ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 18:32
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ...รอบคอบและระมัดระวังในการโพสต์หน่อยนะคะ มีกฎหมายคุมเวบบอร์ดแล้วนะ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
...รอบคอบและระมัดระวังในการโพสต์หน่อยนะคะ มีกฎหมายคุมเวบบอร์ดแล้วนะ  (อ่าน 2442 ครั้ง)
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« เมื่อ: 15-11-2006, 14:35 »



     ตามที่ร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยการทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 49 และจะเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันพุธที่ 15 พ.ย.นี้



พบว่าใน มาตรา ๑๓ ระบุไว้เกี่ยวข้องถึงการแสดความเห็นทางเวปบอร์ดต่างๆ ไว้ดังต่อไปนี้


(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รู้กันโดยทั่วไปอันเป็นเท็จ อันมิใช่การกระทำในมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


1.ดูร่างกฎหมายฉบับเต็มที่นี่

w3.mict.go.th/news/row/ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์%20พ.ศ.%20....doc



2.ประเด็นที่อาจเกี่ยวข้องกับการแสดงความเห็นทางเวปบอร์ดสาธารณะมีกำหนดความผิดไว้ดังนี้


(๕) กำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดตามร่างมาตรา ๕ ถึงร่างมาตรา ๙ ให้หนักขึ้น ในกรณีเป็นการกระทำเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ร่างมาตรา ๑๐)

3.มาตรา13ในร่างกฎหมายนี้คิดว่า"น่าจะ"ครอบคลุมหาเรื่องเอาผิดคนที่วิจารณ์เผด็จการทางเวปบอร์ดสาธารณะคือ

มาตรา ๑๓ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้

(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

4.ระวางโทษไว้ดังนี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-11-2006, 14:50 โดย รวงข้าวล้อลม » บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 15-11-2006, 14:39 »

ฉบับเต็มว่าอย่างนี้ค่ะ

........................................................

ร่างกฎหมายนี้อยู่ในขั้นตอน ช่วงระหว่างการยกร่าง
เรื่องเสริมที่ ๒๕๗/๒๕๔๘

 
ประกอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....
               สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๓/๑๔๔๙๔ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๖ อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ...... ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓ ไปพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
               ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ตรวจพิจารณา โดยมีผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงคมนาคมผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสานักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนสมาคมธนาคารไทย เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นสมควรจัดทำบันทึกประกอบร่างฯ ดังต่อไปนี้

๑. หลักการของร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ
               คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีสาระสำคัญดังนี้


               ๑. กำหนดความผิดเกี่ยวกับการรักษาความลับ ความครบถ้วนและการทำงานของข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้


                   (๑) กำหนดความผิดฐานเข้าถึงโดยมิชอบหรือโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการเข้าถึงนี้ หมายความถึงกรณีที่มีการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และกรณีผู้กระทำผิดดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ได้รหัสผ่านมาและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น โดยตนเองนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และหมายรวมถึงกรณีที่บุคคลนี้ที่อยู่ห่างโดยระยะทางและสามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ตนเองต้องการด้วย โดยอาจเป็นการเข้าถึงฮาร์ดแวร์หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งร่างมาตรานี้ได้กำหนดให้การเข้าถึงโดยมิชอบเป็นความผิดแม้ผู้กระทำจะมิได้มีมูลเหตุจูงใจเพื่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ทั้งนั้นเพราะการกระทำดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดความผิดฐานอื่น ๆ ตามมาได้โดยง่าย (ร่างมาตรา ๕ และร่างมาตรา ๖)

                   (๒) กำหนดความผิดฐานลักลอบดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนตัวในการติดต่อสื่อสารทำนองเดียวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสอสารรูปแบบเดิมที่ห้ามการดักฟังโทรศัพท์หรือการแอบบันทึกเทปลับ โดยการลักลอบดักฟังข้อมูลนี้ หมายถึง การลักลอบดักข้อมูลโดยวิธีการทางเทคนิคเพื่อลักลอบดักฟัง ตรวจสอบเนื้อหาสาระที่สื่อสารถึงกัน รวมทั้งแอบบันทึกข้อมูลที่สื่อสารถึงกันด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ต้องมิใช่ข้อมูลที่ส่งและ เปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ได้ โดยผู้กระทำต้องมีมูลเหตุจูงใจเพื่อให้ได้ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น จึงจะเป็นความผิด (ร่างมาตรา ๗)


                   (๓) กำหนดความผิดฐานรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์และรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อคุ้มครองความครบถ้วนของข้อมูล และเสถียรภาพในการใช้งานหรือการใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกเก็บไว้บนสื่อคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา ๘ และ ร่างมาตรา ๙)


                   (๔) กำหนดความผิดฐานใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ โดยกำหนดให้การผลิตจำหน่ายแจกจ่าย หรือครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการกระทำความผิด เช่น อุปกรณ์สำหรับเจาะระบบ รหัสผ่าน รหัสการเข้าถึง แต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการปกป้องระบบหรือทดสอบระบบโดยมีอำนาจหรือได้รับอนุญาตให้กระทำได้ โดยการแจกจ่ายนั้นรวมถึงการส่งข้อมูลที่ได้รับให้ผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง หรือการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ดังกล่าวโดยสะดวกด้วย (ร่างมาตรา ๑๑)

                   (๕) กำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดตามร่างมาตรา ๕ ถึงร่างมาตรา ๙ ให้หนักขึ้น ในกรณีเป็นการกระทำเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ร่างมาตรา ๑๐)

               ๒. กำหนดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนี้                

    (๑) กำหนดความผิดฐานปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันและขจัดช่องว่างของกฎหมายสำหรับความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารในระบบกระดาษ และการปลอมแปลงข้อมูลหรือข้อความที่จัดทำขึ้นในระบบเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยอาจเป็นการปลอมแปลง ทั้งหมดหรือบางส่วนรวมทั้งการลบหรือการย้ายข้อมูลให้ผิดไปจากเดิมโดยประการที่น่าจะเกิดความ เสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้ที่จริงเป็นความผิด (ร่างมาตรา ๑๒)


                  (๒) กำหนดความผิดฐานฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ในกรณีที่ผู้กระทำเจตนาทุจริต แก้ไข เปลี่ยนแปลง ลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือนำข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้าฟังหรือรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และโดยการกระทำดังกล่าวทำให้ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน (ร่างมาตรา ๑๓)


               ๓. อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
                   กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการเข้าตรวจข้อมูลคอมพิวเตอร์ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าน่าจะมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติโดยมีอำนาจ ดังนี้

                   (๑) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารบนระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                   (๒) ในกรณีที่มีการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นทำการถอดรหัสลับ
                   (๓) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวมา เพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ เอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ (ร่างมาตรา ๑๕)
                   โดยในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ (ร่างมาตรา ๑๖)


๒. ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               ๒.๑ ข้อสังเกตในชั้นต้น
                        ๒.๑.๑ กระทรวงการคลัง [1] เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
                        ๒.๑.๒ กระทรวงพาณิชย์ [2] เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
                        ๒.๑.๓ สำนักงานอัยการสูงสุด [3] เห็นชอบด้วยกับรางพระราชบัญญัติฉบับนี้
                        ๒.๑.๔ สำนักงานศาลยุติธรรม [4 ] เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
                        ๒.๑.๕ ข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ [5]
                        (๑) พระราชบัญญัติฉบับนี้ควรกำหนดองค์ประกอบของความผิดและบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญาเพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย
                        (๒) คำว่า “โดยมิชอบ” ในร่างมาตรา ๕ ร่างมาตรา ๖ ร่างมาตรา ๗ ร่าง มาตรา ๘ และร่างมาตรา ๙ ควรใช้คำว่า “โดยไม่ได้รับอนุญาต” หรือ “โดยทุจริต” แทน หรือมิฉะนั้น ควรเพิ่มบทนิยามคำว่า “ โดยมิชอบ” ด้วย
                        (๓) หมวด ๑ ควรเพิ่มความผิดฐานเอาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่ได้มาโดยมิชอบ ไปใช้ในลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือประชาชนด้วย เพื่อเอาผิดกับผู้ที่ซื้อข้อมูลคอมพิวเตอร์ไปใช้
                        (๔) ร่างมาตรา ๑๐ ควรรวมถึงการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสถาบันการเงินและบริษัทที่ออกบัตรเครดิตด้วย
                        (๕) ร่างมาตรา ๑๒ ควรเพิ่มพฤติการณ์พิเศษว่า “หรือหลงเชื่อว่ามิใช่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงหรือได้มีผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้จริง”


                        (๖) ควรกำหนดนิยามคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” ให้ชัดเจน
                        ๒.๑.๖ ข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม [6]
                        (๑) ควรมีนิยามคำว่า “วิธีการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ” และคำว่า “อิเล็กทรอนิกส์”
                        (๒) ร่างมาตรา ๘ ควรแก้ไขเป็น “...แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือ ด้วยวิธีการอื่นใดอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน”
                        (๓) ร่างมาตรา ๑๐ ควรเพิ่มโทษให้สูงขึ้นอีกเนื่องจากเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ
                        (๔) ควรแก้ไขถ้อยคำในร่างมาตรา ๑๓ เพราะยังไม่แสดงถึงความผิดฐานฉ้อโกงตามที่ระบุในคำอธิบาย
                        (๕) ในหมวด ๓ ควรบัญญัติเอาผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่นำข้อมูลที่เข้าถึงหรือยึดหรืออายัดไว้แล้วนำไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่นโดยกำหนดให้ต้องรับโทษหนักขึ้นเป็น ๒-๓ เท่า
                        (๖) ควรมีการขึ้นทะเบียนผู้ใช้และผู้ประกอบการด้านคอมพิวเตอร์ โดยมีศูนย์รวบรวมข้อมูลต่างๆ เป็นองค์กรอิสระ
                        (๗) ควรกำหนดฐานความผิดที่เปิดกว้างสำหรับความผิดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
                       ๒.๑.๗ ข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรม [7]
                       (๑) ควรกำหนดให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ในสังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้มีอำนาจสืบสวนการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่จำต้องให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง
                       (๒) ควรมีนิยามคำว่า “วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
                       (๓) คำว่า “หน่วยงานของรัฐที่มีความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อใช้บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย” ในร่างมาตรา ๑๐ ยังไม่ชัดเจนว่าหมายถึงหน่วยงานใด
                       (๔) ในการค้นหรือยึดพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ควรระวังมิให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นโดยไม่จำเป็น

                       ๒.๑.๘ ข้อสังเกตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ [8]

                       (๑) ความผิดตามร่างมาตรา ๕ ควรกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้และความผิดตามร่างมาตรา ๖ ควรกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้หากผู้เสียหายยอมเสียค่าปรับในอัตราขั้นสูง เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย
                       (๒) ความผิดตามร่างมาตรา ๘ ควรมีอัตราโทษสูงกว่าหรือเท่ากับความผิดตามร่างมาตรา ๙ และควรแก้ไขความว่า “...หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน...” เป็น “ ...หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์...” เพื่อความชัดเจน
                       (๓) ร่างมาตรา ๙ ควรแก้ไขความว่า “...อันเป็นการรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์...” เป็น “...อันเป็นการรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
                       (๔) ความผิดตามร่างมาตรา ๑๑ อาจมีปัญหาในการบังคับใช้เนื่องจากการพิสูจน์เจตนากระทำได้ยาก เพราะผู้ต้องหาอาจอ้างว่าถูกกลั่นแกล้ง หรือได้รับข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือถูกเจาะระบบ เป็นต้น
                       (๕) ความผิดในร่างมาตรา ๑๒ ควรมีโทษมากกว่าความผิดในร่างมาตรา ๘ และควรแก้ไขข้อความจาก “...ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้จริง...” เป็น “...หรืออาจทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้จริง...” และควรเพิ่มกรณีการแอบอ้างเป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือสถาบัน สร้างข้อมูลหรือส่งข้อมูลไป ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อจนอาจเกิดความเสียหาย
                       (๖) ความผิดในร่างมาตรา ๑๓ ควรมีโทษสูงกว่าความผิดในร่างมาตรา ๙
                       (๗) ร่างมาตรา ๑๔ วรรคแรก ควรเพิ่มประเด็นการเชื่อมโยง (Link) ไปยังแหล่งอื่น และวรรคสองควรเพิ่มเติมการมีสิ่งลามกอนาจารเด็กไว้ในครอบครอง
                       (๘) ร่างมาตรา ๑๕ หากผู้ให้บริการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือหรือมีผู้หน่วงเหนี่ยว ขัดขวาง จะมีโทษสถานใด หรือเพียงขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเท่านั้น และใน (๑) ควรรวมถึงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับบุคคลที่ใช้บริการนั้นด้วย เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อ(Call ID)
                       (๙)ควรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความรู้หรือมีหน้าโดยตรงในเรื่องนี้ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
                       (๑๐) หากมีหลักฐานทางระบบคอมพิวเตอร์อันน่าเชื่อว่าบุคคลใดได้ กระทำความผิด ควรกำหนดให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับกฎหมายว่าด้วยการพนัน เพราะหาประจักษ์พยานได้ยาก
                       (๑๑) ควรให้เจ้าบ้าน บริษัท องค์กร หรือสถาบันที่เกิดการกระทำผิดร่วมรับผิดในทางแพ่งดัวยในกรณีที่ไม่อาจรับทราบได้ชัดเจนว่าบุคคลใดในที่นั้นๆ เป็นผู้กระทำความผิด
                       (๑๒) ควรกำหนดโทษในทางปกครองกรณีผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน เช่น ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม ห้ามใช้ระบบคอมพิวเตอร์
                      (๑๓) ควรกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ปิดกันไม่ให้มีการเปิดดูเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้ และควรมีคณะกรรมการพิจารณาว่าเว็บไซต์ใดมีเนื้อหาที่เหมาะสมหรือไม่                        (๑๔) ควรบัญญัติให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
                       ๒.๑.๙ ข้อสังเกตของสมาคมธนาคารไทย [9]
                       ( ๑ ) ผู้ รับผิดชอบงาน IT ข อง ธ นา คา ร โด ย เฉพา ะ system Administrator ซึ่งมีหน้าที่เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ จะมีความเสี่ยงต่อการกระทำที่บัญญัติเป็นความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้ จึงควรระบุหลักการและเหตุผลของกฎหมายให้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อจะได้ตีความได้ถูกต้อง


                       (๒) ควรระบุสิทธิและหน้าที่ของผู้ทำหน้าที่ System Administrator และ chief Information Officerไว้ด้วย
                       (๓) เสนอให้มีการกำหนดนิยามคำว่า “โดยมิชอบ” ให้หมายความว่า การเขาถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์และหรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือมิได้รับมอบหมายหรือโดยไม่มีอำนาจหน้าที่

                       (๔) เพื่อให้ครอบคลุมถึงเครือข่าย (Network) จึงควรกำหนดนิยามคำว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” ให้หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์รวมทั้งเครือข่ายที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดชุดคำสั่งและแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

                       (๕) เพิ่มบทมาตราที่กำหนดให้ความผิดตามร่างมาตรา ๕ ถึงมาตรา ๘ หากมิใช่การกระทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ เป็นความผิดอันยอมความได้ เพราะในบางกรณีคู่กรณีหรือผู้เสียหายอาจไม่ต้องการฟ้องร้องเป็นคดี

                       (๖) การที่ผู้บริหารมีหน้าที่ดูแลงานด้าน IT และเข้าดู e-mail ของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ scan e-mail ของพนักงาน หรือสั่งให้ผู้รับจ้างเขาไปตรวจสอบและขจัด virus ในระบบ จะถือเป็นความผิดตามร่างมาตรา ๗ หรือไม่

                       ๒.๑.๑๐ ข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓ [10]

                       (๑) ควรต้องเพิ่มประเด็นตามข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการกำหนดให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและพนักงานสอบสวนมีอำนาจสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                       (๒) ควรพิจารณาถึงความเชื่อมโยง ความเหมาะสมและสอดคล้องกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้กับกฎหมายของประเทศอื่น ๆ ให้เป็นสากล ทั้งในกรณีอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย
                       (๓) ประเด็นการขึ้นทะเบียนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควรดูให้รอบคอบว่า เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
                       (๔) สมาคมธนาคารไทยแสดงความกังวลว่าร่างพระราชบัญญัตินี้อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบได้


               ๒.๒ ความเห็นในชั้นที่สุด
                   คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยได้พิจารณาทบทวนบางประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานศาลยุติธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สำนักงานปลัดกระทรวง) กระทรวงยุติธรรม (สำนักงานปลัดกระทรวง) สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติม
๓. สาระสำคัญของร่างกฎหมายที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ร่างกฎหมายนี้อยู่ในขั้นตอน ช่วงระหว่างการยกร่าง
เรื่องเสริมที่ ๒๕๗/๒๕๔๘

 
ประกอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....
               สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๓/๑๔๔๙๔ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๖ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๖ อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ...... ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓ ไปพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
               ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ตรวจพิจารณา โดยมีผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงคมนาคมผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสานักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนสมาคมธนาคารไทย เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นสมควรจัดทำบันทึกประกอบร่างฯ ดังต่อไปนี้

๑. หลักการของร่างพระราชบัญญัติที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ
               คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีสาระสำคัญดังนี้
               ๑. กำหนดความผิดเกี่ยวกับการรักษาความลับ ความครบถ้วนและการทำงานของข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้
                   (๑) กำหนดความผิดฐานเข้าถึงโดยมิชอบหรือโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการเข้าถึงนี้ หมายความถึงกรณีที่มีการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และกรณีผู้กระทำผิดดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ได้รหัสผ่านมาและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น โดยตนเองนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และหมายรวมถึงกรณีที่บุคคลนี้ที่อยู่ห่างโดยระยะทางและสามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ตนเองต้องการด้วย โดยอาจเป็นการเข้าถึงฮาร์ดแวร์หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งร่างมาตรานี้ได้กำหนดให้การเข้าถึงโดยมิชอบเป็นความผิดแม้ผู้กระทำจะมิได้มีมูลเหตุจูงใจเพื่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ทั้งนั้นเพราะการกระทำดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดความผิดฐานอื่น ๆ ตามมาได้โดยง่าย (ร่างมาตรา ๕ และร่างมาตรา ๖)
                   (๒) กำหนดความผิดฐานลักลอบดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนตัวในการติดต่อสื่อสารทำนองเดียวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสอสารรูปแบบเดิมที่ห้ามการดักฟังโทรศัพท์หรือการแอบบันทึกเทปลับ โดยการลักลอบดักฟังข้อมูลนี้ หมายถึง การลักลอบดักข้อมูลโดยวิธีการทางเทคนิคเพื่อลักลอบดักฟัง ตรวจสอบเนื้อหาสาระที่สื่อสารถึงกัน รวมทั้งแอบบันทึกข้อมูลที่สื่อสารถึงกันด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ต้องมิใช่ข้อมูลที่ส่งและ เปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ได้ โดยผู้กระทำต้องมีมูลเหตุจูงใจเพื่อให้ได้ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น จึงจะเป็นความผิด (ร่างมาตรา ๗)
                   (๓) กำหนดความผิดฐานรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์และรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อคุ้มครองความครบถ้วนของข้อมูล และเสถียรภาพในการใช้งานหรือการใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกเก็บไว้บนสื่อคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา ๘ และ ร่างมาตรา ๙)
                   (๔) กำหนดความผิดฐานใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ โดยกำหนดให้การผลิตจำหน่ายแจกจ่าย หรือครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการกระทำความผิด เช่น อุปกรณ์สำหรับเจาะระบบ รหัสผ่าน รหัสการเข้าถึง แต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการปกป้องระบบหรือทดสอบระบบโดยมีอำนาจหรือได้รับอนุญาตให้กระทำได้ โดยการแจกจ่ายนั้นรวมถึงการส่งข้อมูลที่ได้รับให้ผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง หรือการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ดังกล่าวโดยสะดวกด้วย (ร่างมาตรา ๑๑)
                   (๕) กำหนดโทษสำหรับการกระทำความผิดตามร่างมาตรา ๕ ถึงร่างมาตรา ๙ ให้หนักขึ้น ในกรณีเป็นการกระทำเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย (ร่างมาตรา ๑๐)
               ๒. กำหนดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนี้
                   (๑) กำหนดความผิดฐานปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันและขจัดช่องว่างของกฎหมายสำหรับความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารในระบบกระดาษ และการปลอมแปลงข้อมูลหรือข้อความที่จัดทำขึ้นในระบบเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยอาจเป็นการปลอมแปลง ทั้งหมดหรือบางส่วนรวมทั้งการลบหรือการย้ายข้อมูลให้ผิดไปจากเดิมโดยประการที่น่าจะเกิดความ เสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้ที่จริงเป็นความผิด (ร่างมาตรา ๑๒)

                  (๒) กำหนดความผิดฐานฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์ในกรณีที่ผู้กระทำเจตนาทุจริต แก้ไข เปลี่ยนแปลง ลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือนำข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้าฟังหรือรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และโดยการกระทำดังกล่าวทำให้ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน (ร่างมาตรา ๑๓)
               ๓. อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
                   กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการเข้าตรวจข้อมูลคอมพิวเตอร์ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าน่าจะมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติโดยมีอำนาจ ดังนี้
                   (๑) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารบนระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                   (๒) ในกรณีที่มีการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นทำการถอดรหัสลับ
                   (๓) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าวมา เพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ เอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ (ร่างมาตรา ๑๕)
                   โดยในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ (ร่างมาตรา ๑๖)


๒. ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               ๒.๑ ข้อสังเกตในชั้นต้น
                        ๒.๑.๑ กระทรวงการคลัง [1] เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
                        ๒.๑.๒ กระทรวงพาณิชย์ [2] เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
                        ๒.๑.๓ สำนักงานอัยการสูงสุด [3] เห็นชอบด้วยกับรางพระราชบัญญัติฉบับนี้
                        ๒.๑.๔ สำนักงานศาลยุติธรรม [4 ] เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
                        ๒.๑.๕ ข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ [5]
                        (๑) พระราชบัญญัติฉบับนี้ควรกำหนดองค์ประกอบของความผิดและบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญาเพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย
                        (๒) คำว่า “โดยมิชอบ” ในร่างมาตรา ๕ ร่างมาตรา ๖ ร่างมาตรา ๗ ร่าง มาตรา ๘ และร่างมาตรา ๙ ควรใช้คำว่า “โดยไม่ได้รับอนุญาต” หรือ “โดยทุจริต” แทน หรือมิฉะนั้น ควรเพิ่มบทนิยามคำว่า “ โดยมิชอบ” ด้วย
                        (๓) หมวด ๑ ควรเพิ่มความผิดฐานเอาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่ได้มาโดยมิชอบ ไปใช้ในลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือประชาชนด้วย เพื่อเอาผิดกับผู้ที่ซื้อข้อมูลคอมพิวเตอร์ไปใช้
                        (๔) ร่างมาตรา ๑๐ ควรรวมถึงการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ของสถาบันการเงินและบริษัทที่ออกบัตรเครดิตด้วย
                        (๕) ร่างมาตรา ๑๒ ควรเพิ่มพฤติการณ์พิเศษว่า “หรือหลงเชื่อว่ามิใช่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงหรือได้มีผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้จริง”
                        (๖) ควรกำหนดนิยามคำว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” ให้ชัดเจน
                        ๒.๑.๖ ข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม [6]
                        (๑) ควรมีนิยามคำว่า “วิธีการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ” และคำว่า “อิเล็กทรอนิกส์”
                        (๒) ร่างมาตรา ๘ ควรแก้ไขเป็น “...แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือ ด้วยวิธีการอื่นใดอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน”
                        (๓) ร่างมาตรา ๑๐ ควรเพิ่มโทษให้สูงขึ้นอีกเนื่องจากเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ
                        (๔) ควรแก้ไขถ้อยคำในร่างมาตรา ๑๓ เพราะยังไม่แสดงถึงความผิดฐานฉ้อโกงตามที่ระบุในคำอธิบาย
                        (๕) ในหมวด ๓ ควรบัญญัติเอาผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่นำข้อมูลที่เข้าถึงหรือยึดหรืออายัดไว้แล้วนำไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่นโดยกำหนดให้ต้องรับโทษหนักขึ้นเป็น ๒-๓ เท่า
                        (๖) ควรมีการขึ้นทะเบียนผู้ใช้และผู้ประกอบการด้านคอมพิวเตอร์ โดยมีศูนย์รวบรวมข้อมูลต่างๆ เป็นองค์กรอิสระ
                        (๗) ควรกำหนดฐานความผิดที่เปิดกว้างสำหรับความผิดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
                       ๒.๑.๗ ข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรม [7]
                       (๑) ควรกำหนดให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ในสังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้มีอำนาจสืบสวนการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่จำต้องให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง
                       (๒) ควรมีนิยามคำว่า “วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
                       (๓) คำว่า “หน่วยงานของรัฐที่มีความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อใช้บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย” ในร่างมาตรา ๑๐ ยังไม่ชัดเจนว่าหมายถึงหน่วยงานใด
                       (๔) ในการค้นหรือยึดพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ควรระวังมิให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นโดยไม่จำเป็น
                       ๒.๑.๘ ข้อสังเกตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ [8]
                       (๑) ความผิดตามร่างมาตรา ๕ ควรกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้และความผิดตามร่างมาตรา ๖ ควรกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้หากผู้เสียหายยอมเสียค่าปรับในอัตราขั้นสูง เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย
                       (๒) ความผิดตามร่างมาตรา ๘ ควรมีอัตราโทษสูงกว่าหรือเท่ากับความผิดตามร่างมาตรา ๙ และควรแก้ไขความว่า “...หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน...” เป็น “ ...หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์...” เพื่อความชัดเจน
                       (๓) ร่างมาตรา ๙ ควรแก้ไขความว่า “...อันเป็นการรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์...” เป็น “...อันเป็นการรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
                       (๔) ความผิดตามร่างมาตรา ๑๑ อาจมีปัญหาในการบังคับใช้เนื่องจากการพิสูจน์เจตนากระทำได้ยาก เพราะผู้ต้องหาอาจอ้างว่าถูกกลั่นแกล้ง หรือได้รับข้อมูลทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือถูกเจาะระบบ เป็นต้น
                       (๕) ความผิดในร่างมาตรา ๑๒ ควรมีโทษมากกว่าความผิดในร่างมาตรา ๘ และควรแก้ไขข้อความจาก “...ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้จริง...” เป็น “...หรืออาจทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แท้จริง...” และควรเพิ่มกรณีการแอบอ้างเป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือสถาบัน สร้างข้อมูลหรือส่งข้อมูลไป ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อจนอาจเกิดความเสียหาย
                       (๖) ความผิดในร่างมาตรา ๑๓ ควรมีโทษสูงกว่าความผิดในร่างมาตรา ๙
                       (๗) ร่างมาตรา ๑๔ วรรคแรก ควรเพิ่มประเด็นการเชื่อมโยง (Link) ไปยังแหล่งอื่น และวรรคสองควรเพิ่มเติมการมีสิ่งลามกอนาจารเด็กไว้ในครอบครอง
                       (๘) ร่างมาตรา ๑๕ หากผู้ให้บริการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความร่วมมือหรือมีผู้หน่วงเหนี่ยว ขัดขวาง จะมีโทษสถานใด หรือเพียงขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเท่านั้น และใน (๑) ควรรวมถึงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับบุคคลที่ใช้บริการนั้นด้วย เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อ(Call ID)
                       (๙)ควรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความรู้หรือมีหน้าโดยตรงในเรื่องนี้ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
                       (๑๐) หากมีหลักฐานทางระบบคอมพิวเตอร์อันน่าเชื่อว่าบุคคลใดได้ กระทำความผิด ควรกำหนดให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับกฎหมายว่าด้วยการพนัน เพราะหาประจักษ์พยานได้ยาก
                       (๑๑) ควรให้เจ้าบ้าน บริษัท องค์กร หรือสถาบันที่เกิดการกระทำผิดร่วมรับผิดในทางแพ่งดัวยในกรณีที่ไม่อาจรับทราบได้ชัดเจนว่าบุคคลใดในที่นั้นๆ เป็นผู้กระทำความผิด
                       (๑๒) ควรกำหนดโทษในทางปกครองกรณีผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน เช่น ให้ทำประโยชน์ต่อสังคม ห้ามใช้ระบบคอมพิวเตอร์
                       (๑๓) ควรกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ปิดกันไม่ให้มีการเปิดดูเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้ และควรมีคณะกรรมการพิจารณาว่าเว็บไซต์ใดมีเนื้อหาที่เหมาะสมหรือไม่
                       (๑๔) ควรบัญญัติให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
                       ๒.๑.๙ ข้อสังเกตของสมาคมธนาคารไทย [9]
                       ( ๑ ) ผู้ รับผิดชอบงาน IT ข อง ธ นา คา ร โด ย เฉพา ะ system Administrator ซึ่งมีหน้าที่เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ จะมีความเสี่ยงต่อการกระทำที่บัญญัติเป็นความผิดตามร่างพระราชบัญญัตินี้ จึงควรระบุหลักการและเหตุผลของกฎหมายให้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อจะได้ตีความได้ถูกต้อง
                       (๒) ควรระบุสิทธิและหน้าที่ของผู้ทำหน้าที่ System Administrator และ chief Information Officerไว้ด้วย
                       (๓) เสนอให้มีการกำหนดนิยามคำว่า “โดยมิชอบ” ให้หมายความว่า การเขาถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์และหรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือมิได้รับมอบหมายหรือโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
                       (๔) เพื่อให้ครอบคลุมถึงเครือข่าย (Network) จึงควรกำหนดนิยามคำว่า “ระบบคอมพิวเตอร์” ให้หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์รวมทั้งเครือข่ายที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดชุดคำสั่งและแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                       (๕) เพิ่มบทมาตราที่กำหนดให้ความผิดตามร่างมาตรา ๕ ถึงมาตรา ๘ หากมิใช่การกระทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ เป็นความผิดอันยอมความได้ เพราะในบางกรณีคู่กรณีหรือผู้เสียหายอาจไม่ต้องการฟ้องร้องเป็นคดี
                       (๖) การที่ผู้บริหารมีหน้าที่ดูแลงานด้าน IT และเข้าดู e-mail ของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ scan e-mail ของพนักงาน หรือสั่งให้ผู้รับจ้างเขาไปตรวจสอบและขจัด virus ในระบบ จะถือเป็นความผิดตามร่างมาตรา ๗ หรือไม่
                       ๒.๑.๑๐ ข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓ [10]
                       (๑) ควรต้องเพิ่มประเด็นตามข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการกำหนดให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและพนักงานสอบสวนมีอำนาจสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
                       (๒) ควรพิจารณาถึงความเชื่อมโยง ความเหมาะสมและสอดคล้องกับการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้กับกฎหมายของประเทศอื่น ๆ ให้เป็นสากล ทั้งในกรณีอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย
                       (๓) ประเด็นการขึ้นทะเบียนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควรดูให้รอบคอบว่า เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
                       (๔) สมาคมธนาคารไทยแสดงความกังวลว่าร่างพระราชบัญญัตินี้อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบได้
               ๒.๒ ความเห็นในชั้นที่สุด
                   คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยได้พิจารณาทบทวนบางประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานศาลยุติธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สำนักงานปลัดกระทรวง) กระทรวงยุติธรรม (สำนักงานปลัดกระทรวง) สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติม
๓. สาระสำคัญของร่างกฎหมายที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ติดตามรายละเอียดได้จาก

http://w3.mict.go.th/news/row/ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์%20พ.ศ.%20....doc
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-11-2006, 14:48 โดย รวงข้าวล้อลม » บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
justy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,250



« ตอบ #2 เมื่อ: 15-11-2006, 14:39 »

รอให้คุณลุงแคนมาอธิบายให้ฟังค่ะ  ภาษากฎหมาย หนูไม่ใคร่จะรู้เรื่อง

ฟังภาษาที่ลุงแคนเขียนง่ายๆเรียบๆ เข้าใจ ง่ายดี
บันทึกการเข้า

พรรคไทยรักไทยมิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง ควรต้องสร้างความยั่งยืนให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมั่นคงกับหลักการที่ว่า กฎหมายต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ด้วยว่า พรรคไทยรักไทย มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อ
อมพระมาพูด
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 918


สนิมเกิดแต่เนื้อในตน


« ตอบ #3 เมื่อ: 15-11-2006, 14:56 »

ง่า....เอื๊อก จะโดนย้อนหลังมั้ยเนี่ย
บันทึกการเข้า

พึงทำความเพียรในวันนี้ ใครเล่าจะรู้วันตายในวันพรุ่ง
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 15-11-2006, 14:58 »


               มาตรา ๑๓ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้


               (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเป็นของบุคคลที่สามหรือจัดทำโดยบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลที่สามนั้นหรือประชาชนเสียหาย
               (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน
               (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
               (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันมีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
               (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

               ถ้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามกตาม (๔) เป็นภาพของบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

               มาตรา ๑๔ ผู้ให้บริการผู้ใดรู้ถึงการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๓ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน และมิได้จัดการลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นในทันที ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๓
               มาตรา ๑๕ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เดิมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
รวงข้าวล้อลม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,103



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 15-11-2006, 15:00 »

มาตรา ๑๕ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เดิมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ 



...ข้อนี้โปรดระวังให้ดี  มีหลายคนชอบทำอยู่ ....เตือนด้วยความ
ปรารถนาดีนะ  ...





ขอเป็นกำลังใจ ให้เสรีไทย วีโอเพน อรุณสวัสดิ์---ยืนหยัดความเป็นคุณภาพของบอร์ด 
http://forum.serithai.net/index.php?topic=9861.msg139154;topicseen#msg139154
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-11-2006, 15:03 โดย รวงข้าวล้อลม » บันทึกการเข้า

&..หลายๆทำไม ..คุณตอบได้ไหม ?
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2008/05/27/entry-4
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 15-11-2006, 15:15 »

มาตรา 15 ตรงวรรคที่ว่า "ดัดแปลงภาพ" และ "ได้รับความอับอาย" ผมคิดว่าครอบจักรวาลเกินไป
เช่น สมมติว่าผมต้องการโชว์ว่าดาราคนหนึ่งมีสิวบนใบหน้าที่ใดบ้าง
ผมก็จัดการทำเป็นวงกลม ซูมเข้าไปเฉพาะจุดนั้นๆ แบบนี้ก็อาจจะผิดตามมาตรา 15 ด้วย
เพราะผมดัดแปลงภาพ และอาจทำให้ดาราคนดังกล่าวได้รับความอับอาย

หรือผมอาจจะรูปนักการเมือง ท. เดินจูงมือกับนักการเมือง อ. แต่ถ่ายมาในที่มืด
ผมเอามาทำให้สว่างขึ้น และนำลงเนท ผมก็อาจจะผิด ฐานทำให้ ท. และ อ. ได้รับความอับอาย

ผมคิดว่ามาตรานี้ควรต้องมีการปรับปรุง พอดีไม่ใช่นักกฎหมายจึงคิดไม่ออกว่าจะปรับแก้อย่างไร
แต่คงต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริงให้มากกว่านี้
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
justy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,250



« ตอบ #7 เมื่อ: 15-11-2006, 15:27 »

ต่อไปจะมีการจดทะเบียน"IP"กันไหมน่ะ

โลกอินเตอร์ ผู้ใหญ่เขาเข้าใจมากน้อยแค่ไหน
อีกเดี๋ยวก็จับแพะเต็มไปหมด  อีกคนทำ อีกคนไม่รู้เรื่อง เพราะ "IP"ดั้นเหมือนกัน

เมืองไทยร้านอินเตอร์เน็ตก็มากมาย  ฝากผู้ใหญ่ให้พิจารณาด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า

พรรคไทยรักไทยมิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง ควรต้องสร้างความยั่งยืนให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมั่นคงกับหลักการที่ว่า กฎหมายต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ด้วยว่า พรรคไทยรักไทย มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อ
skidato
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 348



« ตอบ #8 เมื่อ: 15-11-2006, 15:38 »

เป็นกฏหมายที่งี่เง่ามากขึ้นชื่อว่าอินเตอเนทคิดหรือว่าจะคุมกันได้ง่ายๆ มันมีวิธีซิกแซกตั้งเยอะตั้งแยะ รีบๆไปแก้ปัญหาภาคใต้ให้สงบกับไล่บี้ยึดทรัพสินของชาติที่ไอ้เหลี่ยมโกงไปเอาคืนมาให้ได้ก่อนเหอะ รัฐบาลขันทีเฒ่าเอ้ย
บันทึกการเข้า
morning star
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,119


don't let them make up your mind


« ตอบ #9 เมื่อ: 15-11-2006, 16:20 »

ปกติก็มีกฏหมายนำมาปรับใช้ได้อยู่แล้วครับ ที่ออกมาเหมือนการขู่คนทำเว็บและชาวไซเบอร์มากกว่า ต่อไปอาจมีการปลอมไอพีกันเยอะขึ้น และมีเว็บใต้ดินเยอะขึ้น... แทนที่จะส่งเสริมเว็บที่อยู่บนดินให้ช่วยกันดูแลกันเอง กลับออกกฏหมายมาบีบ ..กลุ้มใจกะคนแก่จริงจิ๊งงงง
บันทึกการเข้า

อย่าเดินตามใคร เพราะเรามีจุดมุ่งหมายของเราเอง
Limmy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,346


« ตอบ #10 เมื่อ: 15-11-2006, 16:35 »

ไม่เห็นด้วยกับมาตรา 15 ครับผม

ถ้าควบคุมจริง เว็บบอร์ดคงขาดสีสันไปเยอะเลย

ทีการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์ยังมีได้ และเป็นที่นิยมด้วย รูปที่แต่งเติมให้ออกแนวเฮฮา คลายเครียด ก็น่าจะเป็นที่ยอมรับได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #11 เมื่อ: 15-11-2006, 17:11 »

ไม่เห็นด้วยกับมาตรา 15 ครับผม

ถ้าควบคุมจริง เว็บบอร์ดคงขาดสีสันไปเยอะเลย

ทีการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์ยังมีได้ และเป็นที่นิยมด้วย รูปที่แต่งเติมให้ออกแนวเฮฮา คลายเครียด ก็น่าจะเป็นที่ยอมรับได้เหมือนกัน

สงสัยว่าเราคงต้องมาวาดการ์ตูนกันเองแล้วกระมัง เพราะเอาภาพถ่ายมาตัดต่อก็ไม่ได้เสียแล้ว
ว่าแต่วาดออกมาแล้วจะดูกันรู้เรื่องหรือเปล่า ไม่เห็นด้วยกับมาตรา 15 เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #12 เมื่อ: 15-11-2006, 17:16 »

*    มีใครสรุปแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ ให้ฟังบ้างได้ป่าว !!

      เอาแบบภาษาที่คนทั่วไปเขาคุยกัน ... มะช่ายภาษา  กม. อ่ะ

      ยาวจัด ... เยอะมาก ........ อะไรก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #13 เมื่อ: 15-11-2006, 17:21 »

ต่อไปก็ออกกฎหมาย กินเหล้า แล้ว ห้ามเมา ด้วยนะครับ

อิ อิ
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
Neoconservative
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 407


We protect the Kingdom


« ตอบ #14 เมื่อ: 15-11-2006, 17:27 »

รูปตัดต่อของผม เป็นรูป อนุสาวรีย์ ที่ถูกตัดภาพ รัฐธรรมนูญ ออกไป แล้วมีข้อความล้อเลียน ว่า รัฐธรรมนูญ และ ประชาธิปไตย ของประชาชน ไปพักผ่อน อีกแล้ว

จะผิดกฏหมาย ข้อไหนมั๊ยครับ จะได้เปลี่ยน รูป

 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 15-11-2006, 17:34 »

ขอบคุณครับ มีหลายมาตราน่าสนใจ

พูดไปก็พอจะมองได้หลายแบบ หลายมุมมอง จริง ๆ ก็ดัดแปลงมาจากกฎหมายอาญาทั่ว ๆ ไป ซึ่งเกี่ยวเนื่อง พรบ.ลิขสิทธิ์ กฎหมายความมั่นคง พรบ.ข่าวสาร กฎหมายอาญาเรื่องอนาจาร-หมิ่นประมาท ฯลฯ

เท่าที่อ่านผ่านๆ เค้าคุ้มครอง สิทธิส่วนบุคคลบุคคล องค์กร และ ความมั่นคงของชาติ ( ตรงนี้กว้างมาก )

แต่เท่าที่ฟังทางวิทยุรัฐสภาแบบผ่าน ๆ ฟังได้ว่า ต้องไม่จำกัดสิทธิในเรื่องความคิดเห็นทางการเมือง แบบมาตรา 39 ในรัฐธรรมนูญ 2540 นั่นแหละครับ

เดี๋ยวจะค่อย ๆ แกะ ทีละมาตรา...
บันทึกการเข้า

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 15-11-2006, 17:59 »

สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยท้วง ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจเจ้าพนักงานมากเกิน

สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยร่วมกับสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย ประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ... เนื่องจากพบว่าร่างพ.ร.บ.ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ ส.น.ช. ในวันนี้ (15 พ.ย.) หลายมาตรามีช่องโหว่ เช่นการให้อำนาจเจ้าพนักงานมากเกินไป และการเปิดช่องโหว่ให้ผู้กระทำผิดตัวจริงไม่ต้องรับโทษ
       
วันนี้ (15 พ.ย.) เวลา 10.00 น. สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยและสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทยได้ส่งตัวแทนเข้าไปยื่นเรื่องแก่คณะกรรมาธิการวิสามัญรับเรื่องราวร้องทุกข์ ส.น.ช. เพื่อให้รับทราบข้อเท็จจริงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ... ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณา ส.น.ช. โดยได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ... ฉบับคู่ขนานที่สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย สภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย นักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันยกร่างขึ้นต่อ ส.น.ช. เพื่อพิจารณาและผลักดันให้ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
       
สาระสำคัญที่สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยและสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทยมองว่าร่างที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของ ส.น.ช. จำเป็นต้องแก้ไขมี 5 จุดคือ การให้อำนาจบังคับใช้กฎหมายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่มากเกินไป การเปิดช่องโหว่ให้ผู้กระทำผิดตัวจริงไม่ต้องรับโทษ ฐานความผิดซ้ำซ้อนกับคดีอาญา ถ้อยคำในบทบัญญัติไม่ชัดเจนและไม่รัดกุม ระยะเวลาในการบังคับใช้กฏหมายไม่เหมาะสม
       
"มาตรา 16 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรี ยึดและอายัดระบบคอมพิวเตอร์ไว้ได้สูงสุดสามสิบวัน เพียงเพราะมี"เหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิด" โดยไม่ต้องขอหมายศาล สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยและสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทยระบุในแถลงการณ์ ถึงการให้อำนาจเจ้าพนักงานมากเกินไป
       
สำหรับช่องโหว่ของพ.ร.บ.ที่ผู้กระทำผิดตัวจริงอาจไม่ต้องรับโทษ เนื่องจากมาตรา 23 ระบุว่าให้ยกเว้นโทษเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลที่กระทำความผิด หากข้อมูลนั้นถูกเปิดเผยแก่บุคคลที่สามหรือสาธารณะชนโดยเจ้าหน้าที่ที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม
       
ประเด็นฐานความผิดซ้ำซ้อนนั้น สมาคมระบุว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลที่ดีเช่นเดียวกับกฏหมายอาญา โดยเฉพาะความผิดฐานละเมิด โดยในมาตรา 3, 5 และ 6 ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ถ้อยคำไม่ชัดเจนและไม่รัดกุม ขณะที่ระยะเวลาบังคับใช้กฏหมาย ซึ่งพ.ร.บ.กำหนดไว้ที่ 180 วันทางสมาคมมองว่าผู้ให้บริการจำนวนมากจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์ได้ทัน
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 15-11-2006, 18:48 »

ถ้าผ่านสภาได้ อาจใช้เวลาเป็นปี กว่าจะประกาศใช้ครับ ศึกษาไว้ก็ดี
บันทึกการเข้า

justy
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,250



« ตอบ #18 เมื่อ: 15-11-2006, 20:03 »

เป็นกฏหมายที่งี่เง่ามากขึ้นชื่อว่าอินเตอเนทคิดหรือว่าจะคุมกันได้ง่ายๆ มันมีวิธีซิกแซกตั้งเยอะตั้งแยะ รีบๆไปแก้ปัญหาภาคใต้ให้สงบกับไล่บี้ยึดทรัพสินของชาติที่ไอ้เหลี่ยมโกงไปเอาคืนมาให้ได้ก่อนเหอะ รัฐบาลขันทีเฒ่าเอ้ย

ไม่ใช่ว่าไม่ดีหรอกค่ะ มีกฏหมายออกมาคุ้มครองบ้างก็ดี  จะได้อยู่ในขอบในเขต
บันทึกการเข้า

พรรคไทยรักไทยมิได้ให้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าของสิทธิเลือกตั้งของประชาชน อันเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้งที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนสูงสุดในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปก่อนหน้านี้ 2 ครั้ง ควรต้องสร้างความยั่งยืนให้แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมั่นคงกับหลักการที่ว่า กฎหมายต้องอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นข้อบ่งชี้ด้วยว่า พรรคไทยรักไทย มิได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งพัฒนาประเทศชาติเพื่อให้คนในชาติมีความสุขทั่วหน้าดังที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้ต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่มุ่งประสงค์เพียงดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ นอกเหนือจากครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศตลอดจนบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่หาอุดมการณ์อันแท้จริงของพรรคให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนโดยรวมว่า เมื่อเป็นรัฐบาลมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินแล้ว จะดำเนินการปกครองโดยสุจริต ไม่ประพฤติมิชอบหรือบริหารราชการแผ่นดินโดยแอบแฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อ
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #19 เมื่อ: 15-11-2006, 20:15 »

กฎหมายฉบับนี้ ประมาณว่าคุณภาพเท่ากับกฎหมายคอมมิวนิสต์ค่ะ  ให้อำนาจครอบจักรวาล และกำหนดรายละเอียดหยุมหยิม เมื่อนำออกใช้ คงป่วนกันน่าดู

เวบบอร์ดแสดงความเห็นทางการเมืองคงซวยเป็นพวกแรกๆค่ะ แต่ฝ่ายไหนจะซวยก็แล้วแต่ว่าใครครอบอำนาจ หากทำผิดเพราะเลียผู้มีอำนาจ โทษคงมาช้าหรือไม่มา แต่ถ้าไปด่าผู้มีอำนาจ คงซวยในพริบตา

หากกฎหมายรุนแรงและผู้รักษาคึกคัก ท่าทางจะต้องเล่นภาษากบ ขอเวลาไปค้นหนังสือเก่าๆก่อนค่ะ  สมัยปู่สมัยทวด ตอนญี่ปุ่นยึดครองประเทศไทย คนไทยก็วิจารณ์ญี่ปุ่นไม่ได้ ตำรวจท่านจับ อัจฉริยะชาวไทยรุ่นบรรพบุรุษ จึงคิดภาษากบขึ้นมา และคำที่ดังฮิตติดลมบนจนระเบิดมาจนทุกวันนี้ ก็ค้าว่า ไอ้ยุ่น ไงคะ  ยุ่นปี่ = ญี่ปุ่น  คำผวนปนภาษากบของโบราณ

หรือเราอาจจะต้องค้นหาภาษาแปลกๆมาคุยกัน ทางการท่านจะได้ไม่รู้เรื่อง หรือจะพูดภาษาปิ๊กมี่ หรือ ภาษาผีตองเหลืองกันดีคะ จะได้รอดพ้น

อีกทีก็เลิกเล่นไปเลย ไปหาหนทางด่ารัฐบาลกันในที่ใหม่ ในสภาพเสรีภาพถูกปิดกั้น คนมักจะหาทางออกได้เสมอ และกฎหมายที่ปิดกั้นเสรีภาพ อยู่ได้ไม่นานค่ะ

ยังไงก็ตาม ไอ้เหลี่ยมมันสิ้นใจไปแล้ว ถึงเขาห้ามด่ากันบนบอร์ด ก็ไม่เป็นไรค่ะ รับได้ 
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #20 เมื่อ: 15-11-2006, 21:09 »

ดัดแปลงภาพ..
ผู้จัดกวนคงต้องปิดไปเลย

http://manager.co.th/Pjkkuan/ViewNews.aspx?NewsID=9490000140886
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Me.
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 153


« ตอบ #21 เมื่อ: 16-11-2006, 11:32 »

อยากให้บังคับใช้อย่างจริงจัง เพราะทุก ๆ วันที่เล่นกันนี่ ผมว่ามันเกินงามนะครับ
ไม่ใช่โพสอะไรไปแล้วไม่รับผิดชอบ อ้างว่าเป็นสีสันต์
 
สิทธิเสรีภาพมันต้องมีขอบเขตครับและขอบเขตมันก็คือ กฏหมาย
กฏหมายเป็นสิ่งควบคุมสังคมให้เกิดความเป็นระเบียบ

และประชาชนทุกคนต้องรู้กฏหมาย

*ลองอ่านแล้วพิจารณาครับคิดตามอย่าไปเชื่อใคร พระพุทธเจ้ายังตรัสไว้ในเรื่อง

กาลามสูตร

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

อย่าเชื่อใครครับ ต้องลองคิดพิจาณาเอง
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #22 เมื่อ: 16-11-2006, 12:29 »

ถ้ากฏหมายนี้ใช้อย่างเคร่งครัด.....
คนรักทักษิณ สาวกฯ หวอรูม ในเสรีไทยเว็บบอร์ดจะเหลือกี่คน Question


คุณชอบแถ คุณ อะไรจ๊ะ และอีกหลายคนจะทำอย่างไร Question
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Me.
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 153


« ตอบ #23 เมื่อ: 16-11-2006, 18:32 »

ผมว่ากลุ่มต่อต้านทักษิณน่าจะลำบากกว่านะครับ เพราะฝั่งต่อต้านรูปภาพที่ตัดต่อหน้าทักษิณนี่หาง่ายเหลือเกิน
แถมคำโพสแต่ละคำก็ดุเดือดทั้งนั้น ฝั่งสนับสนุนน่าจะได้เปรียบมากกว่าฝ่ายต่อต้าน ครับ

ลองอ่านดูหลาย ๆ กระทู้จะเห็นว่าฝ่านต่อต้านทักษิณใช้คำพูดและรูปภาพที่รุนแรงมากกว่า
คงต้องรอให้กกหมายผ่านการพิจารณาและบังคับใช้อย่างจิงจังสังคมในโลกอินเตอร์เนตน่าเกิดความรับผิดชอบที่มากกว่านี้แน่

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 16-11-2006, 21:36 »

คุณ Me  ไม่ลองเข้าไปหาอ่านใน ราชดำเนินหรือเว็บใต้ดินอื่น ๆ บ้างเหรอครับ

เท่าที่ดูตอนนี้ ป๋าเปรมโดนหนัก นายกก็บอกว่า "นายกเถื่อน" แสดงว่า พระบรมราชโองการไม่มีความหมาย

หนักใจเหมือนกัน


ฝากข่าวเกี่ยวเนื่อง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ไอซีที ชี้แจงพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีความจำเป็นในสังคมปัจจุบัน

นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงกระแสวิจารณ์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไปจนเข้าข่ายก้าวก่ายสิทธิมนุษยชน ว่า การออกกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากกระทรวงไอซีที ได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองเป็นจำนวนมาก เรื่องเว็บไซต์ลามกอนาจาร ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่มอมเมาเยาวชน ธุรกิจในเมืองไทยมีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นจนเกิดปัญหา เช่น  มีการขโมยเครดิตการ์ด การลักลอบเข้าไปดูข้อมูล และมีการลงข้อความไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อจัดระเบียบ ซึ่งมีการยกร่างมานานแล้ว ส่วนการใช้อำนาจตามกฎหมายนั้นจะมีการถ่วงดุล  และถือว่ากฎหมายนี้ มีความจำเป็นมากในสภาวะการแบบนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-11-2006, 21:53 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Me.
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 153


« ตอบ #25 เมื่อ: 17-11-2006, 02:08 »

ในความคิดผมนะ อยากให้บังคับใช้จริงจังและเด็ดขาดไปเลยครับ
ใครผิดว่าไปตามไปเลยทั้งสองฝ่าย แต่เท่าที่ผมเห็นมาฝ่ายต่อต้านทักษิณนี่รุนแรงมากกว่าฝ่ายสนับสนุนนะ

ดูง่าย ๆ ในบอร์ดนี้ก็ได้ครับ ชื่อล้างโคตร......(ขออภัยที่เอ่ยนามครับ) หรือรูปเอาเท้าประทับทีวี(หรือคอมฯ)
แถมภาพตัดต่ออีกเพรียบแต่ฝ่ายสนับสนุนทักษิณเท่าที่ผมพบนี่มันน้อยกว่าต่อต้านทักษิณ (ภาพตัดต่อ)

รักใครชอบใครไม่เป็นไรหรอกครับนานาจิตตัง แต่เคารพความเห็นที่แตกต่าง
และเคารพสิทธิของผู้อื่นบ้างสังคมมันจะได้วุ่นวายน้อยกว่านี้หน่อย

อะไรผิดก็ว่ากันไปตามกฏหมาย ใครทำผิดอะไรก็ต้องชดใช้
แต่การที่จะนำมาซึ่งการชดใช้มันต้องมา ตามกระบวนยุติธรรม

เชื่อเถอะครับผมโพสไปอย่างนี้ เดี้ยวผมก็โดนด่าโดนประนามอีก
น้อยคนครับในบอร์ดนี้ที่จะคุยแบบมีเหตุผลและแบบสุภาพชน

ลองพิจาณาการพูดการให้เหตุของทั้งฝ่ายสนับสนุนทักษิณและฝ่านต่อต้านทักษิณสิครับ

" คุณภาพของคนครับ มันเป็นเรื่องของคุณภาพจริง ๆ "
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 17-11-2006, 02:56 »

ใครทำก็เข้าคนนั้น เราไปเหมารวมไม่ได้หรอกครับ

ผมเฉย ๆ อาจเพราะอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตนานไปมั๊ง เลยเจออะไรที่ขวางหูขวางตาชาวบ้านแล้วผมรู้สึกเฉย ๆ


พูดถึงคุณภาพ มันหมายถึงคุณภาพในการควบคุมอารมณ์ของตัวเองด้วยครับ
บันทึกการเข้า

pizzalulla
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46



« ตอบ #27 เมื่อ: 17-11-2006, 04:31 »

ผมเห็นด้วยว่าน่าจะต้องมีกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้
แต่ต้องพิจารณากันให้ดี ไม่ใช่ไปให้อำนาจล้นฟ้ากับเจ้าหน้าที่
ดูจากที่สมาคมเว็บมาสเตอร์เขาแย้งไว้ ก็เห็นว่าเขาแย้งได้ตรงจุดและชัดเจนดี
เรื่องนี้ยังต้องถกกันอีกหลายรอบ ไม่ใช่อยู่ๆจะมาออกเป็นกฏหมายเลย
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 17-11-2006, 05:19 »

กฎหมายแบบนี้แหละ ที่ต้องทำประชาพิจารณ์กันก่อน แล้วนำประเด็นเข้าสภา

เพื่อให้นำเนื้อหาและความต้องการของประชาชนไปเขียนกฎหมาย ในชั้นกรรมาธิการ

ที่สำคัญ ควรทำประชามติ พร้อม ๆ กับรัฐธรรมนูญใหม่ไปในคราเดียวกัน
บันทึกการเข้า

ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #29 เมื่อ: 17-11-2006, 21:59 »

     เกี่ยวกับม.15 ผมไม่รู้ว่าผู้ร่างมีจุดประสงค์ที่จะคุ้มครอง

เพียงใด จะคุ้มครองเฉพาะในกรณีที่มีการต่อเติม ดัดแปลงภาพ

ของบุคคล โดยผู้ต่อเติมหรือดัดแปลง ต้องการแสดงให้ผู้เห็น

ภาพเข้าใจว่าเป็นภาพของบุคคลนั้นจริงๆ เช่นกรณีต่อเติมภาพ

โป๊ดารา ซึ่งอาจทำให้คนดูภาพเข้าใจว่า เป็นภาพโป๊ของดารา

คนนั้นจริงๆ หรือม.15 นี้จะคุ้มครองกรณีภาพต่อเติมที่มีลักษณะ

ล้อเล่น อย่างเช่นภาพที่คุณCherub Rock นำมาจากผู้จัดกวน

ด้วย

     หากจะเอาผิดภาพตัดต่อที่มีลักษณะล้อเล่นดังกล่าว ก็ควรที่

จะเอาผิดการ์ตูนล้อเลียนตามนสพ.ด้วย เพราะผมยังมองไม่ออกเลย

ว่ามันจะแตกต่างกันตรงไหน มันอาจทำให้บุคคลที่เป็นภาพในการ์ตูน

และถูกดัดแปลงภาพได้รับความอับอายเหมือนกัน ภาพการ์ตูนใน

นสพ.น่าจะสร้างความเสียหายให้กับผู้ถูกล้อเลียนได้มากกว่าทางเน็ต

ซะอีก เพราะมีผู้เข้าถึงนสพ.มากกว่า

     
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #30 เมื่อ: 17-11-2006, 22:39 »

เห็นด้วยกับ คุณพรรณชมพู
ที่กล่าวว่า เหมือนกฏหมายคอมมิวนิสต์
เพราะให้อำนาจเจ้าพนักงานฯ มากเกินไป

ก็อย่างที่ คุณ CanCan บอกนะคะ
คำว่า ความมั่นคงของชาติ นั้นกว้างมาก

ไม่สามารถวิพาษ์ “ผู้มีอำนาจ” ได้
คือ การลิดรอนเสรีภาพ อย่างเลวร้าย
มีแต่รัฐบาล "เผด็จการ" เท่านั้นที่คิดทำ

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #31 เมื่อ: 17-11-2006, 23:01 »


ไม่สามารถวิพาษ์ “ผู้มีอำนาจ” ได้
คือ การลิดรอนเสรีภาพ อย่างเลวร้าย
มีแต่รัฐบาล "เผด็จการ" เท่านั้นที่คิดทำ

 

อย่ามีอคติสิครับ...

กฏหมายไม่ได้ห้ามการวิพากษ์ วิจารณ์ผู้มีอำนาจเสียหน่อย...
บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #32 เมื่อ: 17-11-2006, 23:16 »

ร่างกฎหมายฉบับนี้คงจะผ่านสภาฯละนะ (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็ถือเป็นสภาประเภทหนึ่งละกัน)

เท่าที่ผมอ่านดูคร่าว ๆ ไม่น่าผ่าน ถ้าจะให้ผ่านได้ ต้องแก้เกลาข้อความมากพอสมควรเลยล่ะ
เพราะ บางถ้อยคำ ดูน่าจะขัดกับกฎหมายพื้นฐานและกฎหมายรัฐธรรมนูญ (ถ้าฉบับที่จะร่างออกมานี่ ไม่วิปริตพิสดารผิดไปจากครรลองเดิม)

ผมว่า ไม่ผ่านครับ น่าจะตกทั้งฉบับเลย

คุณสะโนว์ไม่ต้องไปกลัว มันจะออกมาเป็นกฏหมาย ที่มีการกลั่นกรองก่อน
ไม่ใช่ "ประกาศคณะปฏิวัติ" เหมือนยุคถนอม ที่เขียน "ห้าม" นู่นห้ามนี่เอาตามใจชอบ และ(บางข้อ)ยังเป็นกฏหมายบังคับมาถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #33 เมื่อ: 17-11-2006, 23:22 »


ไม่สามารถวิพาษ์ “ผู้มีอำนาจ” ได้
คือ การลิดรอนเสรีภาพ อย่างเลวร้าย
มีแต่รัฐบาล "เผด็จการ" เท่านั้นที่คิดทำ

 

อย่ามีอคติสิครับ...

กฏหมายไม่ได้ห้ามการวิพากษ์ วิจารณ์ผู้มีอำนาจเสียหน่อย...

ค่ะ ที่รีบเข็นเข้าสภาลากตั้ง เป็นอันดับแรกๆ
เพราะอยากปราบปรามเวบโป๊
เนื่องจากที่ผ่านมายังทำได้ไม่เต็มที่
และเวบพวกนี้เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติมาก
ไม่ได้คิดห้ามวิจารณ์ผู้มีอำนาจเลยสักนิด
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #34 เมื่อ: 18-11-2006, 00:05 »

เขียนไปหลาย คคห. แล้ว
ยังไม่ได้ขอบคุณ จขกท. ที่กรุณานำข่าวมาเผยแพร่

 

ขอมอบภาพนี้ให้เป็นกำลังใจนะคะ
หวังว่าคงชัดพอจะมองเห็นน้องเหมียวตัวน้อย
ที่ไล่คุณหมีตัวเบ้อเริ่มขึ้นไปจนมุมอยู่บนยอดไม้
Size doesn't matter. It's the the heart that counts.
ขนาดไม่สำคัญ มันอยู่ที่ใจค่ะ


บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 18-11-2006, 00:54 »

เห็นแต่หมี...ไม่เห็นแมวเลยค่ะ

อ้อ...เห็นแล้ว...เห็นแล้ว แหมสีน้องเหมียวยังกะเศษใบไม้...
บันทึกการเข้า

qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #36 เมื่อ: 18-11-2006, 03:43 »

เห็นหมีแล้วยังจะสีน้องเหมียวอีกหรือคุณ Can ?

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 03:48 โดย qazwsx » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 18-11-2006, 03:55 »

ครับ ๆ เห็นบอกขนาดไม่สำคัญ ผมละอึ้ง ทึ่ง เสียว

น้องเหมียวใจใหญ่มากครับ หมีตัวโต ๆ ยังวิ่งหนีขึ้นต้นไม้

เป็นผมเห็นหมกลางป่าี ก็วิ่งหนีก่อนแล้ว หมีเล็กหมีใหญ่ ไว้ใจไม่ได้หรอกคุณ
บันทึกการเข้า

stoy
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


« ตอบ #38 เมื่อ: 21-11-2006, 16:56 »

คุณ Me  ไม่ลองเข้าไปหาอ่านใน ราชดำเนินหรือเว็บใต้ดินอื่น ๆ บ้างเหรอครับ

เท่าที่ดูตอนนี้ ป๋าเปรมโดนหนัก นายกก็บอกว่า "นายกเถื่อน" แสดงว่า พระบรมราชโองการไม่มีความหมาย

หนักใจเหมือนกัน


ฝากข่าวเกี่ยวเนื่อง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ไอซีที ชี้แจงพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีความจำเป็นในสังคมปัจจุบัน

นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงกระแสวิจารณ์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไปจนเข้าข่ายก้าวก่ายสิทธิมนุษยชน ว่า การออกกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากกระทรวงไอซีที ได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองเป็นจำนวนมาก เรื่องเว็บไซต์ลามกอนาจาร ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่มอมเมาเยาวชน ธุรกิจในเมืองไทยมีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นจนเกิดปัญหา เช่น  มีการขโมยเครดิตการ์ด การลักลอบเข้าไปดูข้อมูล และมีการลงข้อความไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อจัดระเบียบ ซึ่งมีการยกร่างมานานแล้ว ส่วนการใช้อำนาจตามกฎหมายนั้นจะมีการถ่วงดุล  และถือว่ากฎหมายนี้ มีความจำเป็นมากในสภาวะการแบบนี้


แล้วพวกปฏิวัติละครับ พระบรมราชโองการไม่มีความหมายหรือ อย่าเอียงครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: