ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 19:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ระวังจะถอยหลังตกเหว 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ระวังจะถอยหลังตกเหว  (อ่าน 3356 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 18-10-2006, 06:38 »

ความเชื่อมั่นใน รธน.

บทนำมติชน วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10448

มีคนเคยกล่าวว่า กฎหมายทุกฉบับจะตอบสนองต่อกลุ่มผู้ที่ร่างกฎหมายนั้น อย่างเช่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2540 ซึ่งมีอายุเพียง 9 ปี ถูกร่างขึ้นโดย
นักวิชาการ และนักกฎหมายที่มีอาชีพทางทนายความ จึงคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนมาก กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐทำงานด้วยความอึดอัด
แต่ประชาชนถูกใจ เพราะ
ข้อบัญญัตต่างๆ นั้นได้ให้สิทธิต่อประชาชน ขณะเดียวกันก็พยายามจำกัดสิทธิของรัฐ
ดังนั้น จึงมีผู้เสียดายรัฐธรรมนูญฉบับที่เพิ่งถูกฉีกไป เนื่องจากประเทศไทยคงไม่
สามารถมีรัฐธรรมนูญฉบับเช่นว่านั้นในอนาคตอันใกล้

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ซึ่งตอกย้ำให้เห็นว่า กฎหมาย
ทุกฉบับจะตอบสนองต่อกลุ่มผู้ที่ร่างกฎหมายนั้น และด้วยเหตุนี้ การพิจารณาถึงบุคคลที่
จะมาร่างรัฐธรรมนูญจึงมีความสำคัญ
และบังเอิญที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะใช้ทดแทน
ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวในอีก 1 ปีข้างหน้านั้น จะถูกร่างขึ้นโดยกลุ่มคนที่มาจาก
สมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้การคัดเลือกบุคคลที่จะเข้าไปอยู่ในสมัชชากลายเป็นเรื่อง
ที่น่าสนใจ และกลายเป็นเรื่องน่ากังวัลใจเมื่อล่าสุด พล.อ.อ. ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการ
ทหารอากาศ ในฐานะรองประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ บอกว่า บุคคลที่จะมา
เป็นสมัชชามาจากการคัดเลือกของผู้ว่าราชการจังหวัด


คำบอกดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นวิธีคิดตามระบบราชการ กล่าวคือเมื่อส่วนกลาง
ต้องการคนหรือทรัพยากรใดๆ ก็กระจายข่าวไปยังส่วนภูมิภาค เพื่อให้ส่วนภูมิภาค
ดำเนินการคัดสรรสิ่งที่ส่วนกลางต้องการกลับคืนมา โดยส่วนกลางมีความเชื่อมั่นว่า
สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะในที่สุดแล้วส่วนกลางจะเป็นผู้เลือกหรือตัดสินใจ
อีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับแนวคิดเรื่องสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ส่วนกลางให้ส่วนภูมิภาค
คัดเลือกคนเข้ามาจำนวน 2,000 คน โดยคนทั้ง 2,000 คน จะเลือกกันเองให้เหลือ
200 คน โดยส่วนกลางมั่นใจว่าในที่สุดแล้ว ส่วนกลางซึ่งก็คือคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติ สามารถตัดสินใจหรือเลือกให้เหลือ 100 คน

ด้วยวิธีการเลือกเช่นนี้ ทำให้เกิดข้อห่วงใยในเรื่องของความเชื่อมั่นในรัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่ที่จะร่างขึ้น เพราะหากจุดเริ่มต้นของการร่างรัฐธรรมนูญเอียงข้างไปอยู่กลุ่มใดกลุ่ม
หนึ่ง ซึ่งในขณะนี้มีแนวโน้มว่าจะเอียงกลับไปสู่กลุ่มข้าราชการ และการโอนกลับไปสู่
กลุ่มข้าราชการประจำนี้เอง อาจจะเป็นต้นเหตุทำให้ภาคประชาชนไม่มั่นใจในรัฐธรรมนูญ
ที่กำลังจะร่างขึ้น อย่าลืมว่า ภาคประชาชนของประเทศไทยไม่ได้หยุดนิ่ง ตั้งแต่เหตุการณ์
ตุลาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 มาจนถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และการเข้ามา
บริหารประเทศของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่างปี 2544-2549 ภาคประชาชน
มีพัฒนาการที่รวดเร็ว การกำเนิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในระดับจังหวัดและระดับ
ตำบล ทำให้ภาคประชาชนในปัจจุบันไม่เหมือนเดิม

ดังนั้น เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งความมั่นใจจะนำไปสู่
การยอมรับ และการยอมรับก็จะนำไปสู่สันติสุข อันเป็นเป้าหมายรวมของทุกคนในชาติ
การพิจารณาสัดส่วนของผู้ที่สมควรจะเข้าสู่สมัชชาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 2,000 คน
จึงควรกระทำไปด้วยความระมัดระวัง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรจะกำหนดเป้าหมาย
สำคัญร่วมกันในการร่างรัฐธรรมนูญว่า ต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่เมื่อประกาศใช้แล้ว จะได้
รับการยอมรับจากสาธารณชนมากที่สุด เพื่อมิให้ต้องมีเหตุแห่งการล้มและฉีกรัฐธรรมนูญ
ซึ่งเท่ากับการถอยหลังเพื่อตั้งหลักใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนอดีต การเริ่มต้นหาบุคคล
ร่วมเป็นสมัชชาในวันนี้จึงสำคัญ การมีส่วนร่วมจากทุกองคาพยพในสังคมก็สำคัญ อย่า
ลืมว่า กฎหมายทุกฉบับล้วนให้ประโยชน์แก่ผู้ร่าง หากรัฐธรรมนูญของไทยจะมาจาก
ทุกองคาพยพได้ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01edi01181049&day=2006/10/18

ใครจะรู้ใจประชาชนดีเท่า ท่านผู้ว่าฯ คงไม่มี
ยุคศักดินา-ข้าราชการครองเมือง กลับมาอีกครั้ง

ใครอยากได้แบบนี้ก็จงเงียบไว้
หรือถ้าถูกใจมาก ชักชวนกันเอาดอกไม้ไปมอบที่จวน

ใครที่คิดต่างและเชื่อว่าเสียงของคุณมีพลัง
ก็จงเปล่งออกมาบ้าง อย่างน้อยก็ได้ระบาย
เผื่อมันจะไปเข้าหูท่านผู้มีอำนาจได้บ้าง แล้วก็หวังว่า...เขาจะฟังเรา


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21-10-2006, 05:45 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #1 เมื่อ: 18-10-2006, 07:17 »

สรุปให้ง่าย
รัฐธรรมนูญ 2549 ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ (แทนฉบับ 2540 ที่ฉีกทิ้งไปในวันที่ทำรัฐประหาร)
กำหนดกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปไว้ว่า

สมัชชา 2,000 คน เลือกกันเองให้เหลือ 200 คน ภายใน 7 วัน
(ที่คุณ รสนา เรียกว่าสภายุง http://forum.serithai.net/index.php?topic=8547.0)

คมช. เลือกจาก 200 คนนี้ ให้เหลือ 100 คน มาเป็น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

จากนั้น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คนนี้ ทำหน้าที่เลือกผู้ทรงคุณวุฒิ 25 คน
ไปรวมกับผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน ที่ประธาน คมช. เลือกมาโดยตรง
ได้เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน

สรุปอีกครั้ง
คนร่าง รธน. ใหม่มี 35 คน ประกอบด้วย
10 คนเลือกมาโดย ประธาน คมช.
25 คนเลือกมาโดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน ที่เลือกมาโดย คมช.

ดูเอาแล้วกันว่าอำนาจอยู่ที่ใคร? คนดีหรือไม่ มิใช่ประเด็น
ประเด็นคือ รวบอำนาจหรือไม่? เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

http://forum.serithai.net/index.php?topic=8668.0
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
qazwsx
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,359


นักธุรกิจและตำรวจ ต้องออกไปจากการเมือง


« ตอบ #2 เมื่อ: 18-10-2006, 07:40 »

ความเชื่อมั่นใน รธน.
........
ใครจะรู้ใจประชาชนดีเท่า ท่านผู้ว่าฯ คงไม่มี
ยุคศักดินา-ข้าราชการครองเมือง กลับมาอีกครั้ง

ใครอยากได้แบบนี้ก็จงเงียบไว้
หรือถ้าถูกใจมาก ชักชวนกันเอาดอกไม้ไปมอบที่จวน

ใครที่คิดต่างและเชื่อว่าเสียงของคุณมีพลัง
ก็จงเปล่งออกมาบ้าง อย่างน้อยก็ได้ระบาย
เผื่อมันจะไปเข้าหูท่านผู้มีอำนาจได้บ้าง แล้วก็หวังว่า...เขาจะฟังเรา


 


บางที่  ถ้ารู้จัก "ใช้วิจารณญาณ" สักนิด  ก่อนแสดงความคิดเห็นของตนกำกับไว้ตอนท้ายเสียบ้าง
ก็อาจจะเป็นการนำไปสู่การน่วมวิพากย์วิจารณ์ในเนื้อหาของบทความได้อย่างถูกทิศทางหรือเหมาะสมกว่า

ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมนั้น  คงไม่ใช่จะใช้การแสดง "ความเพ้อเจ้อเรื่อยเปื่อย" อย่างร่ำเรื่อยไปได้ทุกที่ทุกสถานการณ์
เช่น  ในช่วงเวลา 1 ปี ที่ท่านเจ้าของกระทู้และบรรดาภาคีผู้สนับสนุนทักษิณบอกว่า "นานเกินไป" นี้
จะให้ใช้วิธีไหนกันสำหรับการคัดสรรบุคลากร  ที่ทราบถึงปัญหาในท้องถิ่น - ทราบถึงวิธีการดำเนินงาน - ทราบและเข้าใจหลักการปกครอง หรือ..."เป็นบุคคลที่มีความพร้อม - สามารถนำมาใช้งานได้ทันที"
...หากใช้การเลือกตั้ง
หากนับเอาตั้งแต่ช่วงเวลารับสมัคร - คัดสรรกันเอง - หาเสียง - จัดการเลือกตั้ง - ตรวจนับคะแนน - ตรวจสอบผล - ประกาศผล
...อย่างน้อย ๆ ก็กินเวลาไปกว่า 100 วัน  หรือ 1 ใน 3 ของระยะเวลาทำงาน 1 ปีแล้ว



ช่วยไม่ได้จริง ๆ
เพราะ "ตัวแทน - ปากเสียง" ของ "ฝ่ายทักษิณ"
มัน "ห่วย"
ดีแต่ใช้กำลัง  ใช้อำนาจป่าเืถื่อนเข้าข่มเหง - ข่มขู่
หรือเย้อว ๆ ย้าว ๆ ท้าตีท้าต่อย อยู่หลัง "กองกำลังสีกากี - ส่วนงานขี้ข้าไทยรักไทย"
ไม่ได้มีสาระแก่นสาร  ไร้ความรู้ความเข้าใจตั้งแต่ระดับพื้นฐาน  ไร้อุดมการณ์  แต่นิยมสำแดงความแรดร่านทางการเมือง  ด้วยการเลียนกระพี้ลอกลีลาเอาไปเป็นสรณะได้แค่เยี่ยง

...ไม่ใช่ "คนจริง - ของจริง" ที่จะพึ่งพิง หรือนำพาอะไรได้

...ดังนั้นเมื่อถึงเวลาต้อง "ปรับฐาน - สร้างบ้าน - ล้างเมือง" กันใหม่

ย่อมไม่ใช่แรื่องน่าแปลกใจ
ที่ "ตัวละคร - นักเล่นการเมือง" จากแก๊งไทยรักไทย 
จึงไม่มีใครเหลียวแล
บันทึกการเข้า

Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #3 เมื่อ: 18-10-2006, 09:35 »

ความเชื่อมั่นใน รธน.

บทนำมติชน วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10448

มีคนเคยกล่าวว่า กฎหมายทุกฉบับจะตอบสนองต่อกลุ่มผู้ที่ร่างกฎหมายนั้น อย่างเช่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2540 ซึ่งมีอายุเพียง 9 ปี ถูกร่างขึ้นโดย
นักวิชาการ และนักกฎหมายที่มีอาชีพทางทนายความ จึงคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนมาก กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐทำงานด้วยความอึดอัด
แต่ประชาชนถูกใจ เพราะ
ข้อบัญญัตต่างๆ นั้นได้ให้สิทธิต่อประชาชน ขณะเดียวกันก็พยายามจำกัดสิทธิของรัฐ
ดังนั้น จึงมีผู้เสียดายรัฐธรรมนูญฉบับที่เพิ่งถูกฉีกไป เนื่องจากประเทศไทยคงไม่
สามารถมีรัฐธรรมนูญฉบับเช่นว่านั้นในอนาคตอันใกล้

กฎหมายทุกฉบับจะตอบสนองต่อกลุ่มผู้ที่ร่างกฎหมายนั้น..

สงสัยนิดหน่อย ว่าทำไมถึงคิดว่านักวิชาการ และนักกฎหมาย ถึงได้ตอบสนองประชาชนส่วนใหญ่
เพราะพวกนี้เป็นชนชั้นกลางทั้งนั้น




ยังไงก็แล้วแต่คณะกรรมการร่างทั้ง 35 คน ผมว่าก็ออกมาเป็นนักวิชาการ-ทนายความอยู่ดี
แล้วยังมี รธน 2540 ค้ำอยู่ ร่างออกมาห่วยกว่าเดิมมีหวังเละแน่ 

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #4 เมื่อ: 18-10-2006, 09:53 »

ก่อนจะให้ผู้ว่าเลือก
ต้องให้ ท่านพงพโยม ปลัดมหาดไทยคนใหม่
ทำการย้ายล้างบาง ผู้ว่าสายเหลี่ยมออกไปซะก่อนน๊า !!
ตัวท่านเองก็โดนเด้งจากโคราชเข้ากรุ แบบไม่มีเหตุผลมาก่อน แล้วคนสาย CP ไปนั่งแทนนี่นา .รึเปล่าน๊อ!!
 

บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
login not found
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,523



« ตอบ #5 เมื่อ: 18-10-2006, 22:57 »

ก่อนจะให้ผู้ว่าเลือก
ต้องให้ ท่านพงพโยม ปลัดมหาดไทยคนใหม่
ทำการย้ายล้างบาง ผู้ว่าสายเหลี่ยมออกไปซะก่อนน๊า !!
ตัวท่านเองก็โดนเด้งจากโคราชเข้ากรุ แบบไม่มีเหตุผลมาก่อน แล้วคนสาย CP ไปนั่งแทนนี่นา .รึเปล่าน๊อ!!
 


เห็นด้วยครับว่าต้องล้างบางก่อน
แต่...ก้างชิ้นใหญ่ กระดูกชิ้นโตมันกวาดออกจากคอยากอยู่นะ
ดีไม่ดี ตกลงไปอุดหลอดลม ผู้ว่าฯไม่ได้ตายหรอก
เราๆท่านๆที่แหละเหยื่อตัวจริง ที่จะโดนสังเวย
เพราะคนเดิมๆออกกฎหมายที่เอื้อพวกพ้องมากขึ้น
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 19-10-2006, 11:11 »

ผมยังคงมั่นใจใน "สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ" ของฝ่ายสาธารณะสุข ที่ทำงานกันมาตลอด มิใช่เพียงงานสุขภาพเท่านั้น

ในสมัชชาสุขภาพ คือที่รวมของประชาชน ผู้ทำงานเพื่อสังคมแทบทั้งสิ้น...อย่าลืมหันไปมองบ้างละกันครับ

เพราะกลุ่มนี้ เคยร่วมสร้าง พรบ.สุขภาพแห่งชาติ จนเป็นผลสำเร็จมาแล้ว
บันทึกการเข้า

นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #7 เมื่อ: 19-10-2006, 22:13 »

ผู้ว่าส่วนใหญ่จะชอบเหลี่ยม
เพราะมีเงินให้ใช้กันเต็มที่ค่ะ
แทนที่จะเป็นคนของรัฐดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขของชาวบ้าน
เหลี่ยมให้เงินใช้จ่ายมือเติบจน ลืมหน้าที่แท้จริงไปหมด

บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
stromman
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526



« ตอบ #8 เมื่อ: 19-10-2006, 22:36 »

งั้นช่วยปลดผู้ว่าราชการจังหวัดผมก่อนได้ป๊ะ หาคนใหม่มาแทนก่อน ขอคนที่ต่อต้านระบอบทักษิณด้วยนะ เพราะคนปัจจุบันเนี่ย แทบจะตามไปเลียก้นไอ้เหลี่ยมถึงลอนดอนแว้ว
บันทึกการเข้า
morning star
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,119


don't let them make up your mind


« ตอบ #9 เมื่อ: 19-10-2006, 22:56 »

เอาบทความจากมติชนมาก็ควรเข้าใจเจตนาของบทความที่เขาตั้งใจจะสื่อด้วย...ไม่ใช่เอะอะก็ตีความเข้าข้างตัวเอง

รัฐธรรมนูญฉบับต่อไป ถ้า snowflake ไม่เห็นด้วย ก็ออกไปออกเสียงลงประชามติไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปซะ

...

ในบทความของมติชนเขาจะสื่อถึงความเชื่อมั่นของประชาชนในการมีส่วนร่วม ดังนั้นการคัดเลือกสองพันคนต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และคำนึงถึงภาคประชาชนให้มาก ๆ ..ส่วนสมาชิกยกร่างรัฐธรรมนูญอะไรนั่น คมช จะเลือกหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะร่างรัฐธรรมนูญจะต้องผ่านการพิจารณาจากหลายองค์กร หลายขั้นตอน รวมทั้งสภาร่างฯ และ สภานิติบัญญัติ..(รวมทั้ง คมช ที่หลายคนระแวงสงสัยกันอยู่ทุกวันนี้ด้วย)...แม้กระทั่งก่อนจะประกาศใช้ยังต้องผ่านการลงประชามติอีก..ถ้ามีการสืบทอดอำนาจกันต่อไป รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปก็คงจะไม่ได้มีโอกาสออกมาบังคับใช้กันอย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า

อย่าเดินตามใคร เพราะเรามีจุดมุ่งหมายของเราเอง
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 19-10-2006, 23:01 »

โอกาสผ่านประชามติ ค่อนข้างยาก ไม่รู้นะ ดู ๆ แล้ว น่าจะลงที่ รัฐธรรมนูญที่ คปค. บวก ครม. ร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเก่าประกาศใช้มากกว่า

ในใจคิดว่า คมช. เตรียม หมัดเด็ด แก้ไข รัฐธรรมนูญ 2540 รอไว้แล้ว
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #11 เมื่อ: 20-10-2006, 07:38 »

อย่าทำให้สภาร่างรธน. กลายเป็นเรื่องเด็กเล่น

บทนำมติชน วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10450

จะเป็นด้วยความเร่งรีบหรือด้วยความที่ไม่ต้องการเปิดรับฟังความเห็นของคนอื่นจาก
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ซึ่งมีคนมาช่วยคิดและช่วยเขียนรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้ ทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกสภาร่างรัฐ-
ธรรมนูญ 100 คน และผูกโยงไปถึงคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน โดย
ให้ผ่านการคัดเลือกของสมัชชาแห่งชาติที่จะมีสมาชิกสมัชชาแห่งชาติไม่เกิน 2,000
คน ไม่ได้เขียนรายละเอียดของการได้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติไม่เกิน 2,000 คน จะ
ทำอย่างไร

รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดหลักการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติให้คำนึงถึง
บุคคลกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม
โดยอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใด
ในพรรคการเมืองในเวลา 2 ปี ก่อนดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะแบ่ง
สัดส่วนอย่างไรถึงจะเหมาะสม และคัดกันเช่นไรถึงจะได้ บุคคลที่เหมาะสมมาเป็นผู้คัด
เลือกกันเองคนละไม่เกิน 3 รายชื่อจากบรรดาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติไม่เกิน 2,000
คน เพื่อคัดไว้ 200 คน ส่งให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกเอาไว้ครึ่งหนึ่งคือ
100 คน และ 100 คนนี้คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

มีแต่ข่าวข้อเสนอของนักวิชาการที่ไปคิดสูตรเรื่องการสรรหาบุคคลภาคส่วนต่างๆ ขณะ
เดียวกันก็ตามมาด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบว่า ถ้าให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น
ผู้ดำเนินการ สุดท้ายก็จะได้บุคคลที่ไม่เหมาะสม
เพราะจะหนีไม่พ้นการกะเกณฑ์จากผู้
มีอำนาจ รวมถึงผู้ที่เสียอำนาจจะผลักดันพรรคพวกของตัวเองให้เข้ามา ครั้นให้คนเหล่านี้
คัดเลือกกันเองให้เหลือ 200 คน ก็ไม่มีหลักประกันว่ากระ บวนการคัดเลือกนั้นจะเป็นไป
แบบสุจริตและชอบธรรม ได้คำตอบที่ควรจะเป็นนั่นคือ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกมีคุณสมบัติ
เหมาะสมอย่างแท้จริงในการเข้ามาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจสภาพการณ์และปัญหาทางด้านการเมือง
การปกครอง โดยเฉพาะในรอบ 9 ปีที่ใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ในเรื่องโครงสร้างทาง
การเมือง การตรวจสอบอำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระและภาคประชาชน การรู้จักรับฟังและ
แยกแยะข้อคิดเห็นของภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งข้อคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำมาประมวล
ว่าสิ่งที่ดีที่สุดและจะเกิดผลในทางปฏิบัติคืออะไร หากยังจะต้องเข้าใจกระบวนการ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ การแปรญัตติ การอภิปรายในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
การเป็นที่ยอมรับของสังคม เพราะต้องไม่ลืมว่า รัฐธรรมนูญเมื่อผ่านความเห็นชอบจาก
ที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องนำไปออกเสียงประชามติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่
สภาร่างรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ในการอธิบาย ชี้แจงให้คนในชาติได้รับรู้และเข้าใจเพื่อจะได้
ตัดสินใจในการลงประชามติไปในแนวทางที่ถูกต้อง

รัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วซึ่งถูกฉีกโดยคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้ชื่อ
ว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ผ่าน กระบวนการร่างที่เป็นประชาธิปไตย คำนึงถึง
ความเห็นของประชาชนเป็นสำคัญและด้วยข้อจำกัดที่จะต้องผ่านความเห็นชอบจาก
รัฐสภา และมีเวลา 240 วัน ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญปฏิเสธการประนีประนอมในบางกรณี
ไม่ได้

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ถือเป็นกุญแจที่จะไขไปสู่การปฏิรูปการเมือง นั่นคือ
เป็นการเมืองใหม่ที่ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นักการเมือง
แต่ภายใต้ระบอบทักษิณ รัฐธรรมนูญก็ถูกโจมตีว่าล้มเหลวในการปฏิรูปการเมืองจะต้องมี
การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2

แต่ไม่ทันที่จะเกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการก็ถูกรัฐประหารเสียก่อน

เพื่อมิให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องถอยหลังไปไกลและหากจะเป็นการร่าง
รัฐธรรมนูญที่จะปฏิรูปการเมืองได้อย่างแท้จริง สามารถขจัดปัญหาที่เคยเกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่างๆ การไร้จริยธรรมของนักการเมืองและ
ผู้ดำรงตำแหน่ง การสรรหาบุคคลเข้าไปเป็นกรรมการในองค์กรอิสระ การคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพประชาชน การปฏิรูปสื่อ ฯลฯ การได้สมาชิกสภาร่าง

รัฐธรรมนูญที่ผ่านการคัดเลือกมาอย่างไม่ผิดพลาด ไม่มีรูรั่วหรือจุดโหว่มากเกินไปจน
ทำให้เกิดผลกระทบในการร่างรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งสุดท้ายได้รัฐธรรมนูญที่เต็มไป
ด้วยจุดอ่อนและเกิดคำถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดีกว่ารัฐธรรมนูญที่เพิ่งถูก
ฉีกทิ้งไปจริงหรือ

สถานการณ์เฉพาะหน้านี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติควรจะเปิดแถลง ชี้แจงอย่าง
เป็นกิจจะลักษณะ
ว่าจะมีหลักเกณฑ์และแนวทางในการคัดเลือกสมาชิกสมัชชาแห่ง
ชาติ ไม่เกิน 2,000 คน แบบไหน อย่างไร การคัดเลือกจาก 200 คนให้เหลือ 100 คน
จากที่สมัชชาแห่งชาติคัดเลือกมาให้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติต้องการรัฐธรรมนูญ
แบบใด จะเรียกว่าเป็นการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 ได้หรือไม่ หรือจะเรียกว่าอย่างไร
เพราะไม่เช่นนั้นก็เดาไม่ถูกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติกำลังคิดและมีความปรารถนา
อะไรอยู่
ในจิตใจ ความจริงก็มิใช่เฉพาะคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะมีอำนาจเลือก
ผู้จะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน เท่านั้น คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
35 คน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติก็มี
อำนาจแต่งตั้งเข้าไป 10 คน สมทบกับ 25 คน ที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน
เป็นคนแต่งตั้งซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติก็เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01edi01201049&day=2006/10/20
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 20-10-2006, 10:28 »

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10450

คลอดโมเดลสมัชชาฯ เลือก"9กลุ่ม"

เด็ก18-ชาวนามีสิทธิร่วม.


คมช.ตั้ง"พล.อ.อ.ชลิต"นั่งประธาน"กดส." คุมการเฟ้นหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 2 พันคน เผยหลักเกณฑ์คัดเลือกแบ่ง 9 ประเภทองค์กร บุคคล เปิดทางชาวนา ชาวไร่ ศิลปิน นักร้อง สื่อ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นิสิตนักศึกษา อบต.-อบจ.เข้ามีส่วนร่วม นักวิชาการติงเหมือนจัดโควต้าลอยๆ หวั่นไร้คุณภาพ

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมัชชาแห่งชาติและกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการสรรหาบุคคลเพื่อเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 2 พันคน โดยมาจากผู้แทนจากสาขาอาชีพต่างๆ อาทิชาวนาชาวไร่ สหภาพแรงงาน ศิลปิน นักร้อง สื่อ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงนิสิตนักศึกษาและข้าราชการ

ขณะที่นักวิชาการติงการกำหนดเกณฑ์สรรหาสมาชิกสมัชชาฯดังกล่าวไม่มีความชัดเจนเหมือนกับออกแบบมาให้เป็นโควต้าลอยๆ เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ

ส่วนปฏิกิริยาการต่อต้านนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธานสภานิติบัญญัติฯ ยังคงเป็นไปอย่างรุนแรง ล่าสุด พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร แถลงเรียกร้องให้นายมีชัยลาออกจากตำแหน่ง สนช.โดยอ้างระหว่างนายมีชัยกระทำขัดต่อกฎหมายกรณียื่นทูลเกล้าฯแต่งตั้งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและกรรมการ และรับสนองพระบรมราชโองการฯ ทั้งที่สิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งเป็นประธานวุฒิสภา

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มแพทย์และนักวิชาการร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช. เพื่อเสนอความเห็นคุณลักษณะผู้สมควรดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยเรียกร้อง คมช.อย่าสนับสนุนนายมีชัย

**คมช.ตั้ง"ชลิต"นั่ง"ปธ.กดส."

ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ลงนามในคำสั่งที่ 8 /2549 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (กดส.) เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จึงแต่งตั้ง พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และในฐานะรองประธาน คมช. เป็นประธาน กดส.โดยมีกรรมการทั้งสิ้น 16 คน

นอกจากนี้ พล.อ.สนธิยังลงนามประกาศ คมช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ มีใจความระบุถึงคุณสมบัติสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญว่าต้อง เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นรัฐมนตรี ไม่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายใน 2 ปีก่อนวันได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะมาจากสมัชชาแห่งชาติ ที่เป็นผู้แทนสาขาอาชีพและผู้ทรงวุฒิในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จำนวน 2,000 คน

**กดส.จว.เปิดโอกาส"ชาวนา"

ในคำสั่งดังกล่าวกำหนดคัดเลือกผู้แทนจากสาขาต่างๆ ไว้ในบัญชี 1 มีทั้งสิ้น 9 ประเภท

ประเภทที่ 1 ผู้แทนภาคเศรษฐกิจ-สังคม จำนวน 767 มาจากผู้แทนองค์กรดังต่อไปนี้

1.องค์กรด้านการเกษตร อาทิผู้แทนด้านทำนา ทำไร่ ทำสวน

2.องค์กรด้านการอุตสาหกรรม

3.องค์กรด้านบริการ โดยองค์กรตาม 1,2, และ 3 นั้นให้ กดส.ประจำจังหวัด (ประกอบด้วย ผู้ว่าฯ หัวหน้าศาลประจำจังหวัด อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน อัยการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด) เลือกผู้แทนองค์กรจังหวัดละ 2 คน รวมองค์กรละ 152 คน

4.นายกสภา ประธานสภา หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่มีลักษณะเดียวกันหรือผู้แทน ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งองค์กรละหนึ่งคน จำนวน 18 คน

 5.ผู้แทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และผู้แทนสหภาพแรงงานภาคธุรกิจเอกชน จำนวน 96 คน

6.ผู้แทนสื่อมวลชน 45 คน และ

7.ผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิจดทะเบียน 152 คน ให้ กดส.ประจำจังหวัดเลือกจังหวัดละ 2 คน

**กสด.เลือก152กำนัน-ผญบ.

ประเภทที่ 2 ผู้แทนภาครัฐ จำนวน 312 คน มาจาก

1.ผู้แทนกระทรวง จำนวน 20 คน

2.ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารบก กองบัญชาการทหารเรือ กองบัญชาการทหารอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 5 คน

3.ผู้แทนข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงงานส่วนตำบล ข้าราชการ กทม. ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ข้าราชการศาลยุติธรรม ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ซึ่งองค์กลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทดำเนินการ จำนวน 75 คน

4.หัวหน้าสูงสุดของรัฐวิสาหกิจซึ่งเลือกกันเอง โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการ จำนวน 20 คน

5.หัวหน้าสูงสุดขององค์การมหาชน ซึ่งเลือกกันเอง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ดำเนินการ 10 คน

6.ผู้ว่าราชการจังหวัดเลือกกันเอง โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการ 36 คน และ

7.กำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดละ 2 คน โดยให้ กดส.ประจำจังหวัดเลือก จำนวน 152 คน

***มท.จัดหาผู้แทน"อบจ.-อบต."


ประเภทที่ 3 ผู้แทนภาคการเมืองการปกครองท้องถิ่น
จำนวน 227 คน มาจาก

1.ผู้แทนพรรคการเมืองพรรคละคน จำนวน 44 คน

2.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกกันเอง โดยกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ จำนวน 36 คน

3.ผู้ว่าฯกทม.และประธานสภา กทม. 2 คน

4.ผู้แทนนายกเทศมนตรีเทศบาลเลือกกันเอง โดยกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ จำนวน 72 คน

5.ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกกันเอง โดยกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ 72 คน

 6.นายกสภาเมืองพัทยา 1 คน

ประเภทที่ 4 ผู้แทนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
จำนวน 16 คน

ประเภทที่ 5 ผู้ทรงวุฒิ
จำนวน 302 คน

ประเทภที่ 6 นิสิตนักศึกษา จำนวน 140 คน ซึ่งรวมประเภทที่ 1-6 ทั้งหมด 1,770 คน

**คมช.-ครม.ได้สิทธิเฟ้น130คน

ประเภท 7 ผู้แทนสาขาอาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ
ที่คณะรัฐมนตรีสรรหา จำนวน 115 คน

ประเภทที่ 8 ผู้แทนสาขาอาชีพและผู้แทนสาขาอาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ที่ คมช.สรรหา จำนวน 115 คน

ประเภทที่ 9 ผู้แทนสาขาอาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ให้คณะรัฐมนตรีและ คมช.เป็นผู้สรรหาเพิ่มซึ่งไม่ระบุจำนวน แต่สรรหาที่เหลือให้ครบ 2,000 คน

หลังจากเลือกได้ครบ 2,000 คนแล้ว ให้องค์กรและคณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายส่งรายชื่อให้ คมช.ภายใน 2 วัน แต่ถ้าไม่สามารถสรรหาได้ทันตามกำหนดเวลา โดยปราศจากเหตุผลอันสมควรให้ กดส.แบ่งจำนวนที่เหลือจำนวนเท่ากันแล้วให้ ครม.และ คมช.เสนอ และเมื่อสรรหาได้จำนวนบุคคลครบถ้วนตามที่ต้องการแล้วให้ กดส.จัดทำบัญชีเสนอประธาน คมช.เพื่อนำความกราบบังคมทูล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ ประธานและรองประธาน สมช.จะเป็นประธานการประชุมสมัชชาแห่งชาติ โดยวางกฎเกณฑ์ให้ 2,000 คน เลือกกันเอง คนหนึ่งเลือกกันเองได้ไม่เกิน 3 รายชื่อ ผู้ที่ได้รับเลือกคะแนนสูงสุด ตั้งแต่อันดับ 1-200 คน จะส่งรายชื่อไปให้ คมช.เเลือกให้เหลือ 100 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #13 เมื่อ: 21-10-2006, 05:40 »

ขอบคุณ คุณ CanCan นะคะ
ที่กรุณานำข้อมูลการคัดเลือกสมัชชา 2,000 คนมาไว้ให้

บทความข้างล่างนี้แม้จะเชยเนื่องจากเขียนไว้ก่อน ตอนโมเดลการเลือกสมัชชายัง
ไม่คลอด แต่มีประเด็นอื่นที่น่าสนใจควรแก่การพิจารณา โดยเฉพาะการเปรียบเทียบ
กับ
กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากกว่า

จึงถือโอกาสเปลี่ยนชื่อหัวข้อกระทู้ใหม่ตามชื่อบทความวันนี้ ที่ดูดีกว่าชื่อเดิม  Very Happy


กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ระวังจะถอยหลังตกเหว

โดย สุนี ไชยรส อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540

รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 ถ้ายังมีผลบังคับใช้ก็จะครบ 9 ปี ในวันที่ 11
ตุลาคม 2549 นี้ แท้จริงแล้วปัญหาวิกฤตของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีสองประการหลัก
คือ การที่รัฐบาลไม่เคารพต่อสิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนและสิทธิชุมชนที่บัญญัติไว้อย่างกว้างขวางในรัฐธรรมนูญ และโครงสร้าง
ระบบการเมืองที่ทุนขนาดใหญ่ครอบงำแสวงหาผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ทำให้
ประชาชนและองค์กรอิสระไม่สามารถตรวจสอบกลไกอำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นี่คือเหตุผลหลักที่มีเสียงเรียกร้องจากภาคประชาชน นักวิชาการ และคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยแห่งชาติ ให้นำเรื่องสิทธิเสรีภาพและการกระจายอำนาจจากรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 มาใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 โดยตัดคำว่า "ทั้งนี้ตามที่
กฎหมายบัญญัติ" ออกไป และเรียกร้องต้องการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มี
กระบวนการร่างที่ดียิ่งขึ้นกว่ารัฐธรรมนูญ 2540

น่าเศร้าใจที่เสียงเรียกร้องดังกล่าวไม่เกิดผลใดๆ ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้

นอกจากไม่มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพเท่าที่ควรจะเป็นแล้ว กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่ที่อ้างว่าเพื่อการปฏิรูปการเมืองยังผิดพลาดอย่างร้ายแรง และเป็นการถอยหลัง
ที่มีโอกาสตกเหวโดยแท้ ถ้าไม่หยุดแล้วเปลี่ยนทิศทางใหม่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เป็นอิสระจากการแทรกแซงของคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
ชาติ ตลอดกระบวนการ
ตั้งแต่ที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และคณะกรรมาธิ-
การยกร่างรัฐธรรมนูญ จนถึงขั้นสุดท้าย ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ก็ยังให้อำนาจคณะ
มนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมกับคณะรัฐมนตรีกำหนดเอารัฐธรรมนูญฉบับเก่าฉบับใด
ฉบับหนึ่งมาปรับปรุงใช้ได้ แทนที่จะกำหนดทางออกว่าต้องเอารัฐธรรมนูญฉบับ 2540
มาปรับปรุง

ที่สำคัญคือไม่มีกลไกที่ชัดเจนว่าจะประกันการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างไรแม้แต่
นิดเดียว ประชาชนภาคส่วนต่างๆ ไม่มีโอกาสจะสมัครและเลือกกันเองของเพื่อนเป็น
ส.ส.ร. ทั้งที่ควรมีสัดส่วนที่หลากหลายและทั่วถึง และที่สำคัญคือ ต้องมีส่วนร่วมแสดง
ความคิดเห็นตั้งแต่ก่อนยกร่าง

ถ้าทบทวนเปรียบเทียบเพื่อพัฒนากระบวนการร่างจะพบว่าจุดเด่นที่สำคัญของรัฐธรรมนูญ
2540 คือ กระบวนการร่างที่กำหนดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางตลอด
ทุกขั้นตอนของกระบวนการ ตั้งแต่การเลือก ส.ส.ร.โดยมีพื้นฐานความเชื่อมั่นว่าประชาชน
สามารถร่วมกันร่างได้ มิใช่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะใดๆ รวมทั้งมีความเป็นอิสระของ
สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น ที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เดิมแม้จะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ได้มา
อย่างกว้างขวางและอิสระดีกว่าการให้ผู้มีอำนาจเลือกเอาเองตามใจชอบ
ด้วยการให้
สมัครและคัดเลือกกันเองจาก 76 จังหวัดเหลือ 10 คน โดยรัฐสภาเลือกเหลือจังหวัด
ละ 1 คน และให้มีผู้เชี่ยวชาญสามกลุ่มที่รัฐสภาเลือกอีก 23 คน รวม ส.ส.ร. 99 คน
จุดอ่อนที่สำคัญคือ ไม่มีสัดส่วนประชาชนกลุ่มต่างๆ ชัดเจนและจำกัดที่อายุ 40 ปี
ต้องจบปริญญาตรี

คณะกรรมาธิการยกร่าง 36 คน มาจากการเลือกโดยตรงของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ
ต้องเป็น ส.ส.ร. ทั้งสิ้น มิใช่คนนอก โดยมีตัวแทนจากแต่ละภูมิภาคด้วย เพื่อร่วมกัน
กำหนดทิศทางและเนื้อหาบทพื้นฐานยึดโยงกับสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากหลากหลาย
และยึดโยงกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตั้งแต่ก่อนยกร่าง จนตลอดกระบวน-
การร่างมิใช่ให้คณะกรรมาธิการยกร่างเป็นผู้เชี่ยวชาญมาร่างเป็นหลักดังเช่นรัฐธรรมนูญ
ชั่วคราวนี้

เหนืออื่นได้คือ การรับฟังความคิดเห็นประชาชนภาคส่วนต่างๆ อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง
โดยตั้งกลไกโดยตรงของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในรูปของคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟัง
ความคิดเห็นทุกจังหวัดที่มี ส.ส.ร.แต่ละจังหวัดเป็นประธาน พร้อมงบประมาณสนับสนุน
ยังมีคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ที่ทำแบบสอบถาม และจัดเวที
เติมเต็มในอีกหลากหลายเวที เช่น รับฟังประเด็นของผู้ใช้แรงงาน กลุ่มผู้หญิง เยาวชน
กลุ่มคนพิการ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มวิชาการ

มีคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ที่รณรงค์จัดทำสื่อเผยแพร่กว้างขวางให้ประชาชนติดตาม
และมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ

ข้อเสนอเร่งด่วนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่

1) แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวในส่วนกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด เพราะมีล็อคที่
คลี่คลายได้ยาก ตั้งแต่ที่มาของสมัชชาแห่งชาติ 2,000 คน ซึ่งเลือกโดยคณะมนตรี-
ความมั่นคงแห่งชาติ โดยไม่รู้ที่มาที่ไปและไม่ยึดโยงกับสัดส่วนของประชาชนกลุ่ม
ต่างๆ รวมทั้งจากพื้นที่ แล้วให้มาเลือกกันเองเหลือ 200 คน โดยไม่มีสัดส่วนที่ชัดเจน
แต่ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้คัดเหลือ 100 คน โดยประธานและรอง
ประธานสมัชชาแห่งชาติ ยังถูกกำหนดมาจากประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ ที่เลือกโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ นั่นเอง ทั้งยังให้ผู้ทำหน้าที่
ประธานสมัชชาแห่งชาติ เป็นผู้กำหนดที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญอีกด้วย

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 25 คน มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ และอีก 10 คน
มาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้ง ซึ่งเป็นแนวคิดจากความไม่เชื่อมั่นต่อ
สภาร่างรัฐธรรมนูญ และภาคประชาชน เพราะคิดว่ามอบให้ผู้เชี่ยวชาญยกร่างให้
เรียบร้อยค่อยมาฟังประชาชนและมาฟังสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในการแปรญัตติของ ส.ส.ร.
ก็มีข้อกำจัดมากมาย อันจะมีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนภาคส่วนต่างๆ ไม่สามารถ
ผลักดันผ่าน ส.ร.ร. เพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงร่างดังกล่าวได้ แม้สุดท้ายจะกำหนดให้ผ่าน
ประชามติ แต่ถ้าไม่มีกระบวนการร่างที่รับฟังความคิดเห็นควบคู่อย่างกว้างขวางก็ไม่มี
ประโยชน์อันใด

2) ถ้าไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติต้องใจกว้าง
และแสดงความจริงใจที่จะยอมรับว่ากระบวนการร่างที่กำหนดไว้จะเกิดปัญหาแน่นอน
ควรต้องช่วยแก้ไขโดยกำหนดที่มาขององค์ประกอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน
โดยเร่งด่วน มีเกณฑ์และกลไกดำเนินงานที่ชัดเจน โดยให้แต่ละกลุ่มคัดเลือกกันเอง
ตั้งแต่สมัชชาแห่งชาติ 2,000 คน อาจยึดโยงพื้นที่ ควบคู่กับการมีสัดส่วนของกลุ่มที่
สำคัญแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการนำเสนอเป็นร่างอยู่บ้างแล้ว เช่น
จังหวัดละ 20 คน และกำหนดสัดส่วนที่มาจากการเลือกกันเองของแต่ละภาคส่วนด้วย

อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ในจำนวนที่ยังขาดอยู่ 480 คน ตามข้อเสนอกลุ่ม
นักวิชาการดังกล่าว ไม่ควรให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มาเลือกอีก แต่ควรกำหนด
บางกลุ่มเพื่มเติมเต็มในภาพรวมให้ชัดเจน และต้องมาจากการเสนอของแต่ละกลุ่มต่างๆ
เอง เช่น ผู้ใช้แรงงาน องค์กรผู้หญิง เยาวชน คนพิการ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ

กระบวนการรับฟังความคิดเห็นต้องเริ่มทันทีตั้งแต่ก่อนยกร่าง ซึ่งทำง่ายๆ โดยการนำ
รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นตัวตั้งให้ประชาชนวิจารณ์ข้อดีข้ออ่อน และ ส.ส.ร.เสนอความ
คิดเห็น ก่อนให้คณะยกร่างไปร่าง ทั้งนี้ ต้องมีกลไกพร้อมงบประมาณสนับสนุนการรับฟัง
ความคิดเห็นอย่างจริงจัง

ถ้ามีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 นี้ ไม่ร่างใหม่คงจะดีกว่า
โดยควรนำรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้เสียเลย เพราะยังมีโอกาสปฏิรูปการเมืองได้มากกว่า


ที่มา มติชน วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10451

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act02211049&day=2006/10/21
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21-10-2006, 05:56 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #14 เมื่อ: 21-10-2006, 06:22 »

จาก เวบประชาไท

บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #15 เมื่อ: 27-10-2006, 22:55 »

"มาร์ค" เสนอ 3 หลักการแนวคิดร่างรัฐธรรมนูญ

ที่มา: มติชน Hot News วันที่ 27 ต.ค. 2549

"อภิสิทธิ์" ชี้สังคมอย่าพุ่งเป้าสนใจแต่ตัวบุคคล ระบุต้องเร่งภารกิจร่างรธน. มากกว่า
เสนอ 3 หลักการแนวคิดร่างรธน. แนะปรับปรุงสิทธิเสรีภาพ ออกแบบองค์กรอิสระ
เลี่ยงให้อำนาจเบ็ดเสร็จกับองค์กรใดเฉพาะ แก้ปัญธนกิจการเมืองต้นตอคอร์รัปชั่น
วางข้อจำกัดการบริจาคเงิน การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมือง-นักการเมือง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เผยแพร่ความคิดเห็นผ่านเว็บไซด์
www.abhisit.org ว่า น่าสังเกตว่า 1 เดือนที่ผ่านมา สังคมไทยให้ความสำคัญสูงสุด
กับเรื่องตัวบุคคลใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คณะกรรมการตรวจสอบการ
กระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภา
ร่างรัฐธรรมนูญ แต่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับทิศทางของประเทศกลับได้รับความสนใจน้อย
กว่า ต้องไม่ลืมว่าต้นทุนที่สูงสุดของการรัฐประหาร คือ การสูญเสียรัฐธรรมนูญ และ
ภารกิจที่สำคัญ คือ การร่วมกันจัดทำรัฐธรรมนูญที่ดีกว่าเดิมในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
เท่าที่จะทำได้ ดังนั้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหาข้อยุติเชิงหลักการ กรอบความคิด
ที่เป็นจุดร่วม เพื่อไม่ให้สภาพของการร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำ
จนนำไปสู่ความขัดแย้งที่อาจบานปลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญ
ไม่สามารถจะทำแบบแยกส่วน

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนขอเสนอกรอบความคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังนี้

1. สิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งหลักการสำคัญ รัฐธรรมนูญปี
    พ.ศ. 2540 เขียนไว้ได้ดี แต่ที่ต้องปรับปรุง คือ การสร้างกลไกให้สิทธิเสรีภาพ
    ต่างๆ ได้รับการรับรอง เคารพจริง มีการบังคับใช้อย่างเสมอภาค ศักดิ์สิทธิ์ รวม
    ทั้งการมีองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจรัฐ และการใช้อำนาจ
    รัฐ เพื่อให้การเลือกตั้งสุจริต เที่ยงธรรม เพื่อป้องกันและปราบปรามการใช้อำนาจ
    รัฐ เพื่อประโยชน์ของตนหรือพวกพ้อง นอกจากนี้ต้องได้ผู้บริหารประเทศที่มาจาก
    การเลือกตั้งของประชาชน

2. รัฐธรรมนูญจะต้องหลีกเลี่ยงการให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ
    องค์กรหนึ่งองค์กรใด ทำให้เกิดสภาพการคอร์รัปชั่น หรือความเสื่อมจากอำนาจ
    การออกแบบองค์กรอิสระจะต้องคำนึงถึงตรงนี้เป็นพิเศษ โดยตระหนักถึง ปัญหา
    ของกกต. ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา รวมทั้งจะต้องมีมาตรการขีดวงการ
    ใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง เพราะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายการเมืองได้แทรกซึม
    ครอบงำ วงการต่างๆ และวงการราชการ

3. รัฐธรรมนูญต้องมีมาตรการที่เป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหาพื้นฐานในระบบการเมือง
    ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา นั่นคือ ธนกิจการเมือง (Money Politics) ที่เป็น
    บ่อเกิดของการทุจริตคอร์รัปชั่น หากการเมืองยังมีต้นทุนสูงอย่างเช่นปัจจุบัน ก็จะ
    เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นการเมืองไทยใสสะอาด มาตรการควบคุมอย่างครบ
    วงจร ตั้งแต่ การบริจาคเงิน และรายได้ของนักการเมือง พรรคการเมือง การใช้จ่าย
    ของนักการเมือง พรรคการเมือง ที่ควรจะมีข้อจำกัด ตลอดจนการใช้กลไก และ
    ทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ทางการเมืองในเชิงประชานิยม
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #16 เมื่อ: 28-10-2006, 06:54 »

ปชป. ชี้วิธีสรรหาสมัชชาแห่งชาติขัดคำสั่ง คมช. ฉบับ 8

ปชป. จี้แก้ไขคำสั่ง คมช. ฉบับที่ 8 ระบุขัดกับวิธีสรรหาสมัชชาแห่งชาติ
เพราะข้อกำหนดห้ามพรรคการเมืองเกี่ยวข้องขัดกับบทแนบท้ายที่ให้มี
ตัวแทนพรรคการเมือง


วันนี้ (27 ต.ค.) นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แก้ไขปรับปรุงคำสั่ง
ประธาน คมช. ฉบับที่ 8 ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้ง
เป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ข้อ 2 (5) กรณีคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นสมัชชาแห่ง
ชาติ ต้องไม่เคยเป็นเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งในพรรคไม่น้อยกว่า 2 ปี
ก่อนได้รับการคัดเลือก เนื่องจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวขัดกับบทแนบท้ายที่กำหนด
สัดส่วนในประเภทของพรรคการเมืองและองค์กรปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวแทน
ภาคการเมือง พรรคละ 1 คนจำนวน 44 คน และภาคการเมืองในส่วนผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร และ ประธานสภา กทม. ที่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

"การแก้ไขปรับปรุงมี 2 แนวทาง คือ ควรจะยกเลิกข้อกำหนดคุณสมบัติที่ปิดกั้น
สมาชิกพรรคการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะเป็นการตัด
สิทธิประชาชนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ถึง 25 ล้านคน และจะยิ่งเป็นการบ่งบอก
ถึงการเข้าครอบงำการร่างรัฐธรรมนูญ ของ คมช. ให้ชัดเจนขึ้น หรืออีกแนวทางหนึ่ง
ก็ต้องตัดสัดส่วนตัวแทนพรรคการเมืองออก เพื่อป้องกันข้อครหาว่าพรรคการเมืองเข้า
ไปมีส่วนได้เสียกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองในอนาคต
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวไม่ได้ตั้งใจก้าวก่ายดุลยพินิจของ คมช. แต่เป็นเพียงการตั้ง
ข้อสังเกต เพื่อให้ คมช. ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันปฏิรูปการเมืองและ
ยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างเท่าเทียมกัน" นายเทพไท กล่าว

ที่มา: มติชน Hot News วันที่ 27 ต.ค. 2549

อยากได้แบบไหนก็ไม่พูดให้ชัด กลัวอะไรนักหนา กล้าๆ หน่อยดิ๊

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
นายเกตุ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,289



« ตอบ #17 เมื่อ: 28-10-2006, 07:22 »

รัฐธรรมนูญ2540มันกลายเป็นต้นแบบไปเสียแล้ว

ถ้าเกิดฉบับใหม่เกิดผิดเพี้ยนไปจากฉบับ2540โดยเฉพาะไปทางรับใช้เผด็จการรัฐประหารแล้วละก้อ

ผมว่าคณะรัฐประหารและผู้ร่างคงจะเดินชูคอได้อย่างลำบากละครับ

แต่โดยส่วนตัวแล้วผมว่าคณะรัฐประหารชุดนี้ยังมีความเป็นประชาธิปไตยเสียมากกว่าพวกที่มาจากการเลือกตั้งด้วยซ้ำไป

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 28-10-2006, 11:07 »

ฟังอาจารย์มีชัยเมื่อคืนแล้ว น่าจะสบายใจขึ้นกระมัง

การร่างรัฐธรรมนูญ มาตราใหน แต่ต่างจาก รัฐธรรมนูญ 2540 ต้องชี้แจงข้อดีข้อเสียให้ หลากหลายองค์กรวิจารณ์ แล้วส่งคืนสภาร่างฯ เพื่อพิจารณา

การเว้นช่องให้ คมช. เติม หรือคัดเลือก สมาชิกสภาร่างฯ อ. มีชัยบอกว่า จะเป็นการเติมสัดส่วน จัดสัดส่วนที่เหมาะสมในสภาร่างฯ

อีก 10 คนสุดท้าย ที่ คมช. เหลือไว้ เจตนารมณ์คือ เอาไว้ดู คนที่สภาร่างเลือกขึ้นมาก่อน หากขาดเหลือจุดอ่อนใด ก็เติมในสัดส่วนนั้นลงไป

มองแง่ดีไว้ก่อน...หากไม่เข้าท่า ขนาดที่ประชาชนไม่ลงมติรับ ก็คงนำฉบับ 2540 มาปรับปรุงอย่างที่บอกแล้ว ( โดยอำนาจ คมช. และ ครม. )

ที่สำคัญคงมีมาตราที่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ และคงไม่กำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุ่งยากมากเกินไป

หากย่นย่อมาตราลงได้ ก็ต้องกำหนดให้มีร่างพรบ.ที่มีเนื้อหาตามที่ รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนด จะน้อยกว่านั้นไม่ได้ ( ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว2549 )
บันทึกการเข้า

พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #19 เมื่อ: 29-10-2006, 14:12 »

มาทางกันเล่นๆดีกว่า

1. การเลือก สส.เขต จะเลือกแบบวันแมนวันโหวต หรือเลือกยกพวง
2. จะมี สส.ปาร์ตี้ลิสต์หรือไม่
3. สว.จะมาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง
4. นายกรัฐมนตรีต้องเป็น สส.หรือไม่
5. นักการเมืองจะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินหรือไม่
6. อภิปรายไม่ไว้วางใจ จะกำหนดเสียงเป็นจำนวนกี่เปอร์เซนต์ของสมาชิกสภาผู้แทนทั้งหมด
7. รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะมีอายุถึงได้กินเหล้าโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
8. ท่ออำนาจ จะต่อไปที่สะดือใคร

 
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #20 เมื่อ: 30-10-2006, 07:56 »

รัฐธรรมนูญฉบับลืมศาล

โดย พฤตินัย

หลายคนคงจำได้ดีว่า ในการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2540 ในครั้งนั้น การยกร่างได้
มีการเปลี่ยนแปลงหลักการอย่างมากมายจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิมที่ใช้บังคับอยู่ ทั้งนี้
เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการปฏิรูปการเมืองเป็นสำคัญ

เพราะในช่วงนั้นประชาชนเห็นว่า ถ้าประเทศไทยยังคงยึดถือหลักการและใช้บังคับ
ตามรัฐธรรมนูญฉบับเดิม จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของการเมืองไทยที่ประกอบได้
ด้วยนักการเมืองที่ทุจริตโกงการเลือกตั้ง และเมื่อเข้ามามีตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง
ก็มีการทุจริตคอร์รัปชั่นกันอย่างมากมายได้

ดังนั้น การจัดตั้ง "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" ในสมัยนั้น นอกเหนือไปจาก ส.ส.ร. ที่คัดเลือก
มาจากทุกจังหวัดแล้ว หัวใจสำคัญของการยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงได้มีการระดมเอานักคิด
นักวิชาการด้านสาขากฎหมายมหาชน สาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และผู้มี
ประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นแกนหลักในการยกร่างวาง
หลักกฎหมายต่างๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับนั้น

ในช่วงนั้นมีหน่วยงานและองค์กรของรัฐ ตลอดรวมไปถึงสถาบันต่างๆ ทางรัฐธรรมนูญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "สถาบันศาลยุติธรรม" ไม่ได้คาดคิดมาก่อนเลยว่า การยกร่าง
รัฐธรรมนูญในครั้งนั้นจะส่งผลกระทบต่อบทบาทและอำนาจหน้าที่ของสถาบันศาล
ยุติธรรมโดยตรง

การยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น ศาลยุติธรรมจึงไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ได้สนใจแม้แต่
จะส่งผู้ใดเข้ามาเป็นผู้แทนหรือเป็น ส.ส.ร. ในการร่วมพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญด้วย
เหตุเพราะไม่คิดว่ากระบวนการปฏิรูปทางการเมืองนั้นจะนำเอาสถาบันศาลยุติธรรมเข้า
ไปเกี่ยวข้องด้วย เพราะที่ผ่านมาก่อนหน้านั้น สภาพการเมืองของไทย บทบาทของ
ศาลยุติธรรม ยังเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ได้ถูกตำหนิในทางที่เลวร้าย
แต่ประการใด

แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดก็ได้เกิดขึ้น เมื่อเหล่านักคิด นักวิชาการ และผู้มี
ประสบการณ์ที่เป็นแกนหลักในการยกร่างวางหลักกฎหมายของรัฐธรรมนูญฉบับนั้น
ได้มีการออกแบบยกร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในส่วนของ
อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขที่มาและรูปแบบของ ส.ส.
และ ส.ว. แล้ว ยังมีการจัดตั้งระบบตรวจสอบตามแนวความคิดของต่างประเทศ
สร้างองค์กรอิสระขึ้นมามากมายตามรัฐธรรมนูญ โดยทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
ของสถาบันศาล ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด ด้วยการนำ
ระบบศาลคู่มาใช้บังคับแทนระบบศาลเดี่ยว กล่าวคือมีการจัดตั้งศาลปกครอง ศาล
รัฐธรรมนูญขึ้นมา แทนที่จะมีเพียงศาลยุติธรรมเท่านั้น ที่เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ

การยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่และบทบาทของศาล
ยุติธรรมเสียใหม่ โดยไม่มี "ตัวแทน" ของศาลเข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าไปเป็นตัวแทนใน
การยกร่างรัฐธรรมนูญเช่นนี้ จึงไม่ต่างอะไรกับที่เรียกกันว่า เป็นวิธีการ "ปิดประตูตีแมว"
นั่นเอง

ผู้หลักผู้ใหญ่ในสถาบันศาลช่วงนั้นกว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไปเสียแล้ว หลายคนพยายามที่
จะใช้วิธีการเจรจา ขอร้อง ส.ส.ร.บางคนที่มีบทบาทในครั้งนั้น ให้ฟังคำชี้แจงคำขอร้อง
ของฝ่ายศาลบ้าง แต่ก็ไม่เป็นผล เรื่องนี้คุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รู้เรื่องดีที่สุด

ที่สุดการดึงดันยกร่างก็ยังคงดำเนินการต่อไป แน่นอนการไม่มีตัวแทนของศาลเข้าไปมี
ส่วนร่วม ทำให้หลักคิดของนักคิด นักวิชาการ และผู้มีประสบการณ์เหล่านี้ อย่างดีก็
จับต้องได้เพียงแค่ความรู้ความเข้าใจภายนอกทางตำรา และข้อมูลที่ได้รับจากผู้ที่ไม่มี
ส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น

แต่บุคคลเหล่านี้ก็กล้าที่จะแสดงความเห็น กล้าออกแบบวางหลักกฎหมายแก้ไขผ่าตัด
สถาบันศาลใหม่ทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใดทั้งสิ้น

ไม่น่าเชื่อว่า ในช่วงนี้ เพียงแค่การชี้นำของนักคิด นักวิชาการที่เคยมีอคติกับศาล
ยุติธรรม ความเห็นทางตำราต่างประเทศเพียงไม่กี่วรรคตอน ก็สามารถทำให้ ส.ส.ร.
ที่เหลือหลงเชื่อจนสนิทใจว่านั่นคือ "ยาวิเศษ" ที่จะสามารถนำมารักษาเยียวยาปัญหา
การเมืองของไทยได้ และสามารถนำมาเปลี่ยนแปลงรากฐานของสถาบันตุลาการที่
สะสมมาเป็นเวลายาวนานนับกว่า 100 ปีได้ โดยไม่รู้สึกสะทกสะท้าน

เมื่อข้อกำหนดของร่างรัฐธรรมนูญถูกยกร่างขึ้น ผู้เขียนเองได้พยายามเขียนบทความ
ในหัวข้อ "รัฐธรรมนูญฉบับรื้อศาล" ตอนที่ 1 ที่ 2 จนกระทั่งถึงตอนที่ 11 ว่าข้อกำหนด
ของรัฐธรรมนูญที่ยกร่างมานั้น จะมีปัญหาอุปสรรคและสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นใน
อนาคตอย่างแน่นอน โดยที่บทความทุกตอน ถ้าใครจำได้ ผู้เขียนจะระบุไว้ชัดในทุก
บทความว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญเช่นนี้จะไม่สามารถปฏิรูปทางการเมืองได้เลย

ภาพสะท้อนของสถาบันตุลาการในครั้งนั้น ได้รับความสนใจจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งบรรดานักกฎหมาย

สิ่งนี้ได้ส่งผลต่อนักคิด นักวิชาการ และผู้มีประสบการณ์ ส.ส.ร. เหล่านั้นเป็นอย่างมาก
แต่แล้วกลุ่มคนเหล่านี้ก็ใช้วิธีการรวบรัด มีการอ้างว่ารัฐธรรมนูญที่ยกร่างนั้นเป็นฉบับดี
ที่สุด จนกระทั่งแอบอ้างกันเลยไปถึงว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ยกร่างนั้นเป็น "รัฐธรรมนูญ
ฉบับประชาชน" มีการระดมมวลชนธงเขียวขึ้นมาสนับสนุน ปกป้อง รวมทั้งใช้วิธีการ
ลงประชามติรวบรัดเพื่อให้ถือเป็นข้อยุติโดยเร็ว

และในที่สุดก็มีการผลักดันให้มี รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ออกมาใช้บังคับจนได้ นี่คือ
สภาพความจริงที่เกิดขึ้นในการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว

บัดนี้ เมื่อกาลเวลาได้ผ่านไป มีข้อพิสูจน์ที่ชี้ชัดให้เห็นว่า ข้อที่ผู้เขียนเคยโต้แย้งไว้นั้น
ได้ปรากฏเป็นจริง ได้เกิดปัญหาขึ้นมากมายจากการใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ซึ่ง
ส่งผลต่อการปกครองเป็นอย่างมาก แม้ว่าบางฝ่ายจะไม่ยอมรับ แต่ก็หนีความจริงไป
ไม่พ้น ในส่วนของสถาบันศาลยุติธรรมเอง ได้ยุติการวิพากษ์วิจารณ์ ปล่อยให้ทุกอย่าง
เป็นไปตามครรลอง จนถึงวันนี้ศาลยุติธรรมก็ได้พิสูจน์บทบาทของตนเอง และการปฏิบัติ
หน้าที่ของศาลยุติธรรมได้เป็นอย่างดีว่า

ศาลยุติธรรมยังถือเป็นสถาบันหลักของประเทศ และยังคงเป็นสถาบันที่มีความเป็นอิสระ
ยุติธรรม เป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง

จากเหตุการณ์วิกฤตทางการเมืองที่เพิ่งผ่านมานั้น ได้ให้บทเรียนที่แสดงให้เห็นแล้วว่า
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่คิดว่าดีที่สุดนั้น ปรากฏว่าอำนาจทุน ความไร้คุณธรรม
ไร้ระเบียบวินัย และความเห็นแก่ได้ ที่เกิดปัญหาจากนักการเมืองเดิมนั่นเอง ได้ทำลาย
หลักการของรัฐธรรมนูญ ทำลายองค์กรและสถาบันต่างๆ อันเกิดจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้
จนหมดสิ้นได้เช่นกัน จนทำให้บ้านเมืองไม่สามารถหาทางออกได้ คงเหลือแต่สถาบัน
ศาลเพียงสถาบันเดียวเท่านั้นที่ไม่ถูกทำลาย รัฐธรรมนูญฉบับที่คิดว่าดีที่สุดไม่สามารถ
แก้ปัญหา
ดังกล่าวได้เลย

การปฏิรูปการเมืองไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง

การดำรงอยู่สถาบันศาลได้เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่า หลักคิดดั้งเดิมเป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า
กระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัส และพระราชกระแสรับสั่งให้ศาล
เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาดังกล่าวของบ้านเมือง ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ของชาติไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางศาล (เป็นไปตามมาตรา 3
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2540)

พระราชภารกิจที่พระองค์ท่านได้ทรงมอบหมายให้ศาลรับไปดำเนินการนี้ ปัจจุบันศาล
และผู้เป็นตุลาการทุกท่านยังคงน้อมนำรับไปปฏิบัติและยังคงยึดถืออย่างแน่วแน่ว่าใน
ขณะนี้ยังไม่หมดสิ้นภารกิจที่สำคัญนี้ จนกว่าวิกฤตของบ้านเมืองจะถูกแก้ไขให้เป็นไป
ตามระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ภารกิจดังกล่าวจึงจะเสร็จสิ้นลง

มาในวันนี้ เมื่อมีการยึดอำนาจของทหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
ชาติ (คมช.) ได้มีการดำเนินการที่จะจัดให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้น

การที่จะจัดให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้น ในส่วนของศาลยุติธรรมจึงอยากให้คณะ
ปฏิรูปฯ หรือ คมช.ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบที่ศาลยุติธรรมได้รับจากการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ในครั้งนั้นด้วยว่า มีหลายเรื่องที่รัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้สร้างปัญหาให้แก่ศาลยุติธรรม จึง
เป็นความจำเป็นที่ศาลยุติธรรมต้องการให้มีการแก้ไขปรับปรุงเช่นกัน ศาลยุติธรรมไม่
อยากเห็น คมช. หลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมานี้เป็นอย่างยิ่ง

ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ศาลยุติธรรมได้เก็บรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงมากมายที่เกี่ยวกับ
ผลกระทบต่อการใช้รัฐธรรมนูญที่มีต่อสถาบันศาล ต่อองค์กร ต่อหน่วยงานของรัฐ และ
ต่อประชาชน เพื่อรอคอยวันเวลาที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้อย่าง
เต็มที่

แต่ปรากฏว่า ความผิดพลาดครั้งแรกก็เริ่มส่อแววให้เห็นขึ้นแล้วจากการคัดเลือกสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2549 ปรากฏว่าตัวแทนของศาลยุติธรรมมีเพียงคนเดียว


ย้ำ มีเพียงคนเดียวจริงๆ คือ นายพรเพชร วิชิตชลชัย

แต่โฆษกและฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ คมช.ได้ประชาสัมพันธ์ดังไปทั่วว่า

สมาชิกสภานิติบัญญัตินี้ ประกอบด้วยตัวแทนจาก "ข้าราชการตุลาการ" แล้ว

เมื่อเปรียบเทียบกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่อยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเปิดอ่านดู
ทุกท่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า

รัฐธรรมนูญทุกฉบับนั้น จะมีหมวดว่าด้วย "ศาล" เป็นหมวดหลักอยู่ในรัฐธรรมนูญ เพราะ
ถือว่าศาลเป็นสถาบันหลักที่เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญ หนึ่งในสามอำนาจ
อธิปไตย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐธรรมนูญ

แต่ตัวแทนของศาลมีเพียงคนเดียวในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในขณะที่สถาบันศาลเป็น
แหล่งที่เป็นขุมกำลังคลังปัญญาทางด้านกฎหมาย ซึ่งการยกร่างรัฐธรรมนูญจำเป็นต้อง
ใช้เป็นอย่างมาก

ดังนั้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตัวแทนของศาล
และสัดส่วนในการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ คมช. ไม่ควรทำให้เกิดปัญหาซ้ำรอย
เช่น
เดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้วอีก

จึงขอให้ คมช.มองเห็นถึงความสำคัญที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายในการยกร่าง
รัฐธรรมนูญครั้งนี้ด้วย

ที่มา มติชน วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10460

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03301049&day=2006/10/30

คมช. คุณมีชัย ทราบแล้วเปลี่ยน
ศาลท่านร้องเรียนมา
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 30-10-2006, 08:32 »

แวะมาตอบก่อนไปทำงาน

ผมเห็นด้วยกับศาลปกครอง แต่อนาจใจกับศาลรัฐธรรมนูญมาก ที่ผมเชียร์ศาลปกครอง ไม่ใช่เพราะเรื่องหุ้นกฟผ. นะครับ ผมชื่นชมแนวคิดการจัดตั้ง และชื่นชมความเอาจริงเอาจัง และความสะดวกรวดเร็วของศาลปกครองมาก ทำให้ประชาชนมีที่พึ่งพายามที่ถูกข้าราชการรังแก ไม่ว่าใครถูกข้าราชการรังแกก็ไปร้องศาลปกครองได้หมด เขียนหนังสือไม่เป็นก็มีคนช่วยเขียนให้ ร่างคำร้องไม่เป็นก็ให้คำแนะนำ และที่สำคัญไม่มีการดองคดี ไม่มีการเลื่อนศาล

ส่วนศาลรัฐธรรมนูญนั้น น่าจะยุบทิ้งไปเลย ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง โอนงานมาให้ศาลยุติธรรมดีกว่า โดยให้ไปฟ้องกันที่ศาลฎีกาเลย เรื่องจะได้รวดเร็ว


ไปทำงานละครับ

 
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #22 เมื่อ: 30-10-2006, 23:50 »

กดส. ยอมรับ ระเบียบสรรหาสมัชชาฯ ขัดกันเอง เล็งหารือ คมช.

ที่มา: มติชน Hot News วันที่ 30 ต.ค. 2549

กดส. ให้องค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียน เข้ารับการสรรหาเป็นสมัชชาแห่งชาติได้
ในส่วนบัญชี 7-8 รับมีปัญหาเรื่องระเบียบห้ามสังกัดพรรคการเมืองข้อ 2 (5)
ขัดระเบียบแนบท้ายในส่วนตัวแทนพรรคการเมือง อาจต้องหารือ คมช.


วันนี้ (30 ต.ค.) พญ. กมลพรรณ ชีวพันธุ์ศรี กรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชา
แห่งชาติ (กดส.) เปิดเผยผลการประชุมคณะอนุกรรมการให้คำแนะนำและวินิจฉัยการ
ดำเนินการขององค์กรของคณะบุคคล เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ว่า ที่ประชุมมีการหารือเรื่อง
การมีส่วนร่วมขององค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในการเข้ามาเป็นสมัชชาแห่ง
ชาติ เพราะพบปัญหาว่า การสรรหาในประเภทที่ 1 ผู้แทนภาคเศรษฐกิจ-สังคม ข้อ 7
ผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิจดทะเบียน 152 คน ปรากฎว่า ในต่างจังหวัดมีองค์กรที่จด
ทะเบียนน้อย ขณะที่ยังมีองค์กรเกษตร ประมง อุตสาหกรรม ที่ไม่ได้จดทะเบียนอยู่พอ
สมควร การสรรหาจึงควรจะทำให้ครอบคลุมกลุ่มดังกล่าวด้วย อนุกรรมการฯ จึงมีมติให้
องค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สามารถเสนอตัวแทนเข้ารับการคัดเลือกได้
โดยสามารถเสนอชื่อมาที่สำนักงานเลขาธิการครม. และสำนักงานเลขาธิการคมช. เพื่อ
ให้เข้ารับการคัดเลือกโดย ครม.และคมช.จากบัญชีที่ 7 และ 8

พญ. กมลพรรณ กล่าวต่อว่า คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการสรรหาในส่วนนี้ องค์กรนั้นๆ
ต้องทำงานติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปี และตัวแทนต้องไม่เคยเป็นหรือเคยเป็นสมาชิก
พรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งในพรรคไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการคัดเลือก ซึ่งกดส.
จังหวัดจะเป็นผู้ประกาศรายชื่อผู้ที่มารับการคัดเลือก และจะให้กลุ่มต่างๆ ตรวจสอบกัน
เอง และจะมีเครือข่ายที่เคยตรวจสอบการเลือกตั้งมาร่วมตรวจสอบด้วย ทั้งนี้ องค์กรที่
ต้องการเสนอชื่อสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ www.parliament.go.th
       
เมื่อถามถึงปัญหาคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นสมัชชาแห่งชาติ ต้องไม่เคยเป็นหรือ
เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ขัดกับบทแนบท้ายที่กำหนดสัดส่วนในประเภทของ
พรรคการเมืองและองค์กรปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวแทนภาคการเมือง พรรคละ
1 คน จำนวน 44 คน และภาคการเมืองในส่วนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น พญ.
กมลพรรณ กล่าวว่า ในที่ประชุมมีการคุยประเด็นนี้มาก เพราะจากข้อบังคับข้อ 2 (5)
ระบุว่า ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่ระเบียบแนบท้ายในส่วนตัวแทนพรรค
การเมืองระบุว่า ให้มีตัวแทนพรรคละ 1 คน รวม 44 คน ระเบียบ 2 ข้อนี้จึงขัดแย้งกัน
อยู่ และระเบียบยังให้มีผู้ว่าฯ กทม.และประธานสภากทม. มาเป็นสมัชชาแห่งชาติโดย
ตำแหน่ง ซึ่งสภาพข้อเท็จจริง ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ก็สังกัดพรรคการเมืองอยู่ อย่างไรก็ดี
ในส่วนหลังนี้ พอจะเข้ามาเป็นสมัชชาฯ ได้ตามตำแหน่ง แต่ในส่วนตัวแทนพรรคการเมือง
นั้น คงต้องหารือและมีมติในกดส. ชุดใหญ่ว่า ในส่วนตัวแทนพรรคการเมืองจะเอาอย่างไร
และคิดว่าคงต้องหารือไปทางคมช. อีกครั้ง
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #23 เมื่อ: 11-11-2006, 18:43 »

รัฐธรรมนูญฉบับจำกัดสิทธิ?

คอลัมน์ เดินหน้าชน
โดย จุฬาลักษณ์ ภู่เกิด


ประมวลจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และ
คมช. จนถึงเวลานี้ อาจจะมีมุมมองที่ให้น้ำหนักแตกต่างกัน

นับตั้งแต่ "เกือบสอบผ่าน" เช่นที่หน้าการเมือง "มติชน" ให้คะแนนไว้เมื่อวันที่ 9 พ.ย.
ที่ผ่านมา ด้วยว่ากระบวนการทำงานกับเป้าหมาย "4 ป." ที่นายกฯสุรยุทธ์วางไว้ คือ
"โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพ ประหยัด" ยังไม่ไปด้วยกันนัก จนน่าห่วงว่าในเวลาอีก
ยาวนานที่เหลือ ภาพพจน์โปร่งใสบวกความตั้งใจดีของนายกฯ คนที่ 24 คนนี้จะถ่วงดุล
กับมุมลบที่แพลมออกมาถี่ขึ้นเรื่อยๆ ไหวหรือไม่ ขณะที่สังคมไทยและสังคมโลกกำลัง
จับจ้องด้วยความคาดหวังอย่างสูง

อย่างไรก็ตาม บางมุมมองก็หนักไปถึงขั้นว่ารัฐบาลนี้ "ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ แต่พอเหลา
ลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา" และทำท่าว่าจะย่ำซ้ำรอยสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเลวร้ายใน
ระบอบเดิม

ดีไม่ดีอาจจะล้ำหน้าไปเสียกว่า เช่น สถาปนาองค์กรอิสระขึ้นมาเสียเองเพื่อทำหน้าที่
ตามเป้าหมายที่ชัดเจน มิใช่แค่แทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเช่นที่กล่าวหา
รัฐบาลที่แล้ว

หรือไม่ก็ย้อนยุคไปไกลถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์โน่น ที่สมนาคุณเก้าอี้กรรมการในรัฐวิสาหกิจ
ให้บรรดาขุนทหารแบบยกแผงด้วยข้ออ้าง "เพื่อความมั่นคง" หลังยึดอำนาจ ซึ่งก็คงต้อง
ให้กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์เจตนา เช่นที่ พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ว่าไว้

ทำให้อดนึกสงสัยไม่ได้ว่าเมื่อเกิดแนวโน้มเช่นนี้ แล้วเรื่องที่เป็น "หัวใจ" อย่างการรื้อ
สร้างรัฐธรรมนูญใหม่ให้สัมฤทธิ์ผลในกรอบเวลาที่กำหนด จะเป็นไปเช่นไร

ตามกรอบเวลาที่ คมช. กำหนด รายชื่อสมัชชาแห่งชาติ 2,000 คนที่เป็นตัวตั้งต้นก่อน
คัดกรองกันเองเหลือ 200 คน แล้วให้ คมช. เคาะเหลือ 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่าง-
รัฐธรรมนูญตัวจริงนั้น จะต้องมาอยู่ในมือ พล.อ.อ. ชลิต พุกผาสุข รองประธาน คมช. ใน
ฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (กดส.) ภาย
ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้


แต่ปรากฏว่าการขับเคลื่อนเพื่อเลือกสมาชิกสมัชชาฯ ทั้งในระดับจังหวัดและจากกลุ่ม
องค์กรต่างๆ ตามโครงสร้างที่ คมช. กำหนด กลับดำเนินไปอย่างเงียบเชียบเหมือนอยู่
ในเงามืด ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าหลักเกณฑ์ในการสรรหาลักลั่นและปิดกั้น
สิทธิทางการเมืองอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเจ้าของประเทศ โดยเฉพาะการ
กำหนดให้สมาชิกสมัชชาฯ จากบางกลุ่มต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ขณะที่บาง
กลุ่มเป็นได้ ซึ่งในที่สุด ก็ต้องแก้เกมด้วยการระบุว่าในขั้นตอนเลือก 100 คนสุดท้ายจะ
ต้อง "ปลอดการเมือง"

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และว่าที่ประธานสมัชชาฯ ซึ่งแน่นอน
ว่าจะต้องได้เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วยในที่สุด ให้เหตุผลถึงหลักเกณฑ์อันพิสดาร
นี้ว่า "ไม่อยากให้คนที่เกี่ยวข้องเข้าไปร่างรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง"

ซึ่งฟังก็ดูดี แต่นึกดูอีกที รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ถูกฉีกด้วยข้ออ้างว่าเปิดช่องให้มีการ
ผูกขาดอำนาจการเมือง คนบังคับใช้ซึ่งหมายถึงรัฐบาลพรรคไทยรักไทยกับคนร่าง คือ
ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศก็แทบจะไม่เกี่ยวข้องกัน ขณะที่คนที่ถือวิสาสะ
"ฉีก" รัฐธรรมนูญฉบับที่ถือว่าดีที่สุดฉบับหนึ่งของไทย กลับเป็นทหารกลุ่มหนึ่งในนาม
คปค.

ปัญหาคือ รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายมูลฐานของรัฐที่ใช้ในการวางระเบียบการปกครอง
ประเทศ จะต้องมีที่มาและที่ไปเพื่อใคร

หากถือว่าประชาชนคือเจ้าของประเทศ ประชาชนไทยทั้งมวลย่อมจะต้องมีส่วนกำหนด
กติกาของตน ไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม

การอ้างเอาปมการเป็นสมาชิกพรรคมาเป็นตัวปิดกั้น นอกจากสะท้อนความคิดอันคับแคบ
แล้ว ยังหลุดลอยไปจากโลกของความเป็นจริงที่ว่า ในสังคมที่เต็มไปด้วยความหวาด
ระแวง แบ่งฝักฝ่ายแบ่งค่ายกันมายาวนาน การประกาศตนอย่างเปิดเผยว่าสังกัดพรรค-
การเมืองใด ในสถานการณ์ใด ถือเป็นต้นทุนความเสี่ยงอันสำคัญของคนจำนวนไม่น้อย
ดังนั้น การหนุนช่วยอย่างอ้อมๆ หรือการอยู่เบื้องหลังโดยไม่แสดงตนชัดเจน จึงเป็นเรื่อง
สามัญปกติของบริบทการเมืองแบบไทยๆ

แล้วไยจึงจะมาใช้เกณฑ์การเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกพรรคหรือการสังกัดพรรคการเมืองมา
เป็นตัวจำกัดการมีส่วนร่วมของประชาชน

เพราะหากประชาชนเจ้าของประเทศไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานนี้ ก็เท่ากับถูกกำหนดฐานะ
ให้เป็นเพียงแค่ผู้อาศัย ซึ่งใครคิดเช่นนั้นก็นับว่าอันตรายอย่างยิ่ง!

ไม่ว่า คมช. สนช. กดส. หรือรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ ถ้าตีประเด็นนี้ไม่แตก
แล้วมุ่งแต่จะคิดหาทุกวิถีทางสกัดคนบางกลุ่มบางพรรคบนพื้นฐานความหวาดระแวงแล้ว
สุดท้ายสถานการณ์อาจพลิกเตลิดเกินการคาดเดา

ที่มา มติชน วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10472

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act04111149&day=2006/11/11
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #24 เมื่อ: 11-11-2006, 19:04 »

และผมจะคาดการณ์ต่อไปว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 นี้คงจะไม่ได้ใช้ คงจะได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 เลย

ในส่วนของรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยคน 35 คน รวบรัดเลยนะไม่ต้องพูดถึงสมัชชาแห่งชาติ 2,000 คน คือรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยคน 35 คน ที่พยายามจะทำให้ประชาธิปไตยเชื่องลง จะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีอายุสั้น เพราะว่าเมื่อคุณได้เคยใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งค่อนข้างเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีพอสมควร แม้ไม่ถึงกับดีที่สุด แล้วต่อมามาถูกร่างโดยคน 35 คน ซึ่ง 10 คนเป็นคนของ คมช. ด้วย แล้ว 25 ที่คัดมาจาก 2,000 คนก็เป็นคนของฝ่ายคุณ โดยไม่ต้องไปงงกับสูตรคณิตศาสตร์ที่ได้มา ฉะนั้นมันจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่มันเหลือที่รับน่ะ (หัวเราะ)

สมเกียรติ ตั้งนโม บอก 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #25 เมื่อ: 14-12-2006, 06:07 »

เลือกสมัชชาแห่งชาติ ไปร่างรัฐธรรมนูญ

บทนำมติชน

ระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม จะมีการประชุมสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 1,982
คน ที่หอประชุมกองทัพเรือโดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็น
ประธานในการประชุมเพื่อคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 200 คน ไปเป็นคณะผู้จัด
ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ฉบับที่ 18) โดยวิธีการเลือกนั้น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
พ.ศ. 2549 ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติประกาศใช้กำหนดให้สมาชิกสมัชชาแห่ง
ชาติ 1 คน เลือกสมาชิกสมัชชาด้วยกันเองได้ไม่เกิน 3 รายชื่อ จากนั้นจะดูว่าใครได้รับ
คะแนนเรียงตามลำดับจากสูงสุดลงมาตามลำดับจนครบ 200 คน ก็จะเป็นผู้ได้รับเลือก
จากนั้นให้ส่งรายชื่อทั้ง 200 คน ไปให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติพิจารณาเพื่อคัด
ไว้ให้เหลือเพียง 100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

ตามกฎเกณฑ์ กติกาที่วางไว้นี้ ฟังดูก็ไม่น่าจะมีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่สมาชิกสมัชชา
แห่งชาติเอารายชื่อที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจกให้ในวันที่สมาชิก
สมัชชาแห่งชาติไปรายงานตัวที่รัฐสภาไปนั่งอ่านรายชื่อ 1,982 รายชื่อ จากเอกสาร
ที่เรียงตามลำดับตัวอักษรก็สามารถใช้ดินสอ 2 บี ฝนลงไป 3 รายชื่อ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

รวมทั้งการห้ามสมาชิกสมัชชาแห่งชาติชักชวน โน้มน้าวเพื่อนสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
ด้วยกัน (หาเสียง) ในวันไปประชุมและการห้ามอภิปรายใดๆ ในขณะประชุม ก็น่าจะทำ
ให้การคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 200 คน ดำเนินไปด้วยความราบรื่น เป็น
ระเบียบเรียบร้อย แต่ในความง่ายและความราบรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อยดังกล่าวได้ก่อ
ให้เกิดความไม่ชอบธรรมในกระบวนการคัดเลือกบุคคลไปเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

ยังไม่ต้องพูดถึงการคัดเลือกจาก 200 คน ให้เหลือ 100 คน ของคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติว่าจะเลือกใคร และคนแบบไหนไปเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะกระจาย
ไปอย่างเหมาะสมเพียงไรระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคมและภาควิชาการ สุดท้าย
จะได้คนเหมาะสมกับการทำภารกิจสำคัญของประเทศหรือไม่ เพราะคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติไม่มีการแถลงหรือชี้แจงให้สาธารณชนได้รับทราบ ในทางปฏิบัติย่อมเป็นไปไม่
ได้
ที่การเลือกกันเองคนละไม่เกิน 3 รายชื่อ ของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจะเลือกอย่างมี
ข้อมูลและเลือกอย่างถูกต้อง คนที่จะได้รับคะแนนสูงสุด 200 คนแรกจึงหนีไม่พ้นคนมีชื่อ
เสียงและคนที่ได้รับการจัดสรรจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน นั่น
หมายความว่า คนที่ไม่ได้มีการจัดสรรหรือถูกวางตัวเอาไว้เป็นการภายในมาก่อนย่อมหา
คะแนนได้ลำบากและจะต้องแพ้เขาในที่สุด

การคัดเลือกผู้จะไปร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้แม้จะไม่เหมือนกับประเพณีแต่งงานแบบ "คลุม
ถุงชน" ในอดีตที่บิดา มารดา หาสามีหรือภรรยาให้กับลูกของตนเอง โดยที่หญิงชายไม่
เคยเห็นหน้าค่าตา ไม่เคยรู้จักมักคุ้น ไม่รู้อุปนิสัยใจคอ ที่สำคัญ ไม่ได้รักใคร่ชอบพอกัน
มาก่อน ทำให้เกิดปัญหาหลังจากแต่งงานอยู่กันกินแล้ว แต่การเลือกของสมาชิกสมัชชา
แห่งชาติที่ไม่รู้ว่า ใครกันบ้างในจำนวน1,982 คน ที่อยากจะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งนอกจากจะต้องมีความรู้ มีประสบการณ์
มีใจกว้าง รู้จักฟังความคิดเห็นจากองค์กร สถาบันและประชาชนจากวงการต่างๆ เพื่อนำมา
ใช้ในการร่างรัฐธรรมนูญ และ*ต้องรู้วิธีในการทำให้ประชาชนออกมาลงประชามติให้ความ
เห็นชอบด้วยเสียงข้างมากกับร่างรัฐธรรมนูญที่พวกตนอุตส่าห์จัดทำจนแล้วเสร็จ ไม่ใช่
ร่างเพื่อให้ถูกคว่ำในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเท่ากับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า


ทั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน
ซึ่ง 25 คน ให้มาจากการลงมติคัดเลือกของที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญและอีก 10 คน
มาจากการเสนอชื่อของ**คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อ
การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเมืองไทยจะมีทางออก นั่นคือได้คนดีๆ และเก่งๆ มา
เป็นตัวแทน ผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องถูกตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ ภาคประชาชนเข้ามีส่วน
ร่วมในการตรวจสอบอย่างแท้จริง สิทธิเสรีภาพจะต้องมีผลในทางปฏิบัติ ไม่ใช่เขียนไว้
สวยๆ เท่ๆ ในรัฐธรรมนูญ ล้วนอยู่ที่ฝีมือการร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญ การ
ได้คนไม่เหมาะสมมาร่างรัฐธรรมนูญย่อมทำให้ได้รัฐธรรมนูญที่ไม่ดี ไม่สอดคล้องกับ
สังคมและแก้ไขวิกฤตบ้านเมืองไม่ได้ ดังนั้น ทำอย่างไรถึงจะไม่***ให้การเลือกกันเอง
ของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 1,982 คน ดำเนินไปอย่างเปิดเผย มีข้อมูล มีเหตุผลและ
เป็นการเลือกที่ผ่านการพินิจพิเคราะห์อย่างถูกต้อง นี่คือโจทย์ข้อใหญ่ที่ผู้มีหน้าที่และ
รับผิดชอบกับกระบวนการคัดสรรคนมาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องตอบต่อสังคมเพื่อสร้าง
ความมั่นใจว่า การคัดเลือกคนด้วยวิธีการเช่นนี้ทำอย่างดีที่สุดแล้วและไม่ใช่การเลือก
แบบหลับหูหลับตาหรือคลุมถุงชน


มติชน วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10505

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01edi01141249&day=2006/12/14

*     น่าจะ "แล้ว" มากกว่า

**   น่าจะตก "ประธาน" ไป ดูมาตรา 25
http://forum.serithai.net/index.php?topic=8445.msg118790#msg118790

*** น่าจะไม่มีคำว่า "ไม่" ตามความหมายที่ควรเป็น
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #26 เมื่อ: 18-12-2006, 16:55 »

เจอกันอีกที​ฉบับ​ที่​ 19 ครับพี่น้อง

ผมไม่รีบ 

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5767&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #27 เมื่อ: 18-12-2006, 17:50 »

ไม่รู้สึกว่าจะถอยหลังครับ แต่รู้สึกว่ามันย่ำอยู่ที่เดิมล่ะสิ
ยิ่งฟังยิ่งอ่านความคิดเห็นแล้ว แทบสลบ คนโน้นก็ถูก
คนนี้ก็ถูก ถูกกันทุกคน แต่ว่าแต่ละคนไปคนละทาง
สองทาง กลุ้ม!!!
บันทึกการเข้า
เพนกวินน้อยนักอ่าน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 866



« ตอบ #28 เมื่อ: 18-12-2006, 23:34 »

เฉยๆ ครับ
รอร่างเสร็จก่อน

ถ้ามันไม่ดีไม่ถูกใจ รอรัฐบาลใหม่ ที่ประชาชนได้มาเสียก่อน
ค่อยให้รัฐบาลชุดนั้นชูธงแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ปัญหาตอนนี้ คือไม่มีรัฐธรรมนูญไว้ใช้น่ะครับ
อาจเป็นไปได้ว่า ฉบับนี้ได้ใช้ช่วงสั้นๆ
ก่อนที่ รัฐบาลถัดไป จะมาแก้
ซึ่งก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด


ที่แน่ๆ ผมไม่บ้ามาค้านถ่วงเวลาให้ กระบวนการมันยืดยาวหรอกครับ
เห็นพวกกลุ่ม 19 กันยา ทำแล้วก็คิดว่าเสียเวลาครับ
จุดยืนที่พวกเขาเรียกร้องเป็นสิ่งถูกต้อง แต่วิธีการเรียกร้อง และวิธีคิดคับแคบมาก
อย่างมาก ก็ได้แค่ประท้วงไปวันๆ ซึ่งพวกเขาควรจะมองข้ามชอต ไปถึงจุดแก้ไขหลังเลือกตั้งครั้งใหม่ดีกว่าครับ

ผมรอเลือกตั้ง อย่างใจจดใจจ่อครับ
ถึงตอนนั้นถ้ารัฐธรรมนูญมันไม่ดี ก็ชูธงแก้ไข กันใหม่
ถ้ามันไม่ดี ตอนนั้นภาคสังคมต้องมีปฏิกิริยาแน่นอนครับ
 
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #29 เมื่อ: 19-12-2006, 03:07 »

รายชื่อ 200 ผู้สมควรได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสภาร่าง รธน.

มติชน Hot News วันที่ 18 ธ.ค. 2549

วันนี้ (18 ธ.ค.) รายงานข่าวจากรัฐสภาเปิดเผยว่า ผลการลงคะแนนเลือกผู้สมควรได้รับ
การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 200 คน โดยสมาชิก
สมัชชาแห่งชาติ มีผู้ลงคะแนนทั้งสิ้น 1,911 คน มีบัตรเสียจำนวน 7 ใบ แบ่งออกเป็น
ภาครัฐ 74 คน ภาควิชาการ 34 คน ภาคสังคม 38 คน และภาคเอกชน 54 คน โดยมี
รายชื่อเรียงตามลำดับคะแนน ดังนี้ (ตัวเลขในวงเล็บเป็นจำนวนคะแนนที่ได้รับเลือก)

1.นาย โอกาส เตพละกุล ภาครัฐ (55)
2.นาง ภรณี ลีนุตพงษ์ ภาคเอกชน (51)
3.นาย สุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ภาคเอกชน (50)
4 .นาย ทวี เตชะธีราวัฒน์ ภาคสังคม (47)
5.นาย อุทิศ ชูช่วย ภาครัฐ (40)
6.รองศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย ภาคสังคม (39)
7.พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ภาครัฐ (37)
8 .ว่าที่ร้อยตรี สมทรง สรรพโกศลกุล ภาครัฐ (35)
9.นาย สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ภาควิชาการ (33)
10.รองศาสตราจารย์ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ภาควิชาการ (32)
11.นาย ธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ ภาครัฐ (32)
12.นาย จรัญ ภักดีธนากุล ภาควิชาการ (30)
13.ศาสตราจารย์ สมคิด เลิศไพฑูรย์ ภาควิชาการ (30)
14.นาย ไพศาล ปราการรัตน์ ภาครัฐ (29)
15.นาย ไพโรจน์ พรหมสาส์น ภาควิชาการ (27)
16.นาย วิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ ภาครัฐ (27)
17.นาย ศิวะ แสงมณี ภาคเอกชน (27)
18.นาย สุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ภาครัฐ (27)
19.นาย กล้านรงค์ จันทิก ภาครัฐ (26)
20.นาย ชาติชาย แสงสุข ภาคสังคม (26)
21.นาย เสรี สุวรรณภานนท์ ภาควิชาการ (26)
22.นาย ชำนาญ ภูวิลัย ภาครัฐ (25)
23.นางสาว พรรณราย ขันธกิจ ภาครัฐ (25)
24.นาย อิทธิพล เรืองวรบูรณ์ ภาครัฐ (25)
25.นาย นพพร ศักดาพร ภาคเอกชน (23)
26.นาย วิชัย จันทร์วิเศษ ภาคสังคม (23)
27.นาย วิทยา งานทวี ภาคเอกชน (23)
28.นาย สำรอง ปันสุยะ ภาคสังคม (23)
29.นาย อำไพ กองมณี ภาครัฐ (23)
30.นาย ชวลิต หมื่นนุช ภาควิชาการ (22)
31.นาย รุจาธิตย์ สชุ าโต ภาคเอกชน (22)
32.นาย นรนิติ เศรษฐบุตร ภาควิชาการ (21)
33.นาย ประสงค์ พิทูรกิจจา ภาครัฐ (21)
34.นาย มนตรี เพชรขุ้ม ภาครัฐ (21)
35.นาย สุทิน ภาศิวะมาศ ภาคเอกชน (21)
36.นาย ชาติชาย เจียมศรีพงษ์ ภาครัฐ (20)
37.นาย ทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ภาคเอกชน (20)
38.นาย บรรจง โฆษิตจิรนันท์ ภาครัฐ (20)
39.นาย มานิจ สขุ สมจิตร ภาคสังคม (20)
40.นาย ชัยเกษม นิติสริ ิ ภาครัฐ (19)
41.พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ ภาครัฐ (19)
42.นาย ยุทธนา ยุพฤทธิ์ ภาคเอกชน (19)
43.นาย วิชัย ศรีขวัญ ภาครัฐ (19)
44.ศาสตราจารย์ เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ ภาควิชาการ (18)
45.นาย วัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ภาคเอกชน (18)
46.พลตำรวจโท อัศวิน ขวัญเมือง ภาครัฐ (18)
47.นาย เดโช สวนานนท์ ภาควิชาการ (17)
48.นาย สวัสดิ์ โชติพานิช ภาครัฐ (17)
49.นาย ประดิษฐ สโุ ชคชัยกุล ภาคเอกชน (16)
50.นาย ยอดยิ่ง จันทนพิมพ์ ภาครัฐ (16)
51.นาย ศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ภาคเอกชน (16)
52.นาย เศวต ทินกูล ภาคเอกชน (16)
53.นาย สุนทร จันทร์รังสี ภาคสังคม (16)
54.รองศาสตราจารย์ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ภาควิชาการ (15)
55.นาย นพดล แก้วสุพัฒน์ ภาครัฐ (15)
56.นาย ประพันธ์ นัยโกวิท ภาครัฐ (15)
57.นาง พัชนี ธนาพรสิน ภาคเอกชน (15)
58.นาย วัฒนศักดิ์ จังจรูญ ภาคเอกชน (15)
59.นาย วีนสั ม่านมุงศิลป์ ภาคเอกชน (15)
60.นาย อัครวิทย์ สุมาวงศ์ ภาครัฐ (15)
61.นาย ขจรศักดิ์ นันทปัญญา ภาครัฐ (14)
62.นาย คมสัน โพธิ์คง ภาควิชาการ (14)
63.นาย ประสิทธิ์ จันทกลาง ภาครัฐ (14)
64.นาย พีระ ตั้งชูทวีทรัพย์ ภาครัฐ (14)
65.สิบเอก วิรัช ทองเพชร ภาครัฐ (14)
66.นาย อรัญ ธรรมโน ภาควิชาการ (14)
67.นาย โอรส วงษ์สิทธิ์ ภาครัฐ (14)
68.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กนก โตสุรตั น์ ภาควิชาการ (13)
69.พลตำรวจตรี เกริก กัลยาณมิตร ภาคสังคม (13)
70.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ภาควิชาการ (13)
71.นาย ชนินทร์ บัวประเสริฐ ภาครัฐ (13)
72.นาย ธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง ภาควิชาการ (13)
73.นาย บุญลือ เพชรบดี ภาครัฐ (13)
74.นาย ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม ภาคเอกชน (13)
75.นาย พินิจ สุเสารัจ ภาครัฐ (13)
76.นาย ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ภาครัฐ (13)
77.นาย รัฐ ชูกลิ่น ภาคสังคม (13)
78.นาย วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ภาคสังคม (13)
79.นาย วิทยา คชเขื่อน ภาครัฐ (13)
80.นาย วุฒิชาติ กัลยาณมิตร ภาครัฐ (13)
81.นาย สมชัย ฤชุพันธุ์ ภาครัฐ (13)
82.นาย สราวุธ เบญจกุล ภาครัฐ (13)
83.นาย เสถียร เม่นบางผึ้ง ภาคเอกชน (13)
84.นาย อุดมศักดิ์ บุพนิมิตร ภาคสังคม (13)
85.นาย การุณ ใสงาม ภาคสังคม (12)
86.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจริญ ปยิารมย์ ภาคเอกชน (12)
87.นาย ชูชัย ศุภวงศ์ ภาครัฐ (12)
88.นาย ธวัช บวรวนิชยกูร ภาคเอกชน (12)
89.นาย ธวัชชัย ศรีจำนงค์ ภาคสังคม (12)
90.นาย ธำรงค์ น่วมศิริ ภาคสังคม (12)
91.พันเอก นรินทร์ พรรณรายน์ ภาครัฐ (12)
92.นาย ประกอบ เมืองทัง ภาคเอกชน (12)
93.นาย ประวิทย์ อัครชิโนเรศ ภาคเอกชน (12)
94.นาง มนูญศรี โชติเทวัญ ภาคเอกชน (12)
95.นาย ยงยศ แก้วเขียว ภาคเอกชน (12)
96.รองศาสตราจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ ภาควิชาการ (12)
97.นาย วิทยา ผิวผ่อง ภาครัฐ (12)
98.นาย วิทวัส บุญญสถิตย์ ภาคเอกชน (12)
99.รองศาสตราจารย์ ศรีราชา เจริญพานิช ภาครัฐ (12)
100.นาง สดศรี สตัยธรรม ภาครัฐ (12)
101.นาย สมเกียรติ รอดเจริญ ภาคสังคม (12)
102.นาย สิทธิศักดิ์ วงค์อ่อน ภาคเอกชน (12)
103.นาย สุรพล นาคนคร ภาคเอกชน (12)
104.นาย หลักชัย กิตติพล ภาคเอกชน (12)
105.นาย อรรครัตน์ รัตนจันทร์ ภาคเอกชน (12)
106.นางสาว อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ภาคเอกชน (12)
107.นาย กิตติพงษ์ ขันตี ภาคสังคม (11)
108.นาย เกรียงเดช สทุ ธภักติ ภาคเอกชน (11)
109.นาย เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ภาคสังคม (11)
110.รองศาสตราจารย์ ดวงสุดา เตโชติรส ภาควิชาการ (11)
111.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย ภาควิชาการ (11)
112.นาง นิรัตน์ คงวราคม ภาคเอกชน (11)
113.นาย นิวัฒน์ พ้นชั่ว ภาควิชาการ (11)
114.นาย ปกรณ์ ปรียากร ภาควิชาการ (11)
115.พลเรือเอก พีรศักดิ์ วัชรมูล ภาคสังคม (11)
116.นาย สมเดช คงเดช ภาคสังคม (11)
117.นาย สายัณห์ วสุธาสวัสดิ์ ภาคสังคม (11)
118.นาย สุชาติ สหัสโชติ ภาครัฐ (11)
119.นาย เสรี นิมะยุ ภาครัฐ (11)
120.นาย อนุศาสน์ สุวรรณมงคล ภาคเอกชน (11)
121.นาย อมรศักดิ์ นพรัมภา ภาคเอกชน (11)
122.นาง อังคณา นีละไพจิตร ภาคเอกชน (11)
123.รองศาสตราจารย์ กิตติ ตีรเศรษฐ ภาควิชาการ (10)
124.พลอากาศตรี จุลจรูญ แสงงาํ พาล ภาครัฐ (10)
125.พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปติ ะนีละบตุ ร ภาคสังคม (10)
126.นาย ธีวรา วิตนากร ภาคเอกชน (10)
127.นาย นิตย์ วังวิวัฒน์ ภาคเอกชน (10)
128.นาย นุรักษ์ มาประณีต ภาควิชาการ (10)
129.นางสาว ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง ภาควิชาการ (10)
130.นาย ปรีชา พัวนุกุลนนท์ ภาคสังคม (10)
131.นางสาว พวงเพชร สารคุณ ภาครัฐ (10)
132.พันตำรวจโท พีระ วิชากรกุล ภาครัฐ (10)
133.นาย ศุภัคชัย เอมอ่อน ภาครัฐ (10)
134.นาย สนั่น อินทรประเสริฐ ภาควิชาการ (10)
135.นาย สามขวัญ พนมขวัญ ภาคเอกชน (10)
136.นาย สุทธิเดช จันทวิชานุวงษ์ ภาครัฐ (10)
137.นาย อานนท์ พรหมนารท ภาครัฐ (10)
138.นาย อุดม ชัยเจริญ ภาครัฐ (10)
139.นาง กรรณิกา ดำรงวงศ์ ภาคเอกชน (9)
140.นาย กฤษฎา ให้วัฒนานกุ ลู ภาคเอกชน (9)
141.นาย ชาลี กางอิ่ม ภาครัฐ (9)
142.นาย นิมิตร ชัยจีระธิกุล ภาคเอกชน (9)
143.นาย บุญยอด สขุ ถนิ่ ไทย ภาคสังคม (9)
144.นาย พัฒเศรษฐ ศันสนะพิทยากร ภาครัฐ (9)
145.นาย มงคล ภาธรธุวานนท์ ภาคสังคม (9)
146.นาย เมธา แช่มสะอาด ภาครัฐ (9)
147.รองศาสตราจารย์ รุจิรา เตชางกูร ภาควิชาการ (9)
148.นาย รุสลัน อารง ภาครัฐ (9)
149.นาง เรวดี ประเสริฐเจริญสุข ภาคเอกชน (9)
150.นาย เรืองนนท์ เรืองวุฒิ ภาครัฐ (9)
151.นาย วัชรา หงส์ประภัศร ภาคสังคม (9)
152.นาย วิทูร ชาติปฏิมาพงษ์ ภาครัฐ (9)
153.นาย ศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น ภาคสังคม (9)
154.นาย สมยศ สมวิวัฒน์ชัย ภาคสังคม (9)
155.นาย สวิง ตันอุด ภาคสังคม (9)
156.นาย สุเทพ ชูชัยยะ ภาครัฐ (9)
157.นางสาว อลิสา พันธุศักดิ์ ภาคเอกชน (9)
158.นาย อวยชัย วรดิลก ภาครัฐ (9)
159.นาง อารีย์ อิ้งจะนิล ภาควิชาการ (9)
160.นาง กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร ภาคเอกชน (Cool
161.นาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง ภาควิชาการ (Cool
162.ศาสตราจารย์ เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาคสังคม (Cool
163.นาย โกมุท ฑีฆธนานนท์ ภาครัฐ (Cool
164.ศาสตราจารย์ จรัส สุวรรณมาลา ภาควิชาการ (Cool
165.นาย จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ภาคเอกชน (Cool
166.นาย จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ภาคเอกชน (Cool
167.นาย ช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง ภาครัฐ (Cool
168.นาย โชคชัย อักษรนันท์ ภาครัฐ (Cool
169.ศาสตราจารย์ ไชยยศ เหมะรัชตะ ภาควิชาการ (Cool
170.นาย เดชา ทองสุวรรณ ภาคสังคม (Cool
171. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์ ภาครัฐ (Cool
172.นาย ประภาส นิยมทอง ภาควิชาการ (Cool
173.นาย ปริญญา ศิริสารการ ภาคสังคม (Cool
174.นาย พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ ภาคเอกชน (Cool
175.นาย พิพัฒน์ วงศาโรจน์ ภาครัฐ (Cool
176.นาย พีรศักดิ์ ว่องวชิราพาณิชย์ ภาคสังคม (Cool
177.นาย มณเฑียรทอง ธนเศรษฐ์ ภาคสังคม (Cool
178.นาย มนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ภาครัฐ (Cool
179.นาย ยุทธนา กาญจนวงศ์ชัย ภาคเอกชน (Cool
180.นาย วิชัย ทวีปวรเดช ภาครัฐ (Cool
181.นาย วิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์ ภาคสังคม (Cool
182.นาย สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ภาคเอกชน (Cool
183.นาย เสริมเกียรติ วรดิษฐ์ ภาครัฐ (Cool
184.นาย เอกพร โฆษะครรชิต ภาคเอกชน (Cool
185.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิวัต กลิ่นงาม ภาควิชาการ (7)
186.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรรณราย แสงวิเชียร ภาควิชาการ (7)
187.นาย พิทูร พุ่มหิรัญ ภาครัฐ (7)
188.นาย พิสิฐ ลี้อาธรรม ภาคเอกชน (7)
189.นาย วรท ศรีไพโรจน์ ภาคเอกชน (7)
190.นาย วโรทัย ภิญญสาสน์ ภาคเอกชน (7)
191.นาย วิชัย รูปขำดี ภาควิชาการ (7)
192.นาย วิชา มหาคุณ ภาครัฐ (7)
193.นาย วิรัตน์ เอี่ยมเอื้อยุทธ ภาครัฐ (7)
194.นาย วีริศ กวยะปาณิก ภาครัฐ (7)
195.นาย สมชาย มีเสน ภาคสังคม (7)
196.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย วงศ์เกษม ภาคสังคม (7)
197.นาย สรรพกิจ ปรีชาชนะชัย ภาคสังคม (7)
198.นาย สำรวย ฉิมฉวี ภาครัฐ (7)
199.ศาสตราจารย์ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ภาคเอกชน (7)
200.นาย อภิชาติ ดำดี ภาคสังคม (7)
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #30 เมื่อ: 19-12-2006, 03:25 »

^
^

อ้าว เลข 8 กับเครื่องหมาย ) กลายเป้น  Cool ไปหมดเลย

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #31 เมื่อ: 19-12-2006, 03:31 »

เห็นรายชื่อว่าที่ สสร. 200 คน แล้วรู้สึกยังไงกันบ้างคะ
ไม่ทราบมีใครคิดเหมือนกันหรือเปล่า?
คือ ประทับใจเหล่าคนดีมีน้อยใช้สอยประหยัด
ที่ไม่ว่างานไหนๆ ก็ต้องพึ่งพวกท่าน
super (hu) man ทำได้คนละะหลายๆ ตำแหน่ง
แรงดีไม่มีตก ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ หาใช่ความงก
เพราะคงจะประกาศทำฟรี ไม่มีการรับเงินเดือนซ้ำซ้อน
ให้ปากหอยปากปูเอามาค่อนขอดได้

ที่น่าประทับใจกว่าคือตอนลงคะแนน
ที่สนุกสนานมากมาย ระบายกัน โดยไม่ต้องเข้าคูหา
ลับอะไร ไม่ต้องสนใจ เพราะไม่มีกำหนดไว้เป็นกติกา
เปิดเผยจริงใจซะยิ่งกว่า “หันก้นออกแดด” ที่เป็นโมฆะไป

วาทะ คมช. คุณ มีชัย
“เขาบอกให้ไปกาในคูหา
ดันมากาให้คนเห็น …
แต่ก็ทำไปแล้ว ไม่รู้จะทำไง … “

ไม่ทราบ ใครมีคำตอบให้ท่านบ้างคะ?

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #32 เมื่อ: 19-12-2006, 03:38 »

รายการ ถึงลูกถึงคน 18 ธันวาคม 2549

วิเคราะห์สภาร่างรัฐธรรมนูญ

http://hiptv.mcot.net/hipPlay.php?id=8762
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #33 เมื่อ: 19-12-2006, 03:57 »

ประชุมสมัชชาฯ ป่วน กากบาทล่วงหน้า รวบไว้เป็นปึก

มติชน Hot News วันที่ 18 ธ.ค. 2549

ประชุมสมัชชาฯ เลือกว่าที่ ส.ส.ร. วุ่น เจ้าหน้าที่แจกทั้งบัตรลงคะแนน ดินสอให้ก่อน
เริ่มประชุม ทำให้กากบาทก่อนกำหนดจนวุ่นวาย ด้าน "มีชัย" ไม่สนเสียงค้าน สั่งเดิน
หน้าเลือกต่อ อ้างเวลาน้อย วอนหากมีรูปถ่ายรีบนำมาแสดงจะตัดสิทธิในการคัดเหลือ
100 คน


วันนี้ (19 ธ.ค.) ที่หอประชุมกองทัพเรือ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนการเปิดลงคะแนนเสียง
เลือกสมัชชาแห่งชาติปรากฎ ว่า นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ได้เข้า
ร้องเรียนต่อนายมีชัยว่าการลงคะแนนในครั้งนี้มีสมาชิกฯ ส่วนหนึ่งได้ใช้สิทธิการลงคะแนน
กาบัตรก่อนเวลาที่กำหนด ซึ่งหลังจากที่นายมีชัยได้รับทราบจึงได้หันมาสอบถามกับกลุ่ม
ผู้สื่อข่าวที่รอสัมภาษณ์ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และมีใครสามารถถ่ายรูปของ
สมาชิกที่ใช้สิทธิลงคะแนนล่วงหน้าได้บ้าง เมื่อทีมข่าวทีวีหลายช่องและช่างภาพต่าง
ยืนยันว่าถ่ายภาพไว้ได้ ทำให้นายมีชัยถึงกับเครียดและเดินเข้าห้องประชุมทันที ก่อนเข้า
หารือร่วมกับพล.อ. จรัล กุลละวณิชย์ น.ส. พจนีย์ ธนวรานิช รองประธานสมัชชาแห่งชาติ
และนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสมัชชาแห่ง
ชาติ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเคร่งเครียดเป็นเวลากว่า 15 นาที

จากนั้นนายมีชัยได้ขึ้นบนเวทีเพื่อแจ้งต่อที่ประชุมว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมาอาจไข้วเขว
หรืออาจเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่ ในการแจกบัตรลงคะแนน พร้อมกับดินสอ
ยางลบที่ใช้สำหรับกาบัตรลงคะแนนให้กับสมาชิกทุกคน แทนที่จะจัดอุปกรณ์ดังกล่าว
ไว้ที่คูหา ซึ่งสมาชิกบางคนก็ใจร้อนเมื่อรับบัตรแล้วก็นำไปลงคะแนนในทันที และเวลา
กาบัตรก็มีการปรึกษาหารือร่วมกัน
ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่สวยงามนัก เพราะมีคน
บอกว่ามีการรวบรวมใบลงคะแนนเอาไว้เป็นปึก แต่ยังไม่มีภาพเป็นหลักฐาน ดังนั้น หาก
ใครมีภาพขอให้นำมามอบให้กับนายพิทูร เพื่อจะได้แจ้งชื่อบุคคลดังกล่าวไปยัง คมช.
เพื่อคัดชื่อบุคคลเหล่านั้นออกในขั้นตอนการคัดเลือกให้เหลือ 100 คน เพราะถ้าเริ่มไม่
สุจริตแต่แรก แล้วปล่อยให้เข้าไปทำงาน ก็จะไม่สุจริต

นายมีชัย กล่าวต่อว่า จึงอยากทราบว่ามีสมาชิกฯ ที่เข้าร่วมประชุมได้กากบัตรลงคะแนน
ไปก่อนหน้าจำนวนเท่าใดด้วยการยกมือขึ้น ปรากฎว่ามีสมาชิกที่ใช้สิทธิลงคะแนนไปล่วง
หน้าจำนวนน้อยกว่าสมาชิกที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ จึงทำให้นายมีชัยตัดสินใจให้ดำเนินการ
ต่อไป

ภายหลังการชี้แจงของนายมีชัย สมาชิกที่ยังไม่ได้ลงคะแนนได้ทยอยเดินออกมาใช้
สิทธิลงคะแนนในคูหาที่อยู่นอกห้องประชุม ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เตรียมไว้ทั้งหมด 271
คูหา ขณะที่สมาชิกซึ่งใช้ดินสอฝนคะแนนไปก่อนเข้าห้องประชุมนั้น นายมีชัยสั่งให้
นั่งอยู่กับที่ แต่มีสมาชิกที่ลงคะแนนแล้วออกมาต่อแถวเพื่อนำบัตรไปหย่อนในหีบบัตร
ที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ทั้ง 10 ใบด้วย ทั้งนี้การใช้สิทธิลงคะแนนใช้เวลานาน 1 ชั่วโมง
โดยปิดการลงคะแนนเวลา 10.30 น. มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนทั้งสิ้น 1,915 คน แบ่ง
เป็นรายภาคคือ ภาครัฐ 555 คน ภาคเอกชน 538 คน ภาคสังคม 516 คน และภาค
วิชาการ 306 คน และตั้งตัวแทนสมาชิกเป็นกรรมการนับคะแนนจำนวน 10 คน

ต่อมานายมีชัย ให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุที่ให้เดินหน้าลงคะแนนเลือกสมาชิกเป็นส.ส.ร.
ต่อไปว่า เหตุที่ไม่ได้เรียกเก็บบัตรที่ลงคะแนนล่วงหน้าไปก่อน เพราะบัตรมีจำนวนจำกัด
หากจะเลื่อนการลงคะแนนออกไปเพื่อพิมพ์บัตรใหม่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องใช้
ระยะเวลาในการพิมพ์บัตรใหม่อย่างน้อยถึง 2-3 วัน และที่สำคัญอายุของสมาชิกสมัชชา
แห่งชาติมีเพียง 7 วัน และเท่าที่ดูก็มีบัตรที่กาล่วงหน้าไม่มาก จึงได้ตัดสินใจให้ดำเนินการ
ลงคะแนนต่อไป ซึ่งขั้นตอนการเลือกเท่าที่ดูก็เป็นไปด้วยความโปร่งใส แต่หากมีหลักฐาน
ใครทุจริตไปคัดชื่อออกตอนคมช. เลือกให้เหลือ 100 คน ส่วนการร้องเรียนของสมาชิกก็
ไม่ทำให้การเลือกครั้งนี้เป็นโมฆะ เพราะตามประกาศสมัชชาแห่งชาติระบุว่าห้ามมิให้มีการ
คัดค้านผลการนับคะแนน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-12-2006, 09:14 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #34 เมื่อ: 19-12-2006, 08:55 »

นายมีชัยเค้าบอกแล้วไงว่าไม่ผิด ก็เจตนาดีนี่หว่า เชื่อหน่อยสิ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #35 เมื่อ: 02-01-2007, 17:46 »

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 100 ส.ส.ร. แล้ว
อาทิ "กล้านรงค์ จันทิก-อังคณา นีละไพจิตร"


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ส.ส.ร.
100 คนแล้ว มีผู้แทนจากหลายสาขาอาทิ "กล้านรงค์ จันทิก" "จรัญ ภักดีธนากุล"
"เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง" "สวัสดิ์ โชติพานิช" "อังคณา นีละไพจิตร" "อภิชาติ ดำดี"

(2 ม.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรด-
กระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 100 คน ตามมาตรา 23 ของ
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว ประกาศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 โดยมี พล.อ.สนธิ
บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นผู้รับสนองพระบรม-
ราชโองการ

สำหรับรายชื่อ ส.ส.ร. 100 คน มีบุคคลที่มีชื่อเสียงได้รับเลือกตามที่มีการคาดการณ์ไว้
หลายคน และเป็นบุคคลที่มาจากหลากหลายสาขา อาทิ นายกล้านรงค์ จันทิก
นายการุณ  ใสงาม นายจรัญ ภักดีธนากุล นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
นายเดโช สวนานนท์ นายประพันธ์ นัยโกวิท นางสดศรี สัตยธรรม นายพิเชียร อำนาจวร-
ประเสริฐ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ นายวิชา มหาคุณ นายนรนิติ เศรษฐบุตร นายสวัสดิ์
โชติพานิช นายสมชัย ฤชุพันธุ์ นายเสรี สุวรรณภานนท์ นางอังคณา นีละไพจิตร และนาย
อภิชาติ ดำดี

เตรียมเปิดให้ ส.ส.ร. รายงานตัวพรุ่งนี้

นายคัมภีร์  ดิษฐากร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร์ กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฏร์ ในฐานะเลขาธิการสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะเปิดให้ ส.ส.ร. เข้ารายงาน
ตัวที่ห้องโถงอาคารรัฐสภาหนึ่ง ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (3 ม.ค.) เป็นต้นไป เวลา 08.30 -16.30
น. โดย ส.ส.ร. ต้องนำสำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้านรูปถ่าย
1 นิ้ว 2 นิ้ว 3 นิ้ว อย่างละ 6 ใบ มาประกอบการรายงานตัว ทั้งนี้การรายงานตัวไม่มีกำหนด
จนกว่าจะมีพระราชกฤษฏีกาเปิดประชุม ส.ส.ร. 

สำหรับรายชื่อส.ส.ร.ทั้ง 100 คนตามประกาศดังนี้

ประกาศ
แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

---------------------------------

(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ปร.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ดังต่อไปนี้

1. นายกนก โตสุรัตน์
2. นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร
3. นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกุล
4. นายกล้านรงค์ จันทิก
5. นายการุณ ใสงาม
6. นายกิตติ ตรีเศรษฐ
7. นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
8. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์
9. นายคมสัน โพธิ์คง
10. นายจรัญ ภักดีธนากุล
11. นายจรัส สุวรรณมาลา
12. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
13. นายเจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์
14. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
15. นาย ช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง
16. นายชนินทร์ บัวประเสริฐ
17. นายชวลิต หมื่นนุช
18. นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์
19. นายชาติชาย แสงสุข
20. นายชาลี กางอิ่ม
21. นายชำนาญ ภูวิลัย
22. นายชูชัย ศุภวงศ์
23. นายโชคชัย อักษรนันท์
24. นายไชยยศ เหมะรัชตะ
25. นางดวงสุดา เตโชติรส
26. นายเดโช สวนานนท์
27. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์
28. พล.ต.ท. ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร
29. นายธวัช บวรวนิชยกูร
30. นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
31. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง
32. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
33. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
34. นายนิตย์ วังวิวัฒน์
35. นายนิมิต ชัยจีระธิกุล
36. นายนุรักษ์ มาประณีต
37. นายปกรณ์ ปรียากร
38. นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม
39. นายประพันธ์ นัยโกวิท
40. นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ
41. นายประสงค์ พิทูรกิจจา
42. นายปริญญา ศิริสารการ
43. นายพรรณราย แสงวิเชียร
44. นางสาวพวงเพชร สารคุณ
45. นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
46. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
47. พล.ร.อ. พีรศักดิ์ วัชรมูล
48. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
49. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
50. นายมนตรี เพชรขุ้ม
51. นายนูญศรี โชติเทวัญ
52. นายมานิจ สุขสมจิตร
53. พล.ต.อ. มีชัย นุกุลกิจ
54. นายรัฐ ชูกลิ่น
55. นางรุจิรา เตชางกูร
56. นายวรากรณ์ สามโกเศศ
57. นายวัชรา หงส์ประภัศร
58. นายวิชัย รูปขำดี
59. นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์
60. นายวิชัย ศรีขวัญ
61. นายวิชา มหาคุณ
62. นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์
63. นายวิทยา คชเขื่อน
64. นายวิทยา งามทวี
65. นายวิทวัส บุญญสถิตย์
66. นายวีนัส ม่านมุงศิลป์
67. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร
68. นายวุฒิสาร ตันไชย
69. นายศรีราชา เจริญพานิช
70. นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล
71. นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น
72. นายศิวะ แสงมณี
73. นายเศวต ทินกูล
74. นางสดศณี สัตยธรรม
75. นายสนั่น อินทรประเสริฐ
76. นายสมเกียรติ รอดเจริญ
77. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
78. นายสมชัย ฤชุพันธุ์
79. นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย
80. นายสวัสดิ์ โชติพานิช
81. นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์
82. นายสวิง ตันอุด
83. นายสามขวัญ พนมขวัญ
84. นายสุนทร จันทร์รังสี
85. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
86. นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
87. นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์
88. นายเสรี นิมะยุ
89. นายเสรี สุวรรณภานนท์
90. นายหลักชัย กิตติพล
91. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
92. นายอภิชาติ ดำดี
93. นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์
94. นายอรัญ ธรรมโน
95. นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์
96. นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์
97. นางอังคณา นีละไพจิตร
98. นางสาวอาภา อรรถบูรณวงศ์
99. นายอุทิศ ชูช่วย
100. นายโอภาส เตพละกุล

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2550 เป็นปีที่ 62 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

สำหรับ ส.ส.ร. จำนวน 100 คน ประกอบด้วย
นักวิชาการ อาทิ
นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายจรัส สุวรรณมาลา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย
นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
นายวุฒิสาร ตันไชย นายวรากรณ์ สามโกเศศ

องค์กรอิสระ อาทิ
นายกล้านรงค์ จันทิก นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง
ชาติ (ป.ป.ช.)
นายประพันธ์ นัยโกวิท และนางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ

อดีตสมาชิกวุฒิสภา อาทิ
นายการุณ ใสงาม
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
นายเสรี สุวรรณภานนท์
นายประสงค์ พิทูรกิจจา

สื่อมวลชน อาทิ
นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์
นายมานิจ สุขสมจิตร
นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
นายอภิชาติ ดำดี

นักธุรกิจ อาทิ
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
นายโชคชัย อักษรนันท์

ข้าราชการและอดีตข้าราชการ อาทิ
นายจรัญ ภักดีธนากุล
นายสวัสดิ์ โชติพานิช
นายอรัญ ธรรมโน

อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อาทิ
นายเดโช สวนานนท์

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลน่าสนใจคือ นางอังคณา ลีนะไพจิตร ภรรยานายสมชาย นีละไพจิตร
อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ที่หายตัวไป ได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

คมชัดลึก วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2550
 
http://www.komchadluek.net/2007/01/02/a001_79243.php?news_id=79243
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #36 เมื่อ: 20-01-2007, 00:46 »

เปิด 10 รายชื่อกมธ. ยกร่างรธน. สายคมช. "ประสงค์" ติดด้วย
 

... (19 ม.ค.)  พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรี
ความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการสรรหากรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ 10 คน ในสัดส่วนของ คมช. ว่า รายชื่อมีหมดแล้วแต่ยังไม่ได้พิมพ์

สำหรับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 10 คนประกอบด้วย
1. พล.อ.อัษฐพร เจริญพานิช เจ้ากรมทหารพระธรรมนูญ
2. นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ผู้พิพากษาศาลฏีกา
3. นายอัชพร จารุจินดา ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา
4. นายสุพจน์ ไข่มุกต์ ประธาน เพื่อนร่วมรุ่น วปรอ. กับพล.อ.วินัย ภัททิยะกุล เลขาธิการ
    คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) อนุกรรมการประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการ
    การตรวจสอบการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ(กดส.)
5. นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
6. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ
7. น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
8. นายธนบูลย์ จิรานุวัฒน์ ที่ปรึกษาอธิการบดีม.รังสิตและอดีตอัยการ
9. นายวิจิตร วิชัยสาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฏร์ธานี
10. นางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง

คมชัดลึก ศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2550

http://www.komchadluek.net/2007/01/19/k001_83717.php?news_id=83717
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
หน้า: [1]
    กระโดดไป: