ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 22:54
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  “ยา...ราคา 5 บาท 10 บาทก็มีราคา” 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
“ยา...ราคา 5 บาท 10 บาทก็มีราคา”  (อ่าน 2521 ครั้ง)
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« เมื่อ: 27-10-2006, 09:21 »

เลิก 30 บาททุกโรค หมอว่ายิ่งไปกันใหญ่
 
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ รัฐจะให้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆเลย ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กลับมองรัฐบาลกำลังหลงประเด็น

30 บาท เป็นโครงการรัฐสวัสดิการ ต่างกันเพียง 30 บาทเป็นการจ่ายร่วม การเก็บ 30 บาท มีประโยชน์ตรงที่ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการสุขภาพโดยใช่เหตุ เมื่อได้ยา ยามีราคาก็รู้สึกหวงแหน

“อะไรๆก็ฟรีไปหมด คนก็จะไปใช้บริการแบบตามใจ”

ศ.นพ.สุทธิชัย บอกว่า โครงการ 30 บาทที่มีอยู่ก็พยายามพุ่งเป้าให้บริการคนยากจนจริงๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 30 บาทอยู่แล้ว อีกจำนวนหนึ่งพอจะจ่าย 30 บาทได้ก็ช่วยไปด้วย นี่คือรัฐสวัสดิการ

ในต่างประเทศโครงการบริการสุขภาพเก็บเงิน 30 บาทก็มี ประเทศอังกฤษ เคยไม่เก็บเลย ระยะยาวก็มีปัญหาตามมา จนต้องเรียกเก็บ 1 ปอนด์ เพื่อให้ดูว่า การบริการสุขภาพมีค่า จะไปรักษา รับยามาแล้วคนไข้ก็รู้สึกชั่งใจ ไม่ทิ้งๆขว้างๆ

“ยา...ราคา 5 บาท 10 บาทก็มีราคา” ศ.นพ.สุทธิชัย ว่า

แรกทีเดียว จะต้องมองว่า การเก็บค่ารักษาในโครงการสวัสดิการสุขภาพของรัฐ จะเก็บเท่าไหร่จึงดี

ประเด็นเร่งด่วน ตัดการเก็บเงินค่าบริการสุขภาพ 30 บาท มองกันอย่างพิถีพิถัน เป็นสิ่งที่ทำแล้วไม่มีอะไรดีขึ้นในภาพรวม กลับกัน ยิ่งเป็นการทำให้เกิดปัญหาสะสม หรือถ้ามองในเกมการเมือง ก็ยิ่งเป็นการหาเสียงโดยแท้

ศ.นพ.สุทธิชัย ย้ำว่า โครงการนี้เป็นรัฐสวัสดิการอยู่แล้ว ยุบไม่ได้ ให้ไปแล้วก็คงไม่มีใครกล้ายุบ แต่ต้องคิดกันต่อไปว่า จะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน เพราะโครงการนี้ในทุกประเทศพบแล้วว่า...มีปัญหาทั้งหมด

โดยเฉพาะปัญหาถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม ใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ใครสักคน พอสุขภาพไม่เจ็บป่วย ได้สวัสดิการต่างๆมากขึ้น ก็ต้องการอะไรที่มากขึ้น คำว่าสุขภาพ มันมุ่งไปทางบวก ยังไงๆใส่เท่าไหร่ก็ไม่เต็ม

โครงการส่งเสริมที่ทำควบคู่กันไป ให้คนไทยใส่ใจดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอไม่ให้เจ็บป่วย ถึงจะมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระของโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคได้บางส่วน แต่สภาพความเป็นจริง เมื่อคนอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องเจ็บป่วย...เป็นโรค

“เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวัฏจักร เป็นสัจธรรม ไม่มีใครห้ามได้”

ข้อดีและข้อเสียของโครงการ 30 บาท มีหลายประเด็นที่สำคัญ คุณหมอสุทธิชัย บอกว่า ก่อนปี 2544 การพัฒนาด้านการสร้างหลักประกันสุขภาพที่ผ่านมาเป็นระบบคู่ขนาน ส่วนหนึ่งใช้ระบบประกัน ที่มีผู้รับบริการมีส่วนร่วมโดยตรงในการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เช่น ประกันสังคม ประกันบุคคลที่สาม ประกันเอกชน บัตรสุขภาพ 500 บาท

อีกส่วน เป็นการสงเคราะห์ให้กับกลุ่มเฉพาะ คนยากจนมีรายได้น้อย เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ซึ่งมีผลการพัฒนาในการขยายหลักประกันอย่างดีโดยตลอด

ในปี 2534 มีประชากรที่ไม่มีหลักประกันถึงร้อยละ 67 แต่ในปี 2539 ลดเหลือร้อยละ 28 และในปี 2541 ลดเหลือร้อยละ 20

คนจำนวนไม่น้อยในกลุ่มคนร้อยละ 20 ที่ว่านี้ เป็นผู้มีความสามารถในการดูแลตนเองด้านสุขภาพได้

ก่อนหน้าจะเริ่มโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คนที่ไม่มีหลักประกัน มีความจำเป็นมารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ และเกิดเหตุขัดสน ก็จะได้รับการสงเคราะห์โดยใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาล

เห็นได้ว่า...แนวโน้มของการพัฒนาด้านการสร้าง หลักประกันสุขภาพของประเทศไทยเป็นระบบคู่ขนาน เน้นการมีส่วนร่วมในการรับภาระจากผู้รับบริการ

ตั้งแต่ต้นปี 2544 รัฐบาลเกิดใจดี ควักเงินในกระเป๋าซึ่งมาจากภาษีประชาชนทุกคน แจกให้กับคนร้อยละ 20 นี้ภายใต้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค

เปลี่ยนโฉมหน้าของแนวทางการพัฒนาที่มีมาแต่เดิม...ไปสู่ระบบคุณพ่อใจดี

ปรากฏการณ์นี้คล้ายๆกับการเลี้ยงดูลูก พยายามเลี้ยงลูกให้ช่วยตนเองตามกำลัง และแรงสนับสนุนในส่วนที่จำเป็น แต่วันดีคืนดีก็เปลี่ยนวิธีเลี้ยงใหม่ โดยการเอาใจและทำทุกอย่างให้กับลูกบางคน

วิธีเลี้ยงลูกแบบนี้ นอกจากจะทำให้ลูกบางคนเสียนิสัย ลูกคนอื่นก็จะเอาเยี่ยงอย่าง และยังทำให้ฐานะการเงินของครอบครัวมีปัญหา

ประเด็นต่อมา 30 บาทรักษาทุกโรค มีจุดมุ่งหมายให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง

แต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้เกิดการลักลั่น 2 เรื่อง ส่งผลในแง่ความเหมาะสม ด้านความเป็นธรรมและอุปสรรคที่จะรวมกองทุนต่างๆเป็นกองทุนเดียว หรือ จัดการภายใต้สิทธิที่ใกล้เคียงกัน

ความลักลั่นที่ว่า เริ่มจากผู้ที่ได้หลักประกันในระบบที่แตกต่างกัน ควักเงินจากกระเป๋าตนเอง จ่ายไปไม่เท่ากัน

ผู้ได้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อหลักประกันของตนเอง เพียงแต่จ่ายเงินสมทบ 30 บาท และงบสนับสนุนทั้งหมดมาจากภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากคนไทยทุกคน

ขณะที่ผู้ที่ได้หลักประกันในระบบประกันสังคม ต้องจ่ายเพื่อหลัก ประกันตนเอง โดยการสนับสนุนจากนายจ้างและรัฐ สมทบกลุ่มละ 1 ใน 3

สำหรับข้าราชการ ได้สิทธิการรักษาพยาบาลก็สมควร ถือเป็นระบบประกันแบบหนึ่งที่รัฐเป็นผู้จ่ายใน ฐานะนายจ้างและในฐานะรัฐเหมือนระบบประกันสังคม

เพียงแต่ว่า ข้าราชการไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ อาจถือเป็นสิทธิพิเศษ แต่ก็ถือได้ว่าถูกรัฐหักเงินเดือนที่ควรจะได้ไว้ล่วงหน้าแล้ว

อย่าลืมว่า ฐานเงินเดือนข้าราชการต่ำมาก เมื่อเทียบกับเอกชน

ผู้ที่ดำเนินการเรื่องของหลักประกันสุขภาพ ต้องตระหนักว่า จะทำอย่างไรไม่ให้มีความลักลั่น เพราะถ้าคิดจะเอาเงินกองทุนประกันสังคมในส่วน ด้านสุขภาพมาโปะในกองทุนประกันสุขภาพรวมก็ยิ่งตอกย้ำความลักลั่นมากขึ้น

ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ทั้งลูกจ้าง นายจ้าง คงไม่มีใครยอม

“ผู้ที่ได้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่ใช่คนยากจนทุกคน ยังมีพ่อค้าแม่ค้า เจ้าของกิจการ เจ้าของที่ดิน และอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากที่มีฐานะดี และสมควรช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง อยู่ดีๆก็ถูกหวย ได้สิทธิรักษาโดยไม่ต้องจ่ายเงินเหมือนกลุ่มลูกจ้างที่มีเงินเดือนเดือนละ 4,000-5,000 บาท ที่ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคม”

ประเด็นต่อมา การคำนวณต้นทุนการรักษาพยาบาลรายหัว หรืองบที่ต้องใช้ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มีความเป็นไปได้มากที่จะคลาดเคลื่อนได้สูง

การคำนวณเป็นการพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ โดยไม่ได้มองถึงผลจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้รับบริการ ที่ทำให้อัตราการเข้ารับการรักษาสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้

คนจำนวนไม่น้อย เดิมมีความสามารถทางการเงิน ดูแลตนเองได้ในระดับที่ดีพอสมควร เมื่อได้สิทธิ 30 บาท ก็เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้สิทธิ 30 บาท

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้ จะสูงขึ้นชัดเจนในกรณีที่ป่วยหนัก และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเมื่อต้องเสียค่ารักษาเพียง 30 บาท ผู้ป่วยก็จะหวงแหนยาลดลง พร้อมที่จะไปขอยาใหม่ เมื่อยาสูญหาย

การคำนวณงบ ถึงจะปรับสำหรับผู้สูงอายุ แต่เป็นการคำนวณที่วางบนกลุ่มประชาชนสูงอายุทั้งกลุ่ม และอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า...ประชากรกลุ่มนี้มีลักษณะสม่ำเสมอไปตลอด ซึ่งไม่จริงอย่างแน่นอน

เป็นที่ทราบกันชัดเจน ไม่เพียงแนวโน้มของจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเท่านั้น กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมาก 75-80 ปีขึ้นไป ยังมีอัตราการเพิ่มเร็วที่สุด และเป็นกลุ่มที่มีอัตราเจ็บป่วย ใช้ทรัพยากรทางสุขภาพในอัตราสูงกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆมาก

ที่มองข้ามไปไม่ได้เลย ก็คือการเกิด ปรากฏการณ์ขยายตัวของโรค และภาวะทุพพลภาพในประชากรไทย ในกลุ่มผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้การคำนวณต้นทุนผิดพลาดได้

ประเด็นที่ต้องคิดกันตอนนี้ คือโครงการ 30 บาท มีปัญหาอยู่แล้ว และก็จะยิ่งไปกันใหญ่ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ จะเดินไปทางไหน ต้องมองครอบคลุมทั้งระบบ ต้องคิดถึงความยั่งยืนของโครงการ จะทำอย่างไรให้ระบบดำเนินต่อไปได้ ไม่ใช่มาบอกว่า ฉันเลิก 30 บาท เท่านั้น

“อาจมองว่า...เงิน 30 บาท เก็บหรือไม่เก็บ ก็ไม่ต่างกันสักเท่าไหร่ แต่ความเป็นจริง เงินเล็กน้อยที่ว่านี้ไม่ได้เก็บมาเป็นค่าใช้จ่ายหลัก แต่เก็บเพื่อไม่ให้คนเอายาไปทิ้ง
 

 ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า
555555555555
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 309



« ตอบ #1 เมื่อ: 27-10-2006, 09:28 »

ก็ยังไม่ได้ดำเนินการอะไร จะรีบคิดอะไรไปทำไม
บันทึกการเข้า
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #2 เมื่อ: 27-10-2006, 10:11 »

งั้น เก็บ 50 บาท ดีไหมครับ

มันอยู่ที่ว่า มีเงินหรือเปล่า ถ้าประเทศไทยมีตังทำตรงนี้ ไม่ต้องเก็บทำไมไม่สนับสนุน ชอบ 30 บาท แล้ว ฟรีทำไมไม่ชอบครับ

เราต้องดูที่ระบบก่อนว่าเค้าจัดการยังไง

เค้าเอาชื่อที่หาเสียงออกไปก่อน แล้วสะท้อนความเป็นจริง ที่จะสามารถทำได้ ถ้าฟรีได้ก็เสีย ถ้าไม่ได้ จะต้องจ่ายเท่าไหร่ อันนี้ต้องอยู่ที่การรวบรวมข้อมูล หาผลดีผลเสีย

ไม่ใช่ ตั้งเป็นนโยบาย เอาดีเข้าตัว เอาชั่วเข้าคนอื่น แบบ 30 บาท

จะกี่บาท คุณจะบ่นไปทำไมถ้าเค้าทำให้มันดีขึ้น
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #3 เมื่อ: 27-10-2006, 10:18 »

^
^
นี่หมอ คนข้างบนนี้เค้าว่าหมอขี้บ่น

บันทึกการเข้า
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #4 เมื่อ: 27-10-2006, 10:38 »

แล้วหมอ คนอื่นว่ายังไง บ้างหล่ะ
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #5 เมื่อ: 27-10-2006, 11:11 »

แล้วหมอ คนอื่นว่ายังไง บ้างหล่ะ

ไม่ทราบได้ฟัง/ดู หมอคนนี้หรือยัง?

http://hiptv.mcot.net/hipPlay.php?id=8074
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #6 เมื่อ: 27-10-2006, 11:16 »

อ้อ ลืมบอกไปว่า เป็นเทปรายการ ถึงลูกถึงคน

ที่ออกอากาศเมื่อ 19 ต.ค. 2549

ลองฟังดูนะคะว่ามุมมองของ ผู้ปฏิบัติ กับ ผู้บริหาร นั้นแตกต่างกันอย่างไร

หมอด้วยกันทั้ง 3 ท่าน แต่ทำงานคนละอย่าง ต่างบทบาทกัน

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2006, 11:35 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #7 เมื่อ: 27-10-2006, 11:25 »

แล้วหมอ คนอื่นว่ายังไง บ้างหล่ะ

ไม่ทราบได้ฟัง/ดู หมอคนนี้หรือยัง?

http://hiptv.mcot.net/hipPlay.php?id=8074

ขอบคุณ คุณ snowflake ครับผม

แต่ที่ทำงาน บล็อก มัลติมีเดียออนไลน์ อยู่ กำลังหาทางดูอยู่ครับ 
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #8 เมื่อ: 27-10-2006, 12:45 »

ตอบตามจริง

ที่แพงๆ หนะค่าหมอ ไม่ใช่ค่ายา

 
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #9 เมื่อ: 27-10-2006, 13:09 »

ว่าแต่พวกที่เคยด่า หมอไว้ ไปใหนแล้วหล่ะ 

จะเลียหรือด่าหมอก็ได้ ขอให้ดีกับทักษิณ 
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #10 เมื่อ: 27-10-2006, 14:16 »

ตอบตามจริง

ที่แพงๆ หนะค่าหมอ ไม่ใช่ค่ายา

 
ทั้งสองอย่างแหละครับ ที่ค่ายาแพงส่วนหนึ่งมาจากเพื่อให้เห็นคุณค่าของยา
บันทึกการเข้า
ชอบตะแบง
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45



« ตอบ #11 เมื่อ: 27-10-2006, 16:59 »

ตอบตามจริง

ที่แพงๆ หนะค่าหมอ ไม่ใช่ค่ายา

 
ทั้งสองอย่างแหละครับ ที่ค่ายาแพงส่วนหนึ่งมาจากเพื่อให้เห็นคุณค่าของยา

 

ยาแพงก็บริษัทยาเอากำไรเยอะมากกว่าไม่ใช่เรอะ
คิดได้ไงอ่ะ 
บันทึกการเข้า

****THE ONLY EASY DAY WAS YESTERDAY****
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #12 เมื่อ: 27-10-2006, 18:42 »

ตอบตามจริง

ที่แพงๆ หนะค่าหมอ ไม่ใช่ค่ายา

 
ทั้งสองอย่างแหละครับ ที่ค่ายาแพงส่วนหนึ่งมาจากเพื่อให้เห็นคุณค่าของยา

 

ยาแพงก็บริษัทยาเอากำไรเยอะมากกว่าไม่ใช่เรอะ
คิดได้ไงอ่ะ 
ไม่รู้อะไรก็อยู่เฉย ๆ เดี๋ยวจะหน้าแตกเรื่องยาแบบบางคนอีก(ดูที่กระทู้นี้ http://forum.serithai.net/index.php?topic=8133.0) เรื่องราคานั่นก็ส่วนหนึ่ง ค่าผลิต ค่าสิทธิบัตร บริษััทยาก็เอาไปส่วนหนึ่งแต่ก็ไม่มากอะไร ลองคิดเองนะว่าคนธรรมดาเห็นราคายาเม็ดละสลึงกับยาเม็ดละ10บาท อย่างไหนจะเห้นคุณค่ามากกว่ากัน และอีกอย่างพวกหมอก็เอากำไรตรงส่วนนี้ด้วย ก็เลยมีบางคนคิดออกกฏหมายให้หมอทำได้แค่เขียนใบสั่งยา แล้วให้ไปซื้อเอาเอง หมอคนไม่เท่าไหร่ดันรวมเอาหมอหมาอีก ให้หมอยาจ่ายยาให้สำหรับหมา เคยรู้ไหมว่าหมอหมาจ่ายยาให้เจ้าของหมา พอยาหมด เจ้าของเห็นชื่อยาข้างซองก็เอาไปหาหมอยา หมอยาก็ขายยาไป เจ้าของหมาก็เอายานั้นให้หมากิน แล้วหมาก็ตายเพราะยาเกินขนาด หมอหมา หมอยา บริษัทยา ได้เงิน ส่วนผู้ใช้ขาดทุน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2006, 18:49 โดย solidus » บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #13 เมื่อ: 28-10-2006, 05:57 »

จากสามสิบบาทถึงศูนย์บาท อย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด
ต่อประชาชน?


โดย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข (chanwaleesrisukho@hotmail.com)

เมื่อสิ้นรัฐบาลท่านทักษิณ มีเสียงปฏิเสธว่าโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรคที่ปูพื้น
เต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2545 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสามสิบบาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค
ในปี พ.ศ. 2548 ไม่ใช่โครงการประชานิยม แต่เป็นโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
(คปน.)
อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และมีนัก
วิชาการหลายสาขาได้ร่วมกันคิดเรื่องนี้มานานนับสิบปี

แต่ในความเป็นจริงเมื่อพูดถึงสามสิบบาทนอกจากประชาชนจะเข้าใจมากกว่าคปน.
แล้ว สามสิบบาทยังเป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์ที่มีการเมืองนำที่ประสบความสำเร็จ
เป็นอย่างสูงในการเรียกคะแนนความนิยม นับว่าเป็นโครงการที่ประชาชนชื่นชมที่สุด

ดังนั้น แม้จะปฏิเสธอย่างไร สามสิบบาทก็เป็นโครงการประชานิยมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนและผู้ให้บริการต่อการดำเนินการสร้างหลัก
ประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี พ.ศ. 2548 คะแนนเต็ม 10 คะแนน ประชาชนให้ 7.45
คะแนน ขณะที่ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจเพียง 5.42 คะแนน สามสิบบาทจึงเป็น
โครงการที่ผู้รับบริการนิยมมากถึงมากสุด

ในขณะที่ผู้ให้บริการนิยมน้อย นอกจากเป็นโครงการในหัวใจประชาชน ยังเป็นโครงการ
ที่มีปัญหา และสร้างปัญหาให้ผู้บริการ ว่ากันว่าหากผู้รับบริการมีความทุกข์ ผู้ให้บริการ
จะมีความสุขอยู่อย่างไร เช่นเดียวกัน หากผู้ให้บริการมีความทุกข์ ผู้รับบริการจะมีความ
สุขก็เป็นไปไม่ได้

นายกรัฐมนตรี พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวไว้ว่า ปัญหาของประเทศชาติในปัจจุบัน
เกิดจากความไม่เป็นธรรมในสังคม ปัญหาของ คปน.ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเปลี่ยน
ชื่อโครงการ หรือเปลี่ยนจากเก็บเงิน 30 บาทเป็นศูนย์บาท คงไม่ทำให้อะไรดีขึ้น
หากไม่มีการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น โดยการแก้ไขจุดด้อยและเสริมจุดแข็งอย่าง
รีบด่วน ด้วยความจริงจังและจริงใจ

ไม่ยืนบนผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง

จุดแข็งที่ต้องคงไว้เสริมให้มั่นคงหรือเพิ่มขึ้น

1. เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

2. เพิ่มการเข้าถึงการบริการแก่ประชาชน (สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิร้อยละ
    97.23 ของประชากรทั้งประเทศจำนวน 62.74 ล้านคน : ข้อมูล ณ 30 มิ.ย. 2549)

3. พัฒนาคุณภาพหน่วยบริการ (มีการพัฒนาตามมาตรฐาน (HA, ISO) ร้อยละ 89.80
    ของหน่วยบริการจำนวน 961 แห่ง : ข้อมูล 30 มิ.ย. 2549)

4. รับเรื่องร้องเรียน แก้ปัญหา คุ้มครองสิทธิผู้รับบริการ รวมถึงการใช้มาตรา 41 ช่วย
   เหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลในระบบ คปน.

5. มีการกระจายการรักษาพยาบาลไปเป็นระบบใกล้บ้านใกล้ใจมีการติดตามเยี่ยมบ้าน
    เพิ่มการใช้บริการรักษาที่อนามัย และโรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้าน

6. ใช้สื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ วารสาร จุลสาร เอกสาร ฯลฯ ประชาสัมพันธ์และ
    ส่งเสริมภาพลักษณ์ของ คปน.

จุดอ่อนต้องแก้ไขโดยรีบด่วน

1. งบประมาณไม่เพียงพอ มีการโต้เถียงกันมากว่าก่อนเกิด คปน.โรงพยาบาลกระทรวง
    สาธารณสุขได้งบฯเพียง 800 กว่าบาทต่อหัวยังเพียงพอ แต่เมื่อมี คปน. ได้งบฯตั้ง
    1,600 กว่าบาทต่อหัว ทำไมจะไม่เพียงพอ เรื่องนี้ต้องลงรายละเอียดและไม่หมก
    เม็ด เพราะในความเป็นจริงคือ การดำเนินงาน คปน. ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนเข้า
    ขั้นวิกฤตจากงบฯที่ไม่เพียงพอถึงกว่า 200 แห่ง (ข้อมูลจากชมรมแพทย์ชนบท) มี
    การงด ลด การลงทุนทั้งสถานที่เครื่องไม้เครื่องมือ การพัฒนาบุคลากร จำนวน
    บุคลากร เงินค่าล่วงเวลา ยาที่มีราคาแพง อย่างสามารถยืนยันข้อมูลได้ ฯลฯ

2. ปัญหาการกระจายงบประมาณที่ผ่านมา การกระจายงบฯขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจ เมื่อ
    เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานหนึ่ง ก็อาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่หน่วยอื่น สร้างความ
    ขัดแย้งระหว่าง สปสช. กับกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลชุมชนกับโรงพยาบาล
    ทั่วไป ชนบทกับในเมือง ฝ่ายบริหารกับผู้ให้บริการ ฯลฯ

3. การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน ในเรื่องความเอื้ออาทร เฉลี่ยสุข-ทุกข์ การเสียสละ
    การรับผิดชอบสังคมร่วมกัน การรับผิดชอบดูแลตนเอง ฯลฯ สภาพสังคมทุนนิยม มือ
    ใครยาวสาวได้สาวเอาทำให้เสมือนว่า คปน. สนับสนุนการเอาเปรียบในสังคม เกิด
    ความไม่เป็นธรรมต่อคนยากจน ซึ่งอาจไม่มีแม้เงินค่ารถมาโรงพยาบาล แต่ต้องมา
    ยืนเข้าแถวรักษาพยาบาลร่วมกับคนร่ำรวยที่มีเส้นสายหรือเสียงดัง ที่เสียค่าใช้จ่าย
    เท่ากัน

4. การขาดแคลนแพทย์ แม้การลาออกของแพทย์จากระบบรัฐมีปัจจัยมากมาย แต่
    ปัจจัยหนึ่งคือ งานหนักเงินน้อย การฟ้องร้องสูง การทำงานที่ไร้ความสุข ซึ่งเกี่ยว
    ข้องกับ คปน. แม้จะมีการทำไปแก้ไป เช่น เน้นการป้องกันสุขภาพมากกว่าการซ่อม
    กระจายหน่วยบริการไปยังชุมชน วางมากฐานการบริการ (CPG) แต่ก็เป็นแบบกว่า
    ถั่วจะสุกงาก็ไหม้ นอกจากนั้นยังไม่มีการวางแผนบุคลากรในระยะยาวเช่น คปน. จะ
    สำเร็จตามเป้าประสงค์ ต้องอาศัยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปจำนวนมาก แต่ผลิตไม่
    เพียงพอ

5. การสร้างแพทย์ทดแทน เมื่อแพทย์ขาดแคลน มีการเร่งสร้างแพทย์ใหม่ทดแทนอย่าง
    รีบด่วน จนเกิดเครื่องหมายคำถามถึงคุณภาพของแพทย์ที่สร้างมาใหม่ และเมื่อปัญหา
    สาเหตุที่แพทย์ลาออกไม่ได้รับการแก้ไขแพทย์ที่จบใหม่ ก็ไม่ต่างจากรุ่นเก่า ไม่อยาก
    อยู่ชนบทบ้างยอมใช้ทุนลาออก บ้างลาออกเมื่อใช้ทุนจบ บ้างถูกดูดเข้าระบบเอกชน
    บ้างเป็นแพทย์เมืองกรุง บ้างขอศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง

6. คุณภาพของการรักษาพยาบาล แม้ไม่มีการยอมรับจากบางฝ่ายว่า คปน. ทำให้
    คุณภาพการรักษาพยาบาลด้อยลง รวมทั้งมีการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติขึ้นมา
    ให้ครอบคลุมยาที่จำเป็น แต่ในทางปฏิบัติการลดต้นทุนให้ต่ำสุด ลดการซื้อเครื่องไม้
    เครื่องมือ ลดจำนวนบุคลากร ลดการพัฒนาบุคลากร ลดการใช้ยา ลดทางเลือกใน
    การใช้ยา ท่ามกลางขวัญและกำลังใจบุคลากรถดถอยฯลฯ ส่งผลทางลบให้กับ
    คุณภาพการบริการ

7. ปัญหาการบริหารจัดการ มีเรื่องราวรายละเอียดมากมายที่เป็นปัญหา เช่น มีทั้ง
    เสียงคัดค้านและสนับสนุนให้รวมเงินเดือนบุคลากรเข้ากับเงินรายหัว โดยทั้งสอง
    ฝ่ายมีเหตุผลของตน, มีการกำหนดจำนวนบุคลากรตามจำนวนคนไข้ในเขตที่รับ
    ผิดชอบ ทั้งๆ ที่มีเสียงคัดค้านว่าเป็นการสกัดกั้นการพัฒนาทางการแพทย์, กำหนด
    แบบตายตัว มีปัญหามากมายที่ทำให้จำนวนคนไข้ไม่เป็น ดังนั้น เช่น การอพยพ
    ย้ายถิ่นของประชาชน, โรคที่พบมากในแถบนั้น ฯลฯ การส่งตัวคนไข้รักษาต่อตาม
    ลำดับขั้นหากไม่ต้องตามไปจ่ายเงินค่าส่งต่อ มีการผลักคนไข้ หากต้องจ่ายค่าส่งต่อ
    หรือมีรายได้เพิ่ม พยายามรักษาคนไข้เอง กว่าจะส่งต่อก็อาการหนัก ฯลฯ

แนวทางการแก้จุดอ่อน

การทำให้ คปน. เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน มีหลายปัจจัย
มาเกี่ยวข้อง ฯลฯ การแก้ไขปัญหาของ คปน. มีการพูดกันมา แต่ส่วนหนึ่งเสนอแนวทาง
ตามมุมมอง ประสบการณ์ จุดยืน ผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง

การจะแก้ไข คปน. ให้ลุล่วง ควรเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เช่น ระดมทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องมาให้ความคิดเห็น เสนอแนวทางการแก้ปัญหา โดยปราศจากอคติ และ
อิทธิพลการเมืองมาเกี่ยวข้อง ฯลฯ

ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจต้องมีใจเป็นธรรม และสามารถสร้างความเป็นธรรม เรื่องงบ
ประมาณ การบริหารจัดการ นโยบาย การปฏิบัติเรื่องบุคลากร ฯลฯ ผู้ให้บริการต้อง
มีจริยธรรม

ผู้รับบริการนอกจากมีสิทธิหน้าที่ แล้วควรต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ที่มา: มติชน วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10458

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act01281049&day=2006/10/28
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-10-2006, 06:01 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #14 เมื่อ: 28-10-2006, 08:15 »

หัวใจของหลักนี้คือ
ใครมีความสามารถที่จะจ่าย ต้องจ่าย!!!
ส่วนใครจ่ายไม่ได้ ต้องฟรี
ไม่งั้นถึงจะเก็บ 30 เก็บร้อยเก็บพัน มันก็ไม่พอทั้งนั้นแหละ
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #15 เมื่อ: 28-10-2006, 08:34 »

หัวใจของหลักนี้คือ
ใครมีความสามารถที่จะจ่าย ต้องจ่าย!!!
ส่วนใครจ่ายไม่ได้ ต้องฟรี
ไม่งั้นถึงจะเก็บ 30 เก็บร้อยเก็บพัน มันก็ไม่พอทั้งนั้นแหละ

Agree 

( หมู่นี้เป็นขี้เกียจ มิใคร่สำแดงกำกึ๊ดแลจ้า... )
บันทึกการเข้า

นายเกตุ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,289



« ตอบ #16 เมื่อ: 28-10-2006, 09:02 »

หัวใจของหลักนี้คือ
ใครมีความสามารถที่จะจ่าย ต้องจ่าย!!!
ส่วนใครจ่ายไม่ได้ ต้องฟรี
ไม่งั้นถึงจะเก็บ 30 เก็บร้อยเก็บพัน มันก็ไม่พอทั้งนั้นแหละ

Agree 

( หมู่นี้เป็นขี้เกียจ มิใคร่สำแดงกำกึ๊ดแลจ้า... )

agree ด้วยคน

(ขี้เกียจเหมือนกันครับ)
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 28-10-2006, 10:19 »

ไปหลง ห่อลูกกวาดสวย ๆ ของนักการเมือง ก็เป็นแบบนี้แหละ

เนื้อแท้คือ การปฏิบัติต่อคนไข้

หมอส่วนใหญ่ เค้ารักษาโรค แต่ไม่ค่อยรักษาคนไข้


ที่สำคัญ บุคลากรทั้งหลายเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของไทยรักไทย อย่าเอาตราไทยรักไทย ไปติดที่กระทรวงสาธารณะสุข

มันไม่ใช่เช่นนั้น...รัฐมีหน้าที่ดูแลรักษาประชาชนอยู่แล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-10-2006, 10:22 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #18 เมื่อ: 28-10-2006, 15:34 »

หัวใจของหลักนี้คือ
ใครมีความสามารถที่จะจ่าย ต้องจ่าย!!!
ส่วนใครจ่ายไม่ได้ ต้องฟรี
ไม่งั้นถึงจะเก็บ 30 เก็บร้อยเก็บพัน มันก็ไม่พอทั้งนั้นแหละ

Agree 

( หมู่นี้เป็นขี้เกียจ มิใคร่สำแดงกำกึ๊ดแลจ้า... )

agree ด้วยคน

(ขี้เกียจเหมือนกันครับ)


เห็นด้วยในหลักการ...

แต่สงสัยว่าจะปฎิบัติอย่างไร ไปหาหมอคงไม่ต้อง

เอาหนังสือรับรองรายได้ไปแสดงด้วยหรอกนะ..
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #19 เมื่อ: 28-10-2006, 15:50 »

ไปหลง ห่อลูกกวาดสวย ๆ ของนักการเมือง ก็เป็นแบบนี้แหละ


คุณ CanCan
หากนิยมระบอบประชาธิปไตย มิใช่เพียงแต่ลมปาก เพื่อความเท่
ก็อยากขอร้องว่าอย่าพูดให้ร้าย “นักการเมือง” ในทุกโอกาสที่ทำได้
ทำเช่นนั้น มีแต่บ่อนทำลาย และให้ท้ายระบอบอำมาตยาธิปไตย
แต่ถ้าชอบอย่างหลัง ก็เปิดเผยจริงใจไปเลย ไม่ต้องอ้อมค้อมดีกว่า
เชิญลงคะแนนลับ ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ที่
http://forum.serithai.net/index.php?topic=9282.0
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 28-10-2006, 18:02 »

นักการเมืองชั่ว เที่ยวหลอกลวงชาวบ้าน

ก็บอกแล้ว เก็บหรือไม่เก็บ ก็ไม่กระเทือน รายจ่ายอะไรมากมาย

พวกนักการเมืองที่ชอบแอบอ้างเอาผลงานหมอ พยาบาลมาเป็นของตัวนี่แหละ น่าเป็นห่วงมาก ๆ


อ๋อกระทู้นั้นเหรอ ไม่เห็นมีไรเลย ขี้เกียจครับ..

อ้อ...ผมชอบอย่างหน้า ไม่ชอบอย่างหลังครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-10-2006, 18:07 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

willing
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 186



« ตอบ #21 เมื่อ: 28-10-2006, 18:09 »

ผมคิดว่า โครงการ 30 บาทเป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์
ควรให้นักเศรษฐศาสตร์มาตอบและร่างนโยบาย ไม่ใช่หมอ

หมอและคนไข้ เป็นเพียงคนที่รับกรรมในระบบ 30 บาท

จะ 30 บาทหรือ ฟรี ก็เป็นการกำหนด Price Control อยู่ดี

การซ่อน Cost ที่แท้จริงในการรักษา ภายใต้ราคา 30 บาท ที่กำหนดขึ้นเอง
ทำให้เกิด Demand มากกว่าที่ Supply จะรับไหว

และผลก็คือ เกิด Supply Shortage อย่างที่เห็น ==> หมอไม่พอ + ยาไม่พอ + เตียงไม่พอ สำหรับคนไข้

และ สิ่งที่ตามมาติดๆ คือ
เพื่อทำให้ supply คนไข้ได้มากขึ้น หมอก็จะใช้เวลากับคนไข้ต่อคน น้อยลง
และ ใช้ยาถูกลง หรือ ไม่ให้ยาเลย เพื่อประหยัด cost

คุณภาพในการรักษาจึงลดลงตามราคานั่นแหละ

นึกถึงคำที่ว่า "You get what you pay for"

สุดท้ายแล้ว จะ work หรือ ไม่ work ขึ้นอยู่กับว่าจะปรับนโยบายอย่างไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-10-2006, 18:16 โดย willing » บันทึกการเข้า

Even If I am a minority of one, truth is still the truth. - Mohandas Gandhi
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #22 เมื่อ: 29-10-2006, 00:01 »

หัวใจของหลักนี้คือ
ใครมีความสามารถที่จะจ่าย ต้องจ่าย!!!
ส่วนใครจ่ายไม่ได้ ต้องฟรี
ไม่งั้นถึงจะเก็บ 30 เก็บร้อยเก็บพัน มันก็ไม่พอทั้งนั้นแหละ

Agree 

( หมู่นี้เป็นขี้เกียจ มิใคร่สำแดงกำกึ๊ดแลจ้า... )

agree ด้วยคน

(ขี้เกียจเหมือนกันครับ)


เห็นด้วยในหลักการ...

แต่สงสัยว่าจะปฎิบัติอย่างไร ไปหาหมอคงไม่ต้อง

เอาหนังสือรับรองรายได้ไปแสดงด้วยหรอกนะ..

ก่อนมี 30บาท เดิมทุกโรงพยาบาลก็จะมีโครงการคนไข้อนาถาอยู่แล้ว
คือใครไม่มีเงินจ่าย ก็ให้บอกหมอไปตรงๆ เขาก็จะพาเข้าโครงการ
ไม่ต้องเสียค่ารักษาสักบาทเดียว (แต่ผมก็ยังเห็นคนที่ไม่มีเงินค่ารถมาโรงพยาบาลอยู่เสมอๆ)
เงินที่ใช้ในโครงการส่วนหนึ่งมาจากรัฐ ส่วนหนึ่งมาจากการบริจาค
และส่วนหนึ่งมาจากเงินที่เหลือจากงบประมาณปกติของโรงพยาบาล
หรือ บางส่วนก็มาจากประชาสงเคราะห์ อันนี้ประชาสงเคราะห์จ่ายให้
แต่พอมี 30บาท ผมว่ารักษาฟรีที่ยังไม่พออยู่แล้วแทบจะต้องล้มพับไป
คนที่จ่ายได้ไม่จ่าย โรงพยาบาลต้องดึงเงินจากส่วนต่างๆเข้าไปโปะ
แม้แต่งบที่จัดไว้ให้คนไข้อนาถาก็โนดึงไปด้วย
เพราะเหตุผลที่ว่า 30บาทเป็นการช่วยอยู่แล้ว
และโรงพยาบาลไม่เหลืองบประมาณพอจะจัดเงินไปดูแล

ส่วนตัวผมอยากให้ล้มโครงการ 30บาทไปเลย
หันไปเพิ่มความคุ้มครอง (รักษาโรคได้มากขึ้น ยาดีขึ้น การดูแลดีขึ้น)
และปริมาณคนไข้ที่รับการรักษาฟรีให้มากขึ้น
ส่วนคนมีตังพอจะจ่ายได้ ต้องจ่าย!!!
ไม่ใช่ไปเบียดบังงบประมาณจาก "คนไข้อนาถา"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: