ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 14:30
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ วิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2549 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ วิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2549  (อ่าน 2963 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 15-10-2006, 07:30 »

ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ วิเคราะห์รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 9 ต.ค.
2549 ที่ผ่านมาในการอภิปรายหัวข้อ ‘รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2549 กับการปฏิรูป
การเมือง’ ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เป็นการพิจารณารัฐธรรมนูญชั่วคราวออกมาอย่างละเอียดและสอบทานในเชิงหลักการ
อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงรอยต่อเชื่อมของของความบกพร่องจาก
รัฐธรรมนูญฉบับเก่าๆ ทั้งที่เกิดขึ้นในช่วงเผด็จการทหารหรือแม้กระทั่งรัฐธรรมนูญปี
2540 ที่ถูกเรียกว่า ‘ฉบับประชาชน’

ทั้งนี้ ศ. รังสรรค์ ได้ตั้งโจทย์ในการวิเคราะห์ 3 ข้อหลัก ๆก็คือ วิเคราะห์กระบวนการ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่, รัฐธรรมนูญ 2549 กับการปฏิรูปการเมือง และที่สุดก็คือ
การตอบคำถามว่า การร่างรัฐธรรมนุญฉบับถาวร? ครั้งล่าสุดนี้ จะยังผลให้เกิดการปฏิรูป
การเมืองหรือไม่ ซึ่งคำตอบดูเหมือนจะเป็นไปในทางที่ดีไปเสียมิได้ ในเมื่อสังคมไทย
ยังไม่ได้ข้อตกลงร่วมกันว่าจะแก้รัฐธรรมนูญเพื่ออะไร

000

ลักษณะบางประการของรัฐธรรมนูญ 2549

รัฐธรรมนูญ 2549 มีลักษณะเฉพาะ 7 ประการ

ประการแรก เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการที่สวมเสื้อคลุมประชาธิปไตย

ประการที่ 2 ต้องการสถาปนา strong executive อาจจะอ่อนกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540

ประการที่ 3 ขาดกลไกด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)

ประการที่ 4 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ให้ความสำคัญกับ Good Governance

ประการที่ 5 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการจะฟื้นคืนพลังอำมาตยาธิปไตย

ประการที่ 6 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังคงธำรงธรรมนูญทางการคลัง

ประการที่ 7 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องกฎการลงคะแนนเสียง
               ทั้งในสภานิติบัญญัติ ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเรื่องกฎการลงคะแนน
               เสียงว่าด้วยการออกเสียงแสดงประชามติของประชาชน

ผมคิดว่านี่เป็นลักษณะที่สำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2549

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5392&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai

ขอบคุณ คุณ CanCan ที่กรุณาแนะนำค่ะ

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #1 เมื่อ: 15-10-2006, 07:41 »

 
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #2 เมื่อ: 15-10-2006, 07:55 »

กร๊ากกก..  มียียาธิปไตยด้วยย


บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #3 เมื่อ: 15-10-2006, 08:02 »

ประการแรก รัฐธรรมนูญฉบับปี 2549 เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการที่สวมเสื้อคลุมประชาธิปไตย

มาตรา 3 รัฐธรรมนูญ 2549 รับหลักการสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย แต่ไม่ได้
สร้างกลไกในการประกันสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่อาจจะ
เทียบเคียงได้กับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540

ถ้าดูจากผังความรับผิดทางการเมืองเราก็จะพบว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็น
ผู้ซึ่งมีอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี
มีอำนาจในการแต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งสมัชชาแห่งชาติประกอบกับบทบาทโดยตรง
ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติก็จะมีอำนาจในการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงบอกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการภายใต้เสื้อคลุม
ประชาธิปไตย อำนาจเผด็จการยังคงอยู่ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือในร่างเดิมคณะปฏิรูปการปกครองฯ มีอำนาจ
ค่อนข้างเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐธรรมนูญ 2549 เช่น
มีอำนาจในการแต่งตั้งเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรี
มีอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติ
มีอำนาจในการคัดสรรสมาชิกสมัชชาแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ
มีอำนาจร่วมกับครม. ในการเลือกบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่เคยมีผลบังคับใช้ในอดีตเมื่อ
การร่างรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2549 ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา หรือ
เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ได้รับความเห็นชอบ

อีกประเด็นถัดที่บ่งชี้ว่ารัฐธรรมนูญ 2549 เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการในเสื้อคลุม
ประชาธิปไตย ก็คือฝ่ายนิติบัญญัติไม่อยู่ในฐานะที่จะคานอำนาจฝ่ายบริหาร
ฝ่ายบริหารขี่คอฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งก็เหมือนกับรัฐธรรมนูญก่อนหน้าปี 2517
รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปี 2521 และฉบับปี 2534
และฝ่ายตุลาการเกือบไม่มีบทบาทในการคานอำนาจระหว่างอำนาจทั้ง 3
สุดท้าย ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองได้น้อย

รัฐธรรมนูญ 2549 ร่างในระบอบเผด็จการย่อมมิอาจจะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีจิตวิญญาณ
ประชาธิปไตยไปได้ ไม่เคยมีปรากฏว่าในสังคมการเมืองไทยที่อยู่ในยุคเผด็จการจะมี
การผลิตรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้


แต่กล่าวด้วยความเป็นธรรมแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปี 2549 ยังมีความเป็นประชาธิปไตย
มากกว่ารัฐธรรมนูญยุคเผด็จการอีกหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นธรรมนูญการปกครองปี 2502
ธรรมนูญการปกครองปี 2515 หรือแม้กระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 2519
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #4 เมื่อ: 15-10-2006, 08:11 »

ไม่ได้แฮปปี้กับ รธน ชั่วคราว

แต่ในสมัยทักษิณ ก็ไม่เห็นว่าทั้ง 6-7 ประเด็นที่ยกมา เราก็ไม่ได้รับสิ่งเหล่านั้นในทางปฏิบัติ





ที่จริงก็รู้ๆ กันอยู่ว่า รธน ชั่วคราวมันไม่มีทางเป็นประชาธิปไตยได้

ถ้าเอาประชาธิปไตยมาจับแล้วเทียบเคียงกับ รธน ปี40 ไม่น่าจะได้อะไรมาก
ถ้าจะเปรียบเทียบเอาเป็น รธน ปี 40 กับ รธน ใหม่ฉบับหน้า จะเห็นอะไรมากว่า




อยากรู้ว่าประโยคต่อๆ ไปหลังจาก "ไม่เคยมีปรากฏว่าในสังคมการเมืองไทยที่อยู่ในยุคเผด็จการจะมีการผลิตรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้" จะเป็นยังไง


บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #5 เมื่อ: 15-10-2006, 08:14 »

ประการที่ 2 รัฐธรรมนูญ 2549 ต้องการสถาปนา Strong Executive

รัฐธรรมนูญ 2549 ต้องการรัฐบาลที่เข้มแข็ง เราจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้
บังคับ
ให้รัฐบาลต้องแถลงนโยบายเพื่อขอความเห็นชอบจากสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ
เราจะเห็นว่าฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร แม้จะสามารถ
ตั้งกระทู้ถามได้ก็ตาม เราจะเห็นว่าในการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริง
จากคณะรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 100 คน คือไม่
น้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนสมาชิก ดังนั้นการเข้าชื่อเพื่อจะเสนอญัตติขอเปิด
อภิปรายเพียงเพื่อซักถามข้อเท็จจริงก็ทำได้ยาก ต้องอาศัยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 40
เปอร์เซ็นต์ของจำนวนสมาชิก

นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีร่วมคณะ เป็นอำนาจที่คล้ายคลึงปี 2540
น่าสังเกตว่าในยุคที่มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้น ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
คุณชวนไม่ได้ใช้อำนาจนี้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรใช้อำนาจนี้อย่างเต็มที่ จนกระทั่งข้อ
คาดหวังของ สสร. 2540 ที่บอกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 จะช่วยทำให้เสถียรภาพทางการเมือง
ดีขึ้นนั้น ผลปรากฏว่าอายุขัยของรัฐบาลทักษิณแต่ละชุดๆ มีอายุประมาณแค่ 4-6 เดือน
ยกเว้นในช่วงสุดท้ายเนื่องจากต้องมาสู้กับพลังประชาชนนอกรัฐบาล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2006, 10:59 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #6 เมื่อ: 15-10-2006, 08:32 »

ไม่ได้แฮปปี้กับ รธน ชั่วคราว

แต่ในสมัยทักษิณ ก็ไม่เห็นว่าทั้ง 6-7 ประเด็นที่ยกมา เราก็ไม่ได้รับสิ่งเหล่านั้นในทางปฏิบัติ

ที่จริงก็รู้ๆ กันอยู่ว่า รธน ชั่วคราวมันไม่มีทางเป็นประชาธิปไตยได้

ถ้าเอาประชาธิปไตยมาจับแล้วเทียบเคียงกับ รธน ปี40 ไม่น่าจะได้อะไรมาก
ถ้าจะเปรียบเทียบเอาเป็น รธน ปี 40 กับ รธน ใหม่ฉบับหน้า จะเห็นอะไรมากว่า

อยากรู้ว่าประโยคต่อๆ ไปหลังจาก "ไม่เคยมีปรากฏว่าในสังคมการเมืองไทยที่อยู่ในยุคเผด็จการจะมีการผลิตรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้" จะเป็นยังไง


ชั่วคราว แล้วทำให้ “ดี” (กว่านี้) ไม่ได้หรือคะ?
หรือว่าแค่ 1 ปี ไม่มีความหมาย ไม่นานเท่าไหร่
ดังนั้นจงทนๆ กันไป รอฉบับต่อไปก็พอ?

สิ่งที่คุณคิดว่าไม่ได้รับสมัยทักษิณ ก็เลยพอใจที่ไม่ต้องได้ต่อไป?
สรุปว่าใครมายึดอำนาจจากคุณทักษิณไปไว้กับตัวเขา คุณก็พอใจหรือคะ?
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ทำไมยอมให้คนกลุ่มหนึ่งไป
เพียงเพราะเขามีอาวุธล่ะคะ?
หรือว่าเพราะเขากำจัดคุณทักษิณให้ เลยต้องถือเป็นบุญคุณ
แล้วยกอำนาจให้เป็นการตอบแทน?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2006, 11:28 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #7 เมื่อ: 15-10-2006, 08:45 »

ไม่ได้สนับสนุนให้นิ่งดูดาย หรือธุระไม่ใช่
ถ้าทำแบบนั้นก็คือไม่มีส่วนร่วม แล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้ยังไง

การที่นักวิชาการ ภาคประชาชนออกมาเรียกร้องทักท้วงวิพากษ์วิจารณ์ก็เป็นเรื่องที่ดี

แต่ต้องระวังการเคลื่อนไหวที่อาจจะ เข้าทาง พวกชั่วๆ ที่เกาะกระแสประชาธิปไตย
กลัวจะต้องมีวีรชนเกิดขึ้นมาอีก สงสารพ่อแม่ ญาติพี่น้องวีรชนครับ



บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #8 เมื่อ: 15-10-2006, 08:57 »

เราเรียกร้อง ทักท้วงพวกยียาธิปไตย กันเป็นปี พูดจากันดีๆไม่รู้เรื่อง จนในที่สุดถึงจุดที่ต้องชูกำปั้นเข้าไล่ส่งกัน

นี่ยังต่อรองกับอำมาตยาธิปไตยไม่ถึงเดือน จะออกมารำมวยกันแล้ว เลือดร้อนเกินไปหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #9 เมื่อ: 15-10-2006, 11:02 »

ประการที่ 3 รัฐธรรมนูญฉบับปี 2549 ไม่มีกลไก Check and Balance

รัฐธรรมนูญ 2549 ให้อำนาจฝ่ายบริหารเหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายนิติบัญญัติ
ไม่อาจอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารได้ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถดำเนินการ
ถอดถอนรัฐมนตรีได้ แม้ในยามที่มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต และประพฤติมิชอบ

ฝ่ายตุลาการไม่มีบทบาทและหน้าที่ในกระบวนการถ่วงดุลอำนาจ นอกเหนือจาก
การทำหน้าที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2006, 11:17 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 15-10-2006, 11:10 »

รัฐธรรมนูญ 2549 ที่พูดถึง หมายถึง ( ชั่วคราว ) อายุแค่ไม่เกิน 1 ปี

ส่วนข้อบกพร่อง รัฐธรรมนูญ 2540 น่าสนใจมาก...จะเป็นตัว "ธง" ที่ต้องได้รับการแก้ไข

ในใจผมคิดว่า รัฐธรรมนูญใหม่ ก็คงยึดเอา 2540 เป็นตัวตั้ง...เพราะ ตุ๊กตาตัวนี้ มันมีทั้งดีและไม่ดี
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #11 เมื่อ: 15-10-2006, 11:40 »

เข้าใจว่า ที่ไม่มีวงเล็บคำว่าชั่วคราวต่อท้าย เพราะผู้เขียนคิดว่าจะไม่มีฉบับอื่นใด
ออกมาในปี พ.ศ. นี้อีก ดังนั้นจึงมีแค่ฉบับนี้ฉบับเดียว

 
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 15-10-2006, 11:55 »

รัฐธรรมนูญที่ถือว่าหลักการดีมาก ๆ คือ ฉบับ 2490 2492 (ไม่ค่อยแน่ใจ ) ไม่ทราบออกช่วงใหน ก็ช่วงเผด็จการทั้งนั้นมิใช่หรือ

จะว่าไป มันก็แค่ชื่อเท่านั้นหรอก บ้านเราผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ เจ็บปวดกับรัฐธรรมนูญที่บอกมาจากประชาชนแบบ 2540

พอทำ ๆไปแล้ว กลับเป็นฉบับที่เจ็บปวดที่สุด นั่นแสดงว่า รัฐธรรมนูญจะออกมาในสมัยเผด็จการหรือประชาธิปไตย

นั่นมันแค่ แผนที่เดินทาง ที่สำคัญจริง ๆ มันอยู่ที่การมีส่วนร่วม ในทางปฏิบัติจริง และผู้อยู่ในอำนาจ มีจริยธรรมมากกว่า

มีคำกล่าวว่า รัฐบาลเผด้จการพลเรือน ทำให้คนตายมากกว่าเผด็จการทหาร

รัฐบาลพลเรือนจากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ฆ่าคนมากที่สุด ละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดในประวัติศาสตร์

...คุณเชื่อมั๊ย...


ผมมองว่า รัฐธรรมนูญออกมาในช่วงที่ประชาธิปไตยกระตุ้นต่อมการมีส่วนร่วมมากมายเช่นปัจจุบันนี้

คงไม่ด้อยไปกว่า ฉบับ 2540 โดยเฉพาะ หมวดสิทธิ์ของปวงชนชาวไทย

ตรงกันข้าม ผมมองว่าน่าจะกระชับและสามารถทำให้เป็นผลได้มากกว่า ( อาจมีบทลงโทษ หากรัฐบาลไม่ทำ หรือฝ่าฝืนด้วยซ้ำไป )

ไม่ต้องให้เนติบริกรมาพูดแบบศรีธนญชัยว่า รัฐธรรมนูญไม่กำหนดก็ทำได้...อะไรแบบนี้


เมื่อไหร่จึงจะหลุดพ้น กรอบความคิดทางรูปแบบ มาเน้นเนื้อหาสาระกันซักที

ไม่ลองไปดูรัฐธรรมนูญอังกฤษล่ะ เขียนกี่คน

รัฐธรรมนูญอเมริกา เขียนกี่คน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2006, 12:09 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #13 เมื่อ: 15-10-2006, 12:10 »

ประการที่ 4 การไม่ให้ความสำคัญกับ Good Governance

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่มีบทบัญญัติที่ส่งเสริมเกื้อกูลการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชน ยกเว้นเวลาที่ออกประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งปราศจากความหมาย
เพราะว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีสามารถใช้ Veto Power ได้

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่มีบทบัญญัติที่ส่งเสริมเกื้อกูลให้สังคมการเมืองมีความโปร่งใส
มิหนำซ้ำมีบทบัญญัติที่เกื้อกูลความไม่โปร่งใส ถึงแม้ว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติจะ
สามารถยื่นกระทู้ได้ แต่รัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องตอบกระทู้ หากกระทู้นั้นเกี่ยวพันกับ
ความปลอดภัยและประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน นี่เป็นบทบัญญัติที่ต้องการปิดบัง
ข้อมูลข่าวสาร

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้สร้างกลไกความรับผิดทางการเมือง ซึ่งผมหมายถึงความ
รับผิดต่อประชาชน ไม่มี Accountability Mechanism
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติไม่ต้องรับผิดต่อประชาชน
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับผิดต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติรับผิดต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ไม่ได้รับผิดต่อประชาชน
นายกรัฐมนตรีรับผิดต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ไม่ได้รับผิดต่อประชาชน
รัฐมนตรีรับผิดต่อนายกรัฐมนตรี เพราะนายกฯ เป็นผู้ที่สามารถแต่งตั้งและถอนถอน
รัฐมนตรีได้
ดังนั้น เราก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้สร้าง Accountability Mechanism

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้สร้างกลไกตรวจสอบความร่ำรวยผิดปกติของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง และการดำเนินคดีอาญาผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมืองที่มีความร่ำรวยอัน
ผิดปกติ

บทสรุปของผมก็คือ ไม่มี Good Governance ในรัฐธรรมนูญ 2549
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 15-10-2006, 12:14 »

ก็บอกแล้ว รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 เขียน 2-3 วัน และเป็นของเผด็จการ

แค่นี้ก็ไม่ต้องพูดแล้ว เป็นอันรู้กัน อิ อิ
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #15 เมื่อ: 15-10-2006, 12:32 »

ประการที่ 5 การฟื้นพลังอำมาตยาธิปไตย

รัฐธรรมนูญ 2549 มีเป้าประสงค์ ส่วนหนึ่งในการฟื้นพลังอำมาตยาธิปไตยด้วยการฟื้น
คืนกติกาทางการเมืองที่ว่า ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ สำหรับ
นักศึกษาประวัติศาสตร์การเมือง เราก็คงจะเข้าใจกันดีว่า กฎกติกานี้เป็นกฎกติกาที่มี
การต่อสู้หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเดือนตุลาคม 2516 และเป็นเหตุให้
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 ห้ามไม่ให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมือง

กฎกติกานี้ได้ยึดถือเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นจารีตที่สำคัญต่อมาในรัฐธรรมนูญหลายฉบับ
ยกเว้นในช่วงที่เป็นการปกครองระบอบเผด็จการ แต่รัฐธรรมนูญ 2549 ต้องการฟื้นคืน
กติกาที่ว่าข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้

ตำแหน่งทางการเมืองที่ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งได้ ก็คือ สมาชิกคณะมนตรีความ
มั่นคงแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และรัฐมนตรี

บทสรุปของผมก็คือว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มพลัง
อำมาตยาธิปไตยกับกลุ่มพลังยียาธิปไตย คือพวกยี้
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #16 เมื่อ: 15-10-2006, 12:42 »

ประการที่ 6 การธำรงธรรมนูญทางการคลัง

รัฐธรรมนูญ 2549 ธำรงกฎกติกาว่าด้วยธรรมนูญทางการคลังอยู่ 2 เรื่อง
เรื่องหนึ่งก็คือ สมาชิกสภานิติบัญญัติไม่สามารถเสนอกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินเข้าสภา
อีกเรื่องหนึ่งก็คือรัฐบาลสามารถจะเก็บภาษีโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากประชาชน
ด้วยการตราพระราชกำหนด Taxation without Representation

ธรรมนูญการคลังทั้งสอง สืบทอดจากรัฐธรรมนูญแต่เก่าก่อน ธรรมนูญการคลังข้อแรก
ก็คือการห้ามสมาชิกรัฐสภาเสนอกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินเริ่มต้นในรัฐธรรมนูญฉบับปี
2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มีบทบาทสำคัญในการร่าง
และมีการสืบทอดในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆมาเกือบจะโดยตลอด

การห้ามไม่ให้สมาชิกรัฐสภาเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการเงินมีผลในการลิดรอนการทำ
หน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติ คำถามคือทำไมต้องห้าม ทำไมต้องสงวนอำนาจใน
การเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการเงินไว้กับฝ่ายบริหาร

กฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินนั้นคลุมกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจทั้งหมด กฎหมายงบ
ประมาณแผ่นดิน กฎหมายวิธีการงบประมาณ กฎหมายเงินคงคลัง กฎหมายเงินตรา
กฎหมายหนี้สาธารณะ แล้วรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับปี 2489 สงวนอำนาจนี้ไว้ให้กับ
ฝ่ายบริหาร ปฏิเสธหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติในการเสนอกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน

ในประเทศประชาธิปไตยตะวันตก สมาชิกรัฐสภาสมารถนำเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การ
ประชุมของสภาได้โดยไม่ได้มีข้อจำกัด แต่ผมอยากจะเรียนว่าการห้ามเสนอกฎหมาย
เกี่ยวด้วยการเงินก็มีในประเทศอังกฤษ

ส่วนธรรมนูญทางการคลังประการที่ 2 ก็คือ Taxation without Representation
หมายความว่าสามารถที่จะตราพระราชกำหนดเก็บภาษีไปก่อน แล้วไปขออนุมัติสภาฯ
ยกฐานะพระราชกำหนดให้เป็นพระราชบัญญัติ ถ้าไม่อนุมัติพระราชกำหนด ก็ถือว่าภาษี
ที่เก็บมาแล้วก็ถือว่าแล้วกันไป เป็นลักษณะที่เรียกว่า Taxation without representa-
tion ซึ่งถือว่าเป็นการผิดหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย

เราคงจะจำกันได้นะครับว่า Taxation without representation เป็นคำขวัญที่ชูขึ้น
ในตอนที่ประชาชนในสหรัฐอเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #17 เมื่อ: 15-10-2006, 13:00 »

   ทั้งผู้ร่าง ผู้ใช้ต่างก็รู้ครับว่ารธน.49 ไม่ใช่ฉบับที่ดีจึงให้เป็นรธน.ชั่วคราว

ไม่มีประโยชน์หรอกครับที่จะมาหาข้อบกพร่องของรธน.ฉบับนี้

   อยากได้อะไร อยากเห็นอะไร ก็ช่วยกันเสนอเพื่อให้บรรจุอยู่ในรธน.ฉบับ

หน้าจะดีกว่า
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #18 เมื่อ: 15-10-2006, 13:04 »

ประการสุดท้าย ความไม่ชัดเจนของ Voting Rule (หลักการลงคะแนนเสียง)


หลักการพื้นฐานของเรื่องนี้มีอยู่ว่า กฎการลงคะแนนเสียงควรจะมีความชัดเจนและ
สะท้อนระดับการยอมรับของประชาชนในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นกฎการลงคะแนนเสียง
เพื่อจะผ่านกฎหมาย หรือเพื่อที่จะผ่านรัฐธรรมนูญ

กฎหมายที่มีผลกระทบในทางเศรษฐกิจสูง หรือการผ่านรัฐธรรมนูญ มีความจำเป็นที่
จะต้องได้รับการยอมรับในระดับสูงจากประชาชน เพราะประชาชนจะเป็นผู้ที่ได้รับผล
กระเทือนจากบังคับใช้กฎหมายหรือจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นเวลาที่จะ
มีผ่านกฎหมายที่มีผลกระทบรุนแรง เช่น การผ่านรัฐธรรมนูญนั้น ในรัฐธรรมนูญหลาย
ประเทศกำหนดให้ใช้ Super Majority Rule คือ กฎคะแนนเสียงข้างมากชนิดเข้มข้น

กฎคะแนนเสียงที่จะทำให้สังคมเศรษฐกิจได้รับสวัสดิการเพิ่มขึ้นจาการบังคับใช้
กฎหมายที่ผ่าน หรือจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่ผ่านจะต้องเป็นกฎคะแนนเสียง
เอกฉันท์ เพราะว่าภายใต้กฎคะแนนเสียงเอกฉันท์อย่างน้อยที่สุดจะไม่มีใครในสังคม
การเมืองที่ได้สวัสดิการน้อยลง ไม่มีใครได้รับสวัสดิการต่ำลงจากเดิม อย่างน้อยจะ
ต้องมีคนหนึ่งคนที่ได้รับสวัสดิการเพิ่มขึ้น

ถ้าเป็นกฎคะแนนเสียงเอกฉันท์ก็จะให้หลักประกันว่า การบังคับใช้รัฐธรรมนูญหรือ
กฎหมายที่สำคัญจะเพิ่มพูนสวัสดิการทางเศรษฐกิจในสังคม แต่กฎคะแนนเสียงเอกฉันท์
เป็น Voting Rule ซึ่งยากที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เกิดการปฏิรูปทาง
การเมือง เพราะว่าถ้าเรายึดกฎคะแนนเสียงเอกฉันท์ในการผ่านกฎหมายหรือผ่านรัฐธรรม-
นูญ ก็เป็นเรื่องยากที่จะผ่านกฎหมายหรือผ่านรัฐธรรมนูญได้

แต่โดยทั่วไปแล้ว Voting Rule ที่ใช้ผ่านรัฐธรรมนูญในหลายต่อหลายประเทศจะใช้
Super Majority Rule ยกตัวอย่างเช่นในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ร่างรัฐธรรมนูญ
ที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีอยู่แล้วจะต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร 2 ใน 3 ซึ่ง
เป็น Super Majority Rule จากนั้นเมื่อผ่านจากคองเกรสแล้วยังต้องมีรัฐอย่างน้อย
3 ใน 4 ของมลรัฐทั้งหมดของสหรัฐอเมริกาให้ความเห็นชอบถ้าไม่ให้ความเห็นชอบก็
จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็จะพบว่าตั้งแต่ 1887 ที่เริ่มบังคับใช้
รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกามีข้อเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอเมริกามากกว่าหมื่น
ข้อเสนอ แต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมจริงประมาณ 27 ครั้งเท่านั้นเอง

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้กำหนด Voting Rule ให้ชัดเจนทั้งในการประชุมสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ และการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าให้เป็นเรื่องของการ
ออกกฎหมายอนุบัญญัติ คือการออกข้อบังคับการประชุม

Voting Rule ของสภาร่างรัฐธรรมนูญก็จะใช้ชุดเดียวกับที่ใช้ในการประชุมสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ และ Voting Rule ที่ใช้ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็จะปรากฏในข้อบังคับการ
ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการกำหนดองค์ประชุมว่ามากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของ
จำนวนสมาชิก และVoting Rule ไม่ได้มีข้อกำหนดให้ชัดเจน

ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตว่า ธรรมนูญการปกครองบางฉบับก่อนหน้านี้กำหนดองค์ประชุม
ไว้ไม่น้อยกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเข้มข้นกว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2549

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่ามีแนวโน้มที่กฎการลงคะแนนเสียงจะเป็น Minority Rule เป็น
กฎการลงคะแนนเสียงข้างน้อยเพราะนี่เป็นจารีตของรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา
เราจะพบว่าส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดว่าองค์ประชุมต้องมีมากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวน
สมาชิก และในการลงมติคะแนนเสียงจะต้องมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ที่เข้า
ร่วมประชุม ดังนั้นการลงประชามติเพียงเกินกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนสมาชิกเท่านั้น
ก็จะผ่านมติได้ กฎหมายก็จะผ่านมาได้ด้วย Minority Rule ดังกล่าวนี้ คือ 25 เปอร์เซ็นต์
บวกหนึ่งก็ผ่านเป็นกฎหมาย

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้ใส่ใจกับการใช้ Super Majority Rule ในการลงมติในเรื่องที่
กระทบต่อความผาสุกของประชาชน เช่นการตรากฎหมายที่มีผลในการย้ายถิ่นของ
ประชาชน การตรากฎหมายที่มีผลในการทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
การตรากฎหมายที่มีผลต่อการกระจายรายได้ กฎหมายในลักษณะนี้มันสร้างผลกระทบ
ที่รุนแรง ดังนั้นน่าจะใช้ Super Majority Rule มากกว่าที่จะเป็น Simple Majority
Rule หรือมากกว่าที่จะเป็น Minority Rule

รัฐธรรมนูญ 2549 ไม่ได้กำหนด Voting Rule ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ
ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการออกเสียงประชามติก็มีอยู่ 2
เรื่องใหญ่ ก็คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมาใช้สิทธิอย่างน้อยกี่เปอร์เซ็นต์จึงจะ
ถือว่าการออกเสียงประชามตินั้นเป็นการออกเสียงประชามติที่ใช้ได้ ที่มีผลทางกฎหมาย
และก็คะแนนเสียงที่ได้ คะแนนเสียงที่ให้ความเห็นชอบอย่างน้อยต้องเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
จึงจะถือว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้รับความเห็นชอบจากประชาชน

คำถามพื้นฐานเหล่านี้ รัฐธรรมนูญ 2549 ทิ้งไว้เป็นเรื่องของกระบวนการนอกรัฐธรรมนูญ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 15-10-2006, 13:19 »

รัฐธรรมนูญฉบับ 2549 เป็นฉบับชั่วคราว คนที่มัววิเคราะห์เป็นตุเป็นตะ แล้วไอ้คนตัดแปะบทความพึ่บพั่บ ไม่ต่างอะไรกับจำอวดเลย  คนที่มัวแต่ไปจดจ่ออยู่กับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เหมือนกับลำดับความเร่งด่วนอะไรไม่ได้

เก็บแรงสมองเอาไว้ตรวจสอบรัฐธรรมนูญที่เขากำลังจะร่างขึ้นมาดีกว่าว่า "เนื้อหาสาระ" ตรงนั้นมี "ความเป็นธรรม" หรือไม่ ตรงไหนหมกเม็ด ไม่หมกเม็ด

แต่ผมเชื่อว่า ไม่มีรัฐธรรมนูญอะไรที่ป้องกันทรราชไม่ให้ขึ้นมาขายชาติโกงแผ่นดินได้ และไม่มีรัฐธรรมนูญใดป้องกันรัฐประหารได้

หรือต่อให้มีอีก 10 สตง. 20 ปปช. หรือโคลนคุณหญิงจารุวรรณ คุณกล้าณรงค์ เพิ่มอีก 1000 คนก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถ้าคนที่มีอำนาจใช้เงิน ใช้ช่องกฎหมาย ทั้งซื้อ ทั้งข่มขู่ ทั้งขัดขวาง ไม่ให้องค์กรตรวจสอบมันทำงานได้
 

สำคัญอยู่ที่ RULE OF LAW (การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความเป็นธรรม)

คุณ snowflake เป็นคนตัดแปะกระทู้ผลสอบนอมินี Temasek ถามว่าไม่กี่เดือนก่อน ศาลตัดสินอะไรเสร็จ แล้วทำอะไรคนผิดได้บ้าง ??? คุณก็ให้คำตอบไม่ได้ แถมหลังจากนั้นยังมีการสร้างเรื่องเบี่ยงประเด็นรายวัน ตั้งแต่ คาร์บ๊อง ขนคนมาก่อความรุนแรง ฯลฯ
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #20 เมื่อ: 15-10-2006, 15:12 »

เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าคะ?
รัฐธรรมนูญนะคะ ไม่ใช่กระดาษชำระใช้แล้วทิ้งในชั่วเวลาไม่กี่นาที
ดูท่าคำว่า ขั่วคราว ที่อยู่ในวงเล็บนั้น ควรต้องตัดทิ้งไป
เพราะทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้คนประเภทที่ไม่สนใจอ่านให้ละเอียดแล้วคิดว่ารู้ดี
“ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด” อะไรทำนองนั้น

กฏหมายฉบับนี้คือ กฏหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
นั่นคือศักดิ์ศรีเหนือกว่ากฏหมายทุกฉบับที่ใช้กัน ฉบับอื่นจะมาขัดแย้งมิได้
ระยะเวลาที่ใช้บังคับก็มิใช่สั้น แค่วันสองวัน แต่นานถึง 1 ปี เป็นอย่างน้อย
หากเชื่อในคำสัญญา
แล้วตลอดระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า พวกคุณไม่สนใจหรือว่า
การบริหารประเทศตามกฏหมายนี้ทำอย่างไร โปร่งใสแค่ไหน มีระบบตรวจสอบอย่างไร
หรือได้ตัดสินใจเชื่อและศรัทธาไปแล้วว่าไม่ต้องตรวจสอบก็ได้  เพราะยังไงต้องดีแน่นอน

ที่บอกว่าใช้ชั่วคราว คือ 1 ปี แล้วเลยไม่จำเป็นต้องดีนั้น ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ต่อให้ระยะเวลาสั้นกว่านี้ ก็ต้องดี เพราะเป็นเรื่องสำคัญ

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระที่สำคัญคือ
1) กำหนดการบริหารงานของรัฐบาล (รวบอำนาจ ตรวจสอบไม่ได้ ฯลฯ)
2) กำหนดที่มากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะนำมาใช้แทนฉบับนี้
กระบวนการดังกล่าวย่อมมีผลต่อรูปร่างหน้าตาตลอดจนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแน่นอน
หมกเม็ดอย่างไร ในมาตราไหนบ้าง เคยเขียนไปไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง ลงใน 4 กระทู้แล้ว
แต่คงไม่เข้าหัว ใม่เข้าใจ ไม่เข้าตา

ถ้าสองประเด็นที่กล่าวมานี้ คุณเห็นว่าไม่สำคัญ
ไม่มีประโยชน์ที่จะสนใจ เชิญไปกระทู้อื่นได้เลยค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2006, 15:54 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #21 เมื่อ: 15-10-2006, 15:37 »

นายรังสรรค์ ไม่จำเป็นต้องเล่นศัพท์แสง "ยียาธิปไตย" เพื่อแก้เขินอะไรหรอก

บทความนี้ก็ไม่สามารถล้างบาป ล้างความชั่วที่เคยร่วมก่อเอาไว้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้หรอก


ยอมรับมาแต่โดยดีว่า นี่คือการปะทะกันของสองขั้วความคิด ระหว่างทุนนิยมใหม่ กับทุนนิยมศักดินา


นักวิชาการหลายๆราย ที่คึกคะนองจองหอง เข้าร่วมผสมโรงมหกรรมทำลายล้างประชาธิปไตย

มีส่วนร่วมในการกระพือสร้างสถานการณ์ปฏิวัติ เข้าทางกลุ่มผู้ก่อการที่วางแผนชักใยอยู่เบื้องหลัง

นักวิชากามทั้งหลายต้องสำเหนียกและรับผิดชอบ มากกว่าที่จะมานั่งตะกายกำแพง บก.คปค.แบบนี้



รัฐธรรมนูญฉบับอัปลักษณ์ดอกทอง นี้จะไม่มีอะไรมากไปกว่าเพิ่มอำนาจให้ขุนนางมหาอำมาตย์ Expire ตัณหากลับ

ได้เข้ามามีส่วนเสือกเกลือกกลั้วกับการเมืองมากยิ่งขึ้น โดยที่ริดรอนสิทธิ์ประชาชนชนชั้นไพร่ในการชี้นำประเทศชาติ

ไปโดยไม่รู้ตัว บรรดากบต้มทั้งหลาย ยังคงถูกสนตะพาย หลอกล่อด้วยภาพลักษณ์ที่สวยหรูดูสง่า

Hi - Class เปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรมจอมปลอม ตลบแตลงตอแหล
 


ยุคสมัยแห่งกรุงศรีระแวงไพร่กลับมาอีกแล้ว....
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #22 เมื่อ: 15-10-2006, 15:39 »

ผม่วาทุกคนทราบนะ ไม่ว่าจะมีวงเล็บอะไรนั่นหรือเปล่า

บ้านเมืองปกครองด้วยกฎหมาย รัฐธรรมนูญต้องสำคัญกว่ากระดาษทิชชู่แน่ๆ

แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่สำคัญ แล้วก็ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด
 
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
camera
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 54



« ตอบ #23 เมื่อ: 15-10-2006, 18:35 »

บอกแล้ว รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 เขียน 2-3 วัน และเป็นของเผด็จการ

แค่นี้ก็ไม่ต้องพูดแล้ว เป็นอันรู้กัน อิ อิ
============================================

  อ้าวเหรอ  เพิ่งรู้นะเนี้ย ว่าตาแคน ก็รู้ว่าเผด็จการครองเมือง
 
โธ่เอ๋ย   
บันทึกการเข้า
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #24 เมื่อ: 15-10-2006, 18:53 »



รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระที่สำคัญคือ
1) กำหนดการบริหารงานของรัฐบาล (รวบอำนาจ ตรวจสอบไม่ได้ ฯลฯ)
2) กำหนดที่มากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะนำมาใช้แทนฉบับนี้
กระบวนการดังกล่าวย่อมมีผลต่อรูปร่างหน้าตาตลอดจนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแน่นอน
หมกเม็ดอย่างไร ในมาตราไหนบ้าง เคยเขียนไปไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง ลงใน 4 กระทู้แล้ว
แต่คงไม่เข้าหัว ใม่เข้าใจ ไม่เข้าตา



     1) ระบบตรวจสอบก็ยังมีองค์กรอิสระไงครับ แถมเข็มแข็งกว่าเดิมด้วย

ส่วนการตรวจสอบทางสภาของเดิมมันก็ไม่ทำงานอยู่แล้วนี่ครับ

     2)ผมก็ยังมองไม่ออกอยู่ดีว่ามันจะส่งผลต่อรธน.ใหม่อย่างไร ยังไม่ทัน

ได้ร่างเลยก็สรุปซะแล้ว ไม่ด่วนไปหน่อยหรือครับ

     และในภาวะเช่นนี้รธน.คงไม่ใช่กฏหมายสูงสุดอย่างที่คุณ snow เข้าใจ

หรอกครับ จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกไปเลยก็ทำได้ทั้งนั้นล่ะครับ โดยอำนาจ

ของ คปค. หรือ คมช. ผมจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ รธน. ฉบับนี้  รธน.ฉบับนี้

เป็นเพียงแนวทางกว้างๆของ คปค.ว่าจะใช้อำนาจที่ได้มานั้นอย่างไร และเป็นการ

สร้างภาพว่าบ้านเมืองยังคงเป็นประชาธิปไตย เพราะยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยัง

เข้าใจผิดว่ารธน.คือประชาธิปไตย

     ผมว่าถ้าเรามองอีกมุมนึงโดยมองว่ารธน.ฉบับนี้ออกมาเพื่อจำกัดอำนาจอันล้นฟ้า

ของคปค. มองว่าคปค.จะไม่ทำอะไรตามอำเภอใจ แต่จะทำภายใต้พันธะสัญญาที่ให้

ไว้กับประชาชนในรธน.ฉบับนี้ ถ้ามองมุมนี้อาจทำให้คุณสบายใจขึ้นก็ได้...


บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #25 เมื่อ: 15-10-2006, 20:53 »

ไม่ว่าอะไรหรอกสำหรับพวกนักวิชาการบางคนที่เค้ารับไม่ได้จริงๆ กับรัฐประหารและธรรมนูญปัจจุบัน
เหมือนคนกลัวจิ้งจกตุ๊กแก จะพูดให้น้ำลายแห้งเค้าก็รับไม่ได้อยู่ดี

แต่ทุเรศไอ้พวกลูกเหลี่ยมที่เกาะแข้งเกาะขา กระแดะทำเนียนเป็นนักประชาธิปไตยกะเค้าด้วย

ทั้งๆ ที่พ่อมันเองข่มขืนประชาธิปไตยเหยงๆ

ผมจะปกป้องประชาธิปไตยด้วยชีวิต
แต่ใครห้ามมาวิจารณ์ผม รัฐบาลผมไม่ต้องเปิดอภิปราย พวกท่านก้มหน้าก้มตาทำงานไปเถอะ
เรื่องการเมืองผมจัดการเองอย่ามายุ่ง เชื่อผมเดี๋ยวดีเอง
 

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #26 เมื่อ: 15-10-2006, 21:05 »

เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าคะ?
รัฐธรรมนูญนะคะ ไม่ใช่กระดาษชำระใช้แล้วทิ้งในชั่วเวลาไม่กี่นาที
ดูท่าคำว่า ขั่วคราว ที่อยู่ในวงเล็บนั้น ควรต้องตัดทิ้งไป
เพราะทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้คนประเภทที่ไม่สนใจอ่านให้ละเอียดแล้วคิดว่ารู้ดี
“ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด” อะไรทำนองนั้น

กฏหมายฉบับนี้คือ กฏหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
นั่นคือศักดิ์ศรีเหนือกว่ากฏหมายทุกฉบับที่ใช้กัน ฉบับอื่นจะมาขัดแย้งมิได้
ระยะเวลาที่ใช้บังคับก็มิใช่สั้น แค่วันสองวัน แต่นานถึง 1 ปี เป็นอย่างน้อย
หากเชื่อในคำสัญญา
แล้วตลอดระยะเวลา 1 ปีข้างหน้า พวกคุณไม่สนใจหรือว่า
การบริหารประเทศตามกฏหมายนี้ทำอย่างไร โปร่งใสแค่ไหน มีระบบตรวจสอบอย่างไร
หรือได้ตัดสินใจเชื่อและศรัทธาไปแล้วว่าไม่ต้องตรวจสอบก็ได้  เพราะยังไงต้องดีแน่นอน

ที่บอกว่าใช้ชั่วคราว คือ 1 ปี แล้วเลยไม่จำเป็นต้องดีนั้น ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ต่อให้ระยะเวลาสั้นกว่านี้ ก็ต้องดี เพราะเป็นเรื่องสำคัญ

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระที่สำคัญคือ
1) กำหนดการบริหารงานของรัฐบาล (รวบอำนาจ ตรวจสอบไม่ได้ ฯลฯ)
2) กำหนดที่มากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะนำมาใช้แทนฉบับนี้
กระบวนการดังกล่าวย่อมมีผลต่อรูปร่างหน้าตาตลอดจนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแน่นอน
หมกเม็ดอย่างไร ในมาตราไหนบ้าง เคยเขียนไปไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง ลงใน 4 กระทู้แล้ว
แต่คงไม่เข้าหัว ใม่เข้าใจ ไม่เข้าตา

ถ้าสองประเด็นที่กล่าวมานี้ คุณเห็นว่าไม่สำคัญ
ไม่มีประโยชน์ที่จะสนใจ เชิญไปกระทู้อื่นได้เลยค่ะ

อ้างถึง
ผมจึงสรุปว่า รัฐธรรมนูญ 2549 จะเกื้อกูลต่อกระบวนการปฏิรูปการเมืองหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (แต่ว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายต่ำที่สุดในสังคมการเมืองไทยไม่ใช่กฎหมายสูงสุด เราสอนนักเรียนผิดมาตลอด) ต้องพิจารณาประเด็นอื่นๆ และผมเสนอว่ามี 2 ปัจจัยที่เราจะต้องทำความเข้าใจ คือเรื่อง การออกแบบรัฐธรรมนูญ และจิตวิญญาณประชาธิปไตยในสังคมการเมืองไทย จะยกระดับจิตวิญญาณประชาธิปไตยได้อย่างไร นั่นเป็นปัญหาใหญ่มากว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตวิญาณประชาธิปไตยของชนชั้นปกครอง
^
^
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ วิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2549
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5392&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2006, 21:06 โดย Cherub Rock » บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 16-10-2006, 03:17 »

กฏหมายที่เค้าเขียนมา มันเป็นแค่กรอบกว้างๆ เป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติในช่วงเวลานึงได้เท่านั้น เวลาแค่ 3 วัน จะเอาอะไรกันมากมาย 

การออกกฏหมายจำกัดสิทธิบางอย่างของประชาชนเป็นเรื่องจำเป็นในขณะนี้ ที่ประเทศเกิดความแตกแยก  ก็เหมือนฟุตบอลถ้านักเตะทะเลาะกันก็จำเป็นต้องหยุดการแข่งขันชั่วคราว และอาจยกเลิกไปเตะกันใหม่เลยก็ได้   ประเทศไทยก็เหมือนกันถ้าขึนปล่อยให้แต่ละฝ่ายแสดงความเห็นกันโดยอิสระโดยแต่ละคนต่างยึดพวกของตัวเองเป็นที่ตั้ง ไม่ฟังเหตุผลของกันและกัน มันจะมีประโยชน์อะไรที่จะให้เสรีภาพทางด้านนี้ไป

การวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็มองไปตามทฤษฎีของกลุ่มอำนาจ  ไม่เห็นมีใครวิเคราะห์เจาะลึกไปที่ตัวบุคคลเลยว่าเป็นอย่างไร  พูดกันแต่ว่าเป็นข้าราชการทั้งหมด ก็บอกไม่ไว้ใจ   ไม่รู้ว่าถ้าไม่เอาข้าราชการแล้วจะเอาใครมาเป็นในช่วงเวลาแบบนี้  เค้าก็ต้องเอาคนที่เคยทำงานด้วยกัน เคยเห็นผลงาน ไว้ใจกันได้  เค้ามีเวลาแค่ปีเดียว มาถึงก็รู้งานกันเลย  ไม่ใช่ไปเอาพวกนักคิดที่วันๆเอาแต่คิด  จนเวลาหมดปีมันก็ไม่ได้ทำอะไร เพราะไม่กล้าตัดสินใจ  จะทำไอ้โน่นก็กลัวไอ้นี่ จะทำไอ้นี่ก็กลัวไอ้นั่น   มัวแต่กลัว   ข้อแตกต่างระหว่างนักวิชาการกับนักปกครองมันก็ตรงเรื่องการตัดสินใจนี่ละ

บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 16-10-2006, 04:12 »

บอกแล้ว รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 เขียน 2-3 วัน และเป็นของเผด็จการ

แค่นี้ก็ไม่ต้องพูดแล้ว เป็นอันรู้กัน อิ อิ
============================================

  อ้าวเหรอ  เพิ่งรู้นะเนี้ย ว่าตาแคน ก็รู้ว่าเผด็จการครองเมือง
 
โธ่เอ๋ย   

บอกมานานแล้ว หลุดจากเผด็จการพลเรือนจอมโหด มาอยู่ใต้เผด็จการทหารผู้มีคุณธรรม

ไม่ใช่เพิ่งมาพูด
บันทึกการเข้า

Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #29 เมื่อ: 16-10-2006, 04:16 »

ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดว่ารธน.คือประชาธิปไตย

มีใครบ้างเนี่ย ยกตัวอย่างพวกที่เข้าใจผิดให้เห็นละกัน ว่ารัฐธรรมนูญเหล่านี้เป็นของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่
http://en.wikisource.org/wiki/Constitution_of_the_People%27s_Republic_of_China
http://en.wikisource.org/wiki/Constitution_of_Cuba

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 16-10-2006, 04:25 »

ดีนะ ไม่เอา "ธรรมนูญการปกครอง 2502" มรดกของจอมพล ส. มาปัดฝุ่นประกาศมันซะเลย ฮ่า ฮ่า

รู้มั๊ย หลังจาก จอมพล ส. ยึดอำนาจแล้ว "ร่างรัฐธรรมนูญ 11 ปี" ฮ่วย !!!

หรือไม่ก็เอา แผนการปฏิรูปการเมือง 12 ปี ของรัฐบาลหอยเน่า หลัง 6 ตุลาคม 2519 ดีมั๊ย ๆ


ถ้าเอาชุดนั้นมา รับรอง การวิพากษ์วิจารณ์แบบนี้ โดนซิวตั้งแต่วันแรก...

แถมพวก 200 คน ที่ไปจุดเทียนที่อนุสาวรีย์นั่นจะโดนข้อหา เตรียมเผาบ้านเผาเมืองไปโน่น

แปลกมั๊ยล่ะ ผมไม่รู้สึกเดือดร้อน จากรัฐธรรมนูญ ( ชั่วคราว) 2549 แม้แต่น้อย...อิ อิ
บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #31 เมื่อ: 16-10-2006, 05:34 »

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระที่สำคัญคือ
1) กำหนดการบริหารงานของรัฐบาล (รวบอำนาจ ตรวจสอบไม่ได้ ฯลฯ)
2) กำหนดที่มากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะนำมาใช้แทนฉบับนี้
กระบวนการดังกล่าวย่อมมีผลต่อรูปร่างหน้าตาตลอดจนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญใหม่อย่างแน่นอน
หมกเม็ดอย่างไร ในมาตราไหนบ้าง เคยเขียนไปไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง ลงใน 4 กระทู้แล้ว
แต่คงไม่เข้าหัว ใม่เข้าใจ ไม่เข้าตา

     1) ระบบตรวจสอบก็ยังมีองค์กรอิสระไงครับ แถมเข็มแข็งกว่าเดิมด้วย

ส่วนการตรวจสอบทางสภาของเดิมมันก็ไม่ทำงานอยู่แล้วนี่ครับ

     2)ผมก็ยังมองไม่ออกอยู่ดีว่ามันจะส่งผลต่อรธน.ใหม่อย่างไร ยังไม่ทัน
ได้ร่างเลยก็สรุปซะแล้ว ไม่ด่วนไปหน่อยหรือครับ

     และในภาวะเช่นนี้รธน.คงไม่ใช่กฏหมายสูงสุดอย่างที่คุณ snow เข้าใจ

หรอกครับ จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกไปเลยก็ทำได้ทั้งนั้นล่ะครับ โดยอำนาจ

ของ คปค. หรือ คมช. ผมจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ รธน. ฉบับนี้  รธน.ฉบับนี้

เป็นเพียงแนวทางกว้างๆของ คปค.ว่าจะใช้อำนาจที่ได้มานั้นอย่างไร และเป็นการ

สร้างภาพว่าบ้านเมืองยังคงเป็นประชาธิปไตย เพราะยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยัง

เข้าใจผิดว่ารธน.คือประชาธิปไตย

     ผมว่าถ้าเรามองอีกมุมนึงโดยมองว่ารธน.ฉบับนี้ออกมาเพื่อจำกัดอำนาจอันล้นฟ้า

ของคปค. มองว่าคปค.จะไม่ทำอะไรตามอำเภอใจ แต่จะทำภายใต้พันธะสัญญาที่ให้

ไว้กับประชาชนในรธน.ฉบับนี้ ถ้ามองมุมนี้อาจทำให้คุณสบายใจขึ้นก็ได้...


1) ระบบตรวจสอบก็ยังมีองค์กรอิสระไงครับ แถมเข็มแข็งกว่าเดิมด้วย

หมายถึง อะไร คตส.? ถ้าคุณว่าทำได้ เอาอำนาจหน้าที่มาให้ดูเลยค่ะ
ที่แน่ๆ ไม่มีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ถ้าไม่ขยันอ่านตัวบท 39 มาตรา อ่านที่ท่านอ.รังสรรค์ สรุปมา ประการที่ 3 และ 4
(คคห. # 9 และ #13)  ก็น่าจะเข้าใจได้ว่า ครม. ชุดนี้ไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุล
ใดๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ท่านผู้มีอำนาจเลือกมาเอง

ส่วนการตรวจสอบทางสภาของเดิมมันก็ไม่ทำงานอยู่แล้วนี่ครับ

ไม่เป็นความจริงค่ะ
อย่างน้อย รัฐบาลคุณทักษิณก็ยังต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
แต่ ครม. ปัจจุบันไม่ต้องค่ะ ไม่มีกำหนดไว้ ใน รธน. 2549 นี้

อีกตัวอย่าง รธน. 2540 กำหนดให้ ส.ส. มีสิทธิยื่นถอดถอนรัฐมนตรีได้
แต่ฉบับ 2549 ทำไม่ใด้ค่ะ

2)ผมก็ยังมองไม่ออกอยู่ดีว่ามันจะส่งผลต่อรธน.ใหม่อย่างไร ยังไม่ทันได้ร่างเลย
ก็สรุปซะแล้ว ไม่ด่วนไปหน่อยหรือครับ


กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แต่คุณสงสัยว่า แล้วมันจะส่งผลได้อย่างไร?

คนร่าง คนเลือก มีผลต่อ "ผลลัพธ์" ที่ได้ออกมาไหมคะคุณ?

สมมุติ อยากกินแกงเขียวหวานไก่
แต่เขาเลือกคนทำอาหารเจมาให้ [มาตรา 23 และ 25]
แล้วในที่สุดจะได้กินอะไร?
รอจนเขาทำเสร็จ ยกมาเสิร์ฟ
เห็นหน้าตาไม่ใช่ แล้วค่อยบอกว่า ไม่ได้สั่งอย่างนี้
เขาก็ยกกลับไป แล้วเลือกอย่างอื่นมาให้กินแทน
เพราะเขาให้อำนาจคุณตอบรับเท่านั้น
หากปฏิเสธอย่าหวังจะได้เลือกอย่างอื่น [มาตรา 32]

เปรียบเทียบเข้าใจเห็นภาพหรือเปล่าไม่รู้  ลองอ่านดูของจริงอีกที

http://forum.serithai.net/index.php?topic=8668.msg120469#msg120469

หากยังไม่เข้าใจ คงต้องรอให้คนอื่นช่วยมาอธิบายแล้วค่ะ
เพราะดิฉันคงมีความสามารถไม่เพียงพอ

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-10-2006, 07:42 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ooo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 670


« ตอบ #32 เมื่อ: 16-10-2006, 08:27 »

     คุณsnow...

     ด้วยความเคารพในความคิดของคุณนะครับ  แต่ผมก็ไม่อาจเห็นพ้องได้อยู่ดี

     1)ระบบตรวจสอบที่พร้อมจะทำงานยังมีปปช. ปปง. สตง. ศาลฏีกาแผนก

คดีอาญานักการเมืองงัยครับ  และศาลฎีกาใช่ฝ่ายตุลาการหรือไม่ครับ คงไม่ถูก

มั๊งครับกับคำกล่าวที่ว่ารัฐบาลไม่ได้ถูกตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการ  และอีกอย่าง

นึงองค์กรพวกนี้มันไม่จำเป็นต้องไประบุไว้ในรธน.หรอกครับ ออกพรบ.จัดตั้งขึ้นก็

ได้แล้วครับ  การที่รธน.40ระบุรายละเอียดไว้มากเหลือเกินเลยส่งผลให้เป็นรธน.

ฉบับที่ยาวที่สุดในโลก

     2)ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆหน่อยสิครับว่า รธน.ใหม่จะเป็นอย่างไร คุณคิดว่า

รธน.ใหม่จะเปิดโอกาสให้คนนอกมาเป็นนายกเหรอ คิดเอาเองทั้งนั้น บอกว่า

ให้รอเค๊าร่างก่อนดีกว่า
บันทึกการเข้า
LunaticBomberman
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 147


« ตอบ #33 เมื่อ: 16-10-2006, 09:22 »

รอดูรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปดีกว่าครับ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันใช้อย่างเร่งด่วน และจำเป็น มันเลยเป็นอย่างที่เห็น มันก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอยู่แล้วครับ เพราะคณะที่ร่างเป็นทหาร
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: