ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 05:58
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  นายกรัฐมนตรี *ต้องมาจาก* การเลือกตั้งจริงหรือ? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
นายกรัฐมนตรี *ต้องมาจาก* การเลือกตั้งจริงหรือ?  (อ่าน 3765 ครั้ง)
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« เมื่อ: 26-10-2006, 01:28 »

สวัสดีครับเพื่อนๆในช่วงระยะเวลา ๖-๗ วันที่ผ่านมา
ได้ยินคำว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้ง ๒-๓ ครั้ง

ที่จำได้ก็มี ครั้งหนึ่งจาก คุณสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อหลายวันที่ผ่านมา
และอีกครั้งหนึ่งในวันนี้จาก คุณลิขิต ธีรเวคิน
 
ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมา  จริงหรือที่ นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้ง?
ประเทศไทยจึงจะเป็นประชาธิปไตย ๑๐๐ %

แว๊บหนึ่งคิดถึง ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านใช้คำว่า
*เผด็จการโดยธรรม* การเมืองที่ตั้งอยู่บนรากฐานของ ศีลธรรม
*การเมืองบนรากฐานของศีลธรรม* ตรงนี้น่าคิด

ถามว่าทำไมถึงน่าคิด? ทั้งนี้ก็เนื่องจาก
เคยมีผู้ให้คำจำกัดความ ว่า การเมือง นั้น
หมายความถึง “เรื่องการแย่งชิงผลประโยชน์”

ตรงนี้อาจดู *ถ่***-เถื่อน* แต่นั่นคือสิ่งซึ่งเกิดขึ้นจริงในสังคมนี้
สิ่งซึ่งเราเห็นกัน อยู่ในสังคมนี้อย่างไม่อาจปฏิเสธได้

ดังนั้นกับคำถามที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้งจริงหรือ?
ตะนิ่นตาญี จึงอยากถาม-อยากขอ *ความเห็น* ของเพื่อนๆว่า

ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปเราอยากเห็น-อยากได้
ข้อความที่กำหนดไว้ว่า *นายกรัฐมนตรี ต้องแต่งตั้งจาก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร...* จริงหรือ? แน่ใจแล้วหรือ?

ตะนิ่นตาญี
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เวลา ๑นาฬิกา ๒๖ นาที
บันทึกการเข้า
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26-10-2006, 01:55 »

ถ้าว่ากันตามทฤษฎีนะครับ มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าดูตัวบุคคลผมก็ชักไม่แน่ใจ (ฮา)
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #2 เมื่อ: 26-10-2006, 01:59 »

ขออนุญาตตอบในความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ

หากใครเห็นไม่ตรงกัน ขออภัยด้วย โดยนิสัยคนไทยแล้ว

ไม่ค่อยยึดถือกฎระเบียบอะไรตายตัวนักค่ะ

สิ่งที่ผ่านมาก็พิสูจน์ได้ระดับหนึ่งแล้วว่า ประชาธิปไตยแบบมือถือสาก

ปากคาบคัมภีร์ ใช้ไม่ได้ เราถึงมี ''ปฎิวัติที่รื่นเริง'' มาให้ชาวโลกทึ่งไงคะ

คนไทยเป็นพวกที่ยีดหยุ่นได้ตลอดเวลา คงขอให้ได้คนดี มีจริยะธรรม

ศีลธรรม มาปกครองบ้านเมืองให้สงบสุข เจริญก้าวหน้า แบบพอเพียง

ค่อยๆก้าวไปช้าๆ แต่มั่นคง ทุกคนมีหนี้น้อยลง ไม่ส่งเสริมให้คนฟุ้งเฟ้อ

เกินกำลังทรัพย์ที่มี จะมาจากเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง ก็รับได้ทั้งนั้นค่ะ
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #3 เมื่อ: 26-10-2006, 03:43 »

ตอบตามหัวข้อกระทู้คือ ถ้าไม่ใช้การเลือกตั้งในการหาตัวแทนมาทำงานให้
ก็ไม่ต้องเรียกว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เรียกอย่างอื่นไปให้มันตรงกับที่เป็น ที่ชาวโลกเข้าใจและเห็นได้ตรงกัน
อย่าบิดเบือนด้วยการประดิษฐ์คำใหม่ เช่น “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” จะดีกว่า
อยากเป็นตัวของตัวเองก็กล้าๆ หน่อย ไม่ต้องหลอกลวงใคร
โดยเริ่มจากการไม่หลอกตัวเอง

การเลือกตั้งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย ไม่ใช่สาระสำคัญ
ต้องมีการส่วนร่วมในการปกครองตามมาหลังจากนั้น
แต่ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างแน่นอน

ว่าแต่ท่านที่มาตอบกระทู้นี้ คิดว่าตัวเองนิยมประชาธิปไตยแบบไหน?
หรือไม่นิยมก็เชิญโหวตได้ที่ http://forum.serithai.net/index.php?topic=9282.0
ผู้เขียนเขาอุตส่าห์หาคำมาเรียกให้ตั้งหลายแบบ
เพื่อให้ทุกคนได้ชื่อว่ามี “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #4 เมื่อ: 26-10-2006, 04:09 »

มนุษย์ชอบทำตัวแบบพวกหุ่นยนต์ ทำตามโปรแกรมที่เค้าตั้งไว้เป๊ะ แต่ขาดจิตวิญญาณ

ของความเป็นมนุษย์ที่เลือกจะยืดหยุ่นได้บ้างตามสถานการณ์ที่เป็นจริง

เพราะหลงใหลในทฤษฎีนิยม มองคนเป็นวัตถุ มองวัตถุคล้ายคน แยกแยะอะไรไม่ออก

คงต้องรอให้ แบตเสื่อม แล้วเอาไปชาร์ตไฟใหม่ เปลี่ยนหน่วยความจำ อาจจะดีขึ้น

แต่คงแล้วแต่โปรแกรมที่โดนกำหนด น่าสงสารจัง
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
นายเกตุ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,289



« ตอบ #5 เมื่อ: 26-10-2006, 08:01 »

ฟันธง...........

ประเทศไทยไม่มีวันที่จะได้เป็นประชาธิปไตยแบบชาวโลกที่(เขาว่า)เจริญแล้วได้หรอกครับ

เพราะถ้ายังได้ผู้นำที่ยังไม่มีจิตใจปชตจริงๆอย่างที่ผ่านๆมา

และถ้าปชชคิดเพียงแต่ว่าปชตคือแค่การออกไปเลือกตั้งคนหรือพรรคที่เราชอบ

โดยไม่สนใจจริยธรรมของนักการเมืองเป็นองค์ประกอบประภทโกงแต่ทำงานก็เอาว่ะ

ถ้ายังคิดกันได้แค่นี้นะรับรองยังต้องเห็นรถถังมาวิ่งอีกนาน

ฟันธง
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #6 เมื่อ: 26-10-2006, 08:29 »

ถามให้เคลียร์น่าจะเป็น

นายกรัฐมนตรี ต้องมาจาก สส หรือไม่?

ไทยไม่เคยเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว เคยแต่เลือก สส
แล้ว สส ไปเลือกนายกอีกที

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #7 เมื่อ: 26-10-2006, 09:03 »

ที่มาของนายกรัฐมนตรีนั้น ขณะนี้มีสองหนทางให้เลือก คือ ต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากติดขัดเกียวกับความหมายและสัญญลักษณ์

ปัญหาใหญ่คือ การเลือกนายกรัฐมนตรีของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากนั้น หากไม่กำหนดให้เลือกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยกันเอง จะเป็นการเปิดช่องให้ผูมีงอิทธิพล ไม่ว่าจะทางการเงินหรืออำนาจ ลอยลำเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องผ่านสนามเลือกต้ง นับว่าอันตรายที่ประชาชนจะไม่มีทางรู้เลยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงส่วนใหญ่ จะไปรับงานรับเงินใครมา เพื่อเลือกตัวนายกมาจากไหนก็ไม่รู้

ส่วนการเลือกนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยกันเองนั้น อาจจะดีในแง่ที่ประชาชนพอจะทราบล่วงหน้าว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องหนีไม่พ้นใครคนใดคนหนึ่ง จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่เท่านั้น ซึ่งก็มักจะเป็นหัวหน้าพรรคเสียงข้างมากนั่นเอง แต่หนทางนี้ทำให้ตัวเลือกนายกรัฐมนตรีมีจำกัด และถึงหนทางตันเอาได้ง่ายๆ

เนื่องจากประชาธิปไตยของไทยเรานั้นเป็นระบอบชูวิทย์ นั่นคือพายวนอยู่ในอ่างทองคำ จะเขียนรัฐธรรมนูญกันอีกกี่ครั้งกี่หน ก็จะวนเวียนอยู่แต่ในปัญหาที่ไม่มีทางออก นายกจึงจะต้องมาจากสองหนทางนี่เท่านั้น  อีกทั้งผู้แทนราษฎรก็จะวนเวียนอยู่ในเขตเลือกตั้งเดิมๆ จะเอาพวงใหญ่พวงเล็ก วันแมนวันโหวต อะไรทำนองนั้นวนไปวนมาไม่รูจบ

จึงฟันธงทั้งๆที่ไม่รู้จะฟันมันไปหาอะไรว่า

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ จะพาตัวเองไปสู่ทางตัน และต้องถูกฉีก ไม่ว่าจะด้วยพลังประชาชนเรียกร้อง หรือดาบปลายปืนออกมาฉีกทิ้ง ในเวลาไม่เกิน 15 ปี
บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 26-10-2006, 09:08 »

อยากให้มีการเลือกนายกโดยตรง เหมือนเลือก สส น่ะครับ


ไม่รู้ว่าอีกกี่ชาติ ถึงจะเป็นจริงได้ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #9 เมื่อ: 26-10-2006, 09:28 »

สำหรับประเทศไทย ตอบได้ทันทีค่ะว่า "ไม่จำเป็น"

ดูผลงานการเลือกตั้งที่ผ่านมา เทิดทูนยกยอทั่นเหลี่ยมเผด็จการตัวจริง มาบริหารประเทศ จนสร้างความแตกแยกวุ่นวาย ปล้นบ้านกินเมือง มีหลังบ้านที่ทำตัวจุ้นจ้าน กุมบังเหียน กุมเงิน กุมอำนาจ เดี๋ยวคนนี้ก็เด็กนายหญิงใหญ่ เดี๋ยวคนโน้นก็เด็กนายหญิงใหญ่ อุบาทว์ซะไม่มี 

นี่ยังไม่นับสภาทาส และยังสภาผัวเมียอีก 



บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #10 เมื่อ: 26-10-2006, 10:37 »

สวัสดีครับ คุณคนในวงการ นั่นสินะครับ
โดยทฤษฎีแล้วควรเป็นเช่นนั้น

หากแต่เมื่อมองไปที่รายชื่อของ *นักเลือกตั้ง* ทั้งหลายแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น คุณอภิสิทธิ์ คุณบรรหาร คุณจาตุรงค์ แล้ว

ก็ให้สงสัย คนไทยมีตัว นายกฯ ที่ถูก *บังคับให้เลือก*
เพียงแค่นี้เองหรือ? เห็นด้วยกับ คุณคนในวงการ ครับ
บันทึกการเข้า
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #11 เมื่อ: 26-10-2006, 10:38 »

สวัสดีครับ คุณดอกฟ้ากับหมาวัด เห็นด้วยครับ
สังคมไทยเป็นสังคมที่เรียกกันว่า Spoil System ระบบอุปถัมภ์

เรามักที่จะยอมรับอะไรกันได้ง่ายๆ
นิยมยกย่อง *บุคคล* ที่มีเงินทอง มีอำนาจ
มากกว่าที่จะยกย่อง *บุคคล* ด้วยความดี
ความพอเพียงนั้นมีความหมาย *ลึกซึ้ง* ยิ่งนักครับ

ดังนั้นการที่มีใครมาบอกว่า *ไม่กู้-ไม่รวย*
จึงมีจิตใจที่ค่อนข้างจะไม่สะอาด

ยึดถือใน *วัตถุ* ใช้ *วัตถุ* มาเป็นเครื่องวัด
ในความดี ใครมี วัตถุ มากก็ดีมาก
ใครมีน้อยก็ *ไม่ดี* ในสายตาของ คนเหล่านั้น
กระมังครับ คุณดอกฟ้ากับหมาวัด ครับ
บันทึกการเข้า
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #12 เมื่อ: 26-10-2006, 10:40 »


สวัสดีครับ คุณsnowflake กับประโยคที่ว่า
*ถ้าไม่ใช้การเลือกตั้งในการหาตัวแทนมาทำงานให้
ก็ไม่ต้องเรียกว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย*

Hitler ก็มาจาก *การเลือกตั้ง* ครับ
ระบบของ พรรคนาซี เป็น
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือครับ?

ประชาธิปไตยแบบไทย ไม่ดีตรงไหนครับ
ไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหนครับ?

รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๓๔
มาตรา ๑๕๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน
สี่สิบแปดคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
            ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี ไม่ได้หรือครับ
ไม่ดีหรือครับ และไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหนครับ?
บันทึกการเข้า
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #13 เมื่อ: 26-10-2006, 10:41 »

สัวสดีครับ คุณนายเกตุ ชอบตรงประโยคที่บอกว่า
*ถ้ายังได้ผู้นำที่ยังไม่มีจิตใจปชตจริงๆอย่างที่ผ่านๆมา*
นั่นสินะครับ คุณนายเกตุ ครับ
ขออนุญาตตั้งข้อสังเกตุเพิ่มเติมอีกสักนิด

*ความรู้นั้นถ้าไม่พัฒนาขึ้นมาพร้อมกับจิตใจ
ความรู้ก็จะกลายเป็นอาวุธที่ยิ่งใหญ่ซึ่งใช้
ในการทำลาย มนุษยชาติ ด้วยกัน*
กระมังครับ คุณนายเกตุ ครับ
บันทึกการเข้า
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #14 เมื่อ: 26-10-2006, 10:44 »

สวัสดีครับ คุณ Cherub Rock 

ถูกต้องตามที่ คุณ Cherub Rock  ท้งติงมาครับ

ขออภัยที่ไม่ชัดเจนครับ
บันทึกการเข้า
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #15 เมื่อ: 26-10-2006, 10:47 »

สวัสดีครับ คุณพรรณชมพู ครับ

ตามแนวทางความคิดของ คุณพรรณชมพู

เราควรแก้ไขอย่างไร? ก้าวเดินไปในรูปไหน?

และจะป้องกันได้อย่างไร? ครับ คุณพรรณชมพู ครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 26-10-2006, 10:53 »

รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๓๔
มาตรา ๑๕๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน
สี่สิบแปดคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
            ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

ตรงนี้คือที่มาของ นายอานันท์  และ สุจินดา

พูดง่ายๆ สภาเลือกใครก็ได้ แม้ไม่ใช่ สส. หรือ ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง

ประเด็นนี้ต่อสู้กันมา จนจบลงที่ นายกต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นการเลือกตั้งนายกผ่านจากสภา และ นายกต้องเป็น สส.มาก่อน( รัฐธรรมนูญ 2540 )


หัวใจของประชาธิปไตยที่ขาดไม่ได้ คือ ผู้บริหารสูงสุดต้องมาจากประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง หากกลับไปเป็น 2534 ก็เหมือนถอยหลังลงคลองนั่นเอง
บันทึกการเข้า

ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #17 เมื่อ: 26-10-2006, 10:53 »

สวัสดีครับ คุณ Silance Mobius
ถ้า นายกรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
นั่นจะเท่ากับเป็นการ ลดทอนพระราชอำนาจ หรือไม่ครับ
คุณ Silance Mobius ครับ

สวัสดีครับ คุณ aiwen^mei
ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #18 เมื่อ: 26-10-2006, 10:59 »

ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ว่า เราท่านรู้จัก หรือว่าเข้าใจในประชาธิปไตยกันมากน้อยแค่ไหน

ปัญหามันอยู่ที่ว่า จะแสวงหาเหตุผลและความชอบธรรมอะไรมาสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวมากกว่า

ีก็ต้องย้อนไปดูในอดีตว่าเราทำไมถึงได้เปลี่ยนแปลงจากสิ่งนั้นมาสู่ "นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส."

นั่นเป็นเพราะ นายกฯคนนั้น นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง หรือว่า เกิดอาการเบื่อหน่ายทางการเมือง

เลยประกาศวางมือไปเองโดยธรรมชาติ หรือว่า ถูกอะไรกดดันให้ต้องเบื่อหน่าย

หรือว่าระบบที่ว่านั้นมันมีรูรั่วช่องโหว่บางอย่าง


ขอมองข้ามช้อตไปเลยจะดีกว่า ว่าจะต้องมีกลุ่มคนอ้างอิงสถาบันฯ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับเรื่องนี้

ใครก็ตามที่มีศักยภาพพอที่จะทำอย่างนั้นได้ ก็คงจะสามารถคุมเกมส์การเมืองการปกครองในประเทศนี้

ไปได้อีกนานแสนนาน และกลุ่มใดก็ตามที่ไม่ไปสยบยอมพินอบพิเทากับกลุ่มคนดังว่านี้

ก็หมดโอกาสทีีจะได้เข้ามาบริหารประเทศ เสนอแนวคิด นโยบายใหม่ๆ

มันเหมือนกับ InBreed ด้านนโยบาย ที่มีแต่จะแคระแกรน โง่เขลาดักดาน ลงเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #19 เมื่อ: 26-10-2006, 11:01 »

สวัสดีครับ คุณแคน

ประเด็นปัญหามันก็จะกลับมาที่ *นักเลือกตั้ง*

ซึ่งดูแล้ว คนที่จะมาดำรงค์ ตำแหน่ง นายกฯ

มีเพียงแค่ ๓ คน จาก คนไทย กว่า ๖๐ ล้านคน

ตัวเลือกจะน้อยไปหรือเปล่าครับ คุณแคน นั่นประเด็นหนึ่ง


อีกประเด็นหนึ่งกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน

จะมีคนกลับมาอ้าง ๑๙ ล้านเสียง ๑๖ ล้านเสียง อีกหรือไม่?

ครับ คุณแคน ครับ
บันทึกการเข้า
ตะนิ่นตาญี
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 71


« ตอบ #20 เมื่อ: 26-10-2006, 11:04 »

สวัสดีครับ คุณ killer ครับ

ขอบคุณครับที่ให้ความเห็นที่น่าฟังมากครับ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #21 เมื่อ: 26-10-2006, 11:19 »

มีการเลือกตั้งอาจไม่เป็นประชาธิปไตย
ถ้าผู้ที่ได้อำนาจนำไปใช้แบบผูกขาดไม่ฟังเสียงใคร กลายเป็นเผด็จการ

แต่ถ้าจะเป็นประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง
เพราะเป็นกระบวนการสรรหาผู้มาทำหน้าที่แทนตัวเรา
เนื่องจากประชากรมากไม่อาจให้ทุกคนเข้าไปออกเสียงโดยตรงในสภาได้

ทำนองเดียวกับนกต้องมีปีก แต่มีปีกอาจไม่ใช่นก
หวังว่าคงเข้าใจ

นายกฯ มาจาการแต่งตั้ง มิใช่เลือกตั้ง ไม่ดีอย่างไร
รบกวนเบื้องพระยุคลบาทมากไป
เหมือนลูกที่ไม่รู้จักโตเป็นผู้ใหญ่ รับผิดชอบตัวเอง
จะรบกวนท่านไปอีกนานแค่ไหนล่ะคะ

ผิดถูกก็เรียนรู้เอาจากประสบการณ์
จะเป็นลูกแหง่ให้พ่อดูแลไปถึงเมื่อไหร่
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 26-10-2006, 11:35 »

ประเด็นมันไม่ใช่ว่าเป็นนักเลือกตั้งหรือไม่

การเข้าสู่อำนาจตามหลักการก็ต้องผ่านความเห็นชอบของประชาชน

จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญ 2540 แก้ปัญหานี้ ด้วยการเปิดให้มี สส. ปาร์ตี้ลิสต์

ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ได้บังคับว่าต้องเป็นนายบรรหาร อภิสิทธิ์ หรือ จาตุรนต์

แต่รัฐธรรมนูญ 2540 เปิดโอกาสให้ สส. ทุกคน ไม่ว่าปาร์ตี้ลิสต์หรือ สส.เขต เป็นนายกได้

คน 500 คน ที่ผ่านการเลือกตั้ง มีสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีครับ

นั่นคือ อย่างน้อย คุณต้องแสดงเจตน์จำนงว่า "คุณมีความต้องการเข้ามาบริหารบ้านเมือง" ประชาชนจะได้ตรวจสอบตั้งแต่เริ่ม

มิใช่เป็นใครมาจากใหนก็ได้-แล้วแต่สภา ซึ่งตรงนี้หลักการคือ ประชาชนสามารถดูแลก่อน ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่สภา

เมื่อไม่ได้มาตามช่องทางของประชาชนเลือก ก็ไม่บังควรแต่งตัวรอรับพระบรมราชโองการฯ โดยไม่ออกแรงอะไรเลย

ความหมายตรงนี้ คือต้องการให้นายกรัฐมนตรีต้องยึดโยงกับประชาชน ไม่ใช่เป็นเทพลอยมาจากฟ้า สัมผัสไม่ได้ หรือโดนแขวะเล็ก ๆ น้อยก็บอก "ผมพอแล้ว"


การไม่ผ่านการเลือกตั้ง คือ ปมด้อยที่นายกรัฐมนตรีพูดไม่ได้เต็มปากว่า "ผมมาจากประชาชน" หรือ "ผมเป็นคนของประชาชน"

ส่วนการอ้างว่า...ผมมาจากประชาชน 14 ล้าน 16 ล้าน นั่นพูดได้ แต่มิใช่ข้อแก้ตัวว่า คุณมาแล้วคุณทำอะไรก็ไม่ผิด

ไม่ใช่ครับ...แม้จะมาจาก 16 ล้าน 19 ล้าน หากทำผิดก็ต้องรับโทษหรือต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบในการทำงาน

ต้องแยก ๆ การใช้ ตรรกะ "ผมมาจากประชาชน" ให้แตกครับ

"ผมมาจากประชาชน" คือ กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่ง

จะนำไปอ้างในการป้องกันตนเองให้พ้นจากการตรวจสอบ-ถ่วงดุล...ไม่ได้ครับ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-10-2006, 00:28 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #23 เมื่อ: 26-10-2006, 11:48 »

 

ตอบว่ามาจากวิธีอื่นๆก็ได้  ก็เท่าที่เห็นๆ กันอยู่ ทุกวันนี้นี่แหละ


แต่ตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่ผ่านมา  บอกว่า ต้องมาจากการเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญ และกฎต่างๆ  ก็ใช้งานได้เฉพาะตอนที่มันมีคนคุมเท่านั้น

และแม้แต่การเปลี่ยนแปลงก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ไม่เช่นนั้นเราคงยึด รัฐธรรมนูญ สมัยพระเจ้าเหาปี 2475 ไปแล้ว


ในรัฐธรรมนูญ ประเทศประชาธิปไตยปัจจุบัน  ในอีก 20 ปีข้างหน้า อาจไม่บัญญัติดังนี้ก็ได้

อาจจะบอกว่า ให้เลือกตั้งจากนั้นอเมริกาจะกลั่นกรองก่อนอีกรอบ

 

ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 26-10-2006, 11:59 »

ขั้นตอนการแต่งตั้งนายกได้เปลี่ยนแปลง จาก รัฐธรรมนูญ 2534

เพราะตรงนั้น ประธานรัฐสภา สามารถใส่ชื่อใครก็ได้ ขึ้นไปให้โปรดเกล้าฯ ( กรณีประธานแก้มแดง เสนอชื่อนายอานันท์ )

รัฐธรรมนูญ 2540 จึงต้องกำหนดวิธีการ ไม่ให้ประธานรัฐสภาเบี้ยวการลงมติของสภา

บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #25 เมื่อ: 26-10-2006, 15:15 »

ตอบตามหัวข้อกระทู้คือ ถ้าไม่ใช้การเลือกตั้งในการหาตัวแทนมาทำงานให้
ก็ไม่ต้องเรียกว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เรียกอย่างอื่นไปให้มันตรงกับที่เป็น ที่ชาวโลกเข้าใจและเห็นได้ตรงกัน
อย่าบิดเบือนด้วยการประดิษฐ์คำใหม่ เช่น “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” จะดีกว่า
อยากเป็นตัวของตัวเองก็กล้าๆ หน่อย ไม่ต้องหลอกลวงใคร
โดยเริ่มจากการไม่หลอกตัวเอง

การเลือกตั้งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย ไม่ใช่สาระสำคัญ
ต้องมีการส่วนร่วมในการปกครองตามมาหลังจากนั้น
แต่ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างแน่นอน

ว่าแต่ท่านที่มาตอบกระทู้นี้ คิดว่าตัวเองนิยมประชาธิปไตยแบบไหน?
หรือไม่นิยมก็เชิญโหวตได้ที่ http://forum.serithai.net/index.php?topic=9282.0
ผู้เขียนเขาอุตส่าห์หาคำมาเรียกให้ตั้งหลายแบบ
เพื่อให้ทุกคนได้ชื่อว่ามี “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ”




ผมมาสนับสนุนความเห็นว่า "นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง"....

ผมต้องการนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครับ
แม้ว่าจะไม่ได้คนดีทุกครั้งก็ตาม
เลวเกินไป ก็ยุให้ทหาร"ล้มกระดาน"ทีหนึ่ง.....



บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #26 เมื่อ: 26-10-2006, 19:39 »

สวัสดีครับ คุณพรรณชมพู ครับ

ตามแนวทางความคิดของ คุณพรรณชมพู

เราควรแก้ไขอย่างไร? ก้าวเดินไปในรูปไหน?

และจะป้องกันได้อย่างไร? ครับ คุณพรรณชมพู ครับ

ปัญหาอยู่ที่ใด แก้ที่ตรงนั้น

รูปแบบการปกครองที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ควบคุมราชการทุกภาคส่วน ทำให้เกิดปัญหา ก็เอาอำนาจออกจากมือนายกรัฐมนตรีเสีย ให้ควบคุมเฉพาะฝ่ายบริหารเท่านั้น ตามกลไกอันถูกต้องของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา  แยกอำนาจนิติบัญญัติและตุลาการออกมาให้เด็ดขาด

ในเมื่อเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงไม่ได้ เนื่องจากติดปัญหารูปแบบการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุข ก็ให้เลือกสภาบริหารขึ้นมาแทน เพื่อทำการคัดสรรนายกรัฐมนตรี  สภาบริหารนี้มีหน้าที่เลือกนายก ไล่นายก ไม่ไว้วางใจนายก แต่ไม่มีอำนาจในการบริหารเอง ห้ามรับตำแหน่งทางการเมือง และไม่เกี่ยวกับนิติบัญญัติ

สภานิติบัญญัติก็เลือกเข้ามาดูแลกฎหมาย พิจารณากฎหมายของรัฐบาลและผู้มีหน้าที่เสนอกฎหมาย ไม่มีอำนาจเข้าไปรับตำแหน่งการบริหารอีก เพราะเป็นเรื่องของสภาบริหารเขาจะจัดการกัน

สภาตุลาการ ดูแลเรื่องของตุลาการ ขาดไปจากฝ่ายบริหาร ไม่มีอิทธิพลก้าวก่ายกัน

ทุกองค์กร ต้องได้รับการโปรดเกล้า หากทูลเกล้าแล้วมิตอบกลับมาภายในกำหนด ให้ถือว่าไม่ทรงเห็นชอบ หาคนใหม่เลือกคนใหม่ ไม่ต้องตีความ

ทุกตำแหน่งที่ประชาชนเลือกเข้ามา ห้ามลาออก ต้องทำงานครบวาระ ขาดประชุมเกินกำหนด ไล่ออก ห้ามกลับเข้ามาในระบบการบริหาร นิติบัญญ้ติ ตุลาการ อีกตลอดชีวิต และจ่ายค่าเสียหายมาด้วย

ทุกตำแหน่ง อยู่ได้ไม่เกินสองสมัย ครบแล้วห้ามเข้ามาเป็นอีกไม่ว่าจะสายไหน บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ครบแล้วไปไหนก็ไป อย่ากลับมา เข้าสู่ระบบการบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการไม่ได้

ใจเสาะ เห็นว่ากติกามาก ไปนอนอยู่บ้าน ไม่ต้องเสนอหน้าเข้ามา

ประเทศไทยมีพลเมืองเกือบ 70 ล้านคน  สี่ปีหาคนมาทำงานไม่ถึงหมื่นคนในตำแหน่งต่างๆที่ว่ามาไม่ได้  ก็คงจะต้องสิ้นชาติ

เลีอกกี่หน สรรหากี่หน ได้ไอ้หน้าชั่ว หน้าช้ำ หน้าเน่า ตัวเดิมๆเข้ามาจนเบื่อ  ประเทศนี้มันหมดคนมีฝีมือเพียงเท่านี้หรือ  เกิดมาจนจะล้นประเทศ มีแต่กระบือหรือ

คนมีปัญญาในบ้านเมืองเรามีเยอะค่ะ   เอาไอ้หน้าเดิมๆไปถ่วงน้ำทิ้งซะบ้าง เราก็อยู่กันได้ค่ะ ไม่ต้องเขียนกติกาให้มันกลับเข้ามาหรอก

รับรองว่าอยู่ได้ อยู่สบายด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 26-10-2006, 19:54 »

การแยกอำนาจบริหาร ออกจาก นิติบัญญัติ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญก็เด่นชัด คือคนที่จะไปเป็น นายกรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหาร

ต้องลาออกจากการเป็น สส. นั่นหมายความว่า ตัดความสัมพันธ์การเป็น "ผู้แทนราษฎร" ออกไปก่อน

เพื่อให้ระยะห่างของการตรวจสอบเป็นไปได้พอเหมาะพอสม และให้ สส. ทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ ( แม้จะอยู่พรรคเดียวกัน )

แต่รัฐบาลหน้าเหลี่ยมไม่เป็นเช่นนั้น คือ ควบคุม สส.จนกระดิกตัวไม่ได้ เป็น "สส. ไบ้"

แม้แต่จะประกาสตัวลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรี ยังไม่ได้เลย...ซึ่งตรงนี้ก็ผิดหลักการถ่วงดุลกันแล้ว

เมื่อ สภานิติบัญญัติ กับ บริหาร จับแต่งงานไปใหนไปด้วยแบบนี้ แล้วจะเอาอะไรไปคานอำนาจกันเล่าครับ

ยกเว้นแต่ให้อีกอำนาจหนึ่ง คือ ตุลาการ...ซึ่งตรงนั้นก็ "ล็อค" ไว้ เยอะแยะไปหมด...
บันทึกการเข้า

แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #28 เมื่อ: 26-10-2006, 20:09 »

ถ้าเป็นสภาวะการณ์ปกติ นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ครับ
แต่ตอนนี้ นายกที่มาจากการเลือกตั้ง มันไม่เหมาะสมที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปแล้ว เราจึงต้องยอมรับ นายกฯที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง
แค่เพียงเพราะนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งคนนี้ มันชั่ว คงไม่ต้องถึงกับเปลี่ยนแปลงหลักการนี้หรอกครับ

ผมไม่เข้าใจแนวคิดของ คุณพรรณชมพู ครับ เรื่อง สภาบริหาร สภานิติบัญญัติ สภาตุลาการ ว่าจะแก้ปัญหาได้ยังไง
เพราะถ้าคนอย่างทักษิณขึ้นมามีอำนาจ ก็จะต้องใช้อำนาจเงินของตัวเองเข้าไปแทรกแซงในทุกองค์กรอยู่ดี
คนมีเงินเยอะอย่างนั้นสามารถส่งคนของตัวเองเข้าไปมีอำนาจในทุกสภาที่ตั้งขึ้นมาอยู่แล้ว

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบอบประชาธิปไตยของเราในเวลานี้ เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคล มากกว่าที่ระบบ

อ้อ ตัวบุคคล นี่  ไม่ใช่ทักษิณนะครับ แต่หมายถึง คนที่ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  
บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 26-10-2006, 20:27 »

อ.นิธิ ก็บอกแล้วนี่นะตรงกับใจผม...คือใครจะมาก็ตาม...ประชาชนต้องควบคุมได้

นั่นหมายความว่า ต้องมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลอื่น ๆ ที่จะเข้าถึงตัวผู้บริหารได้ ไม่ยากเกินไป ไม่ง่ายเกินไป

การสร้างสถาบันตรวจสอบ เป็นเรื่องที่ต้องคิดกันให้มาก โดยโยงยึด "อำนาจที่ 4" คือจากสถาบันต่าง ๆ แบบที่ อาจารย์ธีรยุทธ์เสนอนั่นแหละ

อำนาจที่ 4 นี้ จะเป็นอำนาจทางการเมือง "ตัวจริง" ซึ่งมีอยู่ในสังคมไทย ไม่ว่าผู้เฒ่าผู้แก่ คนที่ประชาชนเคารพนับถือ ตัวแทนองค์กรวิชาชีพอื่น ๆ องค์กรสื่อมวลชน หรือแม้แต่สภาปราชญ์ องคมนตรี เหล่าทัพ องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ เราต้องมีตรงนี้ ให้เป็นอีกหนึ่งอำนาจ สามารถ ประนามการทำไม่ดีของรัฐบาลได้ ส่วนจะไปจัดสรรการตั้งองค์กรยังไงก็ไปคิดกันขึ้นมา ใส่ในรัฐธรรมนูญเข้าไป

อย่าให้ใครมาประนามว่าเป็น"ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" อีกต่อไป...ใส่มันลงไปแบบไทย ๆ นี่แหละ...

เป็นประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ที่ไม่ได้มีแต่ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ซึ่งลอกเค้ามาโดยไม่ดูฐานรากของสังคมไทย

อย่างที่ผมเรียกว่า "มนตรีจริยธรรม" อะไรประเภทนั้นแหละครับ องค์กรนี้จะได้รับความเชื่อถือ ไม่แพ้องค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง
เพราะมาจากสิ่งที่เห็นจริงแล้ว ประชาชนคนใดที่มีวัตรปฏิบัติยอดเยี่ยม ดำรงตนอยู่อย่างมีเกียรติเป็นที่เชิดชูยิ่ง กลุ่มผู้อาวุโสเหล่านี้แหละที่จะเป็น แกนแก่นของความมีจริยธรรม ไว้ถ่วงดุลนักการเมือง นอกเหนือจากการตรวจสอบในระบบด้วยองค์กรอิสระและศาล

ที่สำคัญ ต้องไม่ให้นายกปากเสีย ไปเที่ยวกล่าวจาบจ้วงผู้ใหญ่ว่า "พ่อผมแก่กว่า" อะไรแบบนี้ วัฒนธรรมไทยเสียหายหมดครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26-10-2006, 20:30 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #30 เมื่อ: 26-10-2006, 21:23 »

ทำนองเดียวกับนกต้องมีปีก แต่มีปีกอาจไม่ใช่นก
หวังว่าคงเข้าใจ
เหมือนโก๊วเล้งบอกเลย

ลูกบอลมันกลมๆ แต่กลมๆอาจไม่ใช่ลูกบอล
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #31 เมื่อ: 26-10-2006, 22:20 »

ทำนองเดียวกับนกต้องมีปีก แต่มีปีกอาจไม่ใช่นก
หวังว่าคงเข้าใจ
เหมือนโก๊วเล้งบอกเลย

ลูกบอลมันกลมๆ แต่กลมๆอาจไม่ใช่ลูกบอล

คุณ ชอบแถ เขียนไว้ในกรอบเดียวกัน
อ่านทีแรกเกือบนึกว่า โกวเล้งพูดถึงบอลลูกกลมๆ ซะแล้ว

เมื่อคืน Liverpool ชนะ ได้เข้ารอบต่อไปของ Carling's (League) Cup ค่ะ
กลัวแฟนที่เชียร์จะไม่ตื่นเต้นพอ จากนำ 4-1 จบด้วยนำ 4-3 ดีที่หมดเวลา ระฆังช่วย

 

ป.ล. ขออภัย จขกท. ที่ออกทะเลไปหน่อย คิดว่าโฆษณาคลายเครียดนะคะ  Very Happy
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
tiger
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 104


« ตอบ #32 เมื่อ: 27-10-2006, 16:37 »


สวัสดีครับ คุณsnowflake กับประโยคที่ว่า
*ถ้าไม่ใช้การเลือกตั้งในการหาตัวแทนมาทำงานให้
ก็ไม่ต้องเรียกว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย*

Hitler ก็มาจาก *การเลือกตั้ง* ครับ
ระบบของ พรรคนาซี เป็น
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือครับ?

ประชาธิปไตยแบบไทย ไม่ดีตรงไหนครับ
ไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหนครับ?

รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๓๔
มาตรา ๑๕๙ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน
สี่สิบแปดคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
            ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี ไม่ได้หรือครับ
ไม่ดีหรือครับ และไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหนครับ?

คุณจขกทไม่อยากเลือก  ก็ไม่เป็นไรครับ  เรื่องของคุณ  ไม่ใช่เรื่องของผม

แต่ผมอยากเลือกตั้งครับ  ผมต้องการเลือกคนที่จะมาบริหารประเทศ

มาถึง  ฮิตเล่อร์  ชายหนวดจิ๋มที่คนไทยทั้งหนุ่มทั้งแก่กล่าวขวัญถึง

ฮิตเล่อร์มาจากการเลือกตั้ง   แล้วยังไงต่อครับ   จบด้วนๆอย่างนี้หรือครับ  555555

ตลกปัญญาอ่อน   เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง   ประชาชนชาวเยอรมันเสียชีวิตไปยี่สิบล้านคน   ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย

ประเทศเยอรมันสูญเสียรากฐานทางอุตสาหกรรมทั้งหมด  สูญเสียทุกอย่าง  แล้วยังไงต่อ

ผู้หญิง  เด็ก  และคนแก่ชาวเยอรมันลุกขึ้นมาสร้างชาติ  ฟันฝ่าอุปสรรคทุกอย่าง

เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก  สงครามในยุโรปสิ้นสุดในปลายปี  1945  ปีนี้  2006  สงครามจบไปแล้วหกสิบปีครับ

ประชาชาติเยอรมันก็อยู่ในระบอบประชาธิปไตยมาโดยตลอด  ก็ยังเลือกตั้งประธานาธิปดี   เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี   เลือกตั้งผู้แทนราษฏร

รวมประเทศแล้ว  ก็เลือกตั้งกันต่ออย่างสนุกสนาน   คนเยอรมันทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกำหนดอนาคตของประเทศเยอรมัน

หกสิบปีผ่านไปไวเหมือนโกหก

มีสักครั้งหรือไม่ครับ  ที่ทหารหาญชาวเยอรมันทำรัฐประหาร

ฮิตเล่อร์มาจากการเลือกตั้ง   แล้วยังไงต่อครับ   คนเยอรมันก็เลยเชียร์ให้ทหารเยอรมันทำรัฐประหารหรือครับ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #33 เมื่อ: 27-10-2006, 17:08 »


ผมมาสนับสนุนความเห็นว่า "นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง"....

ผมต้องการนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครับ
แม้ว่าจะไม่ได้คนดีทุกครั้งก็ตาม
เลวเกินไป ก็ยุให้ทหาร"ล้มกระดาน"ทีหนึ่ง.....



ไม่เห็นด้วยค่ะ การเมืองไม่ใช่เรื่องของทหาร
ประชาชนก็ไม่ควรไปยุให้ทหารมา "ล้มกระดาน" ทำรัฐประหาร ไม่ว่ากรณีใดๆ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 27-10-2006, 17:21 »

ผมเชื่อว่าดังนี้ครับ

นายกฯ ต้องมาจากทั้งการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งคงไม่ได้ครับ ไม่เป็นที่ยอมรับทั่วกัน
ผมมีข้อเสนอดังนี้

1.บุคคลคนหนึ่ง จะอยู่ในตำแหน่งบริหาร(คณะรัฐมนตรี)เกินว่า8ปีไม่ได้
2.นายกฯ น่าจะมาจากการคัดเลือกและเลือกตั้งหลายชั้นโดยตรงได้ เพื่อแยกอำนาจบริหารและนิติบัญญัติออกจากันในด้านตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการคานอำนาจกันได้จริง
3.การปฏิรูปการเมืองและราชการ ตลอดจนประชาชนและการศึกษา การคอร์รัปชัน ธรรมมาภิบาล การเมืองเศรษฐกิจสังคม สิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม เปิดเผย โปร่งใส ตรงไปตรงมา สร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพประสิทธิผล สามารถตรวจสอบได้ในทุกด้าน ทั้งด้านนโยบาย การวางแผนนต่างๆ การตัดสินใจ ความสมานฉันท์ ความพอเพียงเพียงพอ ต้องดำเนินต่อไป ในทุกรายละเอียด ต้องประยุกต์ให้มีโครงสร้างคณะกรรมการปฏิรูปและติดตามประสานการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นองค์กรอิสระโดยถาวร มีอำนาจในแง่การตรวจสอบข้อมูลข่าวสารทุกชนิดและบทบาทตามกติกาของฝ่ายต่างๆครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2006, 17:30 โดย Q » บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #35 เมื่อ: 29-10-2006, 18:45 »


ผมมาสนับสนุนความเห็นว่า "นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง"....

ผมต้องการนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครับ
แม้ว่าจะไม่ได้คนดีทุกครั้งก็ตาม
เลวเกินไป ก็ยุให้ทหาร"ล้มกระดาน"ทีหนึ่ง.....



ไม่เห็นด้วยค่ะ การเมืองไม่ใช่เรื่องของทหาร
ประชาชนก็ไม่ควรไปยุให้ทหารมา "ล้มกระดาน" ทำรัฐประหาร ไม่ว่ากรณีใดๆ


ไม่เห็นด้วยค่ะ การเมืองไม่ใช่เรื่องของทหาร
ประชาชนก็ไม่ควรไปยุให้ทหารมา "ล้มกระดาน" ทำรัฐประหาร ไม่ว่ากรณีใดๆ


เป็นความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
ท่านที่อ่านย่อมใช้วิจารณญาณของตนเองพิจารณา
ต้องการอยู่ในระบอบประชาธิปไตยฯ รูปแบบใด อย่างใด.....


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 30-10-2006, 00:38 »

การเมืองไม่ใช่เรื่องของทหาร แต่ความมั่นคง ก็อยู่ในมือของทหาร

ทำยังไงให้มีอำนาจคาน ๆ กันไว้บ้าง เช่น ห้ามนายกไปยุ่งกับการแต่ตั้งทหาร

ให้สภากลาโหม ขึ้นตรงไปที่ "จอมทัพ" ซึ่งกระบวนการแต่งตั้งถอดถอนของทหารเค้ามีระบบของเค้าอยู่แล้ว


แต่จะว่าไป การปฏิวัติใด ๆ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน ไม่เคยสำเร็จครับ

ดังนั้นฐานของการปฏิวัติ คือต้องมาจากฐานของประชาชนส่วนใหญ่...
บันทึกการเข้า

Politician Boss
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61


« ตอบ #37 เมื่อ: 30-10-2006, 00:58 »

มาตรา ๖๓  บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว  แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
============================================================================
เราได้รับสิทธิ ให้เลือกผู้นำของเราเองไม่ใช่หรือ ? เราก็ใช้มันซิ เพราะยังไงมันก็ดีกว่าให้คนอื่นเลือกให้แน่นอน ไม่น่าถาม
บันทึกการเข้า
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #38 เมื่อ: 30-10-2006, 01:19 »

ฟันธง...........

ประเทศไทยไม่มีวันที่จะได้เป็นประชาธิปไตยแบบชาวโลกที่(เขาว่า)เจริญแล้วได้หรอกครับ

เพราะถ้ายังได้ผู้นำที่ยังไม่มีจิตใจปชตจริงๆอย่างที่ผ่านๆมา

และถ้าปชชคิดเพียงแต่ว่าปชตคือแค่การออกไปเลือกตั้งคนหรือพรรคที่เราชอบ

โดยไม่สนใจจริยธรรมของนักการเมืองเป็นองค์ประกอบประภทโกงแต่ทำงานก็เอาว่ะ

ถ้ายังคิดกันได้แค่นี้นะรับรองยังต้องเห็นรถถังมาวิ่งอีกนาน

ฟันธง


ฟันทักครับ
ฟันแหม้งเลย

ในโลกนี้ยังมีคนเชื่อว่า
"ทำให้เหมือน ๆ กันแล้วก็จะได้ผลลัพย์เดียวกัน"
อยู่ด้วยจริง ๆ
...ซึ่งเรียกว่า "พวกนักอุดมคติ"
หรือ "พวกหัวสี่เหลี่ยม"



บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 30-10-2006, 01:22 »

ลองอ่านตอนท้ายของกระทู้ เท่าที่ดู น่าจะหมายถึง รัฐธรรมนูญใหม่ครับ

มาตรา 63 กับ 65 ( 2540 )เขียนให้ต่อต้านการรัฐประหารได้ แต่ทำไงได้ล่ะ อำนาจมันไปอยู่ที่ รัฐธรรมนูญชั่วคราว( 2549 )แล้ว

เดี๋ยวผมจะลองค้นเรื่อง มุมมองเรื่องกฎหมายกับการปฏิวัติ มาเล่นซักกระทู้

อาจมีมุมมองที่แตกต่างบ้าง
บันทึกการเข้า

สี่หามสามแห่
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,460



« ตอบ #40 เมื่อ: 01-11-2006, 02:47 »

ประเทศจีน เป็น คอมฯ

แต่ก็มีการเลือกตั้งนะครับ แต่ว่า มีพรรคเดียวให้เลือก คือ พรรคคอม ฯ

ฉะนั้นจะมาว่า การเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย คงไม่ถูกนักนะ

การเลือกตั้ง ก็เป็นแค่ Tools อย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย เท่านั้นเอง

ผมว่าหลายท่านอาจจะต้องกลับไปดูใหม่ ว่า ประชาธิปไตย คืออะไรหล่ะมั๊งครับ

การเลือกตั้งไม่ได้เท่ากัีบ ประชาธิปไตย นะครับ

ตรรกะนั้น มัน เป็น ตรรกะเหลี่ยม ครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #41 เมื่อ: 01-11-2006, 03:09 »

คำว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ ก็มาจาก "นายกไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง" นี่แหละครับ

สมัยนายกเกรียงศักดิ์ น้อยใจ ขนาดลาออก แล้วไปสมัคร สส. จนเกิดโรค "ร้อยเอ็้ด" มาแล้ว

สมัยป๋าเปรมก็ ครึ่งใบ มาเต็มใบ ตอน นายกชาติชาย แตก็โดนโค่นโดย รสช. กลับมาเป็นครึ่งใบอีกครั้ง

ตอนนั้นก็เลยเริ่มมีขบวนการเรียกร้องปฏิรูปการเมือง โดยกลุ่มหมอประเวสเป็นหัวหอก

จนกลายมาเป็นรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ด้วยบทเฉพาะกาลทำให้ช่วงแรกที่ ปชป. ครองอำนาจ ยังใช้บทเฉพาะกาลอยู่

มาใช้จริง ๆ ก็ตอนเลือกตั้ง 2544 และ 2548

เราโชคร้าย ที่ประเดิมด้วยรัฐบาล ทรราช แบบทักษิณ แค่นั้นเอง

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: