ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 04:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  นายกพระราชทาน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
นายกพระราชทาน  (อ่าน 10209 ครั้ง)
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« เมื่อ: 26-04-2006, 09:36 »

เป็นที่ชัดเจนกันแล้ว สำหรับพระราชดำรัส และไม่เหมาะสมที่จะนำพระราชดำรัสมาวิจารณ์ ดังนั้นหนูจึงขอสรุปเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเพื่อศึกษานะคะ

1. กรณีนายก สัญญา ธรรมศักดิ์ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็นนายก โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น รับสนองพระบรมราชโองการ

2. กรณ๊นายก ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็นนายก โดยมีหัวหน้าคณะปฎิรูปการปกครองในขณะนั้น รับสนองพระบรมราชโองการ

3. กรณ๊นายก อานันท์ ปัญญารชุณ (สมัยที่1) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็นนายก โดยมีหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยในขณะนั้น รับสนองพระบรมราชโองการ

4. กรณ๊นายก อานันท์ ปัญญารชุณ (สมัยที่2) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เป็นนายก โดยมีประธะนสภาผู้แทนราษฎร (นายอาทิตย์ อุไรรัตน์)ในขณะนั้น รับสนองพระบรมราชโองการ

(ขออภัยที่ไม่ได้ค้นรายชื่อผู้รับสนองมาโดยละเอียด และอาจสะกดชื่อบางคนผิด)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นายกที่ไม่ได้มาจากวิถีทางปกติของบ้านเมืองในขณะนั้น จะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งได้ ก็ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเท่านั้น

นั่นหมายความว่า มาตรา 7 สามารถใช้เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้ และจำเป็นต้องงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เช่นมาตราที่บังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญอนุญาติไว้ และเมื่อได้ทำให้ถูกต้องแล้ว เมื่อมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เราก็จะได่นายกคนกลางที่จะมาแก้ปัญหาบ้านเมืองค่ะ อีกทั้งเป็นการสนองพระราชดำรัสที่ทรงให้ไว้ว่า "ไม่เคยทำเกินหน้าที่" ค่ะ
บันทึกการเข้า
ชามู
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 536


ชามู ปลาวาฬตัวใหญ่ใจดี


« ตอบ #1 เมื่อ: 26-04-2006, 13:08 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ

น่าคิดครับ น่าคิด
บันทึกการเข้า

สมาชิกหมายเลข #348

ชามู ปลาวาฬตัวใหญ่ใจดี
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26-04-2006, 13:15 »

พระบารมีปกเกล้าฯ

ที่สำคัญทรงทำตามรัฐธรรมนูญ แต่ละยุคแต่ละสมัยไม่เคยทำเกินหน้าที่

ขอแก้ไขให้นิด...ผู้รับสนองฯ กรณี ท่านอดีตนายก พณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ์

คือ รองประธานสภา ทำหน้าที่แทนประธานสภา ( ตามธรรมนูญการปกครองยุคนั้น )

ลองเสิร์ชชื่อท่านอดีตนายกก็จะเห็น...วันที่มีพระบรมราชโองการฯ ทรงแต่งตั้งฯนั้น ท่านสัญญาได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วย เป็นเกล็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาก

ส่วนปัจจุบัน การแต่งตั้งนายกต้องมีประธานรัฐสภารับสนองฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2540

แต่ปัจจุบันไม่มีสภา ไม่มีประธานรัฐสภา การที่จะทรงแต่งตั้งนายกจึงไม่มีกฎหมายรองรับ

พระราชวินิจฉัย ได้ทรงตอบปัญหาให้กับสังคม สว่าง กระจ่างแจ้ง ด้วยพระปรีชาฯ

ที่สำคัญพระองค์ท่านได้ทรงวางหลักประชาธิปไตยให้ลงหลักปักฐานในแผ่นดินนี้อย่างกล้าแกร่งเป็นเสาหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

คิดถึงอนาคตแล้ว ผมนอนตาหลับ...เมื่อถึงจุดอับเราจะไม่ถึงทางตันเพราะเรามีศาลฏีกา ศาลปกครองเป็นที่พึ่ง
บันทึกการเข้า

จูล่ง_j
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,901



« ตอบ #3 เมื่อ: 26-04-2006, 14:24 »

อ่านแล้ว รู้สึก อำนาจ ประธานศาลต่างๆ มีอำนาจใหญ่ขึ้นมากเลยครับ
ซึ่งก็เป็นสิ่งดี จะได้ช่วยแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ ไม่ต้องรอในหลวงอย่างเดียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-04-2006, 14:48 โดย จูล่ง_j » บันทึกการเข้า

<<FIRST>>
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #4 เมื่อ: 26-04-2006, 18:26 »

ผมเกรงว่าเจ้าของกระทู้จะเข้าใจผิดนะครับ

1.กรณีท่านศาตราจารย์สัญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระราชอำนาจตาม มาตรา 14 แห่งธรรมนูญปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2515 ซึ่งไม่ได้ระบุที่มาของนายกรัฐมนตรี และทรงให้รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับสนองพระบรมราชโองการ (หากใครเกิดทันคงจำได้ว่า ทรงประกาศแต่งตั้งผ่านโทรทัศน์ แล้วจึงมีประกาศพระบรมราชโองการตามที่หลัง)

2.กรณีท่านองคมนตรีธานินทร์ ตอนนั้นคณะปฏิวัติได้ล้มล้างรัฐธรรมนูญแล้ว ส่งผลให้หัวหน้าคณะปฏิวัติอยู่ในฐานะรัฐาธิปัตย์(อ้างอิงคำพิพากษาในคดีที่ นายอุทัยพิมพ์ใจชน ฟ้อง จอมพลถนอม กิตติขจร ล้มล้างรัฐธรรมนูญ) ประกาศคณะปฏิวัติคือกฎหมาย และเท่าที่ทราบ คือหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้ทูลเกล้าฯเสนอชื่อ ท่านธานินทร์ (โดยอาจจะได้รับพระราชทานคำแนะนำ) และรับสนอง(รัฐาธิปัตย์ เป็นประมุขได้ทั้ง 3 ฝ่าย)

3.กรณีท่านอานันท์ มาเหมื่อนกับกรณี ที่ 2

4.กรณีพฤษภาคม พ.ศ.2535 รัฐธรรมนูญ ไม่ได้ระบุให้สภาผู้แทนทำหน้าที่เลือกนายกฯ แต่ให้ประธานสภาเป้นผู้ทูลเกล้าฯเสนอชื่อบุคคลที่สมควร และรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งกลายเป็นประเพณีในตอนนั้นที่ประธานสภาฯจะทูลเกล้าเสนอชื่อหัวหน้าพรรคที่ได้เสียงมากสุดในสภา หรือ ตามที่พรรคการเมืองฝ่ายเสียงข้างมากเสนอมา ซึ่งกรณีนั้น 5พรรคร่วมรัฐบาลได้ลงสัตยาบัน เสนอ พลเอกสมบุญ ระหง แต่สุดท้าย ประธานสภาฯ คือดร.อาทิตย์ได้เปลี่ยนชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกฯ ก่อนทูลเกล้า (โดยเหตุผลจริงๆ ต้องถามท่านดร.อาทิตยืเอง) 

ทั้ง 4 กรณี เป็นไปตามกลไกทางกฎหมายในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็น รัฐธรรมนูญ ธรรมนูญปกครองแผ่นดิน หรือ ประกาศคณะปฏิวัติ จึงเรียกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงปฏิบัติเกินพระราชอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

และส่วนกรณีที่จะให้ใช้ มาตรา 7 โดยการประกาสงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา คือ มาตราที่ระบุ ให้นายกฯ มาจากการเลือกตั้ง ก็เป้นไปไม่ได้ เนื่องจากสาระสำคัยในมาตรา 7 ระบุว่า ต้องเป็นการวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งกรณีงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ไม่เคยมีการใช้ในรัฐบาลที่มาตามวิถีทางประชาธิปไตย แต่มีใช้ในรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ดังนั้นกรณีนี้ จึงไม่เข้าเงื่อนไข ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
บันทึกการเข้า
บุรุษไร้นาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 633


Trust NO ONE !!!


« ตอบ #5 เมื่อ: 26-04-2006, 20:52 »

ไอ้เหลี่ยมมันชิง ยุบสภา ไปก่อนแล้วไงครับ ทีนี้จะมีใครรับสนองพระบรมราชโองการได้ล่ะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-04-2006, 20:54 โดย บุรุษไร้นาม » บันทึกการเข้า

เงินยิ่งใช้ ยิ่งหมด บุญ ยิ่งทำ ยิ่งได้

.......กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย              สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย
แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย                   กูสุดอายหากเสียทีไพรีครอง
       ใครบ้างเหวยจะร่วมสู้กับกูบ้าง     ใครบ้างเหวยจะอยู่ข้างไทยใจหาญ
ใครบ้างเหวยจะละสุขสนุกสำราญ       ใครบ้างเหวยยอมวายปราณเพื่อไทยคง
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #6 เมื่อ: 26-04-2006, 21:04 »

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?newsID=9490000049686

ลองอ่านดูนะคะ

ถ้าเปิดสภาไม่ได้ก็ถึงทางตัน
 
โดย ผู้จัดการรายวัน 13 เมษายน 2549 19:19 น.
 
 
              การวางหมากการเมืองว่าราชการหน้าม่านและว่าราชการหลังม่านโดยการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนผ่านโครงการโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการสรรหาครั้งที่จะมาถึงแยบยลยิ่งนัก
       
       ทำให้คนไทยหลงเชื่อระยะหนึ่ง แต่ไม่ทันข้ามวันก็มีคนรู้ทันและรู้ทันมากขึ้นเรื่อย ๆ
       
       ดังจะเห็นได้จากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีผู้เข้าร่วมชุมนุมกว่าแสนคนในเย็นวันที่ 7 เมษายน 2549 และเสียงสะท้อนของสื่อมวลชนว่าคนไทยรู้ทันเป็นส่วนใหญ่แล้ว
       
       เหลือแต่พวกแกล้งไม่รู้หรือพวกที่ไม่รู้ข้อมูลข่าวสารอีกจำนวนหนึ่งเท่านั้น นับว่าเป็นการตื่นตัวและรู้ทันที่น่าตกตะลึงจริง ๆ
       
       ความพยายามดึงดันที่จะเปิดสภาให้ได้ภายใน 30 วันนับแต่เลือกตั้งยังคงขับเคลื่อนกันอย่างขะมักเขม้น และมีการรับลูกกันเป็นทอด ๆ
       
       ตุลาการเสียงข้างมากในศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละตัวดีที่สุดเพราะได้เปิดเผยท่าทีให้เห็นแล้วว่าเตรียมการที่จะพลิกลิ้นพลิกคำวินิจฉัยเดิมที่เคยวินิจฉัยไว้ว่าจำนวน ส.ว. ไม่ครบ 200 คนไม่เป็นวุฒิสภา เปิดประชุมวุฒิสภาไม่ได้
       
       เตรียมที่จะพลิกคำวินิจฉัยใหม่เป็นว่า ส.ส. ไม่ถึง 500 คนก็เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ โดยจะอ้างเหตุว่ารัฐธรรมนูญบังคับให้ต้องเปิดสภาภายใน 30 วัน
       
       ทั้งๆ ที่เวลา 30 วันไม่ใช่กำหนดเวลาเด็ดขาด และมีความสำคัญน้อยกว่าความมีสภา เพราะถ้าไม่มีสภาจะเอาอะไรไปเปิดสภา
       
       และสภาผู้แทนราษฎรจะมีได้ก็ต้องประกอบด้วย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน แบบเขตเลือกตั้ง 400 คน รวมเป็น 500 คน
       
       ไม่ครบ 500 คนก็ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้
       
       คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ผูกพันพระมหากษัตริย์ พระองค์ยังทรงมีพระราชอำนาจที่จะไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยและเป็นพระราชเอกสิทธิ์
       
       เป็นพระราชอำนาจและพระราชเอกสิทธิ์ที่จะทำให้ขื่อแปบ้านเมืองไม่ถูกทำลาย ที่จะทำให้รัฐธรรมนูญไม่ถูกฉีกทิ้งหรือถูกบิดเบือนอย่างหน้าไม่อาย
       
       ถ้าหากว่ามีการดึงดันเสนอพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมรัฐสภาโดยที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรเพราะไม่มี ส.ส. ครบจำนวน 500 คน และไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น?
       
       ข้อแรก รัฐบาลรักษาการโดยนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจะต้องรับผิดชอบ
       
       ถึงแม้ว่าจะให้รองนายกรักษาการคนอื่นลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแทน นายกรัฐมนตรีรักษาการก็ยังต้องรับผิดชอบโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
       
       และต้องไม่ยอมให้ไม่รับผิดชอบเหมือนกับพระราชกฤษฎีกาแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่ถูกศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนอีกไม่ได้เป็นอันขาด
       
       จะต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยอมพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะรักษาการ เพราะหมดความชอบธรรม หมดศักดิ์ หมดศรี หมดสิทธิ์ที่จะรักษาการอีกต่อไป
       ถ้าไม่รับผิดชอบประชาชนก็ต้องบังคับขับไล่ให้รับผิดชอบให้จงได้ ถึงตรงนี้แตกหักก็ต้องแตกหักกัน
       
       จะปล่อยให้ละเมิดพระราชอำนาจและไม่รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์อีกไม่ได้เป็นอันขาด
       
       ไอ้พวกที่ชอบพูดว่าอย่าไปดึงสถาบันเบื้องสูงมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองจะต้องหยุดความคิดและการกระทำเช่นนั้นได้แล้ว เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นพระราชอำนาจโดยตรง และต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์โดยตรงด้วย
       
       คนพวกนี้หากมีความจงรักภักดีจริงก็ต้องเรียกร้องกดดันบังคับให้ต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เหมือนกับที่ผ่านมา
       
       ข้อสอง เมื่อรัฐบาลรักษาการพ้นจากหน้าที่ไปแล้วและสภาก็ไม่มี เพราะไม่มี ส.ส.ครบ 500 คน เบื้องต้นก็ต้องมีรัฐบาลรักษาการชุดใหม่
       
       แต่รัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติในเรื่องนี้ จึงต้องใช้มาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีรัฐบาลรักษาการ
       
       แล้วถามว่าเป็นหน้าที่ของใครที่จะต้องดำเนินการเรื่องนี้?
       
       หน้าที่หลักก็คือเป็นหน้าที่ของคณะองคมนตรีที่จะต้องถวายคำแนะนำเพื่อทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีรักษาการ โดยประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญ
       
       ข้อสาม เมื่อมีรัฐบาลรักษาการชุดใหม่และไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็เป็นอันว่าการเลือกตั้งยังไม่สิ้นสุด และระยะเวลา 30 วันก็ใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลรักษาการจึงอาจดำเนินการได้ 2 กรณี
       
       หนึ่ง ตราพระราชกำหนดหรือพระราชกฤษฎีกา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เช่น กำหนดระยะเวลา 90 วันในการสังกัดพรรค หรือคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเวลา 180 วันต่อไป
       
       สอง ออกพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 และให้เลือกตั้งใหม่ภายในเวลา 60 วัน
       
       และให้องค์กรกลางร่วมดำเนินการกำกับตรวจสอบการเลือกตั้งคู่ขนานไปกับ กกต. หรือมิฉะนั้นกดดันให้ กกต. ลาออก และอาศัยมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญตราพระราชกฤษฎีกาตั้งรักษาการ กกต. ชุดใหม่ที่เป็นอิสระและดำเนินการเลือกตั้งต่อไป
       
       ภาคประชาชนจะต้องเตรียมความคิดและมองเห็นถึงความคลี่คลายของสถานการณ์ดังกล่าวนี้ให้จงดีถ้วนหน้ากัน.
 
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: