ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 04:08
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ประชานิยมจะทำให้ไทยเหมีอนอาเจนตินาไหม? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ประชานิยมจะทำให้ไทยเหมีอนอาเจนตินาไหม?  (อ่าน 1882 ครั้ง)
visitna
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209



« เมื่อ: 16-11-2006, 08:14 »

ดูรายการนิติภูมิกับกมล กมลตระกูล แนวทางของไทยใกล้เคียงอาเจนตินามาก
ของเปรองประชานิยมโดยไม่วางแผนหรือตั้งใจ ของแม้ววางแผนให้ประชาชนติดกับ
ถ้ายังไม่ไล่แม้วน่ากลัว เมืองไทยจะไม่เหลืออะไร
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #1 เมื่อ: 16-11-2006, 08:18 »

ตื่นได้แล้ว อาร์เจนติน่าตอนนี้มันเจริญไปถึงไหนต่อไหนแล้ว คนที่โดนไอ้นิติภูมิหลอกเค้าก็ตื่นกันจนหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #2 เมื่อ: 16-11-2006, 10:23 »

หุหุ
ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะเริ่มประชานิยม และรับทุนต่างชาติ
อาร์เจนติน่ารวยกว่านี้เจริญกว่านี้หลายเท่าครับ คุณแถ.....
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 16-11-2006, 10:32 »

ถ้าไอ้ชั่วตัวนั้นยังคงมีอำนาจอยู่ ไม่เหลืออะไรแน่นอนค่ะ ขนาดเพียงเท่านี้ เราสูญเสียไปมากมายแล้ว ทั้ง ปตท. ดาวเทียม ไปรษณีย์ โทรศัพท์ ถ้ามันอยู่ต่อ น้ำ ไฟ การขนส่ง ไปหมดค่ะ  คนไทยตายเหมืนอาร์เจนตินาร์แน่นอน 
บันทึกการเข้า
นายเกตุ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,289



« ตอบ #4 เมื่อ: 16-11-2006, 10:43 »

ผมว่าบ้านเราจะแย่กว่าเขาเสียอีก เพราะคนไทยมีนิสัยรอฟ้ามาโปรดมากกว่าจะดี้นรนหาด้วยตัวเองก่อน

เพราะฉะนั้นใครเอาอะไรมาแจกฟรีๆก็จะจดจำอย่างไม่ลืมหูลืมตาว่าเป็นผู้มีพระคุณ
บันทึกการเข้า
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 16-11-2006, 11:15 »

บทเรียนประชานิยม

แทบไม่น่าเชื่อว่า เพียงเวลา 5 ปี ภายใต้การบริหารประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สร้างภาระหนี้ผูกพันไว้ให้กับประเทศไทยถึง 1.01 แสนล้านบาท จากโครงการประชานิยมต่างๆ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทำขึ้นมาเพื่อสร้างคะแนนนิยมให้ตัวเอง

หนี้ดังกล่าวนั้นเป็นหนี้ของคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ที่ค้างจ่ายให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โครงการรับจำนำข้าว กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หนี้กองทุนประกันสังคม ค่าวิทยฐานะของครู หนี้จากการขาดทุนของ องค์การคลังสินค้า (อคส.) หนี้โครงการกองทุนหมู่บ้าน หนี้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ค้างจ่ายในโรงพยาบาล ที่ขาดทุน เป็นต้น

นอกจากนี้ ก็มีหนี้โครงการกองทุนหมู่บ้านวงเงิน 7.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งกฎหมายกำหนดให้รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณทยอยชำระหนี้คืนธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส.ในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 2551 และ 2552 เป็นเงินรวมประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท

รัฐบาลดูท่าแล้วคงเห็นว่าไม่สามารถจะใช้คืนหนี้ได้ไหว จึงได้ใช้มติคณะรัฐมนตรีให้ยกภาระหนี้ดังกล่าวออกไปก่อน ส่งผลให้เหลือเฉพาะหนี้กองทุนหมู่บ้านที่ต้องจ่ายตามกฎหมายในปีงบประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ที่ต้องตั้งงบประมาณชำระคืนในปีงบประมาณ 2550 ส่งผลให้ภาระหนี้ที่รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณชดใช้ในโครงการต่างๆ ในช่วงปีงบประมาณ 2550 เหลือวงเงินเพียง 8.54 หมื่นล้านบาท


เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องใช้หนี้ รัฐบาลจึงได้ตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มอีก 4 หมื่นล้านบาท จากที่ตั้งวงเงินขาดดุลงบประมาณไว้แล้ว 1 แสนล้านบาท และ ไปตัดงบกลางออกมาอีก 4 หมื่นล้านบาท เพื่อโปะหนี้ให้ครบตามจำนวน

การดำเนินนโยบายประชานิยมนี้ เป็นนโยบายที่ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย แต่ก็เป็นการสร้างหนี้ให้กับประเทศแบบมหาศาลเช่นกัน และเป็นหนี้ที่รัฐบาลอื่นจะต้องมารับเป็นมรดกตกทอดไปแก้ไข

สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ รัฐบาลต่อมาต้องไปหาเงินภาษีอากรมาใช้หนี้ประชานิยมที่รัฐบาลเก่าสร้างไว้ ด้วยการเร่งรัดเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้มากขึ้น เกิดผลกระทบไปทั่วอย่างกว้างขวาง

แต่ต้องยอมรับว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเหมือนกับการฉีดสารเสพติดให้สังคมไทย แม้ว่าสารเสพติดนั้นบางส่วนจะเป็นยารักษาโรคที่ดี ยกตัวอย่างเช่น โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค หรือแม้แต่หวยบนดิน ซึ่งก็ถือว่าเป็นนโยบายที่มีจุดดี ก่อประโยชน์ในเชิงดูแลสังคมและการบริหาร แม้จะมีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข แต่รัฐบาลปัจจุบันและรัฐบาลต่อไปก็คงต้องดำเนินโครงการต่อไป แต่ถึงกระนั้นก็ทำให้สังคมไทยต้องเสพติดประชานิยมไปด้วยอาการหนักเอาการ

น่าเป็นห่วงว่า ในช่วง 1 ปีกว่าๆ ของรัฐบาลชั่วคราวชุดปัจจุบัน นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงจะมีประสิทธิภาพพอที่จะสามารถเยียวยาถอนพิษสารเสพติดประชานิยมจากสังคมไทยได้หรือไม่ และนโยบายของพรรคการเมืองที่จะเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลหลังจากรัฐบาลชุดนี้ จะสามารถสลัดกลิ่นอายประชานิยมได้หรือเปล่า

หากในการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นสังคมไทยยังถวิลหาประชานิยมและพรรคการเมืองต่างๆ ก็สนองตอบความต้องการเหล่านั้นด้วยการแข่งกันนำเสนอนโยบายประชานิยมครั้งใหม่โดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดด้านศักยภาพและทรัพยากรของประเทศ สุดท้ายเข็มนาฬิกาก็จะหมุนไปที่จุดเดิมซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า นั่นคือการเกิดวิกฤตทางการเงินการคลังของประเทศ

http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=editorial&id=131862

เอาข้อมุลมาให้ดูกันครับ
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #6 เมื่อ: 16-11-2006, 11:39 »

หุหุ
ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะเริ่มประชานิยม และรับทุนต่างชาติ
อาร์เจนติน่ารวยกว่านี้เจริญกว่านี้หลายเท่าครับ คุณแถ.....
เหอ เหอ ข้อมูล not found ด้วยหรือเปล่าคับ จินตนาการเอาว่าเมื่อก่อนรวยกว่านี้หลายเท่า
ไม่มีอะไรมายืนยันถือว่ารวยเท่าเดิมนะครับ ถ้าเจอข้อมูลขอล่าสุดด้วยนะ
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #7 เมื่อ: 16-11-2006, 12:23 »

ดูรายการนิติภูมิกับกมล กมลตระกูล แนวทางของไทยใกล้เคียงอาเจนตินามาก
ของเปรองประชานิยมโดยไม่วางแผนหรือตั้งใจ
ของแม้ววางแผนให้ประชาชนติดกับ
ถ้ายังไม่ไล่แม้วน่ากลัว เมืองไทยจะไม่เหลืออะไร




สถานการณ์ค้าปลีกไทย ร้านค้าโชวห่วย ร้านชำ ร้านขายหนังสือของไทย ใกล้เคียงกับอเจนติน่ามาก.... Exclamation





บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #8 เมื่อ: 16-11-2006, 12:25 »

ตื่นได้แล้ว อาร์เจนติน่าตอนนี้มันเจริญไปถึงไหนต่อไหนแล้ว คนที่โดนไอ้นิติภูมิหลอกเค้าก็ตื่นกันจนหมดแล้ว



ผมว่าคุณชอบแถเงยหน้าจากใบบอกของทักษิณ
แล้วอ่านเนื้อหากระทู้ใหม่ดีกว่า...... Exclamation

เจ้าของกระทู้ต้องการเปรียบเทียบระหว่างเผด็จการเปรองกับเผด็จการทักษิณ........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า



บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #9 เมื่อ: 16-11-2006, 15:21 »

ตื่นได้แล้ว อาร์เจนติน่าตอนนี้มันเจริญไปถึงไหนต่อไหนแล้ว คนที่โดนไอ้นิติภูมิหลอกเค้าก็ตื่นกันจนหมดแล้ว



ผมว่าคุณชอบแถเงยหน้าจากใบบอกของทักษิณ
แล้วอ่านเนื้อหากระทู้ใหม่ดีกว่า...... Exclamation

เจ้าของกระทู้ต้องการเปรียบเทียบระหว่างเผด็จการเปรองกับเผด็จการทักษิณ........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
เปรียบเทียบกันไม่ได้หรอก อย่าพยายามบิดเบือนเลย เอาไก่มาผสมพันธุ์กับเป็ดยังง่ายกว่า
บันทึกการเข้า
นิรนาม
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 554



« ตอบ #10 เมื่อ: 16-11-2006, 21:41 »

ลองอ่านบทความเรื่องนี้ดูน่ะ เผื่อจะได้ข้อมูลอะไรเด็ด ๆ บ้าง(ผู้เขียน คือ เปลว สัจจาภา ถูกนำออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่องานรำลึก 26 ปี 6 ตุลาคม 2519 วันที่ 6 ตุลาคม 2545 หรือเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา)

ระบบทุนนิยมกับภาวะวิกฤตอย่างทั่วด้าน

        ลักษณะสำคัญของสถานการณ์ปัจจุบัน ก็คือ ระบบทุนนิยมแห่งโลกได้ก้าวมาถึงขั้นมีภาวะวิกฤตอย่างทั่วด้าน นั่นก็คือ เป็นวิกฤตที่มิใช่กระทบแต่เฉพาะด้านหนึ่งด้านใดแห่งชีวิตของสังคมเท่านั้น แต่กระทบทั่วทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง ระบบความเชื่อส่วนลึก(ideology) วัฒนธรรมและศีลธรรม  กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือ วิกฤตนี้กระทบทั้งส่วนที่เป็นพื้นฐานของสังคม(basic of society) อันได้แก่ ความสัมพันธ์ทางการผลิต และพลังการผลิตของสังคม และกระทบทั้งโครงสร้างชั้นบนของสังคม(Superstructure) อันได้แก่ ระบบความเชื่อส่วนลึก การเมือง กฎหมาย ตลอดจนสถาบันทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามระบบความเชื่อเหล่านี้  วิกฤตในลักษณะเช่นนี้ เราเรียกว่า วิกฤตที่มีขอบเขตอย่างกว้างขวาง หรือเรียกอีกอย่างว่า วิกฤตอย่างทั่วด้าน(general crisis)

           วิกฤตอย่างทั่วด้านดังกล่าวนี้ เพิ่งเกิดขึ้นแก่ระบบทุนนิยม ในช่วงที่ระบบนี้ ได้ก้าวถึงขั้นจักรพรรดินิยมนี่เอง  กล่าวอย่างคร่าวๆ ก็คือ ระบบทุนนิยมขั้นผูกขาดก่อรูปขึ้นในช่วง ค.ศ.1870-1903 ต่อจากนั้นก็ก้าวเข้าสู่ขั้นจักรพรรดินิยมที่สมบูรณ์

           ก่อนจะก้าวมาถึงขั้นทุนผูกขาด ระบบทุนนิยมได้ผ่านการพัฒนามาสองขั้นตอน คือ ขั้นที่เป็นทารกตัวอ่อน พัฒนาอยู่ในครรภ์ของระบบศักดินา ได้แก่ ช่วงที่โรงหัตถกรรมขนาดย่อม(Workshops) ของผู้ประกอบอาชีพช่างฝีมือ(craftsmen) ในยุคกลาง พัฒนามาเป็นโรงหัตถกรรมขนาดใหญ่(manu-factory) ของผู้ประกอบการการผลิตขนาดใหญ่(manufacturers) ประมาณปี ค.ศ.1500-1750 ช่วงที่สอง  ก็คือ ช่วงที่โรงงานหัตถกรรมขนาดใหญ่ พัฒนามาเป็นระบบโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ใช้ระบบเครื่องจักรกลสมัยใหม่เป็นพื้นฐาน โดยผ่านกระบวนการ ที่เรียกว่า“การปฏิวัติอุสาหกรรม”ซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงหลักของศตวรรษที่เริ่มจากปี 1850 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ระบบทุนนิยม ก็ได้เข้าแทนที่ ระบบศักดินาอย่างเต็มที่ และได้กลายเป็นระบบทุนนิยมแห่งโลกไป

            ระบบทุนนิยมนั้น กล่าวโดยทั่วไป มีความก้าวหน้ากว่าระบบศักดินานิยม ทั้งในด้านระดับการผลิตระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับการจัดการและการบริหารสังคม ลัทธิเสรีนิยมทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมือง ได้บรรลุจุดสุดยอดในช่วงปี 1850-1870 เท่านั้น อันเป็นช่วงระบบทุนนิยม ยังเป็นระบบที่ก้าวหน้าอยู่ เมื่อมองจากสายตาประวัติศาสตร์ ในช่วงนี้ ศัตรูทางการเมืองของชนชั้นนายทุน   ยังเป็นระบบศักดินา และลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราช และในช่วงต้นและช่วงกลางของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ชนชั้นนายทุน ยังจำเป็นต้องสามัคคีกับชนชั้นชาวนา และชนชั้นกรรมกร ไปโค่นล้มระบบศักดินา แต่เมื่อชนชั้นนี้ได้บรรลุชัยชนะทางการเมืองในมูลฐานแล้ว ประกอบกับในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1830-1850 ชนชั้นกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ มีความเติบใหญ่ ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีเริ่มมีข้อเรียกร้อง ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น การใช้กำลังปราบปรามชนชั้นกรรมกรที่ทำการเคลื่อนไหวได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับการปราบปรามกรรมกรครั้งใหญ่อย่างโหด***ม กรณีคอนมูนปารีสในช่วง 2 เมษายน ถึง 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 ถือเป็นหลักกิโลเมตรทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ที่บอกให้รู้ว่า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาชนชั้นนายทุนได้หมดบทบาทที่ก้าวหน้า และได้กลายเป็นพลังทางการเมืองที่ถอยหลังหลังเข้าคลองไปแล้ว

            แม้ในขั้นทุนนิยมเสรี ที่ยังไม่ก้าวถึงขั้นจักรพรรดินิยม ระบบทุนนิยม ก็ได้ประสพกับวิกฤตแบบการผลิตล้นเกิน(crisis of overproduction) ไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง (1825, 1836, 1847, 1856, 1867, 1873, 1882 และ 1890)[1] ที่ว่าการผลิตล้นเกินนั้น ก็คือ เมื่อทำการผลิตต่อไปเรื่อยๆ เพื่อแข่งขัน และแย่งตลาดกับนายทุนกลุ่มอื่นๆการผลิตจะกระทำต่อไปไม่ได้ จำเป็นต้องหยุดชะงัก เพราะสินค้าที่ผลิตออกมานั้น ไม่สามารถจะนำไปขายได้ โกดังที่จะเก็บรักษาก็ไม่เพียงพอ เงินทองที่จะจ้างกรรมกรและซื้อวัตถุดิบใหม่ก็ไม่มี จำเป็นต้องยุติการผลิตชั่วคราว จำเป็นต้องปลดกรรมกร ทำให้เกิดกองทัพคนว่างงานขนาดมหึมา ทำให้เกิดปัญหาสังคม และอื่นๆติดตามมา ภาวะเช่นนี้ เราเรียกว่า “ภาวะวิกฤต” หรือ “ภาวะการผลิตของสังคมหยุดชะงักงัน”ต่อจากนี้ ก็จะตามมาด้วยภาวะซบเซา หรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ(recession or depression)หลังจากพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ อยู่ซักระยะหนึ่ง ถ้าแก้ผิด ก็จะมีการล้มละลายไปเลย ถ้าแก้ถูก ก็จะมีภาวะฟื้นตัว(recovery) ทีละน้อยๆ จนก้าวไปสู่ภาวะรุ่งเรืองได้ไม่นาน ก็จะหวนกลับไปสู่ภาวะวิกฤตใหม่อีกครั้ง ซ้ำไปซ้ำมาอยู่เช่นนี้ เรียกว่า วัฏจักรแห่งภาวะวิกฤตของระบบทุนนิยม(capitalist cycle of crisis)

            เมื่อ ย่างเข้าสู่ยุคทุนนิยมผูกขาด หรือยุคจักรพรรดินิยมแล้ว ระบบทุนนิยม ยังได้ประสพกับวิกฤตใหญ่ๆ อีก    เท่าที่สามารถประมวลได้ มีไม่น้อยกว่า 13 ครั้ง ดังนี้ ปี ค.ศ. 1900, 1907, 1913-14, 1920-21, 1929-33 (ซึ่งเป็นครั้งร้ายแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม), 1937-38, 1948-49, 1953-54, 1957-58, 1960-1961, 1969-1971, 1974-75 และ 1980-82 สามครั้งหลังของวิกฤตเหล่านี้ได้เกิดแก่ประเทศจักรพรรดินิยมใหญ่ๆ พร้อมกัน  ถือได้ว่า เป็นภาวะวิกฤตระดับโลก[2]

            ที่ว่าวิกฤตทั่วไปของระบบทุนนิยม หมายถึง วิกฤตที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และหลังการปฏิวัติใหญ่สังคมนิยมเดือนตุลาคมของรัสเซียเป็นต้นมา วิกฤตดังกล่าวนี้ ได้ผ่านมาสองขั้นแล้ว คือช่วงปี ค.ศ. 1920-1945 ซึ่งมีวิกฤตใหญ่ๆ เกิดขึ้น 3 ครั้งคือ ปี ค.ศ. 1920-21, 1929-33 และ 1937-38 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี 1929-33 นั้น กระทบกับสหรัฐอเมริกาโดยตรง และแพร่ไปยังประเทศทุนนิยมอื่นๆ[3]

            ขั้นที่สองของวิกฤตทั่วไป นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1945-1950 เป็นช่วงที่ประเทศสังคมนิยม ได้พัฒนาเป็นระบบสังคมนิยมแห่งโลก มีการแตกสลายของระบบล่าเมืองขึ้น ประเทศต่างๆ จำนวนมากกว่า 20 ประเทศได้รับเอกราช ในจำนวนนี้มี อินเดีย อินโดนีเซีย และพม่าหรือเมียนม่า รวมอยู่ด้วย

              ขั้นที่สามของวิกฤตทั่วไป เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 มาจนถึงปัจจุบัน[4] ในช่วงนี้มีประเทศที่ได้รับเอกราชใหม่ไม่น้อยกว่า 100 ประเทศ ในจำนวนนี้ หลายประเทศได้หันมาเลือกหนทางการพัฒนา ที่ไม่ผ่านระบบทุนนิยม ส่วนระบบจักรพรรดินิยมเอง ก็เริ่มแตกเป็นสามศูนย์กลางใหญ่ๆ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก(ฝรั่งเศส)[5] สามศูนย์กลางดังกล่าวนี้ มีการแก่งแย่งกันค่อนข้างดุเดือด  พร้อมกันนั้น ก็มีการปรับปรุงนโยบายล่าเมืองขึ้นให้เป็นลัทธิอาณานิคมแบบใหม่(Neocolonialism)   นั่นคือ อาศัยความได้เปรียบทางเทคโนโลยีและทางเทคนิคการบริหารเป็นเครื่องมือสำคัญ [/u] อาศัยการสะสมทุนอย่างเหลือเฟือ(Overaccumulation) ในประเทศจักรพรรดินิยม มาสร้างความปั่นป่วนทางการเงินให้แก่ประเทศด้อยพัฒนา ในรูปของการปล่อยกู้ระยะสั้น และระงับการให้สินเชื่อแบบไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว ทำให้นักลงทุนไม่น้อยต้องประสพกับการล้มละลาย

            ในขั้นจักรพรรดินิยม การพัฒนาของทุน ไม่เพียงแต่ได้ก้าวมาถึงขั้นเกิดทุนผูกขาดกลุ่มต่างๆ เท่านั้น หากแต่ระบบทุนแห่งรัฐ(State Capitalism) ซึ่งมีอยู่ในขั้นเสรีนิยม ก็ได้พัฒนามาเป็นทุนผูกขาดแห่งรัฐ(State monopoly capitalism)ด้วย ทั้งนี้โดยมีการประสานกันระหว่างทุนผูกขาดของเอกชนกับบุคคล หรือองค์กรที่มีอำนาจฝ่ายรัฐบาล ทำให้เกิดระบบกรรมสิทธิ์แบบผูกขาดโดยรัฐ หรือรัฐกับเอกชนร่วมกันเหตุนี้ รัฐบาลในยุคเช่นนี้ จึงเป็นตัวแทนของทุนผูกขาด และรับใช้นโยบายของกลุ่มทุนผูกขาดเป็นสำคัญ
           
              ในยุคที่จักรพรรดินิยม กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะร่อแร่ปางตายนี้ เศรษฐกิจของสังคมไม่เพียงแต่ได้ก้าวเข้าสู่ระบบทุนผูกขาดแห่งรัฐเท่านั้น   หากยังได้ก้าวเข้าสู่ภาวะ ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจที่มีการกำกับโดยรัฐของทุนผูกขาด”(State monopoly regulated economy) นั่นคือ อนุญาตให้รัฐของทุนผูกขาดเข้ามาวางแผนเศรษฐกิจของประเทศระดับกว้างๆ วางมาตราการเกี่ยวกับการควบคุมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ   ตลอดจนการแก้วิกฤต แก้ภาวะเงินเฟ้อ แก้ปัญหาการว่างงาน โดยอาศัยการบริหารความต้องการ(demand) ทั้งในเชิงการพยายามจำกัด และในเชิงกระตุ้น ให้เกิดการขยายตัว แล้วแต่ภาวะการณ์เศรษฐกิจในขณะนั้น   ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อแก้ปัญหาวัฏจักรแห่งภาวะวิกฤต ที่ระบบทุนนิยมเผชิญอยู่ผู้ที่เป็นต้นตอของความคิดนี้ ก็คือ จอห์น เมย์นารด์ เคนส์ (John Maynard Keynes) นักเศรษฐศาสตร์ของอังกฤษ ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1883-1946ทฤษฎีว่าด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเขา เป็นที่ชื่นชมกันมากในช่วงทศวรรษที่เริ่มต้นด้วยปี ค.ศ.1950 และ 1960 แต่พอมาถึงทศวรรตที่เริ่มต้นด้วยปี ค.ศ. 1960 ช่วงปลายและเริ่มด้วยปี ค.ศ.1970 ช่วงต้น ภาวะวิกฤตต่างๆ ก็ประดังกันเข้ามา เริ่มตั้งแต่วิกฤตในด้านวัตถุดิบ  วิกฤตการเงิน และการคลัง ตลอดจนกระบวนการเงินเฟ้อที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และยังมีลักษณะเป็นวัฏจักรอยู่เหมือนเดิม    ในสภาพเช่นนี้ ระบบทุนนิยมผูกขาด  ที่มีการกำกับโดยรัฐ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตได้[6]

        รวมความว่า ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ เป็นลักษณะประจำของระบบทุนนิยมตราบใดระบบทุนนิยมยังดำรงอยู่ ตราบนั้น ภาวะวิกฤตด้านต่างๆ ก็ยังดำรงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ปัญหาเงินเฟ้อ และปัญหาการว่างงาน ซึ่งกำลังทวีความร้ายแรงสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้น เมื่อสังคมก้าวหน้ามาถึงขั้นระบบจักรพรรดินิยมขั้นร่อแร่ปางตายวิกฤตของระบบทุนนิยม ได้ขยายไปเป็นวิกฤตทั่วไป และรอบด้าน วิกฤตดังกล่าว นับวันแต่จะหนักหน่วง และไม่มีวันแก้ไขได้ จนกว่าระบบจักรพรรดินิยมจะถึงกาลพินาศ และบรรลัยดับสูญไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจของเรา ยังจะนำเอาทฤษฎีเศรษฐกิจขาขึ้น และ เศรษฐกิจขาลง มาหลอกลวงชาวบ้าน อยู่ต่อไปอีกหรือ?

         ระบบทุนนิยม เป็นระบบที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งของยุคสมัยประวัติศาสตร์ และจะต้องวอดวายไป เมื่อมันไม่สอดคล้องกับภาวะการณ์ทางสังคม ลักษณะสำคัญสามประการ ที่ทำให้ระบบนี้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของมนุษยชาติส่วนใหญ่ ก็คือ

   1) การผลิตของสังคมภายในระบบนี้ เป็นการผลิตที่คนเรือนหมื่นเรือนแสนช่วยกันทำ แต่การถือครองในผลิตผลรวมหมู่เหล่านั้น เป็นการถือครองโดยคนเพียงหยิบมือเดียว ได้แก่ ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ซึ่งเป็นผู้บัญชาการผลิตโดยตรง คนส่วนใหญ่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้าง ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร

   2) การผลิตในระบบทุนนิยม ในหน่วยผลิตหนึ่งๆ หรือในโรงงานหนึ่งๆ มีการวางแผนเป็นอย่างดี แต่ทั่วทั้งสังคมไม่มีการวางแผน แม้จะใช้รูปการที่ให้รัฐทุนผูกขาด เข้ามากำกับการวางแผน ก็เป็นแผนแบบจอมปลอม มิใช่การวางแปลนอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่สามารถขจัดภาวะไร้ระเบียบ หรือภาวะไร้ขื่อแปของสังคมให้หมดไปได้ เหตุนี้ ภาวะวิกฤตจึงดำรงอยู่

   3) ความสัมพันธ์ทางการผลิต ระหว่างสองชนชั้นใหญ่ในสังคม ได้แก่ ชนชั้นนายทุนที่เป็นคนส่วนน้อย กับกรรมกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ เป็นความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง ที่มาอันสำคัญของกำไร และดอกผลในรูปการณ์ต่างๆ ของชนชั้นนายทุน ก็คือ แรงงานที่ไม่จ่ายค่าแรงของชนชั้นกรรมกร (Unpaid Labour)[7] ดังนั้น ระบบสังคมนี้ จึงขาดความชอบธรรมที่จะมีชีวิตอยู่

   เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านผู้บริหารสังคมไทย ยังจะนำเอาชะตากรรมของประชาชนไทยทั่วประเทศมาผูกติดกับระบบทุนนิยมแห่งโลกอีกหรือ?

   สภาพความเป็นจริงทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าชนชั้นนายทุนแม้จะคุยโม้คุยโตว่าตนเองเพียบพร้อมไปด้วยวิสัยทัศน์ที่ลึกซึ้ง และยาวไกลในเรื่องต่างๆ มากมาย แต่ในเรื่องของการเกิดขึ้นของระบบทุนนิยม ลักษณะสำคัญของระบบทุนนิยม ตลอดจนลักษณะที่จะต้องบรรลัยดับสูญของมัน  พวกเขามองไม่เห็นแม้แต่น้อย นี้ก็คือ ความอับจนทางด้านปัญญาของชนชั้นนายทุนในยุคนี้ และนี่ก็คือ สาเหตุที่ว่า ต่อแต่นี้ไป ชนชั้นกรรมกร ไม่สามารถจะไว้วางใจชนชั้นนายทุน ให้เป็นผู้นำในการบริหารสังคมแต่เพียงผู้เดียวได้ต่อไปอีกแล้ว

โดย เปลว สัจจาภา

[1] M.I. Volkov, ed. (1958) A Dictionary of political Economy, Moscow: Progress Publishers, p. 80.
[2] E.M. Privakov and A.I.Vlasov etc. (1987) What’s shat in World Politics, Moscow: Progress Publishers, p. 68.
[3] Alexander Kulikov (1989) Political Economy, Moscow: Progress Publishers, p. 98.
[4] ที่เดียวกัน
[5] E.M. Privakov and A.I. Vlasov etc. (1987)     อ้างแล้ว, หน้า 69.
[6] M.I. Volkov, ed. (1958) อ้างแล้ว, หน้า182-183.
[7] เช่น กรรมกรได้ค่าแรงงานวันละ 157 บาท แต่มีความสามารถใน การทำงานซึ่งให้ผลผลิตมูลค่า 300 บาท (เมื่อหักต้นทุนอื่นๆ แล้ว)    ส่วนเกินที่แรงงานผลิตได้ จำนวน 300-157 =143 บาท     คือ   แรงงานที่ไม่ได้จ่ายค่าแรงงาน  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “มูลค่าส่วนเกิน” (Surplus Value) ของแรงงาน.
บันทึกการเข้า

"คืนที่ดำทะมึนมืดสนิท ยังรอแสงอาทิตย์ส่องสว่าง มีที่ไหนถูกปิดทุกทิศทาง เพียงม่านควันหมอกบางมันพรางตา"ถ้อยวลีของ..ประเสริฐ  จันดำ
ถ้อยวลี - จาก; "บันทึกจากกองร้อย ทหารปลดแอก" โดย..เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
      นักรบจรยุทธอย่างพวกเราไม่รู้ว่าบ้านของตัวเองอยู่ที่ไหน รู้แต่ว่าเรามีปิตุภูมิเป็นของพวกเรา ทุกหนทุกแห่งที่เราล้มตัวลงนอนที่นั่นก็คือบ้าน
“บ้านของเราก็คือประเทศชาติ พ่อแม่ของเราก็คือประชาชน และเราจะไปทุกหนทุกแห่งเพื่อจัดการกับเจ้าคนที่มันเหยียบย่ำบ้านกับพ่อแม่ของเรา”
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #11 เมื่อ: 16-11-2006, 21:49 »

หุหุ
ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะเริ่มประชานิยม และรับทุนต่างชาติ
อาร์เจนติน่ารวยกว่านี้เจริญกว่านี้หลายเท่าครับ คุณแถ.....
เหอ เหอ ข้อมูล not found ด้วยหรือเปล่าคับ จินตนาการเอาว่าเมื่อก่อนรวยกว่านี้หลายเท่า
ไม่มีอะไรมายืนยันถือว่ารวยเท่าเดิมนะครับ ถ้าเจอข้อมูลขอล่าสุดด้วยนะ

เคยค้นข้อมูลมาแล้วทีนึงครับ ตอนนั้นมีท่านที่อยู่ใกล้ชิดประเทศอาร์เจนติน่าบอกแหล่งข้อมูลให้
รายได้ประชาชาติ และประเภทของรายได้มีละเอียดพอสมควรติดต่อกันหลายปี
พร้อมบทวิเคราะห์สภาพและสาเหตุที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจล่มสลาย
แต่ด้วยความสะเพร่าของผมทำให้ข้อมูลนั้นถูกลบหายไปเรียบร้อยแล้ว
ไม่ทราบว่าจะมีใครในบอร์ช่วยอนุเคราะห์ข้อมูลให้ได้บ้างครับ
บันทึกการเข้า
pizzalulla
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46



« ตอบ #12 เมื่อ: 17-11-2006, 04:41 »

ถ้าทักษิณยังอยู่ละก้อ เป็นเหมือนอาเจนตินาแน่นอน

นี่ขนาดมันระเห็ดไปแล้ว ไม่รุ้ว่าต้องตามเช็ดอุจจาระของมันนานแค่ไหน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: