ในกรณีที่มีกฏหมายระบุเอาไว้ชัดเจน ว่าบุตรเกิดจากครรภ์มารดาใด ให้ถือว่าเป็นบุตรของบุคคลนั้น ศาลจะตัดสินยึดตัวกฏหมายครับ ต่อให้มีสัญญาอะไรที่ตกลงกันไว้ก็ตาม เพราะศาลจะพิพากษาว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดกับข้อกฏหมาย ตามกฏหมายไทย สัญญาใด ๆ ก็ตามต้องไม่ขัดกับหลักกฏหมาย
ถึงแม้ว่าจะพิสูจน์ DNA แล้วปรากฏว่าไม่ตรงกับผู้อุ้มครรภ์ แต่ผู้อุ้มครรภ์สามารถอ้างสิทธิตามกฏหมายได้ และศาลไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะตัดสินพิพากษาขัดแย้งกับหลักกฏหมาย มิฉะนั้นศาลจะเป็นผู้ทำผิดกฏหมายเสียเองครับ ประเด็นปัญหานี้ ถ้าสู้กันในศาลจริง ๆ ต้องสู้กันถึง 3 ศาล และฝ่ายอุ้มครรภ์ จะชนะคดีครับ เพราะทางฝ่ายคู่สามีภรรยา จะฟ้อง หรือสู้คดีได้ในประเด็นข้อเท็จจริงเท่านั้น ส่วนฝ่ายอุ้มครรภ์จะต่อสู้ในประเด็นข้อกฏหมายครับ ต่อให้ศาลแรกฝ่ายอุ้มครรภ์แพ้คดี ศาลอุธรณ์ และศาลฎีกา ชนะแน่นอน เพราะการอุธรณ์จะอุธรณ์ในปัญหาข้อกฏหมาย ซึ่งต่อให้ศาลเห็นใจฝ่ายสามีภรรยา ก็ต้องตัดสินไปตามข้อกฏหมายครับ
ประเด็นสิทธิทางกฎหมายผมได้นำเสนอไปแล้วว่าจะต้องทำให้การอ้างสิทธิจากการฝากอุ้มท้องถึงทางตันให้ได้ก่อน... ซึ่งผมพยายามค้นหาข้อความชัดๆ จากกฎหมายทางอินเตอร์เน็ทว่ามีการระบุคำที่ว่า "บุตรเกิดจากครรภ์มารดาใด ให้ถือว่าเป็นบุตรของบุคคลนั้น" แต่ไม่สามารถค้นพบอ้างอิงได้... ใครรู้ว่าอ้างอิงจากฎหมายฉบับใด มาตราที่เท่าไหร่ช่วยบอกด้วยครับ
ผมเห็นแย้งกับคุณคนในวงการกรณีการพิสูจน์ DNA ไม่มีสถานภาพทางกฎหมายเท่าการอุ้มท้อง... ทั้งนี้จากการสืบค้นพบว่ากฎหมายแพ่งมาตราที่ 1545 ในบรรพ 5 ครอบครัว ลักษณะ2 บิดามารดากับบุตร ดังนี้
มาตรา 1545 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อเด็กว่าตนมิได้เป็นบุตรสืบสาย โลหิตของชายผู้เป็นสามีของมารดาตน เด็กจะร้องขอต่ออัยการให้ฟ้องคดี ปฏิเสธความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นก็ได้
นั่นคือการพิสูจน์ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดาจาก "สายโลหิต" จึงน่าจะมีสถานภาพที่มั่นคงจากกฎหมายมาตรานี้
ที่ยังไม่แน่ใจก็คือการพิสูจน์ดังกล่าวนี้ประยุกต์ใช้กับ "มารดา" ได้มีศักดิ์ทางกฎหมายเท่าเทียมกับการออกจากครรภ์หญิงใดถือเป็นมารดาของเด็กหรือไม่?... (ซึ่งผมยังไม่พบคำชัดๆ นี้จากกฎหมาย)
นอกจากนี้... ถ้ากฎหมายที่ระบุ "มารดา" มีปัญหา... อาจสู้กันในแง่ของการพิสูจน์ "บิดา" และสิทธิในการเลี้ยงดูของบิดาแทนครับ
ปล. ผมยังเห็นว่าคำว่าครรภ์ที่แปลว่า "ท้อง" นี้ยังสามารถดิ้นได้ว่าเป็นท้องของผู้หญิงสองคนคือเจ้าของไข่กับผู้อุ้มท้อง... การยิงประเด็นนี้จะเป็นการนำสืบไปสู่ความพยายามให้คำนิยามโดยศาล (ซึ่งยังไม่มีการนิยามมาก่อน) ว่าเด็กออกจากท้องคืออะไร...ซึ่งน่าจะมีช่องทางสอดแทรกประเด็นเจ้าของไข่ลงไปในขั้นตอนนี้โดยทนายครับ... นั่นคือสิทธิในการเป็นเจ้าของไข่ไม่ควรขาดหายไปเมื่อนำไปฝากไว้ในท้องผู้อื่นที่ได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่ายชัดเจน
เมื่อการพิสูจน์ "บิดา" มีความชัดเจน... สิทธิในการเป็นเจ้าของไข่ไม่สูญหาย... โอกาสฟ้องเด็กให้กลับมาอยู่ในความดูแลโดยทำให้ประเด็น "มารดา" มีความคลุมเครือในทางกฎหมายย่อมเป็นไปได้ครับ