ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 07:14
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  มธ. เล่นแรง ล่ารายชื่อเรียกร้อง อ. สุรพล เลือกระหว่าง สนช. หรือ อธิการบดี 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
มธ. เล่นแรง ล่ารายชื่อเรียกร้อง อ. สุรพล เลือกระหว่าง สนช. หรือ อธิการบดี  (อ่าน 4339 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 29-10-2006, 19:50 »

To:  ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“เมื่อคุณไม่เคารพกฎหมายเสียแล้วคนอื่นก็ไม่จำเป็นต้องเคารพอำนาจของคุณ”
ศ. ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สารคดี ฉบับที่ 240 ปีที่ 21 (กุมภาพันธ์ 2548)
----------------------------------

จดหมายเปิดผนึกถึง ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เรื่อง ขอเสนอและเรียกร้องให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       หรือตำแหน่งอธิการบดีอย่างใดอย่างหนึ่ง
 

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่คณะบุคคลในนามของ “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (คปค.)” ได้กระทำการรัฐประหาร
ในวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะบุคคลดังกล่าวได้อ้างเหตุผลว่า ต้องการเข้ามา
แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตย แต่สำหรับผู้ที่ไม่ฝักใฝ่เผด็จการอำนาจนิยม
เชื่อมั่นว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องกระทำตามครรลองระบอบประชาธิปไตย และ
เคารพในสิทธิ เสรีภาพ ของบุคคลอื่นๆ ย่อมถือว่า การกระทำของคณะบุคคลที่ทำการ
รัฐประหารไม่มีความชอบธรรมใดๆ ทั้งสิ้น จนส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางการเมืองใน
ระบอบประชาธิปไตย ไม่สามารถที่จะยอมรับได้ด้วยประการทั้งปวง ตลอดจนไม่ได้รับ
การยอมรับจากนานาประเทศที่มีอารยะ

จากปัญหาการขาดความชอบธรรมดังกล่าว ทำให้คณะรัฐประหาร จำเป็นต้องระดมผู้คน
ที่มีชื่อเสียง นักวิชาการ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้รับการยอมรับจากฝ่ายต่างๆ เข้ามาสู่
กลไก กระบวนการ และองค์กรต่างๆ เช่น คณะที่ปรึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นต้น
เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ร่วมกันรับรองและสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำการดังกล่าว

พวกเราในฐานะศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่า อาจารย์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคม
ธรรมศาสตร์ รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ตามรายชื่อที่แนบท้ายมาด้วยนี้ มีความห่วงใยและปรารถนาดีต่อศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ และชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีประวัติศาสตร์อัน
ยาวนานเกี่ยวกับการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ขอแสดงความคิดเห็นและข้อเรียกร้อง
ต่อท่านอธิการบดีดังต่อไปนี้

1. แม้ว่าการได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติของท่าน ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดย
    อิงกับ ตำแหน่งอธิการบดี แต่ได้รับการแต่งตั้งในนามของ ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์
    ก็ตาม แต่พึงตระหนักว่า การรับรู้ของสาธารณชน อาจจะไม่สามารถแยกแยะหรือรับรู้
    ข้อมูลส่วนนี้ได้ เนื่องจากท่านยังดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งตำแหน่งนี้ก็จะคงยัง
    ติดตัวท่านไปตลอดการทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างเลี่ยงเลี่ยงมิได้

2. ตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพันธกิจและความรับผิดชอบในด้าน
    การบริหารตามที่ให้สัญญาไว้ตอนเสนอตัวเองต่อประชาคมมหาวิทยาลัยซึ่งมีมาก
    พอสมควร ตามที่ท่านเคยให้สัมภาษณ์ไว้กรณีการปฏิเสธการถูกเสนอชื่อเป็นประธาน
    สภานิติบัญญัติแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติของ
    ท่านย่อมมีผลกระทบต่อการบริหาร และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยง
    ไม่ได้ในประการสำคัญคือ

    2.1 กระทบต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยตามที่ได้ให้สัญญาไว้
    2.2 การตัดสินใจรับตำแหน่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ซึ่งนำตำแหน่ง
          อธิการบดีติดตัวไปด้วย ไม่ได้เป็นตามเจตจำนงค์และได้รับความยินยอมจาก
          ประชาคม แม้ว่าในประชาคมจะมีความเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นนี้ก็ตาม
          ดังนั้น เพื่อความโปร่งใสและแสดงความบริสุทธิ์ใจ ท่านควรที่จะเลือกรับตำแหน่ง
          ใดตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งกรณีนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในส่วนของสื่อมวลชน
     2.3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประวัติศาสตร์ เป็นพื้นที่ทางการเมืองและสัญลักษณ์
          ของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตย มาตั้งแต่สมัย ดร.ปรีดี พนมยงค์
          ผู้ประศาสน์การ การเข้าร่วมสังฆกรรมกับคณะรัฐประหารไม่ทางใดก็ทางหนึ่งของ
          อธิการบดี ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกพิจารณาได้ว่า มีส่วนสนับสนุนและเป็นส่วน
          หนึ่งของการรักษาอำนาจของคณะรัฐประหาร ไม่ว่าท่านจะอธิบายว่า “มันเกิดขึ้น
          แล้ว” ก็ตาม ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียง เกียรติภูมิ และความภาคภูมิใจของ
          ประชาคมมหาวิทยาลัย

3. ดังนั้นในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เชื่อมั่นในระบอบ
    ประชาธิปไตย จึงขอเรียกร้องต่อท่านในฐานะอธิการบดีให้ลาออกจากการเป็นสมาชิก
    สภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างไม่มีเงื่อนไข หากท่านเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่า สิ่งที่ทำเป็น
    สิ่งที่ถูกต้อง “สอดคล้องกับมโนสำนึก” ของท่าน ในฐานะ ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์
    เราขอเคารพในการตัดสินใจของท่านในฐานะปัจเจกบุคล แต่ขอเรียกร้องให้ลาออกจาก
    ตำแหน่งอธิการบดี เพื่อไม่ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถือ
    กำเนิดขึ้นมาเพื่อรองรับต่อระบอบประชาธิปไตย

เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย

Sincerely,

The Undersigned

http://www.petitiononline.com/domedang/petition.html
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #1 เมื่อ: 29-10-2006, 19:58 »

แลปกดีบอกอยากมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ แต่พอมีตัวแทนกลับไม่ต้องการตัวแทน
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #2 เมื่อ: 29-10-2006, 20:09 »

สมควร เงินเดือนเป็นแสนแล้วอย่างกมาก มันไม่สง่างามแล้วก็ควรๆ จะไปๆ ซะ
บันทึกการเข้า
MacBookPro
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 765



« ตอบ #3 เมื่อ: 29-10-2006, 20:29 »

แล่้วส่งจากใคร เรียกร้องจากใคร ไม่เห็นลงชื่อ

ว๊ากกกกก จดหมายลูกโซ่ ว๊ากกกกกก

ปล. งั้นก็ให้อธิการบดีทุกคนลาออกให้หมดเลยแล้วกัน
บันทึกการเข้า

ไอ้เหลี่ยม - ทักษิณ ชินวัตร ชาตะ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 มรณะ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #4 เมื่อ: 29-10-2006, 20:34 »

มันเป็นเรื่องภายในเฉพาะธรรมศาสตร์น้อง mc เอ๋ย (สายตาสั้นหรือไงต้องทำ font ใหญ่ด้วย)
บันทึกการเข้า
MacBookPro
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 765



« ตอบ #5 เมื่อ: 29-10-2006, 20:41 »

มันเป็นเรื่องภายในเฉพาะธรรมศาสตร์น้อง mc เอ๋ย (สายตาสั้นหรือไงต้องทำ font ใหญ่ด้วย)

จะได้อ่านในสบายตาหน่อยหน่ะ เฮียชอบแถ
บันทึกการเข้า

ไอ้เหลี่ยม - ทักษิณ ชินวัตร ชาตะ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 มรณะ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #6 เมื่อ: 29-10-2006, 20:46 »

รายชื่อผู้ที่ลงนาม

http://www.petitiononline.com/mod_perl/signed.cgi?domedang&1

สำหรับคุณ MacBookPro และผู้ที่ไม่รู้จัก/ไม่นิยม กดตาม link ไปดู

Name สถาบัน/อาชีพ/ที่อยู่ ความเห็น
80. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล ศิษย์เก่า นิติศาสตร์ ป.ตรี รหัส 301613276 ป. โท รหัส 42    
79. noom' merchant / USA and Thailand he should be resign
78. Charnvit Kasetsiri Former TU Rector I agree with Jon Ungpakorn.
77. อรัญญา ภคภัทร  ประชาชน ควรลาออกจากอธิการบดี  
76. Law TU 41    
75. Pop    
74. สิทธิพร พรอุดมทรัพย์ ม.นเรศวร Tu is Democracy you're comminut you're not tu.
73. นายชวิศ แสงสุริยาโรจน์ นิติศาสตร์บัณฑิต ม.ธ. ผมเห็นว่าท่านสุรพล ไม่เหมาะสมที่จะดัรงตำแหน่งอธิการบดีม.ธ. ตั้งแต่ที่ท่านได้ออกมาสนับสนุนนายกพระราชทาน ม.7 แล้วครับ ทั้งที่ท่านเคยเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์มาก่อน แต่กลับมีความเห็นไปในทางที่เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่ท่านควรรักษา คือ หลักนิติรัฐ และ หลักประชาธิปไตย ไม่ใช่เผด็จการทหาร
72. Natthanan Kunnamas POLIS, University of Leeds Thammasat alumni  
71. พฤกษ์ เถาถวิล ศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รหัส 30    
70. รัตนา ปานกลิ่น กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต  
 
69. สายทิพย์ ขุนอินทร์ นักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4  
68. นพ.วรุตม์ เรืองอัศวเดช แพทย์ อธิการบดีในอดีต นำนศ.และประชาชนไล่เผด็จการ แต่นายสุรพลนำนศ.และประชาชนเรียกเผด็จการ
67. วิฑูรย์ เอกสิทธิ์ธารากร    
66. รวิวรรณ บุญศิริธรรมชัย นักธุรกิจ และศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ อธิการบดีควรรักษาความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย ถ้ารับตำแหน่งควบ สังคมก็จะตราหน้าว่าธรรมศาสตร์รู้เห็นกับการตัดสินใจของท่านอธิการไปด้วย ทั้งที่การตัดสินใจของท่านไม่ได้วางอยู่บนการมีส่วนร่วมของประชาคมธรรมศาสตร์ เป็นการตัดสินใจโดยพลการอย่างสิ้นเชิง
65. สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการปฏิรูปสื่อ และพน้กงานมหาวิทยาลัย ถ้าเราคิดว่า รัฐบาลทักษิณนั้นน่ากลัวเพราะมีอำนาจมาก โดยเฉพาะอำนาจที่อ้างความชอบธรรมจาก 16 หรือ 19 ล้านเสียงและการเป็นขวัญใจชาวรากหญ้า การที่ คปค. สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณได้เพียงชั่วข้ามคืน สะท้อนให้เห็นว่า คปค. มีอำนาจน่ากลัวกว่ารัฐบาลทักษิณ เมื่ออำนาจที่ว่ามากล้นเหลือแล้วในรัฐบาลทักษิณ ยังถูกยึดมาได้ด้วยอำนาจที่มากยิ่งกว่าของผู้กุมทิศทางการเมืองปัจจุบัน ดังนั้น สังคมยิ่งต้องการพื้นที่ในการถ่วงดุลอำนาจนอกสภาอย่างหนักแน่นเข้มแข็ง จึงสมควรที่สถาบันการศึกษาต้องยืนยันความเป็นอิสระ เป็นหลักในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านให้กับสังคม ในสภาพการเมืองที่แทบไม่มีพื้นที่ให้กับฝ่ายค้านในปัจจุบัน
64. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ประชาชน / ศิษย์เก่า  
63. ภูมิวัฒน์ นุกิจ นักศึกษา โดมและม.ธรรมศาสตร์ คือสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับเผด็จการทหารมายาวนาน อธิการบดีไม่ควรรับใช้เผด็จการ
62. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ศิลปศาสตร์ มธ. "Inter arma silent leges เมื่อใดเสียงปืนดัง เมื่อนั้นกฎหมายหมดเสียง"
61. chakkree    
60. สุนทร เพชรเกตุ    
59. PATJARAH NUNTHAWANICH 4703611501  
58. สุลักขณา จันทวงษ์ มธ./พนักงานธนาคาร/กรุงเทพฯ เรียกร้องให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือตำแหน่งอธิการบดีอย่างใดอย่างหนึ่ง  
57. Ittidate Jedwanna วิศวกร ลาออกทั้งสองตำแหน่งเลย คนอย่างนี้ไม่น่านับถือ
56. กวิน สุขเสถียรพาณิชย์(3102614678)   เพื่อศักดิ์ศรีของ มธ. ออกเถอะครับ
55. โชติศักดิ์ อ่อนสูง ศิษย์ปัจจุบัน เลขทะเบียน 4503610141 / ผู้ปฏิบัติงานศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษา  
54. นุ่มนวล ยัพราช Researcher/ Thai Labour Campaign อย่าร่วมกับคณะทหารเผด็จการ
53. พิมาน พันธุEัฒนา พนักงานบริษัท การสนับสนุนรัฐประการคือการทำลายประเทศชาติ
52. Thai citizen100\% Bangkok Surapol Nitikraipojana,U don't have the legal for a Rector of TU. Get out!
51. กิติภูมิ จุฑาสมิต รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ กรุณาลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีเถิดครับ
50. นุชรี ธุรกิจ อยากให้อาจารย์ เป็นอาจารย์ ทำหน้าที่ของอาจารย์ภายใต้ระบบประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
49. บุษยรัตน์ กาญจนดิษย์ นักศึกษาปริญญาโท  
48. อดิศร เกิดมงคล นักกิจกรรมทางสังคม  
47. เนตรดาว เถาถวิล นักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไม่เห็นด้วยกับการสนับสนุนรัฐประการ
46. Supaporn Asadamongkoln 2801612348  
45. นายชาตรี เพ็ญศรี ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ มธ. รหัส 3603610829 อาจารย์คงเข้าใจ "เจตนารมณ์"ของชาว เหลือง-แดง ที่ลงนามแนบท้าย โดยไม่ต้องเสียเวลาตีความให้ยุ่งยากนะครับ.
44. ประจักษ์ ก้องกีรติ พนักงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับก่อน อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรี หรือแม้แต่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. สว. ล้วนต้องลาออกจากการเป็นข้าราชการมหาวิทยาลัย ผมว่าเราก็ควรใช้เกณฑ์เดียวกันกับการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาฯ ในครั้งนี้ และจากมุมมองทางกฎหมาย ถ้าเราไม่อาจเคารพอำนาจของรัฐบาลทักษิณ เพราะรัฐบาลทักษิณละเมิดกฎหมายเสียเองอย่างที่อาจารย์สุรพลว่า แล้วเหตุใดเราจึงจะไปยอมรับอำนาจหรือทำงานร่วมกับคณะรัฐประหารที่ฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญทั้งฉบับล่ะครับ
43. Patiwat Panurach Thammasat University, B. Econ. (1997), ID 3604640379 When I graduated from Thammasat in 1997, I and all of the classmates made a vow during our graduation ceremony: we would defend the Nation, Religion, Monarchy, and Constitution. Prof. Surapol, by becoming a slave of the military junta that ripped up the constitution, is a disgrace to Thammasat. If he wants so much to be a running dog of the military, he should resign from the University.
42. Pramot Trakanrungroj Former TU Lecturer You've disqualified yourself as a TU Rector since M7 issue. I just don't understand why you are still around?!?
41. Panupong Chantaklang Thammasart University  
40. Supalak Ganjanakhundee The Nation  
39. นางยุพิน วรสิริอมร รับราชการ ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
38. นายพิสุทธิ์ พุทธิกุลสถิต อาชีพอิสระ ขอให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
37. นายนันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย นักวิจัยฯ. ป.ตรี คณะบัญชี เอกการตลาด มธ. รหัส 38 มธ., ป.โท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขามานุษยวิทยา มธ. รหัส 43  ขอเรียกร้องให้ อ.สุรพล ในฐานะอธิการบดี ช่วยสร้างห้องซ้อมดนตรีให้กับทุกคณะของมธ. ทั้งที่ ท่าพระจันทร์ และที่รังสิตด้วย และขอเรียกร้องให้พิจารณาทุบอนุสาวรีย์ อ.ปรีดีฯเพราะไม่สอดคล้องกับยุคสมัยและความต้องการทางการเมืองของคนไทยทั่วไป รวมทั้งตัวอธิการบดีเอง  
36. ประสงค์ วีระยืนยง พนักงานบริษัท สมควรที่จเลือกไปเลยว่าจะอยู่นะจุดใด โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจการปกครองในครั้งนี้ ทั้งที่ก็จะมีการเลือกตั้งอยู่แล้ว
35. ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ (รายชื่อที่ 2) แก้ไขเป็น อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ทางผู้จัดทำ ต้องขออภัยเรื่องความผิดพลาด ในรายชื่อที่ 2 ด้วยครับ
34. สิตา การย์เกรียงไกร ประธามสภาตุลาการนักศึกษา มข. ปี 2518 ตลอดปีที่ผ่านมา มีเรื่องที่เราพูดถึงมากที่สุดเรื่องหนึ่ง จริยธรรม ไม่ผิดที่อ.สุรพลจะอ้างเหตุ เพื่อควบทั้งสองตำแหน่งเอาไว้ เหมือนคนอื่นๆ เหมือนอธิการบดีมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ความเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องมีจิตวิญญาณมากกว่านั้น ต้องมีสำนึก ความชอบธรรม ผมไม่เคยอยู่ ไม่เคยเรียนธรรมศาสตร์ แต่รู้ว่า เหลืองคือธรรม ประจำจิตร ครับ
33. นายอภิชาติ สมนึก นักศึกษา รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เลขที่ 2 ถ.พระจันทร์ พระนคร กทม. 10200 4703030058 ลาออก และให้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าไม่ฝักใฝ่การกระทำมิใช่ประชาธิปไตย
32. ทวีลักษณ์ พลราชม ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  
31. พูนทรัพย์ การย์เกรียงไกร รัฐศาสตร์รุ่น22 ถ้าไม่เห็นแก่จิตวัญญาณของธรรมศาสตร์ที่ยืนหยัดในหลักการที่เคารพสิทธิประชาธิปไตยของปวงชนแล้ว อย่างน้อยในฐานะนักกฎหมาย ก็ควรจะเคารพในศักดิ์ศรีและหน้าที่ของนักกฎหมายที่จะไม่เรียกร้อง-มีส่วนร่วมในสิ่งที่ไม่นำไปสู่นิติรัฐ
30. ฆัสรา มุกดาวิจิตร ศิษย์เก่า มธ.  
View Signatures : 80   30    

--------------------------------------------------------------------------------
PetitionOnline.com has disabled the display of email addresses for signatories who chose to make their address public. We have done this to reduce the spread of harmful Windows viruses which harvest email addresses from the web cache of infected computers. This also prevents spammers from harvesting email addresses from this site.

The เรื่องขอเสนอและเรียกร้องให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือตำแหน่งอธิการบดีอย่างใดอย่างหนึ่ง Petition to ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ was created by and written by นายอุเชนทร์ เชียงเสน (tudomedang@yahoo.com ).  
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #7 เมื่อ: 29-10-2006, 20:48 »

ดูจากรายชื่อทำไมมีคนนอกร่วมเอี่ยวด้วยเนี่ย ไหนบอกเรื่องภายในธรรมศาสตร์ไง
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #8 เมื่อ: 29-10-2006, 21:39 »

Name สถาบัน/อาชีพ/ที่อยู่ ความเห็น
29. ชินวุฒิ์ เตชานุวัตร์ ศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์ มธ. การดำรงสมาชิกภาพสนช.แสดงถึงการสยบต่ออำนาจที่มาจากรัฐประหารไม่ว่าจะโดยขัดขืนหรือด้วยความสมัครใจ ซึ่งมิได้เป็นที่ตกลงเห็นพ้องกันในประชาคมธรรมศาสตร์ จึงขอเรียกร้องด้วยความเคารพให้อาจารย์สุรพลลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีมธ. หากต้องการดำรงตำแหน่งในสนช.ต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดบทบาทที่ขัดแย้งกันกับตัวผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย
28. พุทธา สุวรรณละ KKU 15   
27. อมรา จุฑามาศ กรุงเทพฯ ขอให้ลากออกจากการเป็นอธิการบดี มธ. 
26. กุลชีพ วรพงษ์ รัฐศาสตร์ 2516   
25. นฤมล ทับจุมพล ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์  เพื่อรักษาเกียรติภูมิและหลักการทางการเมืองของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเรียกร้องให้ศ.สุรพลลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี หากต้องการเข้าร่วมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
24. Somrudee Winichakul IS Senior Developer/UW-Madison/WI/USA   
23. ธงชัย วินิจจะกูล ศิษย์เก่าและยังอยู่ในวงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับมธ. อธิการมธ.ต้องยืนอยู่กับหลักการอันถูกต้องและถูกกฎหมายในภาวะที่ผู้คนไขว้เขวมองแค่สัมฤทธิผลเฉพาะหน้า (pragmatism) อธิการมธ.ต้องเป็นหลักให้ผู้คนเคารพได้สนิทใจ จักต้องไม่เล่นการเมืองแบบฉวยโอกาสหรือทำตัวเป็นไม้ปักขี้เลน ท่านกำลังตัดสินใจผิดครั้งสำคัญที่เอาความงามสง่าของอธิการบดีมธ.ไปปะปนกับตำแหน่งในสภาอุปโลกน์ที่ไร้ความชอบธรรมและไร้ยางอาย
22. ยุกติ มุกดาวิจิตร ประชาชน/พนักงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเรียกร้องให้คนในประชาคมธรรมศาสตร์ทุกคน และคนที่รักธรรมศาสตร์ทุกคน กล้าแสดงความเห็นและท่าทีต่ออธิการบดีในกรณีนี้ การแสดงออกทางการเมืองเป็นความรับผิดชอบของคนในประชาคมการเมือง หากเพิกเฉยก็ต้องรับผิดชอบต่อความเพิกเฉยของท่าน
21. ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์ ศิษย์เก่าศิลปศาสตร์ มธ.รหัสประจำตัว 3606613309 กรุณาลาออก
20. ศราวุฒิ ประทุมราช นิติศาสตร์ เลขทะเบียน201052 ในฐานะที่อ.สุรพลเป็นนักกฎหมาย ควรรับผิดชอบต่อระบอบประชาธิปไตย และยิ่งไปรับงานที่ตั้งโดยระบอบรัฐประหารยิ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง การลาออกจากสนช.น่าจะเป็นการเหมาะสม ไม่มีท่านสักคนทำงานให้ สนช. ประเทศชาติไม่เสียหายหรอกครับ
19. จอน อึ๊งภากรณ์   ผมเคารพในเหตุผลของอาจารย์และคนที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยทุกๆคนที่ตัดสินใจรับเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติในครั้งนี้ แต่ผมเห็นว่าไม่ควรนำสถาบันที่ตนเป็นผู้บริหารสูงสุดเข้าไปด้วย ยิ่งถ้าไม่ได้ประชามติจากชาวธรรมศาสตร์ทั้งหลาย จึงอยากเสนอให้อาจารย์ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในช่วงที่อาจารย์เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ จะเป็นประเภณีตัวอย่างที่สวยงามมาก
18. ทิศ 73  สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ลาออก
17. Jularat     
16. อติเทพ ไชยสิทธิ์ ผู้ปฏิบัติงานศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษา คุณสุรพลได้หมดความชอบธรรมในการเป็น อธิการบดี มธก. มาเนิ่นนานแล้ว
15. ปราปต์ บุนปาน นักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   
14. บัณฑิต ไกรวิจิตร อดีตนักศึกษา ปริญญาโท จบปี 2549 ด้วยความเคารพในความเห็นและการตัดสินใจของผู้อื่น แต่ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอให้อธิการบดีกระทำการในอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อเสนอข้างต้น เพื่อที่สถาบันการศึกษาและอาจารย์สุรพลจะยังคงศักดิ์ศรีในการเป็นผู้สอนและอบรมความรู้ทางการเมืองให้แก่นักศึกษาและประชาชนต่อไป ด้วยความนับถือของลูกศิษย์ที่จะยังสามารถนับถือท่านอาจารย์ได้ต่อไป
13. ศุษม อรรถวิภาคไพศาลย์     
12. ศิริภาส ยมจินดา     
11. นางสาวอังคณา กระบวนแสง นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์   
10. ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ อดีตสภานักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ปี 2547   
9. นายศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ  นักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา ม. ธรรมศาสตร์   
8. นายสุวิทย์ เลิศไกรเมธี  นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์   
7. นายวรดุลย์ ตุลารักษ์  ศิษย์เก่า รหัส 3003611005 คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์   
6. นายรัชภูมิ พลเพชร  นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์   
5. นายอรรถสิทธิ์ สิทธิดำรง  นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์   
4. นายศรัณย์ วงศ์ขจิตร  นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์   
3. นายสุรัช คมพจน์  นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์   
2. ดร. เกษม เพ็ญภินันท์  อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์   
1. อุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
สี่หามสามแห่
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,460



« ตอบ #9 เมื่อ: 29-10-2006, 21:43 »

จริงๆ จะมีกี่ตัว ว้า..

5555+

แน่จริง ตั้งโต๊ัะ  ไปเลยเด่ะ ..

ดีแต่มานั่งชักว่าว อยู่หน้าคอม อย่างนี้

หมาตัวนึง ก็ํลงชื่อได้เป็น 100  ถ้าอยู่ในเน็ต อะ

5555+
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #10 เมื่อ: 29-10-2006, 22:05 »

คนเหล่านี้มีตัวตนจริงหรือไม่
ชาวธรรมศาสตร์ย่อมรู้ดี
หากไม่รู้ ก็พิสูจน์ได้ไม่ยาก
คนที่ไม่รู้ แต่อยากแสดงความเห็นที่หาสาระไมได้
กับความหยาบคายเป็นนิสัย
ไม่รู้คิดยังไง ความละอายใจคงไม่รู้จัก
สักแต่ด่าไปวันๆ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 29-10-2006, 22:25 »

ชิงพื้นที่ข่าว ก็ส่งตัวแทนไปที่สภา นั่นเลย...ดักที่หน้าสภา จะได้ทำข่าวหน้าหนึ่งไปด้วย

มัวแต่เดินงานในเว็บบอร์ด ไม่ได้เรื่องหรอก สู้โจรใต้ก็ไม่ได้ ชิงพื้นที่ข่าวหน้าหนึ่งได้ทุกวัน


ดู อาจารย์สังสิตทำให้ดูเป็นตัวอย่าง อิ อิ....ถ้าทำไม่เป็นให้มาถามผมได้...หลักการมันง่าย ๆ...ไม่ยากหรอก

แต่ได้ผลกว้างขวางมากกว่ากันเยอะเลย...


ที่สำคัญ มีใครจ่อคิว จะลงเป็นอธิการบดีหรือเปล่าล่ะ...อย่าเผลอเปิดตัวก่อนนะครับ...
บันทึกการเข้า

ศก
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 244



« ตอบ #12 เมื่อ: 29-10-2006, 22:46 »

ก็คงต้องเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างล่ะครับ

แต่อยากจะบอกว่า จังหวะนี้มีคนผสมโรงแน่นอน เพราะธรรมศาสตร์เองไม่ใช่เพียงแต่ชื่อเก่าที่บอกว่าธรรมศาสตร์และการเมือง แต่เป็นมหาวิทยาลัยที่การเมืองภายในคุกรุ่นมานานแล้ว ครั้งนี้สบโอกาสพอดี
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #13 เมื่อ: 29-10-2006, 22:54 »

ข้างใน มธ เคยเล่นกันถึงกับวางระเบิดเมื่อซัก2-3ปีก่อน
ข่าวเงียบไป

ไม่แน่ใจว่าเรื่องการเมืองหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 29-10-2006, 23:50 »

การเมืองในมหาวิทยาลัยก็ไม่เบาหรอกครับ...มีโอกาสเป็น "สับ" ได้ทุกที...
บันทึกการเข้า

(ก้อนหิน) ละเมอ
Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,041



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 30-10-2006, 00:06 »

ไปนับดูแล้ว ได้ 93 คนครับ (ในเว็บนั้นบอกไว้) จำนวนนั้นรวมคนนอกธรรมศาสตร์ด้วยนะครับ
แต่ดูๆ แล้วนักศึกษาคงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวเท่าไร เพราะดูอย่างธรรมศาสตร์ ยังลงชื่อได้ตั้ง 93 คน ทั้งๆ ที่ตอนที่ไล่เหลี่ยมลงชื่อได้มากกว่านี้เยอะ!
ส่วนมหาลัยอื่นๆ นิ่งครับ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-10-2006, 00:10 โดย (ก้อนหิน) ละเมอ » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 30-10-2006, 00:19 »

ตอนไล่เหลี่ยม นักศึกษาล่าชื่อได้มากกว่า 50,000 ชื่อ

แต่เมื่อส่งเข้าไป ก็ไม่มี ปปช. มารับเรื่องไปดำเนินการ ( โดนบล็อคไว้ )

มันจึงพบ "ทางตัน" ไงครับ...

งานนี้ผมมองว่าเป็นการเมืองภายในธรรมศาสตร์เอง ผสมกับลิ่วล้อเหลี่ยม และขบวนการ "คนหัวเหลี่ยม"

แต่ก็ดีครับ เราได้เห็น จุดยืนของแต่ละคน เห็น วุฒิภาวะทางสังคมกันอีกแนวทางหนึ่ง

อย่างน้อยก็มีคนชูธง ต่อต้านการรัฐประหาร...ซึ่งก็ชอบด้วยเหตุผล แต่บางทีเหตุผลนั้นจะนำไปสู่เหตุการณ์อะไรในบ้านเมือง เค้าคงไม่คิด

ถึงเวลานี้ ก็ต้องให้กำลังใจกันไป ขอให้อยู่ในแนวทางสันติ อหิงสา ก็ว่ากันไปครับ
บันทึกการเข้า

ศก
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 244



« ตอบ #17 เมื่อ: 30-10-2006, 01:13 »

สมัยอธิการบดีที่ชื่อ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เห็นคนเล่าว่าการเมืองภายในทำให้ต้องหลุดจากตำแหน่งอธิการบดีเหมือนกัน

ฟังเขาเล่ามา เพราะตอนนั้นยังอยู่ม.ต้นอยู่เลย
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 30-10-2006, 01:16 »

อธิการบดีหญิง อ.นงเยาว์ ชัยเสรี ก็อ่วมเหมือนกัน ตอนจะย้ายไปรังสิต
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #19 เมื่อ: 30-10-2006, 01:41 »

Name สถาบัน/อาชีพ/ที่อยู่ ความเห็น
94. ธนาพล อิ๋วสกุล สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ถ้าสุรพล ยืนยันว่าได้กล่าวประโยคที่ว่า“เมื่อคุณไม่เคารพกฎหมายเสียแล้วคนอื่นก็ไม่จำเป็นต้องเคารพอำนาจของคุณ” แล้วไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะไม่ลาออกจากสนช. เว้นแต่คนที่พูดประโยคข้างต้นไม่มีตัวตนจริง
93. Chakkree Soithong 3302611409 (Auditor) เลือกเอาทางใดทางหนึ่ง จะรับใช้เผด็จการทหาร หรือ ต้องการเป็นผู้นำสถาบันที่อยู่ข้างประชาชนในระบอบประชาธิปไตย คราก่อน ได้ ม. 7 มา ยังไม่ละอายอีกหรือครับ 
92. มัชฌิมนต์ ภคภาส พนักงานเอกชน ออกเถอะค่ะ จะได้ไม่มีชะตากรรมเหมือนทักษิณ
91. ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข ผู้สื่อข่าว/ธรรมศาสตร์ ปี 2534  ออกเถิดครับ มันเป็นเรื่องมาตรฐานที่รุ่นหลังจะเอาเยี่ยงอย่าง
90. สมฤทัย นาคม่วง นักธุรกิจ-ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 31 ธรรมศาสตร์ต้องรักษาความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยเอาไว้ อธิการบดีคนไหนอยากมีตำแหน่ง ก็เป็นสิทธิของอธิการบดี แต่ไม่ควรเอาภาพมหาวิทยาลัยไปด้วย รวมทั้งไม่ควรกินเงินเดือนสองตำแหน่ง เพราะไม่เป็นธรรม เอาเปรียบประชาคมธรรมศาสตร์ที่เลือกคุณเข้าไป ทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมทรามลงไปทุกวัน
89. ปรัชญา สุรกำจรโรจน์ SAIR.   
88. ศุภกิจ กิจการประสพผล Programmer ไม่เหมาะสมตามเหตุผลข้างต้น สมควรลาออก
87. CJ Hinke Easterwood Press Academe MUST remain neutral to preserve liberty!
86. ธันยา รันจรูญ     
85. นันทพร เตชะประเสริฐสกุล 409 ซ.โรหิตสุข ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ ห้วยขวาง กทม.   
84. สิทธิชัย ปุณะปุง ศิษย์เก่า วิศวะธรรมศาสตร์ รุ่น 1 อธิการคนนี้ได้แสดงให้ถึงการนิยมที่จะรับใช้อำนาจเผด็จการ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง และไม่มีจิตวิญญานของความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งขัดแย้งกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่จะต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ ดังนั้นอธิการคนนี้จะต้องลาออก จากตำแหน่งอธิการและให้ถอนตัวเองออกจากเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยด้วย เพราะได้นำความเสื่อมเสียต่อธรรมศาสตร์เป็นอย่างมาก และการกระทำได้ขัดแย้งกับคำขวัญมหาวิทยาลัยที่ว่า " ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะ ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน (ไม่ใช่เผด็จการ) "
83. ส.รัตนมณี พลกล้า ศิษย์เก่านิติศาตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่น 30   
82. นางสาวซี บุญยโกศล นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์  ควรเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ขอเสนอว่าเลือกเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น่าภาคภูมิใจกว่า
81. นายเมธา สว่างดี ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 45 ข้าพเจ้ารู้สึกสมเพชที่มีมนุษย์ผู้หนึ่งเคยเรีกร้องประชาธิปไตยจากคนคนหนึ่ง และกลับไปสนับสนุนอำนาจพิเศษอย่างที่รู้กัน แล้ววันนี้ก็สยบยอมในอำนาจของเหล่าทหาร ที่ทำไปโดยเอาชื่อของมหาวิทยาลัยไปด้วย คุณไม่เคยเลยที่จะมีจิตสำนึกประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่เคยแม้แต่จะสำเหนียกในจิตวิญญาณและอุดมการณ์ที่แท้จริง ผมขอประณาม
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 30-10-2006, 01:50 »



ผมเห็นว่า น่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่สื่อมากกว่าที่จะต้องเลือกเอาสักอย่าง เป็นการชั่วคราวระหว่างปฏิบัติหน้าที่ครับ

http://forum.serithai.net/index.php?topic=9082.msg129749#msg129749 


อย่างไรก็ตามไม่ควรอ้างอิงสถาบัน เช่นเดียวกันกับทุกสถาบันครับ รวมทั้งสถาบันด้านความมั่นคงด้วย...

เพราะเป็นเรื่องนิติบัญญัติ ควรจะวางตัวเห็นเป็นกลางยึดถือประเทศไทย และสังคมไทยโดยรวมเป็นที่ตั้ง เป็นหลักในการคิดอ่านครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-10-2006, 01:59 โดย Q » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 30-10-2006, 02:26 »

ทหารตำรวจ อาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการทั้งหลายที่เข้าไปในสภา ก็ต้องลาออกให้หมดเลยยังงั้นใช่มั๊ยครับ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 30-10-2006, 02:43 »

ทหารตำรวจ อาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการทั้งหลายที่เข้าไปในสภา ก็ต้องลาออกให้หมดเลยยังงั้นใช่มั๊ยครับ

ครับตอบไว้แล้วครับ ไม่ต้องออกจากราชการหรอกครับ แค่พักงานประจำ ไปทำงานในหน้าที่ใหม่เท่านั้น

เสร็จสิ้นก็กลับมาทำงานประจำตามเดิม  บางตำแหน่งก็ต้องปล่อยให้คนอื่นที่มีเวลาเต็มเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนครับ

ส่วนกรณีตามกระทู้ แค่ลงจากตำแหน่งอธิการบดี ก็คงเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องออกจากราชการ หากไม่ออกก็ต้องไม่อ้างสถาบัน

คือผมหนักใจระบบอุปถัมภ์ครับ ไว้ติดตามดูขอบเขตการทำงานกันต่อไป..
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #23 เมื่อ: 30-10-2006, 02:45 »

ไม่ควรควบ 2 ตำแหน่ง เป็น conflict of interest
เข้าใจว่า รัฐธรรมนูญ 2540 มีห้ามไว้ คุณ CanCan น่าจะจำได้

นอกจากนี้ หากสามารถทำงานแต่ละอย่างได้อย่างละครึ่ง
ก็ควรไห้คนอื่นที่เขาสามารถอุทิศเวลาและพลังงานมาทำอย่างเต็มที่ ไม่ดีกว่าหรือ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-10-2006, 14:47 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 30-10-2006, 02:48 »

รัฐธรรมนูญ 2540 ไม่มีแล้วครับ...ล้มไปแล้ว...

เรากำลังใช้รัฐธรรมนูญ ( ชั่วคราว ) 2549

ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติอะไรไว้ไม่ใช่เหรอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-10-2006, 12:20 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #25 เมื่อ: 30-10-2006, 02:49 »

ขนาดห้ามนายกถือหุ้น มันยังมีซุกเลย
บันทึกการเข้า
มีคณา
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 463



« ตอบ #26 เมื่อ: 30-10-2006, 10:04 »

เว้นมานาน .......... ชาวธรรมศาสตร์ เพิ่งจะได้อธิการบดี ที่มีจิตวิญญาน ความเป็น "ธรรมศาสตร์" อย่างแท้จริงก็อ. สุรพล นิติไกรพจน์นี่แหละ จะเอาแบบคนเก่าๆเหรอ

ขอร้องน่าพี่ธง ......พอเหอะ

น้องเอง
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #27 เมื่อ: 30-10-2006, 10:08 »

เลียตูดทหาร คงไม่ใช่จิตวิญญาณธรรมศาสตร์มั้ง
บันทึกการเข้า
มดโฟร์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 122



« ตอบ #28 เมื่อ: 30-10-2006, 10:20 »

ยินดีๆ เมื่อก่อนเห้นเค้าด่ากันจังเอาสถาบันมาอ้าง คราวนี้เงียบกันจังเพราะตรงใจฉัน  อืมนะ    นึกถึงสมัยท่านทักสินยังอยู่ยังไงไม่รู้
เเบบเดียวกันเลย  แต่พลิกด้าน
บันทึกการเข้า

หลอกคนอื่นนะหลอกง่าย แต่หลอกตัวเองอะไม่มีทาง
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #29 เมื่อ: 30-10-2006, 10:42 »

นั่นซิ..อาจารย์สุรพลอยากรับใช้อำนาจที่มาจากการปล้นจี้ หรือ อยากเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยที่มีคำขวัญว่า 'เรารักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้เรารักประชาชน'

ไม่ใช่เป็นไส้เดือนแบบนั้น!!

บันทึกการเข้า
ชอบตะแบง
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45



« ตอบ #30 เมื่อ: 30-10-2006, 11:58 »

นายคนนี้ มีวีแววที่จะโดนนักศึกษาโดดชกเบ้าตาเป็นรายต่อไป 
บันทึกการเข้า

****THE ONLY EASY DAY WAS YESTERDAY****
มด 5.11
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 277



« ตอบ #31 เมื่อ: 30-10-2006, 12:13 »

เข้ามาดู ตาแก่ตะแบง ขำขำดีครับ อนาถ ลิ่วล้อไม่มาช่วยเลย
ไม่มีความเห็นอะไรเพิ่มเติม เห็นด้วยกับความในจดหมายเรียกร้อง
บันทึกการเข้า

อ้างจาก: คนไม่รักชาติ โกหกได้ กับคนไม่รักชาติด้วยกัน
คนไม่รักชาติ มันทำลายชาติ แต่มันแถ ว่ามันทำลายระบอบทักษิณ
คนไม่รักชาติ ทักษิณประจานพวกมัน มันแถ ว่าทักษิณประจานชาติ
คนไม่รักชาติ โกหกได้ เฉพาะกับคนไม่รักชาติด้วยกันเท่านั้น

Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #32 เมื่อ: 30-10-2006, 12:43 »

สุนัขรับใช้โดยสันดาน อย่าไปถามหาจิตสำนึกกับคนอย่างนี้เลยจะดีกว่า

พนันได้เลยว่า มันต้องหน้าด้านหน้าทน เกาะเก้าอี้ อธิการบ่ดี และเมมเบอร์สนช.ต่อไป

ด้วยความกระสันต์ อยากมีส่วนในอัปรียกรรม ครั้งนี้
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 30-10-2006, 12:52 »

รัฐประหารในระบบกฎหมายไทย

http://forum.serithai.net/index.php?topic=9389.0
บันทึกการเข้า

สี่หามสามแห่
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,460



« ตอบ #34 เมื่อ: 30-10-2006, 17:07 »

ไอ้ที่มาล่ารายชื่อในเว็บหน่ะ แค่เรื่อง Discredit กันมากกว่า หาทางล้ม กันมากกว่า

เช็คไม่เช็คหน่ะมันทำได้อยู่แล้ว ใครๆ ก็รู้

แต่จะทำทำไมในเว็บ ไปตั้งโต๊ะ เลยดีกว่า

จะได้ไม่ต้องมาทำแบบนี้ มัน อ.ต.ล.

บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #35 เมื่อ: 02-11-2006, 08:09 »

อะไปฟังเค้าคุยให้ฟังแล้ว
สุรพล นิติไกรพจน์

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5653&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

อันนี้ของฝ่ายตรงข้าม.. นึกว่าใคร
อาจารย์นักปรัชญานี่เอง

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5656&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
นายเกตุ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,289



« ตอบ #36 เมื่อ: 02-11-2006, 08:44 »

ในฐานะที่ผมเป็นประชาชนคนไทยที่เสียภาษีให้กับรัฐ และมธก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้อานิสงฆ์จากภาษีของผม

เพราะฉะนั้นผมจึงขอให้ อ.สุรพล เป็น ทั้ง สนช และอธิการบดี

ผมเรียกร้องอย่างนี้มั่งได้อะปล่าว?
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #37 เมื่อ: 02-11-2006, 14:32 »

“ถ้าเราเชื่อว่าจะผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้จริง เราต้องไปทำและพยายามทำให้ได้”

บทสัมภาษณ์ : ศาสตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์

อาจารย์มีความเห็นอย่างไรที่มีข้อเรียกร้องให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ โดยศิษย์เก่าและนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวนหนึ่งผ่านทาง
Website แห่งหนึ่ง

 
ผมได้ดูข้อเรียกร้องและรายชื่อตลอดจนความเห็นต่างๆ ของผู้ลงชื่อแล้ว แต่ก็ยังรออยู่
ว่าเมื่อไหร่จะมาพบหรือยื่นหนังสือ จะได้ถือโอกาสพูดคุยทำความเข้าใจกัน
ว่าเหตุผล
ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไรในเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่เห็นนัดมาพบ ก็ยังคงทราบจาก Website
เท่านั้น แต่ก็ถือกันว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในประชาคมธรรมศาสตร์ที่ต้องมีความเห็นใน
เรื่องการเมืองการปกครอง และมีแนวคิดที่แตกต่างกันไปในลักษณะอย่างนี้ ถ้าไม่มี
ปฏิกิริยาอะไรหรือทุกคนเห็นด้วยเหมือนกันไปหมด นั่นแหละจะเป็นเรื่องที่แปลกของ
ธรรมศาสตร์


รู้สึกประหลาดใจไหมที่มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ ๑๔ คน ได้รับแต่งตั้งให้เป็น
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่มีคนเรียกร้องให้อธิการบดีธรรมศาสตร์คนเดียว
ลาออก

 
ผมก็ไม่ประหลาดใจอะไรนะ เพราะเข้าใจอยู่แล้วว่าธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยทาง
การเมืองการปกครอง และเริ่มต้นมาอย่างนั้น ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก็ผูกพันอยู่กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและการเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคมมาตลอด
เพราะฉะนั้นตำแหน่งอธิการบดีธรรมศาสตร์ จึงมีที่อยู่เฉพาะของมันในบริบททางการเมือง
ของสังคมไทย พูดอย่างนี้ไมได้หมายความว่าดีเลิศหรือวิเศษกว่าอธิการบดีที่อื่นๆ แต่ผม
คิดว่าอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีพันธะและหน้าที่ต่อประชาคมธรรมศาสตร์ และ
ต่อการเมืองไทยที่หนักกว่าที่อื่นๆ และจะต้องตอบคำถามและถูกมองในเรื่องระบอบ
ประชาธิปไตยและจุดยืนทางการเมือง มากกว่าที่อื่น
คุณต้องไม่ลืมนะว่ามหาวิทยาลัย
แห่งนี้เมื่อเริ่มสถาปนาขึ้นเมื่อ ๗๒ ปี ที่แล้ว มีชื่อดั้งเดิมเรียกว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรม-
ศาสตร์และการเมือง และความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกือบทุกครั้งในประเทศนี้ มี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือคนของมหาวิทยาลัยนี้ ไปเกี่ยวข้องโดยตลอด นี่ก็คง
อธิบายตำแหน่งแห่งที่และ “ภาระต่อสังคม” ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่
บ้างตามสมควรว่า มันไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ การถูกเรียกร้องหรือถูกตรวจสอบ
ในเรื่องจุดยืนทางการเมืองของคนที่อยู่ตรงนี้ ก็คงต้องถือว่า เป็นเหตุการณ์ปกติ

 
ถ้าอย่างนั้น อาจารย์จะปฏิบัติตัวอย่างไรต่อข้อเสนอและการเรียกร้อง
 
ผมเห็นว่าข้อเรียกร้องในจดหมายเปิดผนึกที่ผมได้อ่านจาก Website ฉบับนี้ก็มีเหตุมีผล
และสามารถอธิบายข้อเสนอที่เรียกร้อง ให้ทำได้ แต่ก็ต้องเรียนด้วยว่าข้อเสนอ ความคิด
และแนวทางต่อเรื่องนี้ของผมเองก็มีอยู่ และก็เชื่อว่ามันก็มีเหตุผลที่ควรรับฟังเช่นกัน
นอกจากนั้น ก็มีข้อเสนอและความคิดของคนอื่นๆ ที่แจ้งมาให้ผมทราบทั้งทางจดหมาย
โทรศัพท์ และที่มาขอพบเป็นการส่วนตัว ซึ่งมีจุดยืนที่ตรงกันข้ามกับจดหมายเปิดผนึก
ฉบับนี้ก็มีอยู่มาก ผมฟังๆ เขาดูก็เห็นว่ามีเหตุมีผลรับฟังได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้มี
คนเอาไป Post ใน Website หรือไม่ได้มีการเรียกร้องให้มาลงชื่อด้วยเท่านั้น เพราะงั้น
ผมคิดว่าเรื่องสำคัญที่ควรให้ความสนใจก็คือ เหตุผลและคำอธิบายสำหรับจุดยืนของแต่
ละคน นี่เป็นสาเหตุที่ผมบอกกับนักข่าวที่มาถามผมว่า ผมยังไม่มีความเห็นอะไรในเรื่องนี้
แต่จะรอให้มีคนมายื่นจดหมายแล้วเราได้นั่งคุยกัน และแลกเปลี่ยนความเห็นและเหตุผล
ผมคิดว่าผมควรจะฟังเขาให้มากกว่าที่เขาเขียนมาในจดหมายสั้นๆ นั้น และในทางกลับกัน
เขาก็ควรจะได้มีโอกาสฟังเหตุผลและจุดยืนของผมด้วย ว่าฟังได้หรือไม่ได้ เพราะอะไร
ผมไม่คิดว่าการ Post ความเห็นใน Website ข้างเดียวตามที่บางคนอยากจะพูด แล้วไม่
ฟังใครอื่นเลยแม้แต่กระทั่ง คนที่เราไม่เห็นด้วยนั้น มันจะนำไปสู่การพัฒนาจิตวิญญาณ
แบบประชาธิปไตยหรือแม้แต่ทำให้เกิดความงอกงามทางปัญญาอะไรขึ้นมาได้ เพราะ
ฉะนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ผมรอให้ผู้ที่เรียกร้องมายื่นจดหมาย แล้วจะได้พบตัวและคุยกัน
เพื่อแลกเปลี่ยน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องปิดห้องคุยกันสองคนนะ จะมีนักข่าว จะมีใครมาฟังก็ยินดี
เพราะผมก็เข้าใจว่านี่เป็นประเด็นสาธารณะ ตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่เขาเรียกร้องให้ลาออกจากการเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติ ก็เป็นตำแหน่งสาธารณะ
เพราะเรื่องอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ระหว่างอธิการบดีกับนักศึกษาคนนั้นหรือคนนี้เป็น
การเฉพาะอยู่แล้ว 
 
จำนวนคนที่ลงชื่อและที่จะมายื่นจดหมายมีผลหรือมีความสำคัญไหม
 
ไม่ ผมคิดว่าจะลงชื่อมาสามคนหรือสามร้อยคนหรือสามพันคนก็มีน้ำหนักเท่ากันสำหรับผม
ความสำคัญขึ้นอยู่กับคำอธิบาย กับเหตุและผลของเรื่อง ที่จริงก็ไม่ต้องรอจนกระทั่งมีคน
มาลงชื่อมากๆ หรอก มาพบผมตอนนี้ก็ได้จะได้คุยกัน จะได้หารือ ถกเถียง เรื่องเหตุและผล
และเรื่องความเหมาะสมของการดำรงตำแหน่งทางการเมืองแบบนี้ของคนเป็นอธิการบดี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กันเสียให้ชัดเจน แต่นี่ผมห่วงก็มีแต่เพียงว่าถ้าเกิดมาหลายร้อย
หรือมาเป็นพัน ผมจะไม่มีที่ให้นั่งและไม่รู้ว่าจะอธิบายและแลกเปลี่ยนกับคนไหนดีเท่านั้น
ล่ะ แต่ผมเรียนว่าผมอยากให้หลายคนที่ลงชื่อจริงและให้เหตุผลที่ดีน่าฟัง เช่น อาจารย์
จอน หรืออาจารย์ธงชัย หรือคุณวัฒนชัย มาด้วยน่ะ เพราะผมเคารพในความคิดเห็นของ
คนเหล่านี้ ที่ Post ไว้ และคิดว่ามีเหตุมีผลอยู่ ก็เลยอยากจะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกัน
และกันในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้นด้วยว่าทำอย่างไรจึงจะดีที่สุดในสถานการณ์อย่างนี้
 
ในเชิงเนื้อหาของการเรียกร้อง อาจารย์มีข้อชี้แจงอะไรที่คิดว่าควรจะอธิบายหรือตอบ
สำหรับผู้เรียกร้องในตอนนี้บ้างไหม

 
ถ้าให้ตอบตอนนี้ก็เป็นการตอบผ่านสื่อหรือตอบผ่าน Website อยู่ดี มันไม่ได้มีโอกาส
ซักไซร้ไล่เรียงหรือแย้งหรือค้านกันได้ แต่ผมคิดว่าหลักใหญ่ๆ ที่ผมจะอธิบายจุดยืนของ
ผมในเรื่องนี้คงจะมีสัก ๓-๔ ประเด็นนี้คือ

ข้อแรก ผมไม่เห็นด้วยและคัดค้านการใช้กำลังทำรัฐประหาร ล้มล้างรัฐธรรมนูญและ
ระบอบประชาธิปไตย นี่เป็นจุดยืนที่ชัดเจนของผมมาโดยตลอด เชื่อหรือไม่เชื่อก็เป็น
อีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมคิดว่าตลอดชีวิตทางวิชาการ ๒๕ ปีของผม ผมได้พูด ได้เขียน และ
ได้เสนอ ความเห็นและจุดยืนของผมในแนวทางนี้มาตลอด ผมไม่คิดว่าคนจะเปลี่ยนกัน
ได้ชั่วข้ามคืน ถ้ากลับไปเปิดดูสิ่งที่ผมคิด เขียนและให้สัมภาษณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่มีอยู่
ในที่ต่างๆ ไม่น้อย ก็จะพบหลักฐานอย่างนี้ปรากฏอยู่ และถ้าเลือกได้ในวันนี้ ผมก็เลือกที่
จะให้ ไม่มีเหตุการณ์วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และให้กลไกของระบบซึ่งอาจพิกลพิการ
ไปบ้างค่อยๆ ปรับแก้ เยียวยาด้วยตัวมันเอง แต่คำถาม ที่ต้องถามต่อไปก็คือ วันนี้ วันที่
๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ และเรากลับไปเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตได้หรือไม่ และจะทำ
ให้ คปค. หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หายไป รัฐบาลและสภารักษาการที่มีอยู่
เมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๙ กลับมาได้หรือไม่ มีรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ฟื้นคืนกลับมาได้หรือ
ไม่ คุณก็รู้คำตอบอยู่แล้วว่าในชีวิตจริงมันคืออะไร
 
(แทรก) แต่ก็มีคนบอกว่า แม้ย้อนอดีตไม่ได้ แต่เราก็มีทางเลือกที่จะไม่ร่วมสังฆกรรม
หรือไปเกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนหรือเป็นพวกกับฝ่ายที่ทำรัฐประหารเพราะนั้นก็คือการ
สนับสนุนการใช้กำลังล้มล้างระบอบประชาธิปไตยโดยปริยาย

 
มันคงขึ้นอยู่กับสถานภาพของแต่ละคนในขณะนั้น ผมไม่ปฏิเสธว่าในสถานภาพของนัก
วิชาการหรือคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐ จะสามารถแสดงจุดยืน
ได้ดีกว่า ที่จะไม่เกี่ยวข้อง ไม่ยอมรับ เรียกร้องให้คืนระบอบประชาธิปไตย ยกเลิกกฎ
อัยการศึก แต่ผมถามว่า ถ้าสมมุติว่าข้อเรียกร้องเหล่านี้ ซึ่งผมเห็นด้วยนะ ว่าให้เลิกกฎ
อัยการศึกโดยเร็ว ยกเลิกคำสั่งห้ามชุมนุม ทางการเมือง ถ้ามันเป็นจริงแล้ว สเต็ปต่อไป
คืออะไร มันก็คือเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยและประชาชนมีส่วน
ร่วม สร้างโดยเร็ว ก็ต้องติดตามว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะมีมาได้อย่างไร ก็ต้องมีคนทำ
ยกร่าง จะไปเสกเป่าให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หายไป รัฐบาลคุณสุรยุทธ์หาย
ไป สนช. หายไป แล้วรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ฟื้นคืนชีพมาใหม่ มันทำได้ไหมล่ะ ผมว่าใน
ระดับหนึ่งเราต้องยอมรับความจริงว่า รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และระบอบการปกครองตาม
รัฐธรรมนูญนี้ถูกเลิกไปแล้วโดยการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการประหารรัฐ และประหารรัฐ-
ธรรมนูญโดยใช้กำลัง ถ้าจะให้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย อย่างที่เราเรียกร้อง
มันก็ต้องเขียนขึ้นใหม่ พิจารณายกร่างใหม่ ทีนี้ใครจะเป็นคนทำ? จะให้คณะรัฐประหาร
ไปยกร่างกันเองเพื่อที่จะเอามาด่ากันต่อว่า ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือ สืบทอดอำนาจ
เผด็จการหรือ แล้วจากนั้นก็มีการต่อสู้เรียกร้อง มีความขัดแย้งแล้วก็นำไปสู่ความแตก-
แยกในชาติอีก ผมคิดว่าคนที่เชื่อเรื่องต้องไม่ไปเกี่ยวข้อง ไม่ไปสนับสนุน ต้องคิดต่อต้าน
คณะรัฐประหารก็มีเหตุมีผลของเขา ผมเองก็มีความคิดอย่างนี้ แต่ถ้ามองประเทศชาติ
และมองสังคมไทยโดยรวม ผมคิดว่า ในสถานภาพของผมที่เป็นอยู่ทั้งในทางส่วนตัวที่
ผมเป็นนักวิชาการ ทางกฎหมายมหาชน และในสถานภาพของอธิการบดีมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ ซึ่งจะมากจะน้อยมันมีความเป็นสัญลักษณ์ของอะไร บางอย่างอยู่ เป็นเรื่อง
ที่ผมควรจะต้องเข้าไปทำอะไรเพื่อสังคมไทยในวันพรุ่งนี้ เพื่อให้มีกติกาที่ดีขึ้นบ้าง ตาม
กำลังความสามารถ ที่จะผลักดันได้ ผมก็เข้าไปทำ ก็มีเท่านั้น
 
แต่คนตั้งคำถามว่าอธิการบดีธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยประชาธิปไตย
ไม่ควรเอาสถาบันเข้าไปแปดเปื้อน และถึงเข้าไปก็ทำอะไรไม่ได้เท่าไหร่หรอก หรือว่าได้
ไม่คุ้มกับที่เสีย

 
ผมไม่ปฏิเสธหรอกว่าถึงแม้จะมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผมเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ
เป็นส่วนตัวเป็นชื่อนายสุรพล แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เป็นอธิการบดีธรรมศาสตร์และเวลา
ไปประชุมผมก็เป็นนายสุรพลซึ่งเป็นอธิการบดีธรรมศาสตร์ไปประชุมนั่นเอง แต่ขอเรียน
ว่า เมื่อวานนี้ (๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙) มีประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมีเรื่องที่
ให้สภามหาวิทยาลัยเสนอชื่อตัวแทนไปเป็นสมาชิก สมัชชาแห่งชาติ ตามที่สกอ. แจ้ง
มาเป็นหนังสือ และมีคนตั้งประเด็นในเรื่องการเข้าร่วมสังฆกรรมกับคณะรัฐประหารหรือ
รัฐบาลที่คณะรัฐประหารแต่งตั้ง ก็มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยอภิปรายเรื่องนี้หลายท่าน
ผมไม่อ้างถึงสิ่งที่กรรมการคนอื่นอภิปราย แต่ผมขอเรียนเฉพาะสิ่งที่ผมอภิปราย ในสภา
มหาวิทยาลัยว่า

ประเด็นในเรื่องความเกี่ยวข้องกับคณะรัฐประหารหรือรัฐบาลคณะรัฐประหารแต่งตั้งนั้น
มันอาจจะอธิบายง่าย สำหรับนักวิชาการ คนหนึ่งหรือประชาชนคนหนึ่ง แต่เมื่อใดที่เรา
เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรของรัฐหรือมีภารกิจหน้าที่ที่ต้องทำตามกฎหมาย ความซับซ้อน
ของเรื่องก็จะมีมากขึ้น ผมตั้งคำถามเพื่อให้เห็นประเด็นในสภามหาวิทยาลัยว่าการไม่ยอม
รับคณะรัฐประหารจะรวมไปถึงการปฎิเสธ สภานิติบัญญัติที่คณะรัฐประหารตั้งหรือรัฐบาล
ที่มาจากคณะรัฐประหารด้วยหรือไม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะปฏิเสธการรัฐประหาร
โดยการไม่ของบประมาณประจำปี 2550 ไปยังรัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร
และจะ
ไม่เสนอร่างกฎหมายออกนอกระบบที่ยังค้างอยู่ไปให้ สภานิติบัญญัติที่มาจากคณะ
รัฐประหารด้วยใช่ไหม หรือเราจะปฏิเสธรัฐมนตรีศึกษาหรือนายกที่มาจากการรัฐประหาร
และไม่ทำตามที่เขาสั่ง ไม่ของบประมาณ ไม่ขออัตรากำลัง ไม่ไปยุ่งเกี่ยวด้วยทั้งหมด
เลย ได้หรือ ถ้าเราไม่ปฎิเสธรัฐบาล ถามว่าเราจะปฏิเสธ สภาไหม ออกกฎหมายอะไร
ออกมาเราจะไม่ปฏิบัติใช่ไหม ในสภามหาวิทยาลัยก็ฟังประเด็นเหล่านี้กัน แล้วก็ไม่มีใคร
อภิปราย แย้งหรือคัดค้านอะไร เพราะผมเข้าใจว่า สภามหาวิทยาลัยก็ตระหนักถึงบทบาท
และภารกิจในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบองค์กรของรัฐ อย่างที่มหาวิทยาลัยมีสถานภาพอยู่

ประเด็นเรื่องของเรื่องจริงๆ ที่ผมอยากจะบอกก็คือว่า ผมแยกระหว่างสิ่งที่มันเกิดขึ้นและ
แก้ไขอะไรไม่ได้โดยที่เราไม่ได้เห็นด้วย กับมัน - กับผลที่ตามมาซึ่งเป็นปัจจุบัน และอยู่
ในวิสัยที่เราจะดัดแปลงหรือไปผลักดันให้มันออกมาในทางที่ดี
และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เรา
ไม่ชอบหรือเห็นว่า ไม่ถูกต้องให้มีโอกาสเกิดขึ้นมาได้อีก

สำหรับประเด็นที่ว่า เข้าไปแล้วจะทำอะไรได้ไหม และจะได้อะไรคุ้มกับการเอาตำแหน่ง
อธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเกี่ยวข้องด้วยไหม ผมขอเรียนว่าผมเชื่อโดย
สุจริต หรือจะพูดให้เท่หน่อยก็ขอบอกว่า ผมเชื่อในมโนสำนึกของผมว่าทั้งในฐานะ นัก
กฎหมายมหาชน และทั้งในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีน้ำหนักและ
ศักยภาพที่จะผลักดันเพื่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงได้ไม่มากก็น้อย ไปให้ไปในทิศทาง
ที่ผมยึดถือและเชื่อมั่นได้ ผมเป็นพวกชอบอ่านนิยายกำลังภายในและเชื่อที่โก้วเล้งเขียน
ไว้ในหลายเรื่องว่า “ถ้าหากเราไม่ลงนรก แล้วผู้ใดจะลงนรก“ ถ้าคนที่รู้เรื่อง เข้าใจการ-
เมือง และพูดอะไรก็มีคนฟังอยู่บ้าง อย่างที่ผมและเพื่อนนักวิชาการหลายคนเป็นอยู่ ไม่
เข้าไปผลักดัน ไม่เข้าไปถากถางเส้นทางของระบบปกครองในระบอบใหม่ ที่กำลังจะเกิด
ขึ้น แล้วใครจะเข้าไปทำ เราจะไว้วางใจ ให้คณะทหารหรือคนที่ทำงาน ให้ทหารมาโดย
ตลอด เป็นคนกำหนดกติกา การปกครอง เป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญ เป็นคนออกกฎหมาย
แต่ฝ่ายเดียวอย่างนั้นหรือ ผมว่าสิ่งสุดท้าย ที่จะใช้อธิบายกับผู้คนหลัง จากยกตัวอย่าง
และอธิบายเหตุผลต่างๆ ทั้งหมดแล้วก็คือผมจะบอกว่า ผมสุจริตใจและเชื่อมั่นในมโนสำนึก
ของผมที่จะคอยเตือน ให้ทำในสิ่งที่ถูกและคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย แม้ว่าจะเห็น
ว่าการวางเฉย การไม่ร่วมสังฆกรรมใดๆ ทั้งสิ้น อย่างที่เพื่อนนักวิชาการหลายคนทำ จะ
ทำให้เราปลอดภัย สถานภาพของเราไม่ถูกกระทบกระเทือน และไม่ถูกใครมาด่า จะเป็น
ทางที่ง่ายที่สุด ในการรักษาภาพลักษณ์ รักษาหน้าตาของตัวเอง และพูดได้ว่าเราได้รักษา
หลักการที่น่าเชื่อไว้ก็ตาม
 
เมื่อกี้อาจารย์พูดถึงเหตุผลและคำชี้แจง เพิ่งพูดไปได้ข้อเดียว มีอะไรที่จะใช้อธิบายจุดยืน
ของอาจารย์อีกบ้างไหม

 
ประเด็นแรกเมื่อกี้ผมพูดว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร แต่ความจริงที่ต้องยอมรับ
คือมันเกิดขึ้นแล้วและผ่านไปแล้ว โดยแก้ไขอะไรในอดีตไม่ได้

ข้อที่สอง ที่ผมอยากชี้แจงก็คือ เมื่อการรัฐประหารเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องมีกติกาการ
ปกครองใหม่ ถ้าเราเชื่อว่าเราจะผลักดันให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงได้จริง เราก็ต้อง
ไปทำและพยายามทำให้ได้ ผมขอเรียนว่าหลังรัฐประหาร ๑ สัปดาห์ คือเมื่อ ๒๕
กันยายน ๒๕๔๙ ผมได้รับการติดต่อจากนักกฎหมายที่กำลังยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
ชั่วคราวที่ใช้อยู่นี้ ให้ไปช่วยดูร่างรัฐธรรมนูญที่ยกร่างเบื้องต้นเสร็จแล้ว ที่สำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา ผมก็ตัดสินใจไป โดยความเชื่ออย่างที่ว่า และเมื่อเข้าไปก็ได้
เสนอความเห็นตามแนวทางที่ผมเชื่อ หลายเรื่อง เช่น การตัดบทบัญญัติทำนองเดียว
กับมาตรา ๑๗ ของรัฐธรรมนูญการปกครองสมัยจอมพลสฤษดิ์ ที่ให้อำนาจเกือบจะ
เด็ดขาดแก่คณะปฏิวัติ เรื่องการห้ามไม่ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
รวมตลอดไปถึงคณะรัฐประหารหรือ คปค. เข้ามามีบทบาททางการเมือง ในรัฐธรรมนูญ
ถาวรต่อไปอีก โดยห้ามมิให้มาสมัคร สส. หรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เรื่องการ
กำหนดโครงสร้างของคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญซึ่งผมเสนอให้นำตุลาการในศาลปกครอง
สูงสุด เข้าไปร่วมกับผู้พิพากษา ศาลฎีกาด้วยเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องหลัก ๆ ซึ่งพอเสนอเข้า
ไป ข้อเสนอเหล่านี้ก็ได้รับการยอมรับ และกำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มของนัก
กฎหมายที่มาช่วยกันดูตัวร่าง แล้วพอเสนอคณะรัฐประหาร และอธิบายเหตุผลในเชิง
หลักการ เขาก็ยอมให้กำหนด อย่างนี้ได้ แล้วหลายกรณีก็ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับ
ชั่วคราวที่ใช้บังคับอยู่ นี่ก็เป็นสิ่ง ที่ทำให้ผมเห็นว่ามันมีโอกาสและ มีทิศทางในการ
ผลักดันสิ่งที่เราเชื่อให้เป็นจริงได้ และเราจะทำอะไรได้ตามสมควรในการช่วยกันสร้าง
สังคมไทย ให้มีความเป็น ประชาธิปไตยขึ้นได้ และปรากฎการณ์นี้ก็ทำให้คิดไปได้ว่า
คณะรัฐประหาร ซึ่งกระทำรัฐประหารด้วยเหตุผลความจำเป็นใดก็ตาม ที่ผมไม่ทราบ
และไม่เห็นด้วยนั้นไม่ได้คิดไปในทางที่อยากจะมีอำนาจ หรือสืบทอดอำนาจของตัวเอง
ต่อไป อันนี้ผมย้ำว่าเป็น ความเชื่อส่วนตัว ของผมเท่านั้น และทำให้ผมรู้สึกว่ามันมีความ
เป็นไปได้ในการที่จะเข้าไปผลักดันให้เกิดอะไรบางอย่างได้ ผมก็เข้าไปทำก็เท่านั้นเอง

ข้อที่สาม ที่ดูเหมือนไม่ใช่ประเด็นสำคัญมากนัก แต่เข้าใจว่าต้องชี้แจงด้วยก็คือข้อที่ว่า
การไปทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติ ทำให้ผมทำงานให้ธรรมศาสตร์ได้น้อยลงและ
ผิดไปจากพันธะที่ผมมีต่อมหาวิทยาลัยเมื่อเสนอตัวมาทำหน้าที่อธิการบดี

ข้อนี้ผมเรียนว่าการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติคงทำให้ผมต้องมีภาระมากขึ้น แต่ผมไม่
คิดว่าจะเป็นปัญหาต่อการทำงานในฐานะ อธิการบดี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะ
ผมคงต้องทุ่มเทกับการทำงานให้มากขึ้น ทุกวันนี้หลาย ๆวัน ผมก็อยู่มหาวิทยาลัยถึง
ทุ่มสองทุ่ม และมาทำงาน ทุกวันรวมทั้งเสาร์หรืออาทิตย์ด้วยอยู่แล้ว ก็คงต้องทำอย่าง
นี้ต่อไป งานบริหารมหาวิทยาลัยเป็นงานที่หนัก และถ้าอยากจะบริหารมหาวิทยาลัยให้
ดี อย่างที่ผมเชื่อว่าผมกำลังทำอยู่ ก็ต้องทำงานให้หนักมากขึ้น แต่นี่คือสิ่งที่ผมเสนอตัว
และอาสาเข้ามาทำเพื่อจะให้มหาวิทยาลัยนี้ดีขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อผมไปรับทำอะไรเพิ่ม
ขึ้นอีกก็ต้องแน่ใจว่า ภารกิจหลักของเรา ไม่กระทบกระเทือน ผมยืนยันว่างานบริหาร
มหาวิทยาลัยจะเป็นไป ได้ด้วยดีอย่างที่ผมได้ทำมาตลอดสองปีเศษที่ผ่านมา ในทาง
ตรงกันข้าม หากผมไปเสนอตัวรับเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อย่างที่มีเพื่อน
สมาชิกหลายคนเสนอและสนับสนุนต่างหาก ที่ผมคิดว่าจะทำให้งานในตำแหน่ง
อธิการบดีกระทบ และในกรณีเช่นนั้น ผมคงต้องพิจารณาลาออกจากการเป็นอธิการบดี
ผมเรียนกว่าผมมีความมั่นใจว่า วาระการปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ของผมซึ่งยังเหลืออยู่อีกไม่ถึงหนึ่งปีนี้ จะไม่มีการปฏิบัติงานใดได้รับผลกกระทบกระเทือน
จากการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแน่นอนครับ
 
สุดท้าย อาจารย์จะตอบอย่างไรกับความเห็นที่ว่า อาจารย์เอาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของ
ธรรมศาสตร์ไปแปดเปื้อนกับ การรัฐประหาร

 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่ละคนมีบทบาทและระยะห่างจากการเมืองมาก
น้อยต่างกันตามสถานการณ์ทางการเมือง การปกครอง ในยุคสมัยนั้น ๆ สิ่งที่ผมเชื่อก็
คือทุกท่านได้ใช้วิจารณญาณและการตัดสินใจอย่างรอบคอบในยุคสมัยของแต่ละท่าน
และสุดท้าย ประวัติศาสตร์ก็จะตัดสินว่าแต่ละคนเป็นอย่างไร ผมคิดว่าผมมีเหตุและมีผล
มีความเชื่อในสิ่งที่ผมยึดถือและสุจริตใจ ผมก็ทำตามสิ่งที่ผมเชื่อ แล้ววันข้างหน้าคน
ธรรมศาสตร์หรือสังคมไทยโดยรวมก็จะตัดสินและผมก็พร้อมที่จะยอมรับผล ที่มาจาก
การตัดสินใจของผมเอง ผมคิดว่า ผมรับฟังความคิดเห็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์และเหตุผล
ของคนอื่น แต่ผมก็จะตัดสินใจเอง และพร้อมที่จะรับผลของการตัดสินใจนั้น ผมหวังว่า
คนธรรมศาสตร์ก็จะรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลของผม ตลอดทั้งเคารพในสิทธิ ที่จะ
ตัดสินใจของผมเช่นกัน

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ http://e-learning.tu.ac.th/oth/webboard/webboard.php?Category=atu
โดย งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๙

http://www.tu.ac.th/news/2006/11/01-rect.htm#rector
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #38 เมื่อ: 02-11-2006, 15:08 »

พวกวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ที่ไปช่วยกันสร้างอาวุธ ให้มนุษย์ทำลายล้างกัน

มันยังไม่สำนึกเลย มันคิดแต่เพียงว่า มันเป็นความภูมิใจที่ได้มีส่วนในการสร้าง นวตกรรม

มันก็เหมือนกับ หมอนี่แหละที่เป็นได้แค่ ฝุ่นละอองนักวิชาการ ....
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #39 เมื่อ: 02-11-2006, 15:22 »

“เราจะได้เรียนรู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ครรลองของประชาธิปไตย
คืออะไร นี่คือสิ่งที่ประชาคมจะได้มากกว่า”


ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวคิดหลักในการคัดค้านการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติของอาจารย์สุรพล นิติไกรพจน์
คืออะไร

ผมคิดว่าประเด็นนี้ต้องแยกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกคือสถานะของนักวิชาการและสถาบันทางวิชาการเองว่าต้องมีความชัดเจนใน
แง่ของความเป็นกลางและความเหมาะสม ที่สถาบันทางวิชาการจะเข้าไปเกี่ยวข้อง
โดยพันธกิจแล้ว สถาบันทางวิชาการเป็นแหล่งความรู้ ดังนั้นหน้าที่หลักคือการให้การ
บริการด้านศึกษาแก่สังคม ดังนั้น หลักการเรื่องความเป็นกลางทางการเมืองจึงเป็น
พื้นฐานที่สำคัญที่สถาบันทางวิชาการจะแสดงบทบาทของตัวเองอย่างเต็มที่ ทั้งการ
ให้การเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ และเป็นเวทีกลางของการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง
กันบนครรลองประชาธิปไตย โดยปราศจากการครอบงำ หรือชี้นำทางการเมืองผ่านผู้
บริหารมหาวิทยาลัย

ส่วนที่สอง สถานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระบอบประชาธิปไตย เป็นที่ทราบ
กันดีอยู่แล้ว ทั้งมหาวิทยาลัยเองหรือผู้บริหารย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องเข้าไปยุ่ง
เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม บทบาทของประชาคม
ธรรมศาสตร์ควรให้การสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี แต่ใน
กรณีการรัฐประหารที่เกิดขึ้นมันแตกต่างกัน

ปัจจุบันเราไม่ได้มีชีวิตอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ประเทศไทยมีรัฐบาลนอกรัฐธรรมนูญ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ทั้งหมดมา
จากการแต่งตั้งที่มีตรายางของบุคคลเร้นรัฐรับรองเท่านั้น ดังนั้น สถานภาพของอาจารย์
สุรพลที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ จึงไม่ได้เป็นการสนับสนุนระบอบ
ประชาธิปไตย หากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการรับรองความชอบธรรมของระบบใหม่ที่
จะสถาปนาขึ้น ภายใต้ชื่อ ประชาธิปไตย แต่ไม่มีรากฐานหรือรากเหง้าทางประชาธิปไตย
เลย การ restore a political order เป็นสิ่งสำคัญ แต่มันไม่น่าใช่วิธีการนี้

นอกจากนี้ ตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นตำแหน่งที่ทรงเกียรติ มี
สถานภาพทางสังคมและบทบาททางการเมืองที่สำคัญ โดยเฉพาะทรรศนะและจุดยืน
ทางการเมืองที่สังคมให้ความสนใจและใส่ใจ ยิ่งในสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่
ที่องค์กรทางเมืองไม่ได้มาจากกระบวนการในระบอบประชาธิปไตย

อาจารย์สุรพลในฐานะที่เป็นอธิการบดีควรวางบทบาทที่เหมาะสมกว่านี้ คือ เลือกเอา
อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นอธิการบดี หรือสมาชิก สนช. เพราะว่า อาจารย์สุรพลคงไม่ไดั
เป็นเพียงแค่นายสุรพล นิติไกรพจน์ พลเมืองคนหนึ่งของรัฐไทยเท่านั้น หากรวมไปถึง
หัวโขนที่สวมอยู่ ในนามของ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเลี่ยงไม่ได้ที่จะมี
การทับซ้อนของตำแหน่งหน้าที่และสถานภาพส่วนบุคคล

ด้วยแนวคิดเดียวกัน จะมีการนำไปเรียกร้องให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ลาออก
ด้วยไหม

ใช่ครับ สถาบันทางวิชาการต้องเป็นอิสระจากขั้วอำนาจการเมือง ไม่ใช่อิงอยู่กับ
อำนาจทางการเมือง ถ้าคุณเลือกอยู่กับการเมือง ความผันผวนของสถาบันและบทบาท
ทางสังคมของสถาบันจะขาดการยอมรับ นั่นจะส่งผลระยะยาวต่อสถาบันทางวิชาการที่
ไม่สามารถทำหน้าที่ชี้นำ หรือ วิพากษ์วิจารณ์สังคมได้ ตัวอย่างก็มีให้เห็นอยู่แล้วใน
กรณีของอาจารย์สุรพลเอง ที่เสนอเรื่อง ม.7 ที่เป็นข้อถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งที่มีต่อ
อาจารย์สุรพล ที่ไม่ได้เป็นเพียงทรรศนะส่วนบุคคล หากเลยเถิดไปถึงจุดยืนของมหา-
วิทยาลัยธรรมศาสตร์ การที่มหาวิทยาลัยถูกวิจารณ์เช่นนี้ ก็เพราะว่า อาจารย์สุรพลแยก
ไม่ขาดกับตัวองค์กร ซึ่งก็คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์สุรพลได้รับบทเรียนที่
สำคัญมาแล้ว เมื่อตอนต้นปี ที่กลุ่มจัดตั้งที่เรียกว่าคาราวานคนจนเดินทางมายังมหา-
วิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนความเข้าใจต่อระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในเวลานั้น
ภาพที่ปรากฏต่อสาธารณชน มิใช่แต่ความแตกต่างทางทรรศนะทางการเมืองของอาจารย์
สุรพลกับบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับอาจารย์ หากรวมไปถึงจุดยืนของมหาวิทยาลัย คืออะไร
กันแน่ จนมีการล้อว่า ธรรมศาสตร์ที่มีอธิการบดีที่เป็นศาสตราจารย์ แต่กลับสอบตก ม.7
ดังนั้น ความเป็นอิสระของสถาบัน และการไม่อิงกับขั้วอำนาจทางการเมืองจึงมีความสำคัญ
อย่างมากต่อการยอมรับในบทบาทสถานภาพ และพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่มีบทบาท
ทั้งการให้การศึกษา ความรู้ และร่วมชี้นำทิศทางของสังคมด้วย

ถ้าเป็นอาจารย์ท่านอื่นในธรรมศาสตร์ จะคัดค้านไหม
เป็นเรื่องของสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของบุคคล ที่จะเลือกข้างหรือมีจุดยืนทาง
การเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมเคารพและยอมรับ แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในด้าน
ความคิดความเชื่อทางการเมือง นี่เป็นครรลองพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย

กรณีของอาจารย์สุรพลมันเป็นการทับซ้อนจุดยืนทางการเมืองส่วนบุคคล กับสถานภาพ
ผู้บริหารของ มหาวิทยาลัย
ตราบใดก็ตามที่คุณมีตำแหน่งผู้บริหารของมหาวิทยาลัย
หัวโขนที่สวมอยู่สะท้อนถึงบทบาทที่เด่นชัด สิ่งนี้เป็นเรื่องเดียวกันกับกรณีที่ตัวแทน
องค์กรสื่อมวลชนเข้าไปนั่งในสภา ในแง่ความชัดเจนทางจุดยืนทางการเมือง บุคคลกับ
องค์กรเป็นคนละส่วนกัน ผมแสดงความนับถือและเคารพในการตัดสินใจในการลาออก
จากการเป็นผู้นำองค์กรสื่อเพื่อเป็นสมาชิก สนช. ผมเชื่อว่าอาจารย์สุรพลก็น่าจะทำ
เช่นนั้น เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีต่อคนในประชาคม ผมไม่ได้ไล่อาจารย์สุรพลนะครับ
แต่ต้องการเห็นความกล้าหาญอาจารย์ต่อการใช้วิจารญาณอันความเหมาะสมว่า
ตนเองสมควรที่จะทำหน้าที่ในบทบาทไหน

เพราะฉะนั้นเหตุผลที่อาจารย์สุรพลไม่ควรเข้าไปเป็น สนช. คือ “นักวิชาการต้องดำรง
ความเป็นกลาง” ไม่ใช่ว่า “การเข้าไปสนับสนุนสภาที่มาจากคณะรัฐประหารเป็นเรื่องผิด”
ใช่ไหม

ถ้าคุณไม่ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี การที่คุณเข้าไปเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ
สำหรับผมไม่มีปัญหาอันใด
ยังคงให้ความเคารพอาจารย์ในฐานะอาจารย์ นักวิชาการ
นักกฎหมายมหาชน และอดีตอธิการบดี

จะเห็นว่าคนหลายคนที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยก็เข้าไปร่วมใน สนช. ด้วย
มันเป็นความไม่ชัดเจนของความเข้าใจในปัญหาภายในระบอบประชาธิปไตย นับตั้งแต่
มายาคติใหญ่คือเรื่องระบอบทักษิณ ผมไม่คิดว่ามันมีสิ่งที่เรียกว่าระบอบทักษิณ เป็นที่
ทราบกันอย่างดีว่า การบริหารงานรัฐบาลทักษิณสร้างปัญหาแก่ระบอบประชาธิปไตย
โดยเฉพาะเรื่องการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ที่ขั้นตอน กระบวนการ และองค์กรอิสระ
ไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล และปัญหาเรื่องทางจริยศาสตร์
กับจรรยาบรรณของนักการเมือง ซึ่งทำให้เกิดการยอมรับไม่ได้ของคนชั้นกลาง ปัญญาชน
และนักวิชาการ นี่คือสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข แต่ไม่ใช่การทำรัฐประหาร เหมือนคุณรู้
ว่าบ้านมีปัญหา ก็หาทางแก้ไขกัน ไม่ใช่เผาบ้านทิ้ง แล้วสร้างบ้านใหม่ เริ่มต้นใหม่ด้วย
ระบอบใหม่ เป็นการคิดสั้นกับประชาธิปไตยมากไปหน่อย

ผมอาจจะไม่พอใจกับแนวทางในการบริหารประเทศในหลายๆ ด้าน ของทักษิณ แต่
ทั้งหมดก็เข้าใจได้ เพราะแนวโน้มของกระแสโลกเป็นเช่นนั้น สิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำ
คือปรับตัวตามกระแสโลก สิ่งนี้เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ ก่อนหน้าเรา เพียงแต่ว่าเราไม่เห็น
กระบวนการที่เป็นปัญหา และทางออกของปัญหา ทักษิณไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญที่สุด
ของระบอบประชาธิปไตย ปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมไทยในระบอบประชาธิปไตย คือ
เราไม่มีทางเลือกที่แท้จริงที่สามารถเลือกได้ จากแนวทางการทำงานของรัฐบาลทักษิณ

และพรรคไทยรักไทย ดังนั้น เมื่อมีคนเสนอทางเลือก และสามารถชักจูงความคิดของ
ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตร หรือสื่อบางสื่อ มันทำให้เกิดการยอมรับกับทาง
เลือกในส่วนนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกระบบ เพื่อมาจัดการกับระบอบประชาธิปไตย นี่คือ
ปัญหาที่คนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่สามารถแยกแยะได้ ระหว่างปัญหาภายในระบบ
ที่ต้องแก้ไขด้วยกลไก กระบวนการของระบบ และปัญหาการคุกคามระบอบประชาธิปไตย

คาดหวังอะไรจากการรณรงค์ครั้งนี้
ผมไม่คิดว่าอาจารย์สุรพลจะลาออกจากตำแหน่งอย่างเด็ดขาด! แต่บรรยากาศและ
ความรู้ความเข้าใจในสังคมจะมีมากขึ้น คนจะเข้าใจบทบาทและสถานภาพของตัวเอง
ในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาคมในธรรมศาสตร์จะได้บทเรียนจากกิจกรรมนี้
ความสำเร็จของการรณรงค์ครั้งนี้คงไม่อยู่ที่การลาออก การลาออกเป็นวิจารณญาณ
ส่วนบุคคล เป็นเรื่องทางจรรยาบรรณ จริยธรรม และระดับคุณธรรมของอาจารย์สุรพลเอง
สิ่งนี้สอนกันไม่ได้ แต่เรียนรู้ได้ แต่สำหรับสังคม เราจะได้เรียนรู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร
ครรลองของประชาธิปไตยคืออะไร
นี่คือสิ่งที่ประชาคมจะได้มากกว่า

รู้สึกอย่างไรที่มีคนเรียกการรณรงค์ครั้งนี้ว่า “ศิษย์ล้างครู”
ผมไม่ได้คิดว่ากำลังล้างครู เรายังให้ความเคารพอาจารย์สุรพลในฐานะอาจารย์และ นัก
วิชาการคนหนึ่ง แต่เวลาเราพูดถึงทรรศนะทางการเมือง มันเป็นคนละสิ่งกัน อย่าลืมว่า
สิ่งที่อาจารย์สุรพลทำในวันนี้ อาจารย์สุรพลกำลังประกาศจุดยืนทางการเมืองของตนเอง
ในฐานะปัจเจกชนคนธรรมดาหนึ่งในสังคม ซึ่งเหมือนกับทุกๆ คนในสังคม ไม่ใช่ในฐานะ
ปรมาจารย์ที่ทุกคนต้องกราบไหว้หรือแตะต้องไม่ได้ หรืออยู่ห่างจากเทวดาแค่คืบเดียว

คำว่า “ศิษย์ล้างครู” คือการไม่ให้ความเคารพ ไม่ให้เกียรติ การไม่ยอมรับในศักยภาพ
และความสามารถของอาจารย์ แต่การวิพากษ์วิจารณ์ไม่ใช่การล้างครู หรือการด่าทอ
ผู้อื่น เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เป็น กิจกรรมทางปัญญาที่อยู่บนพื้นฐานทางเหตุผล
ปัญญา และการแลกเปลี่ยนทรรศนะที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง รวมทั้งชี้ให้เห็นข้อเด่น
หรือข้อด้อยเพื่อนำไปปรับปรุง และพื้นฐานที่รองรับการวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดขึ้นได้จริง
คือ มิตรภาพ

สิ่งที่น่าตกใจคือ การที่คนธรรมศาสตร์ค่อนข้างที่จะเพิกเฉยต่อประเด็นปัญหาพื้นฐาน
อันสำคัญของธรรมศาสตร์ นี่คือโอกาสที่ดีที่จะกลับมาตรวจสอบคนใน โดยเฉพาะตัว
ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เราวิพากษ์คนอื่นอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่เคยวิพากษ์คนของเราเอง
โดยเฉพาะเรื่องบทบาทและความแน่ชัดในจุดยืนทางการเมือง นี่คือบทเรียนที่สำคัญ
ของประชาคมธรรมศาสตร์ และหวังว่าจะขยายไปถึงการเรียนรู้ของสังคมประชาธิปไตย
ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้วย การสั่งสมประสบการณ์ประชาธิปไตยคือการเรียนรู้ความ
แตกต่างหลากหลายทางความคิดจะทำให้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความ
เสมอภาคขั้นพื้นฐานของทุกคน


http://www.politic.tjanews.org/index.php?option=com_content&task=view&id=208&Itemid=27
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-11-2006, 16:01 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #40 เมื่อ: 02-11-2006, 16:11 »

สุรพล : ถ้าหากเราไม่ลงนรก แล้วผู้ใดจะลงนรก พวกเรา มธ ไปลุยนรกกันเถอะ!!!
นักปรัชญา : ธรรมศาสตร์ไม่อยากลงนรก เราอยากอยู่บนสวรรค์...

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
สี่หามสามแห่
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,460



« ตอบ #41 เมื่อ: 02-11-2006, 19:16 »

พวกวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ที่ไปช่วยกันสร้างอาวุธ ให้มนุษย์ทำลายล้างกัน

มันยังไม่สำนึกเลย มันคิดแต่เพียงว่า มันเป็นความภูมิใจที่ได้มีส่วนในการสร้าง นวตกรรม

มันก็เหมือนกับ หมอนี่แหละที่เป็นได้แค่ ฝุ่นละอองนักวิชาการ ....


อ๊ะๆ อัลเฟรด โนเบล นี่คิด TNT  นะจ๊ะ สำนึกผิด ก็เลยมอบเงินมาสร้างเป็น รางวัลโนเบล ไง

ไอน์สไตน์ ก็เคยพูดหลังจาก ทิ้งบอมบ์ ที่ ฮิโรชิม่า  และ นางาซากิ ว่า ถ้ารู้ว่าจะเอาไปฆ่าคนขนาดนี้ จะไม่สร้าง

และตอนหลังก็เป็นผู้ต่อต้านสงครามนะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #42 เมื่อ: 02-11-2006, 19:26 »

พวกวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ที่ไปช่วยกันสร้างอาวุธ ให้มนุษย์ทำลายล้างกัน

มันยังไม่สำนึกเลย มันคิดแต่เพียงว่า มันเป็นความภูมิใจที่ได้มีส่วนในการสร้าง นวตกรรม

มันก็เหมือนกับ หมอนี่แหละที่เป็นได้แค่ ฝุ่นละอองนักวิชาการ ....

ช่างตีดาบกับโจรที่ใช้ดาบฆ่าคน อย่างไหนมันเลวล่ะครับ
บันทึกการเข้า
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 03-11-2006, 11:51 »

พวกวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ที่ไปช่วยกันสร้างอาวุธ ให้มนุษย์ทำลายล้างกัน

มันยังไม่สำนึกเลย มันคิดแต่เพียงว่า มันเป็นความภูมิใจที่ได้มีส่วนในการสร้าง นวตกรรม

มันก็เหมือนกับ หมอนี่แหละที่เป็นได้แค่ ฝุ่นละอองนักวิชาการ ....

ช่างตีดาบกับโจรที่ใช้ดาบฆ่าคน อย่างไหนมันเลวล่ะครับ


คุณไปตั้งคำถามแบบนี้ แล้วเขาจะตอบได้เหรอ คุณก็นะน่าจะรู้ว่าถามอะไร ถามใคร

อิอิ
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
หน้า: [1]
    กระโดดไป: