ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 18:26
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ธงชัย วินิจจะกูล : เริ่มต้นประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยหรืออภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ธงชัย วินิจจะกูล : เริ่มต้นประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยหรืออภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย  (อ่าน 2607 ครั้ง)
athit
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« เมื่อ: 15-11-2006, 02:14 »

ธงชัย วินิจจะกูล : เริ่มต้นประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยหรืออภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย (ฉบับสมบูรณ์)   
 


ธงชัย วินิจจะกูล

ภาพจาก www.bangkokbiznews.com
 

ข้อโจมตีผู้คัดค้านการรัฐประหารที่แพร่หลายที่สุดคือข้อกล่าวหาว่าคนเหล่านั้น...

       ยึดติดกับมาตรฐานฝรั่ง - ไม่เข้าใจสังคมไทย

       ยึดประชาธิปไตยแต่รูปแบบ - ไม่เข้าใจสาระที่แท้จริงของประชาธิปไตย

       กอดคัมภีร์ - ไม่รู้จักความเป็นจริง

       บ้าทฤษฎี - ไม่เข้าใจปฏิบัติ

       เถรตรง - แต่ไม่เที่ยงตรง

สรุปได้ว่า ผู้คัดค้านการรัฐประหารไม่เข้าใจประชาธิปไตยตามความเป็นจริงที่เหมาะสมกับประเทศไทย


ผู้เขียนเห็นว่า ข้อโจมตีข้างต้นเป็นแค่โวหารตื้นเขินที่โต้แย้งได้ง่ายๆ ทุกประเด็น ผู้ที่โจมตีด้วยข้อกล่าวหาดังกล่าวคงไม่เคยคิดให้ตลอดรอดฝั่งว่า เหตุผลของตนหนักแน่นเพียงใด เพราะหวังผลแค่การโฆษณาชวนเชื่อแค่นั้น น่าเสียใจที่ปัญญาชนชั้นนำบางคนไม่คิดอะไรมากไปกว่านั้น กลับช่วยกันผลิตซ้ำโวหารโฆษณาชวนเชื่อต่อๆ ไป แทนที่จะถกเถียงกันในสาระสำคัญที่ผู้คัดค้านการรัฐประหารเสนอ คำแถลงของธีรยุทธ บุญมี เมื่อ 11 ตุลาคม (ข่าวประกอบด้านล่าง) น่าจะเป็นตัวแทนของความคิดชนิดนี้ได้ดี กล่าวคือ ธีรยุทธ เสนอให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย จึงขออนุโลมเรียกความคิดประชาธิปไตยทำนองนี้ว่า ประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทย

ประชาธิปไตยไทยเป็นแบบไทยมาตลอดไม่เคยคล้ายฝรั่งเลย ในบรรดาผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร มี นิธิ เอียวศรีวงศ์ และชาญวิทย์ เกษตรศิริ รวมอยู่ด้วย ผู้สนับสนุนการรัฐประหารอาจเห็นต่างจากทั้งสองท่าน แต่กล้าพูดเชียวหรือว่าตนเข้าใจสังคมไทย รู้จักวัฒนธรรมไทย เข้าใจความเป็นจริงดีกว่าและเที่ยงตรงกว่านิธิและชาญวิทย์ซึ่งเอาแต่กอดตำราฝรั่งไม่เข้าใจสาระที่แท้จริงของประชาธิปไตย ความเห็นต่างกันต่อการรัฐประหารมิได้เป็นเพราะฝ่ายหนึ่งเป็นไทยอีกฝ่ายเป็นฝรั่งเลย แต่อยู่ที่สาระสำคัญของประเด็นต่างๆ

ปัญญาชนหลายคนรวมทั้งธีรยุทธเสนอความคิดมาหลายปีแล้วว่าความรู้ของคนไทยตามฝรั่งมากเกินไป คราวนี้ก็โทษอีกว่าปัญหาของประชาธิปไตยไทยเกิดจากการที่ตามฝรั่งมากไป ผู้เขียนโต้แย้งมาหลายปีแล้วเช่นกันว่าความคิดเหล่านั้นเข้าใจผิดทั้งเพ ความเชื่อว่าเราผิดพลาดเพราะเป็นฝรั่งมากไปนั้น เป็นความเข้าใจที่ฟังดูเข้าท่าเข้าหูคนไทยดี พูดที่ไหนคนไทยก็นิยมเห็นด้วยได้ง่ายๆ แต่ความเชื่อนั้นผิดในข้อเท็จจริง และมักจะเป็นผลของการคิดสรุปเอาง่ายๆ จากปรากฏการณ์ผิวเผิน

สังคมวัฒนธรรมไทยผสมปนเปความรู้ค่านิยมฝรั่งมานานแล้วด้วยการเลือกคัดดัดแปลงธาตุใหม่ๆ ตามความต้องการและบนฐานความรู้ของสังคมไทยเอง แล้วพัฒนาสิ่งเหล่านั้นต่อมาตามสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขของสังคมไทยเอง ความรู้และวัฒนธรรมบางอย่างอาจมีเชื้อมูลของไทยน้อยหน่อย เป็นฝรั่งมากหน่อย อีกหลายอย่างมีทั้งฐานและเชื้อมูลเดิมที่แข็งแกร่ง ธาตุฝรั่งเข้ามาก็ถูกกลายพันธุ์แปลงภาษาจนเป็นไทยไปหมด บางแง่ดูเป็นฝรั้งฝรั่งแบบที่ฝรั่งเองก็ไม่เคยเป็น บางแง่เป็นไท้ยไทยแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในสังคมไทย


สังคมวัฒนธรรมที่ผสมปนเปความรู้ค่านิยมฝรั่งตามแบบไทยๆ นี่แหละคือสังคมไทย ภูมิปัญญาและความเป็นไทยไม่ใช่มรดกดั้งเดิมที่แช่แข็ง แต่คือความเป็นจริงตามที่เป็นอยู่ ซึ่งต้อนรับดัดแปลงธาตุใหม่ๆ ให้กลายเป็นแบบไทยๆ ตลอดเวลาด้วย เช่นกันระบอบการเมืองประชาธิปไตยของไทยตั้งแต่สถาบัน ค่านิยม พฤติกรรม จนถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองล้วนสืบทอดมรดกวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยมาทั้งนั้น แม้จะมีพรรคการเมือง การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญตามอิทธิพลประชาธิปไตยในโลก สถาบันการเมืองเหล่านี้กลายเป็นแบบไทยๆ ตั้งแต่เริ่ม แล้วพัฒนาต่อมาตามเงื่อนไขของสังคมไทยอีกเป็นเวลานาน พอๆ กับที่เราสามารถกล่าวได้ว่ากองทัพ กระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัย วิชาการ สื่อมวลชนได้รับอิทธิพลฝรั่ง แต่กลายเป็นแบบไทยๆ ตั้งแต่เริ่ม แล้วพัฒนามาตามเงื่อนไขของสังคมไทยเองต่อมาอีกนาน 

ประชาธิปไตยไทยจึงมีลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์ของตน เหมือนทุกสังคมมีลักษณะเฉพาะทั้งนั้น แต่ทุกแห่งมีลักษณะร่วมของสังคมมนุษย์และวิถีประวัติศาสตร์ที่ประสานสอดคล้องกันไปหมดด้วยในเวลาเดียวกัน จนไม่มีสังคมใดเลยที่แตกต่างพิลึกพิลั่นจนประสบการณ์ร่วมของมนุษย์ประยุกต์ใช้ไม่ได้ ประชาธิปไตยไทยก็เช่นกัน ประชาธิปไตยไทยไม่เคยเป็นแบบฝรั่งเลย แต่เป็นประชาธิปไตยตามภูมิปัญญาไทยมาแต่ไหนแต่ไร ความดีความชั่วระหกระเหินที่ผ่านมา ก็เพราะภูมิปัญญาไทยในระบอบการเมืองของเราเองนี่แหละ แต่ประชาธิปไตยไทยไม่ได้ต่างเสียจนกลายเป็นข้อยกเว้นหรือกลับตาลปัตรจากที่อื่นๆ การอ้างเอาความต่างเป็นเหตุผลเพื่อทำลายประชาธิปไตย หรืออ้างว่าการรัฐประหารเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงเป็นการเล่นแร่แปรธาตุทางปัญญาที่ดูถูกประชาชนอย่างแรง เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ไร้ความรับผิดชอบ


ข้อเสนอให้ทำประชาธิปไตยเป็นแบบไทยๆ แทนการตามก้นฝรั่ง ดูเผินๆจึงฟังเข้าที แต่ที่จริงเป็นโฆษณาชวนเชื่อให้เข้าใจผิดๆ ว่าปัญหาอยู่ที่ความเป็นไทยไม่พอ ทั้งๆ ที่จริงอาจตรงกันข้าม โฆษณาชวนเชื่อนี้ยังหลีกเลี่ยงการถกเถียงในสาระสำคัญ (เช่น อภิชนคือใคร ควรยอมให้มีอำนาจแค่ไหน ประชาชนไว้ใจไม่ได้ จริงหรือ เป็นเพราะอะไร ควรทำยังไงให้ไว้ใจได้ ฯลฯ) อีกด้วย อย่าลืมว่าการกล่าวหาว่าผู้นิยมประชาธิปไตยไม่ใช่ไทยแท้หรือเป็นไทยไม่พอ เป็นข้อกล่าวหาอัปลักษณ์ที่ใช้มาหลายครั้งเต็มที สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็หาว่าผู้ต้องการปาลิเมนต์เป็นพวกต้องการเอาข้าวสาลีมาปลูกแทนข้าวเจ้า สมัยกบฏ ร.ศ.130 ก็ถูกหาว่าเป็นแค่พวกเอาอย่างปฏิวัติจีน การปฏิวัติ 2475 ก็ถูกฝ่ายนิยมระบอบเดิมและนักวิชาการนิยมเจ้าหาว่าเป็นแค่นักเรียนนอกหัวรุนแรงไม่กี่คน

คราว 14 ตุลา ก็ถูกหาว่าคอมมิวนิสต์ยุยง คราวนี้เอาอีกแล้ว - ตามก้นฝรั่ง กอดคัมภีร์ฝรั่ง น่าเสียใจว่าคนที่กล่าวหาคราวนี้เคยถูกเข่นฆ่ามาก่อนเพราะถูกกล่าวหาว่าไม่เป็นไทย แต่กลับมาใช้ข้อกล่าวหาอัปลักษณ์เช่นนี้เสียเอง ไม่ว่าจะเกิดจากความจงใจหรือสัมฤทธิผลทางการเมือง หรือเกิดจากความไม่รู้จักสังคมประวัติศาสตร์ไทยเอง หรือเกิดจากความเผอเรอก็ตาม...โปรดหยุดการกล่าวหาอย่างนี้เสียทีเถิด

ขอร้องครับ จะทะเลาะกันขนาดไหนก็ขอความกรุณาอย่าใช้วิธีการน่ารังเกียจเช่นนี้เลย น่าเสียใจที่นักวิชาการหลายคนเป็นผู้ผลิตวาทกรรมโฆษณาชวนเชื่อนี้เสียเอง หรือถ้านักวิชาการเชื่อตามที่ตนพูดจริงๆ ก็น่าจะเป็นดรรชนีชี้คุณภาพของวิชาการไทยได้ดีกว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยสำนักใดๆ ทั้งสิ้น แต่เราจะได้เห็นต่อไปว่า ธีรยุทธ ยังกล้าพูดความจริงเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบไทยมากกว่าอีกหลายคน

คุณสมบัติสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยที่ยังฝังรากลึกมาก คือ ความเชื่อใน ‘บารมี’ ของอภิชน เชื่อว่าผู้มีบารมีย่อมอยู่เหนือคนธรรมดา สมควรมีสิทธิมีอำนาจมากกว่า บารมี คือ อำนาจอันเกิดจากศีลธรรมที่สูงส่งกว่า (ซึ่งธีรยุทธอาจลืมไปหรืออาจเป็นฝรั่งมากไปหน่อยจนไม่รู้จักคำนี้ดีพอ จึงต้องใช้ภาษาไทยปนเขมรปนแขกว่า ‘อำนาจศีลธรรม’ แล้วกำกับด้วยภาษาอังกฤษว่า ‘Moral Authority’) บารมีเกิดได้มีได้หลายรูปแบบตามสังคมวัฒนธรรมที่ต่างกันและเปลี่ยนไป เช่น การครอบครองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การประพฤติธรรม สมณเพศ ความอยู่เย็นเป็นสุขของลูกน้อง หรือบุคลิกภาพที่ดูซื่อสัตย์ทรงธรรม อภิชนก็เกิดได้มีได้หลายรูปโฉม เช่น กษัตริย์ ขุนนาง นักรบ เศรษฐี ข้าราชการ นักการเมือง ราษฎรอาวุโส หลวงปู่ เกจิอาจารย์ท่านต่างๆ หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย

การเมืองไทยแต่โบราณ ก็คล้ายๆ สังคมโบราณที่อื่นๆ ในโลก กล่าวคือ เป็นเรื่องของอำนาจบารมี เชื่อกันว่าถ้าผู้นำมีบารมีทุกอย่างจะดีเอง ไม่ใช่เรื่องของนโยบาย หรือทิศทางการบริหารประเทศ วัฒนธรรมการเมืองแบบนี้ยังเห็นได้ตลอดเวลาในปัจจุบัน เช่น การเน้นที่ศีลธรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์ อันที่จริงประชาธิปไตยในโลกตะวันตกก็มีวิวัฒนาการมานานในครรลองคล้ายๆ กัน กล่าวคือ มิได้นับว่าประชาชนทุกคนเท่าเทียมกันแต่อย่างใด จนกระทั่งประมาณกว่า 100 ปี ที่ผ่านมานี้เอง ประชาธิปไตยโบราณจึงหมายถึงอำนาจของเจ้าทาสและปัญญาชนเมืองเท่านั้น ประชาธิปไตยยุคต้นสมัยใหม่หมายถึง อำนาจของผู้ชายผิวขาวผู้มีทรัพย์และเสียภาษีเท่านั้น ฝรั่งเองก็ใช้เวลาหลายร้อยปี กว่าจะยอมรับว่า ประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน

ดังนั้น สังคมไทยจึงเลือกรับดัดแปลงประชาธิปไตยให้เข้ากับวัฒนธรรมอภิชนแบบไทยๆ ซะ ผลก็คือ ประชาธิปไตยที่ยังคงความเชื่อในผู้มีบารมี ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ พ่อขุน นายพล อธิการบดี อาจารย์มหาวิทยาลัย นักการเมืองที่ประสบความสำเร็จ และราษฎรอาวุโส ประชาชนเป็นใหญ่ในระบอบนี้ แต่มีบางคนใหญ่กว่าประชาชน วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยจึงให้อภิชนเหล่านี้มีอำนาจหรืออิทธิพลเหนือประชาชนธรรมดาในรูปแบบต่างๆ บางทีก็สร้างสมจนกลายเป็นสถาบันถาวรไปเลย

รัฐบาลประชาธิปไตยที่ออกนอกลู่นอกทางวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยๆ จึงต้องถูกขจัด และต้องพยายามเอาคุณธรรมแบบไทยๆ กลับเข้ามานำประชาธิปไตยอีกครั้ง แต่ตลอดระยะประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทย ก็มีความคิดเห็นแตกต่างอยู่เสมอว่า ใครคือ อภิชนที่ควรมีอำนาจมากกว่ากัน ประชาชนควรได้อำนาจมากขึ้นหรือยัง ประชาชนพร้อมหรือยัง ประชาชนควรมีเสรีภาพหรือยัง มีมากไปไหม คนชนบทยังโง่อยู่จะทำยังไง

ความแตกต่างเหล่านี้เกิดจากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จนแตกต่างหลากหลายเกินกว่าวัฒนธรรมแบบสังคมหมู่บ้านหรือเมืองเล็กๆ จะรับมือไหว คนไทยต่างสถานะต่างชนชั้นต่างอุดมการณ์ความคิด จึงมีความปรารถนาจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต่างกัน นิยามความเป็นประชาชนต่างกัน ไว้ใจประชาชนมากน้อยไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มเจ้าย่อมต้องการระบอบที่คงสถานะของพวกตนไว้ด้วยการอ้างอิงวัฒนธรรมไทยตามทัศนะของตน เป็นต้น

การรัฐประหาร 19 กันยายน คือ การสืบทอดวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไทยๆ กระแสครอบงำ แถมคราวนี้ทำกันอย่างโจ่งแจ้งชัดเจนไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน ธีรยุทธ บุญมี เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดอีกแล้ว กล่าวคือ ธีรยุทธเรียกร้องว่า การเมืองของนักการเมืองควรถูกถ่วงดุลกำกับด้วยผู้มีอำนาจทางศีลธรรมที่สูงส่งกว่า เป็นพลังคุณธรรมของบ้านเมือง เขาระบุตรงไปตรงมาว่าพลังนี้ได้แก่ สถาบันยุติธรรม ทหาร นักวิชาการ กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ ชนชั้นสูง องคมนตรี เป็นต้น เขาระบุถึงขนาดว่านักวิชาการควรมาจากมหาวิทยาลัยเก่าๆ

ธีรยุทธ เห็นว่า นี่คือประชาธิปไตยที่เป็นแก่นสาร ไม่ใช่แค่รูปแบบ ในทางตรงกันข้าม เขาเห็นว่าการเน้นสิทธิของปัจเจกบุคคลผ่านการเลือกตั้งเป็นที่มาของประชาธิปไตยที่ล้มเหลว เพราะปัจเจกชนถูกทุนครอบงำง่าย ไว้ใจไม่ได้ มีแต่อภิชนจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่รู้เท่าทันทุนและไม่ถูกครอบงำ จึงต้องสร้างสถาบันของผู้มีศีลธรรมมากำกับ

อาจกล่าวได้ว่า พวกแรกควรถูกลดทอนสิทธิอำนาจ หรือกล่าวให้ถูกต้องกว่าก็คือ พวกหลังควรมีอภิสิทธิ์และอำนาจเหนือคนอื่น เพราะมีคุณธรรมสูงกว่า ธีรยุทธยังผลิตซ้ำความเข้าใจง่ายๆ ที่ผิดว่า การเมืองเป็นเรื่องสกปรก ดังนั้นผู้มีอำนาจทางศีลธรรมที่กำกับการเมืองจึงควรปลอดการเมือง ควรยุ่งแต่เรื่องจริยธรรมเท่านั้น

ประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยของธีรยุทธ จึงหมายถึง ระบอบการเมืองที่ประชาชนผู้อ่อนศีลธรรม สมควรถูกกำกับด้วยผู้มีบารมีสูงกว่า เป็นประชาธิปไตยแบบมีอภิชนอยู่เหนือประชาชนทั่วไป ความชอบธรรมของพวกเขาคือ มีศีลธรรมคุณธรรมสูงกว่าประชาชนธรรมดา ตรงตามวัฒนธรรมทางการเมืองตามทัศนะของชนชั้นนำไทยเป๊ะ แต่คราวนี้เสนอกันออกมาตรงๆ โจ่งแจ้งกันไปเลย นี่คือประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ใช่แค่เปลือก คือประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับความเป็นจริงของไทย ไม่ยึดติดคัมภีร์ หรือว่านี่คืออภิชนาธิปไตยขนานแท้ ตอกย้ำความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบโบราณซึ่งเชิดชูอภิชนและให้อำนาจแก่อภิชน เป็นประชาธิปไตยเป็นแค่เปลือกแค่รูปแบบแค่นั้นเอง แต่อภิชนาธิปไตยแบบวัฒนธรรมไทยตามข้อเสนอของธีรยุทธไม่ใช่แบบเดิม ๆ สมัยสฤษดิ์อีกต่อไป

ประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยของธีรยุทธคือ การทำให้ความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบหลัง 14 ตุลา กลายเป็นสถาบันทางการเมืองอย่างเป็นทางการเปิดเผยกันไปเลย กล่าวคือ เป็นระบบการเมือง 2 ชั้น ชั้นล่างได้แก่นักการเมือง ประชาชนปกติธรรมดา ซึ่งก็ควรเลือกตั้งกันต่อไป ซื้อขายเสียงและทะเลาะกันต่อไปตามปรกติ


ส่วนชั้นบนได้แก่ผู้มีบารมีทั้งหลาย ที่คอยกำกับชั้นล่างให้อยู่ในร่องรอย ต้องขอขอบคุณธีรยุทธที่ช่วยทำให้ภาวะอย่างนี้โจ่งแจ้งเห็นกันชัด ๆ แทนที่จะมัวแอบอ้างลอยตัวทำเป็นคนดีมีคุณธรรมแบบเงียบ ๆ อย่าง 30 กว่าปีที่ผ่านมา ธีรยุทธยังกล้าหาญขอขยายแวดวงของชั้นบนออกไป กล่าวคือ อภิสิทธิชนไม่จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้ดีมีสกุลและองคมนตรี แต่จะมีจำนวนมากขึ้นและเห็นกันชัด ๆ เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย (เก่าๆ ) ผู้อาวุโสที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์ และคนในสถาบันตุลาการ

หากทำตามข้อเสนอของธีรยุทธ อภิชนาธิปไตยคงจะเปิดเผยตรงไปตรงมาว่าใครบ้างอยู่เหนือหัวประชาชน สถาบันของสังคมทั้งทหาร ตุลาการ ข้าราชการ มหาวิทยาลัยก็ควรจะประกาศให้ชัดไปเลยว่าตนไม่อยู่ใต้อำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะตนสังกัดชนชั้นบนเหล่านั้น ทำเช่นนี้ประชาชนจะได้ตรวจสอบตรงไปตรงมาเช่นกัน

หากจะยกระดับข้อเสนอของธีรยุทธให้ดียิ่งขึ้น (ขอย้ำเสียก่อนว่านี่มิใช่การประชดประชันเลยสักนิด) ควรบัญญัติให้เป็นกฎหมายหรือลงไปรัฐธรรมนูญเลยว่า พลเมืองไทยมีสิทธิไม่เท่ากันต่างกันตามระดับของการรับรู้ข่าวสารและระดับศีลธรรม ควรระบุให้ชัดเจนว่าอภิชนมีสิทธิและอำนาจมากกว่าอย่างไร จะให้อำนาจคนกรุงผู้มีการศึกษาเหนือคนชนบทและคนจนในกรุงไหม ควรระบุลงไปเลยดีไหมว่าองคมนตรีและราษฎรอาวุโสทั้งหลายเป็นสภาอัครมหาคุณธรรมเหนือการเมือง เหนือสถาบันทางการเมืองทั้งหลาย

ควรระบุด้วยว่า ภูมิปัญญาและศีลธรรมวัดกันตรงไหน ควรมีการประกวดระหว่างอภิชนชั้นบนว่า ใครมีศีลธรรมมากกว่ากัน เพื่อให้สังคมมีโอกาสรับรู้และร่วมตัดสินใจว่า ความมีศีลธรรมวัดกันตรงไหนดีกว่ากัน


เพราะสังคมไทยปัจจุบันมีความสับสนมากในเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่การนับถือเงินและหลงใหลวัตถุเป็นพระเจ้าเท่านั้น แต่แม้กระทั่งนักประชาธิปไตยยังยอมรับผู้มีส่วนในการสังหารหมู่เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม และพฤษภา 35 ว่าเป็นคนดีมีคุณธรรม นักวิชาการผู้ทรงภูมิปัญญาพากันเข้านอบน้อมผู้มีมลทินท่วมตัวในฐานะผู้มีบารมีมีคุณธรรม


ถ้าต้องการคุณธรรมนำประชาธิปไตย ก็ควรอธิบายให้ได้ว่า อะไรคือความมีคุณธรรมที่ไม่ใช่หน้าไหว้หลังหลอก ไม่ใช่มือถือสากปากถือศีล และไม่ใช่สอง-สาม-สี่มาตรฐานตามใจชนชั้นกฎุมพีเมือง ถ้าอภิชนทั้งหลายตกลงกันได้ว่าจะตัดสินความมีศีลธรรมกันตรงไหน การตรวจสอบก็ง่ายขึ้น จะได้ไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยนทำตัวเป็นอีแอบในระบบการเมืองอีกต่อไป


ทั้งหมดไม่ใช่การประชดประชันแต่อย่างใด แต่เป็นข้อเสนอต่อยอดของธีรยุทธเพื่อให้อภิชนาธิปไตยหรือประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยมีความโปร่งใสตรงไปตรงมาที่สุด เพื่อให้ประชาชนเห็นชัด ๆ แล้วตัดสินว่าต้องการแบบนี้หรือไม่ เอาไหม ถ้าประชาชนต้องการอภิชนาธิปไตยที่มีประชาธิปไตยเป็นเปลือก พอใจประชาธิปไตย 2 ชั้นที่มีอภิชนอยู่ชั้นบนก็ควรจะเอาตามประชาชนต้องการ


วาทกรรมที่เป็นเครื่องมือของอภิชนาธิปไตย ประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยที่ผ่านมาสร้างพื้นที่ให้แก่อภิชนและผู้มีบารมีทั้งหลายด้วยวาทกรรมการเมือง 3 ประการ


หนึ่ง ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง


สอง การเมืองไร้คุณธรรม


โดยมีวาทกรรมทรงพลังที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด ได้ผลที่สุดที่เชื่อมโยงสองข้อแรกเข้าด้วยกันคือ วาทกรรมว่าด้วยนักการเมืองคอร์รัปชั่น


คำกล่าวที่ว่าประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง ย่อมถูกต้องเสมอไม่มีทางปฏิเสธได้เลย ในระบบประชาธิปไตยที่เชื่อมั่นในประชาชน คำกล่าวนี้มีผลเชิงสร้างสรรค์ คือ เป็นการสร้างความชอบธรรมที่ประชาสังคมและประชาชนจะต้องรวมตัวกัน สร้างอำนาจของตนเองจนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกตั้ง


แต่คำกล่าวนี้มิใช่เพื่อปฎิเสธการเลือกตั้ง การเลือกตั้งยังคงเป็นความชอบธรรมสูงสุดในการตัดสินอำนาจทางการเมือง ทว่าในประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมาวาทกรรมดังกล่าวถูกใช้ใน 2 ทาง กล่าวคือในขณะที่บางคนใช้อย่างถูกต้องเพื่อสนับสนุนการสร้างอำนาจประชาชน แต่หลายคนใช้เพื่อปฏิเสธการเลือกตั้ง ปฏิเสธความชอบธรรมของเสียงของประชาชนที่ถูกหาว่าโง่ ขาดข้อมูลข่าวสาร หรือถูกครอบงำโดยอำนาจเงิน เป็นการใช้คำกล่าวนี้ในทางทำลาย


และเมื่อบวกกับวาทกรรมประเภทที่สองและสามดังจะกล่าวต่อไป วาทกรรมประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้งจึงกลายเป็นการเปิดประตูแก่อภิชนในที่สุด


วาทกรรมที่ว่าการเมืองของนักการเมืองสกปรกไร้คุณธรรม เป็นทัศนะของอนุรักษ์นิยมไทยมาตลอดที่พยายามปฏิเสธว่านักการเมืองเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการปะทะต่อสู้ต่อรองผลประโยชน์และแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติในสังคมที่แตกต่างหลากหลายเกินกว่าจะอาศัยเพียงบารมีของอภิชนมาแก้ปัญหา พวกอนุรักษ์นิยมยังเห็นการเมืองเป็นเรื่องของผู้ปกครองผู้ทรงธรรมที่จะบันดาลความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎร

คงปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า การเมืองต้องมีคุณธรรมหรือจริยธรรมทางโลกย์กำกับอยู่ แต่การเมืองเรื่องของคุณธรรมเป็นอุดมคติของอภิชนเพื่อเน้นย้ำทุนทางวัฒนธรรมที่ตนสะสมและอ้างอิงอยู่เสมอ ทว่าคุณธรรมหรือบารมี ที่วาทกรรมนี้อ้างอิงกลับอยู่ในกรอบความคิดของกฎุมพีเมืองและอภิชนเท่านั้น

ดังนั้น วาทกรรมหลักที่ใช้ปฏิเสธอำนาจประชาชนและเสริมอำนาจอภิชน จึงได้แก่วาทกรรมนักการเมืองคอร์รัปชัน เราปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า คอร์รัปชันระบาดทั่วไปในวงการเมือง และประชาชนต้องการขจัดการทุจริตคอร์รัปชัน

แต่วาทกรรมนี้ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมากลายเป็นหัวหอกแก่ประชาธิปไตยของอภิชน ด้วยการทำให้วาทกรรมนี้กลายเป็นอาวุธทางการเมืองโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่านักการเมืองทุจริตแหง ๆ ทุจริตรุนแรงเสียด้วย และการเลือกตั้งเต็มไปด้วยการซื้อเสียง เสียงของประชาชนจึงเชื่อถือไม่ได้

นักการเมืองกลายเป็นบุคคลน่ารังเกียจจนผู้คนสงสัยว่า จะมีประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งไปทำไมกัน วาทกรรมนักการเมืองคอร์รัปชัน แทบจะกลายเป็นภารกิจด้านเดียวของสื่อมวลชน เพราะช่วยให้ขยายได้ มีเกียรติภูมิ และทำให้ตนเองพลอยมีคุณธรรมสูงส่งไปด้วย

วาทกรรมทั้งสามช่วยกันสร้างความเกลียดชังนักการเมืองจนมีแต่ความระแวงไม่ไว้ใจ ซึ่งยังผลขับไสให้อภิชนสูงเด่นขึ้น โดยเฉพาะอภิชนชั้นบนเหนือปริมณฑลทางการเมือง

ยิ่งมีระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง กลายเป็นว่าสถานะของอภิชนในระบบการเมืองกลับยิ่งเด่นเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ความมีบารมีของอภิชนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นองคมนตรี จนกระทั่งราษฎรอาวุโส และนักวิชาการบางคนกลับสูงเด่นยิ่งขึ้น พันธมิตรระหว่างภาคประชาชนกับอภิชนจึงก่อตัวขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา เพื่อจำกัดทำลายความชอบธรรมของประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง

ฤาจะเป็นอภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย

ผู้สนับสนุนรัฐประหารมักหาว่าผู้คัดค้านไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นจริงของสังคมไทย ความจริงคือผู้กล่าวเช่นนั้นส่วนมากไม่เคยเข้าใจประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยเลย คิดง่าย ๆ เข้าใจหยาบ ๆ แค่ว่าประชาธิปไตยคือการต่อต้านอำนาจฉ้อฉล ความเข้าใจนี้ไม่ผิดแต่ไม่พอและฉาบฉวย มีสักกี่คนที่พยายามเข้าใจวิวัฒนาการความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มพลังทางสังคมตลอดร้อยปีที่ผ่านมา

หากคนเหล่านี้คิดและเข้าใจประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทยมากขึ้น คิดให้พ้น Pragmatism มีสติพ้นจากความเกลียดโกรธจนหน้ามืด จะพบว่าการรัฐประหารครั้งนี้อาจไม่ใช่จุดเริ่มของประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม แต่อาจเป็นจุดเริ่มของอภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย

ผู้เขียนเคยอธิบายประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยตามความความคิดของตนเองไว้ในที่อื่น (ดู ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา และ บทบันทึกการสัมมนา "โครงการเปลี่ยนประเทศไทย" ในฟ้าเดียวกัน ฉบับ กรกฎาคม - กันยายน 2549) น่าเสียดายที่คำเตือนของผู้เขียนเมื่อ 14 ตุลา ปีก่อน และข้อเรียกร้องให้ไปให้พ้นอภิชนาธิปไตยแบบแอบแฝงตลอด 30 กว่าปีที่ผ่านมาถูกเมินเฉย ซ้ำปัญญาชนนักประชาธิปไตยไทยกลับเป็นผู้สนับสนุนอภิชนาธิปไตยอย่างเอิกเกริกเปิดเผย

แต่ตามเค้าโครงประวัติศาสตร์ดังกล่าว รัฐประหาร 19 กันยา จึงไม่ใช่การถอยหลังหนึ่งก้าวเพื่อเริ่มประชาธิปไตยแบบแท้จริง แต่กลับเป็นการถลำลึกยิ่งขึ้นไปในระบอบประชาธิปไตยแบบอภิชน ซึ่งเติบโตมาตลอดนับจาก 14 ตุลา 2516 น่าเสียดายที่นักวิชาการจำนวนมากไม่เห็นประวัติศาสตร์ หรือเห็นแค่ฉาบฉวยตื้น ๆ จนทำตัวรับใช้ระบอบอภิชนาธิปไตยกันไปหมด

ตามเค้าโครงประวัติศาสตร์ดังกล่าว มีความเป็นไปได้สูงที่อำมาตยาธิปไตยแบบเดิม ๆ จะไม่หวนกลับมา ดังที่ธีรยุทธคาดการณ์ไว้ เพราะประชาธิปไตยแบบอภิชนศักราชนี้ สามารถอยู่ร่วมกับประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนพอสมควร เพราะประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งและเสรีภาพดังกล่าวไม่เป็นภัยต่ออภิชนชั้นบน การต่อต้านทักษิณที่ผ่านมาก็เป็นความร่วมมือกันระหว่างอภิชนทั้งหลายรวมทั้ง

รัฐประหารคราวนี้และระบอบประชาธิปไตยหลังจากนี้จึงอาจไม่ใช่การถอยหลัง แต่เป็นการเดินหน้าสู่อภิชนาธิปไตยที่โจ่งแจ้งล่อนจ้อนอย่างที่คนรุ่นปัจจุบันไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน อภิชนทั้งหลายเดินแถวอย่างออกหน้าออกตาเปิดเผย รวมทั้งอภิชนหน้าใหม่เช่นอาจารย์มหาวิทยาลัยทั้งหลายที่ออกมาทำตัวเป็นผู้มีคุณธรรมความดีและเป็นหัวหอกให้แก่อุดมการณ์หลักของเหล่าอภิชนเสียยิ่งกว่าอภิชนทำเองเสียอีกแบไพ่ในมือแทบจะหมดหน้าตักแล้ว นึกไม่ออกว่าจะเหลืออะไรในมือให้เล่นกันอีกในอนาคต
ภาวะเช่นนี้คือจุดเริ่มของประชาธิปไตยแท้จริง (ตามวัฒนธรรมไทยในทัศนะของอภิชน) หรือเป็นจุดเริ่มของอภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย ?

ที่มา : เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ
ข่าวประกอบ

11 ต.ค.- ‘รัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย’ ของธีรยุทธ บุญมี

 
--------------------------------------------------------------------------------
 โดย : ประชาไท
 วันที่ : 14/11/2549   
 แสดงความคิดเห็น : 20
 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 15-11-2006, 03:32 »

"ธงชัย" ไม่รู้กระทั่งความหมายของคำว่า "อภิชนาธิปไตย"

มาจะเล่าให้ฟัง ถ้าปกครองโดยคน ๆ เดียว เช่น "กษัตริย์" แต่มีทศพิธราชธรรม เรียก "ธรรมิกราช" หรือ "ธรรมิกราชา"

แต่ถ้าไม่มีธรรมะบ้าอำนาจเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประชาชน เค้าเรียก "ทรราช"

ส่วนปกครองโดย "คณะบุคคล" มี 2 ความหมาย ถ้าความหมายทางดี มีศีลธรรม ปกครองเพื่อคนส่วนใหญ่ เรียก "อภิชนาธิปไตย"

ถ้าปกครองโดย "คณะบุคคล" แต่ไม่ทำเพื่อประโยชน์ของชนส่วนใหญ่ เค้าเรียก "คณาธิปไตย"

ผมขี้เกียจใส่ภาษาอังกฤษตามท้าย...เบื่อครับ

ลอง ๆ ย้อนกลับไปฟังปราชญ์รุ่นเก่า ๆ ของโลก เค้าก็บอกแล้วว่า ประชาธิปไตยก็คือระบบที่เลวนะครับ

อย่าไปบ้าประชาธิปไตยจนเกินเหตุเลยครับ รักษา "วิชา" เอาไว้ ยืนหลักวิชาให้มาก ๆ ครับ
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 15-11-2006, 03:38 »

ไม่ลองวิเคราะห์ ประชาธิปไตยแบบอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา ดูบ้างเล่า

ทำไมมันไม่เหมือนกัน ทั้ง ๆที่ ฝรั้ง...ฝรั่ง..


ในเมื่อธงชัยก็ยอมรับเองว่า เนื่องจาก อภิชน สร้างสมบารมี จนกลายเป็น"สถาบัน" และ คนไทยเชื่อเช่นนั้น

การนำเสนอของธีรยุทธ์ ก็คือ ให้ปรับประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ตามนั้นเสียสิ

โดยเฉพาะที่เค้าเรียกคล้าย ๆ "สภาจริยธรรม" อะไรเทือกนั้น...หรือ วุฒิแต่งตั้ง อะไรทำนองนี้

ผมคิดว่าบางที อาจจะถูกกับนิสัยคนไทยจริง ๆ ด้วยก็ได้

แต่อย่าทำประเภทให้ นายกสรรหาแล้วไปผ่าน องคมนตรีนะครับ แบบนั้นไม่เข้าท่าหรอก

อย่าทำให้ องคมนตรี หรือ สถาบันห่างไปจากประชาชนสิ กล้า ๆ กันหน่อย

ผมไม่เห็นมีอะไรน่าอับอาย หากให้องคมนตรีและกลุ่มสถาบันต่าง ๆ ที่เป็นที่น่านับถือ ได้รับการยอมรับจากสังคมเสนอรายชื่อ "วุฒิสภา"

กลัวอะไรกันครับ...แบบอย่างที่ "ธีรยุทธ์" เสนอ ผมก็ว่ามัน "เข้าท่า" ที่ออกมายอมรับกันซะ

การยอมรับนับถือคนดี คนเก่ง แต่ยกไว้เหนือการเมือง ผมกลับคิดว่ามันผิดฝาผิดตัว

เพราะต่างก็เชื่อว่า การเลือกตั้ง ไม่สามารถเลือก "คนดี" ได้ ไม่ว่าจะโดยอะไรก็แล้วแต่

ทำไมมาทำท่า "รังเกียจคนดี ไม่ให้มีอำนาจ" ( ไม่ได้หมายถึงอำนาจบริหารนะครับ หมายถึงอำนาจกลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบ ถ่วงดุล อะไรเทือกนั้น )

ลองตอบประเด็นนี้ให้ทีครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-11-2006, 03:51 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15-11-2006, 04:32 »

ข้อดีของประชาธิปไตยก็มี ที่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยที่ดีก็คือ ข้อเสีย

การไปสู่ประชาธิปไตยที่ดีได้ สำคัญที่วิธีการ ว่าดีจริงหรือเปล่า?

แล้ววิธีการที่ดีจะต้องได้ผลที่ดีควบคู่กันด้วย แยกจากกันไม่ได้ เพราะนั่นถือเป็นวิธีการที่ไม่ดีและผิดพลาด

ดังนั้น นักวิชาการ ต้องเสนอทางที่ตนเชื่อว่าดี ไม่ใช่คิดแบบวิพากษ์วิจารณ์แล้วเสร็จสิ้น..


สรุป โลกนี้ อยู่ได้ด้วยคนดี ที่เราจะเรียกว่าอะไรก็ได้ เช่นอภิชน แต่ไม่ได้หมายความถึงคนรวยหรือคนที่มีและใช้อำนาจมืด
      * คนและรบบที่ดีต้องเดินไปควบคู่กัน จะมองแยกส่วนจากกันในยามตัดสินใจปฏิบัติไม่ได้  ประชาธิปไตยที่ไม่ดีจึงไม่มีความหมายเพราะทำลายสังคมได้เร็วขึ้นเท่านั้น
      ประชาธิปไตยที่ดี ผมได้ลองยกจุดเด่นมาไว้โดยสังเขปในกระทู้นี้แล้ว
      http://forum.serithai.net/index.php?topic=9522.0


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-11-2006, 05:13 โดย Q » บันทึกการเข้า

นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #4 เมื่อ: 15-11-2006, 05:11 »

ในการปกครอง ก็ต้องมีลำดับชั้น ทุกระบอบนะคะ
แม้แต่แบบธุรกิจเอกชนเค้าก็มี structure ที่ไม่เป็นแนวนอนทั้งหมด
บางโครงสร้างเขียนเป็นแบบ network แต่ยังไงก็ต้องมีผู้นำ
คำว่า อภิชนาในความหมายของผู้นำ ก็ มีได้ไม่แปลก เพราะมีกลุ่มคน มวลชน ยังไงก็ต้องมีผู้นำ คนที่ถูกใจรักใคร่ก็มักจะยกให้เป็นหัวหน้า สัตว์ก็ยังมีเลยค่ะ หัวหน้าฝูง ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เป็นเรื่องปกติ

อ่านแล้วเห็นด้วยอย่างยิ่ง ยิ่งกับประโยคพวกนี้...

ยึดติดกับมาตรฐานฝรั่ง - ไม่เข้าใจสังคมไทย
ยึดประชาธิปไตยแต่รูปแบบ - ไม่เข้าใจสาระที่แท้จริงของประชาธิปไตย
กอดคัมภีร์ - ไม่รู้จักความเป็นจริง
บ้าทฤษฎี - ไม่เข้าใจปฏิบัติ


ผู้นำประเทศ เป็นนักธุรกิจยิ่งไปกันใหญ่ เพราะไม่รู้ศาสตร์แท้ๆของรัฐศาสตร์ มุมมองก็เลยเอาแต่ใจตัวเองที่คิดว่าหาเงินเก่งเป็นเทพเจ้าไปแล้วเป็นใหญ่
เมื่อครั้งรัฐบาลที่แล้ว ทำให้เห็นชัดเจนว่า
ภาวะผู้นำของนักธุรกิจ
กับภาวะผู้นำของนักปกครอง ต่างกันมาก
ทำให้นึกถึง ขงเบ้งกับเล่าปี่
การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของการบริหารธุรกิจ นั้นมุ่งกำไรสูงสุดเป็นหลัก มุ่งความมั่งคั่ง และก้าวกระโดดให้ทันกระแสธุรกิจ
แต่ภาวะผู้นำแบบนักปกครอง ...อิอิ .... มีนักรัฐศาสตร์ในเว็บนี้เยอะ  ช่วยโพสกันต่อหน่อยน๊าค๊า ว่า
ภาวะผู้นำของนักปกครองที่แตกต่างภาวะผู้นำของนักธุรกิจมีอะไรบ้างเอ่ย...

อ่ะ อ่ะ 1. ภาวะผู้นำของนักปกครองต้อง เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม ในขณะที่ ฝ่ายธุรกิจไม่มีข้อนี้รึเปล่าน๊อ????
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 15-11-2006, 08:45 »

ถ้าพยายามจะเข้าใจ "แก่นแท้" ของประชาธิปไตย ก็น่าจะรู้ การเลือกตั้งไม่อาจสรรหาคนดีที่สุดได้

แต่เมื่อเป็นประชามติ เป็นเสียงสวรรค์ก็ปล่อยให้เค้ามีอำนาจนั้น เพราะได้รับอำนาจมาจากประชาชนโดยตรง

เมื่อการเลือกตั้งแบบไทย ๆ และโดยระบบรัฐสภา มันคือ "เผด็จการรัฐสภา" ( เสียงรัฐบาลย่อมชนะเสมอ )

ก็ต้องหันมามองแล้ว เราจะใช้ "อำนาจอะไร" มาถ่วงดุล ตรวจสอบ กำกับ

ในเมื่อสภาผู้แทน มันเป็นพวกเดียวกับฝ่ายบริหารไปแล้วก็ย่อมทำทุกอย่างเพื่อพรรค เพื่อพวก เพื่อรัฐบาล เพื่อผลประโยชน์

ที่สำคัญ ต้องเป็น"อำนาจ" ที่สังคมเชื่อว่าเป็น "คนดี" ซึ่งการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยไม่สามารถให้ได้

ช่วย ๆ กันคิดซีครับ...แบบที่ธีรยุทธ์เสนอ ผมก็ค่อนข้างเห็็นด้วยครับ

เพราะมันต้องมีอีกอำนาจหนึ่งที่น่าเชื่อ หรือสังคมเชื่อว่ามี "ความดี" เป็นหลักประกัน
บันทึกการเข้า

athit
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #6 เมื่อ: 15-11-2006, 09:10 »

หึหึหึ ลุงแคน ไปสอนความหมายของ อภิชนาธิปไตย(aristocracy ) อาจารย์ธงชัยเลยหรือครับ นั่นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเลยนะ5555

อาจารย์ธงชัยไม่ได้ปฏิเสธ ว่า อภิชนาธิปไตย มีไม่ได้...มีได้....ถ้าจะเอาระบอบนี้ก็ประกาศให้ประชาชนรู้ชัดๆ แล้วให้ประชาชนตรวจสอบได้ด้วย ไม่ใช่ทำตัวอยู่เหนือหัวประชาชนแล้วห้ามตรวจสอบ.....ห้ามวิพากวิจารณ์   
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #7 เมื่อ: 15-11-2006, 09:17 »

ทั่นศาสตราจารย์ออกอาการแค้นฝังหุ่น

 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 15-11-2006, 09:42 »

ธงชัย รุ่นหลังผมหลายปี ศาสตราจารย์ก็เผลอได้ครับ

 คณาธิปไตย : oligarchy

นิธิฯยังเข้าป่าเข้าดง ทั้ง ๆ ที่บอกไม่รู้เรื่องทฤษฎีรัฐศาสตร์


ธงชัยนั่น หลังธีรยุทธ ไม่ใช่เหรอ

แล้วธีรยุทธ์ ยังหลังผมอีก เฮ้อ...แก่จริง ๆ เรา


แล้วไม่ลองมองปัญหา ที่ผมทิ้งไว้บ้างเหรอครับ

ทำไม ฝรั้ง ฝรั่ง แบบ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศษ อเมริกา มันคนละระบอบเลยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-11-2006, 09:50 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 15-11-2006, 09:53 »

คนที่คุยเรื่อง อภิชนาธิปไตย กับ คณาธิปไตย ให้ผมฟัง เค้าชื่อ ดร.สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ครับ อยู่แถว ๆ นิด้า

ที่จริงผมไม่อยากอ้างชื่ออาจารย์รุ่นโน้นนะครับ การปกครองเปรียบเทียบ หลักรัฐศาสตร์ อะไรพวกนี้ ก็เรียนมานิด ๆ หน่อย ๆ ครับ
บันทึกการเข้า

นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 15-11-2006, 10:12 »

เพราะสังคมไทยปัจจุบันมีความสับสนมากในเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่การนับถือเงินและหลงใหลวัตถุเป็นพระเจ้าเท่านั้น

พื้นฐานแนวคิดแกก็ดีนะ

แต่แกเคยทำอะไรเพื่อเป็นการ ต่อต้าน ตอบโต้ มนุษย์เห็นแก่เงินอย่างทักษิณที่กำลังยึดจะประเทศเป็นสมบัติส่วนตัวบ้าง

เห็นแต่พยายามตอบโต้ ฝ่ายเห็นต่าง ฝ่ายไล่ทักษิณ โดยยึดเอาหลักทฤษฏีทางประชาธิปไตย(สุดโต่ง) มาอ้าง เท่านั้น 

**
การเป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตกน่ะอันตรายมาก จะให้โทษมากกว่าให้คุณ เพราะประชาธิปไตยแบบตะวันตกเน้นที่อัตตา เน้นที่ปัจเจกบุคคล แล้วก็จะยกย่องตัวเองกัน เน้นที่การแข่งขัน ทันทีที่แข่งขันกันมุสาวาทย่อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ยกย่องตัวเอง ของเลวร้ายมาก ยิ่งตอนหลังไปติดต่อกับบรรษัทข้ามชาติต่างประเทศ ก็มีเงินเข้ามาหนุน จะมีผลเสียมากเลยเชียว ผมไม่ทราบว่าเขาคำนึงกันถึงเรื่องนี้ขนาดไหนเพียงไร

คำบรรยาย ที่ภูฐาน ของ ส.ศิวรักษ์


http://www.semsikkha.org/paca/index.php?option=com_content&task=view&id=201&Itemid=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-11-2006, 11:28 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 15-11-2006, 10:54 »

คนที่ "ตกผลึก" และวิพากษ์รัฐบาลและการเมืองมาตลอด ผมกลับชอบแนวคิดของธีรยุทธ์

เข้าใจว่า "เย็น" ลง จนเกือบ ๆ จะเป็น "ผู้อาวุโส" ได้แล้ว อิ อิ

ฝากให้อ่านเล่น หลาย ๆ ท่านคงมีแล้ว
..........................................................

“ธีรยุทธ” ตั้งฉายา “รัฐบาลสุรยุทธ์” เป็นรัฐบาลโอที แนะเร่งสร้างความปรองดองในชาติ 7 ประการ สร้างความสมดุลเน้นการสื่อสารกับชาวบ้านมากขึ้น ขณะเดียวกัน เชื่อไทยรักไทยจะสลายเป็นพรรคย่อยแกนนำพรรคจะถูกดำเนินคดีทุจริตภายใน 3-6 เดือนนี้
       
       วันนี้ (11 ต.ค.) นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอรายงานเสนอแนะรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยเรียกร้องให้สร้างความปรองดองในชาติ 7 ประการ และสร้างความสมดุลในชาติ อย่าพึ่งแต่กองทัพอย่างเดียว และต้องเน้นการสื่อสารกับประชาชนมากขึ้น ขณะเดียวกัน เชื่อว่าพรรคไทยรักไทยจะสลายกลายเป็นพรรคย่อย เนื่องจากมีแกนนำหลายคนต้องคดีทุจริตภายใน 3-6 เดือนนี้
       
       สำหรับรายละเอียดของรายงานของ นายธีรยุทธ มีดังนี้

       (1) รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ

       1. ข้อเสนอต่อรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์

       รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งน่าจะขนานนามน่ารักๆ ว่า รัฐบาล OT ซึ่งแปลได้ทั้งเป็นรัฐบาล Old Technocrat และรัฐบาลล่วงเวลา (Over Time) คือเน้นข้าราชการ ผู้ชำนาญการอาวุโสที่เสียสละมาแก้วิกฤตชาติ ซึ่งก็น่าจะปฏิบัติภารกิจหนึ่งปีของตนได้ลุล่วง นำพาประเทศพ้นวิกฤตไปได้เพราะ
       
       ด้านเสถียรภาพมีข้อกังวลไม่มาก เพราะ พล.อ.สุรยุทธ์ สุขุม มั่นคง ไทยรักไทยจะสลายตัวเป็นเพียงพรรคย่อย บรรดาผู้นำจำนวนหนึ่งจะมีความผิด และถูกลงโทษตามกฎหมายใน 3-6 เดือนข้างหน้า ส่วนอุดมการณ์ประชานิยมยังไม่ได้ฝังรากลึกในหมู่รากหญ้า กลุ่มต่างๆ ของพรรคจะลอยตัว รอเวลาวิ่งเข้าหาศูนย์อำนาจการเมืองใหม่
       
       ด้านเศรษฐกิจ แม้ภาพรวมของประเทศจะไม่ดีนัก แต่ประสบการณ์ ความสุขุม และความสามารถของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ จะประคองเศรษฐกิจไปได้ด้วยดี
       
       ด้านทิศทางของประเทศ หลังยุคประชานิยมว่าจะไปทางใด เป็นภาระหลักซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องขบคิด และที่สำคัญยิ่งคือ ต้องช่วยกันถ่ายทอดเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจอย่างทั่วถึง
       
       ความประทับใจของประชาชน สำคัญมาก เพราะรัฐบาลทักษิณใช้การตลาดให้ชาวบ้านได้บริโภคข่าวของความหวัง การทำงานที่รวดเร็วแม้จะไม่เป็นมรรคผล จนประชาชนเสพติด นายกฯ สุรยุทธ์ คลุกชาวบ้านได้ แต่ควรสื่อสารกับชาวบ้านมากขึ้นโดยมีคนอื่นๆ อาทิ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ จรัญ ภักดีธนากุล วิจิตร ศรีสอ้าน สุวิทย์ ยอดมณี ช่วยสนับสนุน
       
       2. รัฐบาลกับ 7 ภารกิจการปรองดองชาติในระดับโครงสร้าง

       ภารกิจหลักของรัฐบาล คือ การสร้างความปรองดองในชาติ แต่ความปรองดองนี้ต้องไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องเป็นการแก้เชิงโครงสร้าง เพื่อสร้างฐานรากให้กับการปรองดองแห่งชาติ (national reconciliation) อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ต้องมองว่าในโครงสร้างของวิกฤตมีคู่ขัดแย้ง 2 ด้านอยู่ ต้องคำนึงทั้ง 2 ด้าน และสร้างสมดุลระหว่างกันให้ได้
       
       1. ผลของการล้มระบอบคอร์รัปชัน ทรท. สร้างความขัดแย้งระหว่างคณะผู้ทำการ เป็นพลังซึ่งเน้นด้านคุณธรรมของบ้านเมือง (moralist forces) กับพลังประชาธิปไตยส่วนหนึ่ง ต้องไม่แก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ แต่แก้ด้วยการยกระดับความเข้าใจกัน และขยายสิทธิเสรีภาพของพลังประชาธิปไตยและชาวบ้านให้กว้างขึ้น
       
       2. วิกฤตที่ผ่านมาทำให้คนเมืองขัดแย้งกับคนชนบท คนชั้นกลาง/สูงขัดแย้งกับรากหญ้า ทางแก้ไม่ใช่กีดกันชนบทว่าเป็นพวก ทรท. แต่ต้องขยายความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และการยอมรับทางการเมืองสังคม เพื่อความปรองดองของเมืองและชนบท อีกปัญหาหนึ่งคือ รัฐบาลแต่งตั้งที่มาจากชนชั้นนำและคนดี มักปิดตัวเอง ไม่รับฟังคนอื่น การให้อำนาจประชาชนเสนอวาระหรือปัญหาของชาติเป็นหลักสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย
       
       3. สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความสุขของชาวบ้าน นโยบายเศรษฐกิจไทยละเลยภาคชนบทมาตลอด ประชานิยมจึงได้ผลอย่างมาก รัฐบาลใหม่ยังคงต้องใช้จ่ายเงินเพื่อภาคชนบทแต่ให้ถูกทิศทางขึ้น เช่น ขยายอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของภูมิภาคที่ยากจนให้มากกว่าภูมิภาคอื่น เน้นเศรษฐกิจเมือง หมู่บ้าน ขนานไปกับ SME ประชานิยมสร้างหนี้และการบริโภคฟุ่มเฟือย ทำให้ชนบทอ่อนแอ นโยบายใหม่ควรสร้างให้ภาคชนบทและเศรษฐกิจรากหญ้าเข้มแข็ง มุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิจัยด้านสุขภาพ วัฒนธรรม สินค้าพื้นถิ่น เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายใน/ภายนอก เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสุขภาพ และบริการ ซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย มีงบสนับสนุนการศึกษาวิจัยของเยาวชน นวัตกรรมท้องถิ่นในด้านสุขภาพ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม งบสร้างความน่าอยู่ การปลูกดอกไม้ต้นไม้ให้กับหมู่บ้าน เมือง การเสริมคุณภาพให้กับสวัสดิการด้านสุขภาพ ให้ “คนไทยทุกคนรักษาฟรี” และสวัสดิการการศึกษา ฯลฯ
       
       4. สร้างสมดุลปรัชญาเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือปรัชญา GDP กับปรัชญา GNH สมดุลระหว่างอำนาจทุนข้ามชาติกับอำนาจชุมชนท้องถิ่นอย่างให้เกิดผลที่เป็นจริง
       
       5. สร้างสมดุลระหว่างอำนาจการเมืองกับอำนาจสังคม ระบบทักษิณครอบงำสื่อ และปิดกั้นภาคสังคมมากเกินไป รัฐบาลใหม่ควรทำให้เกิดสมดุลดีขึ้น โดยอาศัยกฎหมาย นโยบาย และงบประมาณ เช่น ให้สำนักงานสลากฯ ซึ่งเอาเงินจากประชาชนไปให้นักการเมืองใช้ พัฒนาตัวเองเป็นสถาบันการเงินของสังคมที่ปลอดการแทรกแซงการเมือง เพื่อคืนกลับให้ประชาชนและสังคม ยกเลิกงบประมาณสนับสนุนพรรคการเมืองและนำมาสนับสนุนองค์กรทางสังคม องค์กรสิทธิเสรีภาพ เอ็นจีโอ องค์กรวิชาการ และสื่อ เช่น มีงบ 100-200 ล้านต่อปี สนับสนุนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค องค์กรประชาชนต้านคอร์รัปชัน งบสื่อทางเลือก (alternative media) เช่น แทนที่จะปิดกั้นเสรีภาพมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ควรมีงบสนับสนุนแทน ควรให้สื่อโทรทัศน์ของรัฐจัดเวลาเสนออย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงให้สถาบันวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ สภาหนังสือพิมพ์ สภาทนายความ กลุ่มรากหญ้า องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ ได้ร่วมกันใช้ โดยรัฐและเอกชนร่วมกันสนับสนุนด้านงบประมาณ
       
       6. สร้างความปรองดองของความต่างวัฒนธรรม ความรุนแรงภาคใต้มีสาเหตุสำคัญมาจากการละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการเคารพความต่างในวัฒนธรรม ศาสนา อัตลักษณ์ ความเป็นชาติพันธุ์มลายู ความต่างเหล่านี้ล้วนมีปรากฏอยู่ในระดับต่างๆ ระหว่างภูมิภาคท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทย การปรองดองที่แท้จริงคือ การตระหนักและเคารพความต่างเหล่านี้ ส่งเสริมการรักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของภูมิภาคต่างๆ โลกปัจจุบันมองความต่าง ความหลากหลายเป็นทุนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศมากกว่าจะเป็นหนี้สินหรือภาวะติดลบของประเทศ
       
       7. มีโครงสร้างคอร์รัปชันของรัฐบาล ทรท. ซึ่งประสานระหว่างนักการเมือง ข้าราชการ และ เอกชนซึ่งอยู่ตามบอร์ดของรัฐวิสาหกิจ กิจการร่วมทุนรัฐเอกชน โครงสร้างเชิงนโยบายซึ่งโกงกินและใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากมาย ซึ่งรัฐบาลต้องสลายโครงสร้างนี้อย่างจริงจัง
       
       (2) ภาพรวมการเมืองไทย

       ปัญหาการเมืองไทยเกิดจากการไม่มีสถาบันและความเป็นสถาบันมากพอจะกำกับอำนาจทุนการเมือง

       1. ทุกสังคมในโลกมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไว ได้แก่ ชีวิตเศรษฐกิจประจำวันของผู้คน และส่วนที่มั่นคงอยู่มานาน ทำหน้าที่กำกับดูแลพฤติกรรมค่านิยม คุณธรรม ความเจริญงอกงามทางจิตใจ ศิลปวัฒนธรรมของผู้คน เราเรียกส่วนหลังนี้ว่าสถาบัน ทั้งสองส่วนต้องช่วยกำกับดูแลซึ่งกันและกัน ผลักดันประเทศไปสู่ทิศทางที่ดี ไม่ใช่ส่วนหนึ่งมุ่งทำลายอีกส่วนหนึ่ง
       
       2. ในโลกยกเว้นประเทศตะวันตก มีประมาณ 5 ประเทศคือ รัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย ที่ประวัติศาสตร์การสร้างสถาบัน เช่น สถาบันราชการ สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยาวนานกว่าประเทศอื่น เนื่องจากสถาบันเหล่านี้เกิดมานานจึงมีแนวโน้มอนุรักษนิยมหรือบางส่วนเสื่อมโทรม เช่น สถาบันศาสนา ข้าราชการ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อุดมการณ์ประชาธิปไตยปักหลักมั่นคงในประเทศไทย พรรคการเมืองซึ่งคืออำนาจของทุนและกลุ่มอุปถัมภ์ท้องถิ่นขยายตัวอย่างรวดเร็วและผันผวน (chaotic) เกิดคอร์รัปชัน ทำลายค่านิยมซื่อสัตย์สุจริตจนสังคมต้องหาทางออกโดยสร้างระบบประชาธิปไตยครึ่งใบ คือกองทัพนำโดย พล.อ.เปรม ทำหน้าที่กำกับพฤติกรรมของพรรคการเมือง ระบบนี้หลีกทางให้ประชาธิปไตยเต็มใบในปี 2531 แต่ทุนการเมืองก็สร้างปัญหาแบบเดิมซ้ำอีก จนเกิดวิกฤติอีกหลายหนตามมา
       
       3. ยุครัฐบาลทักษิณ ทุนการเมืองขยายเป็นทุนการเมืองระดับชาติและระดับโลกาภิวัตน์ ชาวบ้านเกือบทั้งประเทศถูกครอบงำโดยประชานิยม สถาบันข้าราชการ ตำรวจ ทหาร องค์กรอิสระ ศาลถูกแทรกแซงและครอบงำ ค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตถูกทำลายเกือบหมด จนพลังเชิงสถาบันที่เหลือต้องลุกมาปักหลักสู้อยู่คือ พลังของสถาบันซึ่งยึดถือความซื่อสัตย์ ความชอบธรรม (moralist) ได้แก่ สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ นักวิชาการ พลังสถาบันยุติธรรม คือ ศาลต่างๆ พลังสถาบันชาติ คือ ทหาร กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ พลังซึ่งจงรักภักดีสถาบันกษัตริย์ คือ ชนชั้นสูงและองคมนตรี แต่อำนาจของทุนการเมืองมีสูงมาก ในที่สุดกองทัพต้องใช้วิธีรัฐประหารมาคลี่คลายความขัดแย้ง
       
       (3) ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย เน้นยุทธศาสตร์การสร้างและขยายสถาบันและวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน
       
       ปัจจุบันเราไม่อาจหวนไปใช้ประชาธิปไตยครึ่งใบซึ่งพึ่งพิงอำนาจแบบศูนย์เดียว คือ กองทัพ ต้องให้มีประชาธิปไตยเต็มใบ แต่มีหลายสถาบันมาตรวจสอบกำกับ (regulate) ทิศทางทุนการเมือง เพราะขอบเขตปัญหากว้างกว่าเดิมมาก โลกก็เคลื่อนตัวเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเดิม
       
       1. ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย

       การแก้ไขปัญหาหลังวิกฤตการเมืองไทยทำกันผิดพลาดทุกหน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ศึกษาและหยิบยกทฤษฎีตะวันตกมาใช้อย่างลวกๆ หลังพฤษภาคม 2535 ก็มีการปฏิรูปการเมืองที่เป็นลัทธิคลั่งทฤษฎีตะวันตกมากเกินไป ในครั้งนี้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องกล้าคิดวิธีการที่ส่งเสริมอำนาจประชาชนที่เหมาะกับสังคม วัฒนธรรมไทยด้วย จึงควรเรียกว่าเป็นการจัดทำเป็นรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย
       
       2. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องเน้นการสร้างประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร

       จาก 14 ตุลาคม 2516 มาถึงปัจจุบัน ประชาธิปไตยโดยรูปแบบคือประชาธิปไตยที่เป็นเฉพาะการเลือกตั้ง (Procedural Democracy) ได้มาถึงทางตัน ต้องมีการพัฒนาไปอีกขั้น คือประชาธิปไตยที่มีเนื้อหาหรือประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร (Substantive Democracy) แก่นสารนี้คือการเพิ่มความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความอยู่ดีมีสุขและสิทธิอำนาจของประชาชน
       
       3. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องสร้างโครงสร้างการเมืองกู้ชาติแบบยั่งยืนสมดุลขึ้นให้ได้

       โครงสร้างการเมืองที่ดีที่จะแก้วิกฤตประเทศได้ยั่งยืนถาวร คือโครงสร้างที่ยอมรับอำนาจของประชาชนผ่านความชอบธรรมของประชาธิปไตยเลือกตั้ง คู่กันไปกับอำนาจตรวจสอบของสถาบันต่างๆ ซึ่งมีความชอบธรรมในเชิงการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ และการพิสูจน์ตัวเองว่าทำงานเพื่อประโยชน์สังคม (functional differentiation ในฐานะเป็น social legitimation) แนวคิดเสรีนิยมตะวันตกสุดขั้วที่ยึดเอาสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลอย่างเดียวเป็นที่มาของอำนาจทั้งปวง ถูกพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะทุนการเมืองเข้าครอบงำแทรกแซงได้หมด
       
       4. โครงสร้างการเมืองกู้ชาติเน้นยุทธศาสตร์ 2 อย่างคือ

       4.1 ประเทศไทยจะหวนไปใช้สถาบันเดียว คือ กองทัพ มากำกับการเมืองตามระบบประชาธิปไตยครึ่งใบไม่ได้ ต้องใช้ยุทธศาสตร์การสมดุลอำนาจ ต้องขยายและสร้างความเป็นสถาบันแบบหลายศูนย์มาตรวจสอบถ่วงดุลทุนการเมือง ขยายสถาบันเดิม และสร้างสถาบันใหม่ๆ เช่น
       
       (1) ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสนับสนุนประชาสังคม สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย ทุกวิกฤติในอดีต ภาคเอกชนไทยแสดงความรับผิดชอบน้อยที่สุด จนกล่าวได้ว่าการเมินเฉยหรือสนับสนุนผู้มีอำนาจการเมืองของพวกเขา เป็นสาเหตุสำคัญให้วิกฤติขยายตัวถึงขั้นมีการรัฐประหาร ภาคเอกชนจึงควรเสียสละเพื่อชดเชยความผิดและมีคุณูปการสร้างความปรองดองแห่งชาติด้วยการเสียภาษีเพิ่มเติม 0.2 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สำหรับ 100 บริษัทใหญ่ที่สุดของประเทศ และ 0.1 เปอร์เซ็นต์สำหรับ 200 บริษัทถัดไป เพื่อสนับสนุนกิจกรรมภาคสังคม
       
       (2) องค์กรตรวจสอบคอร์รัปชันนักการเมือง ต้องดำเนินไปอย่างเข้มข้น กรรมการเลือกตั้งต้องดำเนินไปอย่างจริงจัง และกระบวนการตุลาการภิวัตน์ต้องเกิดต่อไปอย่างเข้มข้น ถ้า 3 ส่วนนี้ดำเนินไปต่อเนื่อง จะมีโอกาสเกิดเป็นวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน และการซื้อเสียง
       
       (3) ต้องหาทางกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้องค์กรตรวจสอบ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. คตส. สตง. รวมทั้งองค์กรสำคัญอื่นๆ เช่น ปปง. กกต. องค์กรอิสระ มีความเป็นกลางและเป็นสถาบันมากขึ้น ซึ่งความเป็นสถาบันมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้คือ มีความเป็นอิสระ มีอุดมคติ เพื่อภารกิจ มีบุคลากรที่ได้รับความนับถือ มีผลงาน มีวัฒนธรรมเฉพาะขององค์กร ซึ่งอาจได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ให้สืบเนื่องตัวเอง (reproduce) ได้ เช่น ให้มีสิทธิเสนอบุคลากรชุดต่อไปจำนวน 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 เป็นต้น
       
       (4) ที่มาขององค์กรตรวจสอบดังกล่าว ควรมาจากสถาบันสังคมที่พิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกครอบงำหรือถูกแทรกแซงน้อยที่สุด ได้แก่ สถาบันศาลฎีกา สถาบันศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ สถาบันสื่อหนังสือพิมพ์ คณาจารย์มหาวิทยาลัยรุ่นเก่าซึ่งมีลักษณะความเป็นสถาบันสูง บุคคลที่มีผลงานการดำรงชีวิตเป็นที่ประจักษ์จนมีลักษณะเป็นสถาบันที่ได้รับความนับถือจากสังคมทั่วไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน เช่น ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ปปช. 15 คน ให้มาจากศาลฎีกา 3 คน จากศาลปกครอง 3 คน ศาลรัฐธรรมนูญ 3 คน สถาบันหนังสือพิมพ์ 3 คน ที่ประชุมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรุ่นเก่า เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามคำแหง สุโขทัยธรรมาธิราช เลือกตัวแทนแห่งละ 2 คน แล้วให้มาเลือกกันเองเหลือ 3 คน เป็นต้น วุฒิสภาก็ยังควรจะมีเพราะเป็นการขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคสังคม ทั้งนี้ อาจกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่งและมาจากสถาบันสังคมอีกครึ่งหนึ่ง
       
       4.2. นอกจากยอมรับบทบาทสถาบันแล้วยังควรขยายพื้นที่ภาคประชาชน คือ

       (1) การขยายบทบาทภาคสังคม – ประชาชน ด้วยการให้รัฐและภาคเอกชนสนับสนุนด้านงบประมาณและพื้นที่ต่อสาธารณะ

       (2) ขยายพื้นที่ยุติธรรม โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญใหม่ ให้ประชาชนเข้าถึงสถาบันยุติธรรมได้ง่ายขึ้น เช่น ศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องคดีศาสตรา โตอ่อน vs กระทรวงไอซีที หรือ ให้กลุ่มบุคคล ตัวแทนกลุ่มวิชาชีพ เช่น สภาหนังสือพิมพ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ สภาทนายความ คณะมนตรีคุณธรรม เป็นตัวแทนรับเรื่องจากประชาชนฟ้องร้องรัฐได้
       
       (3) ขยายพื้นที่ตรวจสอบคอร์รัปชันให้กับภาคสังคม – ประชาชน – สื่อ เช่น ปรับปรุง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่งเวลาปฏิบัติจริงยุ่งยาก ให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ ส่งสัญญาที่มีมูลค่าตั้งแต่ 250 ล้านขึ้นไปมาให้ห้องสมุด ซึ่งจัดขึ้นเพิ่มเติมขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอนแก่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ สงขลาฯ สมาคมนักหนังสือพิมพ์
       
       (4) ขยายพื้นที่คุณธรรม เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะมนตรีคุณธรรม เพื่อให้บุคคลที่ได้รับการเคารพ อาทิ นพ.ประเวศ วะสี เสนาะ อุนากูล ระพี สาคริก เสน่ห์ จามริก ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ สุเมธ ตันติเวชกุล โสภณ สุภาพงษ์ ฯลฯ มีโอกาสได้รับเลือกไปทำหน้าที่ส่งเสริมคุณธรรม มีอำนาจยื่นเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองจากภาคประชาชนไปยังศาลที่เหมาะสม
       
       คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย
       รัฐธรรมนูญและโมเดลการเมืองที่เสนอนี้จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบชนชั้นนำ หรืออมาตยาธิปไตย (elite democracy) ไม่เป็นแบบมาตรฐานสากล แต่มีคำชี้แจงได้ดังนี้

       1. ประชาธิปไตยทั่วโลกโดยไม่มีข้อยกเว้น (รวมทั้งรัฐธรรมนูญไทยปี 40 ที่ผ่านมา) ล้วนอนุโลมให้มีบทบาทชนชั้นนำปนอยู่ด้วย อาทิเช่น กระบวนการตุลาการภิวัตน์ (judicial review) ของทุกประเทศก็จะอยู่ในแนวคิดนี้

       2. ประชาธิปไตยทั่วโลกล้วนมีลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของตน เช่น การเลือกวุฒิสภาการลงคะแนนไพรมารีโวต เป็นลักษณะเฉพาะของอเมริกา สภาสูงของอังกฤษ บทบาทศาสนานิกายต่างๆ ต่อพรรคการเมืองของเยอรมัน ไทยก็ควรคิดบนเงื่อนไขภูมิปัญญาไทย
       
       3. โลกยุคสมัยใหม่มีความซับซ้อน (complexity) มีการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ (functional differentiation) แบ่งความชำนาญเฉพาะ (specialization) กว้างขวางมาก การออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทยให้ยอมรับความชอบธรรมแบบหลากหลายนี้ มากกว่าการยอมรับเฉพาะสิทธิของปัจเจกบุคคล อีกนัยหนึ่ง ระบบการเมืองที่ดีต้องประสานการเมืองภาคตัวแทน การเมืองภาคตรวจสอบ การเมืองภาคสังคม-ประชาชน

       4. รัฐธรรมนูญใหม่จะต้องเน้นประชาธิปไตยเต็มใบ ต้องเคร่งครัดให้อำนาจของสถาบันต่างๆ จำกัดอยู่เฉพาะอำนาจตรวจสอบ ไม่ใช่การบริหารหรือการออกกฎหมาย และควรมีลักษณะชั่วคราว เช่น 6-8 ปี

       5. รัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย ไม่ใช่การหวนกลับไปหาประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของเผด็จการทหาร หรือประชาธิปไตยวิถีเอเชียแบบสิงคโปร์ แต่ต้องเป็นการยกระดับคนไทยให้พ้นจากการสยบยอมทางความคิดตะวันตก และตัดความหลงงมงาย เชิดชูความเป็นไทยจนล้นเกินออกไป
       
       6. วิกฤตที่ผ่านมาควรเป็นวิกฤตสุดท้ายของประเทศ และอาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราแก้ปัญหาด้วย เพราะวิกฤตครั้งนี้กระทบทุกส่วนไม่เว้นแม้สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงควรพิจารณาข้อกังวลของนักวิชาการว่า การเมืองไทยจะหวนกลับไปสู่อมาตยาธิปไตยหรือไม่อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้เพราะปัจจุบันวัฒนธรรมข้าราชการ นักการเมือง เอกชนไทย กลายเป็นวัฒนธรรมคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางที่สุด จึงเรียกร้องให้พลังทุกส่วนต้องออกมาแก้ไขปัญหา ตามกระบวนการเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ
       
       ตามรัฐธรรมนูญองคมนตรี บุคคล องค์กรที่ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ต้องเป็นกลางทางการเมืองอย่างเคร่งครัด แต่ในฐานะสมาชิกสังคมย่อมมีสิทธิที่จะบอกประชาชนว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว กล่าวคือ ไม่ยุ่งการเมืองแต่ยุ่งเรื่องจริยธรรม เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนเคารพคนดี คว่ำบาตรประณามนักการเมืองชั่วไม่ว่าจะอยู่พรรคใด เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เราอาจถกเถียงกันหรือยอมรับว่า ปัจจุบันควรเกิดหรือได้เกิดกระบวนอมาตยาภิวัตน์ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะของพัฒนาการการเมืองไทย ซึ่งต้องมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ ไม่ใช่กระบวนการเพื่ออำนาจหรือเพื่อผลประโยชน์ สังคมก็ต้องคอยกำกับให้กระบวนการนี้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
       
       ทหารเองก็ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่สนับสนุนหรือมีอิทธิพลในพรรคการเมืองใดๆ แต่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะสมาชิกสังคมที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมคุณธรรมเพื่อสังคมดังกล่าวได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า

athit
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #12 เมื่อ: 15-11-2006, 15:39 »

ตามรัฐธรรมนูญองคมนตรี บุคคล องค์กรที่ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ต้องเป็นกลางทางการเมืองอย่างเคร่งครัด แต่ในฐานะสมาชิกสังคมย่อมมีสิทธิที่จะบอกประชาชนว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว กล่าวคือ ไม่ยุ่งการเมืองแต่ยุ่งเรื่องจริยธรรม เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนเคารพคนดี คว่ำบาตรประณามนักการเมืองชั่วไม่ว่าจะอยู่พรรคใด เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เราอาจถกเถียงกันหรือยอมรับว่า ปัจจุบันควรเกิดหรือได้เกิดกระบวนอมาตยาภิวัตน์ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะของพัฒนาการการเมืองไทย ซึ่งต้องมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ ไม่ใช่กระบวนการเพื่ออำนาจหรือเพื่อผลประโยชน์ สังคมก็ต้องคอยกำกับให้กระบวนการนี้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
       
       ทหารเองก็ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่สนับสนุนหรือมีอิทธิพลในพรรคการเมืองใดๆ แต่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะสมาชิกสังคมที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมคุณธรรมเพื่อสังคมดังกล่าวได้เช่นกัน


บุคคลเหล่านี้อภิชนศักดินา ต้องถูกตรวจสอบวิพากวิจารณ์ติติง ได้ด้วยหรือเปล่าละครับ เท่าที่เห็นให้ชื่นชมผ่านสื่อได้แต่ห้ามวิพากวิจารณ์ห้ามตรวจสอบ 
บันทึกการเข้า
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #13 เมื่อ: 15-11-2006, 15:56 »

นั่นแหละความแตกต่างกันระหว่างเราจากอเมริกา

การปกครองบ้านเรา เป็นระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ทรงใช้อำนาจผ่านทาง สภา  ศาล  และ รัฐบาลครับ

ประเทศเรามีกษัตริย์เป็นเจ้าของประเทศ เจ้าของแผ่นดิน มาแต่ไหนแต่ไร

อันนี้ทำให้ความรุ้สึกคำว่า OWNER ย่อมไว้ใจได้ที่สุด
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 15-11-2006, 19:13 »

ระดับองคมนตรีลงมา น่าจะตรวจสอบได้ครับ แต่การตรวจสอบจะอยู่ระนาบใด นั่นเป็นเรื่องที่ควรพิจารณา

เพราะเราต้องไม่ลืมว่า "ที่มา" ขององคมนตรีมาจากใหน อย่างไร สมควรแค่ใหน

ผมไม่เห็นการตรวจสอบในแบบที่เหมาะสม เห็นแต่การตรวจสอบแบบหมิ่นประมาทนะครับ

บางเว็บบอร์ดที่เล่น ๆ กันอยู่ การพยายามใส่อารมณ์และสร้างภาพฉ้อฉลโดยไม่เป็นธรรม แบบนั้นไม่น่าจะเป็นการตรวจสอบ

เพราะบุคคลเหล่านั้นไม่ได้มีอำนาจในทางบริหาร แต่อาจมี "วาสนา" และ "บารมี" อันเกิดจากการสั่งสมมาด้วยตนเอง

เมื่อความคิดหนึ่งบอกว่าไม่เกี่ยวกับอำนาจไม่เกี่ยวกับการเมือง อ้าว แล้วจะไป "ตรวจสอบ" ด้วยหลักอันใด ยึดโยงกับประชาชนอย่างไร

เรื่องแนวทางผมเสนอไว้หลายบทความแต่ไม่ได้รวม ๆ ความคิดให้เป็นเรื่อง ๆ และไม่ได้ลำัดับความ

แต่เรื่อง รัฐธรรมนูญใหม่แบบไทยไทย อยากรวม ๆ ความเห็นหลาย ๆ ท่านไว้อ้างอิงบ้างเหมือนกัน

แต่ดูแล้วมันมี 2 แนวคิดที่ยังยันกันอยู่

อย่างหลายคนบอก พวกเจ้าฯ ไม่ควรมายุ่งการเมือง ไม่ควรมีอำนาจ

อีกฝ่ายหนึ่งก็บอกว่าต้องมี พระราชอำนาจ ต้องมีสภาจริยธรรม หรือแม้แต่เรื่อง สว.แต่งตั้ง นั่นก็มีงานวิจัยออกมาเหมือนกัน

คงต้องทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มาก  ครับ

เวลาเราบอกว่า ประชาธิปไตยที่เราใช้อยู่เป็น "เผด็จการรัฐสภา" ทั้งโดยรูปแบบและเนื้อหามันต้องเป็นอยู่แล้ว

ไม่ยังงั้น นายกจะหาเสียงจากสภามาจากใหน ถ้าไม่ใช่พวกตัวเอง

แต่เมื่อเรามองไปที่อเมริกา เค้ามีเลือกตั้งกลางเทอม อ้าว ฝ่ายค้านได้เสียงมากกว่าฝ่ายประธานาธิบดี

แบบนี้ไงครับ ของเรามันไม่มี บางระบบมันมีจุดอ่อน แต่บางเรื่องมันเป็นจุดแข็ง

และต้องไม่ลืมว่า ในประเทศที่ประชาธิปไตยแข็งแรงแล้ว แม้ สส. พรรคเดียวกัน ก็ไม่ไว้หน้า ประธานาธิบดีหรือ นายกของตนเองซักเท่าไหร่นะครับ

นั่นเพราะเค้ารู้ว่า เจตนารมณ์ของการทำหน้าที่ ของแต่ละฝ่ายมันต้องตรวจสอบคานอำนาจกัน

แต่แบบของเรามันอนุโลมไปในทางเดียวกันหมด ตั้งแต่นายก สส. กรรมาธิการ ไปตามสัดส่วนไปหมด แล้วการตรวจสอบมันจะมีได้ยังไง

ให้อำนาจมาก ก็ต้องหาคนมาตรวจสอบให้มาก ให้อำนาจฝ่ายตรวจสอบมาก ๆ เช่นกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 14:24 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 17-11-2006, 23:34 »

จดหมายถึง ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ว่าเรื่อง วาทกรรมของพวกไร้หลักการ

17 พฤศจิกายน 2549 00:00 น.
เสรีชน

       จากบทความของดร.ธงชัย เรื่อง สัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism) ของปัญญาชนไทยกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และ เริ่มต้นประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทย หรืออภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย เร็วๆ นี้ ผมคิดว่า ดร.ธงชัย เน้นการเกิดรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 เป็นหลัก เพราะต้องการสะท้อนให้จับตามองการดำรงอยู่ของอภิชนสูงสุด ที่ ดร.ธงชัย เข้าใจว่าอยู่เบื้องหลังการทำรัฐประหารครั้งนี้

       ไม่ว่าจะมองในมุมใดในข้อเขียนแต่ละบรรทัดและทุกๆ ถ้อยคำล้วนสะท้อนบาดแผลลึกที่ยังไม่ตกสะเก็ดจาก 6 ตุลาคม 2519

       อาจตีความและสื่อความหมายที่ ดร.ธงชัย ต้องการได้ว่า อภิชนสูงสุด+อำนาจศีลธรรมไม่ควรได้รับการยอมรับและไม่มีความชอบธรรม เพราะเป็น "ผู้มีส่วนในการสังหารหมู่เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม และพฤษภาคม 2535"

       ข้อเขียนจึงขาดเสน่ห์และไม่น่าสนใจเพราะมุ่งโจมตีอภิชนสูงสุดหรือผู้มีบารมีอย่างจงใจมากเกินไป ซึ่งเป็นที่รู้อยู่ว่านี่เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ ดร.ธงชัยไม่ต้องการกลับมาอยู่ประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

       ส่วนเนื้อหาที่พาดพิงอ.ธีรยุทธ หรือที่ใช้คำว่า อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเก่าๆ ก็พลอยทำให้ไม่ชวนน่าติดตาม เพราะรู้พล็อตเรื่องอยู่แล้วว่าต้องการสะท้อนอะไร

       และดูเหมือนดร.ธงชัย จะเน้นอธิบายในสิ่งที่เป็นความเข้าใจผิดๆ ของ อ.ธีรยุทธ และกำลังกระชากหน้ากากความเป็นนักประชาธิปไตยจอมปลอม หรือเปิดเผยโฉมหน้าที่แท้จริงของอภิชนสูงสุดผ่านหน้ากาก ของ อ.ธีรยุทธ ออกมา

       รวมถึงมีบางคำที่ประชดประชันทั้งๆ ที่ ดร.ธงชัยเองบอกว่าไม่ใช่ (แต่เราคิดว่ายังไงมันก็หลีกหนีไม่พ้นอยู่ดี) เพราะมันเป็นการกระแหนะกระแหนอยู่ในที เช่นที่บอกว่า "ควรระบุให้ชัดเจนว่าอภิชนมีสิทธิและอำนาจมากกว่าอย่างไร จะให้อำนาจคนกรุงผู้มีการศึกษาเหนือคนชนบทและคนจนในกรุงไหม"

       ที่หนักที่สุดคือการตั้งคำถามต่ออ.ธีรยุทธ และนักวิชาการอื่นๆ และเพื่อนเก่าๆ เมื่อ 30 ปีก่อน ว่าละทิ้งหลักการไปได้อย่างไร และไม่สามารถก้าวพ้น สัมฤทธิผลนิยม (Pragmatism) หรือมีกระบวนทัศน์ที่ถูกต้องต่อระบอบประชาธิปไตย ต่อ ม.7 หรือมีสติปัญญามากกว่านี้ก็แล้วแต่จะคิดเถอะ

       สรุปผมว่า ดร.ธงชัยเขียนบทความเหล่านี้ด้วยความชิงชังต่ออภิชนสูงสุดเป็นอย่างเกินพอดี จนรู้สึกว่าทุกๆ อณูในลมหายใจเข้าออก และทุกขณะจิต ดร.ธงชัยยังมิอาจให้อภัยต่อการกระทำของอภิชนสูงสุดเลย และไม่เคยลืมความเจ็บปวดในอดีต เมื่อ 30 ปีก่อนได้

       ทำให้ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเมื่อจิตมนุษย์อันเต็มไปด้วยกิเลส โมหะ และหากไม่ปล่อยให้เกิดความว่าง สงบ แล้วตั้งมั่นในสมาธิ มนุษย์จะเกิดความสว่างแห่งปัญญาที่แท้จริงได้อย่างไร

       ในบทความกล่าวทำนองว่าพวกละทิ้งหลักการ หรือพวกโค่นระบอบทักษิณนำเครื่องมือ หรือใช้วาทกรรมที่มีประสิทธิภาพ 3 ประการ มาทิ่มแทงระบอบประชาธิปไตยของทักษิณ หรือตั้งแต่ปี 2475 ก็ได้ คือ 1) ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง 2) การเมืองไร้คุณธรรม และ 3) นักการเมืองคอร์รัปชัน

       และเครื่องมือทั้งสามนี้เอง ที่พวกไร้หลักการประชาธิปไตยนำมาสู่การปฏิเสธการเลือกตั้ง และ สร้างความชอบธรรมให้เกิดอภิชนาธิปไตย โดยอภิชนสูงสุด และวาทกรรมทั้งสามช่วยกันสร้างความเกลียดชังนักการเมืองจนมีแต่ความระแวงไม่ไว้ใจ ซึ่งยังผลขับไสให้อภิชนสูงเด่นขึ้น

       นี่คือสิ่งที่อาจารย์ระดับดอกเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งสหรัฐอเมริกานำเสนอ ซึ่งคล้ายๆ กับว่าพวกไร้หลักการ ซึ่งรวมถึงพวกอภิชนชั้นสูง พวกอนุรักษนิยม พวกจารีตนิยม ศักดินา นำมาใช้เป็นเครื่องมือ หรืออีกนัยหนึ่งกลุ่มทุนเก่า ซึ่งรวมถึงอภิชนสูงสุดที่แปลงรูปเป็นกึ่งทุนด้วย รวมหัวกันใช้อาวุธร้ายทั้ง 3 ประการ ทำลายกลุ่มทุนใหม่ที่มาพร้อมระบอบการเมืองระบอบประชาธิปไตยว่าด้วยการเลือกตั้งลงไปได้ และเป็นชัยชนะที่ดำมืดเพราะประเทศกำลังถอยหลังเข้าคลองกลับไปสู่อภิชนาธิปไตยของผู้มีบารมีอย่างสุดขั้ว

       นอกจากนี้ยังกล่าวทำนองว่านักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งหลาย และนักวิชาการซึ่งเติบโตมาตลอดนับจาก 14 ตุลาคม 2516 ไม่มีปัญญาเพียงพอที่เห็นประวัติศาสตร์ หรือเห็นแค่ฉาบฉวยตื้นๆ จนทำตัวรับใช้ระบอบอภิชนาธิปไตยกันไปหมด

       ผมว่าดร.ธงชัยมีอคติต่ออภิชนสูงสุดเกินไป ทำให้บดบังปัญญาที่มีเพื่อสามารถนำเสนอปัญหาที่แท้จริงด้วยปัญญาที่แท้จริงมากกว่านี้

       ยิ่งอ่านทบทวนแล้วก็เสียดายอดีตที่ผ่านมากว่า30 ปี เพราะ ดร.ธงชัยกลับมองปัญหาแบบตื้นๆ เพียงเท่านี้เอง ที่บอกตื้น เพราะ

       1) ดร.ธงชัยไม่รู้ว่ากลุ่มคนที่โค่นทักษิณ เขาคิดอย่างไร และการที่ใช้อาวุธ หรือวาทกรรม 3 ประการนั้น พวกเขาไม่จำเป็นต้อง เป็น Royalist หรือสนับสนุน Coup เสมอไป มันง่ายและหยาบเกินไปที่วิจารณ์ว่า นักวิชาการ นักประชาธิปไตย และฝ่ายซ้าย หรือ activists เก่าตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 เชิดชู หรือเป็นพวกจารีต หรือถูกป้ายสีและตราหน้าเป็นพวกอนุรักษนิยมไปหมด

       2) ดร.ธงชัย บอกว่าคนเหล่านั้นไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ หรือเพียงฉาบฉวย ในข้อนี้ต้องขอโต้แย้งอย่างที่สุด เพราะพวกไร้หลักการที่ ดร.ธงชัย ป้ายสีไว้นั้นเข้าใจประวัติศาสตร์เป็นอย่างดี ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางการต่อสู้ของประชาชนที่เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะพวกไร้หลักการเหล่านั้นไม่ต้องการให้มีการซ้ำรอยการฆ่าเกิดขึ้น มันไม่ใช่เหตุบังเอิญแน่นอนเพราะการเคลื่อนไหวมากกว่า 1 ปี มีการเดินขบวนและชุมนุมใหญ่มากกว่า 5 ครั้งที่มีมวลชนเข้าร่วมเป็นแสน แต่เป็นเพราะประชาชนและเหล่านักต่อสู้ไร้หลักการพวกนั้นเข้าใจและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ต่างหาก จึงสามารถหลีกเลี่ยงการนองเลือดได้

       การเข่นฆ่ากลางเมืองที่ผ่านมาดร.ธงชัย กล่าวหาว่า อภิชนสูงสุดมีส่วนร่วม แต่การหลีกเลี่ยงการนองเลือดวันที่ 19 กันยายน 2549 ดร.ธงชัยไม่ให้เครดิตเลยหรือ ในทางกลับกัน หากชนชั้นปกครองที่มีรัฐตำรวจ และอันธพาล และลูกจ้างป่าไม้ และสหายเก่า เป็นเครื่องมือ สร้างเหตุการณ์ขึ้นและเกิดเหตุนองเลือด และปราบปราม ดร.ธงชัยจะอธิบายการกระทำของอำนาจรัฐที่มาจากการเลือกตั้งอย่างไร โปรดอย่าอ้างว่าระบอบทักษิณจะไม่มีทางทำรัฐประหารเอง และกวาดล้างประชาชนได้ ซึ่งจะอธิบายต่อไปว่าทักษิณทำได้ เพราะ

       3) ดร.ธงชัยละเลยวาทกรรมที่สำคัญอีกหนึ่งข้อ กล่าวคือวาทกรรมที่พวกปัญญาชน นักวิชาการไร้หลักการเหล่านั้นนำมาใช้ทิ่มแทงอำนาจรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง และสร้างความชอบธรรมในการโค่นล้มระบอบทักษิณ ดร.ธงชัยละเลยวาทกรรมข้อนี้ไปได้อย่างไร ทั้งๆ ที่วาทกรรมนี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์โดยตรงคือ การฆ่าแบบ genocide ที่กรือเซะ และตากใบ และที่เรียกว่า extra judicial killing ต่อพวกที่โดนกล่าวหาว่าอยู่ในขบวนการค้ายาเสพติดกว่า 2,500 ศพ นี่คือ ประวัติศาสตร์ที่ต้องมีการชำระ ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยกว่า 6 ตุลาคม 2519 และ 17 พฤษภาคม 2535

       โดยเฉพาะวาทกรรมข้อสุดท้ายซึ่งในความเข้าใจของดร.ธงชัยอาจจะมีความสำคัญน้อยกว่ากระบวนทัศน์ หรือ Paradigm ที่ถูกต้องที่พวกนักไร้หลักการพึงมีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ ดร.ธงชัย อยากให้พวกเขามีมากกว่าที่มีอยู่หรือหัดคิดให้เป็นเสียบ้างบ้านเมืองจึงจะไม่ไปสู่ระบบอภิชนาธิปไตย

       แต่มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอนที่คนระดับดีกรีดอกเตอร์จะตกประเด็นนี้ไปเพราะอย่างน้อย ดร.ธงชัยเองก็สอนวิชาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และสิทธิมนุษยชนอยู่บ้างในสหรัฐอเมริกา แต่ ดร.ธงชัยไม่รับทราบเลยหรือไรว่า การกระทำ genocide หรือ extra judicial killing โดยรัฐตำรวจของระบอบทักษิณ เป็นสิ่งที่มนุษยชาติไม่อาจยอมรับได้เช่นเดียวกับ 6 ตุลาคม 2519 และ 17 พฤษภาคม 2535 ที่ ดร.ธงชัยกล่าวหาว่าคนผิดยังลอยนวล

       การวิเคราะห์กระบวนทัศน์ของพวกไร้หลักการตามที่ดร.ธงชัย กล่าวอ้าง และโดยยกประเด็นวาทกรรมหรือเครื่องมือที่เจ็บแสบเพียงสามประการ แต่กลับละเลยตกหล่นวาทกรรมสำคัญเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลที่มีรัฐตำรวจเป็นเครื่องมือ รวมทั้งป้ายสีคนอื่น เช่น อ.ธีรยุทธ นี่ยังไม่รวมกรณี ทนายสมชาย วาทกรรมว่าด้วยทุนนิยมสามานย์ ประชานิยมเสพติด การแทรกแซงองค์กรอิสระ ทำให้กระบวนการตรวจสอบพิกลพิการ ย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญอย่างแน่นอน

       ดังนั้นไม่ว่าจะอ่านบทความที่นำเสนอในสถานการณ์ที่เกิดคลื่นใต้น้ำนี้อย่างไร มันก็ไม่มีน้ำหนักและจูงใจเพียงพอที่จะทำให้คล้อยตามสิ่งที่ ดร.ธงชัย นำเสนอมาได้ แต่กลับคิดว่า ดร.ธงชัย กำลังเคลื่อนไหวอะไรหนอ มันช่างสอดคล้อง และเป็นท่วงทำนองเดียวกับพวกใครบางคน

       และสุดท้ายคงต้องสรุปว่าเพราะวาทกรรมทั้งสี่ประการ ที่ทิ่มแทงระบอบประชาธิปไตยของทักษิณอย่างหนักหน่วงรุนแรง ซึ่งมีอย่างน้อยวาทกรรมสามประการข้างต้นในความเข้าใจของ ดร.ธงชัย นั่นเอง ที่ทำให้ระบอบอภิชนสูงสุดแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมอย่างยิ่ง จนในที่สุดระบอบทักษิณต้องพังทลายไป

       ส่วนการที่ประเทศไทยจะไปสู่อภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้ายหรือไม่เป็นเรื่องที่ผู้รู้ต้องหาคำตอบเอาเอง

      เสรีชน

       มันง่ายและหยาบเกินไปที่วิจารณ์ว่านักวิชาการ นักประชาธิปไตย และฝ่ายซ้าย หรือ activists เก่าตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 เชิดชู หรือเป็นพวกจารีต หรือถูกป้ายสีและตราหน้าเป็นพวกอนุรักษนิยมไปหมด


http://www.bangkokbiznews.com/level3/news_124083.jsp
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 18-11-2006, 01:19 »

ผมนึกว่ามีแต่พวกเราอัดกันเอง พวกนักวิชาการก็ใส่กันไม่เบานะเนี่ย อิ อิ

...."แม้ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร...แต่ก็เข้าใจ"...( วาทะอธิการบดี มธ. )
บันทึกการเข้า

qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #17 เมื่อ: 18-11-2006, 03:39 »

หึหึหึ ลุงแคน ไปสอนความหมายของ อภิชนาธิปไตย(aristocracy ) อาจารย์ธงชัยเลยหรือครับ นั่นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเลยนะ5555
.... Blah Blah Blah ...


ทักษิณของคุณ Athit ยังเคย "แนะนำหนังสือ" ให้อาจารย์ - นักวิชาการอ่าน
เคย "สอนเรื่องพรหมวิหาร 4" ( ทั้งที่ตัวเองก็ทำไม่ได้ ) 
เคย "สอนผู้บริหารองค์กรธุรกิจ" ทั้งที่ตัวเอง "ทำธุรกิจเองเจ๊งหมด  จนต้องกุมไข่เข้าไปขอสัมปทานผูกขาดจากเผด็จการที่ทำรัฐประหารรัฐบาลอื่น"
เคย "ยกลูกตัวเอง - ยกตัวเอง" เป็นแบบอย่างเรื่่องทำมาหากิน  ทั้ง ๆ ที่ลูกตัวเองก็ "เล่นละครว่าทำงานพิเศษ" อยู่แค่ 4 ช.ม. ในขณะที่ตัวเอง "ขี่รถสปอร์ตเปิดประทุนส่งหนังสือพิมพ์" ที่อเมริกา
เคย "ใช้เงินภาษีของคนไทยจ้างฝรั่งต่างชาติในราคาค่าตัวแพงลิบลิ่ว" มาสอนข้าราชการระดับสูง  แล้วโครงการนั้นก็ "ล้มเหลวไม่เป็นท่า"
เคย "สอนชาวบ้านให้พัฒนาชุมชน" ด้วย "แนวทางซานตาคล้อส ( รัฐบาลแจกทุกอย่าง - อภิมหาแพ็ทเทอร์นอาจสามารถ )" ที่ถึงปัจจุบันนี้ "ไม่มีใครพูดถึง ( อาจสามารถ - ชัดตอแหล )" อีกแล้ว

ฯลฯ

ด้วยตรรกของคุณ Athit และข้อมูลความเป็นจริงที่ผมยกมา
เห็นที "ด็อกเตอร์จากวิสคอนซิน" ของคุณ Athit
คงรับฟังคำสอนสั่งจากทักษิณได้เท่านั้น
 

บันทึกการเข้า

athit
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


« ตอบ #18 เมื่อ: 18-11-2006, 04:25 »

บทความ: ประชาธิปไตยไม่เท่ากับ...ความเป็นไทย+ตุลาการภิวัตน์+อำมาตยาภิวัฒน์     


ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
 

หลังความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยกำลังทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน ธีรยุทธ บุญมี ผู้นำนักศึกษาในช่วงก่อน 14 ตุลาคม 2516 และปัญญาชนคนสำคัญของประเทศในปัจจุบัน ได้เขียนบทความขนาดสั้นเพื่อเสนอความเห็นต่อสถานการณ์ในขณะนั้น รวมทั้งแนวทางพัฒนาการเมืองในระยะยาว โดยเขาสนับสนุนการรัฐประหารด้วยเหตุผลสองข้อ
 

ข้อแรก การรัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นโดยผู้ทำการที่เป็น “พลังซึ่งเน้นด้านคุณธรรมของบ้านเมือง”
 

ข้อสอง การรัฐประหารครั้งนี้นำมาซึ่งรัฐบาลซึ่งมีผู้นำที่สุขุม มั่นคง มีรองนายกรัฐมนตรีที่มีประสบการณ์และความสามารถ รวมทั้งมีรัฐมนตรีที่สื่อสารกับชาวบ้านได้ดี
 

มองอย่างผิวเผินแล้ว ธีรยุทธสนับสนุนการรัฐประหารด้วยเหตุผลเรื่องตัวบุคคล เพราะได้อ้างถึงอุปนิสัยของผู้ก่อรัฐประหารและคณะรัฐมนตรี เช่น ธีรภัทร เสรีรังสรรค์, จรัญ ภักดีธนากุล โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ , หรือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อันเป็นเรื่องที่ประชาชนทั่วไปไม่มีทางล่วงรู้ได้

 

ปัญหามีอยู่ว่าสำหรับประชาชนที่อยู่นอกสังคมชนชั้นนำออกไป รวมทั้งสำหรับคนชนบทที่ไม่เคยรู้จักมักคุ้นกับบุคคลเหล่านี้ ธีรยุทธจะจูงใจให้พวกเขายอมรับความชอบธรรมของรัฐประหารและคณะรัฐบาลชุดนี้ได้อย่างไร?


สรุปอย่างรวบรัดที่สุด ธีรยุทธบอกว่ารัฐประหารครั้งนี้ชอบธรรม เพราะเป็นรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อพลังที่ยึดถือความซื่อสัตย์, พลังสถาบันยุติธรรม, พลังสถาบันชาติ, และพลังสถาบันกษัตริย์ ไม่สามารถต่อสู้กับทุนการเมืองได้ ทำให้กองทัพจำเป็นต้องยึดอำนาจเพื่อยุติความขัดแย้งทางการเมือง[1]
 

อันที่จริง ธีรยุทธไม่ได้อธิบายรัฐประหารครั้งนี้ในฐานะ “ความจำเป็นทางการเมือง” เพื่อขับไล่ “ทุนการเมืองระดับชาติและระดับโลกาภิวัตน์” แต่เพียงอย่างเดียว หากยังเสนอ “ทฤษฎีทั่วไป” ว่าด้วยแนวทางการพัฒนาการเมืองไทยอีกด้วย กล่าวคือเขาเห็นว่าชนชั้นนำสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย จึงเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ควรร่วมมือกับชนชั้นนำในการสร้างรัฐธรรมนูญบน “โครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย” เพื่อออกไปจากแนวคิดตะวันตกแบบสุดขั้ว นั่นก็คือออกไปจากแนวคิดที่ถือว่าอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งคืออำนาจที่สำคัญที่สุดในสังคม

ในเชิงยุทธศาสตร์แล้ว ธีรยุทธโจมตีว่าการเมืองที่ให้ความสำคัญต่อการเลือกตั้งเป็นเพียง “ประชาธิปไตยโดยรูปแบบ” (Procedural Democracy) ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาไปสู่ “ประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร” (Substantive Democracy)[2] นั่นก็คือประชาธิปไตยที่ทำให้ได้มาซี่งผู้ปกครองที่เป็นคนดี มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรม

 

ถึงตรงนี้ บทความของธีรยุทธมีประเด็นให้โต้แย้งได้อย่างน้อยสามข้อ

 

ข้อแรก การเลือกตั้งเป็นเพียง “ประชาธิปไตยโดยรูปแบบ” จริงหรือไม่
 

ข้อสอง “ประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร” คือประชาธิปไตยที่ได้มาซึ่งผู้ปกครองที่ทรงศีลธรรมอย่างที่ธีรยุทธว่าไว้จริงหรือ
 

ข้อสาม หากนำแนวทาง “โครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย” แบบธีรยุทธมาใช้ สภาพทางการเมืองในสังคมไทยจะเดินไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอย่างไร
 

ในฐานะที่เรียนรัฐศาสตร์มาบ้าง ผู้เขียนขอโต้แย้งธีรยุทธในประเด็นดังต่อไปนี้
 

1. ต่อคำถามข้อแรก ไม่มีใครในโลกที่คิดว่าประชาธิปไตยหมายถึงแค่ระบบการเมืองที่มีการเลือกตั้ง แต่ธีรยุทธออกจะ exaggerate ไปมาก ที่ลดทอนให้การเลือกตั้งเป็นเพียง “การแสดงออก” ถึงการยอมรับอำนาจประชาชน
 

ในทางรัฐศาสตร์นั้น ประชาธิปไตยเชื่อว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยจึงเป็นระบบการเมืองที่กำหนดให้ “เจตจำนงทั่วไปของปวงชน” (popular will) ควบคุมอำนาจ (authority) ในการบริหารจัดการกลไกรัฐในลักษณะต่างๆ โดยมีเงื่อนไขว่า “เจตจำนงทั่วไป” ต้องแสดงออกผ่านสถาบันทางการเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการตัดสินใจรวมหมู่ (collective decisions) ของประชาชนในเรื่องนี้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดแอบอ้างว่าตัวเองเป็นตัวแทนของ “เจตจำนงทั่วไป” ได้อย่างเลื่อนลอย
 

ถ้าเข้าใจประเด็นนี้ ก็จะเข้าใจสถานภาพของการเลือกตั้งและรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยได้ชัดเจนขึ้นว่าทั้งสองส่วนนี้เป็น “กลไก” เพื่อให้สมาชิกในสังคมตัดสินใจร่วมกันว่าจะมี “เจตจำนงทั่วไป” ในการควบคุมกลไกรัฐในลักษณะใด ผ่านคนกลุ่มไหน และด้วยกระบวนการอย่างไร

 

ในแง่นี้ การเลือกตั้งจึงไม่ได้เป็นเพียง “ประชาธิปไตยโดยรูปแบบ” ที่ปราศจากแก่นสารอย่างที่ธีรยุทธว่าไว้ แต่การเลือกตั้งคือ “รูปแบบ” ที่เป็นบรรทัดฐานขั้นต่ำในการได้มาซึ่งประชาธิปไตยในระดับที่สูงกว่านั้น ถึงขั้นที่หากไม่มีการเลือกตั้ง ก็ไม่มีโอกาสที่ประชาชนจะแสดงเจตจำนงการเมืองอย่างเสรี (self-determinacy) และไม่มีทางที่จะมีประชาธิปไตย[3]

 

หากพูดด้วยภาษาทฤษฎีการเมืองหลังสมัยใหม่บางสำนัก ประชาธิปไตยมี “จุดเน้นทางความคิด” (locus of enunciation) อยู่ที่ “ปวงชน” การเมืองแบบประชาธิปไตยจึงเป็นการเมืองที่มุ่งแปรอำนาจปวงชนให้เป็นระบบระเบียบที่มีลักษณะเชิงสถาบันให้มากที่สุด (the proceduralization of popular sovereignty) เพราะเชื่อว่ามีแต่วิธีการนี้เท่านั้นที่จะให้กำเนิดผลทางการเมืองที่สมเหตุสมผล (rational outcomes) ขึ้นมาได้อย่างแท้จริง
 

2. แนวคิดของธีรยุทธนั้นเห็นว่าแก่นสารของประชาธิปไตยคือการได้มาซึ่งผู้ปกครองที่มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรม แต่ผู้ปกครองที่มีคุณสมบัติเช่นนี้เป็นอุดมคติของการเมืองแทบทุกชนิด เพียงแต่ในระบบประชาธิปไตยนั้น ผู้ปกครองที่มีคุณสมบัตินี้ไม่ได้เป็นหลักประกันที่เพียงพอต่อการสร้างการเมืองที่ดี

พูดให้สั้นก็คือสิ่งที่ธีรยุทธคิดว่าเป็นแก่นสารของประชาธิปไตยนั้น อาจไม่ใช่แก่นสารที่สำคัญที่สุดของประชาธิปไตยจริงๆ

 

ในโลกสมัยใหม่นั้น การปกครองแบบประชาธิปไตยมีแก่นสารอยู่ที่การพัฒนาระบบระเบียบเชิงสถาบันอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายของการพัฒนานี้อยู่ที่การทำให้เกิดกระบวนการสร้างเจตจำนงร่วมในระดับรวมหมู่ที่มีเหตุมีผล (rational collective will formation) ซึ่งหมายความว่าใครก็ไม่สามารถทึกทักล่วงหน้าได้ว่าสิ่งที่สมาชิกทุกคนในสังคมต้องการนั้นคืออะไร เพราะการเมืองแบบประชาธิปไตยเป็นการเมืองที่เชื่อเรื่องการพัฒนาไปข้างหน้า โดยที่แต่ละย่างก้าวของการพัฒนาล้วนมีผลต่อวัฒนธรรมการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม
 

ในระบบประชาธิปไตยนั้น กระบวนการที่ดีคือหลักประกันไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี ขณะที่ในแนวคิดเรื่อง “โครงสร้างทางการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย” ผลลัพธ์ที่ดีอาจไม่จำเป็นต้องมาจากกระบวนการที่ดีเลยก็ได้ ธีรยุทธและปัญญาชนจำนวนมากจึงยอมรับการรัฐประหารและกระบวนการที่สืบเนื่องจากนั้น หากทำให้ได้มาซึ่งผู้ปกครองที่ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และมีศีลธรรม

 

ควรระบุด้วยว่าเพราะธีรยุทธคิดว่าแก่นสารของประชาธิปไตยอยู่ที่การได้มาซึ่งผู้ปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่ดีจึงเป็นผู้ทรงสิทธิทางการเมืองสูงสุด ทำให้ชนชั้นนำมีอัตวินิจฉัยและทรงไว้ซึ่งสิทธิในการแทรกแซงและกำกับวาระทางการเมืองของสังคมอย่างไรก็ได้ ส่วนประชาชนนั้นก็ต้องปรับความเข้าใจเสียใหม่ว่าประชาธิปไตยหมายถึงการร่วมมือกับผู้ปกครองผู้ทรงศีลธรรม

 

คำถามคือภายใต้ “โครงสร้างทางการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย” เช่นนี้ ประชาธิปไตยในความหมายของการปกครองโดยประชาชน โดยประชาชน และของประชาชน จะมีสถานภาพอย่างไร? เพราะเมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ต่างๆ แล้ว ดูจะเป็น “การเมืองแบบภูมิปัญญาไทย” นี้เอง ที่ทำให้ประชาธิปไตยกลายเป็น “รูปแบบ” เพื่อห่อหุ้มแก่นสารที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นั่นก็คือการเมืองภายใต้การกำกับของชนชั้นนำ

 

3. ธีรยุทธพูดไว้ถูกว่าการเมืองภายใต้การกำกับของชนชั้นนำเป็น “ลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย” แต่เขาไม่ได้อภิปรายไว้เลยว่าบทบาทของชนชั้นนำส่งผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง ซ้ำยังไม่พูดถึงบทบาทของคนชั้นกลางและคนชั้นล่างเลยแม้แต่น้อย ราวกับว่าชนชั้นนำไทยเป็นเอกภาพ มีวาระทางการเมืองที่เป็นอันหนึ่งอันเดียว มีเป้าหมายเพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ส่วนคนชนชั้นอื่นนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนการเมืองในสังคมนี้แต่อย่างใด

 

มีนักสังคมศาสตร์คนไหนบ้างที่กล้าเสนอมุมมองเรื่องพัฒนาการประชาธิปไตยโดยมีฉันทาคติต่อชนชั้นนำไทยได้ไกลถึงขั้นนี้?

 

ทรรศนะคติของธีรยุทธต่อระบบประชาธิปไตยครึ่งใบในช่วง พ.ศ.2521-2531 เป็นตัวอย่างของคำอธิบายแบบนี้ เขากล่าวว่าประชาธิปไตยครึ่งใบของไทยเกิดขึ้นเพราะพรรคการเมือง, กลุ่มทุน, และกลุ่มอุปถัมภ์ท้องถิ่น เติบโตอย่างรวดเร็ว จนการคอรัปชั่นขยายตัวกว้างขวาง ขณะที่ค่านิยมซื่อสัตย์สุจริตก็เสื่อมทรามลง จนกระทั่ง “สังคมต้องหาทางออกโดยสร้างระบบประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งก็คือระบบการเมืองที่กองทัพกำกับรัฐสภาและพรรคการเมือง, ทหารสนับสนุนพล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 8 ปีเศษ, ประธานรัฐสภามาจากการแต่งตั้ง ส่วนนายกรัฐมนตรีก็ไม่ต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร

 

คำถามคือสังคมไทยไปร่วมกันหาทางออกโดยสร้างประชาธิปไตยครึ่งใบตอนไหน? มีใครและคนกลุ่มไหนบ้างที่มีโอกาสร่วมหารือกันในประเด็นนี้? ระบบการเมืองนี้มีผลต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร? เป็นไปได้หรือไม่ที่ทหารสร้างประชาธิปไตยครึ่งใบเพื่อจะเข้ามาแทรกแซงการเมือง? ประชาธิปไตยครึ่งใบสัมพันธ์อย่างไรกับสภาพที่ทหารเข้าไปดำรงตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจอย่างกว้างขวางในช่วงเวลาเดียวกัน?

 

ธีรยุทธพูดถึงการเมืองที่ยึด “ลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย” แต่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทยฉบับธีรยุทธมีกองทัพเป็นศูนย์กลางของความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้งหมด ประวัติศาสตร์เล่มนี้เขียนว่าพรรคการเมืองและรัฐสภาเป็น “ผู้ร้าย” ที่ทำให้ประชาธิปไตยเต็มใบเกิดขึ้นไม่ได้ ถึงขั้นที่แม้กองทัพจะยินยอมให้มีนายกฯ จากการเลือกตั้งในปี 2531 พฤติกรรมของพรรคการเมืองและรัฐสภาก็ไม่ดีขึ้น จนกองทัพไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดไป

 

แต่จริงหรือที่การรัฐประหารทุกครั้งเกิดขึ้นเพราะความเลวทรามของพรรคการเมือง ?[4]

 


4. ธีรยุทธไม่ได้เสนอว่าทหารเท่านั้นที่ควรมีบทบาทกำกับประชาธิปไตย หากพลังฝ่ายราชการ , ศาล ,
องคมนตรี รวมทั้งนักวิชาการที่มีคุณธรรม ก็ควรร่วมกันพัฒนาการเมืองในลักษณะ “กู้ชาติ” ต่อไปด้วย โดยธีรยุทธเสนอให้ประชาชนละเลิกมุมมองว่าคนเหล่านี้รวมตัวเพื่ออำนาจหรือผลประโยชน์ แต่ให้เข้าใจว่านี่คือ “กระบวนการคุณธรรมสังคม”

 

ขณะที่ธีรยุทธเขียนแนวทางการเมืองที่ยึด “ลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย” โดยผูกพรรคการเมืองไว้กับกลุ่มทุนและกลุ่มอุปถัมภ์ท้องถิ่นอย่างแน่นแฟ้น ในอีกด้าน ธีรยุทธกลับสร้างภาพให้ชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ ปลอดจากการแสวงหาอำนาจทางการเมืองและส่วนเกินทางเศรษฐกิจ ชนชั้นนำใน “ลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย” จึงเป็นชนชั้นนำที่มีสถานภาพใกล้เคียงกับอริยะชนผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน ไม่มีผลประโยชน์ทางโลก แตกต่างจากพรรคการเมืองที่ละโมบและเป็นหุ่นเชิดของกลุ่มอิทธิพลที่ชั่วร้ายตลอดเวลา

 

ด้วยยุทธศาสตร์การเขียนเช่นนี้ ธีรยุทธจึงไม่เห็นว่าการเมืองภายใต้การกำกับของชนชั้นนำมีปัญหาอย่างฉกรรจ์ตรงที่ไม่มีใครรู้ว่าชนชั้นนำแต่ละรายมีธุรกิจในกิจการอะไร ไม่มีใครรู้ว่าชนชั้นนำแต่ละคนมีสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจ, กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และผู้มีอิทธิพลกลุ่มไหน ไม่มีใครรู้ว่าคนเหล่านี้เจรจาตกลงอะไรกันในห้องประชุมลับหรือในสถานสโมสรบางแห่ง ทำให้ไม่มีทางมีหลักประกันว่าความใกล้ชิดนี้จะไม่ออกผลเป็นกฎหมาย, นโยบายรัฐ หรือการแต่งตั้งบุคคลไปดำรงตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจและองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่มมากกว่าส่วนรวม

 

ไม่ว่าจะในแง่มุมไหน การเมืองแบบชนชั้นนำก็ดึงการตัดสินใจทางการเมืองไปจากการควบคุมของสังคม ทำให้การตัดสินใจทางการเมืองขึ้นอยู่สายสัมพันธ์ส่วนบุคคล นำไปสู่สถานการณ์ที่คนหยิบมือเดียวมีอำนาจสูงสุดในเรื่องต่างๆ (ultimate decisionists) ซึ่งหากไม่ระมัดระวังให้ดี สภาพเช่นนี้ย่อมทำให้การเจรจาต่อรองและล๊อบบี้กันลับๆ สำคัญขึ้น ส่วนระเบียบกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานทางสังคมเสื่อมความสำคัญลง

 

ในทางทฤษฎีการเมืองแล้ว การเมืองภายใต้การกำกับของชนชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นอำมาตยาภิวัฒน์, ตุลาการภิวัฒน์ หรืออะไรก็ตามแต่ ล้วนมีแนวโน้มจะทำให้สังคมตกอยู่ในสภาพอย่างที่นักเทววิทยากล่าวไว้ตั้งแต่ ค.ศ.200 ว่า neque enim quia bonum est, idcirco auscultare debemus, sed quia deus praecipt หรือ “อะไรที่พระเจ้าว่าไว้ คนในสังคมย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม”

 

ก่อนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน ไม่มีใครคิดว่าการเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบ และธีรยุทธ บุญมี ก็พูดไว้ถูกต้องว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆ ต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะและภูมิปัญญาของแต่ละสังคม แต่อะไรคือลักษณะเฉพาะและภูมิปัญญาของแต่ละสังคมนั้นเป็นเรื่องที่ตอบได้ไม่ง่าย ซ้ำต่อให้ตอบได้ ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้คำตอบนั้นเกินเลยไปถึงขั้นล้มล้างหลักการที่เป็นสากลของประชาธิปไตย

 

ในงานเขียนของธีรยุทธชิ้นนี้ ลักษณะเฉพาะของสังคมไทยถูกทำให้ผูกพันกับกองทัพและชนชั้นนำไม่กี่กลุ่ม โดยเฉพาะศาล, ข้าราชการชั้นสูง, องคมนตรี, และนักวิชาการอาวุโส การนิยามลักษณะเฉพาะของสังคมแบบนี้ส่งผลให้ชนชั้นนำกลุ่มที่มีอำนาจสูงสุดมีความชอบธรรมที่จะกำกับการพัฒนาการเมืองได้เต็มที่ ข้อเสนอเรื่อง “โครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย” จึงทำให้การเมืองกลายเป็นการวิ่งเต้นเข้าหาศูนย์กลางอำนาจ การต่อสู้ทางการเมืองคือการอาศัยสายสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปหว่านล้อมเพื่อให้ได้มาซึ่งกฎหมายและนโยบายบางอย่าง ส่วนกระบวนการทางการเมืองก็ถูกลดทอนให้มีสภาพเป็นแค่การเจรจาตกลงเป็นการภายใน

 

น่าสนใจว่าหลังจากดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ 1 สัปดาห์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ให้ความเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 40 เป็นฝรั่งเกินไป จึงต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นไทยมากขึ้น ทำให้ ข้อเสนอเรื่อง “โครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย” ของธีรยุทธ ดูจะไปกันได้กับความเห็นของนายมีชัยในเรื่องนี้ ทั้งที่สถานภาพทางสังคมและบทบาทในอดีตของคนคู่นี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

รัฐประหาร 19 กันยายน ทำให้อะไรต่อมิอะไรเป็นไปได้มากขนาดนี้ นี่คือสิ่งอัศจรรย์ของรัฐประหารครั้งนี้อย่างแท้จริง
 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)



 

 


--------------------------------------------------------------------------------

[1] เหตุผลของธีรยุทธสอดคล้องกับคำแถลงของคณะปฏิรูปการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน แทบทุกตัวอักษร   จึงมีปัญหาคล้ายๆ กันว่าธีรยุทธและคณะปฏิรูปกำลังประกาศว่าฝ่ายที่ขัดแย้งกับ “ทุนการเมือง” ไม่ใช่ประชาชนทั่วไป  แต่คือสถาบันหลักต่างๆ   ในสังกัดชนชั้นนำของสังคม   จนอาจตั้งคำถามต่อไปได้ว่าแล้วทำไมคนนอกสังคมชนชั้นนำและคนชนบทต้องยอมรับการรัฐประหารครั้งนี้  เพราะคู่ขัดแย้งกับฝ่าย “ทุนการเมือง” ไม่ใช่ประชาชนแต่อย่างใด

 

[2] น่าสนใจว่าขณะที่ธีรยุทธโจมตีว่าแนวคิดเรื่องการเลือกตั้งเป็นฝรั่งสุดขั้ว  เขากลับใช้แนวคิดเรื่องProcedural Democracy และ Substantive Democracy ที่แสนจะเป็นฝรั่งยิ่งกว่าแนวคิดเรื่องการเลือกตั้งอย่างมากมายมหาศาล   ความเป็นฝรั่งจึงไม่ใช่ปัญหาโดยตัวมันเอง  แต่จะเป็นปัญหาในทันทีที่มันขัดแย้งกับญัตติทางการเมืองแบบไทยๆ  ซ้ำประเด็นที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือธีรยุทธพูดถึงแนวคิดฝรั่งอย่าง Procedural Democracy และ Substantive Democracy ในแบบที่ไม่มีนักวิชาการคนไหนพูดไว้   จนชวนให้สงสัยว่าหรือความเป็นไทยจะหมายถึงการอ้างแนวคิดอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ

 

[3] การวิจารณ์การเลือกตั้งว่าเป็นประชาธิปไตยโดยรูปแบบไม่ใช่เรื่องใหม่  เพราะแม้แต่มาร์กซ์ใน On The Jewish Question ก็วิจารณ์เอาไว้ว่าความสำเร็จทางการเมืองของชนชั้นนายทุนคือการทำให้สิทธิในการเลือกตั้งกลายเป็นสิทธิของพลเมืองทั่วไป   เหตุผลคือสิทธิที่พลเมืองแต่ละคนมีเท่าเทียมกันในการเลือกตั้ง ย่อมทำให้คนชั้นล่างเข้าใจว่าตนเองมี “เสียง” เท่ากับชนชั้นนายทุนและผู้มีทรัพย์   สิทธิเลือกตั้งจึงส่งผลให้คนชั้นล่างไม่เห็นว่าความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางสังคมนั้นเป็นประเด็นการต่อสู้ที่สำคัญอีกต่อไป  การแบ่งแยกความสัมพันธ์ระหว่างอาณาบริเวณทางเศรษฐกิจกับอาณาบริเวณทางการเมืองจึงเป็นหัวใจของยุทธการทางปรัชญาข้อนี้   และการแบ่งแยกลักษณะนี้เองที่เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยแบบทุนนิยม-เสรีนิยม

   

อย่างไรก็ดี  การวิจารณ์สิทธิเลือกตั้งแบบนี้ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือกับชนชั้นนำดังที่ธีรยุทธเสนอไว้  ในทางตรงกันข้าม  การวิจารณ์สิทธิเลือกตั้งเป็นไปเพื่อทำให้คนชั้นล่างเกิดความสว่างวาบทางปัญญาที่จะมองเห็นทะลุทะลวงกรอบการคิดแบบชนชั้นนายทุนเสรีนิยม   จึงเป็นการวิจารณ์เพื่อให้ประชาธิปไตยถึงรากถึงโคนไปสู่คนชั้นล่างมากยิ่งขึ้น  ไม่ใช่วิจารณ์เพื่อให้คนชั้นล่างร่วมมือกับคนชั้นนำ

 

[4] โดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว การรัฐประหารไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว  ในทางตรงกันข้าม  รัฐประหารหลายครั้งเกิดขึ้นเพราะผู้นำกองทัพขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรี, มีการแก่งแย่งอำนาจระหว่างนายทหารกลุ่มต่างๆ ในกองทัพ,  ผู้บัญชาการเหล่าทัพแย่งชิงผลประโยชน์จากงบประมาณซื้ออาวุธขนาดใหญ่ , ทรรศนะคติทางการเมืองที่มองว่าประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยเป็นศัตรูของชาติ , กลุ่มธุรกิจบางกลุ่มผลักดันให้ทหารก่อรัฐประหารเพื่อช่วงชิงโอกาสในการได้มาซึ่งสัมปทานในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ฯลฯ

 

 

..................................................................................

พิมพ์ครั้งแรกในมติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1370

 

 

อ่านเรื่องประกอบ

สัมภาษณ์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (1) : การเคลื่อนไหว 2549 ‘รัฐประหารของคนชั้นกลาง’ (26/6/2549)

 

สัมภาษณ์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (ตอนที่ 2) : การเมืองไทยในอนาคตอันใกล้  (1/7/2549)

 

สัมภาษณ์พิเศษ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ตอนที่ 1 : 30 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยแพ้แล้ว?  (6/10/2549)

 

 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 18-11-2006, 14:09 »

บทเรียนจากการรัฐประหารครั้งนี้ เราได้เห็น "การตีความ" ของบรรดานักวิชาการหลากหลาย

จนต้องกลับไปเปิดตำรากันยกใหญ่....ผมไม่ได้กอดตำรา แต่รับฟังและสัมผัสได้ด้วยตนเอง

สิ่งหนึ่งที่ผมรับรู้ คือ

1. ประชาธิปไตยในระบบเลือกตั้ง เราไม่สามารถคัดสรรคนดีได้

2. เมื่อเลือกตั้งแล้ว นิติบัญญัติ กับบริหารก็เป็นพวกเดียวกัน อาจหมายรวมไปถึงวุฒิสภา ( ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า เผด็จการรัฐสภาที่แม้ฝรั่งก็ไม่มีนิยามนี้ )

3. การตรวจสอบในระบบ มีช่องว่างให้แทรกแซงและปิดกั้นวิธีการเข้าถึง "การถอดถอน" ( หรือเข้าถึงก็ยุ่งยากมากเกินไป )

4. กฎหมายพรรคการเมือง ไม่เปิดพื้นที่ให้ สส.พรรค แสดงความคิดเห็นโดยอิสระ ( การเกิดขึ้นของ สส. อิสระ หรือผู้นำตามธรรมชาติไม่มีโอกาสถูกปิดกั้น )

5. ความขัดแย้งของผลประโยชน์ ระหว่างกลุ่มพลังต่าง ๆ ในสังคม เนื่องมาจาก พรรคการเมืองคุมทุกอย่าง จนบางครั้ง หัวหน้าพรรคหรือผู้บริหารไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่า ตนเองเป็นนายก หรือเป็นหัวหน้าพรรค และร้ายที่สุดบางทีคิดว่าเป็นสามีคุณหญิงและพ่อของนักธุรกิจ ในเวลาเดียวกัน

6. "โครงสร้าง" ของรัฐธรรมนูญ 2540 ทำประตูกล เปิดปิดได้ ตีความได้ ตามแต่ เนติบริกรจะตีความ ( หรือเปิดช่องให้ตีความแบบเอาดีใส่ตัว - ทำได้กฎหมายไม่ห้าม )

7. การยุบสภา เขียนไว้กว้าง ๆ ว่า บริหารยุบสภาได้ ห้วน ๆ ส่วนการ "อภิปรายไม่ไว้วางใจ" ใส่ระเบียบวิธีซะจนกระดิกไม่ได้

8. การตรวจสอบจากภาคประชาชน ยังไม่ได้รับการยอมรับ ด้วยเหตด้วยผลุผลจากฝ่ายการเมือง จนอาจจะพูดได้ว่า ระบบที่มีอยู่เปิดโอกาสให้นักการเมือง "ดื้อด้าน" เกินกว่ามาตรฐานของนักการเมืองที่ดี ในระดับสากล ( หน้าด้านเกินเหตุ )

จากปัญหาทั้งหมด บางคนสรุปว่า ไม่ใช่ปัญหาของระบบ แต่เป็นปัญหาของคนในระบบและคนที่ใช้ระบบนั้น

แต่ถ้ามองโดยรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่า "ระบบ" ที่มีอยู ( รัฐธรรมนูญ 2540 ) เปิดโอกาสให้ "คนในระบบ" ทำในสิ่งฉ้อฉลประชาธิปไตยได้ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

เมื่อทั้ง ระบบและคนในระบบ ต่างก็บกพร่อง สิ่งที่ต้อง "ปฏิรูป" ก่อนคืออะไรล่ะ

ถ้าไม่ไล่คนในระบบออกไปก่อน คิดหรือว่าจะปฏิรูป "ระบบ" ได้

หรือเราคิดว่า การปฏิรูปการเมืองจะเกิดขึ้นได้จาก "นักการเมือง"

การผ่าตัดบางทีต้องวางยาสลบ เพราะถ้าไม่วางยาสลบ ผ่ากันสด ๆ หรือให้คนในระบบแก้ไขกันเอง เราอาจจะได้ร่างกายที่พิกลพิการ หรือได้สังคมใหม่

เพราะคนในระบบใช้วิธีแก้ไขแบบเผชิญหน้า จนนำพาไปสู่ "ความสูญเสีย" ที่ไม่อาจคาดคิด

ต่างหันหน้ากันคนละทาง ฝ่ายหนึ่งจ้องทำลายคนไล่คนในระบบ แต่อีกฝ่ายใช้คำว่า  "ป้องกันระบบ" ไม่ให้เสียหาย รักษา รัฐธรรมนูญด้วยชีวิต

เถียงกันให้ตาย มันก็ไม่จบหรอกครับ แค่คำถามเรื่อง "จริยธรรม" ง่าย ๆ ยังสร้างวาทะกรรมประหลาด ๆ ถามหามาตรวัดชั่งตวง

พอถึงบทสรุปจริง ๆ แล้ว เราต้องถามใจตัวเองว่า เราพอใจกับนักการเมืองไร้จริยธรรมหรือไม่

ถ้าไม่พอใจเราจะเอาจริยธรรม ไปสอดใส่ไว้ในโครงสร้างตรงใหนได้บ้าง จะวางระบบใหม่ยังไง ให้รัฐธรรมนูญมีกลไกตรวจสอบยังไง

การเข้าสู่อำนาจ ตั้งแต่แรกเริ่ม ( การเลือกตั้ง ) มาจนกระทั่งการเข้าสู่อำนาจและการใช้อำนาจ จะวางกฎเกณฑ์ใหม่อย่างไรให้เหมาะสม

กลุ่ม "อภิชน" ตามความหมายของ ธงชัย จะถูกจัดวางไว้ตรงส่วนใหนของสังคม การเมือง การปกครอง

กลุ่มทหารนั้นเราจะจัดวาง ความเป็นทหารอาชีพอย่างไรบ้าง

การเป็นทหารอาชีพมีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1) เชื่อฟังและจงรักภักดีต่อรัฐ

2) มีความสามารถในทางทหาร

3) อุทิศตนให้แก่การสร้างทักษะและความชำนาญเพื่อจะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรัฐ

4) ต้องเป็นกลางทางการเมือง


ถึงที่สุด เราต้องการแผนที่ ที่จะมุ่งไปสู่ประโยชน์ของสาธารณะหรือของประเทศชาติ

และแผนที่ ที่จะดูแลให้"นักการเมืองอยู่ในกรอบแห่งจริยธรรม"

เรื่องราวแบบนี้ เราไม่คิดว่าจะเกิดจาก "นักการเมือง" แต่เพียงอย่างเดียว

ถ้าการปฏิรูปการเมือง ออกมาจากสภาเลือกตั้ง เราคิดว่า รัฐธรรมนูญใหม่จะควบคุมนักการเมืองจริงหรือ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 14:17 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 18-11-2006, 14:31 »

หึหึหึ ลุงแคน ไปสอนความหมายของ อภิชนาธิปไตย(aristocracy ) อาจารย์ธงชัยเลยหรือครับ นั่นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเลยนะ5555
.... Blah Blah Blah ...


ทักษิณของคุณ Athit ยังเคย "แนะนำหนังสือ" ให้อาจารย์ - นักวิชาการอ่าน
เคย "สอนเรื่องพรหมวิหาร 4" ( ทั้งที่ตัวเองก็ทำไม่ได้ ) 
เคย "สอนผู้บริหารองค์กรธุรกิจ" ทั้งที่ตัวเอง "ทำธุรกิจเองเจ๊งหมด  จนต้องกุมไข่เข้าไปขอสัมปทานผูกขาดจากเผด็จการที่ทำรัฐประหารรัฐบาลอื่น"
เคย "ยกลูกตัวเอง - ยกตัวเอง" เป็นแบบอย่างเรื่่องทำมาหากิน  ทั้ง ๆ ที่ลูกตัวเองก็ "เล่นละครว่าทำงานพิเศษ" อยู่แค่ 4 ช.ม. ในขณะที่ตัวเอง "ขี่รถสปอร์ตเปิดประทุนส่งหนังสือพิมพ์" ที่อเมริกา
เคย "ใช้เงินภาษีของคนไทยจ้างฝรั่งต่างชาติในราคาค่าตัวแพงลิบลิ่ว" มาสอนข้าราชการระดับสูง  แล้วโครงการนั้นก็ "ล้มเหลวไม่เป็นท่า"
เคย "สอนชาวบ้านให้พัฒนาชุมชน" ด้วย "แนวทางซานตาคล้อส ( รัฐบาลแจกทุกอย่าง - อภิมหาแพ็ทเทอร์นอาจสามารถ )" ที่ถึงปัจจุบันนี้ "ไม่มีใครพูดถึง ( อาจสามารถ - ชัดตอแหล )" อีกแล้ว

ฯลฯ

ด้วยตรรกของคุณ Athit และข้อมูลความเป็นจริงที่ผมยกมา
เห็นที "ด็อกเตอร์จากวิสคอนซิน" ของคุณ Athit
คงรับฟังคำสอนสั่งจากทักษิณได้เท่านั้น
 



ผมลืมตอบประเด็นนี้ครับ คือตีความ "อภิชน" เป็น "อภิชนาธิปไตย"...ผมอ่านผิดไปเอง เพราะ "ธงชัย" พุ่งใส่เป้าหมาย "อภิชน" ตรง ๆ เลยครับ

ต้องขออภัยที่แย้งอีกมุม แต่พอกลับไปอ่านหัวเรื่อง...อ้าว...

"เริ่มต้นประชาธิปไตยแบบภูมิปัญญาไทยหรืออภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย"

ก็เลยตามเลยและยังยืนยันว่า การปกครองตามที่เรียนมา เค้าบอกความแตกต่างของ "อภิชนาธิปไตยและคณาธิปไตย"

ยังยืนยันครับ


บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 18-11-2006, 17:47 »

ที่จริงผมอยากจะถามบรรดา "นักรัฐศาสตร์" ทั้งหลาย เคยเหลียวมองดู "พัฒนาการของเหตุการณ์ทางรัฐศาสตร์ในประเทศไทย" กันบ้างหรือเปล่า

กระแสพระราชดำรัสที่ว่า "บ้านเมืองวิกฤติที่สุดในโลก" เกิดจากอะไร...ลอง ๆ กลับไปไล่เรียง ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ในห้วง 3-4 ปี ก่อนการ "รัฐประหาร 19 กันยา 2549"

มีความเป็นมายังไง วิกฤตินั้นมีกี่วิกฤติ ลอง ๆ จำแนกออกมา ก็จะเห็น "พัฒนาการของเหตุการณ์" ได้ชัดขึ้น

ผมมองว่า ผลมันมาจากเหตุมากกว่า ไม่ใช่มาโต้แย้งในเรื่อง "อภิชนรุ่นสุดท้าย" อะไรนั่น...

การจัดการกับระบอบกับระบบการปกครอง บางทีแค่ออก "รัฐธรรมนูญ" แล้วมันจะแก้ปัญหาได้ทั้งมวล ผมคิดว่าไม่ใช่

แต่มันน่าจะมาจากการ "ตกผลึกทางความคิด" หยิบความผิดพลาดในอดีตมาแก้ไข และหาช่องทางปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย

น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนมากกว่า...

คนบ้าลัทธิมาร์ซ กับคนบ้าลัทธิประชาธิปไตย ผมว่า "บ้าพอ ๆ กัน" รวมทั้งผมด้วย...

ถึงที่สุดแล้ว มันต้องไปดูความเกี่ยวพันกับระบบเศรษฐกิจด้วย

จะเป็นทุนนิยมเสรีแบบสุดโต่ง หรือจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง หรือจะสังคมนิยม

แล้วด้านสังคมล่ะ เวลามองปัญหาน่าจะมองแบบองค์รวม คือ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวม ๆ กันไป ทิ้งอย่างหนึ่งอย่างใดคงไม่ได้

ที่สำคัญอย่าลืม บริบทสังคมไทย...หรือเรื่อง วัฒนธรรมประเพณี ไม่งั้น ได้บนเสียล่าง ได้ล่างเสียบน ไม่สมดุลหรอกครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-11-2006, 19:48 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

pizzalulla
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46



« ตอบ #22 เมื่อ: 19-11-2006, 06:21 »

นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผมอ่านบทความของธงชัยไม่จบ
เพราะความเป็นวิชาการในบทความต่างๆของธงชัยมีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยการ"กัด"และ"แขวะ"และ"อคติส่วนตัว"
มันไม่มีคุณค่าพอที่จะให้อ่านจนจบจริงๆ

อ้างจากบทความ
"คุณสมบัติสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยที่ยังฝังรากลึกมาก คือ ความเชื่อใน ‘บารมี’ ของอภิชน เชื่อว่าผู้มีบารมีย่อมอยู่เหนือคนธรรมดา สมควรมีสิทธิมีอำนาจมากกว่า บารมี คือ อำนาจอันเกิดจากศีลธรรมที่สูงส่งกว่า (ซึ่งธีรยุทธอาจลืมไปหรืออาจเป็นฝรั่งมากไปหน่อยจนไม่รู้จักคำนี้ดีพอ จึงต้องใช้ภาษาไทยปนเขมรปนแขกว่า ‘อำนาจศีลธรรม’ แล้วกำกับด้วยภาษาอังกฤษว่า ‘Moral Authority’) บารมีเกิดได้มีได้หลายรูปแบบตามสังคมวัฒนธรรมที่ต่างกันและเปลี่ยนไป เช่น การครอบครองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การประพฤติธรรม สมณเพศ ความอยู่เย็นเป็นสุขของลูกน้อง หรือบุคลิกภาพที่ดูซื่อสัตย์ทรงธรรม อภิชนก็เกิดได้มีได้หลายรูปโฉม เช่น กษัตริย์ ขุนนาง นักรบ เศรษฐี ข้าราชการ นักการเมือง ราษฎรอาวุโส หลวงปู่ เกจิอาจารย์ท่านต่างๆ หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย"

เห็นได้ชัดว่าธงชัยเข้าใจหรือประสงค์ที่จะเข้าใจเรื่องบารมีเพียงด้านเดียว ไม่ยอมมองอีกด้านที่สำคัญมากกว่ามาก
อีกด้านที่สำคัญกว่าคือ "บารมีที่แท้จริง"เป็นสิ่งที่ผู้อื่นเขาเห็น ยอมรับ และเทอดทูนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และพร้อมใจที่จะให้ความเคารพนับถือโดยสุจริตใจ เป็นความรู้สึกที่ผู้คนมีให้โดยที่บุคคลนั้นไม่ได้เรียกร้อง เป็นเรื่องที่ผู้คนรู้สึกได้โดยจิตวิญญาณของตัวเอง

อ่านตรงนี้แล้วแทบไม่ต้องอ่านต่อเลย  เมื่ออ่านต่อไปอีกหน่อย ก็พบว่าเป็นจริงอย่างที่บอกไว้ในย่อหน้าแรกของความเห็นของผม


ผมมีคำถามเดียวสำหรับธงชัย

"ธงชัยคิดว่าตัวเองมีหนี้บาป 6 ต.ค. 19 มั้ย"
บันทึกการเข้า
mini
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407


« ตอบ #23 เมื่อ: 20-11-2006, 01:26 »

บทความข้างบน ยังขาดไปอีก 1 ตอนนะ ตอนข้างบนมันมีตอนต่ออีก
เจ้าของกระทู้ไม่เอาให้ครบหล่ะครับ ยังขาดอยู่แน่นอน ผมจำได้

ลืมบอก ผมเห็นด้วยกับผู้เขียน เลยจำได้ว่ามีอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 20-11-2006, 01:58 »

ก็เล่นจับเอาทฤษฎี คาร์ล มารซ์ มาจับ มันก็เหมือนถอยหลัง

ฝ่ายซ้ายกำลังตีปีกว่า ทุนนิยมของทักษิณ กำลังจะนำไปสู่ความล่มสลาย ของทุนนิยมไทย

จากทุนนิยมเก่า- เจ้าผู้ครองรัฐ กำลังไปสู่ทุนนิยมใหม่เสรีสุดโต่ง

พอดีพวกทหารและฝ่ายเจ้า มาทำลายกงล้อประวัติศาสตร์ซะแล้ว อิ อิ

รออีกนิดน่า...


การเมืองไทยชอบเต้น ช่า ช่า ช่า เดินหน้าถอยหลังแบบนี้แหละครับ


บันทึกการเข้า

ไม่อยากสมานฉันท์กับคนชั่ว
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 592


เตือนให้นึกถึง Icarus ผู้ไม่ประมาณตน


« ตอบ #25 เมื่อ: 20-11-2006, 12:30 »

ทู้นี้แจ๋วแฮะ 

ว่าแต่ว่า อ่านแล้วก็เห็นอคติอยู่ว่าธงชัย anti ชนชั้นปกครองแค่ไหน  อะไรที่มากจากกลุ่มนั้น
ก็เหมาว่าเป็นสิ่งไม่ดีไปซะหมด

เพื่อนๆเห็นด้วยมั้ยครับว่า
ณ ปัจจุบันนี้  เรายังเห็นแค่เผด็จการรัฐสภานะ......
แต่ในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกลนี้  ถ้าฟ้าเปลี่ยนสีเมื่อไหร่  แล้วใครบางคนก็สามารถผูกขาด
อำนาจบริหารของประเทศนี้เป็นสิบๆปี
เมื่อนั้นแหละจะได้เห็นเผด็จการตัวจริงเลย  (ใช้จินตนาการหน่อยนะ พูดตรงๆไม่ได้)

ถ้าหากสถานการณ์เป็นเช่นนั้นไปแล้ว  ขอถามธงชัย ยังคาดหวังว่าระบบตรวจสอบถ่วงดุลจะใช้การได้อยู่อีกหรือ 

เหลียวไปมองข้างๆเราสิ มาเลย์เซีย  เขากำจัดคู่แข่งทางการเมือง
ด้วยข้อหาเป็น ตุ๊ดฮ่ะ  เป็นไง?? นี่คือตัวอย่างของเผด็จการผูกขาด
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 20-11-2006, 13:54 »

ระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ  มันก็คือ เผด็จการรัฐสภา เราดี ๆ นั่นแหละ

ไม่ว่าสมัยใหน ยิ่งรัฐบาลพรรคเดียวนี่ ม้วนเดียวจบกันมาจากที่ประชุมพรรคเลย

โหวตเมื่อไหร่ รัฐบาลก็ชนะ ( กินความไปถึง วฒิิสภา หรือ สภาผัวเมีย ) ลองแหกโผสิ แบบสส.หญิงคนหนึ่ง โดนรุมแทบเป็นลม

ดูอย่างอเมริกา มันมีเลือกกลางเทอม คราวนี้สนุกละ ฝ่ายค้านมีเสียง สภาสูง กับ สภาล่าง มากกว่าพรรคของประธานาธิบดี


แล้วถ้าผมจะบอกว่า ปกครองโดยพรรค ก็คือ "คณาธิปไตย" ได้มั๊ยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-11-2006, 13:57 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: