบบนี้มาก่อน แม้ว่าทหารจะเสียชีวิตบาดเจ็บก็ตาม
แต่ในเหตุการณ์ในวันที่ 7 ตุลาคมนั้น ตนอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ขณะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลยิงใส่ประชาน
ที่กำลังเดินกลับจากรัฐสภาไปทำเนียบรัฐบาล โดยไม่ได้มีการคุกคามเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ทั้งนี้ตนเคยชินกับเสียงอาวุธต่างๆ รู้ว่า อะไรเป็นเสียงปืน ระเบิด แก๊สน้ำตา หากแก๊สน้ำตาเมื่อตกพื้นจะดังป๊อก แต่กลับได้ยินเสียง
ตกป๊อกและมีเสียงบึ้มตามมา ตนนั่งอยู่ในรถ มีลูกหนึ่งตัดกิ่งไม้ขาดไม่ใช่แก๊สน้ำตา
ผมเห็นภาพข่าว มีทั้งปืนยาง ปืนแก๊สน้ำตา และปืนเอ็ม 79 ปืนลูกซอง ซึ่งหากกลับไปดูภาพจะเห็นอาวุธเหล่านี้ และจากการ
เก็บกวาดก็พบกระสุนลูกซองจำนวนมาก หรือกระสุนลูกปลายที่ม็ดเล็กมากเหมือนถั่วเขียวไว้ยิงนก แต่หากยิงใกล้ๆ พุงโหวได้
ทั้งนี้ผมมีคำถามนิดเดียวว่า ในขณะแพทย์ผ่าตัดนั้นได้กลิ่นแก๊สน้ำตาจากแผลผู้บาดเจ็บหรือไม่ ถ้าได้กลิ่นก็ใช่แก๊สน้ำตา เพราะ
กลิ่นจะคงทนมาก แต่ถ้าไม่ได้กลิ่นแก๊สน้ำตา ก็ไม่ใช่เกิดจากกระสุนแก๊สน้ำตาแน่นอน