ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-04-2024, 19:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  นายกไทยในเอเปค "สุรยุทธ์" ยันศก.ไทยเข้มแข็ง พร้อมก้าวต่อไปอย่างมั่นคงในเวทีโลก 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
นายกไทยในเอเปค "สุรยุทธ์" ยันศก.ไทยเข้มแข็ง พร้อมก้าวต่อไปอย่างมั่นคงในเวทีโลก  (อ่าน 898 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 18-11-2006, 00:18 »

"สุรยุทธ์" ยันศก.ไทยเข้มแข็ง พร้อมก้าวต่อไปอย่างมั่นคงในเวทีโลก

มติชน วันที่ 17 พ.ย. 2549

วันนี้ (17 พ.ย.) รายงานข่าวจากเว็บไซต์ทำเนียบ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 12.45 น. พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์  นายกรัฐมนตรี เดินทางจากท่าอากาศยานทหาร (กองบิน 6) โดยเครื่องบินกองทัพอากาศ (Airbus A319 CJ) เที่ยวบินที่ RTAF 211 เดินทางถึงกรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในเวลาประมาณ 14.30 น.

ต่อมาเวลา 16.30 น. ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ครั้งที่ 14 นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมและกล่าวสุนทรพจน์ ในการประชุม APEC CEO Summit 2006 ณ ห้อง Auditorium ศูนย์การประชุมแห่งชาติ กรุงฮานอย ในหัวข้อ Successfully Competing for Foreign Direct Investment : What are the lessons learned from APEC Economies ชี้แจงภารกิจสำคัญ 4 ประการ ที่รัฐบาลต้องเร่งเดินหน้าดำเนินการในอีกหนึ่งปีข้างหน้า คือการพัฒนาการปฏิรูปการเมือง การฟื้นฟูความสมานฉันท์ของคนในชาติ การแก้ไขการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม และการสร้างหลักนิติธรรมให้มีความเข้มแข็ง พร้อมยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับทุนนิยมสมัยใหม่ เพื่อให้ไทยเป็นสถานที่ที่ดียิ่งขึ้นของการลงทุน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อที่ประชุมสภาธุรกิจเอเปคว่า ถือเป็นจังหวะเวลาอันดีที่จะได้มีโอกาสชี้แจงต่อชุมชนธุรกิจต่างประเทศ เกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน และขอยืนยันว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยมีภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ในโอกาสนี้ จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ต่างๆ ดังนี้

- การปฏิรูปการเมือง เมื่อวันที่ 19 กันยายน  และการพัฒนาทางการเมืองตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา

- กรอบเวลาในการปฏิรูปการเมืองในอีกหนึ่งปีข้างหน้า  เพื่อให้การเลือกตั้งในปลายปี 2550 เป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม

- ภารกิจการปฏิรูปสำคัญ ๆ ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลชั่วคราว

- มุมมองเกี่ยวกับพื้นฐานและความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยและการปฏิบัติต่างๆ ที่ทำให้ไทยเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจมากขึ้น สำหรับนักลงทุนต่างประเทศ

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศ อาจรู้สึกแปลกใจต่อปฏิกิริยาของคนไทย ที่มีต่อการปฏิรูปการเมืองในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา ทั้งดอกไม้ประดับรถถัง การถ่ายรูปครอบครัวกับทหาร  รวมถึงผลสำรวจความคิดเห็น ที่พบว่าคนส่วนใหญ่ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดให้การสนับสนุนการปฏิรูปการเมืองในครั้งนี้

อาจจะยิ่งสงสัยว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างล้มลุกคลุกคลานตลอดช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา  ทำไมผู้คนถึงได้มีปฏิกิริยาในเชิงบวกต่อการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540  ที่ว่าถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มีเสรีภาพและมีหลักกฎหมายที่ก้าวหน้า

คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าว อาจต้องกลับไปดูประเทศไทยตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การตรวจสอบและการถ่วงดุลตามแนวทางประชาธิปไตยมีความอ่อนแอ สังคมไทยถูกกัดกร่อนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คนจนมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น มีการละเลยกฎหมายอย่างเป็นระบบ การอ้างเอาสิทธิมนุษยชนไปใช้แบบผิดๆ มีมากยิ่งขึ้น ปัญหาการคอร์รัปชั่น ประเทศมาถึงทางตันจากการไขปัญหาจากแนวทางประชาธิปไตยแบบเดิมๆ

ดังนั้น การที่คนไทยมีปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปการเมืองเมื่อวันที่ 19 กันยายน จึงเป็นลักษณะเฉพาะที่ต้องการเห็นการเมืองมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ดังนั้นจึงเป็นการชะลอเวลา เพื่อให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพื่อให้สถาบันประชาธิปไตยที่อ่อนแอกลับมาเข้มแข็ง ฟื้นฟูระบบการตรวจสอบและการถ่วงดุลที่ผุกร่อน และยึดถึงหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม  10 วันหลังจากการปฏิรูปการเมือง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มีการแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกำลังจะมีความจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ จะได้รับการเห็นชอบจากประชาชนโดยการลงประชามติ  เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในปลายปี 2550

นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงความท้าทาย ที่เป็นภารกิจสำคัญ 4 ประการที่รัฐบาลต้องเร่งเดินหน้าดำเนินงาน ตลอดช่วงระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้านี้ ประกอบด้วย การพัฒนาการปฏิรูปการเมือง การฟื้นฟูความสมานฉันท์ของคนในชาติ การแก้ไขการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม และการสร้างหลักนิติธรรมให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับรัฐบาลชุดต่อไปที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของประชาธิปไตย รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะต้องมีความน่าเชื่อถือและมีความโปร่งใส การตรวจสอบและการถ่วงดุลจะต้องได้รับการปกป้อง รวมทั้งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมมากกว่าการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว

ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปการเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก  โดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดกรอบเวลาเพียงหนึ่งปี สำหรับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งหน้า ก่อนจะถึงเวลานั้น รัฐบาลชั่วคราวจะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ส่งเสริมให้มีการหารือกันอย่างกว้างขวาง  ใช้ประโยชน์จากช่องทางการสื่อสาร เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและให้ความรู้แก่ประชาชน  โดยจะไม่มีการชี้นำแต่จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้

ความท้าทายประการที่สองคือ การสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การเมืองและสังคมภายในประเทศมีความแตกต่างกันอย่างรุนแรง จึงต้องการหยุดวัฒนธรรมการเผชิญหน้าที่กำลังรุนแรงขึ้น ส่งเสริมการเจรจาและการสมานฉันท์  โดยเฉพาะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทย

เพื่อเป็นการเริ่มต้นการสร้างความสมานฉันท์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตนเองได้กล่าวขอโทษต่อพี่น้องชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ ต่อการดำเนินการอย่างรุนแรงของรัฐบาลในอดีต ยกฟ้องผู้ต่อต้าน ฟื้นฟู ศอบต. ที่ถูกยกเลิกไปโดยรัฐบาลชุดที่แล้ว และในการเดินทางเยือนมาเลเซียที่ผ่านมา เชื่อว่าจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ของไทย จากการที่เคยได้ปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมศักยภาพสังคมและประชาชนในพื้นที่ภาคใต้กว่าสามปีพบว่า ปัญหามีหลากหลายมิติ โดยแนวทางแก้ปัญหานั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และการดำเนินการที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่ความยุติธรรม สันติภาพ ความปรองดอง และท้ายที่สุดคือความเจริญรุ่งเรืองของชายแดนใต้

ความท้าทายประการที่สาม คือ การแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้อย่างไม่เท่าเทียม แม้ไทยจะเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในโลก คนรวยกับคนจนก็ยังคงมีช่องว่างทั้งในด้านรายได้และโอกาสที่ห่างไกลกัน รัฐบาลจึงได้ดำเนินนโยบาย เพื่อให้คนจนมีโอกาสด้านการศึกษา การสาธารณสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยจะมีทั้งการกำหนดนโยบายใหม่ และการเดินหน้านโยบายที่ริเริ่มโดยของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มีประสิทธิภาพและจะได้ทำให้อย่างโปร่งใสและยั่งยืน

ความท้าทายประการสุดท้าย คือ การสร้างหลักนิติธรรมให้มีความเข้มแข็ง หากมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างไม่เท่าเทียม เป็นการเปิดโอกาสให้มีการคอร์รัปชั่น คอร์รัปชั่นทำให้ประสิทธิภาพลดหย่อนส่งผลร้ายต่อธุรกิจ หากต้องการให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีความชอบธรรม มีความเท่าเทียม และเป็นประชาธิปไตย กฎหมายจะต้องเป็นหลักในการบริหารประเทศ ไม่ใช่ด้วยเงินหรือสิทธิพิเศษต่างๆ และกฎหมายสำคัญๆ จะต้องปรับให้ทันสมัยสอดคล้องกับความเป็นจริงของเศรษฐกิจโลก

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินนโยบายจะอยู่บนหลักการ 4 ป คือ โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพและการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด หรือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งจะเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ

นายกรัฐมนตรียังได้ให้ความหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่บางคนอาจจะยังมีความสับสนอยู่บ้างว่า เป็นแนวทางที่อยู่บนหลักการพื้นฐาน คือ การเดินสายกลาง ความมีเหตุผล และภูมิป้องกันตนเองจากความรุนแรงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

การเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจหรือ GDP ก็ยังคงมีความสำคัญ แต่จะต้องไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากประชาชนหรือทรัพยากร การเติบโตอย่างมีคุณภาพถือเป็นสิ่งสำคัญในการวัดความสำเร็จ บางคนอาจมีคำถามว่า แนวทางดังกล่าวสามารถเป็นไปได้ในระบบทุนนิยมสมัยใหม่จริงหรือ ซึ่งหากความรับผิดชอบทางสังคมของภาคธุรกิจ หลักธรรมาภิบาล และการบริหารจัดการความเสี่ยง สามารถไปกันได้ดีกับทุนนิยมสมัยใหม่แล้ว เศรษฐกิจพอเพียงก็เช่นเดียวกัน และภายใต้รัฐบาลชั่วคราวนี้ ประเทศไทยก็ยังคงเป็นเขตเศรษฐกิจเสรีในเศรษฐกิจโลก

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้หยิบยกสถานการณ์สำคัญๆ ต่าง ที่สะท้อนถึงพื้นฐานที่แข็งแกร่งของไทย อาทิ การที่มีเงินทุนไหลเข้าในตลาดหลักทรัพย์ของไทยอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ 19 กันยายน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่อยู่ในช่วงขาขึ้นตลอด 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา การลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบตัวเลขต่อปี 2548 และตัวเลขต่างๆ ยังเป็นไปในทิศทางบวกมากกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 หากจะยังห่วงอยู่บ้างคือ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย

ในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยไม่เพียงร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคแต่ยังผูกพันกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อาทิ อินเดีย จีนและญี่ปุ่น ทั้งนี้ อาเซียนประกาศจะเป็นเขตการค้าเสรีภายในปี 2553 และพัฒนาเป็นชุมชนอาเซียนในปี 2563 หรือเร็วกว่านั้น และการประชุมสุดยอดอาเซียนที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนหน้า ผู้นำในภูมิภาคจะได้มีการหารือร่วมกัน เพื่อเร่งรัดกระบวนการดังกล่าว

ประเทศไทยยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นหนึ่งในประเทศที่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกสบาย การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ทำให้ไทยเป็นที่รู้จักกันในนามของดีทรอย์ทแห่งเอเชีย ในปีนี้ประเทศไทยจะส่งออกรถยนต์ไปทั่วโลกกว่า 500,000 คัน และความอุดมสมบูรณ์ด้านเกษตร ทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกสุทธิด้านอาหารแห่งเดียวในเอเชีย

รัฐบาลยังเชื่อมั่นในการเป็นหุ้นส่วนกับชุมชนธุรกิจต่างประเทศ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการลงทุน การลงทุนจากต่างประเทศจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ และการดำเนินนโยบายภายใต้เป้าหมายโบกอร์ และเอเปค ไทยจะได้ทำให้ชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็ง เพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการค้าเสรีอย่างเต็มที่ หุ้นส่วนต่างประเทศจะได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปต่างๆ ที่กล่าวมา การปฏิรูปกฎเกณฑ์ด้านการค้า จะยิ่งสร้างความโปร่งใสและชัดเจนมากยิ่งขึ้นในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายของรัฐบาลยังได้เน้นการพัฒนาความสามารถในการผลิตของภาคธุรกิจไทย ที่ถูกละเลยมานาน

ดังนั้น ประเทศไทยจึงเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ และยินดีต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง ซึ่งจะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายของการพัฒนา ไทยยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า Mega Project โดยได้มีการประกาศให้มีการยื่นซองการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมในเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน ส่งเสริมการพัฒนาและการเติบโต และจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส

การปฏิรูปด้านการศึกษาและระบบการเรียนการสอน ยังเป็นอีกหนึ่งสาขาที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมของคนไทยในการเผชิญหน้าต่อความท้าทายในระบบโลกาภิวัฒน์ เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถพึ่งพาแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตร ความรู้ความสามารถของทุกคนจะต้องถูกนำมาใช้ ไทยยินดีต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศที่จะช่วยสร้างสังคมที่อยู่บนพื้นฐานองค์ความรู้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางภูมิปัญญาของไทย ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สร้างความรู้และนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมความสามารถในระยะยาว

นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องการเห็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชนในสาขาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมจำเป็นต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย เป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีได้กล่าวในตอนท้ายว่า  คนไทยทั้ง 64 ล้านคน ทุ่มเทอย่างหนัก เพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและความเป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมที่เป็นธรรมมีความปรองดองและเท่าเทียมกัน รัฐบาลจะสร้างองค์กรที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้ประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งและมั่นคง  ทั้งนี้ การปฏิรูป หมายถึงความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ และธรรมาภิบาล ในทุกๆส่วนของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย และเมื่อรวมพื้นฐานประเทศไทยที่มีความแข็งแกร่งกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิรูปภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาลชั่วคราว ประเทศไม่เพียงแต่จะนำเสนอความโปร่งใส ประสิทธิภาพ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และความเติบโตอย่างยั่งยืน จะยังทำให้ไทยเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจทั้งในไทยและกับคนไทยมากยิ่งขึ้น
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18-11-2006, 00:24 »

ใครชอบภาษาอังกฤษ อ่านที่นี่



APEC SUMMIT
Full Speech of PM's Surayud

Full Speech of Prime Minister Surayud Chulanont at the Apec CEO Summit in Hanoi.
บันทึกการเข้า

so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #2 เมื่อ: 18-11-2006, 00:26 »

เชื่อว่าถ้าจำเป็นแล้ว ท่านสุรยุทธ์สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับผู้นำชาติอื่นได้เข้าใจได้ดีกว่าที่อดีตนายกพลัดถิ่นของไทยคนนึงเคยพยายามจะทำอยู่เรื่อยๆครับ   Mr. Green Laughing Mr. Green
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 18-11-2006, 00:34 »

เชือดนิ่ม ๆ ชนิดที่ลิ่วล้อปฏิเสธไม่ออกเลยครับ

เล่าเรื่อง 5 ปีที่ผ่านมาให้ฟัง แล้วต้องอึ้ง ทึ่งเสียว นี่มันเวที "ฆ่าเหลี่ยม" ชัดเลย เพิ่งไปอ่านในภาคอังกฤษ หนักหนาสาหัสครับ

ประเทศใหนไม่เชื่อก็รอดูปฏิกริยาอีกที เห็นข่าวบอกว่า บุชน้อย ขอเจอตัวต่อตัวซักนิดก็ยังดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 01:02 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: