ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 19:35
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สงสารเด็กไทย : สับสนเนื่องจากการขัดแย้งทางบทบาท 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สงสารเด็กไทย : สับสนเนื่องจากการขัดแย้งทางบทบาท  (อ่าน 1024 ครั้ง)
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« เมื่อ: 16-10-2006, 12:22 »

สงสารเด็กไทย : สับสนเนื่องจากการขัดแย้งทางบทบาท 
   สงสารเด็กไทย : สับสนเนื่องจากการขัดแย้งทางบทบาท
โดย รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

ได้ยินเรื่องรับน้องใหม่ที่กำลังระบาดอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกวันนี้ก็ชักกลุ้มใจเต็มที เนื่องจากมองดูประชากรในกลุ่มอาชีพต่างๆ ในปัจจุบันแบบกว้างๆ ก็เห็นกลุ่มอาชีพตำรวจทหารที่ผ่านโรงเรียนเตรียมทหารดูจะมีปัญหาสับสนเรื่องการบริหารภายในองค์กรมากที่สุด
ทำไมเรื่อง 2 เรื่องนี้มาโยงกันได้?

คิดกันแบบเล่นๆ ก็แล้วกัน ฟังได้ก็ฟังฟังไม่ได้ก็อย่าฟัง แต่ขอย้ำว่าคิดเล่นๆ แต่วิตกจริงๆ ตามประสาคนวิตกจริตกล่าวคือ คนเราทุกคนนั้นต้องมีสิ่งที่ติดตัวทั้งรูปธรรมและนามธรรมอยู่ 2 อย่าง คือ

1. สถานภาพ (Status) คือ เป็นอะไร? เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย เป็นกะเทย เป็นนาย เป็นลูกน้อง เป็นพ่อ เป็นลูก เป็นชู้ เป็นผัว เป็นเมีย
เป็นชาวนา เป็นนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

2. บทบาท (Role) คือเล่นเป็นอะไร? ในเวลาไหน? อันนี้เป็นปัญหา เพราะว่าคนเราทุกคนมีสถานภาพเยอะเป็นร้อยๆ สถานภาพกันทุกคน การจะเล่นบทไหน? เวลาใด? นี่มันปวดหัวไม่ใช่น้อย คนที่พังๆ กันก็เพราะเล่นบทผิดเวลา นี่แหละ เช่นเป็นพระภิกษุแล้วก็เป็นผู้ชายด้วย เกิดอยากเล่นบทชู้ขึ้นมา เมื่อถูกจับได้ ก็ต้องโดนประหารชีวิตให้ตายจากเพศของพระภิกษุ (โดนจับสึก) หรือเป็นครูแต่เล่นบทเพื่อนกับนักเรียน ชวนนักเรียนไปกินเหล้า ซึ่งมันก็เป็นปัญหาอยู่แล้ว การเล่นเป็นอะไรตามบทบาทนี่ลำบากต้องดูเวลาและสถานที่ ต้องมีสติ คือรู้ตัวก่อนทำ ควบคู่กับการมีสัมปชัญญะ คือรู้ตัวขณะที่ทำอยู่ด้วย ไม่ยังงั้น พังอย่างเดียว เรื่องอย่างนี้ทุกคนเคยโดนมาแล้วทั้งนั้น
สุภาษิตไทยถึงมีให้ปลอบใจยังไงว่า "ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน" แค่ไม่ต้องมีการรับน้องใหม่ คนไทยก็สับสนเรื่องเล่นให้เป็นเพื่อให้เหมาะสมสถานภาพ (คือเลือกบาทบาทที่จะเล่นให้เหมาะสมกับสถานที่และเวลา) อยู่แล้ว เนื่องจากความยุ่งยากของ "มิติแห่งเวลา"

คราวนี้พูดถึงเรื่องรับน้องใหม่ที่โหดๆนิยมทำกันอยู่ในสถาบันการศึกษาเกือบทุกระดับนั้นมันสร้างความสับสนในเรื่องสถานภาพและบทบาท
เป็นอย่างสูง โดยเฉพาะพวกทหารตำรวจที่ผ่านสถาบันโรงเรียนเตรียมทหารด้วยนี่สับสนวนเวียนกันจริงๆ โปรดดูขั้นตอนไป ดังนี้

1. เด็กเพศชาย เข้าโรงเรียนระดับประถมศึกษาเรียนอยู่ 6 ปี ในชั้นประถมปีที่ 6 นั้นก็รู้สึกยิ่งใหญ่ที่สุดในโรงเรียน เนื่องจากเป็นพี่ใหญ่กว่าใครในโรงเรียน มีสถานภาพอย่างนี้ 1 ปี กร่างมาก

2. เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา เมื่อก่อนไม่มีการรับน้องใหม่ ระยะหลังเริ่มรับกันแล้ว มิหนำซ้ำยังมีการรับน้องใหม่ 2 ขยัก คือน้องใหม่ระดับ ม.1 กับน้องใหม่ระดับ ม.4 ซึ่งกำลังทวีความเข้มข้นขึ้นทุกวัน

3. เข้าโรงเรียนเตรียมทหารที่มีการเรียน 2 ปี พอเข้าไป ปีที่ 1 ก็เป็นน้องใหม่มีสิทธิเท่ากับศูนย์ โดยพี่ปีสองซ่อมเสียโทรมไป พอขึ้นเป็นปีที่ 2 ก็ใหญ่คับโรงเรียนแต่ก็ใหญ่อยู่ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น

4. แยกเข้าโรงเรียนเหล่า คือโรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนนายร้อย จ.ป.ร. โรงเรียนนายเรือโรงเรียนนายเรืออากาศ ก็เข้าไปเป็นน้องใหม่กันอีก มีสิทธิเท่ากับศูนย์

ดูเอาเถอะครับ! แล้วจะไม่ให้ตำรวจ,ทหารของเราสับสนได้ยังไงละครับ แบบว่าทหารเคยก็ออกมายึดอำนาจปกครองบ้านเมืองไปตั้งหลายครั้ง
ในอดีต ตำรวจแม้ในปัจจุบันก็มีปัญหาเยอะ ก็เพราะสับสนเรื่องสถานภาพกับบทบาทนี่แหละ เรียกว่าไม่รู้จะเล่นบทบาทอะไร? ตอนไหน? เช่น ตอนไหนจะจับ ตอนไหนจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น สงสารสารวัตรจราจรครับ มิติของเวลานี่มันสับสนจังเลย จับมาก็เจอตอ ไม่จับก็เป็นจลาจล ก็เลยต้องเลือกเสี่ยงเอาว่าจะโดนประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะ 2 มาตรา 157 ที่ว่า เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อไรก็ไม่รู้ รับน้องใหม่กันเข้าไปเถอะ เอาให้ถึงชั้นอนุบาลเลย คนไทยเรายังสับสนไม่พอหรอก เนื่องจากมีการแย้งว่า การรับน้องใหม่เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ แม้แต่มหาวิทยาลัยที่ว่าเป็นปัญญาชนก็เอากับเขาด้วย

ที่ตลกสิ้นดีก็คือมหาวิทยาลัยในปัจจุบันดูจะเป็นผู้นำในการส่งเสริมการรับน้องใหม่ที่ไม่มีเหตุผลและผลดีแต่ประการใด เพราะหัวใจ และเส้นชีวิตของพิธีกรรมรับน้องใหม่ "คือความกลัวและศัตรูร่วม" ท่านผู้อ่านที่เคารพโปรดสังเกตดูเถอะว่าในโรงเรียนใดที่มีครูที่เคร่งครัดหรือ
"โหด" คนหนึ่งที่นักเรียนเกลียดทั้งโรงเรียน การที่จะสร้างความสามัคคีก็ทำได้ไม่ยาก เริ่มจากการตั้งวงนินทาครูคนนั้น หรืออาจจะมีการทำกิจกรรมร่วมแกล้งครูคนนั้น ก็ยิ่งสนุกและเป็นการกระทำของฮีโร่ด้วยซ้ำไป ดังนั้นการสร้างศัตรูร่วมจึงเป็นกลยุทธ์เก่าๆ ที่ใช้ได้ผลเสมอมาเหมือนการต้มตุ๋น "ตกทอง" ที่ยังใช้ได้ผลจนปัจจุบันนี้ การสร้างความกลัวและการสร้างศัตรูร่วมนั้น เป็นการสร้างความสามั
โดย: [0 3] ( IP ) 

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
   คคีแบบตื้นๆ ซึ่งบรรดาผู้เผด็จการหรือผู้นำประเทศที่ไม่มีฝีมือต้องใช้อยู่เสมอเช่น ฮิตเลอร์สร้างยิวเป็นศัตรูร่วม ซึ่งไทยเราก็สร้างพม่าเป็นศัตรูร่วมมาตั้งหลายสิบปีแล้ว

ตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยก็กำลังเลียนแบบไทย โดยสร้างไทยเป็นศัตรูร่วมเพื่อสร้างความสามัคคีชั่วคราวในบ้านเขา
ปัญญาชนของเมืองไทยนี่คิดอะไรสร้างสรรค์กว่าการรับน้องใหม่โหดๆ เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะไม่ได้แล้วหรือ? จึงต้องงมงายอยู่กับมายาคติของความกลัวและการสร้างศัตรูร่วมอยู่จนจะเป็นวัฒนธรรมประจำชาติอยู่แล้ว

ถ้าการรับน้องใหม่ดีจริงๆ ก็โปรดดูความรักความสามัคคีกันระหว่าง "รุ่น 5 กับ รุ่น 7" เอาเถอะครับ

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: