ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
10-01-2025, 17:34
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ประเมินการทำหน้าที่ของสภานิติบัญญัติ ในการอภิปรายนโยบายยังไงบ้าง 0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ประเมินการทำหน้าที่ของสภานิติบัญญัติ ในการอภิปรายนโยบายยังไงบ้าง  (อ่าน 1069 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 03-11-2006, 11:36 »

วันนี้เห็นการทำหน้าที่ สภานิติบัญญัติี่เสนอแนะนโยบายของรัฐบาลยังไงกันบ้างครับ

แตกต่างจากสภาเลือกตั้งอย่างไรบ้าง

ลองวิจารณ์กันดีมั๊ย...หรือจะร่วมอภิปรายนโยบายก็ไม่ผิดกติกา


นายกฯแถลงนโยบายรัฐบาล ย้ำยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
[3 พ.ย. 49 - 10:45]


วันนี้ (3 พ.ย.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยระบุว่า การทำงานของรัฐบาลจะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเติบโตแบบยั่งยืน โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก จะเน้นเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ ในด้านการเติบโตของเศรษฐกิจ รัฐบาลจะดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ โดยรัฐบาลจะร่วมมือกับภาคเอกชน ทั้งการส่งออกและการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่เอสเอ็มอี ที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ทั้งกรอบทวิพาคีและพหุภาคีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และจะปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และกฎระเบียบการค้าให้มีความทันสมัยเพื่ออำนวยความสะดวกการค้า สร้างความเป็นธรรม และยกระดับขีดความสามารถ

"รัฐบาลให้ความสำคัญกับเป้าหมาย เพิ่มประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการวัดความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ โดยจะจัดทำแผนแม่บทการสร้างเสริมประสิทธิภาพแห่งชาติเป็นแผนร่วมกับเอกชน สำหรับภาคเศรษฐกิจที่สำคัญให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน" พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าว

ส่วนนโยบายด้านพลังงาน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะส่งเสริมประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน การสำรวจแหล่งพลังงานทั้งไทยและนอกประเทศ รวมถึงการปรับโครงสร้างกิจการพลังงานให้เหมาะสม ตลอดจนจะกำหนดโครงสร้างราคาและองค์กรดูแลพลังงานให้มีความเหมาะสม รวมทั้งรัฐบาลจะขับเคลื่อนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนแม่บท โดยเน้นการลงทุนประเภทที่จะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง และลดมลพิษ ตลอดจนสามารถจะนำมาแก้ไขปัญหาอุทกภัย และภัยแล้งด้วย

นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลจะดำเนินนโยบายขาดดุล เพื่อรองรับกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง และจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันและส่งเสริมวินัยการเงินการคลัง รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐด้วย ซึ่งรัฐบาลจะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่กับอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายด้านสังคม จะมุ่งส่งเสริมความสามัคคี และสมานฉันท์ เพื่อฟื้นฟูชาติในทุกด้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรียืนยันต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศอย่างเต็มความสามารถ และให้ลุล่วงภายในเวลาอันจำกัด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03-11-2006, 22:57 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 03-11-2006, 11:38 »

รายละเอียดนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

วันที่ 03 พ.ย. 2549


รายละเอียดนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เช้าวันนี้(3 พ.ย.) มีดังต่อไปนี้



ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 นั้น ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเรียนท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ทรงเกียรติได้รับทราบ
ถึงเจตนารมณ์และนโยบายของรัฐบาล ในประการสำคัญในอันที่จะธำรงพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้ และมุ่งประสงค์จะแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และความมั่นคงของชาติ เพื่อนำไปสู่เสถียรภาพและประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทั้งมวล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ได้ระบุถึงสาเหตุของการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 โดยปรารถนาที่จะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ อันเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครอง และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนเสื่อมสลายความ “รู้ รัก สามัคคี” ของชนในชาติ อันเป็นวิกฤติการณ์รุนแรงทางสังคม วิกฤติการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งนับเป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ จึงมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องฟื้นฟูความ “รู้ รัก สามัคคี” ระบบเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การเสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง และระบบคุณธรรมที่ดีงาม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติพันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชน

ฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและสถานการณ์บ้านเมือง ตลอดจนวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 คณะรัฐมนตรีขอนำนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียนให้ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติได้ทราบว่ารัฐบาลจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1. นโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร

การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยราบรื่น สะท้อนความต้องการของประชาชน แต่สถานการณ์ทางการเมือง และการบริหารในช่วงเวลาที่ผ่านมา เกิดวิกฤติในศรัทธาของประชาชน ดังนั้น เพื่อแก้ไขวิกฤติทางการเมืองและการบริหาร รัฐบาลจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้

1.1 สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร เพื่อการปฏิรูปการเมืองโดยเน้นความสำคัญที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญในทุกระดับ

1.2 เสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ ทั้งในภาคการเมืองและภาคราชการ ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ส่งเสริมองค์กรอิสระและประชาชนในการตรวจสอบการทุจริต ประพฤติมิชอบ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนโดยการจัดทำพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่าง
ประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

1.3 จัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง ที่เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง วัฒนธรรมและการเรียนรู้ใหม่ทางการเมือง โดยการจัดตั้ง “สภาพัฒนาการเมือง” ให้เป็น องค์กรหลักในการจัดทำและดำเนินการให้แผนแม่บทพัฒนาการเมืองประสบความสำเร็จ รวมทั้งทำหน้าที่ประสาน ติดตาม กำกับการดำเนินการตามแผนแม่บทพัฒนาการเมืองให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสนองตอบเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

1.4 จัดทำแผนแม่บทการใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติ การใช้เครื่องมือสื่อสารของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ต่อการศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน รวมทั้งการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งการเน้นการทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระของการปฏิรูปการเมือง

1.5 ส่งเสริมเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน ควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม และผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อจัดระบบสื่อภาครัฐ สื่อภาคเอกชนและสื่อชุมชนให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง

1.6 ส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน ให้มีบทบาทควบคู่กับองค์กรภาคราชการในการพัฒนาศักยภาพของประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่มีความเข้มแข็งสามารถพิทักษ์ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนและสังคมไทย

1.7 มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ ให้สอดคล้องกับทิศทางการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมมีความเข้มแข็ง และประชาชนมีความสุขด้วยการดำรงชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้การรับราชการมีความเป็นมืออาชีพ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดำรงชีพอย่างพอเพียง มีมโนสุจริต ตลอดจนมีสมรรถนะขีดความสามารถในการให้บริการประชาชน ตามแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”

1.8 สนับสนุนการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองและปกครองตนเองได้ ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น


2. นโยบายเศรษฐกิจ

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วของประเทศ เศรษฐกิจระบบตลาด และเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีส่วนร่วมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความยั่งยืนและความพอดี โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำและผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐ และภาคประชาสังคม เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจทั้งสามภาคดังกล่าว โดยมีนโยบายหลักดังนี้

2.1 ภาคเศรษฐกิจฐานราก เป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะต้องเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งตามแนวทางดังนี้

2.1.1 การเกษตรกรรม สนับสนุนให้การพัฒนาการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่เป็นทางเลือกสำคัญสำหรับเกษตรกรรายย่อย ในขณะที่ขยายโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยกระดับคุณภาพของผลผลิตโดยอาศัยเทคโนโลยี การจัดการ และการเชื่อมโยงกับระบบตลาด

2.1.2 ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น จะได้รับการสนับสนุนให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ตามศักยภาพทางการตลาดในระดับต่าง ๆ คือ ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับการส่งออก โดยจัดระบบการบริหารจัดการโครงการแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยีและการจัดการ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนด้านการตลาด

2.1.3 แรงงาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญอีกส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจฐานราก จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐ ให้ครอบคลุมถึงการพัฒนา คุณภาพและฝีมือของแรงงานในระดับต่าง ๆ เพื่อให้สามารถมีผลผลิตและรายได้สูงขึ้นตามมาตรฐาน ฝีมือแรงงาน ตลอดจนส่งเสริมให้แรงงานทุกกลุ่มมีงานทำ มีอาชีพเสริม ได้รับการคุ้มครองและดูแลด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนมีหลักประกันความมั่นคง รวมทั้งสวัสดิการแรงงานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

2.1.4 การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางข้างต้น จะดำเนินการควบคู่ไปกับการดูแลผู้ที่ไม่พร้อมหรือยังไม่สามารถจะปรับตัวได้ โดยการจัดสวัสดิการสงเคราะห์และบริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง และโดยการดูแลโอกาสในการเรียนรู้ การศึกษา ตลอดจนการฝึกอาชีพสำหรับคนเหล่านี้และลูกหลาน นอกจากนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องได้รับการดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

เพื่อการนี้ จะปรับปรุงบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานภูมิภาค โดยปรับปรุงระบบความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อร่วมกันรับผิดชอบดูแลผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

2.2 ภาคเศรษฐกิจระบบตลาด รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่จะให้กลไกการตลาดสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ภายใต้หลักคุณธรรมและการสร้างความเป็นธรรมในภาคเศรษฐกิจ การขจัดการดำเนินการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และการแสวงหาผลประโยชน
์ส่วนบุคคล และจะอาศัยกลไกการตลาดเสรีเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันด้วยความเป็นธรรม ดังนี้

2.2.1 การพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากในและนอกประเทศในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีและการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศเป็นส่วนรวม

2.2.2 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะอาศัยความเป็นพันธมิตรระหว่างเอกชนและรัฐผนึกกำลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการบริหารจัดการในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภท นอกจากนั้น จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา

2.2.3 การส่งออก ส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการ โดยมีภาคเอกชนเป็นกลไกขับเคลื่อน ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจการค้าภายในประเทศ รวมทั้งสร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าที่มีความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

2.2.4 การท่องเที่ยว พัฒนาประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัยและบริการระดับสากล เน้นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุกทั้งในและต่างประเทศเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพ

2.2.5 พลังงาน ส่งเสริมประสิทธิภาพและประหยัดการใช้พลังงาน การพัฒนาและใช้ประโยชน์พลังงานทดแทน การสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ รวมถึงเขตพัฒนาร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด การกำหนดโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสม และการปรับโครงสร้างการบริหารกิจการพลังงานให้เหมาะสม โดยแยกงานนโยบายและการกำกับดูแลให้มีความชัดเจน รวมทั้งส่งเสริมการแข่งขันในธุรกิจพลังงานในระยะยาว และการศึกษาวิจัยพลังงานทางเลือก

2.2.6 โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และวางรากฐานการทำงานอย่างเป็นระบบที่ดี สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ยึดมั่นความซื่อสัตย์ สุจริต คุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการโครงการที่ดี และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่การวางแผนจนถึงการดำเนินโครงการ โดยขับเคลื่อนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่อยู่ในแผนแม่บทและมีความพร้อมทุกด้าน เน้นการลงทุนประเภทที่จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบเครือข่ายการจัดส่งสินค้าและพัสดุ การประหยัดพลังงาน และลดต้นทุนการขนส่งและปัญหามลพิษ รวมทั้งโครงการลงทุนตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดจากอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ทั้งนี้ จะจัดให้มีการจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่ชัดเจนขึ้นโดยเร็ว

2.2.7 โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา โดยที่ประเทศไทยได้มีการลงทุนจำนวนมากพอสมควรในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แต่โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญายังอยู่ในฐานะด้อยกว่าประเทศคู่แข่งหลายประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจะจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาขึ้น เพื่อเร่งรัดให้มีการสร้างปัญญาในสังคม เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อสร้างความสามารถของประเทศอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันสร้างนวัตกรรม

2.2.8 การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้มาตรการทางเศรษฐกิจที่ผสมผสานกับหลักการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

2.2.9 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะดำเนินนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคีท
ี่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมของภาคประชาสังคมและให้เป็นไปตามขั้นตอน
และกระบวนการที่ถูกต้อง

2.2.10 การปรับปรุงกฎระเบียบด้านธุรกิจการค้า ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบการค้าให้มีความทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านการค้า สร้างความเป็นธรรมและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน


2.3 ภาคเศรษฐกิจส่วนรวม

2.3.1 การสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน ดังนั้น รัฐบาลจึงให้ความสำคัญแก่เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการวัดความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เพื่อการนี้ จะจัดทำแผนแม่บทการสร้างเสริมประสิทธิภาพแห่งชาติโดยเป็นแผนร่วมกับเอกชนสำหรับภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน

2.3.2 การออม มุ่งสนับสนุนการออมในทุกระดับโดยใช้นโยบายการออมที่เหมาะสม และส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดเพื่อลดหนี้สินในระดับครัวเรือนและเพื่อการดำรงชีพที่ดีในวัยสูงอายุ

2.3.3 การเงินและการคลัง ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลเพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ และมีการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ในขณะที่จะเสริมสร้างวินัยทางการเงินการคลังภาครัฐ โดยการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและประหยัด


3. นโยบายสังคม

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมเข้มแข็งที่คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์บน พื้นฐานของคุณธรรม โดยมีนโยบาย ดังนี้

3.1 ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความร่วมมือกันในการกอบกู้และฟื้นฟูประเทศชาติในทุกด้าน โดยการสรุปบทเรียนจากปัญหาความแตกแยกร้าวฉานและความล้มเหลวในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอดีต แล้วนำมาปรับความเข้าใจของประชาชน สร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เน้นความสมานฉันท์ของคนในชาติ พร้อมทั้ง ส่งเสริมการเผยแพร่ตัวอย่างของความร่วมมือที่ดีและมีความสุขของทุกชุมชนอย่างต่อเนื่อง

3.2 จัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐาน คุณธรรมร่วมกับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และสถาบันศาสนา เพื่อสร้างสังคมไทยที่ไม่ทอดทิ้งกัน สังคมที่ชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมเข้มแข็ง สังคมคุณธรรม และสังคมประชาธิปไตย

3.3 เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ มุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีชีวิตประชาธิปไตย พัฒนาคน โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา การจัดการศึกษา จะเน้นการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่ สถานศึกษาและท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชนเพื่อให้การศึกษาสร้างคนและสร้างความรู้สู่สังคมคุณธรรม คุณภาพ สมรรถภาพ และประสิทธิภาพ

3.4 พัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ครอบคลุมทั้งมิติทางกาย จิต สังคม และปัญญา โดยการปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เน้นการมีส่วนร่วม และพัฒนาระบบบริการสุขภาพทั้งยามปกติและฉุกเฉินที่สมดุลทั้งการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การบริการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม และจะเสนอให้มีการออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

3.5 ส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชน เพื่อให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสได้เล่นกีฬา และออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมรรถภาพที่ดี มุ่งเน้นการปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬาให้เป็นค่านิยม เกิดความสมานฉันท์ของคนในชาติ สนับสนุนกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและอาชีพไปสู่มาตรฐานในระดับสากล

3.6 สร้างความเข้มแข็งของทุกชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม ให้สามารถจัดการ ตนเองเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนสิทธิชุมชน โดยส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชน องค์กรอาสาสมัคร ภาคธุรกิจ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การดูแลเด็กและเยาวชน คนพิการ คนสูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส การสนับสนุนสิทธิสตรี ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3.7 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีสันติสุขอย่างยั่งยืน บนฐานของวัฒนธรรมไทย และใช้สื่อทุกรูปแบบในการสร้างสรรค์สังคม รักษาสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชาติ และความหลากหลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเชิดชูคุณค่าและจิตวิญญาณของความเป็นไทย ตลอดจนสร้างความสามัคคี เอื้ออาทรสมานฉันท์ของสังคมและประเทศชาติ

3.8 ปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปรับปรุงระบบการสืบสวนสอบสวน การกลั่นกรองคดีและการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดี การควบคุมและฟื้นฟูผู้กระทำผิด คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีการสร้างทางเลือกในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ รวมทั้งให้ชุมชนมีบทบาทในการประนีประนอมข้อพิพาท และป้องกัน เฝ้าระวังอาชญากรรมเพื่อลดปริมาณคดี ความสูญเสียจากอาชญากรรม และความขัดแย้งของสังคม

3.9 ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานและบุคลากรในกระบวนการ ยุติธรรม โดยนำระบบงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและบุคลากรใน
กระบวนการยุติธรรม


4. นโยบายการต่างประเทศ

รัฐบาลมุ่งมั่นในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติเสริมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นของประชาคมระหว่างประเทศ โดยการดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับนานาประเทศ และสานต่อความร่วมมือระหว่างประเทศบนพื้นฐานของคุณธรรม ความโปร่งใส ค่านิยมประชาธิปไตย และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รัฐบาลจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้

4.1 ดำเนินบทบาทเชิงรุกในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อสนับสนุนความปรองดองและความมั่นคงในชาติ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสถานการณ์
ในภาคใต้

4.2 ส่งเสริมให้เกิดมิตรภาพและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ความมั่นคงและความเจริญ รุ่งเรืองร่วมกัน

4.3 เสริมสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งจัดตั้งประชาคม อาเซียน

4.4 ดำเนินบทบาทสร้างสรรค์ในกรอบสหประชาชาติและกรอบพหุภาคีอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืน การแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการสาธารณสุข

4.5 คุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ และเสริมสร้างบทบาทของชุมชนไทยในต่างประเทศ


5. นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ

สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้การรักษาความมั่นคงของรัฐเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัญหาวิกฤติการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น สามารถแพร่กระจายความรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว จนอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบสุขของประชาชนโดยรวม รัฐบาลจึงมีนโยบาย ดังนี้

5.1 ส่งเสริมการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ เพื่อการป้องกันประเทศอย่างต่อเนื่องในยามปกติ และนำไปสู่การระดมสรรพกำลังเพื่อยกระดับขีดความสามารถของกองทัพให้เพียงพอและทันเวลาในยามไม่ปกติ ทั้งนี้ ในยามปกติรัฐบาลจะเสริมสร้างและใช้ศักยภาพของกองทัพสนับสนุนการพัฒนาพลังอำนาจของชาติทุกด้าน เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงและมั่งคั่งภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสมานฉันท์ สามารถป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาที่
สำคัญของชาติ ได้แก่ ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ผู้ประสบภัยพิบัติ การก่อการร้าย รวมทั้งอาชญากรรมภายในประเทศและที่มีลักษณะข้ามชาติประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงยาเสพติด ผู้หลบหนีเข้าเมือง แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย การค้าสิ่งของผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ และการกระทำอันเป็นโจรสลัด

5.2 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง มีขีดความสามารถในการป้องกัน ป้องปราม และรักษาผลประโยชน์ของชาติ สามารถยุติความขัดแย้งได้รวดเร็ว มีระบบการข่าวที่มีประสิทธิภาพ มีขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อการพึ่งตนเองทางทหาร และนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อความต่อเนื่องในการรบ มีระบบกำลังสำรอง ระบบการระดมสรรพกำลัง และระบบส่งกำลังบำรุงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ภัยคุกคาม นอกจากนี้ จะสนับสนุนการสร้างความร่วมมือด้านต่างประเทศและด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มอาเซียน และมิตรประเทศ เพื่อลดความหวาดระแวง สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ สร้างสันติภาพและความสงบสุข รวมทั้งสนับสนุนภารกิจเพื่อสันติภาพและปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมภายใต้กรอบของสหประชาชาติและผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก

การกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีตามที่ได้กล่าวมานี้ กระผมขอให้ความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มกำลังความสามารถ ให้ลุล่วงภายในเวลาอันจำกัด โดยยึดมั่นและรักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่เข้ารับหน้าที่ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่แท้จริง




ถ่ายทอดสด ช่อง 9 และ ช่อง 11 สามารถดูผ่านเน็ตได้
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 03-11-2006, 12:26 »

ข่าวดีอีกเรื่อง คืออัยการสูงสุด ประกาศไม่ฟ้องผู้ต้องหาตากใบ ( 60 กว่าคน )

สนองคำ "ขอโทษ" ของ นายกรัฐมนตรี ต่อ พี่น้องอิสลาม...ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


สมาชิก สนช. คนหนึ่ง ให้ ฉายา นโยบาย "อกาลิโก" คือ ไม่กำหนดระยะเวลา

คุณกาญจนา ศิลปอาชา "หนูนา" อภิปรายความน่าละอายของสนามบินสุวรรณภูมิ ราคาแสนล้าน แต่ไม่มีที่บริการผู้พิการ ทั้ง ๆ ที่ได้ยื่นหนังสือทัดทานและเรียกร้องจากรัฐบาลหน้าเหลี่ยมไปแล้ว

และจะมีการแข่งขันกีฬาคนพิการโลกในปีหน้า...ทีนี้ประเทศไทยจะได้อับอายขายหน้า สนามบินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ

หมอแว...อดีต ผู้ต้องหา ของรัฐบาลหน้าเหลี่ยม ถูกอุ้มเข้าคุก 2 ปี และศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด เสนอเรื่อง "ความไม่รู้" ไม่รู้ชัด ไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ของรัฐบาลที่ผ่านมาอย่างน่ารับฟัง

สรุปการอภิปรายนโยบายครั้งนี้ ค่อนข้างเรียบร้อย ไม่เหมือนสภาของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่หวิด ๆ จะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจกลาย ๆ

รับฟังกันต่อครับ


บันทึกการเข้า

ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #3 เมื่อ: 03-11-2006, 13:02 »

เข้ามาอ้วกให้ครับ แหวะ
บันทึกการเข้า
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #4 เมื่อ: 03-11-2006, 13:05 »

เงินเดือนๆละแสนขอรถประจำตำแหน่งอีกนี่ อยู่ในแผนพอเพียงป่าวครับ
บันทึกการเข้า
TAKSIN THE BEST PM.
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258


« ตอบ #5 เมื่อ: 03-11-2006, 13:35 »

ขอทีเหอะ ข้อ 1.1 ทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แหมกะ สืบทอดอำนาจ เลยเหรอ แหมถาวร  สลักหินหรือไง

ถ้าเน้นปชชมีส่วนร่วม โหวตเลย 2540 กับ รํฐธรรมนูญฉบับโจรสลัด

ถ้าเสียงส่วนใหญ่เอา 2540 ไอ้พวกโจรสลัดกล้าไปโดด น้ำตายเลยเอาไหม

1.2 ก็บอกไปเลย เหล่านายพลอาชีพมีตังค์ส่งลูกเรียนเมืองนอก มาตังค์มาจากไหน .....

1.3 แพรน -นิ่ง มาเกาะปีหนึ่ง เอาเฉพาะขี้ที่ตัวสร้างก็พอ ไม่ต้องขี้ให้คนรุ่นหลัง

1.4  ตาม 1.3

1.5 ด่า พ่อ ด่าแม่ นายก ได้คือการวัดหรือป่าวล้ะ หรือว่าสื่อเสรี

1.6 ส่งเสริม กับ ฮั๊ว เนี๊ยใกล้มากนะ ระวังหน่อยยยย

1.7 พัฒนา เอาดีๆนะไม่ใช่ไปดูงานทั้งกระทรวง หาผลงานไม่เจอ

1.8 ระวังด้วย ใกล้มากนะกับคำว่าแบ่งแยกดินแดน ระวัง

คะแนน ให้ 3 จาก 10

บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #6 เมื่อ: 03-11-2006, 14:06 »

ให้คะแนนไม่ไหวครับ อ่านถึงคำว่าพอเพียง อดีตข้าวกระเพราไก่ที่พึ่งกินไปก็ขึ้นมารอที่คอแล้ว

ขืนอ่านต่อสงสัยพุ่งใส่เครื่องแน่ เสียดายของครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 03-11-2006, 14:09 »

เอาน่า แค่ 242 คน

ก็ไม่เกิน 250 ล้านต่อปี ( โดยประมาณ )

ถ้าใช้ 2 สภา 700 คน กินเงินเดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 1,000 ล้าน

ค่าเลือกตั้ง 4,000 ล้าน ( 2 สภา )

ตอนนี้เอากันง่าย ๆ ให้รัฐธรรมนูญดี ๆ ออกมาดีกว่า
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 03-11-2006, 14:13 »

ที่สำคัญ ไม่ต้องพะวงว่า สส. และ รมต. จะจ้อง "สวาปาม" งาบงบประมาณ หรือ สร้างนโยบายโกงกินกันเอง

หรือสร้างนโยบายหาเสียง เอางบประมาณแผ่นดินไปสร้างคะแนนนิยมให้ตนเองและพรรคพวก...

สร้างสรรค์กันหน่อยละกัน ไม่เกิน 1 ปี ต้อง "ล้างบ้าน" ให้สะอาด

เพราะ "ทรราชหน้าเหลี่ยม" สร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ จนประชาธิปไตยต้องหยุดลงชั่วคราว
บันทึกการเข้า

TAKSIN THE BEST PM.
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258


« ตอบ #9 เมื่อ: 03-11-2006, 16:22 »

สังเกตุเลย

ไอ้พวกวิญญูชนจอมปลอมชอบอ้างฟ้าอ้างกระแสมาสนับสนุนตนเอง

แนวคิดไม่มียกโน่นมาแปะนี้ หวังว่าข้าแน่ข้ารู้ ข้าจะทำ แต่มันคงไม่ทำอะไร

นโยบายอะไรวัดไม่ได้ไม่มีตัววัด ใช้แต่มโนสำนึกหรือ จิตวิญญาณความรู้สึก ในการวัด 

แบบประเภทเป็นตัวเลขอะไร ไม่มี ทำงานอย่างไง ถอยหลังเข้าคลองชัดๆ

" ปฎิรูป ร่วมมือ สนับสนุน  เสริมสร้าง  เน้นกระจาย  สร้างความเข้มแข็ง"

คำทำนองนี้ วัดอะไรไม่ได้หรอก  ไม่มี มาตรฐานการวัด  จะหวังอะไรก้าวหน้า

เริ่มก็เขางอก แล้ว ต่อไปคงกลาย พันธุ์ จริง

ว่าแต่ตอนนี้ ไปดู  นายกสรยุดดีกว่า  ดูดีกว่าเยอะเลย 55555

บันทึกการเข้า
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #10 เมื่อ: 03-11-2006, 16:41 »

เอาน่า แค่ 242 คน

ก็ไม่เกิน 250 ล้านต่อปี ( โดยประมาณ )

ถ้าใช้ 2 สภา 700 คน กินเงินเดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 1,000 ล้าน

ค่าเลือกตั้ง 4,000 ล้าน ( 2 สภา )

ตอนนี้เอากันง่าย ๆ ให้รัฐธรรมนูญดี ๆ ออกมาดีกว่า


อ้าว  แล้วเขาไม่สนองนโยบายพอเพียงกันแล้วเหรอครับ
 
ออกรถจักรยานให้ปั่นไปสภา ต้องทำเป็นตัวอย่างช่วยชาติประหยัดพลังงานก็ดีนะ
ผมว่าถ้ามี บุคคลระดับนั้นทำตัวเป็นตัวอย่าง คนต้องยอมรับแน่ๆเลย
อีกทั้งสนับสนุนการออกกำลังกาย อีกด้วย 
บันทึกการเข้า
มด 5.11
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 277



« ตอบ #11 เมื่อ: 03-11-2006, 16:54 »

เอาน่า แค่ 242 คน

ก็ไม่เกิน 250 ล้านต่อปี ( โดยประมาณ )

ถ้าใช้ 2 สภา 700 คน กินเงินเดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 1,000 ล้าน

ค่าเลือกตั้ง 4,000 ล้าน ( 2 สภา )

ตอนนี้เอากันง่าย ๆ ให้รัฐธรรมนูญดี ๆ ออกมาดีกว่า


ไอ้นี่แหละ ที่ชั่วกว่าโกงกินซะอีก
พวกมันไม่มีสิทธิยุ่งกับรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร
บันทึกการเข้า

อ้างจาก: คนไม่รักชาติ โกหกได้ กับคนไม่รักชาติด้วยกัน
คนไม่รักชาติ มันทำลายชาติ แต่มันแถ ว่ามันทำลายระบอบทักษิณ
คนไม่รักชาติ ทักษิณประจานพวกมัน มันแถ ว่าทักษิณประจานชาติ
คนไม่รักชาติ โกหกได้ เฉพาะกับคนไม่รักชาติด้วยกันเท่านั้น

Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #12 เมื่อ: 03-11-2006, 17:54 »

เอาน่า แค่ 242 คน

ก็ไม่เกิน 250 ล้านต่อปี ( โดยประมาณ )

ถ้าใช้ 2 สภา 700 คน กินเงินเดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 1,000 ล้าน

ค่าเลือกตั้ง 4,000 ล้าน ( 2 สภา )

ตอนนี้เอากันง่าย ๆ ให้รัฐธรรมนูญดี ๆ ออกมาดีกว่า


ไอ้นี่แหละ ที่ชั่วกว่าโกงกินซะอีก
พวกมันไม่มีสิทธิยุ่งกับรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร

ก็ยังดีกว่าเอา 2000 กว่าล้านสูญเปล่าเพราะคนเพียงคนเดียว
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 03-11-2006, 18:18 »

ก็เพราะใช้ "ความรู้สึก" เป็นตัววัดจริยธรรมนี่ไง

ทำให้ "หน้าเหลี่ยม" ไม่มีแผ่นดินอยู่

อย่าดูถูกความรู้สึกของประชาชนละกัน
บันทึกการเข้า

type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #14 เมื่อ: 03-11-2006, 22:57 »

ก็เพราะใช้ "ความรู้สึก" เป็นตัววัดจริยธรรมนี่ไง

ทำให้ "หน้าเหลี่ยม" ไม่มีแผ่นดินอยู่

อย่าดูถูกความรู้สึกของประชาชนละกัน


"ความรู้สึกของประชาชน" 

แล้วตอนนี้หล่ะครับความรู้สึกของประชาชน เป็นไง
เอาปืนมาจ่อหัวแล้วก็บอกว่า ให้มีความสุข ยังงี้ใช่ป่าว
 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 03-11-2006, 22:59 »

ลองวิจารณ์การทำหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติ หรือ วิจารณ์นโยบายรัฐบาลดีมั๊ยครับ

ดูเหมือนจะ "สร้างสรรค์" มากกว่าแขวะกันไปวัน ๆ
บันทึกการเข้า

login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #16 เมื่อ: 04-11-2006, 00:11 »

ไม่ได้ดูทุกคนนะครับ แต่ดูภาพรวมแล้วค่อนข้างประทับใจ คุยกันรู้เรื่อง
ไม่มีแถ ไม่มีประท้วงกันวุ่ยวายเหมือนประชุมสภาที่แล้วๆมา
สิ่งที่นำมาอภิปรายก็ทำการบ้านมาดี แต่ละคนก็เน้นด้านที่ตัวเองถนัด
การตอบก็ตอบทีละเรื่องทีละกระทรวงที่คิดว่าโดนพาดพิงถึง
แม้จะดูไม่ชัดเจนเท่าไหร่ ก็พอเข้าใจว่ารมต.เหล่านั้นไม่ได้เป็นนักการเมือง
จะให้พูดออกมาเป็นฉากๆคงทำได้ยาก แต่ก็ยังดีกว่ารมต.พุดโถ่บางคน
สุดท้ายประเด็นที่อภิปรายมาก็ไม่ได้มีส่วนในการแก้ไขหรือปรับปรุงนโยบาย
เพียงแต่บอกว่ากำลังพิจารณาอยู่ และจะมีวาระอื่นๆตามมา
บางเรื่องก็พอเข้าใจ แต่บางเรื่องยังรับไม่ค่อยได้

สรุป ให้คะแนน7เต็ม10ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: