ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 20:30
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  [ open special » ] อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์: “นี่คือรัฐบาลเปรม 6″ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
[ open special » ] อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์: “นี่คือรัฐบาลเปรม 6″  (อ่าน 1549 ครั้ง)
An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« เมื่อ: 17-10-2006, 10:47 »

เหลียวมองแวดวงวิชาการรัฐศาสตร์ไทย อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เปี่ยมด้วยฉันทะทางวิชาการ และเอาการเอางานเป็นอย่างยิ่ง

น อกเหนือจากผลงานวิชาการด้านการเมืองไทย เอเชียศึกษา กลุ่มทุนไทย กองทัพและความมั่นคง ทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะปรากฏสู่บรรณพิภพอย่างไม่ขาดสาย อุกฤษฏ์ยังปลีกเวลาจากการทำงานในฐานะรองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนบทความในคอลัมน์ ‘โลกทรรศน์’ ในมติชนสุดสัปดาห์เป็นประจำทุกสัปดาห์

ความโดดเด่นในงานเขียนของ อุกฤษฏ์คือ ‘ข้อมูล’ ซึ่งสั่งสมจากการทำงานหนักอย่างต่อเนื่องยาวนาน มิพักต้องพูดถึง ความเฉียบคมในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ‘ข้อมูล’ ในคลัง เพื่ออธิบาย ‘ปรากฏการณ์’ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแต่ละช่วงขณะ

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ส่งเสียงแนะนำจากแดนไกล ถึง open online ว่า หลังรัฐประหาร หลังการแต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่มีสิ่งใดเหมาะไปกว่า การชวน อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ มานั่งวิเคราะห์เจาะลึกการเมืองไทยยุคหลัง 19 กันยายน 2549

open online เห็นด้วยอย่างที่สุด การนัดหมายพูดคุยจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

เป็นการพูดคุยกันอย่างเต็มอิ่มสองชั่วโมงเต็ม ในวันฝนตกหนัก ท้องฟ้ามืดครื้ม อากาศเมามัว ทั่วกรุงเทพมหานคร

เป็นการพูดคุยในสถานการณ์การเมืองยุค ‘หลังทักษิณ’ ท่ามกลางคำถามที่ว่า ฤา ‘เปรมาธิปไตย’ กลับมาแล้ว? เริ่มดังระงม
 
อ่านต่อ »

http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/1079

อนึ่ง...

ด้วยมารยาท...

และด้วยทบความที่ยาว..จึงขอณุญาติให้ตามไปอ่านกันเอง...


ปล.

ส่วนตัว...

ผมชอบ..ผมเลยเอามาลง...
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-10-2006, 10:53 โดย An » บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #1 เมื่อ: 17-10-2006, 10:55 »

ผมว่าก็อบมาลงโอเคนะ
แต่ต้องลงเครดิตเว็บเจ้าของบทความไว้ด้วย
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 17-10-2006, 12:45 »

ขอบคุณครับ เป็นการวิเคราะห์ที่ดีครับ เพราะฟังแล้วได้ "แง่มุม" ใหม่ๆ และพยายามดึงเอาสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริงของประเทศไทยมากล่าวถึงว่า มีความเกี่ยวข้องกันยังไง
- พูดถึงเหลี่ยมมุมของทหาร
- มีการเปรียบเทียบรัฐประหาร ทั้งยุครสช. ยุคจอมพลถนอม
- ทำไมจึงต้องเอาพล.อ.สนธิ ไปพม่า
- ท่าทีของอเมริกาที่แตกต่างกันต่อรัฐประหารแต่ละครั้ง
ฯลฯ

ดีกว่าพวกใบตองเน่า หรือพวกกำลังเห่อดีกรีด๊อกเตอร์จากฮาวายอี้ พวกนั้นเรียนมาไม่รู้กี่เล่ม แต่สมองไม่มีอะไรมากไปกว่า เลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ หทาร รัฐประหาร แล้วก็มานั่งเพ้อเจ้อตรรกะบือบ้าๆบอๆอะไรไปเรื่อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-10-2006, 12:57 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

An.mkII
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,984


Out of kontrol....!!!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 17-10-2006, 13:04 »

ขอบคุณครับ เป็นการวิเคราะห์ที่ดีครับ เพราะฟังแล้วได้ "แง่มุม" ใหม่ๆ และพยายามดึงเอาสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริงของประเทศไทยมากล่าวถึงว่า มีความเกี่ยวข้องกันยังไง
- พูดถึงเหลี่ยมมุมของทหาร
- มีการเปรียบเทียบรัฐประหาร ทั้งยุครสช. ยุคจอมพลถนอม
- ทำไมจึงต้องเอาพล.อ.สนธิ ไปพม่า
- ท่าทีของอเมริกาที่แตกต่างกันต่อรัฐประหารแต่ละครั้ง
ฯลฯ

ด ีกว่าพวกใบตองเน่า หรือพวกกำลังเห่อดีกรีด๊อกเตอร์จากฮาวายอี้ พวกนั้นเรียนมาไม่รู้กี่เล่ม แต่สมองไม่มีอะไรมากไปกว่า เลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ หทาร รัฐประหาร แล้วก็มานั่งเพ้อเจ้อตรรกะบือบ้าๆบอๆอะไรไปเรื่อย
 


ใช้ครับด้วยเหตุนี้...

ผมจึงได้เอามาลง...


เพราะผมคิดว่าในมุมมองของแก..แกไม่ได้พูุดเพราะมีอคติ...

แต่แกพูดในพื้นฐานในความเป็นจริง...


ในความเป็นจริงที่แกไม่ได้พูดเข้าข้างใคร...ความเป็นจริง..ที่แกยอมรับว่้่าสังคมนี้มันเป็นมาเป็นไปอย่างไร...


ไม่ใช้พูดแบบพวกที่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง...  แล้วบอกว่าจักชี้นกก็ต้องเป็นนกชี้ไม้ก็ต้องเป็นไม้..

โดยไม่สนใจสภาพการณ์์สภาพสังคม..ว่าเรานั้นอยู่ในโลกแบบไหน...

โลกแห่งความเป็นจริง..รึโลกในจิตณาการณ์...


อนึ่ง...

ใครขยันๆก็เอามาลงก็ได้ครับ...

เพราะพอดีผมมิค่อยมีเวลา...

เลยมิได้เอามาลงต้องให้ตามไปอ่านกันเอง....

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-10-2006, 13:09 โดย An.mkII » บันทึกการเข้า
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 17-10-2006, 13:34 »

รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อยู่นอกเหนือความคาดหมายของอาจารย์หรือไม่

ผมคิดตลอด 2 ปีที่ผ่านมาว่า บทสุดท้ายของระบอบทักษิณจะจบลงด้วยการใช้กำลัง เพียงแต่ว่าเมื่อไหร่ และรูปแบบไหน แม้ว่าการปรากฏตัวของกลุ่มพันธมิตรจะเริ่มจากตัวบุคคลคือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล แต่ความไม่พอใจในสังคมก็ขยายวงกว้างออกไปสู่คนกลุ่มต่างๆ ซึ่งไม่ใช่แค่คนชั้นกลาง หรือขาประจำ

ทั้งนี้เพราะระบอบทักษิณเป็นประชาธิปไตยจำแลง ในแง่นี้ฝรั่งอาจจะไม่เข้าใจ แต่ระบอบทักษิณเป็นประชาธิปไตยจำแลงจริงๆ ตั้งแต่เริ่มต้น คือเป็นนักเลือกตั้ง เป็นธนกิจการเมือง (money politics) มีการจำกัดความคิดเห็นของปัญญาชนในระดับชั้นนำของประเทศ

อาจารย์อัมมาร สยามวาลา และกลุ่มนักวิชาการใน TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) เป็นกลุ่มแรกที่ถูกจำกัดความคิดเห็น ซึ่ง TDRI เป็นสถาบันวิจัยเชิงนโยบายมา 20 กว่าปี ติดตามและทำวิจัยด้านนโยบายสาธารณะมาตลอด ดังนั้น TDRI จึงแสดงบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์ทุกรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ทีนี้พอมีนโยบายใหม่ ซึ่งผมไม่คิดว่าคนไทยคนไหนจะรังเกียจนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค และนโยบายรากหญ้าทั้งหลาย แต่ในฐานะนักวิชาการหรือปัญญาชน ก็ต้องตั้งคำถามว่า นโยบายเหล่านั้นมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์หรือไม่ โครงการมีความเป็นไปได้หรือไม่ ต้นทุนเท่าไร TDRI ตั้งคำถามเหล่านี้ต่อรัฐบาลมาตั้งแต่แรก แล้วตัวคุณทักษิณก็รับไม่ได้ มีการตอบโต้นักวิชาการ และจำกัดความคิดเห็น

ลักษณะประชาธิปไตยจำแลงของระบอบทักษิณอีกประการหนึ่งคือ มีการใช้กำลัง ทั้งจากสถาบันหลักคือทหาร และกองกำลังพิเศษคือตำรวจ บทบาทที่สูงเด่นของตำรวจเป็นลักษณะพิเศษมาก โดยเฉพาะในช่วงท้ายๆ ที่มีการใช้ตำรวจไปจัดการหัวคะแนนหรือนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่มีการจัดตั้งมวลชน (organized mass) อย่างเป็นระบบ เนื่องจากมีความพร้อมในเรื่องเงินทุน และเครือข่ายในต่างจังหวัด

ทำไมอาจารย์ถึงไม่เชื่อว่าสังคมไทยจะสามารถหาทางออกจากวิกฤตการเมือง ด้วยสันติวิธี ภายใต้กระบวนการประชาธิปไตย

ผมไม่คิดว่าปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคล ไม่ใช่ว่าคุณทักษิณลาออกแล้วทุกอย่างจะสงบ เพราะมันได้พัฒนาจนกลายเป็นระบอบ ( regime) อย่างจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เสียชีวิตไปแล้ว ระบอบสฤษดิ์ก็ยังอยู่ ในช่วงวิกฤตการเมือง มีคนคิดหาทางออกอยู่หลายวิธี แต่ทุกวิธีก็ดูจะใช้ไม่ได้ผล กระบวนการในสภาก็ไม่ทำงาน เพราะเสียงข้างมากเป็นของคุณทักษิณ กระบวนการแสดงความคิดเห็นนอกสภา ก็ถูกปิดกั้น ผมอยู่ที่บ้านก็ต้องฟังวิทยุชุมชน ซึ่งถูกปิดไปเรื่อย หรือถูกคลื่นแทรกอยู่ตลอด ข้อมูลทุกอย่างถูกควบคุมหมด แม้กระทั่งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ไม่ต้องพูดถึง เพราะโดยธรรมชาติ ใครเป็นรัฐบาลก็คุมได้มากอยู่แล้ว

นอกจากนั้น กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลจากองค์กรอิสระ ซึ่งมีที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ล้มเหลว โดยเฉพาะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนกระบวนการอื่น อย่างกระบวนการศาล ก็เริ่มใช้ไม่ได้ในช่วงหลัง เพราะโดยธรรมชาติของศาลไม่ใช่ผู้สั่งหรือผู้กระทำ แต่เป็นผู้ที่นั่งรอให้ตำรวจ อัยการ ส่งเรื่องเข้ามา ศาลการเมืองอย่างศาลรัฐธรรมนูญ ก็ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จตั้งแต่แรก ดังนั้น ผมเลยไม่เห็นหนทางอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงปีที่ผ่านมา

อาจารย์เพิ่งเขียนบทความลงใน Far Eastern Economic Review ฉบับเดือนตุลาคม 2549 (1) อาจารย์พยายามนำเสนอประเด็นอะไรเกี่ยวกับรัฐประหาร 19 กันยา

ผมต้องการนำเสนอ 2 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก การรัฐประหารครั้งนี้ไม่ได้ยิงกระสุนปืนแม้แต่นัดเดียว แต่เปลี่ยนโครงสร้างทางการเมืองของประเทศไทยอย่างมหาศาล นั่นคือโครงสร้างทางการเมืองที่รวมศูนย์อยู่ที่ระบอบทักษิณถูกทำลาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในสถาบันกองทัพด้วย ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงก่อนรัฐประหาร เตรียมทหารรุ่น 10 (รุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ) คุมกองกำลังหลักทั้งหมดในกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ รวมทั้ง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีความสำคัญมาก แต่หลังรัฐประหาร เราเห็นการเปลี่ยนแปลงผู้คุมกำลังหลักทั้งหมด

ตำแหน่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากแต่คนมักมองข้ามคือ ตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องงบประมาณ และจัดการด้านบัญชี ความขัดแย้งเรื่องการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม (ระหว่าง พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช กับ พลเรือเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน) น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งในการทำรัฐประหาร แม้ พลเอกเลิศรัตน์ ซึ่งคุณทักษิณพยายามผลักดันให้มานั่งตำแหน่งนี้จะไม่ใช่เตรียมทหารรุ่น 10 ก็ตาม แต่เป็นคนเก่ง สร้างความประทับใจให้คุณทักษิณมาก เป็นจอมพลที่กระโดดข้ามหัวนับ 15 คน แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ปีงบประมาณหน้าจะเป็นจุดเริ่มต้นของแผน 9 ปี ของการซื้ออาวุธกองทัพทั้งหมด ภายใต้ระบบ Barter Trade (ระบบของแลกของ) ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะมีส่วนในการเจรจากำหนดสิ่งของและมูลค่าสิ่งของที่จะนำมาแลกกับอาวุธ

ยิ่งกว่านั้น เท่าที่ผมทราบ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ก็โชคดีมาก จริงๆ ท่านจะถูกย้ายออกจากตำแหน่งมา 2 ครั้งแล้ว พลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 (ตำแหน่งและยศในขณะนั้น) ก็จะถูกย้าย ผมคิดว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีอิทธิพลมากที่ทำให้ทั้ง 2 คนนี้ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม แต่มีแนวโน้มสูงที่จะหลุดจากตำแหน่งเมื่อคุณทักษิณกลับมาจากนิวยอร์ก

ประเด็นที่สอง ผมอยากจะเตือนสังคมไทย อันที่จริงผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับฝรั่งทั้งหมด แต่ผมไม่เชื่อว่าทหารในโลกปัจจุบันสามารถบริหารประเทศได้ภายใต้ความสลับซับซ้อนของโลกาภิวัตน์ ทหารควรรีบกลับเข้าสู่กรมกอง และแสดงบทบาทเป็นทหารอาชีพ จากนั้นก็ปล่อยให้มีการเลือกตั้ง แม้ว่าอาจจะเป็นนักการเมืองหน้าเดิม ทะเลาะกัน เถียงกัน ประท้วงกัน ก็ต้องปล่อยตามกระบวนการไป

ฟังดูราวกับว่าอาจารย์ให้น้ำหนักกับการที่คุณทักษิณแทรกแซงกองทัพมาก จนเป็นเหตุผลลึกๆ ประการหนึ่งของรัฐประหารครั้งนี้

การเมืองต้องเกี่ยวข้องกับกองทัพอยู่แล้ว อย่างน้อยก็ในระดับนโยบาย คือมันแยกกันไม่ออก เพราะกองทัพเป็นกลไกหนึ่งในระบบราชการ รัฐบาลพลเรือนก็ต้องไปเกี่ยวข้องในเชิงนโยบาย ตรงนี้เป็นความเกี่ยวข้องบนเหตุผลที่เข้าใจได้ อาจมีทะเลาะกันบ้าง เช่นสมัยรัฐบาลชวน 1 มีการเบรกการซื้อเรือดำน้ำ ทหารก็ไม่พอใจ

แต่ในรัฐบาลชุดที่แล้ว คุณทักษิณแทรกแซงกองทัพอย่างน่าเกลียดผิดปกติ ด้วยความที่คุณทักษิณเป็นคนฉลาด และด้วยความเป็นนักธุรกิจ ท่านรู้ดีว่าการเป็นรัฐบาลในวันข้างหน้าขาดการสนับสนุนจากกองทัพไม่ได้ ซึ่งก็เป็นความเป็นจริงของการเมืองไทย ท่านก็พยายามหาฐานสนับสนุนในกองทัพด้วยวิธีการต่างๆ

เมื่อคุณทักษิณเข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่ๆ มีความพยายามที่จะย้ายพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งคุมกำลังอย่างเดียว แต่มีบทบาทในการดำเนินนโยบายระดับภูมิภาค (regional policy) โดยเฉพาะนโยบายต่อพม่า ซึ่งกองทัพในขณะนั้นมีนโยบายเรื่องพม่าแตกต่างจากนโยบายของคุณทักษิณมาก เพราะคำแรกที่คุณทักษิณบอกคือ พม่าเป็นเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งแตกต่างจากแนวนโยบายของกลุ่มทหารในช่วงนั้น

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การดึงพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร ญาติของท่าน ซึ่งเป็นทหารสายพัฒนา อยู่ภาคใต้มา 10 ปี แต่เพียงแค่ปีครึ่งได้ขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการทหารบก ตรงนี้ไปผิดจารีตของทหาร

นอกจากนั้น ยังมีการเลื่อนตำแหน่งให้เพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 อย่างรวดเร็ว นายทหารเพื่อนร่วมรุ่นในสำนักงานปลัดกระทรวง รวมถึงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกันในกระทรวงกลาโหม ได้ยศพลโท พลเอก เร็วมาก ผมคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่นายทหารหลายคนรับไม่ได้

คุณทักษิณยังกระจายกลุ่มเพื่อนพ้องเตรียมทหารรุ่น 10 ไปคุมกำลังหลัก ผมไม่แน่ใจว่ามากหรือน้อยกว่าสมัย จปร.รุ่น 7 แต่ไปนั่งอยู่ในระดับสำคัญมาก โดยที่บางครั้ง ใช้คนไม่ถูกกับงาน เช่น แต่งตั้งพลเอกทรงกิตติ จักกาบาตร์ ซึ่งเป็นทหารที่เก่ง และมีประสบการณ์ในติมอร์ตะวันออก ไปเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ดูแลสถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งท่านไม่มีความรู้และประสบการณ์เรื่องภาคใต้ แต่เป็นคนที่คุณทักษิณไว้วางใจได้ เมื่อเผชิญปัญหาภาคใต้ที่มีความซับซ้อน ก็ส่งผลตรงกันข้าม เพราะรัฐบาลได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

นอกจากคุณทักษิณแทรกแซงการโยกย้ายทหารอย่างน่าเกลียดขึ้นกว่ารัฐบาลที่ผ่านๆ มา ในระดับโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและกองทัพมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างไรบ้าง

ในหนังสือ The Thaksinization of Thailand ที่ผมเขียนร่วมกับ Duncan McCargo ผมใช้คำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลทักษิณและกองทัพมีลักษณะ distasteful structural corruption มีการดึงทหารบางกลุ่มเข้ามาร่วมโต๊ะบุฟเฟต์ ดึงเข้ามาเป็นพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับทหารเหมือนรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ประสบการณ์ครั้งนั้นเตือนเราว่า ประชาธิปไตยไทยจบลงอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่กำลังมีผู้เล่นใหม่ๆ ทางการเมือง มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลที่สนับสนุนการร่วมกันกินกับทหารบางกลุ่มคือ การทุจริตคอร์รัปชั่นเรื่องการซื้ออาวุธของกองทัพอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะทหารอากาศไปเกี่ยวกับการบินเชิงพาณิชย์ด้วย หรือการล่อด้วยแผน 9 ปี อยากได้อะไรจะจัดซื้อให้ นี่เป็นจุดเชื่อมโยงให้เห็นว่า มีการร่วมกินโต๊ะระหว่างนักการเมืองกับทหารบางกลุ่ม

อีกอย่างหนึ่งคือ มีการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศมีความสัมพันธ์ส่วนตัวแบบพิเศษมาก เพราะได้สมรสกับเพื่อนสนิทของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร

เราสามารถสรุปได้ถึงขนาดนี้เลยไหมว่า การที่คุณทักษิณเข้ามาจัดสรรความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐบาลกับกองทัพเสียใหม่ ทำลายจารีตทหารแบบเดิม เป็นปัจจัยที่ทำให้ทหารบางส่วนไม่พอใจ จนลุกขึ้นมาปฏิวัติ โดยอาศัยสถานการณ์ทางการเมืองเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม

คำถามนี้อาจจะแคบไปนิดหนึ่ง ผมอยากจะเปรียบเทียบการรัฐประหารครั้งนี้กับครั้งรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชายเมื่อ พ.ศ. 2534 สมัยนั้นความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองพลเรือนกับทหารก็มีให้เห็นอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าย้อนกลับไปดูจะเห็นว่า นายทหารรุ่น จปร.5 (ซึ่งเป็นผู้นำการรัฐประหารครั้งนั้น) มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มทุนอย่างมหาศาล ซึ่งผมคิดว่ามันมีความขัดแย้งตรงนั้นเป็นองค์ประกอบด้วย โดยมีความพยายามที่จะแต่งตั้งพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นจุดตัดสินใจ

แต่ถ้ามองให้กว้างขึ้นอีก จะเห็นว่า มันไม่ใช่แค่เรื่องโผโยกย้าย เพราะถ้าแค่เรื่องนี้ สังคมไทยในเวลานั้นก็คงไม่มีใครสรรเสริญ รสช. ซึ่งคนล้อเลียนว่า “รู้สึกช้า” แต่พอสุดท้าย เมื่อมีความพยายามสืบทอดอำนาจ จากที่บอกว่าผมจะไม่รับตำแหน่งก็กลายเป็นเสียสละเพื่อชาติ สังคมไทยก็รับไม่ได้ ขาดความชอบธรรม จากที่อ้างเหตุผล 5 ข้อ แต่ที่จริงแล้วก็ล้วนทำเพื่อพวกพ้องตัวเอง ประชาชนก็ชุมนุมใหญ่ จนเกิดพฤษภาทมิฬ มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่

ทีนี้ เมื่อมาพิจารณาการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผมคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน แน่นอนว่าโผทหารเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ของกลุ่มทหารชั้นนำ ที่เป็นแกนหลักของการรัฐประหาร

ถ้าดูประวัติความเป็นมาของกลุ่มทหารที่เป็นแกนหลักในคราวนี้ ผมยังมองไม่เห็นกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ช่วยผลักดัน ไม่มีผลประโยชน์ด้านสัมปทานโทรคมนาคมแบบสมัยก่อน อย่างเรื่องโทรศัพท์สามล้านเลขหมาย ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลเบื้องหลังประการหนึ่งของการรัฐประหารเมื่อ 15 ปีที่แล้ว การรัฐประหารครั้งล่าสุดนี้ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ผมคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญคือมิติทางสังคม สังคมมีความขัดแย้งยาวนานเป็นปี มีการเดินขบวนประท้วงบนท้องถนนเป็นเดือนๆ มีการจัดตั้งมวลชน ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการปะทะกัน แกนนำของพรรคไทยรักไทยใช้กลุ่มรากหญ้าในการสร้างมวลชนจัดตั้งในลักษณะที่อันตรายมาก ดังที่เราเห็นการประท้วงหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์เนชั่น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ หรือหน้าเวทีปราศรัยของพรรคประชาธิปัตย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ สมาชิกพรรคไทยรักไทยเลือกที่จะใช้กลุ่มรากหญ้าเข้าปะทะกับคนชั้นกลางตามเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ

สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประกอบกันจนนำไปสู่การตัดสินใจทำรัฐประหาร ซึ่งฝรั่งหรือคนไทยหลายคนรับไม่ได้กับการที่คนไปถ่ายรูปหรือไปมอบช่อดอกไม้ให้ทหาร ตัวผมเองก็รับไม่ได้ เพราะเท่ากับเป็นการยอมรับการใช้อำนาจนอกระบบ ดังนั้น บทความใน Far Eastern Economic Review ที่ผมเขียน จึงเตือนว่า ให้ทหารรีบกลับเข้ากรมกองไปเป็นทหารอาชีพ เพราะเรากำลังปล่อยเสือเข้าป่า

จะเป็นไปได้อย่างไรที่ เสือเข้าป่าไปแล้ว จะเดินกลับมาเข้ากรงอีก

คำถามนี้สะท้อนถึงความเป็นจริง พลวัต และเสน่ห์ของเศรษฐกิจการเมืองไทย ซึ่งฝรั่งไม่มีทางเข้าใจ สิ่งที่คณะรัฐประหารต้องทำหลังรัฐประหารสำเร็จ เช่น หนึ่ง ต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง เพื่อให้การรัฐประหารถูกต้องตามกฎหมาย จึงต้องดึงตัวอดีตมือกฎหมายไปเขียน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คนที่เขียนได้โดยที่ใครก็แย้งไม่ได้

สอง เขาอ้างได้ว่า มันมีเซลล์ต่างๆ ของนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่เสียผลประโยชน์ มีความพยายามสร้างความรุนแรง เช่น การเผาโรงเรียน เลยต้องคงอำนาจไว้ระยะหนึ่งให้มั่นใจได้ว่าการถ่ายอำนาจจากคณะรัฐประหารสู่รัฐบาลชั่วคราวเป็นไปโดยเรียบร้อย

ในอีกแง่หนึ่ง เราจะสังเกตได้ว่า องค์ประกอบของคณะรัฐประหารมีความเปลี่ยนแปลง ตอนแรกคณะรัฐประหารประกอบด้วย 5 ฝ่าย รวมตำรวจด้วย แต่โครงสร้างล่าสุดเมื่อกลายสภาพเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มีทหารบกเป็นแกน ขณะที่ฝ่ายอื่นเริ่มมีบทบาทน้อยลง พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดก็หายไปแล้ว รองประธาน คปค. ที่เป็นรองประธาน คมช. เหลือเพียง พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ คนเดียว ส่วนคนอื่นเป็นเพียงสมาชิก ขณะที่มีการเพิ่มพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา สองผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรัฐประหารเข้ามาเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.

โจทย์ต่อไปของเราก็คือ รัฐบาลชั่วคราวเป็นรัฐบาล “หอยในเปลือก” เหมือนที่สมัยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นหรือไม่ อีกโจทย์หนึ่งที่สำคัญคือ การเมืองไม่ได้เป็นแค่เรื่องของสภาหรือนักการเมือง แต่การเมืองเป็นเรื่องของประชาชน ดังนั้น การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ กระแสสังคมเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้ทหารกลับเข้ากรมกอง

ผมคิดว่า การเคลื่อนไหวแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารของฝ่ายต่างๆ เช่น จัดชุมนุม จัดเสวนาการเมือง ทำไปเลย สื่อมวลชนเขียนวิจารณ์ไปเลย ถึงแม้จะมีการประกาศกฎอัยการศึก แต่เราไม่ได้ทำในลักษณะพรรคการเมือง เราทำด้วยจุดยืนของเสรีภาพทางวิชาการ และจุดยืนในการปกป้องกลไกของระบอบประชาธิปไตย

ฝ่ายทหารต้องจัดสรรโครงสร้างอำนาจให้ดี ผมไม่อยากให้ซ้ำรอยเดิม ยกตัวอย่าง ถ้ามีนักธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก วิ่งเข้าหาทหารกลุ่มนี้ แล้วหากผู้นำทหารเริ่มเสพติดอำนาจขึ้นมา มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น หุ้นฟรีของบริษัทใหญ่ๆ มีสัมปทานใหม่ขึ้นมา มันก็จะกลับไปเหมือน 15 ปีที่แล้ว ตรงนี้อันตรายมาก อาจเสียคนได้

ในฐานะที่อาจารย์ติดตามศึกษาบทบาทของกลุ่มทหารมานาน อยากให้ช่วยวิเคราะห์ปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของกลุ่มทหารที่ทำรัฐประหารครั้งนี้

ก่อนหน้านี้ ผมมีโอกาสไปฟังการประชุมของทหารชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งมีบรมครูทางรัฐศาสตร์ไปพูด อาจารย์ท่านนั้นพูดว่า ดูหน้าน้องๆ ซึ่งในความหมายของท่านก็คือเหล่าพันเอกที่นั่งฟังอยู่ แต่ละคนไม่กล้าทำรัฐประหารหรอก คนทำรัฐประหารได้ต้องพวก จปร.1 จปร.5 หรือ จปร.7 เพราะว่าทหารเหล่านั้น ผ่านสงครามเวียดนาม ผ่านสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์ ทำสงครามจริงมาแล้ว เพราะการทำรัฐประหารต้องใจถึงมาก

ผมดูแผนการรัฐประหารครั้งนี้แล้ว คิดถึงคำพูดของอาจารย์รัฐศาสตร์ท่านนั้น ในทางตรงกันข้าม ผมคิดว่าคุณทักษิณตัดสินใจผิดที่เลือกเตรียมทหารรุ่น 10 มาคุมกำลัง เพราะเป็นทหารนอกสายคุมกำลังมานาน ทหารเหล่านี้ไม่มีความสามารถและใจไม่ถึงที่จะทำรัฐประหาร เพราะถ้าผิดพลาดมีโอกาสเป็นกบฏ ทหารในเมืองเหล่านั้นกล้าหรือเปล่า นี่เป็นประเด็นหนึ่งที่เป็นตัวตัดสินว่าทหารฝ่ายไหนจะกล้าเริ่มก่อน

จุดชี้ขาดความสำเร็จของการรัฐประหารอยู่ที่ความเด็ดเดี่ยว ชิงลงมือก่อน และใช้คนน้อย ถ้าดูจากกองกำลัง ทหารและผู้รู้เรื่องทหาร ที่ผมสอบถาม เขาเล่าว่า การรัฐประหารครั้งนี้ใช้หน่วยงานและกองกำลังไม่กี่แห่ง กองกำลังหลักมาจากพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา (แม่ทัพภาคที่ 1 ในขณะนั้น) ซึ่งสั่งรถถังออกได้ และทางผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ (ผบ.นศส.) ซึ่งใกล้ชิดกับพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ส่วนกองทัพภาคที่ 3 ผ่านมาสองวันแล้วถึงเข้ามาสมทบ

ฝ่ายคุณทักษิณไม่ได้คาดการณ์ว่ามีการเตรียมรัฐประหารโดยทหารฝ่ายตรงข้ามหรือ

ความจริงแล้ว การสื่อสารภายในกองทัพมีการตรวจสอบอย่างละเอียดตลอดเวลา มือถือยังโดนตรวจสอบ ผมทราบมาว่า ผู้นำกองทัพบางคนสามารถถูกเช็คจากมือถือได้ว่าอยู่ตรงไหน ถ้าถามว่าแล้วเตรียมการรัฐประหารอย่างไร ผมคิดว่าคณะรัฐประหารอาจจะต้องมีโค้ดพิเศษในการสื่อสารระหว่างกลุ่มของตนเอง ซึ่งเป็นไปได้ เพราะหน่วยรบพิเศษ ทหารที่สู้รบในป่า ต้องมีวิธีการจัดการเรื่องอย่างนี้ ขณะที่ฝ่ายทหารของรัฐบาลมีความสามารถด้านนี้ไม่เท่า

วันที่เกิดรัฐประหาร มีทหารกลุ่มหนึ่งไปยึดศูนย์ไทยคมที่แคราย เพื่อควบคุมการส่งสัญญาณดาวเทียม และแทรกแซงการเผยแพร่ประกาศภาวการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งทางคุณทักษิณเองได้เขียนเตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว เพียงแต่ยังไม่ลงวันที่ พกติดตัวไปที่นิวยอร์ก นี่เป็นเหตุผลเดียวกับที่คุณทักษิณพาพลเอกสนธิไปเยือนพม่าด้วย คือต้องเอาไว้ใกล้ตัว

แต่ช่วงเช้าของวันรัฐประหาร มีการประชุมคณะรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพไม่เข้าร่วมประชุมเลย ตรงนี้ไม่ใช่สัญญาณบอกเหตุผิดปกติหรือ ทำไมคุณทักษิณไม่ประกาศภาวะฉุกเฉินหรือย้ายพลเอกสนธิมาประจำทำเนียบฯ ตั้งแต่หัววัน

คุณทักษิณไม่แน่จริง ถ้าแน่จริง คงไม่ต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ ถ้านายกฯ อยู่เมืองไทย ใครจะกล้าปฏิวัติ แต่เป็นเพราะคุณทักษิณมีทรัพย์สินเงินทองมหาศาล และไม่แน่จริง คุณจะไปบัญชาการได้อย่างไรถ้าตัวอยู่ที่นิวยอร์ก ในสถานการณ์แบบนี้ เป็นนายกฯ ต้องอยู่ที่นี่

อาจารย์คิดว่าคุณทักษิณไม่ยอมกลับประเทศ เพราะรู้ว่าจะมีปฏิวัติ เลยกลัว หรือว่าคุณทักษิณอยู่ต่างประเทศ ทหารเลยกล้าปฏิวัติ

คำถามนี้ตอบยาก แต่ผมคิดว่าคำพูดของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ว่า “ปากกล้า ขาสั่น” น่าจะจริง ทรัพย์สินส่วนหนึ่งที่จะยึดคืนกลับมาไม่ได้ แน่ใจได้เลยว่าใช้นอมินีถือแทนแต่แรกแล้ว กระเป๋าจำนวนมากที่ขนไปตอนเดินทางต่างประเทศคงไม่ใช่เงินหรอก แต่อาจเป็นเพชร ซึ่งแลกเปลี่ยนได้ ชื่อเจ้าของบ้านที่อยู่ที่ลอนดอนก็ไม่ใช่ชื่อตัวเอง ซึ่งอันนี้เขาฉลาด แต่ให้ดูกรณีของมาร์กอส (Ferdinand Marcos) ให้ดี ในยุคโลกาภิวัตน์ เครื่องมือในการเด็ดหัวนักการเมืองทุจริตคือการตรวจสอบการฟอกเงิน ทีนี้คุณทักษิณจะโดนเอง และประเทศที่ควรจะให้ความร่วมมือในการตรวจสอบคือสหรัฐอเมริกา

ผมอยากจะเขียนบทความแรงๆ ที่ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช อาจมีผลประโยชน์บางอย่างกับคุณทักษิณ เพราะท่าทีในการประท้วงรัฐประหารของสหรัฐอเมริกาต่อไทยในครั้งนี้ไม่ธรรมดา ทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกากล่าวได้อย่างไรว่า จะต้องยกเลิกกฎอัยการศึกใน 10 วัน มันมีผลประโยชน์อะไรแฝงอยู่ในข้อตกลงเขตการค้าเสรี มีอะไรในข้อตกลงพันธมิตรหลักนอกนาโต (Major Non NATO Alliance-MNNA) ที่ทำกับรัฐบาลทักษิณ สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจ ผมไม่เห็นอเมริกาจะประท้วงอะไรเลย

ผมเคยทำวิทยานิพนธ์พบว่า สมัยรัฐบาลจอมพลถนอมก็มีข้อตกลงลับตั้งมากมาย ซึ่งเวลานั้นเราไม่รู้ กว่าจะรู้ก็ 20 ปีให้หลัง ต้องไปค้นเอกสารที่วอชิงตันถึงจะรู้ ว่าทหารไทยในขณะนั้นให้ฐานทัพกี่แห่งแก่สหรัฐอเมริกาในการทำสงครามเวียดนาม ผมเชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ค่อนข้างพิเศษกับคุณทักษิณมาก เหมือนกับที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับประธานาธิบดีมูชาราฟ (Pervez Musharraf) แห่งประเทศปากีสถาน

ทำไมคุณทักษิณไม่ยอมลาออกแต่แรก ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่าหากดึงดันอาจต้องพบจุดจบเช่นนี้

ผมตีความว่า ความจริงคุณทักษิณคงไม่อยากอยู่ เพียงแต่สิ่งที่ท่านได้สร้างไว้เป็นเหมือนกรรม ใครจะให้หลักประกันได้ว่าจะไม่มีการเช็คบิล ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาจากทหารหรือชนชั้นนำในสังคม คนชั้นกลางก็เช็คบิลได้ แค่เรื่องหลีกเลี่ยงภาษีก็แย่แล้ว

แต่คุณทักษิณไม่คิดเหรอว่า ถ้าสุดท้ายจบลงด้วยการยึดอำนาจ เขาก็ต้องโดนเช็คบิลอยู่ดี

ฝรั่งถามผมว่า การเมืองไทยมีการประนีประนอมแบบไทยๆ หรือไม่ ตั้งแต่ผมเกิดมาและเห็นการเมืองไทยตั้งแต่สมัยจอมพลถนอม การเมืองไทยไม่มีการประนีประนอมกัน ตายอย่างเดียวครับ อย่าง 6 ตุลาฯ พฤษภาทมิฬ 2535

หมายถึงไม่มีการประนีประนอมในหมู่ชนชั้นนำด้วยหรือ?

มันมีความขัดแย้งในหมู่ชนชั้นนำไทยในระดับหนึ่ง ผมกลัวมากว่าจะมีการปะทะกันบนท้องถนน ส่วนตัวผมไม่คิดว่ามีการประนีประนอม มีแต่การขุดรากถอนโคน

แต่ถ้าย้อนประวัติศาสตร์กลับไปช่วงสั้นๆ รัฐประหาร 2534 โดย รสช. ถึงบทสุดท้ายก็มีการประนีประนอม การยึดทรัพย์ก็ล้มเหลว พลเอกชาติชายก็กลับมาเล่นการเมืองได้อีก

ตอนนั้นมีการแตกกันเองในหมู่ทหาร มันสามารถวิ่งเต้นได้ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ แต่คราวนี้ โครงสร้างมันใหญ่ขึ้นมาก ผลประโยชน์ทับซ้อนมหาศาล มันต้องทำลายทั้งระบบ เพราะในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ผลประโยชน์ต่างๆ ฝังรากลึกมาก กระทั่งระดับกรม โดยเฉพาะในกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงาน

การเมืองยุคหลังทักษิณเป็นการกลับมาของพลังอำมาตยาธิปไตย เป็นการฟื้นชีพของเทคโนแครต หรือการกลับมาของเปรมาธิปไตยหรือไม่

อันนี้เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ แต่หากจะมองในเชิงวิชาการ เราอาจจะต้องดูกันในระยะยาวพอสมควร อย่างสมัยรัฐบาลทักษิณ กว่าผมจะเรียกว่า “ระบอบ” ทักษิณ ก็หลังจากเชื่อว่า มันเกิดโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีลักษณะเฉพาะขึ้นมาแล้ว

ในแง่รัฐศาสตร์ ระบอบอำมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) ในประเทศไทยมีการพัฒนามานาน และเป็นโครงสร้างใหญ่ เกิดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ข้อจำกัดของระบอบอำมาตยาธิปไตยคือ มองไม่เห็นพลังกลุ่มอื่น โดยเฉพาะพลังตลาด (market force) เช่น ภาคธุรกิจเอกชน ดังนั้น ถ้าจะให้สรุปคำนิยามของระบอบอำมาตยาธิปไตยก็คือ เป็นระบอบที่พลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเมือง สังคมมาจากระบบราชการ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นชนชั้นนำในระบบราชการ ผสมเทคโนแครต

แต่สำหรับเปรมาธิปไตยเป็นการผสมผสานระบอบอำมาตยาธิปไตยกับโลกแห่งความเป็นจริง เปรมาธิปไตยไม่ไช่อำมาตยาธิปไตยแบบดั้งเดิมหลัง 2475

ผมจะลองทบทวนว่า เปรมาธิปไตยมีลักษณะอย่างไร ประการแรก เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ (Semi-Democracy) มีรัฐธรรมนูญ มีสภา มีการเลือกตั้ง แต่มีนายกรัฐมนตรีที่สัมพันธ์กับกลุ่มทหาร มีการทำงานร่วมกันระหว่างคณะทหารกับคณะรัฐมนตรี มีกฎหมายที่ให้อำนาจทหารแทรกแซงการเมืองได้ ซึ่งถ้าเราจับหลักนี้มาวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน อาจมองในแง่บวกได้ว่า คณะทหารเพียงพยายามประคองรัฐบาลชั่วคราว

ประการต่อมา เทคโนแครตมีบทบาทสูงในกระบวนการกำหนดนโยบาย มีการใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ใช้เทคโนแครต ซึ่งเป็นนักเรียนนอก มีความรู้ดี ทำหน้าที่กำหนดและดำเนินนโยบายอย่างเต็มที่ มีอิสระ เช่น พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ทำหน้าที่ด้านการต่างประเทศ คุณโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ทำหน้าที่ด้านพัฒนาชนบท เป็นต้น นอกจากนั้น มีความพยายามปรับแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง เช่น เพิ่มบทบาทให้กับภาคธุรกิจเอกชน เช่น ตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.)

หากวิเคราะห์การเมืองในปัจจุบัน ขณะนี้เราอาจจะยังเห็นไม่ชัด ต้องรอดูโฉมหน้าของคณะรัฐมนตรี (ขณะสัมภาษณ์ ยังไม่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี) ท้ายที่สุด เราอาจจะบอกว่า นี่คือรัฐบาลเปรม 6 ก็ได้ คือมีคนที่เคยมีบทบาทอยู่ในรัฐบาลเปรม 1 ถึงเปรม 5 อยู่ในรัฐบาลนี้ เช่น คุณโฆษิต นอกจากนี้ อาจจะมีเทคโนแครตเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตปลัดกระทรวง

นอกเหนือจากการวิเคราะห์ในแง่ตัวบุคคลแล้ว เนื้อหาด้านวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร

วิธีการทำงานจะต้องเปลี่ยนไป ระบบราชการหรือการบริหารงานแบบท่านนายกฯเปรม ในทศวรรษ 2520 ใช้ไม่ได้แล้วกับสังคมไทยที่กลายเป็นส่วนสำคัญของโลกาภิวัตน์

ผมให้เครดิตกับคุณทักษิณที่เป็นตัวกระตุ้นระบบราชการ แต่ผมไม่ได้คิดว่าโมเดลในการปฏิรูประบบราชการมาจากตัวคุณทักษิณคนเดียว หากเริ่มมาตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนๆ แต่โดยหลักแล้ว นักการเมืองในวันข้างหน้าจะต้องรู้จัก “ใช้” ระบบราชการเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพียงแต่การจัดการสังคมเศรษฐกิจไทยนั้น ต้องสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ใช่เหมือนในยุคพลเอกเปรมที่ทำงานไปตามระบบราชการ

ผมยกตัวอย่างการบริหารงานในกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ควรใช้อดีตปลัดกระทรวงเป็นรัฐมนตรี ควรใช้นักวิชาการ หรือนักคิดหัวก้าวหน้า เพราะกระทรวงนี้มีความสำคัญมาก ไม่ใช่เพียงหน้าตาเท่านั้น แต่เกี่ยวพันกับการบริหารจัดการประเทศไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ กระทรวงพาณิชย์ก็เช่นเดียวกัน ผมไม่คิดว่าเราควรจะถอดแบบการบริหารงานในยุคพลเอกเปรมมา ถ้าคุณโฆษิตเป็นรัฐมนตรีก็ควรเป็นคุณโฆษิตในฐานะประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ไม่ใช่ข้าราชการระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เปรมาธิปไตยที่ไม่มีพลเอกเปรมเป็นผู้นำรัฐบาล จะแตกต่างจากเปรมาธิปไตย ภายใต้การนำของพลเอกเปรม ในช่วงทศวรรษ 2520 หรือไม่ อย่างไร

ประการแรก ผมคิดว่าพลเอกเปรมคงไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกข้างนอกแล้ว ถ้าสมมติคุณบอกว่ามีการบริหารโดยลูกของเปรมาธิปไตย ซึ่งก็คือพลเอกสรยุทธ์ ด้วยความเคารพนะครับ ท่านก็จบ West Point (United States Military Academy at West Point) เป็นคนดีมีคุณธรรม แต่ท่านก็มีจุดอ่อน ท่านเป็นนายทหาร ใครจะให้คำแนะนำท่านว่าจะพูดอะไรในเวทีโลก ผมคิดว่าต้องมีคณะทำงานที่เข้มแข็งอยู่เบื้องหลัง ตรงนี้คือสิ่งสำคัญที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน

ด้านเศรษฐกิจผมเบาใจ ม.ร.ว. ปริดิยาธร เทวกุล พยายามจะบอกว่า เศรษฐกิจพอเพียงสามารถไปด้วยกันได้กับนโยบายเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ยังสามารถคงเมกกะโปรเจ็ค ที่เป็นประโยชน์ไว้ได้ แต่ในด้านต่างประเทศนั้น ผมให้ความสำคัญมาก เพราะประเทศไทยกำลังพัฒนาอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลก ขณะที่นายกฯ มีความรู้ด้านต่างประเทศไม่มากนัก ผมไม่ได้พูดในแง่การรักษาภาพลักษณ์ของประเทศหลังจากรัฐประหาร แต่จะทำอย่างไรให้สังคมไทยสามารถเดินต่อตามกติกาใหม่ของโลกาภิวัตน์ ไม่ว่ากติกาจาก WTO หรือ FTA ได้ คณะทำงานลักษณะนี้ต้องการปัญญาชน

ในแง่เหล่านี้จะมีพลเอกเปรมหรือไม่มี ก็ไม่เกี่ยว ท่านไม่รู้เรื่องพวกนี้อยู่แล้ว แต่คนที่เป็นลูกเปรม และต้องออกไปสู่เวทีโลกนั้นสำคัญ ผมถึงไม่อยากให้อดีตปลัดกระทรวงมาเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงที่สำคัญด้านนี้

ผมยังมั่นใจว่า สังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในอนาคต จะต้องเรียกร้องระบอบประชาธิปไตย ระบอบตัวแทน การเลือกตั้ง ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทในการดูแลตัวเอง ดังนั้น รัฐบาลข้างหน้าจะสามารถเชื่อมต่อตรงนี้ได้ดีเพียงใด

อาจารย์วิเคราะห์การกลับมามีบทบาททางการเมืองของพลเอกเปรมอย่างไร หรือจริงๆ แล้ว พลเอกเปรมไม่เคยหายไปจากสังคมการเมืองไทยแต่แรกแล้ว

ท่านไม่เคยหายไปจากเศรษฐกิจการเมืองไทย แต่อยู่ในมุมเงียบๆ ในช่วงรัฐบาลผสม ผมคิดว่าท่านมีส่วนในการจัดโผทหาร

พลเอกเปรมกลับออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงอภิมหาเศรษฐีจากสัมปทานโทรคมนาคม กระโดดเข้ามาสู่การเมือง และแสดงให้เห็นทิศทางใหม่ในการดำเนินนโยบาย ซึ่งฝรั่งใช้คำว่า modern money politics

นโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยได้สร้างผลสะเทือนต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ดั้งเดิมของสังคมไทย เพราะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองกับระบบหัวคะแนนและการจัดตั้งในชนบท ผ่านนโยบายประชานิยมอย่างมีประสิทธิภาพ

ใครจะมองแง่มุมของประชานิยมอย่างไรก็แล้วแต่ ทางเศรษฐกิจผมรู้น้อย แต่ถ้ามองผลกระทบทางการเมือง เราต้องยอมรับว่า สิ่งที่ถือว่า “คิดใหม่-ทำใหม่” จริงๆ ก็คือ นโยบายประชานิยม ซึ่งมาบวกนโยบายเอื้ออาทรทีหลัง ตรงนี้เองที่สร้างผลสะเทือนต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ดั้งเดิม และเป็นจุดกำเนิดให้เปรมาธิปไตยต้องเคลื่อนไหว

เคลื่อนไหวเพื่ออะไร เพื่อรักษาโครงสร้างความสัมพันธ์ดั้งเดิมไว้?

ก็เคลื่อนไหว (คิดสักครู่) แต่ผมไม่รู้ว่าเพื่อรักษาไว้หรือเปล่า

เปรมาธิปไตยค่อนข้างไร้ประสิทธิภาพในช่วงแรก เคลื่อนไหวก็ช้า การปะทะหลายอย่างก็ไม่เป็นรูปธรรม เพิ่งมาเห็นชัดเจนในช่วงระยะหลัง โดยเฉพาะก่อนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรเริ่มก่อตัว คนกลุ่มนี้กำลังเฝ้าดูกระแสและบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคมไทย ซึ่งเริ่มเห็นได้ชัดในกรณีของคนชั้นกลาง ซึ่งเริ่มตอบรับวาทกรรมอันเร่าร้อนของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผมเองก็ไม่ได้เห็นด้วยกับคุณสนธิทุกประเด็น แต่เราต้องยอมรับว่า ความสามารถในการโน้มน้าวของคุณสนธิดีวันดีคืน ผมคิดว่าเปรมาธิปไตยใช้ประโยชน์จากกระแสตรงนี้ หรืออาจจะมีการประสานงาน ใช้ประโยชน์จากกันและกัน นี่คือสังคมไทย

อาจารย์คิดว่าการเมืองไทยหลังรัฐประหารถอยหลังเข้าคลองมากเพียงใด

ถ้าพูดแบบตะวันตก ฝรั่งจะบอกว่าถอยหลังเข้าคลองแบบสุดๆ แต่ถ้าพูดในบริบทของภูมิภาคนี้ ผมคิดว่าเป็นการก้าวถอยหลังมา 1-2 ก้าว แต่ถ้าอยู่เกินปี ก็ยุ่งเหมือนกัน

ผมเคยเตือนแล้วว่า คุณทักษิณอย่าไปยุ่งกับกองทัพ ท่านเป็นคนไปดึงกองทัพกลับมายุ่งกับการเมือง (repoliticizing military) เอง กองทัพถึงกลับมาเป็นเสือที่มีเขี้ยวเล็บ แล้วก็จะมีสนธิ 1 2 3 … ขึ้นมาอีก เราต้องไม่ปล่อยให้กรณีรัฐประหาร 19 กันยายนไปตอกย้ำวัฒนธรรมอำนาจนิยมของคนไทย ที่เชิดชูบุคคล เชิดชูอำนาจนิยม (Authoritarianism)

ระบอบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง แม้จะมีนักการเมืองยี้ แต่ก็มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการเจรจาต่อรอง ปะทะ ประสาน เปิดช่องให้ประชาชน และผู้ด้อยโอกาส เข้ามาอยู่ในกระบวนการเจรจาต่อรองได้ ดังนั้น เราไม่ควรเปิดโอกาสให้รัฐบาลเปรม 6 อยู่ได้นาน

อย่างไรก็ตาม เราต้องพิจารณาเนื้อหาของการเมืองไทยในสมัยรัฐบาลทักษิณให้ดี แม้จะมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็สร้างปัญหามากมาย เช่น นักเลือกตั้งยี้เริ่มขยายตัวไปถึงวุฒิสภา มีการปิดกั้นการแสดงออกทางการเมือง ประท้วงไม่ได้ คัดค้านไม่ได้ ถูกตัดตอนความคิด ความเห็น ผมตั้งคำถามว่าการเมืองในวันข้างหน้าจะเป็นแบบ ill-liberal democracy หรือไม่ ระบบเสรีประชาธิปไตยที่แท้ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณ

แล้วระบบเสรีประชาธิปไตยที่แท้จะเกิดขึ้นจากการรัฐประหารได้อย่างไร เราก็เห็นการควบคุมสื่อเหมือนกัน ห้ามแสดงออกทางการเมืองเหมือนกัน

ช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน การทำรัฐประหารข้ามคืนคงไม่ได้ทำให้ระบอบทักษิณหายไป แล้วเปลี่ยนผ่านไปสู่เปรมาธิปไตยทันที จริงๆ แล้ว ผมก็ยังไม่รู้ว่าการเมืองไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่อะไรด้วยซ้ำ เพราะต้องดูปัจจัยอีกหลายอย่าง เช่น ต้องดูการเมืองภาคประชาชน ว่ามีการเรียนรู้หรือไม่ที่จะสร้างพลังประชาชน ต้องดูว่ายังมีกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ตะกละตะกลามหรือไม่ เราต้องไม่ลืมว่ากำเนิดของพรรคไทยรักไทยเป็นผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต้องวิ่งเข้าหาแกนอำนาจใหม่

จากงานวิจัยเรื่องพลวัตกลุ่มทุนไทยของทีมอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2) เห็นชัดว่า การต่อสู้ระหว่างกลุ่มทุนภายในประเทศ (Domestic Capital) ด้วยกันเองมีน้อย ตอนนี้ กลุ่มทุนต่างประเทศครอบเราหมดแล้ว ภาคส่งออกเป็นบริษัทข้ามชาติทั้งนั้น เราไม่ได้สู้กันเอง เราสู้อย่างน้อยในระดับภูมิภาค หรือเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทข้ามชาติ ไม่ว่าชาติไหนก็แล้วแต่ ในประเด็นนี้ ผมอยากให้เราช่วยกันมองไปข้างหน้า

การเมืองยุคหลังทักษิณจะทำให้โครงสร้างกลุ่มทุนไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพราะเปรมาธิปไตยก็ไม่ได้ปลอดจากกลุ่มทุน

ผมคิดว่า เราต้องดูพัฒนาการของระบบทุนนิยมไทยหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 ที่มีลักษณะเฉพาะ หลังปี 2540 กติกาใหม่ของโลกาภิวัตน์เข้ามากำกับการพัฒนาของกลุ่มทุนภายในประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด และนี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าของบริษัทชินวัตรเข้าสู่การเมืองในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เพื่อเข้ามาแสวงหาประโยชน์ระยะสั้น

ในยุคโลกาภิวัตน์ กลุ่มทุนอื่นไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนเหล้า กลุ่มทุนธนาคาร ไม่มีความสำคัญต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทยเหมือนสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกแล้ว กระทั่งภาคโทรคมนาคมเอง เมื่อเปิดเสรีแล้ว การแข่งขันจะสูงมาก กลุ่มทุนไทยไม่สามารถลงทุนใน 3G ได้ ทางด้านชินคอร์ปอเรชั่นเองก็มองเห็นเลยขายให้เทมาเส็ก (Temasek) บริษัทรัฐบาลสิงคโปร์ ผมคิดว่าแผนการของเขาคือต้องการขึ้นเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาค (regional player) คุณทักษิณมองเห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคตค่อนข้างดี เริ่มไปจับกลุ่มพลังงานแทนโทรคมนาคม ในระยะสั้น ต้องถือเงินสดไว้ก่อน แต่เผอิญสนุกไปหน่อย

แล้วกลุ่มทุนที่จะไปเกาะเปรมาธิปไตยจะได้อะไร เปรมาธิปไตยนั้นโบราณมาก ไม่สอดคล้องกับโลกาภิวัตน์แล้ว กติกาเศรษฐกิจที่เราเผชิญไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เราไม่สามารถป้องกันกลุ่มทุนภายในประเทศภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่เปิดค่อนข้างมากได้อีกต่อไป

อาจารย์ไม่เชื่อเหมือนบางคนที่ว่าการต่อสู้ทางการเมืองที่ผ่านมาเป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มทุนเก่ากับกลุ่มทุนใหม่ แต่อาจารย์กลับเห็นว่าโจทย์ใหญ่ที่สังคมเศรษฐกิจไทยเผชิญคือ ทุนไทยไม่ว่าจะทุนเก่าหรือใหม่ กำลังจะตายเพราะทุนต่างชาติ ทุนโลกาภิวัตน์

ใช่ครับ งานวิจัยที่ผมทำกับกลุ่มอาจารย์ผาสุกพบว่า กลุ่มทุนแทบทุกกลุ่มได้รับผลกระเทือนจากทุนโลกาภิวัตน์ ขนาดกลุ่มทุนธนาคาร (3) ซึ่งเป็นทุนที่ใหญ่ที่สุดและเป็นแบบอย่าง ก็ยังแข่งขันกับกลุ่มทุนธนาคารต่างชาติได้ยาก ทางออกของทุนไทยทางหนึ่งก็คือสร้างพันธมิตรกับต่างชาติ

หากระบอบทักษิณถูกค้ำยันด้วยนโยบายประชานิยม แล้วอะไรคือสิ่งค้ำยันการเมืองยุคหลังรัฐประหาร

ถ้าหมายถึงรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ เราก็เห็นกันอยู่ว่าถูก “อะไร” ค้ำยันอยู่ แต่จะค้ำยันกันอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ ได้หรือไม่ เพราะการเมืองต้องมีความชอบธรรม การเมืองก็มีโลกาภิวัตน์ ประชาธิปไตยไม่ได้อยู่โดดๆ แต่เป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์



จบ

อ้างอิงจาก : http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/1079


ผมเอามาลงเพราะว่า ผมอยากเอามาลงเฉย ๆ อย่ามาถามผมว่า ผมคิดอย่างไรกับบทสัมภาษณ์ เพราะผมจะตอบด้วยอีกบทสัมภาษณ์ และอีกบทสัมภาษณ์ และอีกบทสัมภาษณ์ ... ฮี ๆๆๆๆๆๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17-10-2006, 13:37 โดย คนในวงการ » บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #5 เมื่อ: 17-10-2006, 13:47 »

ขออนุญาตสรุปบรรทัดสุดท้ายครับว่า อำนาจทางทหารในการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองผ่านรูปแบบของการรัฐประหารไม่เคยจางหายไปจากสังคมไทยนับตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา

รูปแบบการก่อรัฐประหารของทหารไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนักจากอดีตถึงปัจจุบัน แต่เหตุผลและสถานะการณ์ของแต่ละยุคแต่ละสมัยเปลี่ยนไปตามแต่ว่าทหารจะเข้ามาก้าวก่ายช่วงไหน


แต่ท้ายสุด...บทสุดท้ายเหมือนกันคือ ทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน


ที่น่าสนใจก็คือ ในประวัติศาสตร์ไม่กี่ร้อยปี มีเพียง 1 ครั้งเท่านั้นที่เกิดการปฎิวัติ แต่ในทางกลับกัน...ทหารกระทำการรัฐประหารนับสิบๆครั้งในช่วงเวลาไม่ถึง 100 ปี



ถึงเวลาที่ประชาชนจะร่วมกันปฎิวัติครั้งที่ 2 หรือยัง!?!
บันทึกการเข้า
อมพระมาพูด
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 918


สนิมเกิดแต่เนื้อในตน


« ตอบ #6 เมื่อ: 17-10-2006, 14:13 »


ถึงเวลาที่ประชาชนจะร่วมกันปฎิวัติครั้งที่ 2 หรือยัง!?!

FOR WHAT ?
บันทึกการเข้า

พึงทำความเพียรในวันนี้ ใครเล่าจะรู้วันตายในวันพรุ่ง
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 17-10-2006, 16:59 »

เป็นการให้สัมภาษณ์ ที่เหมือนกับไปฟังบรรยายเลย

ประเด็นได้ครบ จับประเด็นได้ดี

คนสัมภาษณ์ พยายามพาไปถล่มก็ไม่ไปด้วย

หลักการดีมากๆ

น่าขึ้นเวทีสัมนา ซักแห่ง... อยากดู... 

** ขอบคุณจขกท ที่เอา link ดีดี มาฝากครับ
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #8 เมื่อ: 18-10-2006, 10:07 »

 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 18-10-2006, 11:48 »

เพราะกลัวรัฐประหาร จึงโดนรัฐประหารไงละ 
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #10 เมื่อ: 18-10-2006, 13:46 »

สุดยอดครับอาจารย์ วิเคราะห์ได้ดี และ เข้าใจเหตุการณ์เป็นอย่างมาก ถึงผมไม่เห็นด้วยทั้งหมด แต่ผมถือว่า น่านับถือ ความคิดในเรื่องทางออกของประเทศไทยผมก็คิดคล้ายกันกับอาจารย์จึงค่อยข้างที่จะเห็นด้วยครับ 
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
Abraxas
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 87



« ตอบ #11 เมื่อ: 18-10-2006, 16:55 »

พูดดีมากครับ 
บันทึกการเข้า

Power comes from lying. Lying big, and gettin' the whole damn world to play along with you.
Once you got everybody agreeing with what they know in their hearts ain't true, you've got 'em by the balls
.


SIN CITY
อำนาจมาจากการโป้ปด โป้ปดแล้วปั่นให้คนทั้งโลกเออออไปกับเรา เมื่อไหร่ที่ทุกคนคล้อยตาม ทั้งที่รู้แก่ใจว่ามันผิด นั่นล่ะคืออยู่หมัด - Sin City [/size][/color][/b]
หน้า: [1]
    กระโดดไป: