ชิ้นส่วนทางประวัติศาสตร์ที่ชำรุดโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ก่อนหน้าการรัฐประหาร กระแสการปฏิรูปการเมืองแพร่หลายและมีพลังอยู่แล้ว จนแม้แต่
หัวหน้าพรรค ทรท. ในขณะนั้นก็ไม่ปฏิเสธ (และทำให้คณะรัฐประหารเอามาใช้เป็นชื่อ
ของตัว)
ในช่วงนั้น ท่านประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมฯ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
ควรแก้
รัฐธรรมนูญให้ผู้สมัครอิสระสามารถสมัครลงเลือกตั้ง ส.ส. ได้ ท่านให้เหตุผลว่า
เพื่อเปิด
โอกาสให้คนดีได้ลงสมัครรับใช้บ้านเมือง นัยยะที่ไม่ต้องกล่าวก็คือพรรคการเมืองไม่
สามารถเลือกสรรคนดีมารับใช้บ้านเมืองได้
ผมเห็นด้วยกับท่านเต็มที่ แต่ด้วยเหตุผลคนละอย่างกัน
ผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 มีความคิดประหลาดว่า เราสามารถได้
พรรคการเมืองที่เข้มแข็ง
(ซึ่งไม่ได้แปลว่าสามารถจัดตั้งรัฐบาล แต่สามารถควบคุม ส.ส. ในสังกัดได้) จากการตรา
กฎหมาย ฉะนั้นจึงกำหนดให้ผู้สมัคร ส.ส. ต้องสังกัดพรรค, รัฐให้เงินอุดหนุนพรรคการเมือง
เพื่อช่วยไม่ให้พรรคตกไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองของพ่อค้านายทุน, เป็นรัฐมนตรีแล้ว
ต้องออกจาก ส.ส., รวมทั้งที่เรียกกันว่า "ล็อค 90 วัน"
กฎหมายลูกทั้งหลายก็ออกมาภายใต้แนวคิดที่จะให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง เพื่อควบคุม
ส.ส. ไม่ให้เล่นสัปดนทางการเมือง
ความคิดประหลาดนี้ ว่าที่จริงก็
ไม่ได้ลอกฝรั่งมาแต่อย่างใด (ตรงกันข้ามกับที่พวก
จารีตนิยมชอบอ้างว่า รัฐธรรมนูญปี 40 ลอกตำราฝรั่งมาทั้งดุ้น) แต่เป็นความพยายาม
จะตอบปัญหาของการเมืองไทยโดยตรง เพราะ ส.ส. อิสระและสังกัดพรรคในสภาไทย
นั้น รวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์จากรัฐบาลมาตลอด รวมทั้งเล่นสัปดนอื่นๆ
ด้วย โดยไม่มีใครคุมได้เลย จนหัวหน้ารัฐบาลต้องยึดอำนาจตัวเองเพื่อล้มสภามาหลาย
ครั้งแล้ว ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจึงหาทางที่จะแก้ปัญหานี้ด้วยการให้อำนาจการควบคุมที่คิด
ว่ามีประสิทธิภาพแก่พรรค จนพรรคกลายเป็น "คุก" ในทรรศนะของคุณเสนาะ เทียนทอง
และบริวาร
(พูดเรื่องลอกฝรั่งแล้ว ผมก็ขอออกนอกเรื่องตรงนี้นิดหนึ่งว่า รัฐธรรมนูญที่พวกจารีตนิยม
ร่างขึ้นต่างหาก ที่ลอกฝรั่งมาโดยตรง กล่าวคือไม่ได้มีปัญหาการเมืองของไทยเป็นโจทย์
เลย เพียงแต่ว่าแก้ไข, ตัดตอน, ทำให้เป็นหมัน, ฯลฯ ซึ่งรัฐธรรมนูญฝรั่งที่ตัวลอกมา เพื่อ
จะปกป้อง, รักษา และขยาย อำนาจกับผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำในสังคมไทยเท่านั้น)
พรรคการเมืองนั้นเป็นการรวมตัวกันโดยธรรมชาติของนักการเมือง กล่าวคือเมื่อรวมตัวกัน
แล้วย่อมได้มากกว่าเสีย นักการเมืองจะรวมตัวเป็นพรรคอยู่อย่างนั้น ตราบเท่าที่ตัวคิดว่า
จะได้มากกว่าเสีย
ได้ที่สำคัญที่สุดของนักการเมืองคืออะไร ก็ได้รับเลือกตั้งสิครับ ฉะนั้น พรรคการเมืองจึง
สร้างสมรรถภาพของตัวไปในทางที่จะทำให้สมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็นสำคัญ สมรรถภาพ
อันนี้ประกอบด้วยเงินทุน (ซึ่งไปรีดไถหรือได้รับการอุดหนุนมา) รวมทั้งประชาชนที่
ศรัทธาพรรคหรือนโยบายบางประการของพรรค จนเป็นอาสาสมัครทำงานรณรงค์ให้,
นโยบายที่ถูกใจประชาชน, บุคลิกที่ไม่ฝืนมติมหาชน (ซึ่งในเมืองไทยเรียกว่าปลาไหล),
เส้นสายที่พรรคมีกับส่วนอื่นๆ ของสังคม นับตั้งแต่สื่อ, นักวิชาการ, นายทุน, ผู้นำสหภาพ,
ชาวนา และกลุ่มวิชาชีพต่างๆ รวมทั้งช่างตัดผมและแท็กซี่ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า เพื่อประโยชน์ของตัวเองนี่แหละครับ ผลักดันให้พรรคการเมืองต้องตอบสนอง
ต่อความต้องการของประชาชนอยู่บ้าง มากบ้างน้อยบ้างตามแต่กรณี ในทางตรงกันข้าม
ประชาชนเองก็มองเห็นว่า การผลักดันนโยบายสาธารณะของตัวหากผ่านพรรคการเมือง
ก็มีทางประสบความสำเร็จมากกว่าและง่ายกว่าทางอื่น
ฉะนั้น พรรคการเมืองจึงเป็นเครื่องจักรใหญ่สำหรับการเลือกตั้ง จนกระทั่งทำให้ ส.ส. อิสระ
เสียเปรียบหากไม่สังกัดกับเครื่องจักรใดเลย แม้กระนั้น
ตราบเท่าที่เขตเลือกตั้งยังเล็กอยู่
ก็เป็นไปได้ที่ผู้สมัครพรรคเล็กหรืออิสระจะฟันฝ่าเอาชนะเครื่องจักร
ไปเป็น ส.ส. จนได้ แต่
ถ้าเขตเลือกตั้งใหญ่ ก็ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลยในบางสังคม เพราะกำลังของคนกลุ่มเล็ก
จะไปสู้กับเครื่องจักรใหญ่นั้นเป็นไปไม่ได้
ขอให้สังเกตนะครับว่า ผู้สมัครพรรคเล็กหรืออิสระสามารถเข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎร
อเมริกันได้บ้าง แต่หมดหวังสำหรับวุฒิสภาซึ่งมีเขตเลือกตั้งใหญ่ทั้งมลรัฐ ในอังกฤษ
เพราะเขตเลือกตั้งเล็ก (เหมือนรัฐธรรมนูญปี 40) สภาอังกฤษจึงไม่เคยขาด ส.ส. พรรค
เล็ก (หรือเคยใหญ่แต่กลายเป็นเล็กในภายหลัง) หรือ ส.ส. อิสระเลย
อย่างไรก็ตาม เครื่องจักรเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองกำลังกลายเป็นเครื่องจักรที่ตอบสนอง
ต่อเสียงเรียกร้องของประชาชนน้อยลงทุกที เหตุที่เป็นเช่นนี้มาจากสองด้าน คือด้านพรรค
การเมืองเอง กลไกของเครื่องจักรใหญ่เทอะทะจนเกินกว่าจะปรับเปลี่ยนอะไรได้ง่ายๆ
กว่าพรรคเดโมแครตจะออกมาฟันธงว่า สงครามอิรัคเป็นความผิดพลาด ก็เล่นเอาชีวิตของ
อเมริกันและอิรักสูญเสียไปเป็นแสน และทำให้ไฟลามภูมิภาคนี้ไปทั่ว โดยมิตรของอเมริกัน
ในโลกลดลง และอันตรายต่ออเมริกันกลับเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อน 9/11 เสียอีก อีกด้านหนึ่ง
ก็คือเพราะสื่อและระบบเศรษฐกิจ-สังคมที่ดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาร่วมในสังคมชาติและ
สังคมโลกอย่างแนบแน่นกว่าเก่า ประชาชนได้เปลี่ยนไปแล้ว
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วไปกว่าครึ่งโลกนะครับ ไม่ใช่เฉพาะในอเมริกา และผมแน่ใจว่า
เกิดในเมืองไทยด้วย
คนรุ่นใหม่ในสังคมตะวันตกสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองน้อยลง (รวมทั้งไปเลือกตั้ง
น้อยลงด้วย) คนที่เลือกผู้สมัครจากพรรคใดพรรคหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตาก็หายไปด้วย
เพราะพรรคการเมืองใหญ่ๆ ทั้งหลายนั้น ไม่ได้ต่างกันในเชิงนโยบาย พรรคเลเบอร์ภาย
ใต้นายแบลร์เป็นเสรีนิยมใหม่ยิ่งกว่านางแทตเชอร์อีกซ้ำ พรรครีพับลิกันและเดโมแครต
ต่างเพิ่มอำนาจของรัฐบาลกลางเหมือนๆ กัน
ในขณะที่ "พลเมืองสกรรม" ทางการเมือง (แหะๆ หมายถึง active citizens น่ะครับ)
ไม่เคยได้รับการสนองตอบจากพรรคการเมืองใดๆ ไม่ว่าคนที่แคร์ปัญหาโลกร้อน, การ
กระจุกตัวของรายได้, การศึกษาที่เสื่อมคุณภาพลง, สวัสดิการรัฐที่กำลังหายไป, อำนาจ
ที่ปราศจากการทัดทานถ่วงดุลของบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่, สิทธิสตรี, เอฟทีเอ, การ
จัดการน้ำด้วยเขื่อนขนาดใหญ่, ระบบภาษีที่ไม่เป็นธรรม, การกระจุกตัวของทรัพยากร
การผลิตโดยเฉพาะที่ดิน ฯลฯ ต่างพบว่า ล้วนเป็นปัญหาที่พรรคการเมืองใหญ่ไม่เคยรับ
เข้าไปในนโยบาย เพราะมัน "ร้อน" เกินไป เครื่องจักรเลือกตั้งจะไหม้
แปลกอะไรล่ะครับ ที่เขาเลือกนักกล้ามเป็นผู้ว่าการรัฐ, เลือกคนหน้าตาธรรมดาเป็น
ประธานาธิบดีแทนคนหน้ายาว, และเลือกคุณสมบัติ เมทะนี เป็น ส.ว.
ความพยายามจะสถาปนาอำนาจของพรรคการเมืองขึ้นมาคุม ส.ส. นอกจากเป็นความคิด
ที่ก้าวไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของโลกแล้ว (เพราะถ้าทำให้พรรคการเมืองไทยกลายเป็น
เครื่องจักรเลือกตั้งขนาดใหญ่สำเร็จ ก็ทำให้พรรคการเมืองไม่สนองตอบประชาชนเท่าเดิม
นั่นเอง) ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในการเมืองไทยด้วย เพราะมุ้งของ ส.ส. ต่างหากที่เป็น
เครื่องจักรเลือกตั้งตัวจริง ฉะนั้น
มุ้งต่างหากที่คุม ส.ส. ได้ ไม่ใช่พรรคแล้วเขาตั้งมุ้งขึ้นมาทำไมหรือครับ ก็อย่างที่รู้กันนั่นแหละ เพื่อเล่นสัปดนทางการเมือง
ไม่ต่างจาก ส.ส. อิสระนั่นแหละ
ฉะนั้น การห้ามผู้สมัครอิสระจึงไม่เกิดผลอะไรทั้งสิ้น แต่กลับปิดโอกาสที่สำคัญในการ
พัฒนาการเมืองไทย ไม่ใช่กีดกันคนดีคนเก่งอะไรหรอกนะครับ ที่ผมเป็นห่วงมากกว่าคือ
กีดกันประเด็นทางการเมืองที่มีความสำคัญแก่
1/ ประชาชนระดับล่างที่ไม่เคยมีพื้นที่ของตนในการเมืองระดับชาติ
2/ ประเด็นทางการเมืองของเหล่า "พลเมืองสกรรม" ทั้งหลายซึ่งพรรคการเมืองไม่กล้า
สนองตอบ
ส.ส. อิสระที่ไม่ต้องการเล่นสัปดนทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ผมคิดว่าได้ หากเรา
รักษาเขตเลือกตั้งให้เล็กเอาไว้ แม้ไม่ใช่ทั้งหมดของ ส.ส. อิสระก็ตาม และคนเหล่านี้แหละ
ที่จะสามารถประสานความร่วมมือกับ ส.ส. อิสระและ ส.ส. สังกัดพรรค เพื่อผลักดันประเด็น
การเมืองร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิผู้ป่วยเอดส์, สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร เช่น
กฎหมายป่าชุมชน, สิทธิของประชาชนในท้องไม่สำเร็จทุกเรื่องไปหรอกครับ และไม่สำเร็จ
ตามเป้าหมายร้อยเปอร์เซ็นต์สักเรื่องเดียวนะครับ แต่ในระยะยาวแล้ว จะสำเร็จบางเรื่อง
และแม้ไม่ได้ตามเป้าเต็มร้อย ก็ได้มากกว่าครึ่ง พอที่จะผลักดันกันต่อๆ ไปได้ ทำเป็นเล่นไป
เสียงของ ส.ส. อิสระในสภาที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคหมด อาจดังกว่า ส.ส. ธรรมดา
หลายเท่าตัว ถ้าเรียนรู้ว่าจะเปล่งเสียงอย่างไร
ส.ส. อิสระซึ่งต้องรักษาฐานเสียงของตัวให้เหนียวแน่นไว้ จะไม่สามารถพยุงรัฐบาลฉ้อฉล
ไปได้นานนัก พูดอีกอย่างหนึ่งจะอ่อนไหวต่อเสียงเรียกร้องของประชาชนมากกว่า แน่นอน
ประชาชนเองก็ต้องจัดตั้งทางการเมืองเพื่อทำให้การเรียกร้องของตนมีพลังด้วย แต่การ
จัดตั้งทางการเมืองเพื่อกดดัน ส.ส. อิสระย่อมง่ายกว่าและเป็นไปได้มากกว่ากดดันพรรค-
การเมืองแน่
ประชาชนไทยก็เปลี่ยนไปเหมือนประชาชนในสังคมที่เต็มไปด้วยการสื่อสารอื่นๆ
แต่
ชนชั้นนำไทยไม่เคยเปิดโอกาสให้ระบบการเมืองได้ปรับเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลง
ของสังคม ไม่ชอบใจอะไรก็ไม่ยอมลงมาต่อสู้ในเวทีการเมือง แต่กลับไปยุให้ทหารยึด
อำนาจ และเพราะทหารไม่ได้มีอำนาจเหมือนแต่ก่อนแล้ว จึงเท่ากับล้มกระดานเพื่อเปิด
โอกาสให้ชนชั้นนำได้ปกป้อง, รักษา และขยายอำนาจและผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรม
ของตัวเท่านั้น
มติชน วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10474http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04131149&day=2006/11/13อ่านบทความนี้จบแล้ว ยังไม่แน่ใจเลยว่า
"ชิ้นส่วนทางประวัติศาสตร์ที่ชำรุด" ที่เป็นชื่อเรื่องนั้นคืออะไร
จับได้แต่ใจความว่า สนับสนุนให้มี ส.ส. อิสระ ไม่ต้องสังกัดพรรค
เพื่อเป็นกระบอกเสียงในบางประเด็นที่พรรคไม่สนใจ
และให้เขตเลือกตั้งไม่ใหญ่มากนัก ส.ส.อิสระ จึงมีโอกาสแจ้งเกิดได้
ท่านผู้รู้ และเพื่อนๆ ที่ไม่แน่ใจว่ารู้ แต่สนใจฝึกสมองลองใช้ปัญญา
กรุณาช่วยกันออกความเห็นหน่อยว่า "ชิ้นส่วนทางประวัติศาสตร์ที่ชำรุด" นั้น
อ. นิธิ ท่านหมายถึงอะไร? ไหงตอนจบมาลงที่ "ชนชั้นนำ" ล่ะคะ?
![](http://oldforum.serithai.net/Smileys/default/slime_doubt.gif)