ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-04-2024, 08:45
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  Full Speech of Prime Minister Surayud Chulanont at the Apec CEO Summit in Hanoi. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
Full Speech of Prime Minister Surayud Chulanont at the Apec CEO Summit in Hanoi.  (อ่าน 910 ครั้ง)
Haa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 161



« เมื่อ: 18-11-2006, 08:11 »

Keynote Address

by His Excellency General Surayud Chulanont (Ret.)

Prime Minister of the Kingdom of Thailand

"Reform and foreign direct investment: A view from Thailand" APEC CEO Summit 2006

Hanoi, Vietnam

-------------------------------------------------------------------------


Dr. Vu Tien Loc, Chairman of the APEC CEO Summit 2006,

Excellencies, Distinguished Participants,

 I am greatly honoured to have this opportunity to address this

distinguished gathering of APEC business leaders. I thank Dr. Vu Tien

Loc, Chairman of the APEC CEO Summit, for his kind invitation.

From my perspective the timing couldn't be better.  Recent

political developments in Thailand require clarification in the eyes of the international business community. So, this is an excellent opportunity for me to do so, while at the same time strongly reaffirming the Royal Thai Government's continuing commitment to sustainable economic growth driven overwhelmingly by the private sector, both domestic and foreign.

 I intend to address the following topics:

 -- The military intervention of September 19 and political  developments over the last two months.

--  The timeline for political reform over the next 12 months,

 culminating in a free and fair general election by the end

 of 2007.

 -- My Interim Government's major reform agenda, and, finally,

 -- My snapshot of the fundamental and dynamic strengths

 of Thailand's economy and why our reform agenda will make

 Thailand an even more attractive location for your FDI.

 When the military intervened in the supposedly democratic governance of our country on September 19 many foreign observers were puzzled by the Thai people's reaction.  Tanks were festooned with flowers, family snapshots taken with tough-looking, but smiling, soldiers.

Public opinion polls reported that the overwhelming majority of Thai people, both urban and rural, supported the intervention.

 Given the Thai people's hard won democratic development over the last 30 years, how could they react so peacefully and so positively to the overthrow of the 1997 "People's" Constitution, the most liberal and progressive basic law ever?

To answer this question, one must look at what had been happening to Thailand over the last five years.  Democratic checks and balances had been undermined and weakened to the core.  Thai society had become polarised as never before.  The poor were going deeper into debt.  The rule of law was being systematically subverted.  Human rights abuses multiplied.  Corruption and cronyism were rampant.  The country had reached a constitutional impasse that defied traditional democratic solutions.

Therefore, the military intervention of September 19 was a uniquely Thai response to the need for urgent political reform.  We have given ourselves a breathing space for genuine democratic reform, a chance to strengthen weakened democratic institutions, restore eroded checks and balances, and ensure that transparency and good governance are given more than lip service.

So far, we have gotten off to a running start.  The promises made in the initial days have been kept to the letter.  With my appointment as Prime Minister on October 1, the military intervention effectively lasted 10 days.  An Interim Constitution has been promulgated. The Government has submitted its policies to the new National Legislative Assembly.  A Constitution Drafting Council will soon be established.  This new Constitution will be ratified by the people through a national referendum, leading to free and fair elections by the end of 2007.

Over the next 12 months, the Interim Government intends to address four major structural challenges:  to advance political reform, restore national unity, redress income inequality and strengthen the rule of law.  This, I realise, is quite a tall order.

An elected government is what we are preparing the groundwork for.  But elections are but one component of a democracy.  An elected government must also be accountable and transparent.  Independent checks and balances must be protected.  Public participation must go beyond elections.

That is why we are making political reform our top priority. The Interim Constitution has set a timeline of one year for a new Constitution and fresh elections.  Before then, the Interim Government will encourage as much public participation as possible.  We aim to stimulate a broad, inclusive national debate. Our national communications resources will be used to educate and inform the people.  The Government will not impose its views upon the citizens, but will facilitate and encourage informed choice.

            Our second, closely related, priority is the restoration of national unity. Domestic social and political divisions have been deepening during the past five years.  We need to reject the growing culture of confrontation and seek instead to promote dialogue and reconciliation.  Nowhere is this need more keenly felt than in Thailand's deep South.

             The Government has already taken initial steps toward reconciliation.  I recently apologised to the Thai Muslims in the deep South for previous governments' often harsh repression.  Charges against protestors have been dropped.  A civilian coordination centre disbanded by the previous government has been reconstituted.  During a recent trip to Malaysia I restored, I believe, what have traditionally been warm and friendly relations with our southern neighbour.  These are just our first steps.  But having worked in the deep South over the last three years in a civil society capacity, and being aware of the multi-dimensional nature of the problems, I believe that an approach based on understanding, compassion and right actions is the only path to justice, peace and harmony, and ultimately a more prosperous deep South.

              Our third major challenge is to tackle income inequality.  Thailand has been one of the fastest growing economies in the world, yet we still face a wide gap between rich and poor, not only in terms of income but also opportunity.  My Government will pursue policies to give the poor greater opportunities for education, health and a better quality of life.  We will introduce new policies and continue some initiated under the previous government, provided they prove effective and can be made transparent and sustainable.

             Finally, our fourth major challenge is strengthening the rule of law.  When the law is applied unevenly, it opens the way for corruption.  Corruption encourages inefficiency.  It is also bad for business. If Thailand is to become a more just, equitable and democratic society, we need to become a country ruled by law, not by money or privilege.  We also need to ensure that relevant laws are updated to reflect our democratic aspirations and the realities of the globalised economy.

Excellencies,

Distinguished Participants,

Our efforts will be guided by four overarching operating principles:  transparency, justice, efficiency and the economical and sustainable use of resources, or "sufficiency economy".  These principles will also guide our economic policies.

The first three are self-explanatory, but there has been some misunderstanding over the term "sufficiency economy".  Let me reassure you that our sufficiency economy approach is based on common sense principles: moderation, rationality, and self-immunisation from both domestic and external shocks, rather than anything else.

GDP growth continues to be important, of course, but it should not be at the expense of people or the environment.  The quality of growth will become an equally important measure of success.

Some have asked whether such an approach is compatible with modern capitalism.  If corporate social responsibility, good governance, and better managed risk are compatible with modern capitalism then clearly the sufficiency economy is also.

All of this will take place against a backdrop of continuing strong economic fundamentals.  Thailand has always been open to the global economy.  Under the Interim Government, it will remain so.

Let me present you with a snapshot of where we stand.  It is a picture that reflects our strong fundamentals.  Since September 19 up to today, there has been a constant flow of funds into our stock market.  The Stock Exchange of Thailand has shown an upward trend for the past six weeks.  Foreign Direct Investment is also rising.  It is higher year on year from 2005, and the latest figures are more positive than at the beginning of the year.  Our exports are also doing well, up over 15% year on year.  If anything, it is our strong Baht that we are worried about.  All these are signs of strength and confidence in the Thai economy.

As part of ASEAN, we are forging ever closer links not only within the region, but also with economic powerhouses such as India, China and Japan.  ASEAN plans to become a free trade area by the year 2010 and an ASEAN Community by 2020 or even earlier.  At the ASEAN Summit in Cebu, the Philippines, next month, the region's leaders will discuss how to expedite this process further.

Thailand also prides itself on being ranked one of the world's most attractive investment destinations and one of the easiest countries to do business in.  Our thriving auto industry has won us recognition as the Detroit of Southeast Asia.  This year we will export some 500,000 vehicles to the world.  Our agricultural abundance makes us the only net food exporter in Asia.

We believe in partnership with the international business community.  There will therefore be no change in our investment policy.  Foreign investment will continue to enjoy full protection.  As we pursue the Bogor Goals in accordance with APEC, we will strengthen our communities and societies so that they fully benefit from liberalisation.

Indeed, the structural benefits from anticipated reforms will,             I hope, be welcomed by our international partners.  The reform of current regulations on trade and enhancement of transparency in government contracts will ensure greater predictability and good governance.  Meanwhile, the Government policy statement has clearly outlined a particular emphasis on productivity improvements for Thai enterprises, an aspect that had been neglected for far too long.

All of this means ample opportunities for the foreign investor.  We welcome in particular foreign direct investment that will help us meet our development objectives.  Let me give you a few examples.

We will continue with the development of large-scale infrastructure projects, the so-called Mega-Projects.  To this end, we have recently announced that we anticipate opening bidding on mass transportation routes within March 2007.   The main requirements will be that such projects are of tangible benefit to the public, promote growth and development, and are implemented in a transparent manner.

We do recognise that financing can be a challenge.  We are therefore keen to work with the private sector to devise innovative means of financing as appropriate.

Another priority area for us is the reform of our education and learning system.  We need to effectively prepare future generations for the challenges of globalisation.  We can no longer afford to regard our manpower simply as hands to be put to work in farms and factories. We wish to bring out the creative and intellectual potential of every citizen in our society.  We would therefore welcome foreign direct investment that will help us build a strong and equitable knowledge-based society.  Improvements in Thailand's intellectual infrastructure would, in turn, accelerate knowledge creation and innovation to enhance our long-term potential.

Another area where we wish to see greater public-private partnership is the environment.  A sustainable environment is necessary to ensure the quality of life that we wish to see for our citizens.  Environmental technologies and management know-how that are suitable to Thailand's conditions would contribute greatly to our sustainable development.

Excellencies,

Distinguished Participants,

The 64 million Thai people are working hard, and challenging ourselves, to move forward onto a more sustainable national development path, more sustainable democratically and economically.  We are seeking to build a more just, more compassionate and more egalitarian society.

My Government will rebuild the institutions that are necessary for a strong and stable democracy.  Reform means that transparency, accountability, and good governance will be ingrained into all parts of government.  This is necessary not only for Thailand's democracy, but for our development to be sustainable.

When you combine Thailand's strong fundamentals with the

structural benefits accruing from the Interim Government's actions, Thailand will offer greater transparency, more efficient governance, greater socioeconomic and political stability and greater sustainability.   In other words, for our partners in APEC and around the world it will be  a better place to do business in, and to do business with.

Thank you very much for your kind attention.
บันทึกการเข้า

All tyranny needs to gain a foothold is for people of good conscience to remain silent.

Thomas Jefferson
*bonny
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,459



« ตอบ #1 เมื่อ: 18-11-2006, 08:45 »

ผมคิดว่า พูดให้สวยหรูอย่างไรก็ได้ครับ  เพราะเวทีนี้ไม่มีคนซักค้าน

เหตุผลในการเข้าแทรกแซงระบอบประชาธิปไตยที่ว่า..
To answer this question, one must look at what had been happening to Thailand over the last five years.  Democratic checks and balances had been undermined and weakened to the core.  Thai society had become polarised as never before.  The poor were going deeper into debt.  The rule of law was being systematically subverted.  Human rights abuses multiplied.  Corruption and cronyism were rampant.  The country had reached a constitutional impasse that defied traditional democratic solutions.

มันเป็นเหตุผลพื้นๆ ธรรมดาๆ ที่เผด็จการในโลกที่สามทุกคนนำมาอ้าง  ซึ่งชาวโลกก็คงแค่พยักหน้า "หงึกๆ" ทั้งๆ ที่ในใจเขาคิดอีกอย่างหนึ่ง

ถ้าจะให้หนักแน่น ผมว่า ท่านต้องยกตัวเลขความสูญเสีย  ทั้งจำนวนคน  จำนวนเงิน และพฤติกรรมที่ระบุชัดว่า ทักษิณเป็นต้นเหตุ ด้วย

ผมทำใจเป็นกลาง  สมมุติตัวเองเป็นชาวต่างชาติและนั่งฟังท่านอ่านแถลงการณ์นี้  บอกตามตรงว่า เหมือนฟังคำแก้ตัวมากกว่า  และผมคงนั่งหลับในตอนกลางๆ ไปแล้ว
บันทึกการเข้า

ประเทศชาติมีภัย  เสรีไทยร่วมกอบกู้
p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #2 เมื่อ: 18-11-2006, 10:49 »


อ้างถึง
The poor were going deeper into debt.  The rule of law was being systematically subverted.  Human rights abuses multiplied.  Corruption and cronyism were rampant.

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความจริงเหรอครับ
หรือว่าเป็นคำแก้ตัวที่ใช้หลอกชาวบ้านไปวันๆ


 
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
Haa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 161



« ตอบ #3 เมื่อ: 18-11-2006, 10:51 »

ผมว่าฝรั่งที่ติดตามข่าวสารภายในประเทศไทย คงเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านนายกฯสุรยุทธกล่าวไว้ทุกประการ

ผมเชื่อว่า ถ้าให้เผด็จการพม่าออกมาพูด ก็คงพูดไม่ได้อย่างนี้ และ คงไม่มีใครเชื่อถือด้วย
   
บันทึกการเข้า

All tyranny needs to gain a foothold is for people of good conscience to remain silent.

Thomas Jefferson
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #4 เมื่อ: 18-11-2006, 21:51 »


อ้างถึง
The poor were going deeper into debt.  The rule of law was being systematically subverted.  Human rights abuses multiplied.  Corruption and cronyism were rampant.

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความจริงเหรอครับ
หรือว่าเป็นคำแก้ตัวที่ใช้หลอกชาวบ้านไปวันๆ


 
ไม่เข้าใจว่าเรื่องแบบนี้นายกเฒ่าเอาไปพูดในเวทีระดับนี้ได้อย่างไร ถ้ามันไม่มีข้อพิสูจน์ยิ่งจะทำให้ชาวบ้านชาวช่องเค้า
ไม่เชื่อถือประเทศเข้าไปใหญ่ ถ้าเค้าคิดว่ารัฐบาลจะกล่าวหาอะไรก็ได้ด้วยอำนาจทหารหนุนหลัง ก็จะทำให้เค้าหาเหตุ
ไม่ยอมซื้อของจากเรานะครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 18-11-2006, 22:07 »

ที่เว็บสำนักนายกก็แปลเป็นไทยครบถ้วน คล้าย ๆ กับแถลงการณ์กลาย ๆ

มติชนก็เก็ยมาลงแล้ว อ่านง่าย ๆ เข้าใจง่าย ไม่ทราบว่าในเว็บนี้ผมเอามาลงหรือยังไม่แน่ใจ


เจอแล้วครับ

"สุรยุทธ์" ยันศก.ไทยเข้มแข็ง พร้อมก้าวต่อไปอย่างมั่นคงในเวทีโลก

มติชน วันที่ 17 พ.ย. 2549

วันนี้ (17 พ.ย.) รายงานข่าวจากเว็บไซต์ทำเนียบ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 12.45 น. พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์  นายกรัฐมนตรี เดินทางจากท่าอากาศยานทหาร (กองบิน 6) โดยเครื่องบินกองทัพอากาศ (Airbus A319 CJ) เที่ยวบินที่ RTAF 211 เดินทางถึงกรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในเวลาประมาณ 14.30 น.

ต่อมาเวลา 16.30 น. ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ครั้งที่ 14 นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมและกล่าวสุนทรพจน์ ในการประชุม APEC CEO Summit 2006 ณ ห้อง Auditorium ศูนย์การประชุมแห่งชาติ กรุงฮานอย ในหัวข้อ Successfully Competing for Foreign Direct Investment : What are the lessons learned from APEC Economies ชี้แจงภารกิจสำคัญ 4 ประการ ที่รัฐบาลต้องเร่งเดินหน้าดำเนินการในอีกหนึ่งปีข้างหน้า คือการพัฒนาการปฏิรูปการเมือง การฟื้นฟูความสมานฉันท์ของคนในชาติ การแก้ไขการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม และการสร้างหลักนิติธรรมให้มีความเข้มแข็ง พร้อมยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับทุนนิยมสมัยใหม่ เพื่อให้ไทยเป็นสถานที่ที่ดียิ่งขึ้นของการลงทุน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อที่ประชุมสภาธุรกิจเอเปคว่า ถือเป็นจังหวะเวลาอันดีที่จะได้มีโอกาสชี้แจงต่อชุมชนธุรกิจต่างประเทศ เกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน และขอยืนยันว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยมีภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ในโอกาสนี้ จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ต่างๆ ดังนี้

- การปฏิรูปการเมือง เมื่อวันที่ 19 กันยายน  และการพัฒนาทางการเมืองตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา

- กรอบเวลาในการปฏิรูปการเมืองในอีกหนึ่งปีข้างหน้า  เพื่อให้การเลือกตั้งในปลายปี 2550 เป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม

- ภารกิจการปฏิรูปสำคัญ ๆ ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลชั่วคราว

- มุมมองเกี่ยวกับพื้นฐานและความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยและการปฏิบัติต่างๆ ที่ทำให้ไทยเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจมากขึ้น สำหรับนักลงทุนต่างประเทศ

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศ อาจรู้สึกแปลกใจต่อปฏิกิริยาของคนไทย ที่มีต่อการปฏิรูปการเมืองในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา ทั้งดอกไม้ประดับรถถัง การถ่ายรูปครอบครัวกับทหาร  รวมถึงผลสำรวจความคิดเห็น ที่พบว่าคนส่วนใหญ่ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดให้การสนับสนุนการปฏิรูปการเมืองในครั้งนี้

อาจจะยิ่งสงสัยว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างล้มลุกคลุกคลานตลอดช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา  ทำไมผู้คนถึงได้มีปฏิกิริยาในเชิงบวกต่อการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540  ที่ว่าถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มีเสรีภาพและมีหลักกฎหมายที่ก้าวหน้า

คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าว อาจต้องกลับไปดูประเทศไทยตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การตรวจสอบและการถ่วงดุลตามแนวทางประชาธิปไตยมีความอ่อนแอ สังคมไทยถูกกัดกร่อนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คนจนมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น มีการละเลยกฎหมายอย่างเป็นระบบ การอ้างเอาสิทธิมนุษยชนไปใช้แบบผิดๆ มีมากยิ่งขึ้น ปัญหาการคอร์รัปชั่น ประเทศมาถึงทางตันจากการไขปัญหาจากแนวทางประชาธิปไตยแบบเดิมๆ

ดังนั้น การที่คนไทยมีปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปการเมืองเมื่อวันที่ 19 กันยายน จึงเป็นลักษณะเฉพาะที่ต้องการเห็นการเมืองมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ดังนั้นจึงเป็นการชะลอเวลา เพื่อให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพื่อให้สถาบันประชาธิปไตยที่อ่อนแอกลับมาเข้มแข็ง ฟื้นฟูระบบการตรวจสอบและการถ่วงดุลที่ผุกร่อน และยึดถึงหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม  10 วันหลังจากการปฏิรูปการเมือง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีการแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกำลังจะมีความจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ จะได้รับการเห็นชอบจากประชาชนโดยการลงประชามติ  เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในปลายปี 2550

นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงความท้าทาย ที่เป็นภารกิจสำคัญ 4 ประการที่รัฐบาลต้องเร่งเดินหน้าดำเนินงาน ตลอดช่วงระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้านี้ ประกอบด้วย การพัฒนาการปฏิรูปการเมือง การฟื้นฟูความสมานฉันท์ของคนในชาติ การแก้ไขการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม และการสร้างหลักนิติธรรมให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับรัฐบาลชุดต่อไปที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของประชาธิปไตย รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะต้องมีความน่าเชื่อถือและมีความโปร่งใส การตรวจสอบและการถ่วงดุลจะต้องได้รับการปกป้อง รวมทั้งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมมากกว่าการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว

ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปการเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก  โดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดกรอบเวลาเพียงหนึ่งปี สำหรับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งหน้า ก่อนจะถึงเวลานั้น รัฐบาลชั่วคราวจะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ส่งเสริมให้มีการหารือกันอย่างกว้างขวาง  ใช้ประโยชน์จากช่องทางการสื่อสาร เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและให้ความรู้แก่ประชาชน  โดยจะไม่มีการชี้นำแต่จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้

ความท้าทายประการที่สองคือ การสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การเมืองและสังคมภายในประเทศมีความแตกต่างกันอย่างรุนแรง จึงต้องการหยุดวัฒนธรรมการเผชิญหน้าที่กำลังรุนแรงขึ้น ส่งเสริมการเจรจาและการสมานฉันท์  โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย

เพื่อเป็นการเริ่มต้นการสร้างความสมานฉันท์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตนเองได้กล่าวขอโทษต่อพี่น้องชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ ต่อการดำเนินการอย่างรุนแรงของรัฐบาลในอดีต ยกฟ้องผู้ต่อต้าน ฟื้นฟู ศอบต. ที่ถูกยกเลิกไปโดยรัฐบาลชุดที่แล้ว และในการเดินทางเยือนมาเลเซียที่ผ่านมา เชื่อว่าจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ของไทย จากการที่เคยได้ปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมศักยภาพสังคมและประชาชนในพื้นที่ภาคใต้กว่าสามปีพบว่า ปัญหามีหลากหลายมิติ โดยแนวทางแก้ปัญหานั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และการดำเนินการที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่ความยุติธรรม สันติภาพ ความปรองดอง และท้ายที่สุดคือความเจริญรุ่งเรืองของชายแดนใต้

ความท้าทายประการที่สาม คือ การแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้อย่างไม่เท่าเทียม แม้ไทยจะเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในโลก คนรวยกับคนจนก็ยังคงมีช่องว่างทั้งในด้านรายได้และโอกาสที่ห่างไกลกัน รัฐบาลจึงได้ดำเนินนโยบาย เพื่อให้คนจนมีโอกาสด้านการศึกษา การสาธารณสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยจะมีทั้งการกำหนดนโยบายใหม่ และการเดินหน้านโยบายที่ริเริ่มโดยของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มีประสิทธิภาพและจะได้ทำให้อย่างโปร่งใสและยั่งยืน

ความท้าทายประการสุดท้าย คือ การสร้างหลักนิติธรรมให้มีความเข้มแข็ง หากมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างไม่เท่าเทียม เป็นการเปิดโอกาสให้มีการคอร์รัปชั่น คอร์รัปชั่นทำให้ประสิทธิภาพลดหย่อนส่งผลร้ายต่อธุรกิจ หากต้องการให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีความชอบธรรม มีความเท่าเทียม และเป็นประชาธิปไตย กฎหมายจะต้องเป็นหลักในการบริหารประเทศ ไม่ใช่ด้วยเงินหรือสิทธิพิเศษต่างๆ และกฎหมายสำคัญๆ จะต้องปรับให้ทันสมัยสอดคล้องกับความเป็นจริงของเศรษฐกิจโลก

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินนโยบายจะอยู่บนหลักการ 4 ป คือ โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพและการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด หรือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ

นายกรัฐมนตรียังได้ให้ความหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่บางคนอาจจะยังมีความสับสนอยู่บ้างว่า เป็นแนวทางที่อยู่บนหลักการพื้นฐาน คือ การเดินสายกลาง ความมีเหตุผล และภูมิป้องกันตนเองจากความรุนแรงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

การเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจหรือ GDP ก็ยังคงมีความสำคัญ แต่จะต้องไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากประชาชนหรือทรัพยากร การเติบโตอย่างมีคุณภาพถือเป็นสิ่งสำคัญในการวัดความสำเร็จ บางคนอาจมีคำถามว่า แนวทางดังกล่าวสามารถเป็นไปได้ในระบบทุนนิยมสมัยใหม่จริงหรือ ซึ่งหากความรับผิดชอบทางสังคมของภาคธุรกิจ หลักธรรมาภิบาล และการบริหารจัดการความเสี่ยง สามารถไปกันได้ดีกับทุนนิยมสมัยใหม่แล้ว เศรษฐกิจพอเพียงก็เช่นเดียวกัน และภายใต้รัฐบาลชั่วคราวนี้ ประเทศไทยก็ยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจเสรีในเศรษฐกิจโลก

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้หยิบยกสถานการณ์สำคัญๆ ต่าง ที่สะท้อนถึงพื้นฐานที่แข็งแกร่งของไทย อาทิ การที่มีเงินทุนไหลเข้าในตลาดหลักทรัพย์ของไทยอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ 19 กันยายน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นตลอด 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา การลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบตัวเลขต่อปี 2548 และตัวเลขต่างๆ ยังเป็นไปในทิศทางบวกมากกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 หากจะยังห่วงอยู่บ้างคือ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย

ในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยไม่เพียงร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคแต่ยังผูกพันกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อาทิ อินเดีย จีนและญี่ปุ่น ทั้งนี้ อาเซียนประกาศจะเป็นเขตการค้าเสรีภายในปี 2553 และพัฒนาเป็นชุมชนอาเซียนในปี 2563 หรือเร็วกว่านั้น และการประชุมสุดยอดอาเซียนที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนหน้า ผู้นำในภูมิภาคจะได้มีการหารือร่วมกัน เพื่อเร่งรัดกระบวนการดังกล่าว

ประเทศไทยยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศที่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกสบาย การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ทำให้ไทยเป็นที่รู้จักกันในนามของดีทรอย์ทแห่งเอเชีย ในปีนี้ประเทศไทยจะส่งออกรถยนต์ไปทั่วโลกกว่า 500,000 คัน และความอุดมสมบูรณ์ด้านเกษตร ทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกสุทธิด้านอาหารแห่งเดียวในเอเชีย

รัฐบาลยังเชื่อมั่นในการเป็นหุ้นส่วนกับชุมชนธุรกิจต่างประเทศ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการลงทุน การลงทุนจากต่างประเทศจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ และการดำเนินนโยบายภายใต้เป้าหมายโบกอร์ และเอเปค ไทยจะได้ทำให้ชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็ง เพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการค้าเสรีอย่างเต็มที่ หุ้นส่วนต่างประเทศจะได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปต่างๆ ที่กล่าวมา การปฏิรูปกฎเกณฑ์ด้านการค้า จะยิ่งสร้างความโปร่งใสและชัดเจนมากยิ่งขึ้นในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายของรัฐบาลยังได้เน้นการพัฒนาความสามารถในการผลิตของภาคธุรกิจไทย ที่ถูกละเลยมานาน

ดังนั้น ประเทศไทยจึงเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ และยินดีต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง ซึ่งจะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา ไทยยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า Mega Project โดยได้มีการประกาศให้มีการยื่นซองการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมในเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน ส่งเสริมการพัฒนาและการเติบโต และจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส

การปฏิรูปด้านการศึกษาและระบบการเรียนการสอน ยังเป็นอีกหนึ่งสาขาที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมของคนไทยในการเผชิญหน้าต่อความท้าทายในระบบโลกาภิวัฒน์ เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถพึ่งพาแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตร ความรู้ความสามารถของทุกคนจะต้องถูกนำมาใช้ ไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศที่จะช่วยสร้างสังคมที่อยู่บนพื้นฐานองค์ความรู้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางภูมิปัญญาของไทย ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สร้างความรู้และนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมความสามารถในระยะยาว

นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องการเห็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชนในสาขาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมจำเป็นต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย เป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในตอนท้ายว่า  คนไทยทั้ง 64 ล้านคน ทุ่มเทอย่างหนัก เพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและความเป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมที่เป็นธรรมมีความปรองดองและเท่าเทียมกัน รัฐบาลจะสร้างองค์กรที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้ประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งและมั่นคง  ทั้งนี้ การปฏิรูป หมายถึงความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ และธรรมาภิบาล ในทุกๆส่วนของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย และเมื่อรวมพื้นฐานประเทศไทยที่มีความแข็งแกร่งกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิรูปภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลชั่วคราว ประเทศไม่เพียงแต่จะนำเสนอความโปร่งใส ประสิทธิภาพ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และความเติบโตอย่างยั่งยืน จะยังทำให้ไทยเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจทั้งในไทยและกับคนไทยมากยิ่งขึ้น


http://forum.serithai.net/index.php?topic=9944.0

โพสท์ไว้ตั้งแต่เมื่อคืนครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 22:11 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #6 เมื่อ: 19-11-2006, 23:38 »


อ้างถึง
The poor were going deeper into debt.  The rule of law was being systematically subverted.  Human rights abuses multiplied.  Corruption and cronyism were rampant.

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความจริงเหรอครับ
หรือว่าเป็นคำแก้ตัวที่ใช้หลอกชาวบ้านไปวันๆ


 
ไม่เข้าใจว่าเรื่องแบบนี้นายกเฒ่าเอาไปพูดในเวทีระดับนี้ได้อย่างไร ถ้ามันไม่มีข้อพิสูจน์ยิ่งจะทำให้ชาวบ้านชาวช่องเค้า
ไม่เชื่อถือประเทศเข้าไปใหญ่ ถ้าเค้าคิดว่ารัฐบาลจะกล่าวหาอะไรก็ได้ด้วยอำนาจทหารหนุนหลัง ก็จะทำให้เค้าหาเหตุ
ไม่ยอมซื้อของจากเรานะครับ

คุณชอบแถครับ
ตอนนี้ในเวทีระดับนี้เขาเชื่อกันหมดทุกคนแล้วครับ
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ก็เชื่อกันหมดแล้ว
แต่มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ยอมเชื่อ
คุณชอบแถพอจะเดาได้ไหมครับว่าเขาเป็นใคร


 
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 20-11-2006, 01:18 »

ถ้าไม่เชื่อ บุช คงไม่ส่งพ่อ มาไทยปีหน้าครับ

ขนาดสำนักข่าวต่างประเทศยังตั้งข้อสงสัย ทำไม บุช มองไทยไม่เหมือนพม่า

ที่สำคัญ ผู้นำไทย เข้าใจอ้างรัฐธรรมนูญซึ่งมีกรอบเวลาแน่นอน เข้าใจว่าสถานทูตของต่างชาติต่างส่งข่าวไปก่อนแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-11-2006, 01:23 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: