ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-04-2024, 17:18
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2 3
เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง  (อ่าน 7082 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 22-10-2006, 21:41 »

คุยกับนักปรัชญา: เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย พิณผกา งามสม

“ทำอย่างงี๊ เลวไม่เลว พ่อแม่พี่น้อง”…..ประโยคคุ้นๆ ที่คุณอาจจะคุ้นเคยมาจากช่วง
ต้นปี เมื่อกระบวนการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร เริ่มก่อตัวขึ้น วาทกรรมความเป็นคนเลว
ของทักษิณนั้นถูกขยายและตอกย้ำจนกระทั่งกระตุกต่อมศีลธรรมของผู้ติดตามการเมือง
อย่างใกล้ชิดให้ปริออกเป็นการแสดงพลังบนท้องถนนอย่างยืดเยื้อยาวนาน

ภายหลังข้อมูลที่ถูกตีแผ่บนเวทีที่เรียกตนเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ประโยคคำถามที่ทรงพลังในการสะกิดศีลธรรมประจำตัวของผู้เข้าร่วมการชุมนุมอย่าง
รุนแรงคงหนีไม่พ้น เลวไม่เลว? และแน่นอน คำตอบที่ได้จากคนหมู่มากที่ชุมนุมอยู่ ณ
สถานที่แห่งเดียวกัน คำตอบนั้น คือ....เลววว

ในห้วงเวลานั้น ‘ประชาไท’ เคยสัมภาษณ์นักเขียนรุ่นใหญ่ผู้หนึ่งเกี่ยวกับรูปแบบและ
วิธีการที่ตั้งคำถามเชิงศีลธรรมเช่นนั้นของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ
ได้คำถามมุมกลับอันสำคัญประการหนึ่งคือ “ไม่เอาทักษิณ เอาพระเจ้าไหมล่ะ” แต่
เพื่อปกป้องความสงบแก่จิตวิญาณของผู้ให้สัมภาษณ์ ประชาไทจำต้องตัดคำถาม
ดังกล่าวทิ้งไป เนื่องด้วยคาดหมายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นภายใต้กระแสแห่งการขับไล่
ทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้น

ทว่า ภายหลังการรัฐประหารที่เฉดหัวผู้นำที่มีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำคนหนึ่งของ
เมืองไทยออกไปได้สำเร็จ แม้ประเทศไทยจะได้นายกรัฐมนตรีทีได้รับการการันตี
ว่าดีจริงจากผู้ที่สังคมไทยยกย่องว่าเป็นคนดี แต่การณ์ปรากฏว่า นักวิชาการและ
นักศึกษาจำนวนมาก (ที่ยังคงเป็นเสียงส่วนน้อยอยู่) กลับดาหน้าออกมาตั้งคำถาม
กับกระบวนการที่ประเทศไทยถีบนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งออกไป และ
ได้นายกรัฐมนตรีทีมาจากการการรัฐประหารแทน

มาตรฐานทางศีลธรรมของนักวิชาการและนักศึกษาพวกนี้ต่ำต้อยเกินไปหรือไร จึงไม่
อาจยอมรับผู้นำที่เป็นคนดี หรือว่าคนเหล่านี้ขาดความเชื่อมั่นในศีลธรรมของผู้ปกครอง
หรือระดับทางศีลธรรมของสังคมไทยยังไม่สูงส่งพอที่จะสนับสนุนให้คนดีได้ปกครอง
บ้านเมืองอย่างปราศจากข้อกังขา

‘ประชาไท’ ไปนั่งคุยกับ ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ นักวิชาการด้านปรัชญา แห่งคณะ
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งพยายามจะบอกว่า การกล่าวหาผู้นำใน
ระบอบประชาธิปไตยด้วยข้อหาเรื่องระดับความดี-เลวนั้น คือการเล่นหมากคนละ
กระดาน เพราะที่สุดแล้ว ความดีกับระบอบประชาธิปไตยมันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน และ
ขอโทษ....การประณามคนอื่นว่าเลวนั้น ไม่ได้แสดงถึงระดับศีลธรรมที่สูงจัดของ
ผู้กล่าวประณามแต่อย่างใด


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5467&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 22-10-2006, 21:44 »

อ้างถึง
การประณามคนอื่นว่าเลวนั้น ไม่ได้แสดงถึงระดับศีลธรรมที่สูงจัดของ ผู้กล่าวประณามแต่อย่างใด

ตายจริง นี่ด่าทั้งไอ้เหลี่ยม และลิ่วล้อในบอร์ดการเมืองเลยนะคะเนี่ย ร้ายจริงๆ 
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #2 เมื่อ: 22-10-2006, 21:55 »

ไอ้คนพวกนั้นมันสมองหมาปัญญาควาย  โดนสะกดจิตเหมือนดูหนังขายยานั่นแหละ

มันไม่รู้หรอกว่าเขาเล่นเกมส์อะไรกันอยู่ ทั้งหมดมันก็เป็นเพียงไพร่เบี้ยฝุ่นเมือง



กาลเวลาผ่านไปยันแก่ อ้ายและอี บางตัวมันยังไม่รู้เรื่องอีกนะนั่น

ว่าได้หลงเข้าไปในวังวนแห่งกลียุค สะเออะคิดไปว่าได้มีส่วนกู้ชาติ

 
บันทึกการเข้า
willing
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 186



« ตอบ #3 เมื่อ: 22-10-2006, 22:01 »

ผมก็ ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน คับ Killer

ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ป่าว นะๆๆ 
บันทึกการเข้า

Even If I am a minority of one, truth is still the truth. - Mohandas Gandhi
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22-10-2006, 22:03 »

การประณามคนอื่นว่าเลวนั้น ไม่ได้แสดงถึงระดับศีลธรรมที่สูงจัดของ
ผู้กล่าวประณามแต่อย่างใด




ดูเอาคนที่เห็นด้วยกับวลีนี้ เคยเที่ยวสั่งสอนศีลธรรมคนอื่นน่ะครับ หน้าไม่อายเลย เพิ่งเคยเห็นพุทธศาสนิกชนคนแรกที่ถามหาเครื่องวัดคุณธรรม

จุดอ่อนจุดแข็ง อะไรไม่สนใจค่ะ
ตราบเท่าที่มีแล้ว ไม่ไปทำร้ายใคร ก็พอใจ
และไม่เคยคิดว่าจะต้องสะสมจุดแข็งเอาไว้ในตัว
ให้มากๆ แต่ประการใด

ดิฉันเพียงเป็นพุทธศาสนิกชนที่พยายามถือศีลห้า

ที่ข้อหนึ่งมีว่า การฆ่าที่ดีนั้นไม่มี
ฆ่าคนเลวก็ไม่ถือเป็นการทำความดี
และเพียงแค่ “คิด” จิตก็เสื่อม
กลายเป็นเศร้าหมองแล้ว
ช่วยประดิษฐ์เครื่องวัดคุณธรรมที่แม่นยำให้ด้วยสิคะ
จะได้เอามาใช้วัดกับทุกคน
ใครไม่ผ่านเกณฑ์ ไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งดีไหม?
แล้วอาจพบว่า คนจนและด้อยการศึกษามีคุณธรรม
ผ่านเกณฑ์ สมควรมีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า
คนที่มีเงินและความรู้มากกว่า ก็เป็นได้

 


คุณ snowflake จงประกาศมาตรงๆเถิด คุณคิด "อะไร" ในใจ จึงได้ไปสนับสนุนเว็บประชาไท
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #5 เมื่อ: 22-10-2006, 22:08 »

หลักการแบบธรรมราชา ที่สังคมไทยเชื่อมั่นยึดถืออยู่ไปกันได้กับการเมือง
ในยุคโลกาภิวัตน์หรือไม่


ผมคิดว่ามีการประดิษฐ์สร้างขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของความดี คนดี คนมี
ศีลธรรม เพื่อเป็นวาทกรรมที่โต้ตอบกับความรู้ความสามารถหรือความเข้าใจของ
ตัวผู้นำ หรือบทบาทของผู้นำในเวทีการเมืองระบอบประชาธิปไตย

แล้วความสำเร็จของการใช้คอนเซ็ปท์เรื่องคุณธรรมความดีต่างๆ เหล่านี้มันสัมฤทธิ์ผล
เมื่อการเมืองไทยยังตกอยู่ในโลกทัศน์ของการแบ่งแยก ดี-ชั่ว, ขาว-ดำ, เทพ-มาร
และนี่คือปัญหาใหญ่ของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ซึ่งด้านหนึ่งการกระทำเช่นนั้น
เป็นรูปแบบประชาธิปไตยในเชิง Substantive Democracy คือเชื่อว่ามีแก่นแท้บาง
อย่างที่รองรับกับเนื้อหาประชาธิปไตยโดยเฉพาะประเด็นเรื่องจริยศาสตร์ ที่มาตอบรับ
กับบทบาทของผู้นำทางการเมืองและรูปแบบของสังคมการเมืองที่เราเห็น

ปัญหาทั้งหมดสำหรับผม ก็คือการเมืองแบบนี้มันไม่เวิร์ก และขณะเดียวกันเราตกอยู่
ในกับดักของการฉ้อฉลต่อความเข้าใจต่อเนื้อหาความดี
ศีลธรรม และจริยศาสตร์

ประเด็นที่คุณตั้งโจทย์ให้ผมก็คือว่า เวลาที่เราพูดถึงเนื้อหาทางการเมือง ผมคิดว่า
ปัญหาสำคัญที่สุดทางการเมืองมันไมได้อยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมความดีเพียงอย่าง
เดียว
ปัญหาทางการเมืองคือการพูดถึงเรื่องความยุติธรรมทางสังคม รูปแบบการ
ปกครอง บทบาทของผู้นำและผู้ถูกปกครองและกลุ่มก้อนต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนทาง
การเมืองนั้นๆ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ การกำหนดทิศทางของสังคม

แต่ที่ผ่านมา การเมืองไทยมันไม่ได้เป็นการเมืองในเชิงที่เราสามารถกำหนดทิศทาง
ของสังคมได้ การเมืองไทยเป็นการเมืองของชนชั้นนำ และโครงสร้างอำนาจนิยมใน
สังคมไทยมันผลักดันในคนทุกส่วนวิ่งเข้าไปหาศูนย์กลางของอำนาจทางการเมือง

ปัญหาที่เกิดขึ้นมันไม่ได้มีการจัดการในเชิงผลประโยชน์ของสังคมและกำหนดทิศทาง
ให้สังคม คนในสังคมไม่ได้มีสิทธิ์เลือกทิศทางที่ตัวเองต้องการ แต่ถูกกำหนดมาบน
Power Play ของการเมืองของผู้นำ ถ้าคุณเข้าไปอยู่ในวงจรของการเป็นชนชั้นนำ
คุณก็มีบทบาทต่างๆ มากมาย แต่ขณะเดียวกัน คุณก็ไม่ได้นำเสนอทิศทาง รูปแบบ
การเมือง โดยเฉพาะทิศทางของนโยบายที่มีประโยชน์ต่อสังคม

ผมคิดว่าการเมืองไทยในช่วงสมัยอดีตนายกฯ ทักษิณ ได้สร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่
หรือเปลี่ยนทัศนคติคนไทยต่อการเมืองจำนวนหนึ่ง คือการพูดถึงนโยบายเป็นที่ตั้ง

โอเค นโยบายดีหรือไม่ดี มีผลประโยชน์ทับซ้อนมีปัญหาอะไรต่างๆ เรารู้กันและเป็น
ปัญหาที่ต้องการแก้ไข แต่อย่างน้อยที่สุดสาระสำคัญพื้นฐาน คือการพูดถึงนโยบาย
ทางสังคม นั่นคือเนื้อหาที่ผมมองว่ามีความสำคัญและความสำคัญตรงนี้อาจจะช่วยให้
หลุดจากบ่วงกรรมของโลกทัศน์ขาวดำ โลกทัศน์ความดีความชั่วของการเมืองไทย

คือพูดอีกอย่างหนึ่ง การเมืองไทยควรจะพัฒนาไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Deliberative
Democracy หมายถึงมีกระบวนการต่างๆ ภายในระบบการเมืองซึ่งเอื้อให้เกิดประโยชน์
โดยรวมแก่สังคม
และขณะเดียวกันก็มีกระบวนการต่างๆ สามารถที่จะได้รับการตรวจสอบ
ซักถามและมีบทบาทกับชีวิตจริงของคนในสังคมมากขึ้น เช่นเวลาที่เราพูดถึงตัวเรา
เราก็อาจจะพูดถึงปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพในฐานะที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่คุณสามารถแสดง
ออก เราอาจจะพูดถึงกระบวนการจัดการ การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ความโปร่งใส
ของขั้นตอนต่างๆ ของผู้บริหารประเทศ บทบาทสื่อที่จะนำความจริงมาเผยแพร่ หรือเรา
อาจจะพูดถึงทัศนคติที่จะแลกเปลี่ยน นี่คือสังคมของการตรวจสอบผ่านกระบวนการต่างๆ
ที่ได้รับการพิจารณาเป็นอย่างดี โดยที่ทุกคนมีสิทธิที่จะมีบทบาทเข้าไปแสดงความคิดเห็น
ใช้สิทธิเสรีภาพพื้นฐานและรวมทั้งการกำหนดเป็นนโยบาย และพร้อมๆ กันนั้นได้รับการ
ตรวจสอบด้วย

ผมเชื่อในสิ่งที่ จอร์จ ออเวล พูดว่า
Power Corrupt, Absolute Power Corrupt Absolutely.
หมายถึงว่าอำนาจนั้นนำไปสู่ความฉ้อฉล อำนาจสูงสุดย่อมนำไปสู่การฉ้อฉลที่ยิ่งใหญ่

ปัญหาของการเมืองมันไม่ใช่ปัญหาของการมีผู้นำที่ดี หรือผู้มีคุณธรรมหรือการที่มีใคร
บางคนที่มีอิทธิพลทางการเมืองขณะนี้บอกว่านายกฯ คนนี้เป็นคนดีและทุกคนเชื่อว่า
เป็นคนดี...นี่ไม่ใช่กระบวนการประชาธิปไตย นี่ไม่ใช่โลกการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย
การที่คุณบอกว่าคนๆ หนึ่งเป็นคนดีแล้วจบ คือเป็นคนดีแล้วคุณต้องดีตาม...มันไม่ใช่

สาระของกิจกรรมการเมืองมันไม่ใช่เรื่องเอาคนดีมาปกครองประเทศ แต่คือการตรวจสอบ
ดุลอำนาจ การ Check and Balance อำนาจทางการเมืองต่างหาก และนั่นคือเงื่อนไข
สำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยทำงานได้


ปัญหาเรื่องคุณธรรมความดี มันเป็นปัญหาทางจริยศาสตร์ ซึ่งเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียกว่า
Conduct of Life ที่แต่ละคน Conduct ชีวิตตัวเองอย่างไรบนพื้นฐานของคุณธรรม
ความดี รู้เป้าหมายของการมีชีวิตอยู่

ในขณะที่ศีลธรรมนั้น ก็คือกฎเกณฑ์ข้อบังคับหรือแนวทางในการปฏิบัติ คือสิ่งที่เรา
เรียกว่า Moral Law

ส่วนจริยศาสตร์เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานส่วนตัวบุคคลมากกว่าที่จะเป็นปัญหาของ
สังคม เพราะเนื้อหาของสังคมนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาที่คนอยู่ร่วมกันก็คือเรื่องความ
ยุติธรรม แน่นอนว่าความยุติธรรมไม่ได้แยกขาดจากเรื่องของคุณธรรมความดี แต่ว่า
สาระของความยุติธรรมมันขยายขอบเขตมากกว่าปัญหาของบุคคล ความยุติธรรมเป็น
ปัญหาของสังคมทั้งสังคมร่วมกันซึ่งคนจะแสดงสิทธิเสรีภาพอย่างไรในการที่จะอยู่
ร่วมกัน นี่คือปัญหาพื้นฐาน เป็นปัญหารากฐานของปรัชญาการเมือง

ปรัชญาการเมืองเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างคนกับชุมชนทางการเมือง ซึ่งจะวาง
คำตอบให้กับความยุติธรรมอย่างไร งานในเพลโต The Republic ตอบได้ชัด เพลโต
เริ่มตั้งคำถามว่า ความยุติธรรมคืออะไร และเราจะมีรูปแบบทางการเมืองอย่างไรที่จะ
รักษาความยุติธรรมนั้นให้ดำรงอยู่ในสังคม หมายความว่าคนทั้งสังคมอยู่ร่วมกันอย่าง
สงบสุข


แต่ทำไมประเด็นคุณธรรมความดีจึงไปกันได้กับสังคมการเมืองไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประธานองคมนตรีออกมารับรองว่า พล.อ.สุรยุทธ์
จุลานนท์ เป็นคนดี แล้วทุกอย่างจบ


อย่างที่ผมบอกตั้งแต่ต้นว่า สังคมไทยนั้นอยู่บนโลกทัศน์ของการเมืองขาวดำ การเมือง
แห่งความดีความเลว ผมไม่อยากใช้คำว่าความดีกับความชั่วในฐานะ Good กับ Bad
คือในโลกความเป็นจริง เทววิทยาของความคิดนั้นคนเราหลุดไม่พ้นจากโลกทัศน์เรื่อง
ความดีความชั่ว

แต่ผมใช้คำว่าความดีกับความเลว ในความหมายของ Good กับ Evil เวลาเราพูดถึง
ความดีความเลวนั้นเราพูดในแง่ของการตัดสินคุณค่าทางคุณธรรม

ในการเมืองนั้นโลกทัศน์ที่อยู่พื้นฐานของความดีความเลวมีนัยยะของ Moral Judgment
คือการตัดสินคุณค่าในเชิงศีลธรรม
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 22-10-2006, 22:12 »

ผมขอถามย้ำอีกที

คุณ snowflake  คุณคิด "อะไร" ในใจ จึงได้ไปสนับสนุนเว็บประชาไท
บันทึกการเข้า

No_Tuky
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 296


« ตอบ #7 เมื่อ: 22-10-2006, 22:25 »

"สาระของกิจกรรมการเมืองมันไม่ใช่เรื่องเอาคนดีมาปกครองประเทศ แต่คือการตรวจสอบ
ดุลอำนาจ การ Check and Balance อำนาจทางการเมืองต่างหาก และนั่นคือเงื่อนไข
สำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยทำงานได้"

หมอนี้ตกขอบไปแล้ว เอาโจรมาครองเมือง ยังบอกว่าไม่ใช่สาระ 

เราไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นคนดี แต่หากอยู่ที่ เราต้องส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมือง ไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจและก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

ดีไม่ดี ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับแต่ละคนบุคคลทั้งหมด คนเราเกิดมาได้เพราะมีจริยธรรม คือ ศีล 5 ครอบพร้อม มะต้องถามใครหรอกว่าอะไรดีไม่ดี ถามจิตใต้สนึกของตัวเองนั่นล่ัะ

ถ้าไม่รู้ว่าอะไรดีไม่ดี ก็สมควรเงียบเฉย ๆ ดีกว่า 
บันทึกการเข้า
morning star
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,119


don't let them make up your mind


« ตอบ #8 เมื่อ: 22-10-2006, 22:28 »

ออกตัวก่อนว่าผมไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร... Mr. Green

แต่สำหรับประชาธิปไตยที่ขับเคลื่อนด้วย "ความเลว" และ "คนเลว"...มีใครต้องการอย่างนั้นอยู่ใช่ไหม?


ผมไม่เคยต้องการรัฐบาลที่มาจากการล้มรัฐธรรมนูญ..แต่ผมไม่เคยลืมวันที่ประเทศชาติเดินเข้าไปสู่ทางตัน หาทางออกไม่ได้เลย ไม่มีใครยอมเสียสละสักคน
บันทึกการเข้า

อย่าเดินตามใคร เพราะเรามีจุดมุ่งหมายของเราเอง
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 22-10-2006, 22:36 »

แนะนำให้อ่าน

รัฏฐาธิปัตย์ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
(หลายๆรอบครับจะได้รู้ว่า รัฐต่างจากโจร อย่างไร) หรือจะอ่าน

สิทธิในการทำรัฐประหาร โดย เขียน ธีระวิทย์
 
ประเทศใดก็เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ถ้าขาด "หลักนิติธรรม" โดย อ.อัมมาร์ สยามวาลา

ก็ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-10-2006, 22:47 โดย นทร์ » บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #10 เมื่อ: 22-10-2006, 22:39 »

นี่ก็แสดงว่ายังคิดไม่ตก ตีประเด็นไม่แตกน่ะสิ

คุณเคยไปรับรู้ตื้นลึกหนาบาง อะไรวงในมางั้นหรือ

ถึงได้ไปตัดสินว่าใครดี ใครเลว.???

ไม่ใช่หรือเปล่า ...คุณเพียงได้รับข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมาจากสื่อใช่หรือไม่ ??

หรืออย่างมากก็จากคำบอกเล่าจากผู้อื่น (ถ้าคุณประสบพบเห็นมาด้วยตัวเอง ก็เชิญไปเป็นพยาน

เอาผิด หรือไม่ก็ฟ้องร้องดำเนินคดีกับดร.ทักษิณได้เลย)



ถ้าไม่ใช่เสียแล้ว...นี่แสดงว่าคุณใช้ข้อมูลจากสื่อฯ มาเป็นตัวตัดสิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-10-2006, 22:43 โดย Killer » บันทึกการเข้า
ดอกฟ้ากับหมาวัด
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,042



« ตอบ #11 เมื่อ: 22-10-2006, 22:40 »

ความต้องการของประชาชนเป็นกฏหมายที่ดีที่สุด.

The need of people that's the best law.
บันทึกการเข้า

***ผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินเปรียบเสมือนเรือ ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ

      น้ำพยุงเรือให้แล่นไปได้ และน้ำก็จมเรือได้เช่นกัน***
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 22-10-2006, 22:44 »

ดร.เกษม และเจ้าของกระทู้ กำลังใช้มุข "แกล้งเซ่อ" ถามหา check & balance (หรือการตรวจสอบ) ซึ่งระบบตรวจสอบมันได้ถูก "คนชั่ว" ครอบงำ หยุดทำงานไปเรียบร้อยแล้วในสมัยที่คุณมีผู้นำที่ดร.เกษม และ เจ้าของกระทู้ เชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็น สภาผู้แทนราษฎร 377, สตง., ปปช., ปปง., วุฒิสภา ฯลฯ

เป็นที่น่าสังเกตว่า คุณ snowflake ลึกๆแล้วต้องการ "อะไร" ของง่ายๆแค่นี้เหตุใดจึงไม่กล้าตอบตรงๆ ทำไม?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-10-2006, 22:46 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #13 เมื่อ: 22-10-2006, 22:54 »

มันมาจากไหน ทำไมสังคมไทยจึงอยู่กับความดี-เลว ขาว-ดำ

มันมาจากพื้นที่ฐานที่คุณเลือกยืนอยู่บนความดี คือการที่คุณอ้างตัวเองว่าเป็นคนดี
คุณสามารถบอกว่าคนเลวเป็นอย่างไร ชัยชนะอันหนึ่งของการเมืองในเชิงของ
จารีตประเพณีคือชัยชนะที่คุณวางสถานะของตัวเองบนจุดยืนของความดี
ดังนั้น
เมื่อคุณใช้จุดยืนของความดี คุณบ่งบอกว่าอะไรที่ไม่ดีก็คือสิ่งที่เลวอย่างชัดเจน แล้ว
มันมีรูปธรรมที่ชัดเจนมาตลอดในสังคมไทยก็คือ ปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่อง
ผลประโยชน์ทับซ้อน ปัญหาเรื่องของการแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลหรือ
การไม่กระทำตามกติกาของสังคม

แล้วคนที่ออกมาต่อต้านทักษิณก็ออกมาเรียกร้อง แล้วเป็นข้อเรียกร้องที่ง่ายต่อการ
ยอมรับจากสังคม แต่
ไม่ได้มองทะลุผ่านไปถึงว่าไอ้ขั้นตอนเหล่านี้ เราจะไปตรวจสอบ
อย่างไร
คือไม่ได้ให้กระบวนการประชาธิปไตยทำงาน

ตอนนี้เรากำลังพูดถึงระบอบหรือระบบทั้งระบบ เวลาเราพูดถึงปัญหานี้ มันไม่ใช่ปัญหา
เฉพาะตัวบุคคล แต่มันคือปัญหาของระบอบที่จะต้องสร้างรากฐานให้การตรวจสอบนั้น
ทำงานได้


ผมไม่เชื่อว่าคนดีและคนเลวจะมีความแตกต่างกันเมื่อคุณเข้าไปอยู่ในวังวนแห่งอำนาจ
เพราะอย่างที่ผมบอกแล้วอำนาจมันฉ้อฉล การฉ้อฉลของอำนาจก็คือการที่คุณไม่รู้ว่าใน
การตัดสินใจกระทำการอันใดอันหนึ่ง ผลมันคืออะไร เพราะคุณควบคุมผลที่ออกมาไม่ได้

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องของเจตนาหรือความเป็นคนดีของคุณเพราะคุณธรรมของ
ผู้ปกครองหรือคุณธรรมของผู้นำมันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานว่าคุณเป็นคนดีหรือเป็น
คนเลวแต่อยู่บนพื้นฐานที่คุณจะจัดการเหตุผลในการดำรงอยู่ของรัฐ หรือจัดการ
อย่างไรให้รักษาอำนาจและก่อประโยชน์สุขให้สังคมการเมืองได้ดีที่สุด


เมคคีเวลลีสอนไว้อย่างนั้นว่า เป้าหมายของผู้นำคือการรักษาอำนาจของตนเองและทำ
ให้สังคมสงบสุข เพราะสังคมสงบสุขนั้นก็คือทุกอย่างอยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ชีวิตทุกคนมีความสุขนั่นคือคุณธรรมของผู้ปกครองซึ่งแตกต่างจากคุณธรรมส่วนบุคคล

เวลานี้ การเมืองมันพัฒนาไปสู่การวางพื้นฐานหลักการทางสังคม ครรลองหรือกติกาจะ
เป็นตัวที่เข้ามากำกับหรือมาตรวจสอบกระบวนการต่างๆ ในทางการเมืองเอง

ผมคิดว่าพัฒนาการที่เกิดขึ้นก่อนรัฐประหารนั้น ระบบหรือครรลองประชาธิปไตยกำลัง
ทำงานอยู่
สิ่งที่มันทำได้ดีที่สุดก็คือความเห็นที่แตกต่าง เพราะว่าบนพื้นฐานของระบอบ
ประชาธิปไตย การที่คุณมีสิทธิเสรีภาพเฉพาะส่วนบุคคล มันหมายถึงว่าคุณสามารถที่จะ
แสดงความคิดเห็นของตัวเองและความเห็นของคุณกับผมก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน
ไม่ต้องเห็นตรงกัน ความแตกต่างคือสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

แต่ปัญหาที่สำคัญของความแตกต่างก็คือการยอมรับความแตกต่าง สังคมไทยไม่
ยอมรับความแตกต่าง
ผมคิดว่านี่คือปัญหาใหญ่ที่สุด และการไม่ยอมรับความแตกต่าง
ทำให้กติกาหรือครรลองหรือหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยไม่ทำงานอย่างที่ควร
จะเป็น และขณะเดียวกันคุณ Abuse ความแตกต่างด้วยเรื่องของความสมานฉันท์
ความสมานฉันท์ของสังคมไทยคือการสมานฉันท์บนพื้นฐานของความมั่นคงของรัฐ
ซึ่งคุณไม่มีสิทธิที่จะเห็นต่าง


แต่ในทุกๆ รัฐก็ต้องพยายามหาจุดร่วมกันเพื่อให้ประชาชนมีความสำนึก
เรื่องความเป็นชาติร่วมกันไม่ใช่หรือ


ก็ใช่ แต่ที่ผมพูดถึงเรื่องความแตกต่างนั้น ผมพูดบนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพที่จะเห็นต่าง
ตามสิทธิของสังคมประชาธิปไตย คือทุกคนต้องมีสิทธิที่จะเห็นต่าง แต่ในท้ายที่สุดแล้ว
คุณต้องยอมรับความแตกต่างเช่น ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ แต่ผมต้องเคารพทัศนะของคุณ

ทีนี้ ความแตกต่างทางทัศนะทางการเมืองก็ถูกจัดการด้วยกระบวนการบางอย่าง เช่น
การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง คือไม่ว่าคุณจะชอบ
คนนี้หรือไม่ชอบ แต่ถ้าคุณแพ้การเลือกตั้งคุณก็ต้องยอมรับโดยกติกาว่า คนที่คุณ
สนับสนุนไม่ได้รับเลือก คนที่คุณไม่เห็นด้วย คุณไม่ชอบนโยบายของเขาได้รับเลือก
เข้าไป คุณก็ต้องยอมรับ

ในท้ายที่สุดกติกาเป็นตัวกำหนด ถ้าพูดตรงๆ พรรคฝ่ายค้านหรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ
นโยบายของรัฐบาลทักษิณนั้น ประการหนึ่ง เขารู้ว่าเขาแพ้ในการเลือกตั้ง เพราะอะไร
เพราะประชาธิปไตยมัน Count (นับ) เสียงของคุณ เสียงของคนเดินถนน ฯลฯ
ไม่ว่าคุณจะมีฐานะสูงศักดิ์อย่างไรก็ตาม แต่ก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน
นั่นคือกติการ่วมกันในสังคมประชาธิปไตย แต่สังคมการเมืองไทย
กลับมีการ discredit การนับเสียงแบบนี้


ในภาษาอังกฤษนั้น คำว่า Count (การนับ) กับ account (การให้ค่า) ถ้าคุณตัด ac
ออก มัน interplay ระหว่างกันอยู่ ในการอภิปรายประเด็นประชาธิปไตยนั้น แน่นอนว่า
count เสียง แต่อะไรบ้างที่คุณจะ take into account

แต่ประเด็นที่ผมจะชี้ก็คือ กติกาประชาธิปไตยมันมีอยู่ มันเซ็ตการยอมรับความแตกต่าง
ให้เกิดขึ้นถ้ากติกาบอกว่าการเลือกตั้งคือตัวชี้วัดว่าคุณต้องยอมรับ คุณก็ต้องลงมาที่
การเลือกตั้ง แล้วถ้าฝ่ายที่คุณสนับสนุนแพ้ คุณจะทำอะไร คุณก็ต้องตรวจสอบไป
ก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์ไป


ปัญหาคือคุณต้องเคารพบุคคลที่ได้รับเลือกเข้ามาเพราะว่ามีคนเห็นต่างจากคุณเป็น
จำนวนมาก
และคนจำนวนมากเขาเลือกเพราะว่าเขาเห็นเขารู้ว่ามันมีผลดีอย่างไร
ถ้าเขาเลือกคนๆ นี้

ตัวอย่างอันหนึ่งผมคิดว่ามันมีกรณีการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริการะหว่างหว่างกอร์
กับบุช ผมคิดว่าผมคิดว่าในช่วงก่อนการเลือกตั้งนั้นสังคมอเมริกาแยกเป็น 2 ฝ่าย
อย่างชัดเจน เพราะว่าบุชชนะใน Electoral Vote ในขณะที่ กอร์ ชนะใน Popular
Vote แล้วปัญหาเกิดที่ฟลอริดา ตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดี ในท้าย
ที่สุด ตุลาการชี้ว่าบุชชนะ ซึ่งเราก็ทราบปัญหาเรื่องนี้กันอยู่บ้างแล้ว ประเด็นก็คือว่า
เมื่อบุชชนะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า Final Decision มันเกิด ท้ายที่สุดสังคมก็ต้อง
ยอมรับว่าบุชชนะ เป็นประธานาธิบดี

โอเค คุณไม่ชอบคุณก็มาถกเถียงเชิงนโยบาย ในการบริหารงานของบุช ก็ตรวจสอบ
ไปสิ แน่นอนคนไม่เห็นด้วยกับสงครามอิรัก หรือ War against terrorism จำนวนมาก
คนเหล่านี้ก็เป็นเสียงที่ดังในสังคม


แต่อาจารย์บอกว่าถ้าแพ้ก็ตรวจสอบไป ที่ผ่านมาฝ่ายพันธมิตรฯ ก็ตรวจสอบ
เหมือนกัน


สำหรับผม ผมคิดว่าที่ผ่านมาพันธมิตรฯ ไม่ได้ตรวจสอบ การตรวจสอบที่ดีคือการที่คุณ
ตรวจสอบบนข้อมูลข่าวสารและพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง สิ่งที่พันธมิตรฯ ทำ ผมคิดว่า
เป็นการใส่ความมากกว่า คือผมฟังในสิ่งที่พันธมิตรปราศรัย ผมไม่สามารถหาแก่นสาร
ข้อเท็จจริงและความรู้ทางการเมือง

สิ่งที่พันธมิตรทำคือการสร้าง Political Sentiment (อารมณ์ทางการเมือง) เป็น
การเมืองของความดีความชั่ว คือพยายามจะบอกว่าทักษิณเลวอย่างไร แล้วก็โดยที่
ทุกคนเข้าใจว่าสิ่งที่พันธมิตรทำ คือความถูกต้องและความดี โดยที่คุณให้ร้ายเหยื่อ
ของคุณเอง เหยื่อของคุณก็คือรัฐบาลทักษิณ โดยที่คุณไม่ได้ให้ข้อมูลหรือความรู้แก่
สังคมในเรื่องนั้นๆ คุณมีประเด็นมากมายที่คุณพูดถึง แต่ปัญหาคือเราไม่เคยเห็น Fact
หรือข้อเท็จจริงในสิ่งเหล่านั้นว่ามันคืออะไร และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือคุณทำหน้าที่เป็น
ผู้ตัดสิน คุณเป็นผู้พิพากษาของสังคมต่อรัฐบาลทักษิณ ผ่าน Sentiment คุณบอกว่า
ระบอบทักษิณมันเลว เป็นทรราช เป็นอะไรต่างๆ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้เป็น Judgment
ที่คุณให้

แล้วประเด็นหนึ่งที่พันธมิตรทำและเลวร้ายที่สุดก็คือ ทำให้คนไม่สามารถแยกแยะได้
ระหว่างปัญหา
ที่รัฐบาลทักษิณสร้างขึ้น และไม่สามารถตอบปัญหาเรื่องความโปร่งใส
กับปัญหาของระบอบประชาธิปไตยเอง


ปัญหาของระบอบทักษิณคือปัญหาภายในระบอบประชาธิปไตยซึ่งทางแก้ก็คือทำให้
กลไกเหล่านั้นทำงาน และผมคิดว่าในช่วงเวลาทีผ่านมาตลอดปีนี้ มีความพยายามปรับ
แก้เงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้กลไกเหล่านั้นได้ทำงาน ผมคิดว่ามันมีความพยายามจำนวน
มาก ดีหรือไม่ดีก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างน้อยที่สุดมันเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้
ต้องทำงาน แล้วกติกาของสังคม และความสงบเรียบร้อยของสังคมจะเกิดขึ้นได้ เมื่อ
กลไกประชาธิปไตยทำงานจริงๆ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ว่าในท้ายที่สุดมันไม่ได้เกิด ไม่ใช่แค่เพราะการรัฐประหารเท่านั้น แต่ผมคิดว่าสิ่งที่
เลวร้ายพอๆ กับการรัฐประหารก็คือ Sentiment (การใช้อารมณ์) ของสังคมที่
ทำให้การเมืองเป็นการเมืองขาวดำหรือการเมืองของดีเลว มันกำหนดการตัดสิน
ทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัดโดย
ปราศจากความเข้าใจ ครรลองหรือกติกาพื้นฐาน
ของระบอบประชาธิปไตย และขณะเดียวกันเนื้อหาของประชาธิปไตยถูก Abuse โดย
สิ่งที่เรียกว่า Political Sentiment อย่างมาก
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #14 เมื่อ: 22-10-2006, 22:58 »

     

เว็บบอร์ดที่เชลียร์ทักษิณ ก็ย่อมจะต้องเลือกสัมภาษณ์คนที่เชลียร์ทักษิณ


คงจะต้องรอชาติหน้าตอนบ่ายๆนะ ที่เว็บบอร์ดที่เชลียร์ทักษิณ จะไปขอสัมภาษณ์

ด๊อกเตอร์คนที่คิดวลีว่า คนดี ไม่มีเสื่อม  
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 22-10-2006, 23:04 »

คุณ snowflake คุณมี "ความกล้าหาญ" หรือไม่ ที่จะตอบมาตรงๆว่า คุณต้องการ "อะไร" .... มากไปกว่าการตัดแปะ แล้วแอบอยู่หลังความเห็นของผู้อื่น ??

ผมคิดว่า "สนธิ ลิ้ม" เป็นเพียง "เป้าลวง" ของคุณ snowflake
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-10-2006, 23:06 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #16 เมื่อ: 22-10-2006, 23:07 »

ดูเหมือนจะมี อยู่ 2 หลักการที่พูดถึงในบทสัมภาษณ์

1.หลักการแบบธรรมราชา
2.หลักการแบบประชาธิปไตย

ผมไม่คิดว่าจะมีอันใดอันหนึ่งดีกว่าอีกอันหนึ่ง

เรื่องแบบนี้ถ้ามีสูตรสำเร็จโลกเราคงไม่วุ่นวายเหมือนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
No_Tuky
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 296


« ตอบ #17 เมื่อ: 22-10-2006, 23:16 »

ดูเหมือนจะมี อยู่ 2 หลักการที่พูดถึงในบทสัมภาษณ์

1.หลักการแบบธรรมราชา
2.หลักการแบบประชาธิปไตย

ผมไม่คิดว่าจะมีอันใดอันหนึ่งดีกว่าอีกอันหนึ่ง

เรื่องแบบนี้ถ้ามีสูตรสำเร็จโลกเราคงไม่วุ่นวายเหมือนทุกวันนี้

ด. เด็กกวางเหมง ถูกเผง พวกตกขอบนี่ขอบเขียนอะไรขอบ ๆ อ่านแล้วน่าเบื่อหน่ายจริง ๆ พับเผื่อย 
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #18 เมื่อ: 22-10-2006, 23:32 »

ที่บอกว่าพันธมิตรสร้างอารมณ์ทางการเมืองมันก็ใช่
คุณสนธิอาจจะใช้วิธีแบบพาดหัว นสพ. ที่มันต้องเร้าใจถึงจะขายออก

แต่คนที่ต่อต้านทักษิณไม่ได้มีแต่พันธมิตร
นักวิชาการหลายคนพยายามจะชี้ให้เห็นปัญหาที่แท้จริง(ระบอบทักสิน)
แต่มันฟังดูน่าเบื่อ ไม่เร้าใจเท่าสนธิ


ผมว่าอาจารย์ท่านนี้พยายามตัดต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นให้ตรงกับทฤษฎีที่แกท่องมามากไปหรือเปล่า 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #19 เมื่อ: 22-10-2006, 23:45 »

เลิกยึดคนเป็นศาสดา ให้ดูที่การกระทำ
จะเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ก็พิจารณาเอาด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง
ไม่ใช่เชื่อที่ตัวบุคคล
ว่าถ้าคนนี้บอก ต้องเชื่อทุกอย่าง
บอกดีเป็นดี บอกเลวเป็นเลว

หัดคิดพิจารณาด้วยตัวเองบ้าง
ยังไงคนเราก็ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ถึงจะบอกหรืออ้างว่าทำตามท่านผู้รู้ดี

ประชาชนคนธรรมดาไม่ได้เป็นทหาร
ที่ฟังแต่คำสั่งผู้บังคับบัญชา
โดยไม่คิดหรือใช้สำนึกของตัวเอง
(แนะนำให้ไปดู A Few Good Men)

ไม่มีใครทำถูกทุกอย่างในทุกกรณี
มนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่เทวดาหรือพระเจ้า
อย่าหลงเชื่อนับถือใครโดยงมงาย

คนเราเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีอำนาจ
ไม่มีมาตรวัดศีลธรรมที่ชัดเจน
จึงต้องสร้างระบบที่สามารถตรวจสอบได้เป็นรูปธรรม
จะดูบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังเข้าสู่อำนาจ
หรือเชื่อคำรับพูดรองว่า คนดี ไม่มีโกง?
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #20 เมื่อ: 23-10-2006, 00:01 »

ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม

ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #21 เมื่อ: 23-10-2006, 00:03 »

เลิกยึดคนเป็นศาสดา ให้ดูที่การกระทำ
จะเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ก็พิจารณาเอาด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง
ไม่ใช่เชื่อที่ตัวบุคคล
ว่าถ้าคนนี้บอก ต้องเชื่อทุกอย่าง
บอกดีเป็นดี บอกเลวเป็นเลว

หัดคิดพิจารณาด้วยตัวเองบ้าง
ยังไงคนเราก็ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
ถึงจะบอกหรืออ้างว่าทำตามท่านผู้รู้ดี

ประชาชนคนธรรมดาไม่ได้เป็นทหาร
ที่ฟังแต่คำสั่งผู้บังคับบัญชา
โดยไม่คิดหรือใช้สำนึกของตัวเอง
(แนะนำให้ไปดู A Few Good Men)

ไม่มีใครทำถูกทุกอย่างในทุกกรณี
มนุษย์ปุถุชน ไม่ใช่เทวดาหรือพระเจ้า
อย่าหลงเชื่อนับถือใครโดยงมงาย

คนเราเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีอำนาจ
ไม่มีมาตรวัดศีลธรรมที่ชัดเจน
จึงต้องสร้างระบบที่สามารถตรวจสอบได้เป็นรูปธรรม
จะดูบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังเข้าสู่อำนาจ
หรือเชื่อคำรับพูดรองว่า คนดี ไม่มีโกง?

เห็นด้วย..
โดยเฉพาะที่บอกว่า ไม่มีใครทำถูกทุกอย่างในทุกกรณี

แต่ผมยังคิดว่าทำนองเดียวกันก็ไม่มีสูตรสำเร็จของวิธีการในการปกครองประเทศที่ดีที่สุดสำหรับทุกรัฐ ทุกวัฒนธรรม

ยิ่งเป็นแบบที่มีหลักการดีๆ อย่างประชาธิปไตยก็ยิ่งอันตราย อาจจะหลงไปกับอะไรแปลกๆ
ที่ใส่ซองสำเร็จรูปหน้าซองแปะตราประชาธิปไตย ฉีกซองเติมน้ำรัปประทานได้ทันที

อิรักมีการเลือกตั้งแล้ว เรายังไม่มี

เราอยากมีการเลือกตั้ง แต่เราไม่อยากเป็นแบบอิรัก

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 23-10-2006, 00:06 »

ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม

ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ


เห็นด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #23 เมื่อ: 23-10-2006, 00:08 »

ตามที่ผมเข้าใจหยาบๆ ก็คือให้เลิกหวังพึ่งตัวบุคคล
แล้วหันมาใช้ระบบที่ดี ควบคุมให้คนทำสิ่งที่ดี เพื่อส่วนรวม

ประมาณนี้..
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 23-10-2006, 00:14 »

ตามที่ผมเข้าใจหยาบๆ ก็คือให้เลิกหวังพึ่งตัวบุคคล
แล้วหันมาใช้ระบบที่ดี ควบคุมให้คนทำสิ่งที่ดี เพื่อส่วนรวม

ประมาณนี้..

นั่นแค่ผิวหน้า "เจตนา" ของคนเขียนบทความและเจ้าของกระทู้ ผมมั่นใจว่าไม่ใช่แค่นั้นครับ ลองต่อภาพดูดีๆ
บันทึกการเข้า

อังศนา
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,860


Can't fight the moonlight!


เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 23-10-2006, 08:49 »



ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม

ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ



คำถามที่ตรงความรู้สึกที่สุดค่ะ.. ขอ copy!  

บันทึกการเข้า

แม้ผืนฟ้า มืดดับ เดือนลับละลาย 
ดาวยังพราย ศรัทธา เย้ยฟ้าดิน (จิตร ภูมิศักดิ์)
p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #26 เมื่อ: 23-10-2006, 10:51 »

ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม
ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ

เห็นด้วยครับ

ยอดเยี่ยมมากครับ
ใครจะแย้งเชิญครับ


 
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 23-10-2006, 11:06 »

เห็นด้วยกับคุณ login not found
พวกที่ยึดมั่นประชาธิปไตยจนจะกอดคอกันไปตาย คงลืมไปแล้วว่าที่เรานิยมประชาธิปไตย
เพราะว่ามันได้พิสูจน์ตัวเองในประวัติศาสตร์โลกแล้วว่าเป็นระบอบการปกครองที่ "เลวน้อยที่สุด" เท่าที่เคยมีมา

ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงไม่ใช่แค่การปกครองที่เป็นแค่ "อำนาจเป็นของปวงชน" แบบด้วนๆ ทู่ๆ
หากแต่ต้องประกอบจากสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ประชาธิปไตย เป็น "ประชาธิปไตยที่ดี"
ไม่ว่าจะระบบตรวจสอบถ่วงดุล(ที่ทำงานได้)ก็ดี ความเป็นนิติรัฐก็ดี
และโดยเฉพาะในเมืองไทยเมืองพุทธ คุณธรรมและศีลธรรมก็เป็นส่วนประกอบหลักใน "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ"
อย่าอ้่างโดยจินตนาการว่าประเทศอื่นเขาไม่มีคุณธรรมศีลธรรมกำกับ บอกได้เลยว่านักการเมืองเขามีความละอายมากกว่าเมืองไทยเยอะ
โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป แค่ความผิดลหุโทษ รัฐมนตรีเขาก็ลาออกกันง่ายๆ แบบไม่ต้องขับไล่อะไรด้วยซ้ำ

และเรื่องการเคารพที่เขียนมานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างมาก มันกลายเป็นว่าเราต้องเคารพ "ลูกจ้าง" ที่พวกเราเลือกมาบริหารประเทศ
ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องเคารพ โดยเฉพาะหากทัศนะของเรายังมองนักการเมืองคนนั้นเป็นคนเลวที่ไม่น่าเคารพอยู่
แม้แต่ประเทศอเมริกาประชาธิปไตยสุดๆ ก็ยังขายเสื้อ T-shirt "ฟักบุช" กันบนเนทแบบสบายๆ
แล้วเราไปเอาแนวความคิดบ้าๆ ที่ว่า "เราต้องเคารพนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมา" มาจากไหนกันหรือ?
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 23-10-2006, 11:09 »

ศิโรราบกูเดี๋ยวนี้ไอ้ขี้ข้า
กูเรียนมากูเรียนสูงกูเรียนเก่ง
ประชาธิปไตยต้องของกูกูว่าเอง
มีเป็นเข่งรัฐธรรมนูญฉบับกู

ประชาธิปไตยต้องของฝรั่งเศษ
ครองประเทศต้องอังกฤษกูเรียนรู้
อเมริกาประชาธิปไตยเทียบชั้นครู
มึงอย่าตู่ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ (ไม่มีโว้ย)

ศิโรราบกูเดี๋ยวนี้ไอ้พวกโง่
อย่าได้โงหัวขึ้นมาอย่าสงสัย
รอให้ฟ้าสีทองส่องอำไพ
ประชาชน (ที่ตามกู) จะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

ประชาธิปไตยไทยแท้ไม่เคยมี
ฝรั่งชี้ดีอย่างไรกูเชื่อสิ้น
กูด็อกเตอร์กูอาจารย์กูศิลปิน (เดี่ยว)
กูหากินกับซากศพคำว่าประชาธิปไตย





หมายเหตุ ขออนุญาตใช้ศัพท์บางคำที่อาจไม่เหมาะสม เพื่อให้รับกับอารมณ์กลอน


ขอก็อปแปะข้ามห้องหน่อยน่า admin รูปหล่อ อิอิ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #29 เมื่อ: 23-10-2006, 11:39 »

คาถาป้องกันการรับฟัง/หลงเชื่อ ความเห็นของนักวิชาการ
นอกจาก บ้าตำราทฤษฏี บ้าฝรั่ง
หรือหนักกว่านั้นก็ ยัดเยียดให้เลยว่าต้องเป็นพวกไม่หวังดี
มีวัตถุประสงค์แอบแฝง หรือเป็นพวกทักษิณ
ทำนองเดียวกับสมัยก่อนที่อยากกำจัดใครก็ว่าเขา
เป็นพวกคอมมิวนิสต์ ...

ทั้งหมดนี้ไม่ได้แสดงอะไร นอกจากความขลาดกลัว
ในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ไม่เข้าใจ

สังคมอุดมปัญญาหรือว่าความเชื่อที่ไม่ต้องการการพิสูจน์
ที่เราต้องการให้เป็น?

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #30 เมื่อ: 23-10-2006, 11:42 »

ขอความกรุณาเพื่อนๆ อ่านบทความให้จบ ก่อนที่จะเขียนแสดง คคห. ได้ไหมคะ?
แต่ถ้าไม่อยากอ่านก็คงไปห้ามหรือบังคับอะไรไม่ได้ เพราะเป็นเสรีภาพของท่าน
และเข้าใจได้ว่าความยึดมั่นถือมั่นในความคิดของคนเราว่าถูกต้อง
ไม่ต้องการแปรเปลี่ยนนั้นมันมากมาย คงได้แต่บอกว่าเสียดายและหวังว่า
จะมีท่านที่ไม่กลัวกับการ “ทดสอบ” หรือความท้าทายในการรับฟังความคิดเห็นอื่น
ที่คิดว่าแตกต่างหรือตรงข้ามกับสิ่งที่เชื่อและยึดถืออยู่อย่างสิ้นเชิง

ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทั้งหมดหรือตรงข้ามทั้งหมด
แต่เปิดใจรับฟังมุมมองอื่นบ้าง ใช้เหตุผลอย่างที่ควรจะมี
น่าจะดีกว่าใช้ความรู้สึกตัดสินว่าคนนั้นคนนี้เลว พูดอะไรคงต้องผิดไปหมด
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #31 เมื่อ: 23-10-2006, 11:47 »

และเรื่องการเคารพที่เขียนมานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างมาก มันกลายเป็นว่าเราต้องเคารพ "ลูกจ้าง" ที่พวกเราเลือกมาบริหารประเทศ
ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องเคารพ โดยเฉพาะหากทัศนะของเรายังมองนักการเมืองคนนั้นเป็นคนเลวที่ไม่น่าเคารพอยู่
แม้แต่ประเทศอเมริกาประชาธิปไตยสุดๆ ก็ยังขายเสื้อ T-shirt "ฟักบุช" กันบนเนทแบบสบายๆ
แล้วเราไปเอาแนวความคิดบ้าๆ ที่ว่า "เราต้องเคารพนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมา" มาจากไหนกันหรือ?

มิใช่เคารพ คนที่ได้รับเลือก หรือนักการเมือง
แต่เคารพ “เสียงส่วนใหญ่” ว่าเลือกคนๆ นี้มา
ซึ่งเป็นหลักการประชาธิปไตยที่โดนปฏิเสธ/ทำลายมากที่สุด
ด้วยเหตุผล คนส่วนใหญ่ที่เลือกนั้น เพราะโง่หรือเลว
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #32 เมื่อ: 23-10-2006, 11:48 »

*  ตรรกะของความดี และ ความเป็นคนดี .. ในใจแต่ละคนไม่เท่ากัน

    หลายคนมาแหกปากว่า..... สิ่งที่เราคิดสิ่งเราทำ นั่นคือ .. ความเป็นคนดีของเรา

    ใจคนมันก็เอียงเข้าข้างตัวเองทั้งนั้น....

    คนบางคนคิดว่า..   ตรู   ใจกว้างมากที่สุดแล้ว .. ยุติธรรม มั๊กๆ

    ใครไม่คิดแบบเรา ...  ใครไม่ไปตามกระแสของกลุ่มคนหมู่มาก..  คนๆ นั้นเป็นคนไม่ดี

    ใครที่คิดต่าง ..  ใครที่ไปมีไมตรีให้คนที่คิดไม่เหมือนคนกลุ่มเราคิด

    เขาผู้นั้น ..  เป็นผู้ต้องสงสัยในเจตนาทันที

    จะตามไล่บี้ .. ตาม  กดดัน ...   ให้เขายอมรับให้ได้ว่า  คุณ  ต้องเป็นในสิ่งที่เขาคิดแน่ๆ

    ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่เคยส่องกระจกมองถึงความ ..  คับแคบ  ..  ในจิตใจของตัวเองเลย

    แล้วจะมาถามหาคำว่า ...  ประชาธิปไตย  ...    ไปทำสากกระเบือ  ทำไม  ????

    ก่อนเรียกร้องหามาตราฐานความดีจากใคร... ดู มาตราฐาน .. ผิดถูกในใจตัวเองบ้างก็ดีค่ะ





ปล .  มาตอบแค่ตามหัวข้อ กระทู้ .. เรื่อง  ความดี - คนดี

       ไม่เอาเนื้อหาข้างในที่หลายๆ คนมาตอบ  .. ยาวจัดไม่มีอารมณ์อ่าน

       ขออำภัย .. หิมะ .. จขกท . ด้วยที่เขามาบ่นอะไรให้ฟังนะจ๊ะ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2006, 11:52 โดย see_you » บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #33 เมื่อ: 23-10-2006, 11:56 »

คนดีไม่มาลงสมัครให้เลือก เป็นผู้แทน
เพราะได้ระบายสีไว้แล้วว่า นักการเมืองเลว
คนดีมาจากการแต่งตั้ง หลังเอารถถังมาปราบคนเลวเท่านั้น
ระบอบแบบนี้หรือที่ต้องการ
ถ้าใช่ ก็อย่าบิดเบือนเรียกมัน “ประชาธิปไตย” แล้วเติม “แบบไทยๆ” ลงไปเลย
หลอกคนอื่นไมได้ ได้แต่หลอกตัวเอง และคนที่หลงเชื่อเท่านั้น
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #34 เมื่อ: 23-10-2006, 12:10 »

ขออนุญาตแปะต่อ
เพื่อความสะดวกในการอ่านและโต้แย้งแบบมีเนื้อหาครบถ้วน

-----------------------------------------------------------------------

แล้วภูมิปัญญาไทยล่ะ เมื่อพูดเรื่องโครงสร้างที่มากำกับตรวจสอบ
ผู้มีอำนาจในโครงสร้างแบบประชาธิปไตย แล้วทศพิธราชธรรมล่ะ ใช้ไม่ได้หรือ


ผมคิดว่ามันคนละเรื่องกัน ผมคิดว่าข้อถกเถียงของสังคมคือการซ้อนทับในสิ่งที่เป็น
คนละเรื่องกันให้เป็นเรื่องเดียวกัน เช่น เวลาเราพูดถึงทศพิธราชธรรม เรานึกถึงผู้นำ
ในระบอบเทวราชา เรากำลังพูดถึงอำนาจในสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ทศพิธราชธรรมเป็นเหมือนกับหลักการบางอย่างเพื่อควบคุมสติของผู้นำ
แต่ประชาธิปไตยไม่ใช่

ระบบการควบคุมในระบอบประชาธิปไตย คือการควบคุมผ่านกระบวนการ check
and balance การตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ การ check and balance
มันทำให้ขั้นตอนต่างๆ โปร่งใส คุณต้องตอบคำถามได้ เมื่อคุณทำอะไรลงไป
คุณต้องตอบได้ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหรือทางออกทางแก้เป็นอย่างไร
ก่อให้เกิดผลดีแก่ทุกคนอย่างไร


ผมคิดว่าเรากำลังพูดถึงเกณฑ์คนละมาตรฐาน และเป็นเกณฑ์ที่ไปด้วยกันไม่ได้ ปัญหา
คือสังคมไทยพยายามจะสร้างในสิ่งที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งผมบอก
ได้ว่า ไม่มี ผมเห็นด้วยกับศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ก็คือเรามีอำนาจนิยมแบบไทยๆ คือ
อำนาจในรูปแบบของเจ้าขุนมูลนาย รูปแบบเจ้าขุนอุปถัมภ์ แต่เราไม่เคยมีประชาธิปไตย
แบบไทยๆ อย่างแท้จริง สังคมไทยเป็นสังคมอำนาจนิยม



แต่ทศพิธราชธรรมเป็นสิ่งที่รองรับให้ประชาชนไทยยอมรับผู้นำ
ในระดับหนึ่งก่อนด้วยความเชื่อมั่นว่าผู้นำจะมีคุณธรรมประจำตัว


ผมไม่เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ผมเชื่อว่าทศพิธราชธรรมหรือกรณีพระราชอำนาจที่เกิดขึ้น
ในงานของคุณประมวล รุจนเสรี ก็คือการ Reinvent Tradition ที่มันตายไปแล้ว และ
คืนชีวิตมันบนความอิหลักอิเหลื่อที่อยู่ในกติกาของประชาธิปไตย และเคลือบมันด้วย
วาทศิลป์จำนวนมาก เช่นคุณอ้างประเพณี โบราณราชประเพณี ซึ่งโบราณราชประเพณี
นั้น เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในสังคมสมบูรณาญาสิทธิ์ ไม่ใช่ในระบอบประชาธิปไตย
ผมคิดว่าเรา- สังคมไทย สับสนมากระหว่างสิ่งที่เรียกว่าครรลองประชาธิปไตยกับจารีต
ในสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และคิดว่าทั้งสองนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน

สิ่งทีเกิดขึ้นก็คือ การเอาครรลองคนละชุดมาตรวจสอบอีกชุดหนึ่ง ผมคิดว่าเราเล่นกัน
คนละเกม เล่นคนละเกณฑ์ แล้วทำให้สังคมดูราวกับว่ามันเป็นเกมเดียวกัน

สิ่งที่เลวร้ายก็คือเกณฑ์หรือกติกาหรือครรลองประชาธิปไตยถูกทำให้เป็นสิ่งที่แย่
เป็นสิ่งที่ไม่ดี ในขณะที่อีกด้านเป็นสิ่งที่ดี และตรงนี้เป็นการง่ายที่จะพูดถึงเรื่อง
คุณธรรมความดีของผู้ปกครอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2006, 12:32 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #35 เมื่อ: 23-10-2006, 12:18 »

ขอความกรุณาเพื่อนๆ อ่านบทความให้จบ ก่อนที่จะเขียนแสดง คคห. ได้ไหมคะ?
แต่ถ้าไม่อยากอ่านก็คงไปห้ามหรือบังคับอะไรไม่ได้ เพราะเป็นเสรีภาพของท่าน
และเข้าใจได้ว่าความยึดมั่นถือมั่นในความคิดของคนเราว่าถูกต้อง
ไม่ต้องการแปรเปลี่ยนนั้นมันมากมาย คงได้แต่บอกว่าเสียดายและหวังว่า
จะมีท่านที่ไม่กลัวกับการ “ทดสอบ” หรือความท้าทายในการรับฟังความคิดเห็นอื่น
ที่คิดว่าแตกต่างหรือตรงข้ามกับสิ่งที่เชื่อและยึดถืออยู่อย่างสิ้นเชิง

ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทั้งหมดหรือตรงข้ามทั้งหมด
แต่เปิดใจรับฟังมุมมองอื่นบ้าง ใช้เหตุผลอย่างที่ควรจะมี
น่าจะดีกว่าใช้ความรู้สึกตัดสินว่าคนนั้นคนนี้เลว พูดอะไรคงต้องผิดไปหมด

บางบทความผมอ่านทีละตัว วรรคเดียวอาจจะนั่งอ่านซ้ำไปมาอยู่เป็นนาที
แต่บางบทความต้องอ่านแบบรวบๆ หรืออ่านแบบพรืดๆ ทีเดียวทั้งย่อหน้า
เพราะดูแล้วไมน่าเสียเวลา บางข่าวบางบทความในเว็บ ผจก อ่านแค่ย่อหน้าแรกก็พอ
เสร็จแล้วยังต้องไปหาอ่านจากฉบับอื่นอีกที เพราะความน่าเชื่อถือในบางประเด็นมันน่าสงสัย

วิจารณญาณส่วนบุคคลครับ บางทีข้อมูลมันแหม่งๆ น้ำหนักมันก็เบาลง
สะท้อนความน่าเชื่อถือของบทความนั้น

ปล."ผมเชื่อในสิ่งที่ จอร์จ ออเวล พูดว่า Power Corrupt, Absolute Power Corrupt Absolutely." <<< แหม่งๆๆ
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Neoconservative
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 407


We protect the Kingdom


« ตอบ #36 เมื่อ: 23-10-2006, 12:22 »

สำหรับผมแล้ว วัดกัน ที่ ผล ของการกระทำ ว่า ทำให้ ประชาชนและ ประเทศชาติ เดือดร้อน หรือไม่

หากเดือดร้อน ก็ มาดู ที่เจตนา แต่ อย่างว่า เรื่องของ การเมือง มันมีหลักฐาน ด้าน เจตนา น้อย แยกออกมายาก ว่า เจตนาดี แต่ ผลลัพท์ไม่ดี หรือ เจตจาไม่ดี คนก็เลยเดือดร้อน

ยังไงก็ ขอ สนับสนุน คุณ Snowflake ต่อไป

 
บันทึกการเข้า
ล้างโคตรทักษิณ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 903



« ตอบ #37 เมื่อ: 23-10-2006, 12:24 »

ไม่มีระบบไหนมันดีร้อยเปอเซนต์ครับ  แต่นักการเมืองพรรคไทยรักทุยมันสถุลของมัน  ผมเองก็ยังไม่เคยเจอนักการเมืองรุ่นไหนเลวและสามานย์ หยิ่งผยอง ทำอะไรไม่เกรงกลัวอะไรเลย อยากทำอะไรก็ทำ  เท่านักการเมืองไทยรักไทยยุคนี้อีกแล้ว   นักการเมืองที่เกลียดมากๆเช่นพวกกลุ่มวังน้ำเย็น พวกประชาธิปัตย์สายปักษ์ใต้  ยังดูไม่แย่เท่านี้  

 

ดังนั้นผมมองว่าเมืองไทยไม่เหมาะกับระบอบที่เอื้อนักการเมืองเห ล่านี้มามีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองครับ ต้องมีการถ่วงดุลย์อำนาจไว้มากๆ  บางทีมันอาจะพัฒนาช้าไปบ้างก็ต้องยอม  ไม่งั้นประเทศนี้ไม่มีอะไรเหลือ  แมร่งคอยแต่จะจ้องกันแดรก  ไล่พวกเหิ้ยนี่ไปก็ไม่รุว่าจะมีเหิ้ยตัวใหม่เข้าอีกเมื่อไหร่
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #38 เมื่อ: 23-10-2006, 12:28 »

แต่การยกเอาปัญหาเรื่องคุณธรรมเฉพาะตัวบุคคลขึ้นมาเป็นเป้าหมาย
ในการโจมตีทางการเมืองในประเทศอื่นๆ เขาก็มี


มันก็มี แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เขาตัดสินกันที่ศักยภาพและความสามารถในการทำงาน
ในการปกครองและผลงาน
ตัวอย่างอันหนึ่งที่ผมสามารถยกขึ้นมาได้ก็คือ กรณีของ
คลินตันกับลูวินสกี้ ผมคิดว่ามันเป็น Debate ในเชิงจริยศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับ
ตัวผู้นำทางการเมือง และถูก Orchestrate โดยสื่อ และ พรรคริพับลิกัน

แต่ในท้ายที่สุดแล้ว คลินตันก็ได้รับการยอมรับและรับรอง และที่เขาได้รับการยอมรับ
และรับรองไม่ใช่เพราะว่าทุกคนละเลยต่อปัญหาจริยศาสตร์หรือคุณธรรมความดี ทุกคน
เขารับรองว่า นี่คือผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำที่สร้างผลงาน แล้วกติกาตามครรลอง
ประชาธิปไตยยอมรับสิ่งนี้

บางครั้งประเด็นเรื่องคุณธรรมความดีเป็นเรื่องส่วนบุคคลมาก อย่างกรณีคลินตันนั้น การ
ที่มี Affair กับคนอื่นเป็นปัญหาเฉพาะบุคคลซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือศักยภาพใน
ทางการเมือง โอเค ประเด็นเรื่องลูวินสกี้คือรอยด่างของคลินตัน ทุกคนรู้ แต่ทุกคนก็
นับถือและให้เกียรติคลินตันในผลงานที่เขาทำให้กับประเทศสหรัฐมาตลอดระยะเวลา
แปดปี

กลับมาที่สังคมไทย ถ้าพูดในระนาบเดียวกันก็คือว่า เราจะวาง check and balance
คือการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจทางการเมืองอย่างไร ในฐานะพื้นฐานกติกาของ
ระบอบประชาธิปไตยให้มีประสิทธิภาพ และเมื่อนั้น ไม่ว่าผู้นำคนนั้นจะดีหรือเลวอย่างไร
ก็ตาม เขาต้องได้รับการตรวจสอบ
เราต้องการผู้นำที่มีความสามารถและมีศักยภาพใน
การบริหารประเทศ และสามารถขับเคลื่อนระบบทั้งระบบให้ทำงาน

ปัญหาของสังคมไทยไม่ได้อยู่ที่ปัญหาว่าดีหรือเลว แต่ปัญหาของสังคมไทย
คือการมีผู้นำที่มีประสิทธิภาพหรือมีความสามารถที่จะกำหนดทิศทางของสังคม
อย่างที่ทุกคนต้องการและสามารถที่จะพัฒนาให้ทัดเทียมกับชาติอื่นได้

ผมคิดว่าทุกวันนี้ในแง่ของการพัฒนาของเรานั้นเราล้าหลังชาติอื่นๆ ในระบอบ
ประชาธิปไตยเราก็ล้าหลังตรงที่เราไม่วางครรลองของประชาธิปไตยให้เป็นพื้นฐาน
ของสังคม

เราต้องแยกการเมืองดี-เลวหรือเทพ-มารให้ออก แล้วทำให้กติกาของประชาธิปไตย
มันเกิดขึ้นบนพื้นฐานของนโยบาย พื้นฐานของการตรวจสอบ และพื้นฐานที่คนในสังคม
สามารถที่จะกำหนดทิศทางและเป้าหมายของสังคมได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องพึ่ง
อำนาจใดๆ ที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ


การเมืองแบบแบ่งดี-เลวนั้น คุณไม่สามารถที่จะวางพื้นฐานครรลองประชาธิปไตย
ได้อย่างแท้จริง นี่คือจุดยืนของผม เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณมาตรวจสอบว่าคนนี้
ดีหรือเลว ดีหรือเลวเป็นเงื่อนไขส่วนบุคคลที่คนเหล่านั้นมี แต่เงื่อนไขของสังคม
ประชาธิปไตยคือเงื่อนไขของประสิทธิภาพการทำงานและประสิทธิภาพในการนำพา
สังคม


ประเด็นของผมคือ ไม่ใช่ปัญหาว่าต่อไปนี้จะมีคนเลวมาเป็นนักการเมือง ผมคิดว่าสังคม
เรียนรู้ เราต้องให้ประสบการณ์กับสังคมประชาธิปไตยเรียนรู้ส่วนนี้ โอเค ความทรงจำ
ของคน เราอาจจะบอกว่าคนไทยหรือสังคมไทยความทรงจำสั้น แต่ผมอยากจะบอกว่า
ทุกสังคมความทรงจำสั้นทั้งนั้น แต่ปัญหาคือ อะไรคือประสบการณ์ที่ทุกคนในสังคมมี

ความทรงจำกับประสบการณ์นั้นต่างกัน เราอาจจะจำไม่ได้ แต่เมื่อเผชิญกับสิ่งที่คุณ
ประสบ คุณรับรู้ได้ หรือบ่มเพาะประสบการณ์อย่างสำคัญ

รัฐประหารครั้งนี้ จุดยืนของผมแน่นอนว่ามันไม่ชอบธรรม แต่สังคมได้ประสบการณ์อะไร
หรือเปล่า ผมคิดว่าสังคมเริ่มจะได้ประสบการณ์จำนวนหนึ่ง แต่ประสบการณ์เหล่านี้ยัง
ไม่ได้ชี้ชัดอย่างแน่นอน ยังตอบไม่ได้ว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นตามมา แต่ที่แน่ๆ คือความ
ไม่มีประสิทธิภาพหรือความไม่ชัดเจนของการเมืองในรูปแบบรัฐราชการหรืออำมาตยา-
ธิปไตย ความล่าช้าในกระบวนการจัดการ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามต่อไป

ต่อไปคำถามของสังคมจะไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณสุรยุทธ์เป็นคนดีหรือเปล่า แต่สังคม
จะถามว่ารัฐบาลชุดนี้จะมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของประเทศหรือไม่
ตรงนี้แหละที่จะเป็นตัวชี้ชัดว่าในท้ายที่สุดแล้ว ในระบอบการปกครองที่ดี มันคือ
เรื่องประสิทธิภาพของการทำให้สังคมอยู่ดีกินดี มีความสงบสุข ผมคิดว่าเราถ้
ามองในแง่ดี สังคมไทยกำลังเดินไปในทิศทางนั้น


ผมคิดว่าปีหน้าสังคมไทยจะเผชิญปัญหาจำนวนมากเมื่อน้ำแห้ง นี่แหละคือภาพที่เรา
จะเห็นว่าสังคมไทยจะเรียกร้องผู้นำที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถ เพราะฉะนั้น
ถ้าสังคมไทยก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ผมเชื่อว่าแง่มุมของโลกทัศน์ขาวดำมันจะค่อยๆ หดหายไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2006, 12:38 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: 23-10-2006, 12:33 »

ถ้าถามแอนว่า ตอนนี้เราอยู่ที่จุดไหน ใครที่ได้คุยกะแอนคงจะรู้ว่าตอบว่ายังไง
เราเปลี่ยนผ่านจาก เผด็จการรัฐสภา มาสู่เผด็จการทหาร ที่น่าสนใจคือ ต่อไปจะเปลี่ยนผ่านไปแบบไหน
ถ้าต่อไปของการเปลี่ยนผ่านทำให้ไปสู่ประชาธิปไตย และสังคมคุณธรรม อย่างที่ทุกคนหวังหรือพยายามจะสร้างจริงๆ
ก็นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่น่าสนใจอย่างยิ่ง แต่แอนไม่ได้มองแค่สิ่งที่คนอื่นบอก
ไม่ว่าคนๆ นั้นจะมีภาพพจน์อย่างไร หรือเป็นคนดีแค่ไหน เพราะสิ่งที่แอนสนใจคือ การกระทำ

ในทางพุทธแล้ว ที่เจตนาคือ สิ่งที่สำคัญ กรรมเป็นเครื่องส่อเจตนา

การกระทำของแต่ละคน จะสะท้อนถึงเจตนาที่ซ้อนเร้น ทั้งด้านที่ดี และไม่ดีทั้งนั้น

อย่างที่คนมักจะได้ยินว่า เจตนาดี แต่ประสงค์ร้าย เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

เพราะเจตนาดี กรรมก็จะดี แต่ถ้า การกระทำส่อเสียด ก็สะท้อนเจตนาที่ไม่ดี


ปล. อาจจะไม่ค่อยเข้ากับกระทู้เท่าไหร่ แต่พยายามแล้ว 
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
ล้างโคตรทักษิณ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 903



« ตอบ #40 เมื่อ: 23-10-2006, 12:35 »

คนดีไม่มาลงสมัครให้เลือก เป็นผู้แทน
เพราะได้ระบายสีไว้แล้วว่า นักการเมืองเลว
คนดีมาจากการแต่งตั้ง หลังเอารถถังมาปราบคนเลวเท่านั้น
ระบอบแบบนี้หรือที่ต้องการ
ถ้าใช่ ก็อย่าบิดเบือนเรียกมัน “ประชาธิปไตย” แล้วเติม “แบบไทยๆ” ลงไปเลย
หลอกคนอื่นไมได้ ได้แต่หลอกตัวเอง และคนที่หลงเชื่อเท่านั้น

คนที่มีสมองเขามองหลายๆ ด้านหลายๆ มุม

มองอุปนิสัยคนไทยให้ออก...มองให้ทะลุ....แล้วจะเข้าใจว่ า

ไม่ว่าอย่างไร...ไทยก็ยังคงเป็นไปในระบบการปกครองแบบไทยๆ.....ป ระชาธิปไตยแบบไทยๆ...........

วงล้อ ของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ก็จะหมุนไปแบบเดิม.......และอย่าลืมว่าประชาธิปไตยต้นแบบที่แท้

จริงไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน.........แม้แต่ผู้กำเนิดทฤษ ฏีประชาธิปไตย.....ยังกล่าวไว้ว่าเป็น

เพียงสังคมในอุดมคติ ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงตามต้นแบบ.......คนที่เรียนการปกครองมา จะรับรู้ว่า

เพราะเหตุใดจึงนำประชาธิปไตยต้นแบบมาใช้ทั้งสิ้นไม่ได้....จะใช ้ก็ต้องนำมาประยุกต์ นำมาดัดแปลง

อย่าลืมว่า ประชาธิปไตย...ไม่ใช่คนไทยคิดค้นขึ้นมา........ประเทศใดนำไปใช้

เขาก็ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับคนในชาติของตน ไม่ใช่เอะอะก็ ประชาธิปไตย แบบมี จุดประสงค์ หาโอกาสให้ ทรราชย์นายทุนที่รักยิ่งของ snowflake กลับสภา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2006, 12:39 โดย ล้างโคตรทักษิณ » บันทึกการเข้า
ล้างโคตรทักษิณ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 903



« ตอบ #41 เมื่อ: 23-10-2006, 12:37 »

ไม่รู้จะเข้าหัวปล่าวนะ แต่คาดว่าคงไม่มีประโขชน์ สำหรับผู้บูชา เผด็จการนายทุน ที่อิง ประชาธิปไตยจอมปลอม แบบ snowflake
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2006, 12:42 โดย ล้างโคตรทักษิณ » บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 23-10-2006, 12:53 »

คนที่มีสมองเขามองหลายๆ ด้านหลายๆ มุม

มองอุปนิสัยคนไทยให้ออก...มองให้ทะลุ....แล้วจะเข้าใจว่ า

ไม่ว่าอย่างไร...ไทยก็ยังคงเป็นไปในระบบการปกครองแบบไทยๆ.....ป ระชาธิปไตยแบบไทยๆ...........

วงล้อ ของประชาธิปไตยแบบไทยๆ ก็จะหมุนไปแบบเดิม.......และอย่าลืมว่าประชาธิปไตยต้นแบบที่แท้

จริงไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน.........แม้แต่ผู้กำเนิดทฤษ ฏีประชาธิปไตย.....ยังกล่าวไว้ว่าเป็น

เพียงสังคมในอุดมคติ ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงตามต้นแบบ.......คนที่เรียนการปกครองมา จะรับรู้ว่า

เพราะเหตุใดจึงนำประชาธิปไตยต้นแบบมาใช้ทั้งสิ้นไม่ได้....จะใช ้ก็ต้องนำมาประยุกต์ นำมาดัดแปลง

อย่าลืมว่า ประชาธิปไตย...ไม่ใช่คนไทยคิดค้นขึ้นมา........ประเทศใดนำไปใช้

เขาก็ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับคนในชาติของตน ไม่ใช่เอะอะก็ ประชาธิปไตย แบบมี จุดประสงค์ หาโอกาสให้ ทรราชย์นายทุนที่รักยิ่งของ snowflake กลับสภา 


ข้างบนเวลา 12.35

ไม่รู้จะเข้าหัวปล่าวนะ แต่คาดว่าคงไม่มีประโขชน์ สำหรับผู้บูชา เผด็จการนายทุน ที่อิง ประชาธิปไตยจอมปลอม แบบ snowflake

แค่จะบอกว่าด่าผิดแล้ว เพราะ snowflake เค้ารักคุณชวน เพียงแต่ไม่ชอบรัฐประหารเท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2006, 13:01 โดย แอ่นแอ๊น » บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #43 เมื่อ: 23-10-2006, 13:03 »

การมองการเมืองแบบขาวดำหรือโลกทัศน์ดีเลว ไม่สะท้อนว่า
สังคมไทยมีระดับศีลธรรมสูงหรอกหรือ


ไม่ได้สะท้อนอะไรเลย ผมคิดว่าปัญหาศีลธรรมในสังคมไทยคือการมีข้อบังคับมากกว่า
หลักปฏิบัติ มีข้อบังคับห้ามโน่นห้ามนี่ตลอดเวลา สิ่งที่น่าสนใจคือเวลาที่คนไทยสอน
ศีลธรรมหรือสอนเนื้อหาทางศาสนา คุณเน้นศีลมากกว่าธรรม เวลาที่คุณห้าม นั่น
หมายความว่า อะไรที่ไม่ถูกห้าม คุณก็ทำไป คุณทำได้ ในขณะที่ธรรม ในความหมาย
ของแนวทางปฏิบัติ กลับไม่ได้ถูกสอน ไม่ได้บ่มเพาะให้กับสังคม

ปัญหาของสังคมไทยอย่างหนึ่งที่ผมกระอักกระอ่วนมากที่สุด ก็คือว่าเมื่อคุณพบปัญหา
ใดปัญหาหนึ่งก็ออกกฎข้อบังคับ สิ่งที่ตามมาคือ คนก็หาช่องว่างจากกฎข้อบังคับ ผม
เชื่อว่าสังคมที่ดี หรือสังคมประชาธิปไตยนั้น Rule of Law หรือหลักนิติรัฐมีความสำคัญ
แต่ Rule of law มันสร้างแนวทางในการปฏิบัติหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคม
ให้มีความสงบสุขอย่างไรต่างหาก

เมื่อสังคมไทย Abuse rule of law มอง Law ในแง่ของการบังคับใช้ ข้อห้าม ตัวอย่าง
ที่เห็นชัดอย่างหนึ่งก็คือกรณีการแต่งกายชุดนักศึกษา ถ้าว่านักศึกษาแต่งชุดผิดระเบียบ
ไหม เขาก็ไม่ผิด แต่ในการแต่งกายชุดนักศึกษา เขาอาจจะมีช่องว่างที่เขาจะแต่งกายใน
อีกลักษณะหนึ่งที่คุณไม่ต้องการแต่คุณทำอะไรได้

ปัญหาคือคุณทำอะไรไม่ได้เพราะว่าเขาถูกกฎทุกอย่าง แต่ช่องว่างนั้นน่ะ เพราะคุณให้
ความสำคัญกับการบังคับใช้มากกว่าการสร้างแนวทางปฏิบัติ

Rule of law จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อหลักนิติรัฐได้สร้างแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน
มากกว่าจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับ ผมคิดว่านี่คือปัญหาอีกส่วนหนึ่งที
เกิดขึ้นในครรลองประชาธิปไตย

ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานกลับไม่มี
ความสำคัญ ถูกฉีกได้ตลอดเวลา
กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณมีอะไรที่คุณเขียน
ไว้ในแง่บทบัญญัติเท่านั้น แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญคือครรลองหรือกติการ่วมกันซึ่งเป็น
กติกาที่ทุกคนในสังคมยอมรับเป็นหลัก

เท่าที่ผมเข้าใจประเทศจำนวนมากมีรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติน้อยกว่าสังคมไทยและ
มีอายุการใช้งานที่ยืนนานมากกว่าสังคมไทย สิ่งเหล่านั้นที่เขาทำได้ ไม่ใช่ว่ากฎหมาย
เขาดีกว่าเรา แต่กฎหมายได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติของคนในสังคม ผมอยากเห็นสังคม
ไทยใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือเรียนรู้รัฐธรรมนูญในฐานะแนวทางปฏิบัติร่วมกันมากกว่า
ที่คุณเอามาตรวจสอบว่า คนนี้ทำผิดหรือเปล่า มันกลายเป็นข้อบังคับและในท้ายที่สุด
แล้วมันเหมือนกับเสือกระดาษ เหมือนเขียนเสือให้วัวกลัว และท้ายที่สุดแล้วกถูกละเมิด
อยู่ตลอดเวลา

ผมคิดว่ากฎหมายไทยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการรากฐานทางความคิด แต่สังคมหรือ
ตัวนักกฎหมาย กลายเป็นเพียงช่างฝีมือหรืออย่างที่อาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล
เรียกว่าเป็น ‘ช่างตัดผม’ เป็น Technician และสุดท้ายความเป็น Technician คุณก็
จะรู้สึกว่า คนอื่นไม่ใช่นักกฎหมายจะมารู้เรื่องกฎหมายได้อย่างไร ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ใช่

กฎหมายมันคือกติกาของสังคมนะ แน่นอนว่าทุกคนต้องรู้กฎหมาย ไม่ได้หมายความว่า
ทุกคนต้องรู้กฎหมายอย่างนักกฎหมาย ผมคิดว่านักกฎหมายอาจจะเข้าใจผิด ในขณะ
เดียวกันก็ดูเหมือนนักกฎหมายมีสิทธิพิเศษ เพราะภาษากฎหมายกลายเป็นภาษาเฉพาะ
ความชอบธรรมทางกฎหมายกลายเป็นความชอบธรรมเฉพาะของนักกฎหมาย การเน้น
กฎหมายในฐานะที่เป็นข้อบังคับใช้ มันตอบรับกับลักษณะอำนาจนิยมของสังคมไทย

โดยสรุปก็คือ ผมคิดว่าการเมืองไทยเป็นเรื่องของขาวดำ หรือดีเลว โดยมองผ่านพื้นฐาน
ที่ฝ่ายหนึ่งยึดธงชัยของความดีว่าความดีคืออะไรและเป็นคนบอกว่าสิ่งที่มันเลวคืออะไร
และความโชคร้ายก็คือว่า บนพื้นฐานของสิ่งที่เลวนั้น มันมีเท็จจริงทางสังคมการเมือง
ปรากฏอยู่เป็นข้อสนับสนุนด้วย

ประการที่ 2 ก็คือ ผมมองว่าสังคมต้องข้ามพ้นการเมืองขาวดำไปสู่การมองเชิงนโยบาย
ปัญหาของตัวผู้ปกครองมันไม่ได้อยู่ที่การเป็นผู้ปกครองที่ดี สังคมไทยต้องการผู้ปกครอง
ที่มีความสามารถในการบริหารประเทศและการจัดการ

และสุดท้ายประเด็นที่สามก็คือ กฎหมาย ซี่งควรจะเป็นแนวทางปฏิบัติของสังคมมากกว่า
การมองมันเป็นแค่ข้อห้ามหรือข้อบังคับใช้

ถ้าเราสามารถจะแก้เงื่อนไขทั้งสามนี้ได้ ผมคิดว่าการ Restore Order ที่แท้จริงของ
การเมืองระบอบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้น และจะนำไปสู่หลักการอีกด้านที่เรายังไม่ได้
พูดกันอย่างแท้จริงก็คือ ปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และ
ภราดรภาพ

ที่ผ่านมา สังคมไทยในครรลอง มองปัญหาเรื่องสิทธิเป็นรูปธรรมเกินไป เช่น มองสิทธิ
ในฐานะที่เกี่ยวกับบุคคล เช่น การเลือกตั้ง


แล้วแบบไม่เป็นรูปธรรมคืออะไร

คือสิทธิในฐานะที่เป็น Citizenship รูปธรรมที่ดีที่สุดคือสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ในสังคม
สิทธิที่จะกำหนดทิศทางของสังคม ผมคิดว่านี่เป็นสิทธิที่สำคัญที่สุด ไม่มีใครแย่งชิง
สิทธินี้ไปจากตัวคุณได้ และสิทธินี้จะแสดงออกผ่านกิจกรรมทางการเมือต่างๆ ไม่ใช่
แค่การเลือกตั้ง


สิทธิในการกำหนดแนวทางในการดำเนินชีวิตและสังคม นี่คือสิทธิที่เป็นพื้นฐานที่สุด
ส่วนเสรีภาพคือสิ่งที่คุณจะแสดงออกมา ผมอยากให้สังคมไทยมองสิทธิที่เป็นพื้นฐาน
เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะกำหนดชีวิตคุณเองได้ นั่นคือการที่คุณมีบทบาททางสังคมมากขึ้น
วัฒนธรรมทางการเมืองนี้มันเริ่มเกิดขึ้นในบางส่วนของสังคมและที่น่าสนใจก็คือมันเกิด
ขึ้นในระดับรากหญ้ามากกว่าสังคมเมือง
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
type
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


« ตอบ #44 เมื่อ: 23-10-2006, 13:09 »

ไม่มีความคิดเห็นแค่เห็นหัวข้อกระทู้เลยมาตั้งคำถาม

ถ้าเป็นความดี และ คนดี จะกลัวอะไรกับประชาธิปไตย มันจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
หรือว่า ประชาธิปไตย มันไม่ใช่ ความดี และคนดี
หรือว่า ประชาธิปไตย ไม่ได้หวังจะให้มีความดี และ มีคนดี
หรือว่า คนที่ใช้ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้เพื่อทำความดี และคนใช้ไม่ได้เป็นคนดี
ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วทำไมจึงเพรียกหาประชาธิปไตยนักล่ะครับ


เพราะประชาธิปไตย มันมีสิทธิเสรีภาพ มากกว่า เผด็จการทหารหรือเผด็จการคอมมิวนิสต์ไงครับ
ทั้งความเสมอภาค สิทธิอันพึงมีพึงได้ในการเกิดเป็นมนุษย์ ฐานะที่เราทกุคนก็เป็นมนุษย์เหมือนกันทุกคน
หรือท่านคิดว่ามันมีระบอบการปกครองอย่างไรที่มันดีกว่า นี้ครับ อย่าไปพูดถึง อุตมรัฐเลยนะครับมันเป็นไปไม่ได้
แล้วระบอบการปกครองอื่นที่คิดว่าดี คนอื่นเขาเห็นดีเห็นงามด้วยไหมครับ ถามประชาชนทั้งชาติสิ




ส่วนประชาธิปไตยในไทยก็อยากจะให้มัน เจริญไปตามหนทางบนพื้นฐานของคำว่าประชาธิปไตย
อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เขาเป็นเพียงแม่แบบในประชาธิปไตยแต่ละระบบ
ไทยเลยได้ไปนำ เอาข้อดีข้อเสียมา พิจารณา เป็นประชาธิปไตยแบบไทยเองไงครับ
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 23-10-2006, 13:20 »

แค่จะบอกว่าด่าผิดแล้ว เพราะ snowflake เค้ารักคุณชวน เพียงแต่ไม่ชอบรัฐประหารเท่านั้น

อย่าเพิ่งด่วนสรุปเอง และใช้ความสนิทชิดเชื้อส่วนตัวนอกเว็บมาทำหน้าที่ทนาย

คุณชวน มีเหตุผลมากกว่าพวกนักวิชาการ 3 สลึง อันได้แก นายเกษม นายศิโรตม์ หลายเท่านัก คุณชวนไม่เคยออกมาถึงก็ "เราไม่เอารัฐประหาร ๆ ๆ" "คมช.ออกไป" "เราจะเลือกตั้ง" "ประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการไล่ผู้นำเลว"  แล้วแผ่นเสียงตกร่อง คุณชวนคำนึงถึงปัจจัยรอบด้าน พูดความจริงทุกด้าน แล้วเอามาประมวลรวมกันว่า อะไรเป็นเหตุจนมาถึงการรัฐประหาร แล้วจึงออกมานำเสนอวิธีการ ซึ่งหลักๆก็คือ คมช. ต้องออกมาชี้แจงความจริงและเหตุผล

คนที่พูดความจริงไม่ครบถ้วน จงใจเลี่ยงตอบคำถามหรือข้อเท็จจริงบางอย่าง เช่น ความจริงที่ว่า check & balance มันก็เจ๊งได้หากถูกคนไม่ดีทำให้เจ๊งไป พวกนายเกษม นายศิโรตม์ และพวก สามัญสำนึกของคุณน่าจะบอกได้เองว่า มันแปลกๆ มีเจตนาอะไรแอบแฝง

ดูซะ


นายชวน กล่าวด้วยว่า ความไม่เป็นธรรมที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) หยิบยกขึ้นมาทำรัฐประหาร เป็นเรื่องจริง เพราะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ซึ่งปัญหาดังกล่าวหากจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก็สามารถทำได้ อย่างเช่น การทบทวนเรื่องของงบประมาณปี 2550 ว่าในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา การจัดงบประมาณรายจ่ายไม่ได้ถูกจัดสรรไปอย่างเป็นธรรม เพราะเกิดจากความคิดว่า จะต้องพัฒนาเฉพาะจังหวัดที่เลือกพรรคไทยรักไทย เมื่อคิดอย่างนี้การจัดงบฯ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาถือเป็นการจัดแบบอคติและเลือกปฏิบัติ ความไม่เป็นธรรมจึงเกิดขึ้น ความไม่พอใจและความขัดแย้งก็ตามมา ดังนั้นส่วนนี้จึงเป็นส่วนที่เราจะต้องแก้ไขก่อน และชี้แจงให้กับประชาชนทราบพร้อมกับแก้ไขการจัดสรรงบประมาณให้เป็นธรรม

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะต้องทำอย่างไรที่จะให้ระบอบทักษิณหมดไป นายชวน กล่าวว่า ให้ความจริง ถ้าเห็นว่าอะไรคือสิ่งดีก็ถือว่าดี แต่ถ้าอะไรไม่ดีก็ต้องชี้แจงและแก้ไขไม่ต้องไปบิดเบือน ในสมัยที่มีระบอบทักษิณ ไม่เปิดโอกาสให้ใครได้พูดเลย ระบบทักษิณ พูดข้างเดียวครอบงำสื่อทั้งหมด ดังนั้นรัฐบาลชุดใหม่อย่าไปใช้วิธีดังกล่าว รัฐบาลควรให้ความจริงในทุกๆ ด้านกับประชนว่าความจริงของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้คิดอะไร

เมื่อถามถึงกรณีการยกเลิกกฎอัยการศึกคิดว่ารัฐบาลควรจะยกเลิกได้เมื่อไหร่ นายชวน กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องให้อำนาจและโอกาสรัฐบาล ว่าพร้อมหรือยังที่ยกเลิก ถ้าพร้อมแล้วและสถานการณ์ไม่มีอะไร เลิกได้ก็ดี แต่ตนคิดว่าข้อวิจารณ์ในเรื่องของกฎอัยการศึกจากต่างประเทศเราก็ควรฟังหูไว้หู เราควรเป็นตัวของเราเอง เพราะสภาพบ้านเมืองแต่ละบ้านเมืองไม่เหมือนกัน ต้องยอมรับว่าในช่วงที่เราคิดว่าเป็นประชาธิปไตยกระบวนการที่จะไปตามระบอบประชาธิปไตยมันถูกทำลายหมด เพราะฉะนั้นบางเรื่องต่างชาติจะไม่เข้าใจอย่างคนไทย เช่นสหรัฐอเมริกาก็มองเฉพาะรูปแบบไม่ได้มองลึกถึงข้างใน หรือแม้แต่คำวิจารณ์ของสิงคโปร์เขาไม่เห็นเรื่องลึกๆ ภายในของประเทศเรา ว่าความจริงมันคืออะไร เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เรารับฟังได้ แต่อย่าไปให้ความสำคัญมากนัก เพราะเวลาเรามีปัญหาคนนอกมองไม่เห็น 5 ปีที่เกิดวิกฤตเราไม่เคยเห็นการแสดงอะไรที่จะเป็นการส่งเสริมความชอบธรรมในประเทศไทยจากประเทศต่างๆ

“ส่วนนี้เราก็ฟังไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการไปปรับปรุงแก้ไข ซึ่งประเทศไทยเราต้องเป็นตัวของตัวเองในการแก้ปัญหาของเรา เพราะว่าวิถีทางระบอบประชาธิปไตยของแต่ละประเทศมันไม่เหมือนกัน บางประเทศก็มีสิทธิเสรีภาพมาก บางประเทศก็มีน้อย ผมว่าฟังไว้ได้ แต่ก็ไม่ควรให้ความสำคัญมากจนเกินไป ฟังไว้ให้เรารู้ว่าข้างนอกเขามองเราอย่างไร คิดอย่างไร แต่ถ้าเรามีโอกาสชี้แจงได้ ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหน โดยเฉพาะเราจะไปเห็นดีเห็นงามกับระบอบการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการรัฐประหาร แต่เมื่อเกิดความจำเป็นเพราะไม่มีทางออกเราก็ต้องชี้แจงให้ต่างชาติเข้าใจความเป็นจริงในเรื่องนี้”นายชวนกล่าว

นายชวน ยังกล่าวถึงการเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า เราใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 มา 9 ปี ก็มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตนั้นส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของตัวบุคคลและพรรคการเมืองด้วย ไม่ใช่ความบกพร่องของรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว แต่ต้องยอมรับว่า ตัวรัฐธรรมนูญก็มีส่วนทำให้เกิดวิกฤต มีความคลุมเครือความไม่ชัดเจนในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะการให้อำนาจบทบาทองค์กรบางองค์กรทำงานแล้วเกิดความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เช่นการให้วุฒิสมาชิก ตรวจสอบกระบวนการสรรหาหรือเลือกองค์กรอิสระ เรื่องนี้ต้องถือว่าล้มเหลว ตนเห็นว่าเรื่องนี้เป็นบทเรียนที่หลายฝ่ายต้องนำไปประมวลแล้วนำมาคิดว่าจะนำมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไรให้เกิดความสอดคล้องกับบ้านเรา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2006, 13:27 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

Haa
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 161



« ตอบ #46 เมื่อ: 23-10-2006, 13:33 »

ชื่อกระทู้ กำลังบอกว่า 'ความชั่ว' และ 'คนชั่ว' ทำให้ประชาธิปไตยก้าวหน้า? 
บันทึกการเข้า

All tyranny needs to gain a foothold is for people of good conscience to remain silent.

Thomas Jefferson
มดโฟร์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 122



« ตอบ #47 เมื่อ: 23-10-2006, 13:46 »

ด็อกตัวนี้บอกว่าแม้ประเทศไทยจะเสื่อมจะทรุดก็ขอรักษาประชาธิปไตยหรือนายของข้าไว้  ต้องหันเข้าโลกาภิวัฒน์ ถ้าสามารถหาคะเเนนมาได้มากๆ ไม่ได้สนใจวิธีการ คือผู้กุมชะตาชีวิต จะพูดเรื่องการถ่วงดุลอำนาจไปทำไม ด็อกไม่ได้ติดตามเหตุการณ์สถานกาณ์บ้างเรอ เข้าไปยุ่งได้แม้ในเเวดวงทหาร ด็อกไม่พูดเรื่องความยิ้งใหญ่คับเมืองของรุ่น 10 เลย  และเหมือนจะยอมรับกลายๆว่า ไม่ว่าจะเป้นการ
ถ่วงดุลเเบบไหน ขอให้มีไว้ไม่เกี่ยวกับความดีความเลว ไม้ประดับว่างั้นใช่มั้ยตกลง มีไว้แค่กันฝรั่งด่าเเค่นั้น  อือมนะ  ดอกเตอร์ ...
บันทึกการเข้า

หลอกคนอื่นนะหลอกง่าย แต่หลอกตัวเองอะไม่มีทาง
คนเจียงใหม่
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 297


« ตอบ #48 เมื่อ: 23-10-2006, 13:47 »

 Coolเห็นด้วยกับคุณแอ่นแอ๊นครับ กรรมเกิดจากการกระทำ
และกรรมส่อเจตนา และ กิเลศ คือเครื่องเศร้าหมอง
ผมได้สัมผัสกับคนบ้านนอก(นอกจริงๆนะ) ประเภท
ที่ไปหาต้องนอนค้างคืน เพราะกลับไม่ทัน
ทางมันยาก ขรุขระ เขาอยู่ห่างตัวอำเภอ ร้อยกว่าโล
เพราะฉนั้นเรื่องประชาธิปไตยอะไรนี่ไม่ต้องพูดถึง
มันอยู่ที่เจตนาของผู้ที่จะไปเป็นตัวแทนเขานั่นแหละ
ว่ามีเจตนาซ่อนเร้นหรือเปล่า มีอำนาจแล้วจะโกงมั้ย
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 23-10-2006, 13:48 »

แค่จะบอกว่าด่าผิดแล้ว เพราะ snowflake เค้ารักคุณชวน เพียงแต่ไม่ชอบรัฐประหารเท่านั้น

อย่าเพิ่งด่วนสรุปเอง และใช้ความสนิทชิดเชื้อส่วนตัวนอกเว็บมาทำหน้าที่ทนาย



อย่าด่วนสรุปคิดว่า อคติส่วนตัวของตนว่าคนอื่นจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ หรือคิดว่า สิ่งที่รับฟังมาจากคนที่ตนเคารพนับถือเป็นเรื่องถูกต้อง เพราะที่อ่านเค้าตอบกระทู้มา แสดงเจตนาชัดเจน ไม่ได้แอบแฝงว่ารักแล้วแกล้งเกลียด (ถึงแม้ว่าจะส่อเสียดกระแหนะกระแหนไปบ้าง) ความชอบในนักการเมืองคนใดเป็นเหตุผลส่วนตัว (เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้ายังให้โอกาสคุณอภิสิทธิ์ เพราะหลายครั้งก็แสดงเจตนาทางการเมืองที่ชัดเจน ว่า ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร) เพียงแต่บอกว่าจะบอกว่า "การที่มาบอก หรือชี้เป้า snowflake รักทักษิณ" ออกจะเป็นการอนุมานแบบเลือกข้างสุดโต่งไปหน่อย อย่างที่คุณมักจะทำและยัดเยียดข้อหาให้เสมอๆ จนเกิดเรื่องราวมาแล้วหลายครั้ง และขอโทษไปแล้วหลายครั้ง ทั้งๆ ที่การตอบไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาในกระทู้

อยากให้เสรีไทย อยู่กันอย่างสร้างสรรค์ อย่าให้โดนครหาว่า เป็นพันทิบแบบกลับข้าง

ไม่งั้นเสียดายที่ชื่อ เสรีไทย

ปล. ไม่ได้ทราบว่าการคุยผ่าน MSN ถือเป็นการสนิทชิดเชื้อนอกเวปหรือไม่ เพราะที่คุยกับ snowflake ก็เพียงผ่าน internet เท่านั้น ที่คุณอนุมานว่าสนิทชิดเชื้อ ในความหมายส่วนตัว ถือว่า ยังค่อนข้างห่าง แม้แต่คนที่เคยเจอในมีตติ้ง คำว่า สนิทชิดเชื้อ ก็ยังใช้กับแอนไม่ได้ ในความเห็นส่วนตัว
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
หน้า: [1] 2 3
    กระโดดไป: