ตายแล้ว .. อุตส่าห์ไปเอา วิทยานิพนธ์ปนนวนิยาย
ของสภาพัฒนาครกและสากกระเบือแห่งชาติ มาอ้างอิงด้วย....
โปรดทราบด้วยว่าผมก่นด่าประนามสาปแช่งหน่วยงานนี้มาแต่ก่อนที่จะมา พรรคไทยรักไทยเสียอีก
เพราะในอดีตมันเป็นเพียง แบบพิมพ์เขียวเอาไว้ให้เผด็จการทหารและพวกนักการเมืองสิ้นคิด
ไปสรุปย่อเอามาเป็นนโยบายแถลงต่อสภาฯ ส่วนจะปฏิบัติได้จริง ได้มรรคได้ผลแค่ไหน จะมีใครสนใจเล่า
ก็ในเมื่อมันเป็นเพียงแค่นามธรรม....
แต่รัฐบาลไทยรักไทย ที่ปฏิเสธแผนนวนิยายขายดีเหล่านั้น หันมาดำเนินยุทธศาสตร์ของตนเอง
ทำให้เข้าเป้าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสียยิ่งกว่าด้วยซ้ำ ถ้าจะคิดแบบสอพลอ
คนด่ามันโง่เหมือนควายมากกว่ามั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจคือบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาประเทศ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ แบบแผน วิธีดำเนินการ และการกำหนดหน่วยปฏิบัติการอย่างเป็นระบบแบบแผน
การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา และพัฒนาแล้วว่ามีความสำคัญในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้ทุกๆ ประเทศในโลกมีความตื่นตัวในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ประเภทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
แผนระยะยาว (perspection plan) เป็นแผนระยะยาวที่วางกรอบและทิศทางการดำเนินนโยบายอย่างกว้างๆ รวมทั้งมีการประมาณการรายการสำคัญๆอย่างกว้างๆ อาทิ เป้าหมาย ผลผลิตมวลรวม การใช้จ่ายในภาครัฐและเอกชน การบริโภคและการลงทุน รวมถึงการนำเข้าและส่งออก สินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งแผนระยะยาวจะเป็นกรอบให้แก่แผนระยะกลาง
แผนระยะกลางหรือแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม (mediumterm or development plan) เป็นแผนระยะ 4-6 ปี ซึ่งเป็นแผนที่วางตามกรอบของแผนระยะยาว
แผนปรับปรุงประจำปี (annual plan) เป็นแผนที่จะต้องจัดทำขึ้นทุกปี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแผนประจำปี เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆทั้งในและต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทำให้การดำเนินการและผลที่ได้รับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้นแผนนี้จึงเป็นแผนที่ใช้ในการปรับให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในขณะนั้นๆให้มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และแผนนี้ยังใช้ประกอบในการจัดทำงบประมาณประจำปีอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
เพิ่มรายได้ประชาชาติและรายได้ที่แท้จริงของบุคคล
ยกระดับมาตรฐานการดำเนินชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น
กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
กระจายรายได้สู่ประชาชนอย่างยุติธรรม
การจ้างงานเพิ่มอัตราสูง ปัญหาการว่างงานลดน้อยลง
การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ มีดุลการค้าและดุลการชำระเงินที่อยู่ในสภาวะเกินดุลหรือขาดดุลน้อยลง
พอเข้าใจเบื้องต้นรึยังว่า เขาต้องมีการออกแผนการพัฒนาเศรษบกิจออกมาเพื่ออะไร ต่อมาลองแหกตาอ่านนี้ดูนะสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ดำเนินกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนต่อเนื่องมานับตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางทั้งในระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ เริ่มตั้งแต่ขั้นการกำหนดกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันให้อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ และเมื่อดำเนินการจัดทำกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ แล้วเสร็จ จึงได้นำเสนอคณะ
รัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
จากนั้น ดำเนินการในขั้นการจัดทำรายละเอียดของแผน โดยอาศัยกลไกความร่วมมือในหลายรูปแบบ มีหลายหน่วยงานรวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองสาระรายละเอียดของแต่ละยุทธศาสตร์ จนสามารถประมวลเป็น ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ ซึ่งได้มีการปรับปรุงสาระสำคัญมาโดยลำดับอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและขอความเห็นเพิ่มเติมในการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรีกับคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อต้นเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา จากนั้น ได้ปรับปรุง ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๕๒๕๔๙ นำเสนอสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็น และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไปพร้อมกับความเห็นของสภาที่ปรึกษาฯ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ศกนี้
ต่อมา สำนักงานฯ จึงได้ปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ นี้ขึ้น และนำเสนอ
ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติอย่างเป็นทางการ และนำกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กั น ย า ย น ๒ ๕ ๔ ๔
ตอนนี้ไอ้แม้วมันเป็น นายกรึเปล่า แล้วมันได้พิจารณาแผนเศรษฐกิจแห่งชาติด้วยรึเปล่าหว่า ลองนึกๆดูหน่อยสิ
คราวนี้มาลองดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 9 ที่เน้นหลักความพอเพียงด้านยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม มาอ่านดูนะ๑วัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดการระบบบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจให้ปรับตัวเข้าสู่ความมีสมดุล มีภูมิคุ้มกัน มีเสถียรภาพและความมั่นคง เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจน และการสร้างงาน สนับสนุนการกระจายรายได้ไปสู่ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเป็นธรรม อันเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการดำเนินงานนโยบายและแนวทางการพัฒนาด้านการเงิน การคลัง และความร่วมมือระหว่างประเทศไว้ดังนี้
๑.๑ เพื่อให้ภาคการเงินมีความเข้มแข็ง มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีสามารถป้องกันวิกฤตการณ์และความผันผวนจากเศรษฐกิจการเงินโลกได้ มีศักยภาพในการสนับสนุนการระดมทุนของระบบเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ และมีส่วนสนับสนุนการกระจายเงินทุนไปสู่ภูมิภาค
๑.๒ เพื่อสร้างความมั่นคงทางการคลังในระยะยาว โดยคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการรักษาวินัยการคลังและความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
๑.๓ เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง ที่เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ และมีการเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์
๒เป้าหมาย เพื่อที่จะสนับสนุนวัตถุประสงค์ดังกล่าว เป้าหมายด้านเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ คือ การพัฒนาให้เศรษฐกิจกลับสู่อัตราการขยายตัวในระดับปานกลาง เพื่อลดปัญหาความยากจนและการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวิกฤต สร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาคเอกชน และลดหนี้สาธารณะในระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้ แต่ต้องใช้ความพยายามในการดำเนินการสูงและเป็น
เป้าหมายที่จำเป็นเพื่อป้องกันปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับเป้าหมายการพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย โดยเป้าหมายการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่สำคัญ ได้แก่
๒.๑ เศรษฐกิจขยายตัวโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๔-๕ ต่อปี
๒.๒ เพิ่มการจ้างงานใหม่ในประเทศไม่ต่ำกว่า ๒๓๐,๐๐๐ คนต่อปี
๒.๓ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินประมาณร้อยละ ๓ ต่อปี
๒.๔ รักษาการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เฉลี่ยร้อยละ
๑-๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
๒.๕ ลดการขาดดุลเงินสดของรัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ ๑-๑.๕ ของ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ภายในปี ๒๕๔๙
๒.๖ บริหารหนี้สาธารณะของประเทศให้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ ๖๐๖๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และดูแลภาระการชำระหนี้ในงบประมาณให้อยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ ๑๖๑๘ ของงบประมาณ
๓แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมในระยะ ๕ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จะเน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤตอย่างเต็มที่ และสนับสนุนการขยายตัวของฐานเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและเสถียรภาพที่มั่นคง เพื่อนำไปสู่การปรับฐานเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง สามารถขยายตัวต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพได้ในระยะยาว ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการเงิน โดยเฉพาะการกำกับดูแลเงินทุนและสร้างความต่อเนื่องของการแก้ไขปัญหาภาคการเงิน รวมทั้งเพิ่มบทบาทของตลาดทุนให้เป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนของประเทศ ในขณะที่ภาคการคลังต้องเน้นการสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะต้องเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้สามารถรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยเน้นการบริหารจัดการและประสานกลไกการเจรจาการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแนวทางการพัฒนาตามลำดับความสำคัญ ดังนี้
๓.๑ แนวทางการพัฒนาด้านการเงินเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตเศรษฐกิจและช่วยกระจายความเจริญและความเป็นธรรม โดยการดูแลสภาพคล่องในระบบให้พอเพียงและรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม มีการดูแลไม่ให้เกิดวิกฤตทั้งทางด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ตลอดจนมีระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนที่สมดุลมากขึ้นระหว่างระบบธนาคารและตลาดทุน และระหว่างเงินทุนในประเทศและการระดมทุนจากต่างประเทศ มีความสามารถในการเผชิญวิกฤตได้ดีขึ้นจากการสร้างความร่วมมือทางการเงินกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรองรับวิกฤตและจัดตั้งระบบประกันเงินฝาก และระบบการเงินมีส่วนเอื้ออำนวยต่อการกระจายความเจริญและความเป็นธรรมเพื่อสร้างความสมดุลของระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
(๑) สร้างความเข้มแข็งและระบบระวังภัยของภาคการเงิน โดย
(๑.๑) กำหนดเป้าหมายเสถียรภาพราคาที่เหมาะสมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยให้ฝ่ายกำหนดนโยบายการเงินสามารถกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยที่เอื้อต่อการพัฒนาและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
(๑.๒) แก้ไขปัญหาอุปรรคของสถาบันการเงินให้สามารถดำเนินการได้อย่างปกติ และบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบเศรษฐกิจให้ลดลง
(๑.๓) ดูแลสภาพคล่องให้พอเพียงและเอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
(๑.๔) รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนและความมั่นคงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
(๑.๕) ติดตามและดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงการไหลออกของเงินทุนอย่างฉับพลัน โดยการพัฒนาระบบข้อมูล และพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์ เพื่อสร้างระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันล่วงหน้า
(๑.๖) ควบคุมดูแลเงินบาทในตลาดนอกประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเอื้อประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของไทย และเพื่อไม่ให้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรและโจมตีค่าเงินบาทได้
(๑.๗) จัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการเงินเพื่อป้องกันวิกฤตโดยเน้นด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล และระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในยามฉุกเฉิน
(๒) ปรับปรุงการกำกับดูแลสถาบันการเงิน โดย
(๒.๑) พัฒนาประสิทธิภาพในการกำกับดูแล และการตรวจสอบสถาบันการเงิน โดยการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้ทันสมัยสอดคล้องกับภาวะการณ์ และให้มี
มาตรฐานการกำกับดูแลในทิศทางที่สอดคล้องกันทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติและตั้งอยู่บนหลักการบริหารจัดการที่ดี สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โปร่งใส ยืดหยุ่น และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลด้านการตรวจสอบ
(๒.๒) ปฏิรูปกฎหมายทางการเงิน เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลและเอื้อต่อการพัฒนาระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
(๒.๓) เสริมสร้างระบบสถาบันการเงินให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศในเรื่องมาตรฐานการบัญชี ความโปร่งใส ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์
(๒.๔) จัดให้มีระบบประกันเงินฝากอย่างเป็นขั้นตอนและรอบคอบ เพื่อลดต้นทุนของรัฐบาลในการค้ำประกันเงินฝากและเป็นการสร้างวินัยแก่ทั้งลูกค้าและธนาคารในการบริหารเงินทุน รวมทั้งมีระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสินเชื่อของสถาบันการเงินที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น
(๓) เพิ่มบทบาทของตลาดทุนในการเป็นแหล่งระดมทุนของประเทศ โดย
(๓.๑) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีการทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี พัฒนาระบบการตรวจสอบและการรายงานผล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลของภาคเอกชนเอง และเพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับตลาด ช่วยให้ตลาดทุนพัฒนาอย่างมี
ประสิทธิภาพ
(๓.๒) พัฒนาตลาดหลักทรัพย์ให้มีทั้งความกว้างและความลึก เพื่อให้เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ และมีสภาพคล่อง เพื่อให้เป็นกลไกที่ช่วยเสริมการระดมทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
(๓.๓) ส่งเสริมให้มีการแปลงทุนในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเป็นทุนเรือนหุ้น และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มประเภทและความหลากหลายของหลักทรัพย์ในตลาดทุน
(๓.๔) พัฒนาตลาดอนุพันธ์ เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนและเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักลงทุน
(๓.๕) พัฒนาตลาดตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นทางเลือกในการระดมทุนของภาคเอกชนและรัฐบาล
(๔) ปรับปรุงบทบาทของภาคการเงินในการกระจายความเจริญและความเป็นธรรม โดย
(๔.๑) ปรับปรุงการดำเนินงานของสถาบันการเงินในกำกับของรัฐให้มี
ประสิทธิภาพในการประกอบธุรกรรมสูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทรัพยากรทาง
การเงิน และความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้นและทั่วถึง โดยเฉพาะการสนับสนุนการให้
สินเชื่อรายย่อย การให้สินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(๔.๒) กระจายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินไปสู่ภูมิภาคและจัดให้มีระบบการให้สินเชื่อระดับจุลภาค เพื่อส่งเสริมการกระจายสินเชื่อไปสู่ผู้กู้รายย่อยและชุมชนมากขึ้น
๓.๒ แนวทางการพัฒนาด้านการคลัง เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานะการคลังและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยเน้นการรักษาวินัยการคลังและบริหารหนี้สาธารณะเพื่อให้สามารถลดหนี้สาธารณะและลดภาระหนี้ในงบประมาณให้กระจายออกไปในระยะเวลาที่ยาวขึ้น ด้วยการควบคุมการก่อหนี้ใหม่ การเข้มงวดการใช้เงินกู้โดยพิจารณาจัดสรร
แก่โครงการลงทุนที่มีความสำคัญและความจำเป็นสูง การพิจารณาทบทวนการจัดลำดับความสำคัญและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานและโครงการลงทุนภาครัฐและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของรัฐ การบริหารหนี้ให้มีสกุลเงินที่เหมาะสมและมีสัดส่วนของหนี้ภายในประเทศมากขึ้น การควบคุมรายจ่ายรัฐบาลไม่ให้เพิ่มสูงเกินไปและมีประสิทธิผลในการใช้จ่ายโดยใช้ระบบงบประมาณที่เน้นผลงาน ในขณะเดียวกันมีการสร้างฐานรายได้ ขยายฐานภาษี และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ บริหารทรัพย์สินของรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน โดยการกระจายอำนาจและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้การใช้งบประมาณตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น รวมถึงพิจารณาปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิต การลงทุน และส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และปฏิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชน
(๑) รักษาวินัยการบริหารหนี้สาธารณะ โดย
(๑.๑) ควบคุมการก่อหนี้สาธารณะและดำเนินการให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง ลดข้อจำกัดทางงบประมาณ ซึ่งต้องรับภาระการชำระหนี้จากการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
(๑.๒) ควบคุมการก่อหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ระดับของภาระหนี้สินที่มีอยู่ ฐานะการคลังและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ
(๑.๓) ปรับปรุงระบบการพิจารณา และการบริหารโครงการเงินกู้ให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตัดทอนเงินกู้สำหรับโครงการที่มีเงินเหลือจ่ายหรือไม่จำเป็นต้องจ่าย และปรับลดหรือระงับโครงการที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือหมดความจำเป็นในการดำเนินการ
(๑.๔) พิจารณาทบทวนการจัดลำดับความสำคัญและหลักเกณฑ์การจัด
ทำแผนงานและโครงการลงทุนภาครัฐเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านการก่อหนี้และภาระงบประมาณ
(๑.๕) ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในกิจการของภาครัฐโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน มาตรฐานและคุณภาพของการผลิตสินค้าและการให้บริการที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม
(๑.๖) ปรับแนวทางการก่อหนี้ต่างประเทศ ให้เป็นหนี้ภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการที่ไม่จำเป็นต้องมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเพิ่มอุปทานตราสารหนี้ภายในประเทศ โดยพิจารณาความเหมาะสมในด้านการกระจายตัวทั้งประเภทและอายุตราสารเพื่อลดต้นทุนการก่อหนี้ภาครัฐโดยรวม
(๑.๗) ปรับโครงสร้างเงินกู้ต่างประเทศให้อยู่ในรูปสกุลเงินต่างๆอย่าง
เหมาะสม โดยพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนการกู้ยืม เพื่อลดความเสี่ยงจากความ
ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
(๑.๘) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการก่อหนี้
และการบริหารหนี้รวมทั้งกฎหมายเงินคงคลัง และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นระบบ และเพิ่มความเข้มแข็งของวินัยการคลัง ในขณะเดียวกันเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารหนี้ให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการกู้เพื่อปรับโครงสร้างเงินกู้
(๒) ปฏิรูประบบงบประมาณและการบริหารรายจ่าย โดย
(๒.๑) ปฏิรูประบบงบประมาณไปสู่ระบบที่มุ่งเน้นผลงาน ให้มีแผนการจัดสรรงบประมาณระยะปานกลาง และมีการประเมินผลผลิตและผลลัพธ์
(๒.๒) ให้มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายรวมของภาครัฐที่ครอบคลุม
งบประมาณส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และส่วนท้องถิ่น
(๒.๓) มีกลไกประสานแผนงาน แผนเงิน แผนคน เพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งระบบโดยยึดหลักการของพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม และให้จัดสรรงบประมาณลงสู่ชุมชนหรือองค์กรนอกภาครัฐได้โดยตรง
(๒.๔) ปรับปรุงการบริหารรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินให้มีเพียงพอสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาและการผ่อนชำระหนี้ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงระบบเงินประจำงวดและประสิทธิภาพการเบิกจ่าย
(๒.๕) จัดระบบกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนที่รัฐบาลสนับสนุนให้มี
ประสิทธิภาพ และความโปร่งใสในการบริหารการคลังและลดภาระงบประมาณ
(๓) ปรับปรุงการจัดการด้านรายได้และนโยบายภาษี โดย
(๓.๑) ปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อภาคการผลิต การค้าและบริการให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งในเวทีอนุภาคอาเซียนและเวทีโลก
(๓.๒) ทบทวนและปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งระบบ
(๓.๓) ส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับการยื่นชำระภาษี โดยเฉพาะเร่งรัดการนำมาใช้สำหรับการยื่นชำระภาษีการนำเข้าและส่งออกสินค้า
(๓.๔) บริหารรายได้ภาครัฐให้มีเพียงพอกับภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งงบประจำและการชำระหนี้ เช่น การสร้างฐานรายได้ของประเทศ การเพิ่มฐานภาษี
การบริหารการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ และรักษาอัตราภาษีที่เหมาะสม รวมทั้งบริหารทรัพย์สินของภาครัฐที่มีอยู่ให้มีผลตอบแทนสูงสุด
(๓.๕) ปรับปรุงภาษีที่เก็บจากทรัพย์สินเพื่อลดการถือครองทรัพย์สินเพื่อการเก็งกำไร และพิจารณานำภาษีมรดกมาบังคับใช้ เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
(๓.๖) พิจารณาจัดเก็บภาษีเพื่อคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๓.๗) ปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อกระตุ้นให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการศึกษา พัฒนาฝีมือแรงงานและการวิจัยและพัฒนา
(๔) ส่งเสริมระบบการออมของประเทศ โดยปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม ให้ครอบคลุมประชากรและผู้ใช้
แรงงานอย่างทั่วถึง โดยให้ความสำคัญกับการออมเพื่อการชราภาพ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเงินในระยะยาว
(๕) กระจายอำนาจการคลังและถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม โดย
(๕.๑) เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการวางแผน การจัดทำและบริหารงบประมาณ เพื่อสามารถสนองต่อความต้องการของชุมชน
(๕.๒) ปรับบทบาทและการจัดสรรบุคลากรของส่วนกลางให้สอดคล้องกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่ม
บทบาทในการจัดการบริการสาธารณะตามศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น
(๕.๓) พัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ
จัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามศักยภาพของท้องถิ่น เพื่อแบ่งเบาภาระจากส่วนกลาง
๓.๓ แนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศให้อยู่บนทางสายกลาง มีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างรู้เท่าทัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศที่ใช้ความรู้ความสามารถในประเทศมากขึ้น โดยต้องสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจชุมชนในระดับรากหญ้า ภายใต้กรอบของเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพมั่นคง ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรู้เท่าทันและมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
(๑) ปรับปรุงระบบการเจรจาทางการค้าทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและ
พหุภาคีและปรับกลไกความร่วมมือเศรษฐกิจต่างประเทศในทุกด้าน ให้มีความชัดเจนและเชื่อมโยงกันทั้งด้านการค้า การตลาด การบริการ และการลงทุน เพื่อให้สามารถใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศมาสนับสนุนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะของประเทศ ให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวม และมุ่งให้ทุนที่มีคุณภาพสร้างฐานรากในประเทศ และต่อยอดการพัฒนาบนพื้นฐานของทุนภายในประเทศด้านต่างๆ อาทิ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความรู้และภูมิปัญญา ทักษะและฝีมือ ความสามารถในการบริหารจัดการ เทคโนโลยี เป็นต้น
(๓) ใช้ประโยชน์จากเวทีความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยสร้างพันธมิตรระหว่างกลุ่มหรือภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปเอเซีย ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่จะส่ง
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ อาทิ การพิทักษ์และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเชื่อมโยงเครือข่ายทางโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น
แล้วมาดู นโยบายของพรรคไทยรักไทยด้านเศรษฐกิจ จากการที่เราได้ก้าวเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลก ที่การเคลื่อนไหวของทุนมีอิทธิพลต่อการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งในแง่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และชะตากรรมของคนในสังคมโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแรงกดดันดังกล่าวอย่างรุนแรง ประกอบกับความผิดพลาดเชิงนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและวัฒนธรรมในอดีต ทำให้ประเทศเข้าสู่วิกฤตจนลุกลามไปทุกปริมณฑลของสังคมอยู่ในขณะนี้ และดูเหมือนว่าวิกฤตการณ์ดังกล่าวจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ความรุนแรงของสถานการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้ จะต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขอย่างถูกต้องและทันท่วงที
ดังนั้นพรรคจึงเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีนโยบายใหม่ ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น และอาจทวีความรุนแรงในอนาคตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างการผลิตและการเงินของประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับการสั่งสมทางปัญญาของสังคมไทย นโยบายใหม่นี้จะสร้างให้คนมีความหวัง มีความรู้สึกภาคภูมิใจรู้สึกว่าตนและประเทศของตนมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี กรอบของนโยบายใหม่นี้จะสอดประสานกันแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวม สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นไปได้โดยจะสามารถบรรลุเป้าหมายในเชิงของการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคมที่กำลังเผชิญอยู่อย่างประสานสอดคล้องไปพร้อมกันไม่ว่าจะเป็น ปัญหาหนี้ต่างประเทศ ความชะงักงันของการส่งออก การถดถอยทางเศรษฐกิจ
การว่างงาน ปัญหาระบบการเงินและสถาบันการเงิน การศึกษา การกระจายโอกาสในชีวิต การจัดโครงสร้างการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนเสริมสร้างบทบาทของไทยในการเป็นผู้นำของภูมิภาค ที่สามารถเสนอทางเลือกที่จะออกจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้อย่างแจ่มชัด และมีความเป็นไปได กรอบของนโยบายใหม่นี้จะสอดรับและ สามารถใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและความต้องการของสังคมไทยในอนาคต ปรัชญาของนโยบายเศรษฐกิจ เนื่องจากเป้าหมายสูงสุดของการบริหารราชการแผ่นดินคือ การเพิ่มพูนความอุดมให้กับชีวิตของประชาชน โดยการสร้างและธำรงไว้ซึ่งความเสมอภาคของโอกาสในชีวิตให้ กับประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจก็ต้องสอดคล้องและตอบสนองต่อการสร้างโอกาสดังกล่าว และต้องสามารถปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนให้ถูกกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากความผันผวนทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาแต่อิทธิพลของการเคลื่อนไหวของทุนที่รวดเร็วในระดับโลก
นโยบายเศรษฐกิจจะต้องเป็นนโยบายที่ยืดหยุ่นโปร่งใส ชอบธรรมและตรวจสอบได้ โดยยึดเอกราชทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางด้านการเงินการคลัง พรรคยึดมั่นในการรักษา "หัวใจ" ของวินัยการเงินการคลัง โดยไม่ให้น้ำหนักกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งจนทำให้เกิดความระส่ำระสายต่อระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง ในโลกปัจจุบันที่การดำเนินนโยบายการเงินการคลังถูกกำหนดโดยปัจจัยภายนอกประเทศ ที่ไม่สามารถควบคุมได้หลายประการ การอ้างการรักษาวินัยโดยให้น้ำหนักกับเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งอย่างไม่มีความยืดหยุ่นในเชิงปฏิบัติ และไม่คล่องตัวรังแต่จะทำให้การรักษาวินัยนั้นไม่ก่อประโยชน์ที่แท้จริง แต่กลับจะทำให้ไม่สามารถรักษาวินัยได้ในที่สุด วินัยการเงินการคลังดังกล่าวจะต้องก่อประโยชน์ต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แท้จริง เนื่องจากเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงินและการคลัง เป็นเพียงภาพสะท้อนของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งประกอบด้วยเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามศักยภาพของประเทศ
ระบบเศรษฐกิจของวิสาหกิจขนาดใหญ่ ระบบเศรษฐกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ดังนั้นนโยบายการเงินการคลังต้องมุ่งรักษาสมดุลของพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริง เพื่อลดความเสี่ยงทั้งระบบเศรษฐกิจ นโยบายเร่งด่วนพรรคให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก กับกิจกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้กับประเทศ ทั้งโดยการเร่งสนับสนุนการส่งออก เร่งวางกรอบในการปรับโครงสร้าง การผลิตภายในประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนและสร้างความแข็งแกร่งให้กับกิจการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ เร่งเพิ่มจำนวนและบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะด้าน อันเป็นกลไกของรัฐให้ส่งเสริมกิจการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเหล่านั้นอย่างเร่งด่วน พรรคให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการใช้นโยบายการเงินการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศโดยที่การกระตุ้นนั้น จะไม่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้แต่จะเสริมสร้าง
ศักยภาพให้ธุรกิจในประเทศสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้การลดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิดผลกระทบอันไม่พึงปรารถนา พรรคจะจำกัดการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินบาทและเงินตราต่างประเทศให้น้อยที่สุด เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนสะท้อนความเป็นจริงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะสนับสนุนและเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมที่มีศักยภาพ ในการเสริมสร้างรายได้ให้กับประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาต่อสังคมไทย พรรคให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับ การปรับโครงสร้างและปฏิรูประบบการเงินของประเทศทั้งระบบอันได้แก่ การวางกรอบและสนับสนุนให้สถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน สามารถยกระดับตัวเองทั้งในแง่ของความมั่นคงและมาตรฐาน
การปฏิบัติงานในระดับสากลและในฐานะที่ระบบสถาบันการเงินปัจจุบันไม่สามารถ ให้ความช่วยเหลือกับกิจการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างเต็มที่ พรรคจึงสนับสนุนให้จัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะด้าน อีกทั้งการออกมาตรการทางด้านตลาดทุนและมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อช่วยให้กิจการเหล่านั้น สามารถก้าวข้ามพ้นขวากหนามทางการเงินโดยเร่งด่วน พรรคให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด กับการเร่งบรรเทาปัญหาคนว่างงาน อันเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจด้วย การจัดให้มีศูนย์เพิ่มพูนทักษะ สำหรับแรงงานในเมือง ซึ่งเคยทำงานในอุตสาหกรรมและธุรกิจที่ประสบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาจากอุตสาหกรรมการเงิน และบริการให้ได้รับการฝึกฝนเพื่อให้มีทักษะที่มีประโยชน์ และสามารถเกื้อกูลต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ การฝึกฝนให้สามารถช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษาทั้งในด้านการเงินการบัญชี การบริหารและการจัดการ แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเพื่อเพิ่มพูนการส่งออกซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารสมัยใหม่ อันบั่นทอนความสามารถในการส่งออกอย่างน่าเสียดาย การเร่งรัดโครงการสร้างงานในชนบทตาม โครงการที่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ อีกทั้งการเร่งรัดและควบคุมให้หน่วยงานรัฐใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในโครงการ ที่ช่วยให้เกิดการจ้างงานทั้งในส่วนกลาง และภูมิภาค โดยเร่งด่วนนอกจากนั้นพรรคจะสนับสนุนให้เกิดโครงการ "กลับเข้าห้องเรียน"ในระดับประเทศโดยการสำรวจแรงงานฝีมือที่ตกงานทั่วประเทศ แล้วสนับสนุนให้กลับเข้าไปเรียน และฝึกทักษะในด้านต่างๆ ตามวิทยาลัยเทคนิคหรือโรงเรียนอาชีวะศึกษาทั่วประเทศ โดยได้รับค่าตอบแทนพรรค ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด กับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อการส่งออกให้เป็นฐานการผลิตการจ้างงานและการส่งออกของประเทศ หัวใจของนโยบายดังกล่าวจะอยู่ที่ การปรับโครงสร้างการผลิตในระบบเศรษฐกิจไทยเสียใหม่ โดยสนับสนุนวิสาหกิจเหล่านี้ที่ประกอบการอิสระและผลิตเพื่อการส่งออกซึ่งมีอยู่แล้ว และกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศให้เป็นแกนในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในอนาคตนอกจากนั้น วิสาหกิจเหล่านี้ยังจะมีบทบาทสำคัญในการดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องให้กับระบบ และเป็นกลไกสำคัญในการกระจายการลงทุนและฐานการผลิตสู่ภาคต่างๆ ของประเทศ เพื่อรองรับการจ้างงานในชนบท และเป็นตัวจักรกลสำคัญในการสร้างทักษะและถ่ายทอดทักษะระหว่างคนงาน ทั้งจากภายนอกประเทศสู่ภายในประเทศและระหว่างผู้ผลิตและคนงานภายในประเทศด้วยกันเอง การพัฒนาและยกระดับทักษะเหล่านี้เอง จะเป็นหนทางอันสำคัญที่จะส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ที่จะสามารถเลือกกระบวนการในการสร้างความมั่งคั่งของตนด้วยตนเอง สอดคล้องกับแนวคิด"เศรษฐกิจพอเพียง" ที่เหมาะสมกับศักยภาพและวิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ต้องควบคู่ไปกับการดูแลไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง ด้วยการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนเกินไป แต่ในขณะเดียวกันก็ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเป็นธรรมและข้อเท็จจริง ของความสามารถในการผลิตที่สร้างรายได้อย่างแท้จริงของผู้ประกอบการ นโยบายระยะกลางและระยะยาว ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน พรรคจะสนับสนุนและผลักดันให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่พอเพียง ตามศักยภาพของชุมชนในระดับรากฐานของประเทศตั้งแต่
การผลิตเพื่อบริโภค และเหลือขายในระดับครอบครัว การรวมตัวเพื่อดำเนินเศรษฐกิจในระดับชุมชน การเชื่อมโยงอย่างเกื้อกูลและสนับสนุนซึ่งกันและกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ สู่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศอย่างเป็นระบบ พรรคจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับภาคเกษตรกรรม ให้เป็นภาคเศรษฐกิจหลักที่จะต้องเติบโตควบคู่ไปกับภาคอุตสาหกรรมและบริการ และได้รับการเอาใจใส่ในการเพิ่มพูนสมรรถนะการผลิต และยกระดับคุณภาพเพื่อให้ได้ผลผลิตที่พอเพียง เลี้ยงดูประชากรในประเทศ และเหลือเพื่อส่งออก รวมไปถึงเป็นวัตถุดิบอันสำคัญให้กับภาคอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีความหลากหลายและมีศักยภาพสูงในตลาดโลก พรรคจะสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรม จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของอุตสาหกรรมเป้าหมายเสียใหม่ เพื่อมุ่งสู่การระดมทรัพยากรเพื่อการผลิตในสิ่งทีเราถนัด และมีความสามารถที่สั่งสมมาเป็นพิเศษ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ทักษะฝีมือที่เรามี ความโดดเด่นเชี่ยวชาญ โอกาสทางการตลาดและความสามารถเชิงแข่งขันในระยะยาว ความสามารถในการขยายขอบข่ายสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมสนับสนุน อีกทั้งการเชื่อมโยงอย่างสมดุลระหว่างอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นแรงงานไปสู่การพัฒนาให้เกิด
อุตสาหกรรมที่มุ่งใช้ความรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิต ที่จะทวีความสำคัญยิ่งในระยะยาว ยกระดับความสามารถเชิงแข่งขันพร้อมเผชิญกระแสแข่งขันการค้าเสรี พรรคจะสนับสนุนให้มีแผนการสนับสนุน และสร้างเสริมความสามารถเชิงแข่งขันเป็นการเฉพาะในแต่ละอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ พรรคจะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการกำหนดอาณาเขตพื้นที่เป็นการเฉพาะ สำหรับแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นเบ้าหลอมแห่งการเพิ่มขีดความสามารถเชิงแข่งขันที่แท้จริง การคัดเลือกจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเชิงยุทธศาสตร์ของพื้นที่ ความสอดคล้องกับทรัพยากร และทักษะของประชากรในพื้นที่ ความสามารถในการจูงใจให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมายเข้ามาลงทุนในพื้นที่ การชักจูงให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสนับสนุนเข้ามาอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ความพรั่งพร้อมของการมีสถานศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อป้อนวิทยาการและบุคลากรแก่ผู้ผลิต ความพรั่งพร้อมของบริการขนส่งตลอดจนความพร้อมของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายแต่ละประเภท ทั้งนี้เพื่อให้ผลผลิตมีคุณสมบัติพร้อมที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแท้จริง พรรคจะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการขนาดใหญ่ จำนวนมากพอในแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความแข็งแกร่ง ทั้งในแง่ของเทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง ด้านเงินทุนด้านการผลิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว และด้านการตลาดที่เข้มแข็งเพียงพอในการก้าวสู่ธุรกิจการค้าในระดับโลกในด้านหนึ่งนั้น
เพื่อป้องกันมิให้เกิดการผูกขาดรวมศูนย์ในแต่ละอุตสาหกรรม แต่ในอีกด้านหนึ่งทีมีความสำคัญยิ่งก็คือ การกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันอันเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่ง และความสามารถเชิงแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดใหญ่เหล่านี้ ให้สามารถเป็นหัวหอกที่ทรงประสิทธิภาพในการรุกสู่ตลาดโลกของแต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ในอนาคตพรรคจะสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกิจการธุรกิจในภาคเอกชนให้มีความโปร่งใส เข้มแข็ง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทัดเทียมระดับมาตรฐานโลกทั้งในเชิงของคุณภาพผู้บริหาร และระบบการจัดการเทคโนโลยีการปรับโครงสร้างการเงิน และโครงสร้างทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การเปิดเผยข้อมูลและข้อเท็จจริงของกิจการการ ยกระดับเครื่องจักรและวิทยาการการผลิต ทั้งนี้เพื่อยกระดับศักยภาพและประสิทธิภาพของธุรกิจเอกชนไทยโดยส่วนรวม อันจะเป็นประโยชน์ทั้งในเชิงของการจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุน และทั้งในเชิงของการเตรียมพร้อมเผชิญกระแสการแข่งขันเสรีในอนาคต พรรคจะเร่งยกระดับความสามารถเชิงการผลิตของประเทศ ด้วยการส่งเสริมและจูงใจให้มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและเครื่องจักร
การผลิตให้ทันสมัยภายใต้ข้อจำกัดของประเทศ ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต กระบวนการผลิตและการจัดการ ชักจูงให้มีการเคลื่อนย้ายฐานผลิตของอุตสาหกรรมเป้าหมาย จากต่างประเทศ พร้อมทั้งเร่งรัดการพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนยกระดับความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เทียบเท่ามาตรฐานโลก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจขนาดใหญ่ที่เข้มแข็งเพียงพอ ที่จะก้าวสู่การแข่งขันในระดับโลก พรรคจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็ง ให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมประเภท สนับสนุนซึ่งมักมีขนาดเล็กและเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ทั้งในฐานะของการเป็นฐานผลิต วัตถุดิบชิ้นส่วน วัสดุ อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเชิงสนับสนุนและเกื้อกูล การสนับสนุนผู้ประกอบการเหล่านี้ ควรมุ่งเน้นในการเพิ่มความเข้มแข็งและขีดความสามารถเชิงแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิต การเงิน เทคโนโลยีและการจัดการยกระดับนโยบายการค้าต่างประเทศ จากการเน้นเพียงเร่งรัดการส่งออกในทุกระดับ สู่การพัฒนาเครือข่ายการตลาดเข้าสู่ระดับโลก เพื่อผนึกและสอดรับเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกอันเข้มแข็งในโลกยุคไร้พรมแดน พรรคสนับสนุนและผลักดันให้ภาคเอกชนยกระดับความพร้อม ในการเผชิญการแข่งขันเสรีในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในด้านการพัฒนาความรอบรู้ในโครงสร้างและกลไกเศรษฐกิจการค้าโลก ทั้งในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค ความรอบรู้ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและในประเทศ เป้าหมายการใช้แนวคิดการตลาดสมัยใหม่ การพัฒนาองค์กรและบุคลากร การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะ เทคโนโลยีและวิทยาการที่จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งออกของไทยในทุกๆ มิติ ทั้งในมิติของคุณภาพ มิติของการสร้างมูลค่าเพิ่ม มิติของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทักษะหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรใหม่ๆ เพื่อรุกสู่ตลาดต่างประเทศ และในมิติที่สำคัญที่สุดได้แก่ การก้าวจากการเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นกายภาพ ไปสู่การส่งออกผลิตภัณฑ ์และบริการที่มีสัดส่วนของทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าการขายแรงงาน มุ่งพัฒนาเครื่องหมายการค้าของสินค้าไทย สู่ตลาดโลกให้ต่างประเทศนิยมเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างและพัฒนาเครื่องหมายระดับโลก ในอุตสาหกรรมอาหารอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเสื้อผ้า และสิ่งทอ อุตสาหกรรม เซรามิก และอุตสาหกรรมเครื่องหนัง เป็นต้น ในระยะยาว พรรคจะให้ความสำคัญกับการสนับสนุน ให้กิจการของไทยได้รับประโยชน์จากสภาวะการโลกาภิวัตน์ของทุนทางการเงิน ทุนทางเทคโนโลยี และทุนทางปัญญาซึ่งจะทำให้บางส่วนของเศรษฐกิจไทยที่มีศักยภาพได้ประโยชน์สูงสุด จากบทบัญญัติใหม่ขององค์กรการค้าโลกโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีศักยภาพจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ี่โดยจัดให้เป็นความเร่งด่วนพิเศษในการพัฒนาเครือข่ายการตลาดเข้าสู่ระดับโลก เพื่อผนึกและสอดรับเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกอันเข้มแข็งในโลกยุคไร้พรมแดน ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกไทยในทุกระดับ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีศักยภาพเพียงพอทั้งในแง่ของทักษะความสามารถ
ในการผลิตและมีตลาดรองรับ ให้สามารถก้าวเข้าสู่การเป็นบริษัทระดับโลก ทั้งนี้โดยยึดถือโลกทั้งโลกเป็นตลาดสินค้า เป็นแหล่งวัตถุดิบและสามารถใช้เป็นแหล่งการผลิต หรือประกอบสินค้าโดยเน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต และการจำหน่ายให้ได้ประโยชน์สูงสุดในเชิงต้นทุนและการตลาด การก้าวข้ามจากการเป็นเพียงผู้ส่งออก ไปสู่การสร้างเครือข่ายการผลิตและตลาดในระดับโลก ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาไว้ซึ่งความได้เปรียบในเชิงแข่งขันที่เคยมีเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศอีกด้วย ส่งเสริมให้กิจการของไทยสามารถครอบครองเทคโนโลยี หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มาจากแหล่งอื่น แล้วนำมาทำการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้สามารถทำการผลิตให้มีความหลากหลายกว่าของเดิม ส่งเสริมให้กระทรวงพาณิชย์ปรับปรุงศูนย์พาณิชย์กรรม และสำนักงานการพาณิชย์ในต่างประเทศ ให้เป็นแหล่งระดมทักษะของบุคลากรต่างประเทศ ที่มีศักยภาพในการเข้าร่วมกระบวนการสร้างต้นแบบของสินค้า ที่จะส่งออกไปยังตลาดทั่วไปในโลกและตลาดเฉพาะ โดยต้นแบบนั้นจะต้องสามารถก่อให้เกิดการผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สำหรับศูนย์พาณิชยกรรมและสำนักงานการพาณิชย์ในต่างประเทศนั้น จะต้องทำหน้าที่เป็นสถานที่แสดงสินค้า อันเนื่องมาจากทักษะที่พร้อมด้วยข้อมูลประกอบ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าต่างประเทศ ในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าจากไทย หรือเข้าร่วมทุนการผลิตกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไทย ศูนย์พาณิชยกรรมและสำนักงานการพาณิชย์ในต่างประเทศ จะต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ในการผลักดันให้รัฐบาลประเทศนั้น ๆ อำนวยความสะดวกต่อการย้ายทุนทางปัญญา ทุนทางเทคโนโลยีและทุนประกอบการ มายังประเทศไทยโดยให้เป็นประโยชน์ร่วมกันแก่ทั้ง สองประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ศูนย์พาณิชยกรรมและสำนักงานการพาณิชย์ในต่างประเทศ จะต้องมีบุคลากรที่เหมาะสมกับเป้าหมายของแผนงานดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ข้าราชการประจำ และการจัดตั้งศูนย์พาณิชยกรรมจะต้องเลือกสถานที่ที่เหมาะสมแก่ลูกค้า บุคลากรที่วิสาหกิจไทยต้องการเพื่อเข้ามามีส่วนในการสร้างสินค้าต้นแบบและพัฒนาสินค้าร่วมกันตลอดไป พรรคสนับสนุนให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพ การบริหารราชการของกระทรวงเศรษฐกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจทั้งในเชิงของการวางแผนยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนในด้านการตลาด ด้านข้อมูลข่าวสาร การระบุหรือติดต่อลูกค้าเป้าหมาย ตลอดจนช่วยแก้ไขอุปสรรคการค้าในต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นให้มีการผนวกแนวทาง นโยบายทิศทางการบริหารและแนวทางปฏิบัติงาน ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดพลังผนึกสูงสุดต่อการขยาย และพัฒนาการส่งออกของประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปฏิรูปองค์กรแห่งรัฐ พลิกโฉมใหม่วิสาหกิจไทย พรรคจะเร่งดำเนินการปฏิรูปสถาบัน และองค์กรหลักทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านโครงสร้าง องค์กร ระบบการจัดการ การพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และวิทยาการ ทั้งนี้เพื่อยกระดับความสามารถและศักยภาพขององค์กรแห่งรัฐ ให้สามารถเป็นหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจ ในการชี้นำและกำหนดยุทธศาสตร์ อีกทั้งสามารถสนับสนุนภาคเอกชนให้พร้อมเผชิญกระแส ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อประสานให้เกิดพลังผนึกที่แท้จริงทั้งในระหว่างองค์กรแห่งรัฐด้วยกันและในระหว่าง ภาครัฐกับเอกชน ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ แนวทางนโยบายและการประสานในระดับการปฏิบัติ ให้บังเกิดผลอย่างแท้จริงพร้อมกับการเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานรัฐ จากผู้ควบคุมมาเป็นผู้สนับสนุน พรรคสนับสนุนการเร่งรัดเพิ่มพูนประสิทธิภาพ รัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการนำวิธีการบริหารจัดการแบบเอกชน มาประยุกต์ใช้ในรัฐวิสาหกิจ เพื่อสร้างและพัฒนาองค์กรให้มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนภาคเอกชนให้ข้ามามีส่วนในการถือครองหุ้นและมีบทบาทร่วมในการบริหารรัฐวิสาหกิจ
ไหน killer แยกออกมาหน่อยสิว่า ยุทธศาสตร์ของพรรคไทยรักไทยมีอะไรแหวกแนวตรงไหนที่มันต่างไปจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติบ้างวะ แหกตาอ่านตรงนี้อีกครั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจคือบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาประเทศ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ แบบแผน วิธีดำเนินการ และการกำหนดหน่วยปฏิบัติการอย่างเป็นระบบแบบแผน
ตกลงพวกลิ้วล้อจะเอายังไงแน่วะ เดี๊ยวก็ด่า เศรษฐกิจพอเพียง เชิดชูทุนนิยม เดียวก็มาชมว่า รัฐบาลแม้วทำเศรษฐกิจพอเพียงได้ดี แถม ดีกว่าแผนพัฒนาเศรษบกิจแห่งชาติอีก (โคตรขำเลยเพราะรู้สึกว่ายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขามีหน้าที่ทำอะไรและมีไว้เพื่ออย่างไร และรัฐบาลเกี่ยวข้องอย่างไร) ตกลงว่า พรรคไทยรักไทยใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงแบบฉบับบตัวเองเหรอไหนๆ ลิ้วล้อ จำแนกมาให้หน่อยสิจ๊ะ ตัวอย่างการ แผน และ นโยบายด้านการใช้พลังงานของรัฐบาล ทักสิน จากสภาพทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ด้านพลังงานที่เปลี่ยนแปลงส่งผลทำให้ต้องมีการศึกษาถึงกฎหมาย นโยบาย และมาตรฐานต่างๆ
ด้านพลังงานเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ของโลกปัจจุบันและเป็นแนวทางในการวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและ
ยั่งยืน ซึ่งมีสิ่งที่น่าสนใจและควรติดตามดังนี้
1. แผน และนโยบายด้านการพลังงานของรัฐบาล
เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบริหารและการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ รวมทั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) อันจะสามารถนำมาเป็นแนวทางการพัฒนาด้านธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีสิ่ง
ที่น่าสนใจที่ควรจะติดตามศึกษาได้แก่
1.1 สาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เป็นแผนพัฒนาฯ ที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง
เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกา
ภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยมีสาระสำคัญในเรื่องต่างๆ ดังนี้ ก. วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ มุ่งพัฒนาสู่ สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ ใน 3 ด้าน ได้แก่
ด้านสังคมคุณภาพ ด้านสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และ ด้านสังคมสมานฉันท์ และเอื้อ
อาทรต่อกัน
ข. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
หลัก ดังนี้
- วัตถุประสงค์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้ม
แข็ง พึ่งตนเองได้ มีการบริหารการจัดการที่ดี รวมทั้งแก้ปัญหายากจนและเพิ่มโอกาสของ
คนไทยในการพึ่งพาตนเอง
- เป้าหมาย ทำให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจ , ยกระดับคุณภาพชีวิต , มีการบริหารการจัด
การที่ดี และ ลดการยากจนโดยเพิ่มโอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถพึ่งตนเองได้
ค. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มยุทธศาสตร์ ได้แก่ การ
สร้างระบบบริหารการจัดการที่ดี ให้เกิดขึ้นในทุกภาพส่วนของสังคม , การเสริมสร้างฐานราก
ของสังคมให้เข้มแข็ง , การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน
ง. ลำดับความสำคัญของการพัฒนา ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญ กับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของ
ประเทศ ภายใต้ทรัพยากรภาครัฐที่มีอยู่จำกัด ต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง มั่นคง และปรับ
ฐานเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถขยายตัวต่อเนื่องในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ
จ. การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องผนึกพลังร่วมจากทุกๆ
ฝ่ายในสังคม ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การพัฒนาใหม่ ทั้งด้านวิธีคิด วิธีทำงาน สา
มารถสร้างเครือข่าย และประสานความร่วมมือในการแปลงยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนา
ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 แนวทางการพัฒนาพลังงานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยเฉพาะในเรื่องการจัดหาพลังงานของประ
เทศ ในด้าน การจัดหาน้ำมันดิบ , การสำรองน้ำมัน , ก๊าซธรรมชาติ ด้านความต้องการ , การจัดหา และการขยายขีดความสามารถของ
ระบบท่อส่ง ก๊าซฯในอนาคต
1.3 คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโย-
บายของรัฐบาล ที่มุ่งสร้างเสถียรภาพและความมั่งคง ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองของประเทศ รวมทั้ง นโยบายด้าน
พลังงานของรัฐบาล ซึ่งจะส่งเสริมการใช้พลังงานแบบผสมผสาน สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติ มีการเร่งสำรวจ
พัฒนาจัดหาพลังงานทดแทน และสนับสนุนการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีแนวใหม่เพื่อการประหยัดพลังงาน
1.4 ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานของประเทศ จะมีประเด็นที่เกี่ยวกับ ภาพรวมพลังงานที่มีแนวโน้มการใช้และการนำเข้าที่
เพิ่มขึ้น , การประเมินผลการพัฒนาพลังงานในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 , ปัญหาอุปสรรค จุดอ่อน และโอกาส , วิสัยทัศน์การพัฒนา
พลังงานของประเทศ รวมทั้ง แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
1.5 แผนยุทธศาสตร์ การอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ในช่วงปี 2545-2554 โดยจะมีกรอบแนวคิดหลัก ๆ ได้แก่ การปรับโครงสร้าง
การบริหารจัดการพลังงานให้เหมาะสม รวมทั้ง แก้ไขกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อโครงสร้างใหม่ , การพัฒนาพลังงานจาก
เชื้อเพลิงที่เป็นชีวมวลและพลังงานอื่นทดแทน
1.6 สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจปิโตรเลียม
ผมละงงจริงๆว่าลิ้วล้อเหล่านี้จะเอายังไงแน่ เพราะจะตอบอะไรนี่รู้สึกสวนทางกับระบบการทำงานของรัฐบาลทุกที เอ้าตอบมากันชัดๆว่า รัฐบาลทักสิน ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการดำเนินนโยบายต่างๆรึไม่ และ นโยบายของรัฐบาล ทักสิน สนับสนุนแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ตอบซะแล้วก็จะได้จบๆซะทีนะจ๊ะ