ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-04-2024, 16:02
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อยากได้ใครเป็นประธาน สนช. ???????????????? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
โพลล์
คำถาม: เรียนเชิญ มาโหวตและให้เหตุผลกันหน่อยครับ !!!!!!!
มีชัย - 0 (0%)
ประสงค์ - 0 (0%)
จำลอง - 0 (0%)
คนอื่น ระบุ... - 0 (0%)
ชอบทั้งหมด - 0 (0%)
ไม่ชอบทั้งหมด - 1 (100%)
จำนวนผู้โหวตทั้งหมด: 1

หน้า: [1]
อยากได้ใครเป็นประธาน สนช. ????????????????  (อ่าน 6078 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 20-10-2006, 16:23 »


รักใครชอบใคร ถกเถียงกันหน่อย !!!

กติกา 1 คน 1โหวต ขอให้ใช้ล็อคอินเดียวของตนเองโหวตนะครับ เปลี่ยนแปลงการโหวตได้ตลอดครับ   
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20-10-2006, 17:57 »



มีใครดีและเหมาะกว่าตัวเลือกที่มีอยู่ ก็เสนอแนะได้ครับ ตำแหน่งประธานไม่น่าจะเป็นของพวกหน้าเก่าๆ แต่ถ้าจำเป็นต้องเลือกในสามคนจริงๆ ผมให้เครดิตจำลองมากกว่าอีกสองท่านครับ
   
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 27-10-2006, 14:00 »



มีใครดีและเหมาะกว่าตัวเลือกที่มีอยู่ ก็เสนอแนะได้ครับ ตำแหน่งประธานไม่น่าจะเป็นของพวกหน้าเก่าๆ แต่ถ้าจำเป็นต้องเลือกในสามคนจริงๆ ผมให้เครดิตจำลองมากกว่าอีกสองท่านครับ
   

ท่านที่ไม่ได้เป็นประธาน ก็ตรวจสอบเสนอร่างต่างๆให้เต็มที่ครับ 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 27-10-2006, 19:36 »

ภาพวิดีโอคลิป พระราชพิธีพิธีเปิด สภา สนช.

http://www.phuket2phuket.com/mutimedia/politics_003.htm
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 27-10-2006, 19:40 »


รายชื่อสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 242 คน http://www.ftawatch.org/news/view.php?id=10084
13 ต.ค. 49 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จำนวน 242 คน ดังต่อไปนี้

ภาครัฐ

ก.ข้าราชการพลเรือน ระดับ 11 หรือเทียบเท่า จำนวน 17 คน ได้แก่

นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร, คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา, นายการุณ กิตติสถาพร, นายไกรสร พรสุธี, นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช, นายปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์, นายปรีชา วัชราภัย, นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา, นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์, นายพชร ยุติธรรมดำรง, คุณพรทิพย์ จาละ, นายรองพล เจริญพันธุ์, นายวุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์, พล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล, นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช, นายสมพล พันธ์มณี, นายอำพน กิตติอำพน

ข.ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ จำนวน 12 คน ได้แก่

นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ, นายจุทาธวัช อินทรสุขศรี, นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์, นายทศพร ศิริสัมพันธ์, นายประกิจ ประจนปัจจนึก, นายพรชัย รุจิประภา, นายพรเพชร วิชิตชลชัย, นายภิรมย์ สิมะเสถียร, นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์, นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ, นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า, นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ

ค.ข้าราชการทหาร จำนวน 35 คน ได้แก่

พล.ต.คณิต สาพิทักษ์, พล.ท.จริเดช คชรัตน์, พล.อ.จิรพงศ์ วรรณรัตน์, พล.ท.ชัยภัทร ธีระธำรง, พล.อ.อ.ชาลี จันทร์เรือง, พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี, พล.อ.ธวัช จารุกลัส, พล.ต.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ, พล.ร.อ.นคร อรัณยะนาค, พล.ร.อ.นพพร อาชวาคม, พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน, พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์, พล.ท.ประยุทธ จันทร์โอชา, พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป, พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย, พล.อ.ไพศาล กตัญญู, พล.อ.อ.ไพศาล สีตบุตร, พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์, พล.อ.อ.ระเด่น พึ่งพักตร์

พล.ท.วรเดช ภูมิจิตร, พล.อ.ท.วัลลภ มีสมศัพย์, พล.ร.อ.วิชัย ยุวนางกูร,พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ,.พล.ร.อ.วีระพล วรานนท์, พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม, พล.อ.อ.สมหมาย ดาบเพ็ชร์, พล.ท.สุเจตน์ วัฒนสุข, พล.ร.อ.สุชาต ญาโณทัย, พล.อ.สุนทร ขำคมกุล, พล.ร.อ.สุรินทร์ เริงอารมณ์, พล.อ.โสภณ ศลีพิพัฒน์, พล.อ.องค์กร ทองประสม, พล.อ.อ.อดิเรก จำรัสฤทธิรงค์, พล.ต.อดุล อุบล

ง. ข้าราชการ ตำรวจ จำนวน 7 คน ได้แก่

พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พล.ต.ท.มาโนช ศัตรูลี้,พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ, พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทรังษี, พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว, พล.ต.อ.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

จ. ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 8 คน ได้แก่

นายกระหยิ่ม ศานต์ตระกูล, นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์, นายประเจิด สุขแก้ว, นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, พล.อ.อ.ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์, นายภราเดช พยัฆวิเชียร, นายวรัชย์ ชวพงศ์, ร.อ.ท.อภินันท์ สุมนะเศรณี

ภาคเอกชน

ก. ธุรกิจ ธนาคาร และสถาบันการเงิน จำนวน 6 คน ได้แก่

คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม, นายชาติศิริ โสภณพนิช, นายไชย ไชยวรรณ, นางภัทรียา เบญจพลชัย, นายศิวะพร ทรรทรานนท์, นายสุภัค ศิวะรักษ์

ข. ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 19 คน ได้แก่

นายกงกฤช หิรัญกิจ, ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนนท์, ร้อยตำรวจเอก ฉัตรชัย บุณยะอนันต์, นายชนินทธ์ โทณวณิก, นายชลิต แก้วจินดา, นายณรงค์ โชควัฒนา, นายดิดก มหาดำรงค์กุล, นายธีรพจน์ จรูญศรี, นายประมนต์ สุธีวงศ์, นายพรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล, นายโยธิน อนาลวิล, นายวัชระ พรรณเชษฐ์,นายวีรพงษ์ รามางกูร, นายสมภพ เจริญกุล, นายสันติ วิลาศศักดดานนท์, นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์, นางสุนันทา สมบุญธรรม, นายสุเมธ ตันธุวนิตย์, นายอัศวิน ชินกำธรวงค์

ค. ธุรกิจทั่วไป จำนวน 11 คน ได้แก่

นายกระจ่าง จารุพฤษ์, นายจักราวุธ นิตยสุทธิ, นายชัชวาล อภิบาลศรี, นายณรงค์ชัย อัครเศรณี, พล.ต.อ.บุญศรี หุ่นสวัสดิ์, นายภูมิศักดิ์ หงส์หยก, นายวีระชัย ตันติกุล, นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย, นายสุธรรม จิตรานุเคราะห์, นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์, นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล

ง. ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ จำนวน 7 คน ได้แก่

นายดินทร์ อัศวาณิชย์, นายประพันธ์ คูณมี, นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ, นายไพศาล พืชมงคล, นายมีชัย ฤชุพันธุ์, นายสฤษดิ์ผล ชมไพศาล, นายอภิชาติ จีรพันธุ์

ภาคสังคม

ก.พรรคการเมือง จำนวน 4 คน ได้แก่

นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา, นายพินิจ จารุสมบัติ, นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ, นายอรรคพล สรสุชาติ

ข. นักวิชาการด้านปรัชญา ภาษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม จำนวน 11 คน ได้แก่

นายกีรติ บุญเจือ, นายดำรง สุมาลยศักดิ์,นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์, นายวินัย สะมะอุน, นายแว ดือ ราแม มะมิงจิ, นายแวมาฮาดี แวดาโอะ, นายเสฐียรพงษ์ วรรณปก, นายอับดุล รอซัค อาลี, ทนายอับดุลเราะแม เจะแซ, นายอิสมาแอล อาลี, นายอิสมาแอล ลุทฟี จะปะกียา,

ค. สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน จำนวน 20 คน ได้แก่

นายกำแหง ภริตานนท์, นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายแถมสิน รัตนพันธ์,ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์, นางบัญญัติ ทัศนียะเวช, นางประทุมพร วัชรเสถียร, นายประภัทร์ ศรลัมพ์, นางประภา ศรีนวลนัด, พล.ต.ประภาส ศกุนตนาค, นายประสาร มาลีนนท์, นายพิชัย วาสนาส่ง, นายภัทระ คำพิทักษ์, นายสมเกียรติ อ่อนวิมล, นายสมชาย แสวงการ, นายสมชาย สกุลสุรัตน์, นายสมบัติ เมทะนี, นายสมหมาย ปาริจฉัตต์, นายสราวุธ วัชรพล, นายสำราญ รอดเพชร,นางสุรางค์ เปรมปรีด์

ง.ข้าราชการบำนาญ ผู้มีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ จำนวน 43 คน ได้แก่

นายกำธร อุดมฤทธิธุจ, หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล,พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, พล.ท.เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม, นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์, พล.ต.ท.ชัยยันต์ มะกล่ำทอง, นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์, พล.อ.โชคชัย หงษ์ทอง, นายทรงพล ทิมาศาสตร์, คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์, พล.อ.บันเทิง พูนขำ, พล.ร.อ.ประเจตน์ ศิริเดช, พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง, น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ,พล.อ.ปรีชา เปรมาสวัสดิ์

พล.อ.ปรีชา โรจน์เสน, พล.อ.ปรีดี สามิภักดิ์, ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา, พล.อ.ท.ปัญญา ศรีสุวรรณ, พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์, น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช, พล.อ.เพิ่มศักดิ์ พวงสาโรจน์, นายวิทย์ รายนานนท์, นายวิทยา เวชชาชีวะ, พล.ต.ต.วีระพงษ์ สุทรางกูร, พล.อ.สนั่น มะเรองสิทธิ์, พล.อ.สมชาย อุบลเดชประชารักษ์, พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์, นายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์, พล.ต.ท.สมศักดิ์ แขวงโสภา, พล.ต.อ.สุเทพ ธรรมรักษ์, พล.อ.สุเทพ สีวะรา, พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ, พล.อ.สุรพล ชินะจิตร, พล.อ.สุรินทร์ พิกุลทอง, นส.อรจิต สิงคาลวนิช, นายอัศวิน คงสิริ, พล.อ.อาทร โลหิตกุล,พล.อ.อาภรณ์ กุลพงศ์, นางอุมา สุคนธมาน, พล.อ.อู้ด เบื้องบน

จ.การพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ จำนวน 13 คน ได้แก่

นายโคทม อารียา (ประธานที่ปรึกษาเศาฐกิจและสังคมแห่งชาติ), นางจุรี วิจิตรวาทการ (การส่งเสริมคุณธรรม), นายชบ ยอดแก้ว (ภาคใต้), นายตวง อันทะไชย (ภาคอีสาน), นางเตือนใจ ดีเทศน์ (ภาคเหนือ), นางประยงค์ รณรงค์ (ภาคใต้),นายมนัส โกศล (ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย)

นางมุกดา อินต๊ะสาร (ภาคเหนือ), นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ภาคกลาง), นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม (ภาคกลาง), นายวิริยะ นางศิริพงศ์พันธุ์ (สมาคมคนตาบอด), นายโสภณ สุภาพงษ์ (การพัฒนาท้องถิ่น), นายอำพล จินดาวัฒนะ (การพัฒนาท้องถิ่น)

ภาควิชาการ

อธิการบดี อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการด้านต่าง ๆ และจากภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 29 คน ได้แก่

นายฉลองภพ สุสังกรกาญจน์, นายชัยอนันต์ สมุทวณิช, นายทวี สุรฤทธิกุล, นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, นายบุญสม ศิริบำรุงสุข (อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์), นายประกอบ วิโรจน์กูฎ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี), นายประสาท สืบค้า (อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุรนารี), นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ, ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, นายพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ (อธิบการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

นายพรชัย มาตังคสมบัติ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล), นางมาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ (อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล), นายรังสรรค์ แสงสุข (อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง), นายวัฒนา สวรรยาธิปัติ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), นายวันชัย ศิริชนะ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง), นายวิรุณ ตั้งเจริญ ( อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ), นายวิษณุ เครืองาม

นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์, นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (คณบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์), นายสังสิต พิริยะรังสรรค์ (อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม), นายสุจิต บุญบงการ, คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย),นายสุชาติ อุปถัมภ์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ), นายสุพันธ์ พู่ผกา (อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์), นายสุมนต์ สกลไชย (อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น), นายสุรพล นิติไกรพจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), นายสุริชัย หวันแก้ว, นายสุวรรณ หันไชยุงวา (ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร), นายอัมมาร์ สยามวาลา

อย่างไรก็ตาม ในการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งนี้ที่มีจำนวนไม่ถึง 250 คน มีบันทึกรายละเอียดแนบท้ายการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า เนื่องจากในมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกิน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดและมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี โดยสภานิติบัญญัติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

นอกจากนี้บันทึกรายละเอียดแนบท้ายยังให้เหตุผลในข้อ 3 ด้วยว่าสำหรับบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ไม่ได้รับการสรรหาในคราวนี้จะได้พิจารณาเสนอรายชื่อเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติต่อไป

    โดย : ประชาไท        วันที่ 17/10/2006

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-10-2006, 08:57 โดย Q » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 27-10-2006, 19:51 »

ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=29384&NewsType=2&Template=1

ทันทีที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมา บรรดาคอการเมืองทั้งที่อยู่วงนอกและวงในต่างก็กะเก็งถึงบุคคลนั้นบุคคลนี้เข้ามาทำหน้าที่ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 
นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน กว่า 70 ปี ของประชาธิปไตยแบบไทย ๆ เรามีประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (หรือเรียกในชื่ออื่น) มาแล้ว 6 คนดังนี้ 
 
1. พล.ต.ศิริ สิริโยธิน เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2515-2516
 
2. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นประธานสภานิติบัญญัติฯ พ.ศ. 2516-2517
 
3. นายประภาศน์ อวยชัย เป็นประธานสภานิติบัญญัติฯ พ.ศ. 2517-2518
 
4. พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519-2520
 
5. พล.อ.อ.หะริน หงสกุล เป็นประธานสภานิติบัญญัติฯ พ.ศ. 2520-2522
 
6. นายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานสภานิติบัญญัติฯ พ.ศ. 2534-2535 นอกจากนี้นายอุกฤษยังเป็นประธานวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่ประธานรัฐสภาอีก 3 สมัยด้วย.
 
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-10-2006, 19:54 โดย Q » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 27-10-2006, 19:53 »

ว่าที่ประธานสภานิติบัญญัติฯ http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=29526&NewsType=2&Template=1


อีก 1 สัปดาห์ต่อจากนี้คนไทยจะได้รู้กันเสียทีว่าใครจะมาทำหน้าที่ “ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ”
 
การเมืองวันนี้ขออาสาไล่เรียงเปรียบเทียบคุณสมบัติของ “ตัวเก็ง” แต่ละคนดังต่อไปนี้
 
1. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา 2 สมัย เป็นชื่อที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด จัดว่าเป็นมือกฎหมายอันดับหนึ่งของเมืองไทยยุคนี้ เป็นมือกฎหมายของรัฐบาลมาตั้งแต่ยุคป๋าเปรม เรื่อยมาจนถึงยุคทักษิณ แต่คุณสมบัติที่สำคัญคือเป็นกุนซือของ คปค.-คมช. ในการร่างคำสั่ง แถลงการณ์ ประกาศฉบับต่าง ๆ และร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ด้วย
 
2. น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เจ้าของฉายา “ซีไอเอเมืองไทย” อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการโค่นล้มระบอบทักษิณ โดยมีอดีตฝังใจกับหัวหน้าพรรคไทยรักไทยมาก่อน และเป็นอีกผู้หนึ่งที่ทำงานใกล้ชิดป๋ามา รวมทั้งผ่านสนามการเมืองมาอย่างโชกโชน
 
3. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช “เดอะปิ๋ง” นักรัฐศาสตร์ที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง เป็นผลผลิตจากที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลกสมัยน้าชาติ บุคลิกจัดว่าเดายากเพราะสามารถทำงานกับทุกขั้วอำนาจได้ นอกจากนี้เคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.211 สมัยบรรหาร ทำให้ต้องขับเคี่ยวกับประธานมีชัยมาแล้ว
 
4. ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ “มือปราบสายเดี่ยว” ถูกมองว่าเป็นตัวสอดแทรกในฐานะนักกฎหมายขนาดไม้บรรทัดเรียกพี่ และ 5. ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กูรูกฎหมายมหาชนอีกคนหนึ่งของเมืองไทย แต่เจ้าตัวประกาศสละสิทธิ ด้วยเหตุผลงานประจำแยะ
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 27-10-2006, 19:56 »

http://www.komchadluek.net/2006/10/12/k001_55472.php?news_id=55472
วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2549
พล.อ.สนธิยันไม่ยุ่งการเลือก ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประธาน คมช. ระบุ จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการคัดเลือก ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มั่นใจสมาชิกทุกคนมีจิตสำนึกในการแก้กฎหมาย รธน.

เช้าวันนี้ (12ตค.) ที่กองพลทหารม้า ที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญ ชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการคัดเลือกประธาน และรองประธานสภานิติบัญญัติ ว่า เป็นหน้าที่ของสภานิติบัญญัติทุกคนที่จะต้องเป็นผู้พิจารณากันเอง เมื่อถามต่อว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้ ประธาน คมช. เป็นผู้ลงนาม มีสิทธิ์ที่จะคัดเลือกได้หรือไม่ พล.อ.สนธิ ตอบว่า โดยระบบคนที่จะเลือกมาเป็นประธานสภานิติบัญญัติ ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติ เราจะเข้าไปรบกวนตามขบวนการที่กำหนดคงไม่ได้

 ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายคนเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า การคัดเลือก และ สรรหาสมาชิกนิติบัญญัติเราใช้คณะกรรมการพิจารณา โดยมีทีมที่ปรึกษาทุกกลุ่มภาคประชาชน เมื่อคัดเลือกแล้วเราก็จะนำมาเป็นข้อพิจารณาในขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาเป็นสภานิติบัญญัตินั้น เราไม่ได้ดูหลักเกณฑ์อะไรมากมาย เพียงแต่ดูที่พื้นฐานความรู้ และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จาก 4 กลุ่ม คือ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน และ นักวิชาการ มาเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาเข้าคณะกรรมการและมีที่ปรึกษาร่วมกันพิจารณาอีกครั้ง

 เมื่อถามว่า คาดหวังกับการทำงานของสภานิติบัญญัติในการพิจารณาร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า การทำงานหน้าที่ของสภานิติบัญญัติคล้ายกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สมาชิกวุฒิสภา ที่มีหน้าที่ในการดูแลว่ารัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่จะออกมาในรูปแบบไหน ทั้งนี้คิดว่าประชาชนทุกคนคงคิดเหมือนกันว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านมานั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทางสมาชิกสภานิติบัญญัติทุกคนคงมีจิตสำนึกคงมาช่วยกันแก้ปัญหา ส่วน คมช. มีหน้าที่ดูแลให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ขณะนี้รายชื่อสภานิติบัญญัติได้ลงพระปรมาภิไธเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนจะมีการประกาศวันไหนนั้นต้องรอปรึกษากับ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 27-10-2006, 19:58 »


วันที่ : 25 ตุลาคม 2549  http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=29918&NewsType=2&Template=1

'มีชัย' อีกแล้วครับท่าน


 
ในที่สุด “หวย” ตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ออก “ตรงเผง” ตามคำทำนาย โดยชายที่ชื่อ “มีชัย ฤชุพันธุ์” ชนะคู่แข่งอย่าง “ผู้เฒ่าคาบไปป์” ประสงค์ สุ่นศิริ และ  “ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์” แบบไม่เห็นฝุ่น จึงนับเป็นอีกครั้งที่ “มีชัย” ถูกวางตัวในตำแหน่ง  “ประธาน”
 
ย้อนดูประวัติของ “มีชัย” จะพบว่าก่อนหน้านี้เคยเป็นอดีตประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธุ์ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายใน 5 รัฐบาลด้วยกัน คือรัฐบาล “สัญญา ธรรมศักดิ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ธานินทร์ กรัยวิเชียร และ  พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์”
 
ในรัฐบาล “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี 2523-31 และรัฐบาล “พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ” ระหว่าง พ.ศ. 2531-33 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล “อานันท์ ปันยารชุน” และรัฐบาล “พล.อ.สุจินดา คราประยูร” ระหว่าง พ.ศ. 2534-35
 
“มีชัย” เคยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 สมัย คือ ระหว่างปี 2520-22 และระหว่างปี 2532-34 และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัย ระหว่างปี 2526-32 ปี 2535-39 และปี 2539-43 โดยได้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภา
 
“มีชัย” เป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.
 
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 27-10-2006, 20:02 »

วันที่ : 18 ตุลาคม 2549 http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=29575&NewsType=2&Template=1

บางมุมของ"จำลอง ศรีเมือง"


ชื่อของ “พล.ต.จำลอง ศรีเมือง” กลับมาขึ้นหม้ออีกครั้ง หลังถูกรับเลือกให้เป็นหนึ่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อร่างกฎหมาย
 
“จำลอง” เกิดวันที่ 5 ก.ค. 2478 เขตธนบุรี พ่อชื่อ “สมนึก ชุณรัตน์” มีอาชีพค้าปลาสดและเสียชีวิตตั้งแต่ “จำลอง” ยังแบเบาะ ทำให้แม่ชื่อ “บุญเรือน” อาชีพแม่ค้าเร่ต้องแต่งงานใหม่กับ “โชศน์ ศรีเมือง” ซึ่งเป็นที่มาของนามสกุล “ศรีเมือง”
 
เดิม “จำลอง” มีชื่อเล่นว่า “หนู” แต่พอเข้าโรงเรียนนายร้อย จปร.เพื่อนฝูงตั้งให้ใหม่ว่า “จ๋ำ” ส่วนชื่อ “ลอง” เป็นชื่อเล่นที่คนอื่นทั่วไปใช้เรียกขาน ส่วนที่ใครเรียกกันว่า “มหา” เพราะเมื่อครั้งอุปสมบทก็ศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง เคยออกมาพูดว่าตนเองปฏิบัติตนสมถะ แม้แต่การอาบน้ำก็จะใช้น้ำเพียง 5 ขัน เลยได้ฉายา “มหา 5 ขัน”
 
สมัยเป็นนักเรียนนายร้อย “จำลอง” ได้สร้างวีรกรรมร่วมกับพรรคพวกไปจัดฉายภาพยนตร์หารายได้ซื้ออุปกรณ์กีฬาและดนตรีเข้าสโมสรนักเรียนนายร้อย ทำให้ถูกปลดจากหัวหน้านักเรียน และถูกลงโทษให้รับกระบี่ช้าออกไป กลายเป็น “จปร. 7/2” 
 
“จำลอง” เคยเป็นผู้ว่าฯ กทม.2 สมัย ในปี 2528 และ 2533 และเป็นหนึ่งในผู้นำการชุมนุมในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
 
“จำลอง” ได้ภาพของการเป็น “แกนนำม็อบ” ติดตามากกว่าภาพอื่น ปี 35 เป็นแกนนำสำคัญต่อต้าน “พล.อ.สุจินดา คราประยูร” นายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งโดย “รสช.” จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด “พฤษภาทมิฬ”.
 
 
 
บันทึกการเข้า

willing
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 186



« ตอบ #10 เมื่อ: 27-10-2006, 20:08 »

คุณ Q ฟิตจริงๆ 
บันทึกการเข้า

Even If I am a minority of one, truth is still the truth. - Mohandas Gandhi
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 27-10-2006, 20:13 »

คุณ Q ฟิตจริงๆ 

อย่างน้อยกระทู้เอามาดูอีกครั้งได้ครับ เพราะมีข้อมูลตามหัวข้อด้วยครับ 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 28-10-2006, 00:29 »

คุณ Q ฟิตจริงๆ 

อย่างน้อยกระทู้เอามาดูอีกครั้งได้ครับ เพราะมีข้อมูลตามหัวข้อด้วยครับ 

นี่ก็น่าจะคัดประวัติ แนวคิดแนวทางในการทำงานของบุคคลเหล่านี้ท่านอื่นๆขึ้นมาได้อีก
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 28-10-2006, 03:44 »


ผู้จัดการรายวัน2 มีนาคม 2549                          http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=46155
 
ขึ้นค่าไฟฟ้า-ค่าโดยสารดันเงินเฟ้อก.พ.พุ่ง5.6%
 
 
search resources
 

การุณ กิตติสถาพร
Economics

 
 
 
 

เงินเฟ้อเดือนก.พ.เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 0.3% จากการขึ้นค่าไฟฟ้า และค่าโดยสาร แต่เมื่อเทียบเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 5.6% โดยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ส่วนทั้งปี คาดยังอยู่ระหว่าง 3.5-4.5%

นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) ในเดือนก.พ.2549 เพิ่มขึ้น 0.3% จากเดือนม.ค.2549 เป็นเพราะดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.5% จากการเพิ่มขึ้นของค่าสาธารณูปโภค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้าในเดือนก.พ.ที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) 19.01 สตางค์/หน่วย และค่าโดยสารธารณะ ทั้งค่ารถร่วมบริการในกรุงเทพเพิ่มขึ้น 1 บาท รถบขส.เพิ่มขึ้นอีก 3 สตางค์/กิโลเมตร และค่าโดยสารในภูมิภาคบางจังหวัดสูงขึ้นด้วย ส่วนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงเล็กน้อย เพราะราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง ขณะที่ดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่เปลี่ยนแปลง เพราะราคาอาหารสดต่างๆ ทั้งเนื้อหมู ไก่ ไข่ ปลา และผักสด มีราคาลดลง มีเพียงราคาผลไม้ และสัตว์น้ำที่ราคาสูงขึ้น

ทั้งนี้ เงินเฟ้อในเดือนก.พ.เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้น 5.6% ถือเป็นอัตราเพิ่มขึ้นที่ชะลอตัวลง เพราะเดือนม.ค.2549 เพิ่มขึ้น 5.9% ซึ่งเป็นผลจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 3.2% จากการสูงขึ้นของเนื้อสุกร ไก่สด ปลาและสัตว์น้ำ ผักและผลไม้ สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ไข่ไก่ น้ำมันพืช ขณะที่ดัชนีสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 7.1% จากการสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิง 38.8% ค่าโดยสารสาธารณะ 26.7%

"เงินเฟ้อเดือนนี้เพิ่ม 0.3% เป็นเพราะหมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ดึงให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ซึ่งหากเงินเฟ้อเมื่อเทียบเดือนกับเดือนก่อนหน้าในปีเดียวกันเพิ่มขึ้นเดือนละ 0.3% ก็ไม่น่าห่วง สบายใจได้ แต่เชื่อว่า หากเทียบเดือนเดียวกันของปีนี้กับปีก่อน ดัชนีจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 5.6-5.7% ไปจนถึงกลางปี จากนั้นจะเริ่มลดลง เพราะแรงกดดันต่างๆ เริ่มลดลงแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า สถานการณ์การเมืองจะไม่มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อแน่นอน" นายการุณกล่าว

ส่วนเงินเฟ้อทั้งปี คาดว่าจะขยายตัว 3.5-4.5% แต่ค่อนมาทาง 3.5% มากกว่า โดยอยู่บนสมมติฐานที่ว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 4.7-5.7% อัตราแลกเปลี่ยน 41 บาท/เหรียญสหรัฐ อัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันเฉลี่ยทั้งปี 4.5% ค่าแรงงานขั้นต่ำ 190 บาท/วัน และราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 55-60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

นางนทีทิพย์ ทองเขาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กล่าวว่า ค่าไฟฟ้ามีน้ำหนักในการคำนวณเงินเฟ้อ 3% ถือว่าน้อยมาก ส่วนค่าเอฟทีที่ปรับขึ้น 19.01 สตางค์/หน่วยนั้น มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อน้อยมาก เพราะไม่ใช่ทุกบ้านที่ถูกเก็บเพิ่ม 19.01 สตางค์/หน่วย จะเสียเพิ่มเฉพาะบ้านที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่าหน่วยที่กำหนดเท่านั้น ส่วนปัญหาราคาน้ำตาลทราย ขณะนี้ เกือบจะไม่มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อแล้ว เพราะปัญหาได้คลี่คลายลงมากแล้ว ซึ่งน้ำตาลทรายมีน้ำหนักในการคำนวณเงินเฟ้อเพียง 0.01% เท่านั้น   
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28-10-2006, 03:46 โดย Q » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 30-10-2006, 06:24 »

ผู้จัดการรายวัน25 ตุลาคม 2549  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=53182
 
ไกรสรลาออกประธานบอร์ดกสท นายกฯ สั่ง ICT ล้างบาง 3 บอร์ด
 
 www resources
 

โฮมเพจ ทีโอที บมจ.
โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 

 search resources
 

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทีโอที, บมจ.
ไกรสร พรสุธี
 
 
ไกรสร พรสุธี ตัดใจยอมลาออกจากประธานบอร์ด กสท กับกรรมการบอร์ดทีโอที อ้างภารกิจ สนช. หนัก แถมมีงานบริหารในไอซีทีค้างสุมเยอะไม่ใช่แรงกดดันปัญหา สตง. สอบเรื่องอื้อฉาวซีดีเอ็มเอหรือเอื้อประโยชน์หัวเหว่ย ด้านนายกฯ สั่งรมว.ไอซีทีล้างบาง 3 บอร์ด

นายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่าได้ลาออกจากการทำหน้าที่ประธานบอร์ด บริษัท กสท โทรคมนาคม และ กรรมการบอร์ดบริษัท ทีโอที แล้วโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้อย่างเต็มความสามารถรวมถึงการเร่งบริหารงานภายในกระทรวงไอซีที ตามนโยบายของรัฐบาลให้เกิดความคืบหน้า ในช่วงเวลา 1 ปีนี้ และการลาออกจากตำแหน่งครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องกดดันจากกระแสข่าวการบริหารงานภายในบอร์ดทั้งสองแห่งหรือปัญหาโครงการซีดีเอ็มเอที่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบของสำหนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติ (สตง.) แต่อย่างใด

“เป็นเรื่องเหตุผลส่วนตัว ไม่ได้มีแรงกดดันจากใครเป็นการตัดสินใจของตัวเอง โดยได้ตัดสินใจแล้วตั้งแต่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา และได้หารือกับ รมว.ไอซีทีแล้ว”

อย่างไรก็ตามหลังการลาออกจากประธานบอร์ด กสท แล้วก็ไม่ได้ต้องการให้บอร์ดคนอื่นลาออกตาม โดยขอให้ทำหน้าที่ต่อไปตามแนวทางของ รมว.ไอซีทีที่มอบนโยบายให้ทั้งสองหน่วยงานเร่งผลดำเนินงานเพื่อให้สามารถแข่งขันได้

“จากที่สอบถาม ยังไม่มีท่านใดที่จะลาออกในขณะนี้ ทุกคนยังคงทำหน้าที่อยู่และ ควรทำต่อไป ยังมีหลายเรื่อง หลายโครงการ ที่ยังจะต้องเร่งเดินหน้าเป็นงานที่หนักมาก”

ส่วนหน้าที่การเป็นบอร์ดของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า นายไกรสร กล่าวว่ายังคงทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวต่อไปเนื่องจากเป็นตำแหน่งโดยหน้าที่ของกระทรวงไอซีที ที่มอบหมายให้เข้าไปรับผิดชอบ

นายไกรสร กล่าวอีก ถึงแม้ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการของทั้ง 2 หน่วยงานแล้ว แต่ตนยังสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามงานด้านบริหารของทั้งสององค์กรได้อยู่เช่นกันโดยจะทำหน้าที่ในฐานะปลัดกระทรวงไอซีทีที่จะคอยตรวจสอบติดตามผลการพิจารณาอนุมัติโครงการ หากมีความไม่ชัดเจนหรือข้อสงสัย ก็จะให้ให้บอร์ดเข้ามาชี้แจง อย่างเช่นโครงการจัดซื้อของทีโอทีในการลงทุนบรอดแบนด์ 4 พันล้านบาท การขยายโครงข่ายวงจรข้อมูลความเร็วสูงของ กสท

รายงานข่าวล่าสุดแจ้งว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ รมว.ไอซีทีดำเนินการยุบบอร์ดทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วย บอร์ดทีโอที บอร์ด กสท และบอร์ดบริษัท ไปรษณีย์ไทย แล้ว

การลาออกของไกรสรในครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสสังคมที่จับตามองโครงการที่มีปัญหาความโปร่งใสในกสท อย่างซีดีเอ็มเอทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ที่สตง.กำลังตรวจสอบว่ามีการทุจริตทำให้ กสท เสียประโยชน์ปีละกว่าหมื่นล้านและทำผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมการงาน สำหรับสัญญาการตลาดในส่วนกลางของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย หรือ ฮัทช์ และการจัดจ้างติดตั้งโครงข่ายซีดีเอ็มเอของบริษัท บีเอฟเคที

นอกจากเรื่องดังกล่าวแล้วเมื่อปลายเดือนส.ค. ที่ผ่านมา บอร์ด กสท ยังได้มีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้มีการขยายเวลาสัญญาจัดสร้างชุมสายและสถานีเครือข่าย CDMA 2000-1x ในส่วนภูมิภาคออกไปตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร กสท จากที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 26 ม.ค.2549 โดยอ้างถึงอุปสรรคในการทำงานจากเหตุสุดวิสัย อาทิ ฝนตก น้ำท่วม จึงทำให้บริษัท หัวเหว่ย ส่งมอบงานระยะที่ 1 ล่าช้าออกไป 41 วัน ในขณะที่หัวเหว่ยส่งมอบล่าช้าถึง 47 วัน แต่กลับไม่คิดค่าปรับสักบาทเดียว ขัดกับทีโออาร์ที่ระบุว่าหากล่าช้า หนึ่งสถานี ก็สามารถปรับได้และจะต้องมีการนำความล่าช้าของแต่ละพื้นที่มาคิดแยกวัน แต่ในส่วนนี้บอร์ดได้อนุมัติเหมารวมทั้งหมด เพื่อทำให้หัวเหว่ยไม่ต้องเสียค่าปรับเลย ในขณะที่กสทยังจ่ายเงินค่าอุปกรณ์ให้หัวเหว่ยไป 1,800 ล้านบาท   
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30-10-2006, 06:26 โดย Q » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 30-10-2006, 06:30 »



ผู้จัดการรายวัน5 กรกฎาคม 2549  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=49843
 
"จักรมณฑ์"ชี้เป้าลงทุนปีนี้วูบ50%หดเหลือ4แสนล.
 
 
search resources
 

จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
Investment
 
 
"จักรมณฑ์" มองเป้าหมายการลงทุนผ่านบีโอไอปีนี้เหลือแค่ครึ่งเดียวจากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ 7-8 แสนล้านบาทโดยหดเหลือแค่ไม่เกิน 4 แสนล้านบาท หลังครึ่งปีแรก(ม.ค.-มิ.ย.)ขอรับส่งเสริมฯแค่ 1.8 แสนล้านบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 53% ยันตัวเลขดังกล่าวไม่เลวร้ายเหตุปี 2548 มีโครงการขนาดใหญ่เข้ามามากแล้วทำให้ที่เหลือเป็นการลงทุนขนาดเล็ก ส่วนหอการค้าไทยประเมินเศรษฐกิจปีนี้หืดจับ คาดขยายตัว 3.8-4.1% เหตุส่งออกชะงัก ขาดดุลการค้าเพิ่ม และยังมีแนวโน้มขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอีก

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนครึ่งแรกของปี 2549 ว่ามีมูลค่า 183,000 ล้านบาทลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 53% เนื่องจากในปี 2548 โครงการใหญ่ๆ ได้เข้ามาลงทุนไปเกือบหมดแล้วทั้งกิจการโรงถลุงเหล็กกิจ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ กิจการพลังงานไฟฟ้าซึ่งรวมแล้วมีมูลค่าถึงแสนล้านบาท ดังนั้นปีนี้คาดว่าการลงทุนจะมีการขอรับการส่งเสริมผ่านบีโอไอไม่เกิน 4 แสนล้านบาท

" ลงทุนครึ่งปีแรกอยู่ในระดับ 2 แสนล้านบาท ครึ่งหลังก็น่าจะอยู่ในระดับนี้แต่อาจจะต่ำกว่าก็ได้ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วยภาพรวมก็เลยคิดว่าน่าจะอยู่ในระดับไม่เกิน 4 แสนล้านบาท แต่ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวก็ไม่ได้ผิดปกติอะไรเพราะเราต้องยอมรับว่าปีที่แล้วที่โตมากนั้นเป็นการลงทุนขนาดใหญ่มากๆ เข้ามาแต่ปีนี้จะเป็นโครงการลงทุนต่อเนื่องที่ใช้เงินไม่มาก"นายจักรมณฑ์กล่าว

สำหรับดัชนีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมครึ่งปีนี้ขยายตัว 7.5% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ขยายตัว 3.7% คาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคอุตสาหกรรมหรือ GDP ภาคอุตสาหกรรมทั้งปีจะขยายตัวที่ 5.5-6% จากฐานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP อยู่ที่ระดับ 4.1-4.8% อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องติดตามในครึ่งปีหลังคือแรงซื้อในประเทศว่าจะมีทิศทางชะลอตัวมากน้อยเพียงใด และระดับราคาน้ำมันที่คาดว่าจะทรงตัวระดับสูง

นายจักรมณฑ์กล่าวว่า จากการติดตามอัตราการว่างงานที่ไม่ได้ปรับลดลงมากนัก และการผลิตของอุตสาหกรรมยังมีอยู่ต่อเนื่องเพราะการส่งออกยังขยายตัวดีอยู่จนทำให้บางอุตสาหกรรมขาดแคลนแรงงานด้วยซ้ำไปนั้นจึงยังมองว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงเติบโตไปได้อย่างไม่มีปัญหาและคงจะไม่ถึงขั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นเดียวกับปี 2540 เพราะในปีนั้นเกิดจากการที่เงินไหลออกนอกประเทศมากเพราะการกู้เงินที่เกินตัวของเอกชนไทย

นางหิรัญญา สุจินัย รองเลขาธิการบีโอไอกล่าวว่า บอร์ดบีโอไอเร็วๆนี้น่าจะมีการพิจารณาสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอื่นๆ นอกเหนือจากบีโอไอหลังจากที่ก่อนหน้านี้บอร์ดได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ไปพิจารณาสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากหน่วยงานอื่นๆ เพราะลำพังจากบีโอไอค่อนไม่จูงใจนักลงทุนแล้วซึ่งหากมาตรการดังกล่าวคลอดได้ก็จะส่งผลให้บีโอไอดึงดูการลงทุนได้เพิ่มขึ้น

มีรายงานว่า ก่อนหน้านี้ทางนายพินิจ จารุสมบัติ ช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการตั้งเป้าหมายการลงทุนของบีโอไอไว้ในปี 2548 สูงถึง 7 แสนล้านบาทซึ่งปรากฏว่ามีการนำโครงการโรงถลุงเหล็กโซวกังจากจีนเข้าไปรวมถึงแสนล้านบาท ต่อมานายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เข้ามาเป็นประธานบอร์ดบีโอไอก็ได้ระบุที่จะดันเป้าส่งเสริมการลงทุนบีโอไอปีนี้อีกถึง 7-8 แสนล้านบาท

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย( ส.อ.ท.) กล่าวว่า การสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย เดือนพฤษภาคมจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 521 ตัวอย่าง ครอบคลุม 35 กลุ่มอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ระดับ 94.3 จาก 94.5 ในเดือนเมษายน โดยค่าดัชนีที่ได้มีค่าต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่สองติดต่อกัน นับจากเดือนเมษายน แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดี

" เดือนพฤษภาคม ผู้ประกอบการยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ส่งผลทำให้ภาระต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตาม ขณะที่ผู้ประกอบการไม่สามารถเพิ่มราคาสินค้าได้ เพราะภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในแต่ละอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องสถานการณ์ความไม่ชัดเจนทางการเมือง ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเช่นกัน"นายสันติกล่าว

หอการค้าไทยประเมินศก.ปีนี้โต3.8-4.1%

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้คาดการณ์ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยปี 2549 โดยไทยจะส่งออกได้ มูลค่าประมาณ 1.25 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 13.07% และนำเข้ามูลค่า 1.32 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 11.69% และจะขาดดุลการค้ามูลค่า 6,481 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อหักลบกับตัวเลขการท่องเที่ยวไทยที่คาดว่าจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวจำนวน 13.35 ล้านคน รายได้ประมาณ 1.22 หมื่นล้านหรียญสหรัฐ จะทำให้ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้ประมาณ 2,190 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) อยู่ระดับ 3.8-4.1%

สาเหตุที่ทำให้การส่งออกขยายตัวไม่ได้ตามเป้าหมาย เพราะการส่งออกครึ่งปีหลังมีแนวโน้มชะลอตัวลงเหลือแค่ 9.87% จากครึ่งปีแรกขยายตัว 16.73% จากปัจจัยต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ในการส่งออกสินค้าไทย คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวเพียง 3.3% ลดลงจากปี 2548 ที่ขยายตัว 3.5% ทิศทางระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้การผลิตและการขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยปีนี้คาดว่าระดับราคาน้ำมันทั้งปีจะอยู่ที่ 69.98 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 27.89% จากปี 2548 ราคาน้ำมันเฉลี่ย 54.72 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

นอกจากนี้ ทิศทางราคาสินค้าของโลกในปีนี้ จะปรับตัวสูงขึ้น 20.9% จากปี 2548 ที่สูงขึ้นเพียง 4.1% แบ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมราคาสูงขึ้น 41.4% สินค้าอาหารและเครื่องดื่มราคาสูงขึ้น 4.0% ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ ส่งผลให้การบริโภคทั่วโลกชะลอตัวลง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาไทยต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามธนาคารกลางของสหรัฐ เพื่อป้องกันเงินทุนไหลออก ทำให้เพิ่มภาระด้านต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ และกระทบต่อการลงทุนภายในประเทศ การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ส่งผลให้ความได้เปรียบทางด้านราคาสินค้าไทยน้อยลง คาดว่าเงินบาททั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 38.50 บาท/สหรัฐ

"ปัจจัยที่น่าห่วงต่อเศรษฐกิจไทยมากสุด คือ ปัญหาการเมือง ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอมีแค่ 1.28 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมากถึง 3.46 แสนล้านบาท หรือลดลง 62.89% นอกจากนี้ การเมืองยังได้กระทบให้ต้องเลื่อนลงนามเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นออกไป และการชะงักของการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ ด้วย ซึ่งทั้งหมดส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกให้ลดลงตาม เนื่องจากนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศไม่มีใครกล้าวางแผนการตลาด เพราะไม่แน่ใจปัญหาทางการเมืองที่ไม่มีความชัดเจนใดๆ เลย"นายอัทธ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะในการช่วยเหลือเศรษฐกิจในขณะนี้ คือ ไม่ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศแล้ว เพราะจะเป็นภาระให้กับผู้ประกอบการ ขณะที่เงินเฟ้อปีนี้คาดว่าจะอยู่ระดับ 5%
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 30-10-2006, 07:18 »

ผู้จัดการรายวัน31 มีนาคม 2547  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=10945
 
เจรจาแก้สัญญาไม่ยุติไอทีวีเดินหน้าผังใหม่
 
 
www resources
 
โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
 
 search resources
 

ไอทีวี, บมจ.
สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
รองพล เจริญพันธุ์
วิษณุ เครืองาม
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
TV
 
 
การเจรจาเรื่องผังรายการใหม่ของ ไอทีวียังไม่ได้ข้อยุติ สองฝ่ายเห็นกันไปคนละทาง ไอทีวียืนยันเดินหน้าผังใหม่ เริ่ม 1 เมษายนนี้ พร้อมเจรจายื่นหมูยื่นแมวกับสปน. วิษณุเผยเพิ่งหารือในประเด็นไพรม์ไทม์ ไอทีวีอ้างนิยามเปลี่ยนไป ขอความยืดหยุ่น ขณะที่ สปน.ขอกางตำราศึกษารายละเอียดก่อน ขู่ยกเลิกสัญญาพร้อมเรียกค่าเสียหาย หากได้ความชัดเจนว่าไอทีวีปรับผังโดยทำผิดสัญญา

เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ ที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานการปฏิบัติงานตามกฎหมายร่วมทุนเอกชนกับรัฐ กรณีการปรับผังรายการของไอทีวี โดยมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ร่วมหารือ โดยใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง

นายวิษณุ แถลงภายหลังการประชุมว่า คณะกรรมการฯได้พิจารณาอย่างรอบคอบที่สุดแล้ว โดยทางไอทีวีได้ทำหนังสือแจ้งมายังสำนักปลัดฯเมื่อวันที่ 22 มีนาคม เพื่อขอเจรจาหารือยุติปัญหาเรื่องผังรายการใหม่ของไอทีวีที่จะเริ่มวันที่ 1 เมษายนนี้ โดยผู้บริหารไอทีวีได้ชี้แจงประเด็นที่จะขอหารือเร่งด่วนที่สุด 1 ประเด็น คือ เรื่องผังรายการ จากที่คณะอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยให้บริษัทไอทีวีได้ประโยชน์ 4 ประเด็นด้วยกัน ซึ่งผังรายการได้เขียนไว้ในสัญญา ที่รัฐทำกับไอทีวีในข้อ 11 ระบุว่า คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามผังรายการที่แจ้งไว้เมื่อตอนทำสัญญา แต่ถ้าหากจะมีการเปลี่ยนแปลงผังรายการก็สามารถทำได้โดยได้รับความเห็นชอบจาก สปน. ทั้งนี้ ไอทีวีจะต้องออกรายการที่เป็นสารประโยชน์ ข่าว สารคดี ในช่วงเวลาตั้งแต่ 19.00 น. ถึง 21.30 น. ซึ่งทางไอทีวีต้องการให้มีการปรับผังรายการตรงนี้

"ไอทีวีแจ้งว่า แม้อนุญาโตฯ จะวินิจฉัยให้รัฐต้องปรับสัดส่วนข่าวและสาระกับบันเทิงเป็น 50-50% แต่ทางไอทีวียังอยากจะรักษาสัดส่วน 70-30% เอาไว้ เพียงแต่ขอปรับผังรายการ นั่นคือการปรับผังเวลา แทนที่จะเป็นช่วงเวลา 19.00 - 21.30 น. ตามสัญญา ให้เป็นช่วงเวลาก่อนหน้า 19.00 น. และสิ้นสุดหลัง 21.00 น. หรืออาจเป็นเวลา 18.00 - 23.00 น. สรุปแล้วเป็นการยืดเวลาที่จะต้องเสนอรายการข่าวและสาระในจำนวนที่กำหนด" นายวิษณุ กล่าว

นายวิษณุ กล่าวว่า ตรงนี้ฝ่ายรัฐได้สอบถามว่า ทำไมจึงต้องมีการปรับผังให้เปลี่ยนไปตามเวลา ซึ่งทาง ไอทีวีชี้แจงว่า ปัจจุบันความคิดเรื่องเวลาไพรม์ไทม์เปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยตกลงกันไว้เมื่อปี 2538 เห็นได้ชัดจากครม.ได้มีมติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 46 กำหนดให้โทรทัศน์นำเสนอรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัวในช่วงไพรม์ไทม์อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมงครึ่ง ซึ่งก่อนที่จะมีมติ ครม.ได้สอบถามไพรม์ไทม์คืออะไร คำตอบคือตั้งแต่เวลา 18.00 น. ถึงเวลา 22.00 น. ตรงนี้เท่ากับเป็นการรับรองบรรทัดฐานของประเทศไทยว่าเวลาไพรม์ไทม์ ตามมติ ครม.

ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า แนวความคิดเรื่องไพรม์ไทม์ในวันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากวันลงนามตามสัญญา ซึ่งไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบัน แต่ถ้าจะอนุญาตให้ไอทีวีปรับผังได้ทันที ก็ยังเป็นปัญหาเพราะจะต้องไปแก้สัญญา และการแก้สัญญาถ้าไม่แก้ในจุดที่เสียหายรุนแรงจนฝ่ายรัฐเสียประโยชน์หรือขัดต่อปรัชญา ทีวีเสรีจนเกินไป หากจำเป็นและแก้แล้วประชาชนได้ประโยชน์ก็สามารถทำได้ จึงได้มอบหมายให้คณะ อนุกรรมการพิจารณาสัญญาทั้งระบบ ซึ่งมีนายรองพล เจริญพันธุ์ รองปลัดฯ เป็นประธาน ไปศึกษา เรื่องผังรายการและไพรม์ไทม์เป็นการเร่งด่วน ส่วนประเด็นอื่นต้องมีการเจรจากับไอทีวีอีก โดยให้พิจารณาว่าสมควรจะปรับผังรายการโดยการแก้ไขสัญญาหรือโดยวิธีการใด และให้เสนอผลการศึกษากลับมายังคณะกรรมการฯ อีกครั้ง คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน ก็จะสามารถหาข้อสรุปได้ หากมีการแก้ไขสัญญาก็ต้องเสนอ ครม.ต่อไป

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า หากถามว่าไอทีวี สามารถปรับผังรายการวันที่ 1 เม.ย.ได้หรือไม่ ตอบในแง่ของรัฐถือว่าต้องปฏิบัติตามสัญญา ส่วนไอทีวีจะตัดสินใจเดินหน้าตามผังใหม่หรือไม่เป็นเรื่องของไอทีวี หากคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่าสมควรให้มีการแก้ไขสัญญาเฉพาะเรื่องผังรายการได้ ก็ให้ลงมือแก้สัญญาและนำเข้า ครม. ตามกระบวนการ ทั้งนี้มีผลย้อนหลังวันที่ 1 เมษายน แต่ถ้าอนุกรรมการฯ ไม่อนุมัติให้ปรับผังเพราะไพรม์ไทม์ยังเป็นไพรม์ไทม์เหมือนเดิม ส่วนไพรม์ไทม์ที่ไอทีวียกมาอ้างเป็นไพรม์ไทม์ปลอมก็จะไม่มีการแก้สัญญา และจะไม่มีการย้อนหลังอะไร นอกจากนี้จะนำไปสู่การดำเนินการตามสัญญาคือเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากไอทีวี

นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ได้ถามทางไอทีวีว่าถ้ารัฐยอมแก้ไขสัญญา จะแลกเปลี่ยนอะไรกับรัฐ เพราะเรื่องนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งจะได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งไอทีวียินดีจะให้แก้ไขสัญญา ข้อ 5 วรรค 4 ข้อ 9 วรรค 2 และข้อ 15 เพื่อให้รัฐยืดหยุ่นในส่วนนี้ได้ เพราะข้อสัญญาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของรัฐในเรื่องที่รัฐให้โทรทัศน์ต่างๆมีโฆษณา ฉะนั้น ไอทีวียอมแลกเปลี่ยนตรงนี้

ด้านนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไอทีวียินดีจะเจรจาแก้ไขสัญญาเดิมตามที่สปน. ต้องการ ในส่วนที่ภาครัฐมองว่าเสียเปรียบไอทีวี 3 ข้อ คือ 1) สัญญาข้อ 5 วรรค 4 ที่กำหนดห้ามสปน. หรือหน่วยงานรัฐให้สัมปทาน อนุญาตหรือทำสัญญา ใดกับบุคคลอื่น ให้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์ โดยมีโฆษณาหรืออนุญาตให้โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก มีโฆษณา 2) สัญญาข้อ 9 วรรค 2 ในกรณีที่ไอทีวีดำเนินการให้เป็นไปตามมติครม. กฎข้อบังคับและระเบียบต่างๆ ของระบบราชการเป็นเหตุให้ไอทีวีได้รับผลกระทบต่อฐานะการเงินอย่างรุนแรง ให้เรียกร้องต่อสปน.หามาตรการแก้ไข 3) สัญญาข้อ 15 กำหนดให้เสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ

"ไอทีวีไม่ต้องการดำเนินการใดๆที่เอาเปรียบรัฐ แต่ว่าไอทีวีต้องได้รับความเป็นธรรมในแง่การแข่งขันทางธุรกิจด้วยเช่นกัน หลังจากที่เจรจากันแล้ว รัฐยอมที่จะพิจารณาแก้ไขยืดระยะเวลาไพรม์ไทม์ออกไป ซึ่งจะส่งผลให้ไอทีวีใช้ผังใหม่ได้ ทางไอทีวียินดีที่จะเจรจาเงื่อนไข 3 ข้อนั้น"

อย่างไรก็ตาม แผนการปรับผังรายการใหม่ของ ไอทีวีวันที่ 1 เมษายนนี้ จะเดินหน้าใช้ผังใหม่ที่ได้เตรียมไว้ล่วงหน้าแล้วแน่นอน เพราะคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้ไอทีวีสามารถผลิตรายการ ทำรายการบันเทิงในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ได้ ทั้งนี้ไอทีวีจะยึดหลักเวลาไพรม์ไทม์ ตั้งแต่เวลา 18.00-23.00 น. โดยจะกระจายรายการสารประโยชน์ ข่าวสาร สารคดี 2 ชั่วโมงครึ่ง ให้อยู่ในช่วงไพรม์ไทม์
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 30-10-2006, 07:49 »

ผู้จัดการรายวัน5 กันยายน 2549  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=51794
 
หวั่นเศรษฐกิจซบยาวถึงปีหน้าแนะเร่งใช้เงินรสก.โปะงบปี50
 
 
search resources
 
อำพน กิตติอำพน
Economics

สศช.เผยจีดีพีไตรมาส 2 ปี 49 โต 4.9% ลดลงจาก 6.1%ในไตรมาสแรก ระบุการใช้จ่าย-บริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนยังน่าเป็นห่วง ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเริ่มกระทบภาคส่งออก พร้อมปรับประมาณปี 49 เหลือ 4.2-4.7% แนะต้องเร่งเบิกจ่ายเงินงบรัฐวิสาหกิจที่เหลือเพื่อชดเชยความล่าช้างบฯปี 50

จีดีพีไตสมาส2 ขยายตัว 4.9%

นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ขยายตัว 4.9% ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัว 6.1% ในไตรมาสแรกของปี 2549 โดยการขยายตัวในอัตราดังกล่าวมีแรงขับเคลื่อนมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีเป็นแรงกระตุ้นหลัก โดยในไตรมาส2 การส่งออกขยายตัวถึง 16.3% ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น โดยการใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้น 3.4% ขณะที่การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น 5.0%

สำหรับด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 5.8% ภาคการเกษตรขยายตัว 5.4% ขยายตัวต่อเนื่องจาก 6.3% ในไตรมาสแรก ด้านการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดีในไตรมาส2 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 16.2% ชะลอลงเล็กน้อยจาก 21.7% ในไตรมาสแรก โดยมีเงินใช้จ่ายในการท่องเที่ยว 102,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.1% จากไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 25.2%

จับตาภาคอุปโภค-บริโภคของครัวเรือนชะลอ

ทั้งนี้ ในส่วนของภาคการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคของครัวเรือนในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัว 3.7% ซึ่งชะลอตัวลงจาก 4.1% ซึ่งเป็นผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ภาคการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและชัดเจนมากขึ้นในไตรมาสนี้ ซึ่งในไตรมาสที่2 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.6% เมื่อเทียบกับ 7.2% ในไตรมาสแรก ประกอบกับยังมีปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดต่อภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ทั้งราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทำให้ค่าครองชีพสูงและกระทบกำลังซื้อที่แท้จริง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจลดลง ส่งผลให้ในครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรกที่มีอัตราการขยายตัว 5.5%

“ในครึ่งหลังของปีราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับที่สูง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ลดลงจะทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้จ่ายการลงทุนภาครัฐที่ได้ผลกระทบบ้างจากการที่พระราชบัญญัติงบประมาณปี 2550จะต้องล่าช้าออกไป ในขณะที่เศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มชะลอตัวในครึ่งหลัง”เลขาธิการสศช.กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3 และ 4 ของปีคาดว่าเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวอยู่ที่ 4% ซึ่งจะชะลอลงกว่าในครึ่งปีแรกปี 2549 ทั้งนี้เป็นเพราะราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น การส่งออกและการบริโภคมีการชะลอตัวลงบ้าง ซึ่งก็จะส่งผลให้จีดีพีในไตรมาส 1/50 จะต่ำกว่าไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปี 2549 หากการลงทุนยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเช่นในปัจจุบัน

ปรับประมาณการณ์ทั้งปีเหลือ 4.2-4.7%

นายอำพน กล่าวต่อถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2549 ทั้งปีว่าน่าจะมีแนวโน้มอัตราการเติบโต 4.2-4.7% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ปรับลดลงจากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ 4.2-4.9% เนื่องจากคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับ 4.5-4.7% ซึ่งเป็นอัตราที่เท่ากับในการประมาณการในครั้งก่อน ขณะที่คาดว่าดุลการค้าจะขาดดุลประมาณ 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการส่งออกยังขยายตัวได้มากกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุลเล็กน้อยที่ประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นประมาณ 0.6% ของจีดีพี

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบให้การขยายตัวของจีดีพีในครึ่งปีหลังชะลอตัวลงเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ในระดับที่สูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะมีราคาเฉลี่ยในปี 2549 ประมาณ 65-68 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการขยายตัวสูงในครึ่งปีแรกซึ่งส่งผลให้สัดส่วนคำสั่งซื้อต่อการมอบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกเริ่มลดลงในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นส่งผลให้กระทบต่อการแข่งขันด้านราคาโดยเฉพาะสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มที่กำลังสูญเสียขีดความสามารถต่อประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำโดยเฉพาะจีนและเวียดนาม ประกอบกับปัจจัยจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ย MLR ส่งผลให้การขยายสินเชื่อเพื่อการบริโภคมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลงจากปี 2548

มองการเมืองชัดเจนเศรษฐกิจกลับมาเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลให้ความมั่นใจของผู้บริโภคและเอกชนลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี รวมถึงผลกระทบจากการที่ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2550 ไม่สามารถเริ่มใช้จ่ายได้ตามกำหนดการปกติ

“หากปัจจัยทางการเมืองเริ่มมีความชัดเจนการเลือกตั้งสามารถตั้งรัฐบาลชุดใหม่ได้ทันในปี 2550 เชื่อว่าทุกอย่างก็น่าจะดำเนินการตามที่คาดไว้ได้”นายอำพลกล่าว

ดังนั้น ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2549 อยากเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนเพื่อให้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 และไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 มีเงินออกสู่ระบบมากขึ้น เนื่องจากหากไม่เร่งรัดการเบิกจ่ายจะกระทบต่อเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2550 โดยเฉพาะงบของรัฐวิสาหกิจที่ขณะนี้มีอยู่ 3.8 แสนล้านบาท ขณะนี้เบิกจ่ายได้ 75% และหากเบิกจ่ายได้ 85% ก็จะทำให้งบลงทุนในปี 2550 ไม่มีปัญหา รวมถึงงบเหลื่อมปีที่ต้องเบิกทำให้ได้ 85% จากปัจจุบัน 74%

คาดปี 2550 จีดีพีโต 4.5-5%

อย่างไรก็ตาม ในปี 2550 คาดการณ์ว่าจีดีพีจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 4.5-5% หากราคาน้ำมันยังคงทรงตัวอยู่ในระดับไม่เกิน 70 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล และการลงทุนภาคเอกชนกลับเข้าสู่ภาวะปกติที่มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยในส่วนของภาคการลงทุนในปี 2550 นั้นแม้จะได้รับผลกระทบจากการจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2550 นั้น เชื่อว่าทุกอย่างจะสามารถเดินไปตามที่คาดไว้ คือการลงทุนภาครัฐและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะมีสูงถึง 400,000 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวจะไม่น้อยกว่าการลงทุนในปี 2549 แต่อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 2-5% ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะในปี 2550 มีโครงการเกี่ยวข้องกับโครงการภาครัฐที่จะต้องมีการลงทุนหลายโครงการ อาทิ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงโครงการของรัฐวิสาหกิจ อาทิ โครงการขยายการลงทุนของปตท. ในการส่งท่อก๊าซ ซึ่งจะทำให้มีการกระจายการลงทุนเพิ่มขึ้น

“ในปี 2550 ยังมีเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุน โดยยังเชื่อว่าแม้การเลือกตั้งยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปีนี้ และเงินงบประมาณก็จะออกสู่ระบบได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2550 ขณะที่ การทำงบประมาณขาดดุลในปี 2550 ต้องให้ความสำคัญเรื่องการศึกษา สาธารณสุข การส่งเสริมการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการจัดหาพลังงานทดแทน เพราะในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว จะต้องดูแลเรื่องดังกล่าวให้มากขึ้น”นายอำพนกล่าว

สศค.ย้ำเศรษฐกิจครึ่งปีโตแค่ 3-4%

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สศค. กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ ”เวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค” ที่จังหวัดขอนแก่น ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น รวมถึงปัจจัยทางการเมือง โดยคาดว่าไตรมาสที่ 3-4 จะขยายตัว 3.0-4.0% และทำให้เฉลี่ยทั้งปี 2549 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 4.5% เท่ากับปีที่แล้ว

สำหรับปี 2550 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 3.5-4.5% เท่านั้น เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาการใช้จ่ายของภาครัฐที่การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2550 ล่าช้า ทำให้ช่วงเวลาการเบิกจ่ายงบประมาณน้อย ดังนั้น ภาครัฐต้องเตรียมการเบิกจ่ายให้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตและภาคเอกชนจะลงทุนตาม และในปี 2551 – 2552 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นประมาณ 5.0-6.0%ต่อปี ตามการใช้จ่ายภาครัฐและภาคเอกชนที่คาดว่าจะกลับมาเพิ่มขึ้น

"ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะต้องหาวิธีการว่าทำอย่างไรจึงจะให้มีการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึง เติบโตอย่างยั่งยืน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้อีก ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาภาคการเกษตรที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าภาคอื่น ภาคอุตสาหกรรมที่กระจุกตัวอยู่ในไม่กี่จังหวัดเท่านั้น การแก้ไขปัญหาการโยกย้ายแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือ"นายนริศกล่าว

แบงก์พอใจศก.ไตรมาส2โต4.9%

ด้านคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีบี กล่าวว่า การประกาศของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ขยายตัวอยู่ที่ 4.9%นั้น ถือว่าจีดีพีในระดับดังกล่าวยังคงดีอยู่และยังส่งผลดีต่อการขยายตัวเศรษฐกิจดีอยู่ เพราะจะช่วยให้นักลงทุนมีความมั่นใจในการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งในส่วนของการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ยังมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี และการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมายังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องของระบบ   
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 30-10-2006, 08:43 »



นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2549  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=51521
 
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ยิ่งกำไร ยิ่งถูกตำหนิ
 
related stories
 
Beyond Success
 
search resources
 
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
 
 
ราคาน้ำมันผันผวนมากเท่าไร คนทั่วไปจะยิ่งนึกถึงเขาคนนี้ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. มากเป็นพิเศษ

บทบาทของ ปตท.ในปีนี้ถูกตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องว่าหลังจากแปรรูปแล้ว จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนมากขึ้นหรือไม่ เพราะการเป็นบริษัทเอกชนย่อมต้องแสวงหากำไรเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลประโยชน์สูงสุด

ในช่วงที่ผ่านมา ปตท.สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดในภาวะวิกฤติพลังงาน โดยไตรมาสแรกของปีนี้บริษัทย่อยมียอดขายรวม 583,622 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 มีกำไรจากการดำเนินการ 48,250 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 8 ของยอดขาย

ไม่มีบริษัทใดมีความสามารถในการทำกำไรได้เท่ากับ ปตท.อีกแล้วในชั่วโมงนี้

และด้วยตัวเลขกำไรระดับนี้กระมัง ที่ทำให้ชื่อของประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ได้ติดเข้ามาอยู่ในอันดับต้นๆ ของ 50 Role Model ปีนี้และเป็นการเข้ามาเป็นปีแรก

แต่ตัวเลขกำไรระดับนี้ไม่รู้ว่าจะทำให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ทำงานได้สบายใจขึ้นหรือไม่ เพราะการทำกำไรมากเกินไป ก็เป็นแรงเหวี่ยงที่ย้อนกลับมาหาตัวเองว่า ปตท. ตั้งหน้าตั้งหากำไร โดยหลงลืมว่าภาระหน้าที่ของ ปตท.คือการหาพลังงานในราคาที่เหมาะสมให้กับประชาชน และเป็นตัวถ่วงดุลบริษัทค่าน้ำมันต่างประเทศ

ประเสริฐต้องลงมาทำหน้าที่กำกับดูแลราคาขายปลีกน้ำมันอย่างเข้มงวด จากเดิมที่เคยนำหน้าในการขึ้นราคาน้ำมัน ก็ปล่อยให้ผู้ค้าน้ำมันอื่นขึ้นราคาไปก่อน จากนั้น ปตท.จึงปรับขึ้น ตาม แต่บางครั้ง ปตท.ก็เล่นบทพระเอก ไม่ปรับราคาขึ้น บีบให้ผู้ค้าน้ำมันรายอื่นปรับลดลงมา กระแสกดดัน ปตท.จึงลดลง แต่ก็ไม่มากมายนัก

ผู้บริหารของ ปตท.ยังจะถูกคาดหวังจากผู้ใช้น้ำมันอยู่ต่อไป หากราคาน้ำมันยังอยู่ในอัตรา 3 ลิตร 100 บาทเช่นนี้ 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 30-10-2006, 08:49 »



นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2543  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=447
 
ภราเดช พยัฆวิเชียร ถึงเวลาแล้วที่ททท. ต้องปรับตัว
 
search resources
 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภราเดช พยัฆวิเชียร
Tourism
 
 
 
18 มีนาคม ที่ผ่านมา เป็นวันที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีอายุ ครบรอบ 40 ปี

"เราจะใช้จุดครบรอบ 40 ปีนี้ เป็นจุดเริ่มต้นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการทำงาน ตลอดจนวิธีคิดต่างๆ ใหม่ เพื่อให้สามารถรับกับสถานการณ์แวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป" ภราเดช พยัฆวิเชียร ผู้ว่าการททท.คนที่ 5 ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมากล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ททท.เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ถือกำเนิด ขึ้นในยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปี 2503

ช่วงเวลาดังกล่าว ถือเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคธุรกิจ ครั้งใหญ่ในประเทศไทย อันเนื่องมาจากการเริ่มหลั่งไหลกลับเข้ามาอีกครั้ง ของเงินทุนจากตะวันตก หลังจากหยุดนิ่งไปยาวนานในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2

ปัจจัย ที่เกื้อหนุนให้รัฐบาลในขณะนั้น เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว มาจากรายงานของบริษัทเช็คกี้ ที่สมาคมส่งเสริ มการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (PATA) ได้ว่าจ้างเข้ามาศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ ระบุว่าประเทศไทย สามารถพัฒนาเป็นประเทศท่องเที่ยวได้ โดยมีเหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือ

1. ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค และ 2. ประเทศไทยมีวัตถุดิบ ที่สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวในตัวอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก

จอมพลสฤษดิ์ได้สถาปนาองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว (อ.ส.ท.) ขึ้นมา เพื่อดูแลการพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศโดยเฉพาะ โดยให้ความสำคัญถึงขั้นมอบหมายให้ พล.ท.เฉลิมชัย จารุวัสตร์ นายทหารคนสนิท เข้ามาเป็นผู้อำนวยการคนแรก และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก อ.ส.ท. เป็น ททท. ในปี 2522

ตลอดเวลา ที่ผ่านมาการท่องเที่ยว ได้รับการยอมรับว่าเป็น 1 ในแหล่งรายได้หลักของประเทศนอกเหนือจากการส่งออก เพราะจำนวนนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 81,340 คนในปี 2503 มาเป็น 8,580,332 คนในปี 2542 ส่งผลให้มีรายได้เข้าประเทศเพิ่มสูงขึ้นจาก 196 ล้านบาท มาเป็นปีละ 3 แสนล้านบาทในปัจจุบัน

และเม็ดเงิน ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวก็เป็นเงินสด ที่กระจายลงไปทั่วทุกภูมิภาค ไม่กระจุกตัวอยู่ในภาคใดภาคหนึ่ง

โดยเฉพาะในช่วง ที่เกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวถือเป็นความหวังสำคัญ ที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจของประเทศสาม ารถฟื้นตัวขึ้นได้จากรายได้ ที่มีเข้ามาเป็นจำนวนมากดังกล่าว

แต่จากรายได้ ที่มีเพิ่มเข้ามา ก็เป็นแรงกดดันสำคัญ ให้ททท.จำเป็นต้องปรับตัว

ภราเดชมองว่า ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ ที่แวดล้อมธุรกิจท่องเที่ยวของไทย ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการแข่งขันจากประเทศต่างๆ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน ตลอดจนการเข้ามาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ที่สำคัญฐานการท่องเที่ยวของไทยก็เปลี่ยนแปลงไปเพราะนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยขณะนี้ มีความตระหนักถึงความปลอดภัยสุขอนามัย และมีความสนใจเฉพาะทางมากขึ้น

"เดิมเราเคยเน้นแต่เรื่องของ SUN-SAND- SEA แต่เดี๋ยวนี้เราต้องคำนึงถึงความแท้ดั้งเดิม ความเป็นท้องถิ่น และวัฒนธรรมพื้นบ้านมากขึ้น" จุดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ภราเดชมองว่า หลังจากนี้ไป ททท.จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการวางโครงการพัฒนา และแผนการตลาดให้มีความสอดคล้องกับ ฐานการท่องเที่ยว ที่เปลี่ยนไปดังกล่าว

นอกจากนี้ มาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่ภราเดชให้ความสำคัญค่อนข้างมาก เพราะสถิติอาชญากรรม ที่เกิด ขึ้นกับนักท่องเที่ยว มีเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงหลัง

จึงได้มีการประสานงานไปยังหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปให้ช่วยกันดูแลให้ความปลอดภัย และความสะดวกกับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น

การปรับตัวของ ททท.แม้จะเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว แต่ก็ยังคงเป็นเพียงการปรับตัวจากหน่วยงานในภาครัฐ

สิ่งที่ภราเดชยังมีความกังวลอยู่ก็คือ ในภาคเอกชน เพราะการที่ธุรกิจท่องเที่ยว ยังไม่มีองค์กร ที่เป็นกลาง ที่จะเข้ามาดูแลอย่างแท้จริง เป็นเรื่อง ที่มีผลถึงแนวทางการพัฒนาในระยะยาว

บทบาทดังกล่าว ททท.ไม่สามารถทำได้เพราะมีข้อจำกัดตรง ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย

"ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจ ที่ไม่มีระบบล็อบบี้ยิสต์ แม้ว่าจะสามารถทำรายได้ให้ประเทศนับแสนล้าน" ภราเดชยกตัวอย่างข้อแตกต่างของธุรกิจท่อง เที่ยว ที่ไม่เหมือนธุรกิจอื่น ที่สามารถทำรายได้เข้าประเทศได้น้อยกว่า

"ภาคการเกษตร ภาคการประมง เวลาเขามีปัญหา เขาก็สามารถนัดชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐได้ แต่ธุรกิจท่องเที่ยวเวลามีปัญหาอะไร เขาไม่มีคนกลาง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเจรจากับรัฐ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญ"

เป็นสิ่งที่ภราเดชอยากให้เกิดขึ้นในช่วงหลังจากนี้

แต่ใครจะเป็นผู้ริเริ่มระหว่างรัฐหรือเอกชน

 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 30-10-2006, 09:04 »

นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2549  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=49592
 
เก่าไปใหม่มา
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ 
 
www resources
 
โฮมเพจ การบินไทย
 
search resources
 
การบินไทย, บมจ.
Aviation
อภินันทน์ สุมนะเศรณี
 
 
ผู้บริหารของการบินไทย ทายาทผู้ก่อตั้งบริษัททั้ง 7 รวมทั้งสื่อมวลชน และพนักงานของการบินไทย ต่างนั่งและยืนแน่นขนัดโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานใหญ่การบินไทย บนถนนวิภาวดี เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในการแถลงข่าวโอกาสครบรอบ 46 ปีการก่อตั้งบริษัทการบินไทย

หลังการขึ้นแถลงข่าวโดยสมใจนึก เองตระกูล ซึ่งในเวลานั้นยังเหลือเวลาในการดำรงตำแหน่งรักษาการดีดีเพียงสองวันก่อนการเข้ารับตำแหน่งของดีดีคนใหม่ มีการเปิดตัวชุดเครื่องแบบของพนักงานการบินไทยใหม่ทั้งหมด ทั้งพนักงานบริการภาคพื้น พนักงานหน่วยต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานฝ่ายการพาณิชย์ ฝ่ายสื่อสารวิสาหกิจและประชาสัมพันธ์และอื่นๆ เพื่อต้อนรับปีที่ 46 และเป็นการปรับโฉมครั้งสุดท้ายก่อนการย้ายฐานปฏิบัติงานจากสนามบินเก่าแก่อย่างดอนเมืองไปยังสนามบินสุวรรณภูมิภายในเร็ววันนี้

ชุดเครื่องแบบใหม่ที่มีสีม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ได้รับการออกแบบจากนักออกแบบมีชื่อระดับประเทศอย่างพิจิตรา บุณยรัตพันธุ์ แม้จะเป็นข่าวก่อนหน้าถึงความไม่เหมาะสมในการออกแบบชุดสำหรับพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนเครื่องหรือแอร์โฮสเตสตามหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์มาบ้าง แต่ชุดดังกล่าวก็ผ่านหูผ่านตากรรมการตรวจสอบและให้พนักงานได้ใส่โฉบเฉี่ยวบนเวทีแคตวอล์กจำลอง โดยนางแบบและนายแบบจำเป็น ซึ่งคัดมาจากพนักงานที่ปฏิบัติการจริงในตำแหน่งนั้นๆ จากหน่วยงานต่างๆ

การเปลี่ยนเครื่องแบบพนักงานในแผนกต่างๆ เป็นเพียงหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวาระครบรอบ 46 ปีการก่อตั้งการบินไทยขึ้นมาเท่านั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงชนิดที่เก่าไปใหม่มาแทนอีกหลายอย่างในโอกาสดังกล่าวดีดีใหม่

เมษายน 2549 วันชัย ศารทูลทัต ประธานกรรมการ การบินไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ แถลงความคืบหน้าตามที่การบินไทยได้เปิดให้มีการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี แทน กนก อภิรดี ซึ่งจะครบวาระในเดือนเมษายน 2549

และแจ้งให้ทราบกันโดยทั่วว่า คณะกรรมการสรรหาฯ ได้พิจารณาคุณสมบัติ การนำเสนอวิสัยทัศน์และแผนการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของผู้ผ่านคัดเลือก และลงมติเป็นเอกฉันท์คัดเลือกเรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี เป็นผู้ดำรงตำแหน่งดีดีคนใหม่แทนกนก อภิรดี

แม้สัญญาว่าจ้างจะให้อภินันทน์เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 แต่เพราะวันที่ 1 และ 2 ของเดือนดังกล่าวเป็นวันหยุดชดเชยวันแรงงาน อภินันทน์จึงมีโอกาสร่วมแถลงข่าวบนเวทีในโอกาสเซ็นลงนามเข้ารับตำแหน่งใหม่ในวันที่ 3 โดยมีผู้บริหารระดับสูง และพนักงานการบินไทยหลายชีวิตร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมกับกระจายเสียงงานแถลงข่าวดังกล่าวไปทั่วทุกอาคารของสำนักงานใหญ่ของการบินไทย

บัตรแพลตินัมใบแรก

สื่อมวลชนหลายแขนงกระซิบกระซาบกันเป็นวงกว้างว่า นี่เป็นความสำเร็จครั้งแรกของการบินไทยในการเปิดตัวบัตรเครดิตแพลตินัมของตัวเอง หลังจากใช้ความพยายามอยู่หลายปีในการเจรจากับพันธมิตรหรือเจ้าของบัตรให้มาทำร่วมกัน

แม้การบินไทยจะมีบัตรเครดิตที่ติดโลโกการบินไทยไปด้วยกับหลายเจ้า แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การบินไทย หลังจากใช้เวลาสองปีในการเจรจาความเป็นไปได้ทางธุรกิจกับ American Express ล่าสุดการบินไทยก็มีบัตร THAI American Express Platinum Credit Card เป็นของตัวเอง

สิทธิพิเศษที่มาพร้อมกับการสะสมไมล์ได้เร็วยิ่งขึ้น และผู้ใช้ต้องเป็นลูกค้าเดิมของการบินไทย ลูกค้าชั้นเยี่ยมรายได้นับ 9 แสนบาทต่อเดือนจะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้ามาถือบัตร กลายเป็นความพยายามครั้งใหม่ที่จะเจาะกลุ่มลูกค้าให้หันมาบินด้วยชั้น Business Class ของตนมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้ถูกคู่แข่งบางรายแย่งสัดส่วนรายได้จากกลุ่มนี้ไปไม่น้อยเลยทีเดียว

ย้ายฐานที่มั่น

แม้ความแน่นอนเรื่องเวลาในการย้ายสนามบินแห่งชาติจากดอนเมืองไปยังสุวรรณภูมิจะยังไม่ปรากฏ แต่อย่างไรเสียการบินไทยก็ปฏิเสธการลงทุนนับหมื่นล้านตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาไม่ได้ว่าต้องย้ายฐานที่มั่นหรือฐานปฏิบัติการใหม่จากดอนเมืองไปยังสุวรรณภูมิทั้งหมดในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ดีดีคนใหม่พร้อมผู้บริหารได้ทำพิธีเซ็นสัญญาความร่วมมือกับสายการบิน คาเธ่ย์ แปซิฟิก ในการให้บริการภาคพื้นหรือกราวน์เซอร์วิสระหว่างกัน โดยการบินไทยจะทำการบริการภาคพื้นทั้งบริการเช็กอิน บริการผู้โดยสารในห้องผู้โดยสารขาเข้า-ออก และผู้โดยสารผ่าน บริการรับแจ้งกระเป๋าสัมภาระที่สูญหายหรือชำรุด กิจกรรมบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น กิจกรรมพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ และกิจการครัวการบินในสนามบินนานาชาติให้กับคาเธ่ย์ในสนามบินสุวรรณภูมิ

ขณะที่สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก จะให้บริการในรูปแบบเดียวกันกับการบินไทยที่สนามบินเช็ค แล็บ ก๊อก ในฮ่องกงนับเป็นหนึ่งการเตรียมพร้อมของการบินไทยกับการเปิดสนามบินแห่งใหม่ ไม่รวมเรื่องการขนของ ย้ายคนไปทำงานที่สนามบินแห่งใหม่ หรือการสร้างตึกสำนักงาน หรือการบริการรูปแบบใหม่ที่เกิดที่สุวรรณภูมิ

เส้นทางบินใหม่

นอกจากเส้นทางบินจากกรุงเทพฯ-สมุย จะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นเร็ววันนี้ จากความพยายามของการบินไทยในการขนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมายังสมุย สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตซึ่งเคยเป็นที่มั่นของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ แห่งบางกอกแอร์เวย์สมาตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา

โดยเริ่มต้นด้วยดีจากการแบ่งที่นั่งหรือที่เรียกว่า Codeshare ขณะที่อยู่ระหว่างขออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเครื่องโบอิ้ง 737 ขนาด 150 ที่นั่งขึ้นบินตรงด้วยชื่อสายการบินตนเองแทนการทำ Codeshare ดังที่ผ่านมาในอีกไม่นานนี้

ขณะที่ปัจจุบันการบินไทยมีเส้นทางบินไปกว่า 129 เมือง รวม 53 ประเทศทั่วโลก แต่เส้นทางบินจากกรุงเทพฯ ไปโยฮัน เนสเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองในแอฟริกาใต้นับเป็นเส้นทางสุดท้ายที่ทำให้หน้าประวัติศาสตร์ของการบินไทยครบถ้วนด้วยการบินไปครบทุกทวีปทั่วโลก

แผนการตอนนี้คือ การบินไทยจะขนคนบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปยังแอฟริกาใต้ แบบไม่หยุดพักเที่ยวแรกในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 30-10-2006, 09:09 »

ไชย ไชยวรรณ     http://www.gotomanager.com/resources/?menu=resources,people&m=profile&n=1&ph=1&id=3690
       
     14/1/1957   
     -----   
     บิดา : นายวานิช ไชยวรรณ   
   
     -----   
   
- MBIM. MARKETING UK.
- HND. BUSINESS STUDIES UK.
- BA. BUSINESS ADMINISTRATION UK.   
   
     - กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี. แลงค์ จำกัด
- กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงแรมริมเพ ระยอง จำกัด
- กรรมการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนทรัพย์ จำกัด
- กรรมการ บริษัท ไทยผลิตสุราจำกัด
- กรรมการ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยเม็กซ์ จำกัด
- กรรมการ บริษัท ไทยประเมินราคา จำกัด
- กรรมการ บริษัท พี. เอ ไวเกอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
- กรรมการ สมาคมประกันวินาศภัย

ประวัติการทำงานที่บริษัท ไทยประกันชีวิต
- ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนวิเคราะห์การเงินและการลงทุน
- ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการเงินและการบริหาร
- รองผู้จัดการฝ่ายการตลาด
- ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
- กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการ   
   
     -----   
   
     - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ : เบญจมาภรณ์ช้างเผือก   
   
     -----
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 30-10-2006, 09:19 »

ผู้จัดการรายวัน21 กันยายน 2549  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=52195
 
คาดหุ้นรูดฝรั่งขายทำกำไร
 
search resources
 
ภัทรียา เบญจพลชัย
Stock Exchange
 
จากกรณีที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกาศยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลชุดเดิมและมีคำสั่งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ปิดทำการซื้อขายเป็นเวลา 1 วันในวันที่ 20 กันยายน 2549ที่ผ่านมา

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ภายในวันนี้(21 ก.ย.)ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ(mai) ตลาดตราสารหนี้ และบริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ TFEX มีความพร้อมในการเปิดทำการซื้อขาย ซึ่งนักลงทุนจะต้องมีการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจในการลงทุน

สำหรับในวันนี้คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ จะมีการชุมซึ่งถือว่าเป็นวาระพิเศษ เพื่อเป็นการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ทราบและประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงเพื่อรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการฯ โดยจากการประเมินภาวะตลาดหุ้นในเบื้องจากการสอบถามไปยังสมาคมนักวิเคราะห์ นักลงทุนต่างประเทศผ่านทางบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย นั้น

ทั้งนี้ มองว่าการที่ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการหยุดซื้อขาย 1 วัน นั้นเป็นเรื่องที่ดีที่จะให้นักลงทุนมีการติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความกังวลไม่มากนัก จากสถานการณ์ต่างๆมีความชัดเจนมากขึ้น

นางภัทรียา กล่าวว่า หากดัชนีฯมีการปรับตัวลดลงแรงถึง 10% หรือ ประมาณ 70 จุด จากดัชนีวันจันทร์ที่ปิดทำการอยู่ที่ 702.56 จุด ตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะพร้อมที่จะใช้มาตการเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)คือการพักการซื้อขายเป็นเวลา 30 นาที เพื่อให้นักลงทุนมีเวลาในการตัดสินใจในการลงทุน

นายอดิพงษ์ ภัทรวิกรม ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ส่วนตัวคาดว่าภาวะตลาดหุ้นไทยวันนี้ ดัชนีจะมีการปรับตัวลดลง 3.75% หรือประมาณ 25 จุด ในช่วงเปิดตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งแรงขายออกมานั้นจะเป็นของนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติไม่มีความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ เชื่อว่านักลงทุนภายในประเทศจะเข้ามาซื้อหุ้น จากมองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ดีและมีความรู้ความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองยุติลง จากที่มีการยืดเยื้อมานาน

**โบรกฯฝรั่งชี้กระทบความมั่นใจ

นายอาจดนัย สุจริตกุล ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ เจพี มอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศอย่างแน่นอน เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติเกิดความไม่มั่นใจในการเข้ามาลงทุน

ทั้งนี้ เชื่อว่านักลงทุนต่างชาติน่าจะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจน โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลดลงมากกว่า 10 จุด

อย่างไรก็ตาม กรณีที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทำการยึดอำนาจในครั้งนี้น่าจะเป็นผลดีในระยะยาว เพราะจะทำให้สถานการณ์การเมืองในประเทศคลี่คลายลงได้

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนต้องการความชัดเจน ในเรื่องว่าใครที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญ จะมีการใช้มาตรการม.7 หรือไม่ และจะมีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ โดยจากเกิดการปฏิรูปทางการเมืองเกิดขึ้นได้มีลูกค้าของบริษัทที่ประเทศอังกฤษได้มีการสอบถามข้อมูลกับเรื่องที่เกิดขึ้นว่าสรุปแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังคงมีความสับสน แต่การที่ไม่มีการนองเลือดก็ถือว่าดีในระดับหนึ่ง

ทั้งนี้ ยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้คงส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยแน่นอน เพียงแต่ความรุนแรงคงไม่มากและไม่น่ากินเวลายาวนานนัก เพราะเรื่องเหล่านี้นักลงทุนก็มีการคาดการณ์ไว้บ้างแล้ว ประกอบกับการตัดสินใจปิดการซื้อขายในตลาดหุ้นชั่วคราววานนี้ (20ก.ย.) ทำให้นักลงทุนได้มีเวลาทบทวนถึงสถานการณ์มากขึ้น

นายอมฤต ศุขะวณิช รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัดเปิดเผยว่าภาวะตลาดหุ้น คาดว่าดัชนีมีโอกาสปรับตัวลดลง จากแรงเทขายของนักลงทุนต่างประเทศที่เกิดความตื่นตกใจกับเหตุการณ์ที่ทหารปฏิวัติล้มรัฐบาลรักษาการ ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศคงจะลดพอร์ตการลงทุนบางส่วน เพื่อรอดูสถานการณ์ว่าเป็นอย่างไรต่อไป

ทั้งนี้ คาดว่าหุ้นขนาดใหญ่มีโอกาสที่จะถูกเทขายออกมามาก โดยเฉพาะหุ้นสื่อสาร ที่มีข่าวกรณีนอมินีในช่วงที่ผ่านมา และหุ้นบริษัท ปตท.ที่จะถูกมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ฟ้องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน เรื่องเหล่านี้ยังเป็นประเด็นที่ยังค้างอยู่ เมื่อมีเหตุการณ์ปฏิวัติขึ้นมา คงจะต้องจับตาดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

นายสมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากอดีตที่ผ่านมา ถ้ามีเหตุการณ์ปฏิวัติตลาดหุ้นก็จะปรับตัวลดลงมาทุกครั้ง เพราะนักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจจึงเทขายหุ้นออกมาก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจยังดีอยู่ ทั้งในแง่ของทุนสำรอง ตัวเลขจีดีพี และการส่งออก ขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ

**เอกชน มั่นใจไม่กระทบต่อธุรกิจ

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์แนวโน้มของราคาน้ำมันว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพราะต้องรอดูสถานการณ์ต่างๆ ก่อน

นายประสิทธิ์ อุ่นวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตีลอินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน) หรือ STEEL กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้ เพราะยังเร็วเกินไปที่จะเห็นผลที่ชัดเจน แต่หากมีผลกระทบอาจจะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ขณะที่ในส่วนของบริษัทเองคงจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากบริษัทมีลูกค้าที่กระจัดกระจาย ไม่อิงภาครัฐเพียงอย่างเดียว
 


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 30-10-2006, 09:37 »


ผู้จัดการรายสัปดาห์6 กุมภาพันธ์ 2549    http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=45361
 
แบงก์ทหารไทยยึดพันธมิตรดันธุรกิจ
 
 
www resources
 
โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย
 
search resource

ธนาคารทหารไทย
สุภัค ศิวะรักษ์
Banking and Finance
 
ทหารไทยลุยสู้ปี 2549 หลังผลงานปีที่ผ่านมางดงามด้วยกำไรกว่า 7 พันล้าน เตรียมขยายงานเต็มสูบ โดยเฉพาะ ร่วมมือกันพันธมิตรทางธุรกิจเน้นแบงแอสชัวรันส์ และการปล่อยสินเชื่อเคหะซึ่งเป็นจุดแข็งทหารไทยเพราะเป็นกลุ่มพันธมิตรที่เชื่อมไมตรีกันมายาวนาน ภายใต้สายตาคนในวงของธนาคารทหารไทย เชื่อว่าการปรับภาพลักษณ์องค์กร หรือรีแบรนดิ้งเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธนาคารมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพด้านบริการ จนเป็นที่มาของการประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจ

สุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้ชี้ให้เห็นถึงผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาว่ากำไรสุทธิ 7,813 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 6,865 ล้านบาท คิดเป็น 724% มีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 25,825 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 51% รายได้ ค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ รวม 5,651 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่าในปี 2547 ถึง 1,222 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 28% ทั้งนี้เนื่องมากจากการเติบโตและขยายตัวเป็นอย่างมากของการให้บริการด้านสินเชื่อธุรกรรมด้านปริวรรตเงินตราและด้านวานิชธนกิจ ด้านฐานะทางการเงินธนาคาร สิ้นเดือนธันวาคม 2548 มีสินทรัพย์รวม 716,292 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ณ สิ้นปี 2547 ที่6.5%

สุภัค บอกอีกว่า เมื่อพิจารณาถึงยอดเงินของการปล่อยสินเชื่อของธนาคารจะสูงถึง 555,655 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้วประมาณ 8% เนื่องจากธนาคารได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)

ด้านการให้บริการด้านเงินฝาก ธนาคารมียอดฝากเพิ่มขึ้น 13.4% คิดเป็นยอดเงินฝาก 517,215 ล้านบาท ซึ่งเป้ฯไปตามนโยบายเชิงรุกที่ธนาคารต้องการขยายฐานลูกคาเงินฝากต่อเนื่อง

ในปี 2549 นี้ สุภัค บอกว่า ธนาคารยังคงเน้นให้สินเชื่อด้านSME และสินเชื่อบุคคลให้มากขึ้น รวมทั้งเสริมฐานธุรกิจขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งให้บริการครบวงจร เข้าถึงลูกค่ากลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน

ซึ่งในปีนี้กลุ่มเป้าหมายหลักที่ สุภัค บอกว่า เป็นจุดแข็งของธนาคาร คือการปล่อยสินเชื่อเคหะ เนื่องจากหลายรายเป็นลูกค้าที่ใช้บริการกับธนาคารทหารไทยมานาน และเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสูง จึงเป็นเป้าหมายที่ธนาคารจะเดินหน้าคู่ไปกับลูกค้ากลุ่มนี้

สุภัค บอกอีกว่า ทั้งนี้ยังมองหารายได้จากค่าธรรมเนียมด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการธุรกิจแบงแอสชัวรันส์ ปีนี้ทหารไทยจะจับมือกับพันธมิตรให้มากขึ้น โดยให้พันธมิตรเข้ามาช่วยฝึกอบรมพนักงานของธนาคาร ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่ายังเป็นจุดอ่อนสำหรับธนาคารเพื่อผลิตสินค้าให้ออกมานองความต้องการได้ตรงตามความต้องการตลาดและกลุ่มเป้าหมาย

"ส่วนธุรกิจบัตรเครดิตที่เป็นกระแสแรง หลายธนาคารลงมาเล่น สุภัค บอกว่า เรายังไม่พร้อมที่จะลุยตลาดตรงนี้มากนัก เพราะการเข้าสนามแข่งขันธุรกิจนี้มีต้นทุนที่สูง คุณต้องทำจำนวนบัตรให้ได้ 5-6 แสนใบถึงจะคุ้มทุน ในขณะที่เราเองมีอยู่ประมาณ แสนใบเท่านั้น ดังนั้นจึงยังไม่เข้ามาเล่นหนักมาแต่ของทำในสิ่งที่ถนัดก่อน"

สุภัค ทิ้งทายว่าปีนี้ทหารไทยอยากทำกำไรมากกว่า 8,000ล้านบาท แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ เพราะมีหลายตัวแปลที่คอยผลักดันตั้งแต่ต้นทุนการดำเนินงาน ค่าธรรมเนียมในการจัดการการปล่อยสินเชื่อรวมถึงด้านผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจผู้บริโภคด้วย

วันนี้ทหารไทยมีภาพที่สวยงามจากผลการดำเนินงานที่เริ่มสร้างกำไร แต่ความขื่นขมในใจบางประการก็ยังต้องรอหาทางออก เพราะวันนี้การไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน(สลิปส์-แคปส์) ประมาณ 5 พันล้านบาท ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นรูปแบบไหนวิธีใด แต่ไม่ว่าจะเลือกรูปแบบใดก็ตาม แผนการดำเนินของทหารไทยก็ยังต้องวิ่งต่อไป 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 30-10-2006, 09:54 »



นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2543  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=282
 
"กงกฤช หิรัญกิจ" ยกโรงแรมอีสานสู่อินเตอร์
 
related stories
 
50 ผู้จัดการ (2543)
 
search resources
 
กงกฤช หิรัญกิจ
 
 กงกฤช หิรัญกิจ หนุ่มใหญ่วัย 42 ปี เพิ่งจัดงานฉลองในโอกาส ที่โรงแรมสีมาธานี ได้รับใบรับรอง ISO 9002 เมื่อเดือนพฤษภา คม ที่ผ่านมา

กงกฤช เกิดเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2501 เป็นบุตรชายของพ.อ.สมชาย หิรัญกิจ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ จากรั้วจามจุรีในปี 2522 และปริญญาโท (เกียรตินิยม) สาขาเดียวกันในปี 2529 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชีวิตการทำงานของเขาเริ่มต้นเป็นเจ้าหน้าที่เศรษฐกร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ต่อมาปี 2524 ก็ได้ใช้ชีวิตเป็นข้าราชการแบบเต็มตัว ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย และแผน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ก่อน ที่จะลาออกมาดูแล สถาบันวิชาการโรงแรม และการท่องเที่ยวนานาชาติ-ไอทิม ที่ตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2531

ความจริงแล้ว ในระหว่างทำงานกับสภาพัฒน์ กงกฤชได้รับข้อเสนอทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศแคนาดา แต่มีเงื่อนไขว่าจบออกมาแล้วต้อง ทำงานใช้ทุนเป็น 3 เท่าของค่าใช้จ่าย เมื่อชั่งใจดูแล้วว่าหากเดินหน้าเป็นข้าราชการต่อไปหน้าที่การงานคงไม่รุ่ง และเชื่อว่าคงไม่สามารถทำงานได้เต็มที่นัก เพราะโอกาส ที่ข้าราชการประจำจะถูกครอบงำจากการเมืองมีสูง จึงปฏิเสธการรับทุน และยื่นใบลาออกเมื่อปี 2530

หลังจากลาออกแล้ว ได้ปรึกษากับครอบครัว และผู้ใหญ่ ที่นับถือในสภาพัฒน์ ประจวบเหมาะกับพ.อ.สมชาย หิรัญกิจ ได้เกษียนราชการจากตำแหน่งผู้ว่าการ ททท. จึงนำประสบการณ์หน้าที่การงานของพ่อ ที่ได้รับความน่าเชื่อถือจากวงการธุรกิจท่องเที่ยวอยู่แล้ว มาเปิดโครงการเปิดสถาบันวิชาการโรงแรม และการท่องเที่ยวนานาชาติไอทิม (ITIM)

ITIM จดทะเบียนครั้งแรกปี 2531 วงเงิน 2 ล้านบาท จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวจากสวิตเซอร์แลนด์มาช่วยจัดทำหลักสูตร ส่วนตัวเขารับผิดชอบดูแลงานด้านธุรการเป็นหลัก เมื่อเปิดสอนแล้ว ปรากฏว่ามีคนสนใจสมัครเรียนเกินเป้า

ต่อมา เมื่อตระกูลหิรัญกิจเปิดโรงแรมสีมาธานี ในปี 2535 โดยจ้างเครือเชอราตันบริหารอยู่ระยะหนึ่ง และหลังจากเชอราตันได้ถอนตัวออกไป กงกฤชได้เข้ามารับหน้าที่ดูแล กิจการโรงแรมอย่างเต็มตัว ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

เขายอมรับว่าในช่วงเปิดบริการสีมาธานีระยะแรกนั้น ต้องทำงานอย่างหนัก เพราะต้องปรับการทำงานให้เข้าถึงคนในพื้นที่ให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างพฤติกรรมให้คนท้องถิ่นกล้า ที่จะมาใช้บริการโรงแรมให้ได้ โดยเฉพาะในส่วนของห้องอาหาร และจุดบันเทิงประเภทต่างๆ เพราะคนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ยังคิดว่าการเข้าไปใช้บริการในโรงแรมต้องใช้เงินค่อนข้างมาก

ยิ่งในห้วงกว่า 3 ปีที่เศรษฐกิจตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ โรงแรมสีมาธานีประสบปัญหาในเรื่องรายได้ไม่ต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น เขาแก้ปัญหาด้วยการบริหารต้นทุน ตามการผันแปรของรายได้ กล้า ที่จะลดค่าการจัดการภายในทุกจุด ขณะเดียวกันก็ลดค่าบริการใน Outlet ต่างๆ ลง และหันมามุ่งขายปริมาณเป็นหลัก เพื่อสร้างกระแสเงินสดหมุนเวียนประคองกิจการให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติไปก่อน

อย่างไรก็ตาม ในช่วง ที่กำลังซื้อของตลาดบริการหดตัวอย่างหนักนั้น กงกฤชเล่าว่า โรงแรมสีมาธานียังถือความได้เปรียบเจ้าของกิจการรายอื่นในภาคอีสานอยู่ไม่น้อย เพราะเขาได้วางแผนกระจายความเสี่ยงไว้ก่อนหน้าหลายปี โดยไม่มุ่งเน้นการขายไว้ ที่ตลาดหน่วยงานราชการหรือเอกชนเท่านั้น แต่ได้พยายามสร้างฐานตลาดจับลูกค้านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติควบคู่มาด้วยกัน

ด้วยการใช้จุดขายของจังหวัดนครราชสีมา และกลุ่มจังหวัดอีสานใต้ ที่โดดเด่นในด้านแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน ร่องรอยดั้งเดิมแห่งอารยธรรมขอม ซึ่งตลาดกลุ่มนี้เป็นแหล่งรายได้ ที่เข้ามาทดแทนกำลังซื้อของลูกค้าหน่วยงานราชการที่งดการใช้โรงแรมเป็นสถานที่ประชุมสัมมนา ขณะที่บริษัทเอกชนเองก็ลดงบประมาณ เพื่อการนี้ไปจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

กงกฤชกล่าวว่า เป็นความโชคดีของเขาเช่นกัน ที่ได้มีโอกาสทำงานในหน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจของชาติอย่างสภาพัฒน์นานถึง 7 ปี ประสบการณ์ ที่ถูกฝึกให้คิด และทำงานแบบมีการวิเคราะห์วางแผนล่วงหน้านั้น ทำให้เขานำมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจมาโดยตลอด โรงแรมสีมาธานีมีการวางแผน เพื่อให้ถึงเป้าหมายแต่ละระดับทุกๆ 3 ปี
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 30-10-2006, 09:58 »

นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2540 http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4287
 
"ฉัตรชัย บุญยะอนันต์-สิงห์เฒ่าทีจี บทสรุปสายการบินใหม่ใครว่าง่าย?"
 
search resources
 
ฉัตรชัย บุญยะอนันต์
Aviation
 
 
 
 "ในภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้ไม่อยู่ในสถานภาพที่ดีพอจะลงทุน" บทสรุปของฉัตรชัย บุญยะอนันต์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งกล่าวถึงแผนการจัดตั้งสายการบินแห่งชาติสายที่ 2 ที่คงไม่คุ้มหากจะเข้าไปดำเนินการในขณะนี้ แม้ใครจะมองว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็ตาม

ซึ่งก็ปรากฏว่าไม่มีชื่อของลูกหม้อสายการบินแห่งชาติคนนี้เข้าร่วมกลุ่มใดเลย ในการเปิดประมูลรอบใหม่ของกรมการบินพาณิชย์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

บุคคลผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการบินมาตั้งแต่หยุดชีวิตราชการตำรวจไว้ไว้ที่ยศร้อยตำรวจโท เข้าร่วมงานกับสายการบิน SAS ของยุโรปที่มาช่วยบริหารสายการบินของไทยจนรุ่งเรือง และร่วมงานกับบริษัทการบินไทยหลังการจัดตั้งเป็นสายการบินแห่งชาติที่บินออกต่างประเทศเต็มตัว

ตำแหน่งเริ่มต้นเมื่อปี 2514 ก็คือรองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด ด้วยความรู้ที่สะสมจากต่างประเทศหลายสถาบัน บ่งบอกถึงความสามารถที่จะเข้าร่วมกับกิจการสายการบิน อันเป็นงานเชิดหน้าชูตาของคนไทยในสมัยเมื่อ 36 ปีก่อนได้ไม่ยาก

และนับได้ว่างานด้านการบินทำให้บุรุษสูงวัยผู้นี้พร้อมที่จะหวนคืนอีกครั้งหากเป็นไปได้ แม้จะเกษียณจากบริษัทการบินไทยเมื่อเดือนกันยายน 2536 ด้วยตำแหน่งสูงสุดด้านบริหารคือกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ซึ่งใช้ระหัสโค้ดย่อในการบินไทยว่า DD อันเป็นตำแหน่งที่หลายคนหมายปองไม่ว่าจะเป็นคนนอก หรือคนในก็ตาม

ถึงแม้มีกิจการที่ฉัตรชัยรับบริหารงานในธุรกิจส่วนตัวของพล. อ. อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ คือโครงการสนามกอล์ฟ เฟรนชิพ เมโดวส์ คันทรีคลับ ที่บริเวณปากช่องสระบุรีในฐานะรองประธานบริหาร

หรือกระทั่งการนั่งเป็นกรรมการในกลุ่มดุสิตธานีของคุณหญิง ชนัตถ์ ปิยะอุย กับกรรมการบริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดิเวลล๊อปเมนต์ จำกัด ของหมอชัยยุทธ กรรณสูต ตลอดจนรับบริหารโครงการสีลม พรีเชียส ทาวเวอร์ให้กับราศรี บัวเลิศ จนถึงตำแหน่งอันทรงเกียรติด้วยฐานะวุฒิสมาชิกในรัฐสภาไทย ก็ไม่ได้ทำให้คนผู้นี้หยุดคิดเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจการบินไปได้

เริ่มตั้งแต่ฉัตรชัยได้รับการทาบทามให้นั่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณารูปแบบและแนวทางในการจัดตั้งสายการบินแห่งชาติสายที่ 2 สมัยที่ชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อมีการเปิดรับข้อเสนอ ฉัตรชัยก็ได้ร่างแผนงานของการจัดตั้งสายการบินแห่งใหม่ไว้อย่างดี โดยอาศัยประสบการณ์ที่เคยบริหารงานในการบินไทย

แผนงานดังกล่าวไม่ได้ถูกนำออกมาใช้

เพราะเมื่อมีการเปิดให้ยื่นข้อเสนอของเอกชนที่จะจัดตั้งสายการบินแห่งชาติครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนปีที่แล้วปรากฏว่ามีเพียงกลุ่มเดียวที่ยืนหยัดอยู่ได้ ก็คือกลุ่มบริษัท ปริ๊นเซส แอร์ไลน์ซึ่งนำทีมโดยบริษัท เจวีเคโฮลดิ้ง จำกัด ในฐานะตัวกลางผู้สานผลประโยชน์กับธุรกิจกลุ่มอื่นๆ

ครั้งนั้นถึงกับมีการระบุว่า ฉัตรชัยจะเข้าร่วมในฐานะกรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหาร ในฐานะที่คร่ำหวอดด้านการบินมานาน

ข่าวนั้นแม้ไม่ได้รับการยืนยันชัดเจน แค่เป็นเพียงการถูกทาบทามเท่านั้น เพราะกิจการที่ฉัตรชัยร่วมเป็นกรรมการ ต่างก็เตรียมตัวพร้อมเข้าร่วมจัดตั้งสายการบินสายที่ 2 ด้วยไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบริษัท ดุสิตธานี อิตาเลียนไทย แม้กระทั่งราศรี บัวเลิศเองก็ตาม เพียงแต่กลุ่มหลังนี้เป็นการโยงเข้าหากันเท่านั้น ไม่ได้มีสัญญามั่นเหมาะเหมือนกับเพื่อน "กลุ่ม 11" แต่อย่างใด ที่แน่นอนว่าจะหนุนฉัตรชัยเต็มตัว

จนที่สุดกลุ่มปริ๊นเซสฯ ก็กลายเป็นกลุ่มเต็งหามที่ไม่มีใครกล้าทาบเพราะเกรงว่าจะเสียทั้งเงินและเวลาหากเข้าไปเทียบ เนื่องจากมีการประกาศตัวอย่างชัดเจนว่ากลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากภาคการเมือง

การกลับมาของสิงห์เฒ่าอย่างฉัตรชัยจึงไม่เกิดขึ้นและไม่ปรากฏว่มีรายชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งจัดอยู่ใน "กลุ่ม 11" ที่จะมีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนทางการเงินก็ไร้วี่แววในการเสนอตัวครั้งนั้นแม้จะมีศักยภาพสูงเพียงพอก็ตาม

การยื่นเสนอเปิดสายการบินใหม่ในครั้งแรกของกลุ่ม ปริ๊นเซส แอร์ไลน์ จึงปรากฏแต่เพียงพันธมิตร 6 กลุ่มคือนอกจากเจวีเค โฮลดิ้ง แล้วยังมี กลุ่มยูคอม, สยามสตีล กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล, ไทย ฟลายอิ้ง เซอร์วิส, บริษัท อคิวเมนต์ จำกัด และบริษัท อดิสยเทพ ฟิเดลลิตี้ จำกัด เท่านั้น

แต่กลุ่มเหล่านี้ก็ไปไม่ถึงดวงดาวเมื่อแม้จะเป็นรายเดียวที่มาแรงที่สุด เหตุผลเพราะขาดหนังสือค้ำประกันจำนวน 500 ล้านบาทที่ต้องยื่นให้กับทางกรมการบินพาณิชย์ จนทำให้ต้องถูกล้มประมูลไปในที่สุด

แม้การประมูลรอบใหม่จะเปิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมาจะยังคงมี ปริ๊นเซสแอร์ไลน์เสนอตัวอีกครั้ง โดยมีกลุ่มม้ามืดนอกสายตาอันได้แก่กลุ่มบริษัท ดาต้า คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งไม่มีประสบการณ์ด้านการบินมาก่อนเข้ามาร่วมประชันข้อเสนอก็ใช่ว่าปริ๊นเซส แอร์ไลน์ จะได้รับชัยชนะ เพราะพันธมิตรกระเป๋าหนักที่เปลี่ยนขั้วไปอย่างแทบไม่เหลือ คงไว้แต่เจวีเค โฮลดิ้งในฐานะแกนนำอย่างเดิมเท่านั้น

โดยกลุ่มเจวีเคก็อาศัยวิทยา บัณฑิตกฤษดาเป็นแกนหลักในการเดินเรื่องออกหน้าเพื่อติดต่องาน ส่วนกลุ่มที่จะเข้ามาร่วมนั้น คงเป็นภายหลังที่กลุ่มนี้สามารถได้รับใบอนุญาตสำเร็จ

เห็นได้จากรายชื่อของผู้ร่วมก่อตั้งในรอบสองประกอบด้วย บริษัท เวิลด์ไวด์ เทรดดิ้ง แอนด์ ซัพพลายเออร์ จำกัด, บริษัท พีค แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนท์ เซอร์วิสเซส จำกัด

ซึ่งก็ไม่มีใครกล้าประกันได้ว่าใครจะเป็นผู้แสดงตัวในการรับเป็นผู้บริหารสายการบินใหม่หากได้รับการคัดเลือก เพราะฉัตรชัยเองก็บอกแต่เพียงว่ายังไม่รับบริหารให้ใครหากเงื่อนไขยังไม่เข้าตา

ที่สำคัญกลุ่มพันธมิตรที่เคยคิดจะชูบทบาทของฉัตรชัย ขึ้นมาเป็นผู้บริหารสายการบินแห่งชาติสายใหม่แข่งกับการบินไทยนั้นไม่มีใครพร้อมที่จะลงทุน

ฉัตรชัยระบุเงื่อนไขในการจัดตั้งสายการบินใหม่ที่เขาเขียนขึ้นกับมือเองนั้นต้องใช้เงินลงทุนอย่างต่ำ 5,000 ล้านบาท ขณะที่รับบาลกำหนดไว้ที่ 3,000 ล้านบาท

เงินจำนวนมหาศาลขนาดนั้นในยุคเศรษฐกิจฟุบเช่นนี้เป็นการยากที่จะมีนักลงทุนเสี่ยงตายมาร่วม หรือสถาบันการเงินที่ใจป้ำพร้อมที่จะปล่อยกู้ให้กับโครงการก็คงมีน้อยรายเช่นกัน

ในขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนก็ใช่ว่าจะได้มาคล่องตัว เพราะสายการบินใหม่ที่เปิดบินไปต่างประเทศทับเส้นทางการบินไทย ยังต้องพึ่งพารัฐ และการเมืองในการเจรจาสิทธิการบินให้ และใช่ว่าฝ่ายรัฐจะให้การสนับสนุนแล้วจะเปิดบินได้ ก็ต้องดูประเทศที่จะเปิดทำการบินกับไทยด้วยว่าพร้อมที่จะรับเพิ่มสายการบินใหม่ด้วยหรือเปล่า

ถ้าจะให้รุ่งก็ต้องบินเฉพาะในประเทศไทยที่รัฐบาลสามารถจัดสรรเรื่องเส้นทางการบินให้โดยไม่ยากไปก่อน โดยสายการบินใหม่ต้องได้สิทธิ์การบินภายในประเทศทั้งหมดตามเงื่อนไขทีโออาร์ บินทับเส้นทางของการบินไทยได้ เพื่อเปิดให้มีการแข่งขันเสรี และให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือก

แต่สิ่งที่ฉั้ตรชัยย้ำเตือนกับสายการบินผู้มาใหม่ก็คือการเสนอตัวเข้าเปิดทำการบินนั้น ไม่ใช่มีเพียงแค่ข้อเสนอธรรมดาที่ไม่มีแผนการบินที่แน่นอนและชัดเจน เพียงทำเพื่อให้ได้สิทธิ์ใบอนุญาตในการจัดตั้งบริษัทเท่านั้น แล้วเรื่อการบริหารค่อยกันทีหลัง เพราะเงื่อนไขรัฐต้องการให้เปิดทำการบินให้ได้ภายใน 1 ปี ซึ่งหากทำไม่ได้ก็เท่ากับไม่เป็นการสร้างสรรค์ให้กับธุรกิจการบินของประเทศพัฒนาไปในทางที่ดี

และสิ่งที่ผู้คร่ำหวอดกับวงการบินผู้นี้ย้ำเตือนก็คือสายการบินแห่งชาติใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยสำหรับมือใหม่

 


บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 30-10-2006, 10:06 »



Search Results:  http://www.gotomanager.com/search/default.aspx?search=%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b9%8c%20%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%93%e0%b8%a7%e0%b8%93%e0%b8%b4%e0%b8%81

People > ชาลอต โทณวณิก http://www.gotomanager.com/resources/?id=3748
People > ชนินทธ์ โทณวณิก  http://www.gotomanager.com/resources/?id=24429
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 30-10-2006, 10:16 »



ผู้จัดการรายสัปดาห์14 มีนาคม 2548  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=38280
 
แข่งขันเดือดโรงแรมย่านรัชดา ปรับเปลี่ยนเชนบริหารท้าชน
 
search resources
 
โรงแรมฟอร์จูน
Hotels & Lodgings
ดิลก มหาดำรงค์กุล
 
ตลอดเส้นทางบนถนนรัชดา ณ วันนี้ที่คราคร่ำไปด้วยแหล่งธุรกิจและบันเทิงมากมาย ทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงกลุ่มเป้าหมายเริ่มส่อเค้าที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะธุรกิจด้านโรงแรมที่กำลังปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทุกรูปแบบหยิบเอาการตลาดแบบถึงลูกถึงคนเข้ามาหวังชิงส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ชื่อนี้คงไม่คุ้นหูคนไทยเท่าไรนักเพราะเป็นเชนใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ แต่การเปิดตัวแบบไม่ธรรมดาของกลุ่มโรงแรมนี้ดูจะสร้างสีสันความเพิ่มร้อนแรงต่อธุรกิจโรงแรมไม่น้อย ด้วยการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องหลังจากที่รีแบรนดิ้งใหม่ทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้นบาททีเดียว

การสร้างภาพลักษณ์ถือเป็นยุทธวิธีหนึ่งที่กลุ่มผู้บริหารโรงแรมสวิทโฮเต็ล พยามนักหนาที่จะปูพรมทำให้คนรู้จักชื่อภายใต้โลโก้ใหม่ที่ถูกเปลี่ยนไปจากเดิม เริ่มจากกิจกรรม Goes to the top ที่ถูกจัดขึ้นบริเวณหน้าโรงแรมติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์เต็มๆมีทั้งวงดนตรีและการแสดงโดยเฉพาะทอล์คโชว์จากบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน

จากนั้นจึงดำเนินต่อด้วยกิจกรรม Hello Bangkok ใช้เหล่าศิลปินดาราที่มีชื่อเสียงเข้ามาร่วมทำการโปรโมตแจกของตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงเส้นทางย่านธุรกิจอื่นๆอีกด้วย

ขณะเดียวกันกิจกรรมต่อเนื่องแบบ Mobile Suite ถูกจัดให้มีขึ้นด้วยการนำรถบรรทุกมาจัดสร้างและตกแต่งให้เป็นห้องพักจำลอง โดยเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางต่างๆในย่านธุรกิจเช่นกัน

ปิดท้ายด้วยกิจกรรม Grand Opening ที่ถูกจัดขึ้นต่อเนื่องหลังจากที่กิจกรรมทั้งสามได้แล้วเสร็จ

"กิจกรรมดังกล่าวนับว่าเป็นสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นสำหรับวงการธุรกิจโรงแรมไทย ดังนั้นการที่สวิสโฮเต็ล นำมาเสนอครั้งนี้จึงนับว่าได้สร้างกระแสการแข่งขันที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนและตรงที่สุด"จันทิชา มหาดำรงค์กุล กรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการ โรงแรม สวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ กล่าวพร้อมกับเสริมอีกว่า

โรงแรมได้ทำการเปลี่ยนชื่อโรงแรมเมอร์ชั่น คอร์ท ณ อาคาร เลอคองคอร์ด กรุงเทพฯ เป็น โรงแรมสวิสโอเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารให้เป็นระบบแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นโรงแรมแรกในโลกของเครือสวิสโฮเต็ลที่ปรับเปลี่ยน ซึ่งจะใช้การบริหารที่คล่องตัวในแบบฉบับของไทยมากขึ้น โดยมีระยะเวลาบริหาร 10 ปี

"ที่ผ่านมาโรงแรมได้มอบให้บริษัท ราฟเฟิลส์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ทเข้ามาบริหาร ในชื่อโรงแรมเมอร์ชั่น คอร์ท ณ อาคาร เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ แต่ต่อมานโยบายการบริหารของราฟเฟิลส์ ที่ต้องการให้การบริหารโรงแรมในเครือมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น จึงได้ตกลงที่จะยกระดับโรงแรมเมอร์ชั่นคอร์ทในเครือทั้งหมด เป็นกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทในเครือสวิสโฮเต็ล ตามนโยบายทางการตลาดของกลุ่ม" จันทิชา กล่าวและมั่นใจว่า

หลังการรีแบรนด์คาดว่าจะช่วยเพิ่มตลาดนักธุรกิจจาก 60% เป็น 70% ส่วนกลุ่มลูกค้าที่เป็นลูกเรือของสายการบินจะลดจาก 20% เป็น 10% และมีอีก 20% เป็นนักท่องเที่ยวทั่วไป โดยคาดว่าผลการดำเนินงานจะดีขึ้น หลังการยกระดับโรงแรม จะทำให้สามารถเพิ่มค่าห้องพักด้วยเช่นกัน และทำให้กำไรเพิ่มจากปี 2547 ที่มีราว 140 ล้านบาท เป็น 180-200 ล้านบาทในปี 2548

ทั้งหมดน่าจะมาจากความอิสระในการบริหารการจัดการที่เป็นระบบแฟรนไชน์รวมถึงความสะดวกสบายในด้านการคมนาคมและใกล้กับแหล่งบันเทิงต่างๆอีกด้วย

"ฟอร์จูน"คลื่นใต้น้ำ

การโหมทำโปรโมชั่นของธุรกิจโรงแรมในช่วงนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับการเปิดตัวและทำกิจกรรมต่อเนื่องของกลุ่มสวิสโฮเต็ล กำลังสร้างกระแสการแข่งขันให้มีความรุนแรงมากขึ้นย่านถนนรัชดาโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมในระดับเดียวกันอย่าง "ฟอร์จูน"คงจะนิ่งเฉยไม่ได้แน่ กลยุทธ์ทุกอย่างจึงถูกก่อตัวขึ้นมาภายใต้กระแสของการแข่งขันที่รุนแรง การทุ่มทุนกว่า 75 ล้านบาทของกลุ่มฟอร์จูนเพื่อรีแบรนดิ้งใหม่ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเช่นกัน ขณะที่การแข่งขันด้านการตลาดเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้น

ฟอร์จูน กำลังติดต่อดึงกลุ่มมืออาชีพอย่างแอคคอร์ กรุ๊ป เข้ามาบริหารจัดการ แต่คาดว่าน่าจะใช้ชื่อแบรนด์เมอร์เคียว โดยจะเปลี่ยนชื่อเป็น แกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ ในปลายปี48 นี้

การชิงเปลี่ยนชื่อใหม่และสร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวเองของเชน สวิสโฮเต็ล จึงนับว่าเดินนำไปเพียงก้าวหนึ่งในโรงแรมระดับเดียวกัน เพราะการดึงเชนแอค์คอร์ ให้เข้ามาบริหารจัดการโรงแรมฟอร์จูนครั้งนี้นอกจากจะเป็นการท้าชนอย่างชัดเจนแล้ว แอคคอร์ยังเป็นเชนบริหารที่มีประสบการณ์รวมถึงเครือข่ายฐานลูกค้าทั่วโลกที่มีอยู่ในมือเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน

นอกจากนี้การเข้าบริหารโรงแรมฟอร์จูน ของแอคคอร์ ยังถือเป็นก้าวสำคัญในการรุกขยายเครือข่ายโรงแรมเมอร์เคียวในภูมิภาคเอเชียด้วย หลังจากเมื่อไม่นานมานี้ แอคคอร์ได้ดำเนินการบริหารโรงแรมในเครือ 2 แห่งในภูมิภาคนี้ ได้แก่ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ร็อกซี่ ปาร์ค ประเทศสิงคโปร์ และโรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟีนิกซ์ ย็อกยาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย

แม้ว่าทั้งสองกลุ่มธุรกิจโรงแรมจะมีฐานลูกค้าอยู่ในมือส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มลูกค้าประชุมสัมนาที่เป็นคนไทยก็มีความหมายไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นเป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองกลุ่มธุรกิจโรงแรมกำลังเร่งปรับปรุงห้องประชุมให้มีขนาดความจุได้ปริมาณมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ธุรกิจโรงแรมคือสินค้าประเภทหนึ่งเป็นโจทย์ที่หาคำตอบได้ยากมากเนื่องจากเป็นการให้บริการ ไม่ว่าการต่อสู้ระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจจะมีความเข้มข้นมากเท่าใด แต่ที่แน่นอนที่สุดผลที่ออกมาจะตกไปอยู่กับผู้บริโภคเสมอ

5 ปีกับเมอร์ชั่นคอร์ทถึงสวิสโฮเต็ล

2 ธันวาคม 2542 ตระกูลมหาดำรงค์กุล ที่มี ดิลก มหาดำรงค์กุล เป็นแกนนำริเริ่มก่อสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาวขึ้นย่านถนนรัชดาภายใต้ชื่อ เมอร์ชั่นคอร์ด โฮเต็ล แอท เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ ด้วยความที่ไม่ชำนาญพอกับธุรกิจด้านโรงแรมที่ต้องทำตลาดและเจาะกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ จึงต้องจ้างเชน ราฟเฟิลส์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท เข้ามาบริหารจัดการ

ปัจจุบันเชน ราฟเฟิลส์ อินเตอร์ฯได้ซื้อกิจการโรงแรมและรีสอร์ทภายใต้ชื่อสวิสโฮเต็ล เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเชนราฟเฟิลส์ อินเตอร์ฯ มีผลทำให้โรงแรมในกลุ่มราฟเฟิลส์ อินเตอร์ทั้งหมดต้องเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมสวิสโฮเต็ล ทันที ขณะเดียวกันเชนราฟเฟิลส์ อินเตอร์ฯยังคงให้ความเชื่อมั่นเจ้าของโรงแรมและผู้บริหารของบริษัทเลอ คองคอร์ด โฮเต็ล จำกัด ดำเนินการบริหารงานในระบบเฟรนส์ไชน์เป็นแห่งแรกในโลก ภายใต้ชื่อ สิวสโฮเต็ล และเป็นที่มาของโรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ ซึ่งนับจากเปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบันนับได้ว่ากลุ่มมหาดำรงค์กุลใช้เวลานานกว่า 5 ปีที่ประกอบธุรกิจโรงแรมจนถึงขั้นได้เป็นเฟรนไชส์ "สวิสโฮเต็ล"และเป็นแห่งแรกของโลก 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 30-10-2006, 10:21 »

ผู้จัดการรายสัปดาห์2 มกราคม 2549  http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=44291
 
"2 บิ๊ก"เศรษฐกิจฯชี้ศก.ปี 49 ปัจจัยลบเพรียบ-เตือนประชาชนยึดศก.พอเพียง
 

Charts & Figures
 
ตารางประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2548 และ 2549
 
search resources
 
ประมนต์ สุธีวงศ์
ประพัฒน์ โพธิวรคุณ
Economics
 
 
ประธานหอการค้า-ประธานสภาอุตฯ ชี้ ปี 49 ปัจจัยลบมากขึ้นกว่าปี 48 แนะประชาชนอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ส่วนผู้ประกอบการตั้งปรับกลยุทธ์ เน้นปรับปรุงประสิทธิภาพ คน มากกว่า ลดต้นทุนการผลิต

ปีไก่ผ่านไปเข้าสู่ปีจอ สิ่งหนึ่งที่ทุกคนอยากทราบกันก็คือ ปี 2549 ที่จะเกิดขึ้นนี้บรรดาผู้ประกอบการต่าง ๆ รวมไปถึงประชาชนควรจะวางแผนหรือกำหนดทิศทางการบริหาร จัดการไปในทิศทางใดเพื่อเตรียมรับกับภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในปี 2549

หอการค้าเตือนปีหน้าลดฟุ่มเฟือย

ประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าไทย ระบุ ว่าสภาวะเศรษฐกิจในปี 2549 จะไม่แตกต่างไปจากปี 2548 แต่ประชาชนทั่วไปควรที่จะลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตไปด้วย เพราะปัจจัย ดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยหลักที่จะเข้าแบ่งเงินในกระเป๋าให้ลดลง แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะมีทิศทางทรงตัวอยู่ 50-55 เหรียญสหรัฐ / บาร์เรล แต่คาดว่าปัจจัยดอกเบี้ยและเงินเฟ้อจะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการวางแผนใช้ชีวิตในอนาคตของคนไทย

"คาดว่า ภาวะอัตราเงินเฟ้อในปีหน้าเฉลี่ยจะมีอัตราที่สูงขึ้นกว่าปี 2548 ดอกเบี้ยก็อยู่ในอัตราขาขึ้น จึงทำให้การวางแผนใช้ชีวิตในปี 2549 ต้องลดภาระการก่อหนี้เป็นสำคัญ อีกทั้งไม่ควรที่จะมีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นในชีวิต เช่นเคยพาครอบครัวไปเที่ยวต่างประเทศทุกปี ปีหน้าก็คงต้องหยุดบ้าง เพราะเกรงว่ารายได้จะโตไม่ทันกับรายจ่ายที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ก่อหนี้ ก็ต้องระวังมากยิ่งขึ้น "

อย่างไรก็ตาม ประธานหอการค้ายังมองว่า ภาคเศรษฐกิจโดยรวม มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อย่างดี แม้จะมีบางภาคการผลิตจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ยังภาคอุตสาหกรรมในประเทศบางตัวน่าสนใจและจะเป็นดาวเด่นในปี 2549

ส่งออกบูมสวนทางอสังหาฯ

สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่น่าสนใจสำหรับปี 2549 นั้น ประมนต์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมส่งออกนั้น คาดว่าไทยจะโตตามประเทศญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจกำลังพลิกฟื้นขึ้นมา ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย น่าจะมีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้นจากเดิม โดยเฉพาะอาหารประเภทอาหารแช่แข็งถือว่าเป็นดาวเด่นการส่งออกที่สำคัญในปี 2549 อีกทั้งการได้รับการสนับสนุนจากมาตรการของรัฐบาลที่มีการกระตุ้นการส่งออกมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น การลดความยุ่งยากในการติดต่อระหว่างภาครัฐและเอกชน การกระตุ้นให้เอกชน ให้เร่งพัฒนาคุณภาพสินค้า และได้รับปัจจัยบวกเพิ่มจากการได้รับ สิทธิพิเศษ GSP จากสหภาพยุโรปในปีหน้า ยิ่งทำให้ภาคเกษตรส่งออกไทยสดใสมากยิ่งขึ้น

ด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมส่งออกอยู่ในภาวะที่อยู่ในขั้นที่ดี เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2549 เกิดจากการสนับสนุนของภาครัฐจึงคาดว่า ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์จะเป็นดาวเด่นในปี 2549 ได้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดีการเติบโตของภาคส่งออกและอุตสาหกรรมยานยนต์ จะสวนทางกับภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยดอกเบี้ยในภาวะขาขึ้น และเงินเฟ้อที่เข้ามากระทบเงินในกระเป๋ามากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ลูกค้ามีความลังเลใจที่จะซื้อสินค้ามากขึ้นตามลำดับ เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีรายได้เข้ามาทันกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ซึ่งนำไปสู่การชะลอการตัดสินใจซื้อที่พักอาศัย

"จากเดิมดอกเบี้ยไม่สูง ซื้อบ้านได้ราคา 3 ล้าน แต่พอดอกเบี้ยขึ้นไปสูง ต้องลดยอดซื้อบ้านลงแค่ 1 ล้านกว่าบาท เพื่อให้ยังพอมีกำลังผ่อนส่งในแต่ละเดือนได้"

เมกกะโปรเจกท์ดาบสองคม

ในส่วนของเมกกะโปรเจ็กที่จะมีเม็ดเงินลงทุน 1.7 ล้านบาท ที่จะเกิดขึ้นในปี 2549 นั้น ประธานหอการค้าไทยมองว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียที่จะเกิดขึ้น เพราะถ้ามองว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการจ้างงานในอนาคตที่จะเกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นโอกาสอันดีในการกระจายรายได้ แต่ในทางกลับกันถ้าการจ้างงานกระจุกตัวแค่ผู้รับเหมาเพียงรายเดียว การกระจายรายได้ก็คงจะไม่สามารถกระจายไปได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งกังวลในการใช้เงินกู้จากต่างประเทศและการนำเข้าสินค้าไม่ว่าจะเป็น เครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ามากยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงควรเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า

หากจะมองถึงปัจจัยทางการเมืองเชื่อว่าปี 2549 การเมืองจะมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจในการลงทุน เพราะปี 2548 ทั้งปีนักลงทุนส่วนใหญ่ต่างกำลังรอดูท่าทีภาวะโดยรวม ไม่มีการสต็อกสินค้าอย่างที่เคยเป็นมา แต่คาดว่าในปี 2549 นักลงทุนจะมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น

เช่นเดียวกับประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่มองว่าปี 2549 สภาพเศรษฐกิจไทยจะไม่แตกต่างจากปี 2548 มากนัก ผู้ประกอบการเองก็ต้องเตรียมรับมือกับปัจจัยลบต่างๆที่จะเข้ามา

สภาอุตฯ คาดปี 49โต 10-12%

ประพัฒน์ โพธิวรกุล ประธานสภาอุตสาหกรรม คาดในปี 2549 นี้ภาคอุตสาหกรรมไทยจะมีการขยายตัวร้อยละ 10-12% โดยสินค้าอุตสาหกรรมการส่งออกจะดีขึ้น อันได้แก่ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย ด้วยเหตุผลว่า ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้น ส่วนการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกมากขึ้นจากความต้องการที่ยังมีอยู่ของตลาดโลก และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็คาดว่าจะมีทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้นด้วย ขณะที่การบริโภคของภาคเอกชนจะยังคงถูกกดดันทั้งจากราคาน้ำมัน และแนวโน้มการปรับตัวขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศ และแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน จะส่งผลให้กดดันต่อการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ประกอบการควรที่จะจับตาสัญญาณเหล่านี้ให้ดีในปี 2549

"ประชาชนทั่วไปควรยึดการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เพราะปี 2549 ปัจจัยลบต่างๆจะสูงกว่าปี 2548"

เตือนผู้ประกอบการปรับตัวรับปัจจัยลบ

ประธานสภาอุตสาหกรรม ย้ำว่า จะเป็นการดีถ้าผู้ประกอบการไม่ประมาท แม้การส่งออกจะผลดีขึ้นแต่ปัจจัยลบยังคงมีอยู่ ทำให้ผู้บริโภคชะลอตัวการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้น อันเนื่องมาจาก ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และดอกเบี้ย ผู้ประกอบการจึงควรที่จะปรับตัวเองให้มีความพร้อมรับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในช่วงราคาที่สูงอยู่ อีกทั้งภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรมองหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆและไม่ควรที่จะเพิ่มภาระหนี้สินมากเกินไป

นอกจากนั้นผู้ประกอบการควรที่จะปรับกลยุทธ์ด้านการบริหาร จากเดิมที่พยายามลดต้นทุนเพียงอย่างเดียวเพื่อให้ได้กำไรสูง แต่เมื่อต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ ผู้ประกอบการควรที่จะเน้นการเพิ่มคุณภาพของบุคลากร เพราะนอกจากจะเพิ่มคุณภาพสินค้าแล้วยัง ลดรายจ่ายอันเนื่องจากความบกพร่องที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย

เผชิญหน้าขาดแคลนแรงงาน

นอกจากปัจจัยลบที่จะเกิดขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยลบอย่างหนึ่งที่ประธานสภาอุตสาหกรรมเป็นห่วงก็คือ การขาดแคลนแรงงานของทุกภาคอุตสาหกรรม อันเนื่องมากจากปี 2549 ไทยจะขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในทุกภาคอุตสาหกรรม ทั้งชิ้นส่วนยานยนต์และเมกกะโปรเจ็ก จึงทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะแรงงานมีฝีมือ อีกทั้งเด็กไทยมีค่านิยมที่จะเรียนระดับมหาวิทยาลัยมากขึ้น ดังนั้นจึงขาดแคลนแรงงานในระดับกลาง จบวุฒิ ปวช. ปวส. แม้ทางรัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือโดย นำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทย เช่นประเทศลาว เพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนแรงงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2549 เพื่อแก้ปัญหาได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาวก็คงต้องมีการประสานงานกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับกลาง
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 30-10-2006, 10:25 »



ผู้จัดการรายวัน3 กันยายน 2546
 
อัญมณีไทยโตสุดรอบ6ปีดันสู่ศูนย์กลางตลาดโลก http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=7834


search resources
 

ชมรมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาตรฐาน
พรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล
 
ชมรมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาตรฐาน ชี้ปีนี้ตลาดอัญมณีไทยโต 30% สูงสุดในรอบ 6 ปี หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำตลาดซบ ชมรมฯจับมือร่วมททท.เร่งจัดโรดโชว์ประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ พร้อมเล็งขยาย ตลาดอัญมณีไปยังกลุ่มวัยรุ่น จีน ยุโรป และอเมริกา อนาคตดันไทยเป็นศูนย์ กลางการค้าทับทิม และไพลินสีน้ำเงินระดับโลก เร่งแก้ปัญหาหลอกลวงนักท่อง เที่ยว ตั้งเป้า 3 ปี โกยรายได้ในประเทศ 60,000 ล้านบาท

นายพรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล ประธานชมรมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาตรฐาน เปิดเผยว่าภาพรวมตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในปีนี้มีแนวโน้ม ที่เติบโตสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา จากเดิมมีอัตราการเติบโตปีละประมาณ 10-15% คาดว่าในปีนี้สภาพตลาดจะเติบโตถึง 20-30% ถือเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี นับจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในประเทศและนอกประเทศอยู่ในภาวะที่ดีขึ้น

สำหรับแผนการทำตลาดในต่างประเทศ ชมรมฯ ได้วางแผนใช้กลยุทธ์การจัดโรดโชว์ โดยร่วมกับการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และการจัดบูทแสดงสินค้าในประเทศที่เป็นตลาดหลัก อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจุบันทำสัดส่วนรายได้เข้าประเทศ ถึง 30% ญี่ปุ่น 18% ยุโรป 15% และอื่นๆ 37% จากมูลค่าการส่งออกพลอยและอัญมณีกว่า 30,000 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าการส่งออกโดยรวมกว่า 1 แสน ล้านบาท

พร้อมกันนี้ชมรมฯได้วางแผนกระตุ้นตลาด ด้วยการพัฒนารูปแบบของอัญมณีให้เป็นแฟชั่นมากขึ้น เพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมายไปยังเด็กวัยรุ่น จากที่ผ่านมากลุ่มเป้าหมายหลักส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ใหญ่ โดยได้เริ่มทดลองตลาดในญี่ปุ่นซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนขยายตลาดอัญมณีให้เป็นแฟชั่นมากขึ้น เบื้องต้นจะขยายตลาดไปประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป

"สำหรับภาวะการแข่งขันอัญมณีในตลาดโลก ขณะนี้ถือว่าไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงทาง ด้านอัญมณีเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งมีเพียงศรีลังกาประเทศเดียวเท่านั้นที่เป็นคู่แข่ง แต่ยังมีการพัฒนาทางด้านฝีมือรวมถึงความประณีตห่างไกลกว่าประเทศไทยอีกมาก จึงมั่นใจว่าหาก ไทยเร่งจัดกิจกรรมในตลาดต่างประเทศมากขึ้น จะสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอีกมาก ส่วนเป้าหมายในอนาคต ทางชมรมฯจะร่วมกันผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าทับทิมและไพลิน สีน้ำเงินระดับโลก" นายพรสิทธิ์ กล่าว

กรณีที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดหลัก กำลังประสบภาวะทางเศรษฐกิจ ขณะนี้ทางชมรมฯได้วางแผนจะขยายตลาดไปยังประเทศจีน อินเดีย แอฟริกา สแกนดิเนเวีย รัสเซีย เพื่อรองรับแทนตลาดสหรัฐอเมริกาแล้ว จึงมั่นใจว่ารายได้ดังกล่าวจะไม่ลดลง

สำหรับแผนการทำตลาดในประเทศ ขณะนี้ทางชมรมฯ ได้เร่งจัดกิจกรรมอย่างหนัก เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นตลาดอัญมณีอย่างต่อเนื่อง จากในปีที่ผ่านมาได้จัดโครงการส่งเสริมการ ขายทับทิม (Ruba Year 2002) ร่วมกับประเทศญี่ปุ่นสามารถกระตุ้นส่งผลให้การส่งออกทับทิมเจียระไนเพิ่มขึ้นถึง 60%

ล่าสุดชมรมฯจัดโครงการส่งเสริมการขายพลอยน้ำเงิน (Blue Sapphire) ภายใต้สโลแกน "สุดยอดพลอยน้ำเงินสุดยอดแห่งรัก" หรือ "Ultimate Blue Ultimate Love" ด้วยการประกวดพลอยสีน้ำเงิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทพลอยน้ำเงินขนาด 5-7 กะรัต พลอยประเภทขนาดฟรีไซส์ 10-200 กะรัต และ ประเภทพลอยน้ำเงินไทย ขนาด 5 กะรัตขึ้นไป ซึ่งจะตัดสินรอบสุดท้ายในงานแสดงสินค้า บางกอกเจมส์ ครั้งที่ 32 ในวันที่ 12 กันยายน 2546 เวลา 16.00-18.00 น. ที่ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอิมแพค เมืองทองธานี โดยคาดว่างาน ดังกล่าวจะกระตุ้นกำลังซื้อในตลาดได้ไม่แพ้ในปีที่ผ่านมา

พรัอมกันนี้ชมรมฯยังได้ร่วมมือกับภาครัฐบาล แก้ปัญหาการหลอกลวงนักท่องเที่ยวต่าง ประเทศซื้ออัญมณีปลอม ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้ โดยคาดว่าหากภาครัฐและเอกชน ร่วมมือกันแก้ไขดังกล่าวได้ ภายในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้ ไทยจะมีรายได้จากการจำหน่ายอัญมณีถึง 60,000 ล้านบาท สำหรับในปีนี้ตั้งเป้าจะมีอัตราการ เติบโต 20-30% จากในปีที่ผ่านมามีรายได้เพียง 30,000 ล้านบาท

 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 30-10-2006, 10:31 »



ผู้จัดการรายวัน22 ตุลาคม 2546   http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=9719
 
ปิดฉากซัมมิตซีอีโอเอเปกเน้นสานต่อความร่วมมือ
 
search resources
 

APEC
เฟิร์สต์ ชาร์ลตัน คอมมิวนิเคชั่นส์
สมาคมธนาคารแห่งชิลี
สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปก - ABAC
มหาเดร์ มูฮัมหมัด
วิพรรธ์ เริงพิทยา
วัชระ พรรณเชษฐ์ คอลิน พาวเวลล์
หู จิ่น เทา
ปีเตอร์ ชาร์ลตัน
เฮอร์แนน ซอมเมอร์วิลล์
 
 
เอเปก ซีอีโอ ซัมมิต 2003 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งปิดฉาก วานนี้ ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยซีอีโอกว่า 500 คน ส่วนใหญ่ เห็นว่า เขตค้าเสรีจำเป็น รัฐต้องลงทุนด้านสาธารณูปโภค ต้องสานต่อความเป็นหุ้นส่วน ชาติ-แปซิฟิกเอเชีย พร้อมหนุนแนวคิด "มหาเธร์" ค้าเสรีต้องเสมอภาคทุกด้าน พร้อมหนุนการเจรจาการค้ารอบโดฮา ขณะที่การประชุมสะท้อนความสำเร็จใช้วัฒนธรรมไทยผสมผสานวัฒนธรรมทั่วโลก สร้างบรรทัดฐานด้านนี้ในอนาคต ด้านผู้นำทางธุรกิจวิจารณ์การ ประชุมสุดยอดเอเปก ห่างเหินจากประชาชนคนเดินดิน และขาดความมุ่งมั่นในการผลักดันการเจรจาการค้าโลก

นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ประธานอำนวยการจัดประชุม สุดยอดผู้นำเอกชนเอเปก (APEC CEO Summit 2003) กล่าววานนี้ (21 ต.ค.) ว่าการจัดงานประชุม สุดยอดผู้บริหารเอกชน APEC CEO Summit 2003 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ 18-21 ต.ค. โดย คณะทำงานประกอบด้วย สภาหอ การค้าไทย สภาอุตสาหกรรมไทย และสมาคมธนาคารไทย ประสบความสำเร็จอย่างสูง

การประชุมครั้งนี้ มีตัวแทนผู้บริหารสูงสุดภาคเอกชนทั่วโลก เยี่ยมชมงานและร่วมประชุมสัมมนา หัวข้อต่างๆ ถึงกว่า 500 คน ยังไม่รวมประสบการณ์ ความรู้ ตลอด จนวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารเอกชนต่างแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นประโยชน์พัฒนา เศรษฐกิจประชาคมเอเปกให้ก้าวสู่โลกยุคหน้าของการค้าได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคง เป็นไปตามเป้าหมายหลัก ทั้งเวที APEC CEO Summit และเวทีเอเปกใหญ่ ที่ตั้งความหวังไว้

"การประชุมครั้งนี้ ให้ความชัดเจนของ การค้าเสรี (Free Trade) ว่าเป็นสิ่งจำเป็น และเห็นพ้องกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกทุกระดับการเจรจา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทคณะทำงาน APEC CEO Summit 2003 ทำให้ความร่วมมือภาคเอกชนเกิดขึ้นได้อย่างมากมายตลอด 3 วันของการประชุมสัมมนา" นายวัชระกล่าว

เขากล่าวว่า คณะทำงาน APEC CEO Summit 2003 มีข้อสรุปหลายประเด็น ประการ แรก คือจากนี้ต่อไปต้องเกิดความร่วมมือกันทุกฝ่ายของประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกเพื่อสร้างบรรยากาศเป็น "หุ้นส่วน" ซึ่งกันและกัน ที่จะลดความแตกต่าง อำนวยความสะดวกต่างๆ ต่อกันทำธุรกรรมการค้าและเศรษฐกิจ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษี ความมั่นคง ความปลอดภัย พลังงาน ทรัพย์สินทางปัญญา เทคโนโลยี และการสื่อสาร ตลอดจนส่งเสริมเกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นทุกจุด ทุกระดับ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาคม

นอกจากสร้าง "หุ้นส่วน" ซึ่งกันและกัน ที่ประชุม APEC CEO Summit 2003 ยังเห็นว่า เป็นหน้าที่ทุกฝ่ายประชาคมนี้ ที่ต้องสร้างธรรมาภิบาล และบรรษัทภิบาล เพื่อให้การเป็น "หุ้นส่วน" ต่อกันก้าวหน้า ยั่งยืน และขยายการเติบโต เศรษฐกิจของเอเปก

หนุนมหาเธร์ค้าเสรี

อย่างไรก็ตาม คณะทำงาน APEC CEO Summit 2003 ยังเห็นด้วยกับถ้อยแถลงของ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ว่า โลกการค้าที่เสรีต้องเสมอภาคทุกๆ ด้าน และ ทุกๆ ฝ่ายร่วมอยู่ด้วย ไม่ว่าด้านประเทศ ภูมิภาค ความแตกต่างด้านพัฒนาขีดความสามารถเศรษฐกิจ ตลอดจนถึงภาคเอกชน และปัจเจก บุคคล

ประการที่ 2 คณะทำงาน APEC CEO Summit 2003 ใช้ความพยายามตลอดเวลาจัดงาน สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ผ่านกิจกรรม วัฒนธรรม และการสังสรรค์ เพื่อสร้างมิตรภาพร่วมกันระหว่างผู้บริหารสูงสุดภาคเอกชน

หนุนเป้าหมายโดฮา

ด้วยการอยากเห็นบรรยากาศกระตือรือร้น นี้ สร้างความร่วมมือทุกฝ่าย ทุกระดับ เพื่อส่งสัญญาณไปยังเวทีประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก 2003 ว่าจะสนับสนุนผลักดันเป้าหมายโดฮา ที่เป็น ความหวังทุกฝ่ายให้ประสบความสำเร็จรวดเร็วที่สุด

"เราเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือร่วมทุนกันของ ภาคเอกชน จะเป็นกลไกสำคัญ นำไปสู่เป้าหมาย โดฮา ให้ปรากฏเป็นรูปธรรมในภาคปฏิบัติ และสร้างความมั่นใจร่วมกัน ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ที่จะเดินไปสู่เป้าหมายของโดฮาร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์" นายวัชระกล่าว

ประการที่ 3 คณะทำงาน APEC CEO Summit 2003 ภาคเอกชน ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ นำวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์แห่งหนึ่งของโลกผสมผสานกับรูปแบบ และวิธีดำเนินกิจกรรมระดับนานาชาติได้อย่างกลมกลืน เป็นวิถีที่จะเกิดขึ้นในประชาคมโลกยุคหน้า

รับ 5 ข้อเสนอแนะเอแบก

วานนี้ (21 ต.ค.) สมาชิกสภาที่ปรึกษาธุรกิจ เอเปก (ABAC : APEC Business Advisory Council) เข้าพบผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปก ณ โรงแรม รอยัล ออร์คิด เชอราตัน เพื่อ เสนอข้อเสนอแนะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ประกอบด้วย กระตุ้นให้สมาชิกเอเปกเป็นต้นแบบเร่งรัดการดำเนินการตาม Doha Development Agenda กระตุ้นให้มีความ มั่นคงปลอดภัยของระบบการเงิน และการค้าภูมิภาค เสริมสร้างขีดความสามารถ ส่งเสริม ให้มีบรรษัทภิบาล และอำนวยความสะดวกของ เอเปก เสนอข้อเสนอแนะจากภาคธุรกิจ

นายวิพรรธ์ เริงพิทยา ประธานสมาชิกสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปก 2003 เปิดเผยว่าการเข้าพบผู้นำทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกครั้งนี้ เป็นโอกาสดี ซึ่งภาคเอกชนเอเปกสามารถเสนอมุมมองโดยตรงต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับโลก ทั้งประเด็นเศรษฐกิจ และการค้า

"ไทยเป็นผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเจรจาปีนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและภาครัฐบาลอย่างยิ่ง เพราะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นจริงจัง ซึ่งเอื้อต่อการนำไปสู่การค้าเสรีในที่สุด" นายวิพรรธ์กล่าว

บรรยากาศการหารือกับผู้นำครั้งนี้ ดำเนิน ไปด้วยบรรยากาศฉันมิตรอย่างยิ่ง ผู้นำทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปกตอบสนองอย่างดีต่อข้อเสนอแนะทั้ง 5 จากสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปก ก่อนสมาชิกเอแบกหารือกับผู้นำ ได้เสนอรูปแบบ และประเด็นที่จะเสนอเบื้องต้นก่อนด้วย

เนื่องจาก 5 ข้อเสนอแนะหลักจากเอแบก สู่ผู้นำเอเปก นายวิพรรธ์กล่าวว่านายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าใจข้อจำกัด ปัญหา และอุปสรรคที่ภาคธุรกิจประสบอย่างดี ดังนั้น ข้อเสนอแนะที่ 1 กระตุ้นให้สมาชิกเอเปกเป็น ต้นแบบเร่งรัดการดำเนินการตาม Doha Development Agenda จึงประสงค์ให้ผู้นำเศรษฐกิจ สมาชิกเอเปกส่งสัญญาณชัดเจนไปยังผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้การค้าพหุภาคีภายใต้ WTO ประสบความ สำเร็จ สามารถดำเนินตามกำหนดเวลา รวมถึงเปิดตลาด และลด ละ เลิก อุดหนุนการค้า

ข้อเสนอแนะที่ 2 กระตุ้นให้มีความมั่นคงปลอดภัยระบบการเงิน และการค้าภูมิภาค ประเด็นนี้ ผู้นำเอเปกเข้าใจอย่างดีต่อประเด็นดังกล่าว ข้อเสนอแนะที่ 3 เสริมสร้างขีดความสามารถ ผู้นำเอเปกตระหนักความสำคัญการเสริมสร้างขีดความสามารถทุกระดับ ทั้งระดับสถาบัน องค์กร และบุคลากร ตามที่เอแบกเสนอ

ข้อเสนอแนะที่ 4 คือส่งเสริมให้มีบรรษัทภิบาล ผู้นำเอเปกเข้าใจอย่างดีว่า การมีบรรษัทภิบาล เป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อการตัดสินใจเข้ามาดำเนินธุรกิจและลงทุน รวมถึงความเชื่อมั่นต่อการลงทุนภูมิภาค และข้อเสนอแนะที่ 5 การอำนวยความสะดวกของเอเปก เสนอข้อเสนอแนะ จากภาคธุรกิจ

ผู้นำธุรกิจชี้เอเปกห่างเหินประชาชน

เหล่านักธุรกิจที่มีโอกาสกระทบไหล่ผู้นำทางการเมือง อาทิ ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีน และคอลิน พาวเวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แนะนำว่าเอเปกจำเป็นต้องปรับปรุงในด้านการสื่อสาร

ปีเตอร์ ชาร์ลตัน ประธานกรรมการเฟิร์สต์ ชาร์ลตัน คอมมิวนิเคชั่นส์จากออสเตรเลีย ชี้ว่าหากไม่มีความคืบหน้าใดๆ ประชาชนทั่วไปจะมอง ว่าการประชุมเอเปกเป็นแค่การมาพบกันปีละครั้งของบรรดาผู้นำ ที่จะต้องสวมเสื้อผ้าแปลกๆ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยแน่นหนา และงานเลี้ยงต้อนรับใหญ่โตมโหฬาร

เฮอร์แนน ซอมเมอร์วิลล์ ประธานกรรมการสมาคมธนาคารแห่งชิลี สำทับว่าผู้นำเอเปกควรมุ่งมั่นกับการฟื้นการเจรจาการค้าโลก

"มีการพูดกันมากเรื่องเป้าหมายโบกอร์ แต่จะมีความหมายอะไร ในเมื่อสมาชิกเอเปกไม่สามารถตกลงกันได้ตั้งแต่การประชุมที่แคนคูน การเป็นกลุ่มความร่วมมือที่ไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมาย แถมยังไม่สามารถหาจุดยืนร่วมกันได้ในประเด็นสำคัญๆ จะมีความหมายอะไร"

ผู้นำทางธุรกิจมองว่า แถลงการณ์ร่วมของ ผู้นำเอเปก ที่ประกาศสนับสนุนการเจรจาการค้า โลกซึ่งกำลังจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ณ นครเจนีวาปลายปีนี้ ไม่ถือเป็นความพยายามที่เพียงพอ
 
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: