ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-04-2024, 03:48
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  มือหยาบกร้านที่สานเก้าอี้ไม้ไผ่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
มือหยาบกร้านที่สานเก้าอี้ไม้ไผ่  (อ่าน 864 ครั้ง)
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« เมื่อ: 23-10-2006, 12:53 »

มือหยาบกร้านที่สานเก้าอี้ไม้ไผ่

สามสิบสองปีก่อน ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งนาม มูฮัมมัด ยูนุส พบหญิงสาวคนหนึ่งชื่อซูเฟียในชนบทแห่งหนึ่งในบังคลาเทศ กำลังสานเก้าอี้ไม้ไผ่ด้วยมือที่หยาบกร้าน

ซูเฟียเป็นหญิงสาวขี้อายวัยยี่สิบเอ็ด มีลูกสามคน ทำงานสานเก้าอี้ไม้ไผ่อย่างขะมักเขม้น แม้มือที่สานเก้าอี้จะหยาบกร้านเพราะทำงานหนักมาตลอดชีวิต แต่งานของเธอสวยงามน่าดู

มูฮัมมัดคุ้นเคยกับชื่อนี้อย่างยิ่ง เพราะแม่ของเขาก็ชื่อ ซูเฟีย

เขาถามซูเฟียว่า เธอมีรายได้เท่าใดจากการทำงานนี้

ซูเฟียตอบว่า แทบไม่ได้อะไร เพราะเธอยืมเงินจากนายหน้าคนหนึ่งไปซื้อไม้ไผ่ หลังจากทำงานเสร็จแล้ว รายได้แทบทั้งหมดก็ตกในมือของคนให้ยืมเงิน เหลือเงินเพียงห้าตะกา (2 บาท 80 สตางค์) ไม่พอเลี้ยงครอบครัว

มูฮัมมัดคิดกับตัวเอง ไม่น่าเชื่อ เพื่อเงินเพียงห้าตะกา เธอต้องทำงานเยี่ยงทาส เขาไม่เข้าใจว่าทำไมเธอต้องยากจนเช่นนี้ในเมื่อเธอทำงานอย่างหนัก

แน่นอนชีวิตของเขาต่างจากเธอลิบลับ พ่อของมูฮัมมัดทำธุรกิจเพชรพลอย ทำให้เขามีโอกาสมากกว่าหญิงสาวชนบทผู้นี้ นอกจากจะมีฐานที่ดีรองรับ มูฮัมมัดยังเรียนเก่ง สอบได้ทุนฟูลไบรท์ ได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกในสหรัฐอเมริกา หลังจากทำงานในอเมริกาหลายปี เขาก็ตัดสินใจกลับบ้านเดิมของเขา

วันรุ่งขึ้นมูฮัมมัดกับลูกศิษย์ติดตามซูเฟียไปยังหมู่บ้านของเธอ และเริ่มสำรวจหมู่บ้าน พวกเขาพบว่าซูเฟียไม่ใช่คนเดียวที่มีประสบการณ์แบบนี้ มีชาวบ้านถึง 43 คนในหมู่บ้านเป็นหนี้รวม 856 ตะกา (485 บาท) ชาวบ้านไม่มีเงินซื้อเครื่องมือทำมาหากิน และไม่มีทางเลือกนอกจากยืมเงินจากพ่อค้า

ด้วยความสะท้อนใจ มูฮัมมัดหยิบเงินราวหนึ่งพันบาทที่ตนมีให้คนเหล่านั้น บอกพวกเขาว่า จงเอาไปไถ่ตัวเองเถิด ไปซื้อเครื่องมือทำกินเท่าที่จำเป็นโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง แล้วคืนเงินเขาเมื่อไรก็ได้ที่พร้อม

ผ่านไปปีเศษ เขาประหลาดใจอย่างยิ่งเมื่อชาวบ้านเหล่านั้นคืนเงินแก่เขาครบทุกบาททุกสตางค์ และยังได้สร้างผลผลิตจากเงินที่เขาให้หยิบยืม

ชาวบ้านอาจไร้เงินทอง แต่ไม่ไร้ความซื่อสัตย์

เงินเพียงเล็กน้อยสำหรับคนมั่งมีสามารถต่อชีวิตและอาชีพแก่คนยากไร้ในชนบทอย่างไม่น่าเชื่อ

พลันศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ก็เกิดความคิดที่จะสานต่อแนวคิด 'ยืมเงินอย่างซื่อสัตย์' เขาขยายความช่วยเหลือแก่ชาวบ้านที่ยากไร้ และถูกเอาเปรียบตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นั่นคือให้ยืมเงินเท่าที่จำเป็นเพื่อไปซื้อเครื่องมือทำมาหากิน



ด้วยการมองโลกในแง่ดีว่า ความซื่อสัตย์ยังมีในโลก เขาตัดสินใจก่อตั้งธนาคารกรามีน (กรามีน ในภาษาบังคลาเทศแปลว่า หมู่บ้าน) ทำงานด้วยหลักการที่เรียกว่า สินเชื่อจุลภาค (microcredit) เป็นธนาคารคนยากแห่งเดียวในโลกที่ให้ชาวบ้านยืมเงินโดยใช้หลักของความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ ไม่มีการค้ำประกัน ไม่มีการจำนอง

แน่นอนนายธนาคารทั้งหลายหัวเราะเยาะความคิดของเขา เนื่องจากเชื่อมั่นว่า ไม่มีใครในโลกที่สามารถเชื่อถือได้ วงการธนาคารแทบตั้งเป็นกฎว่า ไม่มีผู้กู้ยืมรายใดในโลกที่มีความซื่อสัตย์นำเงินมาคืนโดยปราศจากการค้ำประกัน

แต่ทุกกฎในโลกมีข้อยกเว้น 99 เปอร์เซ็นต์ของผู้กู้ยืมจากมูฮัมมัด นำเงินมาคืนเขา!



โลกเราเต็มไปด้วยคนที่ไม่เชื่อในเรื่องความซื่อสัตย์ บางทีความไม่ไว้วางใจต่อกันยิ่งผลักดันให้คนไม่ไว้ใจกัน ยิ่งทำให้คนซื่อสัตย์มีน้อยลง

เมื่อปลูกฝังความรู้จักพอ ก็ไม่มีเหตุผลใดที่มนุษย์จะเป็นคนคดโกง

ความโลภมีแต่ทำให้ชีวิตร้อนรุ่ม รวยแล้วก็อยากรวยขึ้น ในที่สุดเมื่อความโลภครอบงำ ก็สามารถทำทุกอย่างเพื่อให้รวยขึ้นกว่าเดิม

เงินอาจซื้อความสบาย แต่ไม่ใช่ความสุข

น้อยคนที่ร่ำรวยเงินทองเข้าใจสัจธรรมที่ว่า ความสุขทางใจเกิดขึ้นได้จากความพอเพียงและรู้จักเผื่อแผ่ต่อคนที่ด้อยโอกาสกว่า

ยิ่งคืนกำไรแก่สังคม ก็ยิ่งรู้จักความงามของการให้



ผ่านไปสามสิบสองปี มูฮัมมัด ยูนุส ยังระลึกถึงมือหยาบกร้านคู่นั้นที่สานเก้าอี้ไม้ไผ่

สังคมที่สวยงามก็เช่นเก้าอี้ไม้ไผ่ของซูเฟีย เกิดจากการถักสานหลากหลายชีวิตเข้าด้วยกัน

เป็นงานที่เหนื่อยยาก เป็นงานที่ไม่มีกำไร แต่เป็นงานที่ต้องช่วยทำกันหลายคน

...........

ป.ล. มูฮัมมัด ยูนุส และธนาคารกรามีนของเขา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2006 ปัจจุบันธนาคารมี 2,226 สาขา ใน 71,371 หมู่บ้าน หลักการของสินเชื่อจุลภาค ถูกนำไปใช้ในสี่สิบประเทศทั่วโลก

เขาเขียนหนังสือเรื่อง Banker to the Poor


วินทร์ เลียววาริณ
www.winbookclub.com
14 ตุลาคม 2549
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 23-10-2006, 14:16 »

อ้างถึง
ด้วยความสะท้อนใจ มูฮัมมัดหยิบเงินราวหนึ่งพันบาทที่ตนมีให้คนเหล่านั้น บอกพวกเขาว่า จงเอาไปไถ่ตัวเองเถิด ไปซื้อเครื่องมือทำกินเท่าที่จำเป็นโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง แล้วคืนเงินเขาเมื่อไรก็ได้ที่พร้อม

ผ่านไปปีเศษ เขาประหลาดใจอย่างยิ่งเมื่อชาวบ้านเหล่านั้นคืนเงินแก่เขาครบทุกบาททุกสตางค์ และยังได้สร้างผลผลิตจากเงินที่เขาให้หยิบยืม

ชาวบ้านอาจไร้เงินทอง แต่ไม่ไร้ความซื่อสัตย์

เงินเพียงเล็กน้อยสำหรับคนมั่งมีสามารถต่อชีวิตและอาชีพแก่คนยากไร้ในชนบทอย่างไม่น่าเชื่อ

คนที่นั่นดีจริงๆนะคะ  ไม่เอาเงินทุนไปซื้อมอร์เตอร์ไซด์ มือถือ แล้วก็คอยคิดแต่จะเบี้ยวกองทุน  น่านับถือค่ะ
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #2 เมื่อ: 23-10-2006, 17:03 »

อ.นิธิ เรียกว่าวัฒนธรรมความจน
น่ากลัวเมืองไทยจะไม่เป็นแบบนั้นซะแล้ว เพราะค่านิยมเห็นเงินเป็นพระเจ้ามันฝังรากลึก



ผมเก็บเรื่องเกี่ยวกับยูนูสไว้ในบอร์ด เอาไว้อ่านเวลาว่างๆได้ครับ
http://forum.serithai.net/index.php?topic=8940.0
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
หน้า: [1]
    กระโดดไป: