http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=news&id=129535
พบหลักฐานเอาผิด‘ทักษิณ’ ถมเงินให้พม่าเอื้อชินพันล.โพสต์ทูเดย์ — คตส. ได้หลักฐานเด็ดมัดเอาผิด “ทักษิณ” สั่งเพิ่มวงเงินกู้พม่าเอื้อกลุ่มบริษัทชิน สั่งลดแลกแจกผ่อนปรนดอกเบี้ยเงื่อนไขการสั่งซื้อสินค้า
แหล่งข่าวคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้หลักฐานการปล่อยกู้ให้พม่าจำนวน 4 พันล้านบาท ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเอาผิดอดีตนายกรัฐมนตรี ที่เป็นคนสั่งการปล่อยกู้ในโครงการนี้ได้
จากการตรวจสอบพบว่า เริ่มต้นโครงการทางพม่ามีการขอเงินกู้จากไทยเพียง 3 พันล้านบาท แต่ภายหลังทางพม่าได้ขอเพิ่มวงเงินกู้อีก 1 พันล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคม ต่อมาบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ ก็ได้งานนี้ไป
“คตส.พบว่า เมื่อต้นปี 2547 กระทรวงการต่างประเทศได้ทำหนังสือถึงกระทรวงต่างประเทศพม่า โดยแจ้งว่านายกรัฐมนตรีไทยตกลงให้เพิ่มวงเงินสินเชื่อจาก 3 พันล้านบาท เป็น 4 พันล้านบาท” แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้ ยังพบว่า ตอนต้นปี 2547 ในการเจรจาของคณะผู้บริหารกับผู้แทนประเทศพม่า ตกลงจะปล่อยกู้ให้พม่า เป็นเงินบาทในอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี (prime rate) ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ 5.75% แต่หลังจากอดีตนายกรัฐมนตรีได้ให้การยืนยันชดเชยดอกเบี้ยให้พม่า ทำให้ต้องคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากพม่า 3% ส่วนที่เหลือ 2.75% กระทรวงการคลังเป็นผู้ชดเชย
คตส.ยังพบว่า การเจรจาเงินกู้ใน ช่วงท้าย พม่าไม่สามารถทำตามเงื่อนไขเงินกู้ของเอ็กซิมแบงก์เรื่องการซื้อสินค้าจาก ไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้นำเรื่องหารือ และอดีตนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาว่าไม่ขัดข้อง ให้ยืดหยุ่นกับพม่าอย่างเต็มที่ หลังจากนี้ คตส.จะทำเรื่องขอหลักฐานจากกระทรวงการต่างประเทศ
แหล่งข่าวเอ็กซิมแบงก์ กล่าวว่า คงชี้แจงอะไรไม่ได้ แต่ยืนยันว่าทำถูกต้อง
เอามาตรา 100 กฎหมาย ป.ป.ช. ฉบับ ปี 2542 มาให้พิจารณา ครับ
:: หมวด 9 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้
(1) เป็นคู่สัญญาหรือ
มีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี(2) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญา กับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี
ลูกๆ มี หุ้น ถือว่าได้รับ ผลประโยน์ช หรือเปล่า ?(3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญา กับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือ เข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
ลูกๆได้รับสัมปทาน ถือว่าได้รับ ผลประโยน์ช หรือเปล่า ?(4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของ
เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้น
สั่งการ ให้เพิ่มวงเงินกู้ พื่อนำไปใช้ในโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคม ต่อมาบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ ก็ได้งาน ถือว่ามี ส่วนได้เสียหรือเปล่า ?เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้นำบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามวรรคสอง โดยให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าว เป็นการ ดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ไม่รู้ว่าจะใช้ มาตรานี้ได้หรือเปล่า ? แต่น่าจะใกล้เคียงที่สุดแล้วละมั้ง ? หรือยังมีกฎหมายข้ออื่นที่เอาผิดอีกได้ไหม ?