ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 07:41
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  รัฐบาลทรท.ทำอะไรอยู่5-6ปีไม่รู้จักวางโครงสร้างป้องกันน้ำท่วม ชาวบ้านป่วยแล้ว3แสน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
รัฐบาลทรท.ทำอะไรอยู่5-6ปีไม่รู้จักวางโครงสร้างป้องกันน้ำท่วม ชาวบ้านป่วยแล้ว3แสน  (อ่าน 3553 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 14-10-2006, 18:29 »


ดูข่าวนำท่วมล่าสุด คงต้องช่วยพวกสมุนเหลี่ยมคิดบ้างแล้วครับ !!!

ว่าจะต้องวางโครงสร้างการจัดการน้ำอย่างไรแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันน้ำท่วมฉับพลันที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้อีก

สาเหตุจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติดินฟ้าอากาศและประเทศเพื่อนบ้านต้นน้ำเปลี่ยนไปพอสมควรจากในอดีตครับ

สมุนเหลี่ยมจะช่วยคิด ทำดีไถ่บาป รับผิดชอบผลงาน ก็ต้องเสนอวิธีการที่เชื่อว่าได้ผลจริงในการป้องกันน้ำท่วมในอนาคตให้ได้...


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-10-2006, 18:58 โดย Q » บันทึกการเข้า

Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #1 เมื่อ: 14-10-2006, 18:36 »

วันแรกๆเห็นอ้างอิง บทความนักวิชาการปชป.เสียสวยหรู

นึกว่าจะมีอะไร ที่แท้ก็บ่มิไก๊

เขียนให้มันดีๆนะครับ เพราะมันไพล่ให้หลงคิดไปว่า ท่านกำลังจาบจ้วงเบื้องสูง
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 14-10-2006, 18:37 »


รอดูกึ๋นพวกเหลี่ยมหลงทางดูกันครับ ว่าจะคิดแก้ปํญหา หรือแก้ตัวโทษรัฐบาลใหม่ที่เพิ่งมาทำงานได้ไม่กี่วัน อาจจะเป็นไอ้ปื๊ดเป็นพวกไอ้เหลี่ยมไปแล้วก็ได้ ใครจะรู้ ไม่ฮา สงสารชาวบ้านภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ที่ถูกน้ำท่วมครับ..
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14-10-2006, 18:41 »

วันแรกๆเห็นอ้างอิง บทความนักวิชาการปชป.เสียสวยหรู

นึกว่าจะมีอะไร ที่แท้ก็บ่มิไก๊

เขียนให้มันดีๆนะครับ เพราะมันไพล่ให้หลงคิดไปว่า ท่านกำลังจาบจ้วงเบื้องสูง


มาแบบกองเชียร์ไอ้ปื๊ด บ้องตื้นบ้องตันไหมล่ะ ไม่มีข้อมูล วิธีแก้ปัญหาเลย 5-6ปี เสียไปเปล่าๆ
บันทึกการเข้า

tron
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #4 เมื่อ: 14-10-2006, 23:07 »


5-6 ปีมานี้ มิเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่
หลังจากเหตุการณ์ ฝนตกขี้หมูไหล.... เกิดขึ้น
ดินฟ้าก็อาเพศ เพื่อลงโทษพวกตระบตรสัตย์เพื่อชาติ
อะไรต่อมิอะไร มันก็รอแต่รายงาน
ไม่เคยคิดจะแก้ไขปัญหา เอาแต่เกาะเก้าอี้ให้ครบปีไปวันๆ
ไม่พร้อมทำงานแต่พร้อมรับตำแหน่งรับเงิน
เข้ามาเป็นคณะนายกแต่บอกว่าเรื่องน้ำท่วมไม่ใช่ธุระของพวกมัน

แถมยังต้องให้ฟ้าลงมาช่วยถึงสามครั้งใน 7 วัน   

จะให้เรียกพวกนี้ว่าตัวอะไร!!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-10-2006, 23:09 โดย tron » บันทึกการเข้า
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #5 เมื่อ: 14-10-2006, 23:31 »

^
น้ำท่วมใหญ่มาหลายรอบ

ทั้งภาคเหนือ  ภาคใต้(หาดใหญ่)
 
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
tron
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #6 เมื่อ: 14-10-2006, 23:40 »

^
น้ำท่วมใหญ่มาหลายรอบ

ทั้งภาคเหนือ  ภาคใต้(หาดใหญ่)


แล้วตอนนั้นมีปัญหามากมายหลายแสนคน เสียหายหลายพันล้านแบบนี้ไหม

จะมีหนักจริงๆ ก็สึนามิ ที่โดนไปทั้งคาบสมุทร

ถ้าทำงานเป็นอะไรๆต่อมิอะไรก็จะเบาลงอย่างรวดเร็ว

ไม่ใช่บอกว่ารอให้น้ำลดไปเอง อีก 2 เดือนข้างหน้า
คนที่ท่วมก็จะสาบแช่งว่าไม่มีความเป็นผู้นำ แค่น้ำท่วมก็ปล่อย
ให้ราชการทำงานกันตามมีตามเกิด งบก็บอกให้รอประชุมสภาก่อน
ไม่รู้จะสงสาร สมเพช อะไรยังไงแล้ว
บันทึกการเข้า
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #7 เมื่อ: 14-10-2006, 23:46 »

นำท่วมหาดใหญ่ ตายเยอะอยู่นา

ส่วน budget ก็เสียพอๆกัน

ส่วนคราวนี้ต้องรอ ฟ้องน้ำยักษ์

หรือไม่เอาแหมากวาดคนมาศูนย์พักพิง



         หรือว่า คนแถวนั้นไม่ได้เลือ คปค หว่า
 
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
ลับ ลวง พราง
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 945



« ตอบ #8 เมื่อ: 15-10-2006, 00:12 »

^
น้ำท่วมใหญ่มาหลายรอบ

ทั้งภาคเหนือ  ภาคใต้(หาดใหญ่)


แล้วตอนนั้นมีปัญหามากมายหลายแสนคน เสียหายหลายพันล้านแบบนี้ไหม

จะมีหนักจริงๆ ก็สึนามิ ที่โดนไปทั้งคาบสมุทร

ถ้าทำงานเป็นอะไรๆต่อมิอะไรก็จะเบาลงอย่างรวดเร็ว

ไม่ใช่บอกว่ารอให้น้ำลดไปเอง อีก 2 เดือนข้างหน้า
คนที่ท่วมก็จะสาบแช่งว่าไม่มีความเป็นผู้นำ แค่น้ำท่วมก็ปล่อย
ให้ราชการทำงานกันตามมีตามเกิด งบก็บอกให้รอประชุมสภาก่อน
ไม่รู้จะสงสาร สมเพช อะไรยังไงแล้ว


การแก้ปัญหาจะเอา สึนามิมาเทียบกับน้ำท่วมไม่ได้ เพราะสึนามิ คลื่นซัดมาแล้วก็หายไป  แต่น้ำท่วมถ้า ถ้าน้ำยังไม่ลด ใครก็ทำอะไรไม่ได้  สำรวจความเสียหายยังไม่ได้เลย
บันทึกการเข้า

"คนฟุ่มเฟือย แม้จะรวยก็มักขัดสน คนประหยัด แม้จะจนก็มักมีเหลือเก็บ"
willing
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 186



« ตอบ #9 เมื่อ: 15-10-2006, 01:44 »

5-6 ปีมานี้ มิเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่

แล้วตอนนั้นมีปัญหามากมายหลายแสนคน เสียหายหลายพันล้านแบบนี้ไหม

เท่าทีดู ปีที่ 2 ของท่านอดีตนายก ก็เสียหายกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งมากที่สุดในรอบ 15 ปีครับ

หมายเหตุ: อ้างอิงจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (http://www.disaster.go.th/disaster01/page/report00.htm )


* water_chart.PNG (20.44 KB, 861x516 - ดู 338 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-10-2006, 02:28 โดย willing » บันทึกการเข้า

Even If I am a minority of one, truth is still the truth. - Mohandas Gandhi
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #10 เมื่อ: 15-10-2006, 01:59 »

^
^
^
หลักฐานเด็ด
บันทึกการเข้า
tron
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #11 เมื่อ: 15-10-2006, 03:43 »

เอามาให้หมดสิ ว่าชาวบ้านเดือดร้อนมากขึ้นหรือน้อยลง
สองปีแรกที่เขาบริหารราชการ เพิ่มเริ่มมีบุรณาการข้าราชการยุคใหม่
หลังจากนั้น 3 ปีเป็นยังไง และรัฐบาลก่อนหน้าเข้ามาบริหารเป็นยังไง

แล้วคณะรัฐบาลใหม่เข้ามา เดือน กย.ปี 2549 บริหารเรื่องอุทกภัยมา 1 เดือน
ก็นับค่าเสียหายได้คร่าวๆ 1,600 ล้านบาทแล้ว กับคนอีก 42 จังหวัด อย่างน้อย
สาม-สี่แสนคนแนวโน้มกราฟกำลังจะกลับไปเหมือนเดิมเมื่อน้ำท่วมครบสิ้นเดือนนี้

บันทึกการเข้า
tron
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #12 เมื่อ: 15-10-2006, 04:17 »

นโยบายการจัดการน้ำที่ทำมาได้เกินครึ่งทาง...
http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=2649&PHPSESSID=1d91558b65fddcedc80efe6988264708

สาเหตุของปัญหา  การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยก่อนการปรับโครงสร้างระบบราชการเมื่อเดือนตุลาคม 2545 ขาดความเป็นเอกภาพ มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมากถึง 8 กระทรวง 30 หน่วยงาน ขาดเจ้าภาพที่แท้จริงในการดำเนินการ ก่อให้เกิดปัญหา ขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม มลภาวะทางน้ำ การแก่งแย่งน้ำ การจัดสรรน้ำไม่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ สาเหตุของปัญหาพอสรุปได้ดังนี้

1) ขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

2) ทรัพยากรน้ำตกอยู่ในระบบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยเสรี ขาดกติกาในการจัดสรรน้ำ

3) หน่วยราชการให้ความสำคัญต่อการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ ทำให้ขาดการดูแลเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และการบำรุงรักษาระบบชลประทาน

4) ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำ

5) ขาดความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำ การรวบรวม จัดระบบ และการใช้ข้อมูลในระดับ          ท้องถิ่น ทำให้การจัดสรรน้ำ และการใช้น้ำขาดประสิทธิภาพ

6) ขาดศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำของประเทศ ทำให้ข้อมูลกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการรวบรวม จัดระบบเชื่อมโยง และนำมาใช้ประโยชน์


 
5. แนวทางการปรับปรุงการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตรในเขตชลประทาน

5.1 ผลกระทบจากการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ  ที่ผ่านมาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปในลักษณะต่างฝ่ายต่างทำ ขาดการบูรณาการ และการมีส่วนร่วมจากประชาชน ทำให้ขาดจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของ โครงสร้างพื้นฐานที่จัดทำไว้เสื่อมโทรมเร็ว ขาดการบำรุงรักษา การบริหารจัดการน้ำทำเป็นส่วน ๆ ขาดการเชื่อมโยงทั้งลุ่มน้ำ และการเชื่อมโยงในแต่ละภาคการใช้น้ำ การพัฒนาทางเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนเรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นพอสรุปได้ดังนี้

1) ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม  ประเทศไทยมีฤดูฝนประมาณ 6 เดือน และฤดูแล้งประมาณ 6 เดือน  ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 800-4,400 มม./ปี เฉลี่ย 1,400 มม./ปี ปริมาณน้ำท่าประมาณ 213,400 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็นสัดส่วนในฤดูฝนร้อยละ 86 ฤดูแล้งร้อยละ 14 ผลจากการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจในช่วง 20-30 ปี ที่ผ่านมาทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายจำนวนมาก เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การชะล้างพังทะลายของดิน สารพิษทางการเกษตรตกค้างในดินและแหล่งน้ำ มลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง การก่อสร้างถนนเป็นการกีดขวางทางน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมรุนแรงในเขตเมือง ผลการสำรวจเมื่อปี 2545 จากหมู่บ้านทั้งหมดของประเทศไทย จำนวน 64,982 หมู่บ้าน พบว่ามีหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั้งหมด 35,804 หมู่บ้าน (ร้อยละ 55.10) โดยแยกเป็นภัยแล้งระดับ 1 (ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร) 19,236 หมู่บ้าน (ร้อยละ 29.60) และระดับ 2 (ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค) 16,568 หมู่บ้าน (ร้อยละ 25.50) ส่วนปัญหาอุทกภัยมีทั้งหมด 9,325 หมู่บ้าน (ร้อยละ 14.35) แยกเป็นปัญหาน้ำท่วมขัง 6,878 หมู่บ้าน (ร้อยละ 10.58) และน้ำป่าไหลหลาก 2,447 หมู่บ้าน (ร้อยละ 3.77)
บันทึกการเข้า
willing
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 186



« ตอบ #13 เมื่อ: 15-10-2006, 04:40 »

เอามาให้หมดสิ ว่าชาวบ้านเดือดร้อนมากขึ้นหรือน้อยลง
สองปีแรกที่เขาบริหารราชการ เพิ่มเริ่มมีบุรณาการข้าราชการยุคใหม่
หลังจากนั้น 3 ปีเป็นยังไง และรัฐบาลก่อนหน้าเข้ามาบริหารเป็นยังไง

ใจเย็นๆครับ
ผมแค่แย้งคำพูดของคุณที่ผ่านมา ด้วยข้อมูลเองครับ
คุณยอมรับในข้อนั้นไม้ละครับ ว่าคุณพูดผิด

ถ้าดูจาก Trend อย่างที่คุณว่า ปี 2545-2547 นั้นดีมากครับ
โดยเฉพาะ ปี 2547 ซึ่งลดลงไปต่ำมากๆ ผมยอมรับครับ

แต่ปี 2548 ทำไมค่าความเสียหาย มันขึ้นมาเยอะกว่าปีก่อน ตั้ง 10 เท่าอะครับ
อย่างนี้เรียก Trend ขึ้น?

อ้างถึง
แล้วคณะรัฐบาลใหม่เข้ามา เดือน กย.ปี 2549 บริหารเรื่องอุทกภัยมา 1 เดือน
ก็นับค่าเสียหายได้คร่าวๆ 1,600 ล้านบาทแล้ว กับคนอีก 42 จังหวัด อย่างน้อย
สาม-สี่แสนคนแนวโน้มกราฟกำลังจะกลับไปเหมือนเดิมเมื่อน้ำท่วมครบสิ้นเดือนนี้

เอ่อ ก็เค้าเข้ามาบริหารตอน หน้าฝน พอดีนี่ครับ ไม่แปลก
แค่ 1 เดือนนี่ คุณ tron ทำนายกราฟได้แล้วเหรอครับ ว่ากำลังกลับไปเป็นเหมือนเดิม

รอให้ครบปี แล้วค่อยดูข้อมูลกัน ก็ยังไม่สายนะครับ

PS. "42 จังหวัด อย่างน้อยสาม-สี่แสน คน"
ถ้าจะเอาเรื่องตัวเลขเพียวๆนะครับ
ตอนปี 2548 ซึ่งเป็นปีที่ตัวเลขดีที่สุดแล้วของนายกทักษิณ ยังโดนไป 48 จังหวัด 700,000 คน เลยครับ

PS 2. กราฟที่คุณ tron เอามาให้ดู มันเป็นหน่วยของ จำนวนครัวเรียนนะครับ ระวังบางท่านอาจ ดูผิด (ผมคนหนึ่งล่ะ 55)
บันทึกการเข้า

Even If I am a minority of one, truth is still the truth. - Mohandas Gandhi
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #14 เมื่อ: 15-10-2006, 18:19 »




ถ้าน้ำท่วมป้ายนี้
น้ำจะท่วมมากกว่าทุกปีในเกาะรัตนโกสินทร์เคยปรากฎ...

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
arttic
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 62


« ตอบ #15 เมื่อ: 15-10-2006, 19:54 »

เพ้อเจ้อทั้งกระทู้
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 15-10-2006, 20:26 »




เรื่องอย่างนี้ขืนปล่อยนักธุรกิจการเมืองเข้ามาจัดการก็พัง เพราะเป็นเรื่องเชิงโครงสร้างระยะยาวที่ยากและไม่มีผลประโยชน์โดยตรง ยากยิ่งกว่าสนามบินเพราะจัดเก็บจัดกินผลประโยชน์ยาก เคยมีเรื่องโครงการท่อน้ำชลประทานขนาดใหญ่แต่เข้าใจว่าจะไม่คุ้มทุนและป้องกันน้ำท่วมไม่ได้อยู่ดี คนละวัตถุประสงค์

เรื่องนี้ควรอาศัยสภาพัฒน์และสถาบันวิจัยกับข้าราชการประจำระดับสูงควบคู่กันครับ อ้อ ต้องมีเรื่องการจัดการเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรของประเทศด้วยบางกรณีก็ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศต้นน้ำด้วย เช่น จีน ลาว  หรือบางกรณีอาจจะต้องเป็นปํญหาระดับโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  เช่นกรณี โลกร้อน ฯลฯ เป็นต้น
                                                                                                                                                                                                     
บันทึกการเข้า

Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #17 เมื่อ: 15-10-2006, 22:20 »

ที่รู้คือน้ำมันท่วมก่อนเกิดรัฐประหารอีก ใครก็ไม่รู้บอกว่าติดปัญหาการเมืองไม่มีเวลาไปดูน้ำท่วม แต่กลับมีเวลาไปหาหมอดูถึงพม่า
บันทึกการเข้า
O_envi
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 495



« ตอบ #18 เมื่อ: 16-10-2006, 11:02 »

ก็สร้างอะไรไม่เคยทำผลกระทบสิ่งแวดล้อมทำแบบขอไปที ทำอะไรไม่เคยหารือประชาชน
ตอนนี้ป่าเหลือกี่เปอร์เซนต์แล้วเนี่ยผมว่าถึงเวลาเลิกตัดป่าแล้ว
บันทึกการเข้า

The change musts come one by one.It has to start with you
อมพระมาพูด
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 918


สนิมเกิดแต่เนื้อในตน


« ตอบ #19 เมื่อ: 16-10-2006, 11:11 »

 

อ๋อ...พวกมานทำมาหาแดร๊กซ์ อยู่นะสิ ไม่มีเวลามาดูร้อก กลัวรายได้ไม่เข้าเป้า !!
บันทึกการเข้า

พึงทำความเพียรในวันนี้ ใครเล่าจะรู้วันตายในวันพรุ่ง
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #20 เมื่อ: 16-10-2006, 14:29 »

เห็นในนโยบายมีเครือข่ายชลประทานแบบฝังท่อ PE ทั่วประเทศ และอีกตั้งหลายอย่างไม่ใช่เหรอ
สี่ปีซ่อม สี่ปีสร้าง ปีทีห้า-หก เพิ่งผ่านมาแป๊บเดียวยังไม่ทันได้ทำอะไรก็โดนยึดอำนาจแล้ว ไม่งั้น
ปีหน้าก็คงจะเห็นผล
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #21 เมื่อ: 16-10-2006, 14:36 »

โถ...พ่อคู้นนนนนนน  เห็นอะไรแย่ๆตอนนี้โยนขี้ให้ทรท.เค้าแบบอุบาวท์ๆเชียวน๊า เรื่องน้ำแล้ง-น้ำท่วมนี่มันเกิดขึ้นกับประเทศไทยมาเป็นร้อยๆปีแล้ว สมัยทรท.เค้าก็มีโครงการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยมีงบหลายแสนล้านบาทที่จะลงไปแก้ไขปัญหาใน4-5ปีให้แล้วเสร็จ


แต่มันถึงคราวซวยของคนไทยที่โดนโจรปล้นกลางคัน...รัฐบาลที่ปชช.เลือกเข้ามาเลยโดนโค่น ส่วนรัฐบาลเถื่อนที่เพิ่งเข้ามานี่ก็อย่าไปหวังเลยที่จะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน นอกจากเปลี่ยนชื่อโครงการต่างๆของรัฐบาลที่แล้ว หรือไม่ก็ตัดแต่งเอาโน่นเอานี่มาจิ้มให้ดูเหมือนคิดใหม่ทำใหม่


อนิจจา....ประเทศไทยนี่ซวยชะมัด!!
บันทึกการเข้า
LunaticBomberman
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 147


« ตอบ #22 เมื่อ: 16-10-2006, 14:37 »

มัวแต่ฮุบเงินประเทศเข้ากระเป๋าตัวเองทุกวินาทีให้มากที่สุดครับ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 16-10-2006, 15:18 »

มััวแต่งาบ เมกกะโปรเจค จนลืมทำนุบำรุงบ้านเมืองมา 5-6 ปี

เห็นแล้วสะท้อนใจจริง ๆ...
บันทึกการเข้า

เพนกวินน้อยนักอ่าน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 866



« ตอบ #24 เมื่อ: 16-10-2006, 16:42 »

ตอนน้ำป่าท่วมอุตรดิตถ์ เหลี่ยมบินหนีไปประชุม เป็นคนแรกเลยครับ
ปล่อยให้คนอื่นจัดการงาน

พวกที่อ้างว่าเก๋าการเมือง โดนหลอกง่ายๆเลย
ทักษิณมันจะแก้ปัญหาเฉพาะที่มันจัดการได้ อันไหนทำไม่ได้มันหนีลูกเดียว อย่างไฟใต้ น้ำป่าท่วม

มีแต่ควายเท่านั้นแหล่ะครับ จะหลงไหลได้ปลื้มกับมัน
บันทึกการเข้า
The Last Emperor
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6,714


« ตอบ #25 เมื่อ: 16-10-2006, 17:19 »

ตอนน้ำป่าท่วมอุตรดิตถ์ เหลี่ยมบินหนีไปประชุม เป็นคนแรกเลยครับ
ปล่อยให้คนอื่นจัดการงาน

พวกที่อ้างว่าเก๋าการเมือง โดนหลอกง่ายๆเลย
ทักษิณมันจะแก้ปัญหาเฉพาะที่มันจัดการได้ อันไหนทำไม่ได้มันหนีลูกเดียว อย่างไฟใต้ น้ำป่าท่วม

มีแต่ควายเท่านั้นแหล่ะครับ จะหลงไหลได้ปลื้มกับมัน


ฮ่าๆๆๆ...งานง่ายๆสมัยซึนามิที่มีคนตายศพเหม็นอ๊วกแตก คุณทักษิณยังลงไปเดินลุยท่อมๆสั่งการด้วยตัวเอง งานง่ายโคดๆใช่ไหมนกน้อยเอ๋ย!?!
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 16-10-2006, 20:36 »



ข่าวล่าปีหน้า เมืองไทยจะเจอปรากฏการ เอลนินโญ จะเกิดน้ำแล้ง ความแม่นยำเกือบ100% จากการใช้เทคดนดลยีการวิเคราะห์ปบบจำลองทางฌทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ครับ
                             
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 27-10-2006, 14:30 »


Water : น้ำกับชะตากรรมของมนุษยชาติ (1)  http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006october16p2.htm
คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์  โดย ไสว บุญมา  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3836 (3036)

"น้ำมีอยู่ทั่วไป แต่ไฉนจึงไม่มีอะไรจะดื่ม" (Water, water everywhere, but nothing to drink.) เป็นคำเปรยของชาวกายอานา (Guyana) ประเทศยากจนเล็กๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีความหมายว่า "แหล่งน้ำจำนวนมาก" ต้นคิดของคำเปรยนั้น หวังจะให้สื่อความหมายในเชิงขบขันด้วย แต่ในภาวะปัจจุบันความขบขันอาจไม่เกิดขึ้นเลย เมื่อคำเปรยนั้นถูกนำมาใช้ เพราะแม้ประเทศกายอานาจะมีแหล่งน้ำจำนวนมากตามชื่อของประเทศก็จริง แต่น้ำส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับนำมาบริโภค เนื่องจากความสกปรก เชื้อโรคและการเจือปนด้วยปรอท และสารหนูซึ่งตกค้างมาจากกระบวนการค้นหาและแยกแร่ทองคำ

ย้อนกลับมาที่เมืองไทย ในระหว่างเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม เกือบทุกวันสื่อรายงานเรื่องน้ำท่วม จนคนไทยส่วนใหญ่ดูจะลืมไปว่าเมื่อ 5-6 เดือนก่อนความแห้งแล้งเป็นข่าวพาดหัว

สถานการณ์ในกายอานาและในเมืองไทยฉายให้เห็นมายาภาพหนึ่งของโลกปัจจุบัน นั่นคือ น้ำดูเหมือนจะมีอยู่ทั่วไป จนคนส่วนใหญ่มักคิดว่า ทรัพยากรอันมีค่าสูงยิ่งต่อชีวิตนี้มีไม่จำกัด แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่า ตอนนี้โลกของเรามีปัญหาหนักหนาสาหัส เรื่องการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ จนตกอยู่ในภาวะวิกฤตแล้ว พวกเขาจึงพยายามนำเรื่องวิกฤตน้ำมาตีแผ่ หนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ Marc de Villiers ซึ่งพิมพ์หนังสือชื่อ Water : The Fate of Our Most Precious Resource ออกมาครั้งแรกเมื่อปี 2542 และพิมพ์ซ้ำอีกในเวลาต่อมา

ผู้เขียนเติบโตในทวีปแอฟริกาและได้สัมผัสกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอันเนื่องมาจากความแห้งแล้งโดยตรง แม้ตอนนี้เขาจะย้ายไปอยู่ในประเทศแคนาดาซึ่งมีน้ำเหลือเฟือ แต่ประสบการณ์ช่วยให้เขาบรรยายปัญหา อันเกิดจากการขาดแคลนน้ำ ได้อย่างชวนอ่าน โดยเฉพาะจากการนำเอาเรื่องเบาๆ จากชีวิตจริงของเขามาเล่าผสมผสานกับประเด็นสำคัญๆ ของหนังสือ เช่น การช่วงชิงน้ำอันอาจวิวัฒน์ไปเป็นชนวนสงครามระหว่างประเทศ ปัจจัยที่ทำให้แหล่งน้ำสกปรกจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต ทางเลือกของสังคมต่างๆ และทางแก้ปัญหา เขาแบ่งการนำเสนอออกเป็น 4 ภาคเพื่อวางกรอบของปัญหา ทบทวนที่มาและสภาพของแหล่งน้ำต่างๆ เล่าประเด็นการเมืองเกี่ยวกับเรื่องน้ำ และเสนอข้อชี้แนะ

ในภาคแรกผู้เขียนนำเข้าสู่ประเด็นด้วยการเล่าเรื่องเบาๆ เกี่ยวกับสายน้ำใหญ่ในแอฟริกาชื่อ โอกาวังโก สายน้ำนี้มีต้นกำเนิดในประเทศแองโกลา ไหลผ่านประเทศนามิเบีย และไปจบลงที่บึงใหญ่กลางทะเลทราย ในประเทศบอตสวานา ตามธรรมดานามิเบีย และบอตสวานามีปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำอยู่แล้ว เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งจนเป็นทะเลทราย ตอนนี้ปัญหาเริ่มหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้น เพราะอากาศแห้งแล้งเป็นเวลานานติดต่อกันบ่อยขึ้น นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าภาวะโลกร้อน เป็นต้นเหตุของความแห้งแล้งนั้น (คอลัมน์นี้ประจำวันที่ 28 และ 31 สิงหาคมเล่าถึงเรื่องภาวะโลกร้อน) อีกปัจจัยหนึ่งได้แก่ ประชากรของประเทศเหล่านั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและแต่ละคนใช้น้ำมากขึ้นตามความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

เนื่องจากแม่น้ำสายนั้นไหลผ่านนามิเบีย ชาวนามิเบียจึงคิดที่จะกักน้ำส่วนใหญ่ไว้ใช้ในประเทศของตน การกระทำเช่นนั้นจะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงสองด้าน นั่นคือ บึงใหญ่ในประเทศบอตสวานาจะเหือดแห้งไป ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงจนพืชและสัตว์ส่วนใหญ่ต้องล้มตายลง และชาวบอตสวานาจะขาดน้ำดื่มน้ำใช้ และน้ำในการทำการเกษตร ชาวบอตสวานาจึงพูดเปรยๆ เสมอว่า ถ้านามิเบียทำเช่นนั้น สงครามการช่วงชิงน้ำจะเกิดขึ้น ผู้เขียนกล่าวว่าเรื่องราวของโอกาวังโกเป็นเสมือนแบบจำลองของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน เพราะในขณะที่ความต้องการของมนุษย์ เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ปริมาณของน้ำบนผิวโลกยังคงเดิม และไม่กระจายออกไปอย่างทั่วถึง บางแห่งมีน้ำเหลือใช้ บางแห่งแทบไม่มี บางเดือนมีฝนตกชุกจนน้ำท่วม บางเดือนขาดฝนจนพืชผลแห้งตาย

ต้นกำเนิดของน้ำมาจากไหนไม่มีใครรู้อย่างแน่นอน แต่ที่แน่นอนก็คือ น้ำบนผิวโลกของเรานี้มีปริมาณคงที่ และส่วนใหญ่อยู่ในรูปของน้ำทะเลซึ่งระเหยขึ้นไปในท้องฟ้าแล้วเป็นฝนตกลงมาในรูปของน้ำจืด ฝนส่วนหนึ่งตกลงบนพื้นดินเป็นน้ำให้มนุษย์ สัตว์ และพืช ใช้ก่อนที่มันจะระเหยกลับไปหรือไหลกลับลงสู่ทะเลอีกครั้ง นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่าโลกมีน้ำอยู่ประมาณ 1,400 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร นั่นหมายความว่าถ้าเราเกลี่ยน้ำให้เสมอกันทั่วโลก ระดับของน้ำจะมีความลึกถึง 2.7 กิโลเมตร แต่ทั้งหมดนี้มีเพียง 2.5% เท่านั้นที่เป็นน้ำจืดซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของน้ำแข็ง และหิมะที่สะสมอยู่ตามขั้วโลกทำให้ปริมาณน้ำที่เราใช้ได้มีอยู่ไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ปริมาณน้ำที่เราใช้ได้นั้นยังมีเพียงพอเพราะโดยเฉลี่ยประชากรโลกจะมีน้ำใช้คนละราว 8,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ต้นตอของปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ปริมาณของน้ำ หากอยู่ที่การกระจายอันไม่เท่ากัน ทั้งในด้านของสถานที่ และของเวลา โดยรวมทวีปยุโรปมีน้ำจำนวนมากและกระจายออกไปอย่างทั่วถึง ที่นั่นจึงไม่ค่อยมีใครขาดน้ำ ทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ก็มีน้ำจำนวนมาก แต่การกระจายไม่ค่อยทั่วถึงนัก บราซิลและแคนาดามีเหลือใช้ ในขณะที่เม็กซิโกและเปรูขาดแคลน แอฟริกามีปัญหาร้ายแรงเพราะนอกจากปริมาณน้ำจะมีน้อยแล้ว การกระจายยังไม่ทั่วถึงกันอีกด้วย ทวีปเอเชียและออสเตรเลียมีน้ำเหลือใช้ในบางประเทศ เช่น ลาว แต่ประเทศใหญ่ๆ เช่น จีน อินเดีย ปากีสถาน และประเทศในตะวันออกกลาง ขาดน้ำถึงขั้นวิกฤต

เท่าที่ผ่านมามนุษย์เราพยายามแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยวิธีต่างๆ กัน วิธีหนึ่งได้แก่การผันน้ำจากแหล่งหนึ่ง ไปสู่สถานที่ซึ่งไม่มีน้ำเพียงพอ การผันน้ำตามโครงการขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหลายพันปีมาแล้วโดยเฉพาะในย่านตะวันออกกลาง ซึ่งมีความก้าวหน้าทางวิชาการก่อนส่วนอื่นของโลกและมีความแห้งแล้งเป็นแรงจูงใจเบื้องต้น ต่อมาฝรั่งในทวีปยุโรป ยกทัพไปรุกรานถึงย่านตะวันออกกลาง และนำความรู้ที่ได้จากที่นั่นไปใช้ พร้อมกับปรับปรุงให้ดีขึ้นในสมัยอาณาจักรโรมันรุ่งเรือง ระบบการผันน้ำอันก้าวหน้าของชาวโรมัน ใช้ได้มาจนถึงสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อเครื่องจักรกล เข้ามามีบทบาทในกิจการต่างๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างเขื่อนขนาดยักษ์ และการสูบน้ำจากขุมน้ำบาดาล (aquifers) ซึ่งสะสมมาเป็นเวลานาน

เทคโนโลยีมีอานุภาพสูงและเอื้อให้การผันน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็มีผลกระทบแฝงอยู่ด้วย การแย่งน้ำกันระหว่างนามิเบีย และบอตสวานาจนอาจนำไปสู่สงครามนั้นเป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั่วโลกเพราะสายน้ำส่วนใหญ่ไหลผ่านมากกว่าหนึ่งประเทศและเกือบทุกประเทศต้องการใช้น้ำ ณ วันนี้สังคมโลกยังไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนสำหรับการปันน้ำให้ประเทศที่สายน้ำไหลผ่าน ในภาวะเช่นนี้ประเทศต้นน้ำ ที่มีพลังทางทหาร และเศรษฐกิจสูง เช่น สหรัฐอเมริกา จึงกักน้ำไว้โดยปันให้เม็กซิโกเพียงเล็กน้อย ทั้งที่เม็กซิโกยากจนกว่า และต้องการน้ำไปพัฒนาประเทศของตน ส่วนประเทศต้นน้ำที่ยากจน และอ่อนแอ เช่น เอธิโอเปีย ไม่สามารถกักน้ำไว้พัฒนาประเทศได้มากนักเนื่องจากอียิปต์ขู่ว่าถ้าเอธิโอเปียทำย่อมเกิดสงครามทันที ในสภาพเช่นนี้โอกาสที่ข้อพิพาทรุนแรงจะเกิดขึ้นย่อมมีอยู่สูง

นอกจากสายน้ำบนผิวโลกแล้ว ขุมน้ำบาดาลก็อาจสร้างข้อพิพาทได้เช่นกัน เพราะบางขุมครอบคลุมพื้นที่ใต้ดินของหลายประเทศ เมื่อประเทศหนึ่งใช้เทคโนโลยีที่มีพลังสูงสูบน้ำออกมาใช้ น้ำย่อมไหลจากเขตของประเทศอื่นไปยังประเทศนั้น ในกรณีนี้สังคมโลกยังไม่มีกฎเกณฑ์ในการปันน้ำกันอย่างเป็นธรรม จึงนำไปสู่ภาวะใครมือยาวสาวได้สาวเอา รายละเอียดของผลกระทบจากโครงการผันน้ำขนาดใหญ่มีอยู่ในภาคต่อไป
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 27-10-2006, 14:32 »



Water : น้ำกับชะตากรรมของมนุษยชาติ (2)

คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3837 (3037)

ในภาค 2 ผู้เขียนเล่าถึงปัจจัยที่ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำร้ายแรงยิ่งขึ้น นอกเหนือจากปริมาณของน้ำ ที่กระจายอย่างไม่ทั่วถึงกัน ปัจจัยแรกเป็นภาวะโลกร้อนอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงโดยเฉพาะถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียม อากาศร้อนทำให้น้ำตามแหล่งต่างๆ ระเหยรวดเร็วขึ้นจนแหล่งน้ำบางแห่งแห้งเหือดลง พื้นที่ซึ่งตามปกติมีน้ำเพียงจำกัดอยู่แล้ว ต้องเผชิญกับปัญหาที่หนักหนาสาหัสยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นในย่านกันดารน้ำจำนวนมากประชากรมักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนำไปสู่ความต้องการน้ำมากขึ้น พร้อมๆ กันนั้นการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำไม้มาใช้ทำฟืนก็ส่งผลให้ภาวะแห้งแล้งรุนแรงยิ่งขึ้นอีก ทะเลสาบชาดซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของหลายประเทศในแอฟริกาเหือดหายไปกว่า 100 เมตรต่อปี เมื่อประชาชนที่อาศัยทะเลสาบนี้หาเลี้ยงชีพไม่สามารถอาศัยทะเลสาบได้ก็พากันอพยพไปอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมในเมือง แหล่งเสื่อมโทรมเหล่านั้นต้องการน้ำมากขึ้นแต่ก็มักทำลายแหล่งน้ำของตนเพราะมักไม่กำจัดปฏิกูลอย่างเหมาะสม

นอกจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงให้เกิดก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นอีกมากมาย ที่มนุษย์เราทำให้น้ำที่เราใช้ได้ ลดน้อยลง เพราะความสกปรกจากมลพิษและปฏิกูล ผู้เขียนนำเข้าประเด็นด้วยการเล่าถึงการล่องแม่น้ำโวลกา ซึ่งยาวที่สุดในยุโรป และเป็นเสมือนสายใยซึ่งรัดรึงดวงใจของชาวรัสเซียไว้ด้วยกัน เขาล่องเรือไปหลายชั่วโมง ท่ามกลางสองฝั่งน้ำซึ่งมีเฉพาะความเงียบเชียบถึงขนาดปราศจากแม้กระทั่งเสียงนกเสียงกา

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะนกไม่มีที่จะอาศัยเนื่องจากต้นไม้ยืนต้นตายกันหมดตลอดทาง สาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ตาย มีให้เห็นอยู่ทั่วไปตลอดสายน้ำ เช่น โรงงานทำกระดาษ ทำรองเท้า ทำกาว ทำปุ๋ย ถลุงแร่ และผลิตกระแสไฟฟ้า บางโรงงานปล่อยสารพิษออกไปกับกลุ่มควันและน้ำเสีย

สายน้ำบางตอนเจือปนด้วยสิ่งตกค้างจากสารกำมะถันจนออกสีเหลือง แม่น้ำทั้งสายเป็นทางระบายของเสียทุกชนิด โรงงานเหล่านั้นครั้งหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้า แต่ในปัจจุบันพวกมันเป็นที่มาของพิษร้าย ซึ่งทำลายดวงใจของชาวรัสเซีย

ความเสื่อมสภาพของสายน้ำตามแนวของแม่น้ำโวลกามีอยู่ทั่วไปในยุโรปตะวันออก การศึกษาของสาธารณรัฐเช็กพบว่า 75% ของสายน้ำในประเทศนั้นมีสารพิษเจือปนอยู่มากจนถึงขั้นวิกฤต และราวหนึ่งในสามของสายน้ำ มีน้ำเสียถึงขนาดปลาก็อาศัยอยู่ไม่ได้ แม้สภาพลำน้ำโดยทั่วไปในส่วนอื่นของยุโรปจะอยู่ในสภาพดีกว่านั้น แต่บางสายก็ยังคงเป็นทางระบายปฏิกูล รวมทั้งบางตอนของแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นต้นตำนานอันแสนโรแมนติกของเพลงคลาสสิก Blue Danube โดย โยฮันน์ สเตาส์ ด้วย

ในระดับโลกการศึกษาพบว่ากว่า 50% ของแม่น้ำทั้งหมดมีสารเจือปนจนเป็นอันตรายแก่สุขภาพของมนุษย์ และมีแม่น้ำเพียงสองสายเท่านั้นที่ยังอยู่ในสภาพดี นั่นคือ แม่น้ำคองโกในแอฟริกาและแม่น้ำอะเมซอนในอเมริกาใต้ ผู้เขียนกล่าวถึงสภาพของแม่น้ำจำนวนมากโดยเฉพาะเจาะจงแต่ไม่ได้เอ่ยถึงแม่น้ำในเมืองไทยนอกจากแม่น้ำโขง ซึ่งเขาบอกเพียงว่าการจับปลาได้ลดลงไปราวครึ่งหนึ่งในช่วงเวลา 25 ปีที่ผ่านมา

ในทวีปอเมริกาเหนือมีทะเลสาบขนาดใหญ่ 5 แห่ง ซึ่งเชื่อมต่อถึงกันอยู่ตามแนวชายแดนของแคนาดาและสหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแองการาอันโด่งดังตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบในกลุ่มนี้ ชายฝั่งทางสหรัฐอเมริกาวัดความยาวได้ราว 8,000 กิโลเมตร แต่ผู้เขียนบอกว่าเพียง 3% ของชายฝั่งเท่านั้นที่น้ำมีคุณภาพดีพอสำหรับคนลงไปว่ายเล่น หรือสูบน้ำไปใช้เพื่ออุปโภคบริโภคได้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังไม่ต้องการให้จับปลาไปบริโภคเพราะปลามีสารเคมีต่างๆ ตกค้างอยู่มากเกินไป เช่น ปรอท พีซีบี คลอเดน ไดออกซิน และดีดีที สารพิษเหล่านี้สั่งสมมาเป็นเวลานานรวมทั้งจากลำน้ำที่ไหลลงไปในทะเลสาบด้วย

ในระยะหลังนี้เริ่มมีการควบคุมสารพิษที่ไหลลงไปในทะเลสาบมากขึ้น เหตุการณ์ใหญ่ที่กระตุ้นให้ชาวอเมริกัน มองเห็นอันตรายได้แก่วันหนึ่งแม่น้ำคูยาโฮกาซึ่งอยู่ไม่ห่างจากทะเลสาบลุกเป็นไฟ ผู้เขียนไม่ได้นำรายละเอียดมาเล่าว่าแม่น้ำลุกเป็นไฟขึ้นมาได้อย่างไร แต่เท่าที่พอจะสันนิษฐานได้ คือ แม่น้ำเต็มไปด้วยสวะอันเกิดจากขยะมูลฝอยลอยกันอยู่เป็นแพ มูลฝอยเหล่านั้นมีน้ำมันและสารเคมีจำนวนมากเจือปนอยู่ ฉะนั้นเมื่อมีผู้โยนก้นบุหรี่ลงไปไฟก็ลุกโพลงขึ้นทันที

ในขณะที่ประเทศก้าวหน้าพยายามทำความสะอาดแหล่งน้ำและลดการปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายลงไปในสายน้ำ ประเทศด้อยพัฒนาซึ่งพยายามสร้างความก้าวหน้าด้วยการทำอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการยุคใหม่ กลับทำให้แหล่งน้ำเสียเพิ่มขึ้น ผู้เขียนย้อนกลับไปดูแอฟริกาและนำภาพหนึ่งซึ่งติดตามาเล่า นั่นคือ การเดินทางจากเมืองบาฟูซัมในตอนกลางของประเทศแคเมอรูนมุ่งไปทางทะเลสาบชาด ตามทางมีแหล่งเสื่อมโทรมเรียงรายกันอยู่ใกล้ๆ ถนนพร้อมผู้คนจำนวนมากนำของสารพัดอย่าง มาวางขายบนพื้นดินซึ่งกลายเป็นสีดำเพราะน้ำมันเครื่องที่ตกหล่น ขี้เถ้าจากการเผาขยะและปฏิกูลอื่นๆ อากาศคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นควันจากการเผาไหม้ของน้ำมันดีเซล ปลาที่กำลังจะเน่า น้ำโสโครกและความสกปรกทั่วๆ ไป เด็กในสภาพมอมแมมนับร้อยวิ่งเล่นให้เห็นอยู่ทั่ว รวมทั้งในปลักน้ำ ซึ่งดูจะเปลี่ยนเป็นสีดำแล้ว และรอบๆ กองขยะ แหล่งเสื่อมโทรมเหล่านี้ไม่มีบริการอะไรทั้งสิ้น ไม่มีถนน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา ไม่มีโรงพยาบาล และไม่มีการเก็บขยะมูลฝอย เขากล่าวด้วยว่าสภาพเช่นนี้เป็นสถานที่เพาะเชื้อโรคอย่างดีเยี่ยม แต่มันมิได้มีให้เห็นเฉพาะในแอฟริกาเท่านั้น หากมีอยู่ในประเทศด้อยพัฒนาโดยทั่วไปรวมทั้งในเมืองไทยด้วย (หน้า 98)

การพัฒนาซึ่งสังคมต่างๆ คิดว่าจะนำความก้าวหน้ามาให้นั้นบางครั้งสร้างผลกระทบต่อแหล่งน้ำชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้เขียนใช้เนื้อที่ถึงหนึ่งบทเพื่อเล่าเรื่องราวของทะเลสาบอาราลในเอเชียกลาง ซึ่งครั้งหนึ่งอยู่ในความปกครอง ของสหภาพโซเวียต ทะเลสาบแห่งนี้อยู่กลางพื้นที่แห้งแล้งกึ่งทะเลทราย แต่มีแม่น้ำใหญ่สองสายนำน้ำมาให้ตลอดเวลา สหภาพ โซเวียตต้องการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเกษตรกรรม จึงขุดคลองผันน้ำจำนวนมากจากแม่น้ำทั้งสองนั้น การเกษตรประสบความสำเร็จสูงยิ่ง เมื่อทะเลทรายได้รับน้ำ และกลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ขนาดมหึมา

อย่างไรก็ตาม เมื่อน้ำจากแม่น้ำทั้งสองสายถูกผันไปจนหมด เนื้อที่ของทะเลสาบก็ค่อยๆ หดหายไปในขณะที่ความเค็มของน้ำค่อยๆ เพิ่มขึ้น

ผู้เขียนบรรยายให้เห็นภาพซึ่งปรากฏอยู่ข้างหน้าเขาด้วยอารมณ์เศร้าสลด ชุมชนหนึ่งซึ่งเคยอยู่ริมทะเลสาบ และเป็นท่าเทียบเรือหาปลาไม่สามารถมองเห็นทะเลสาบอีกเพราะชายฝั่งได้เลื่อนห่างออกไปถึง 75 กิโลเมตร สิ่งที่เขาเห็นคือท่าเทียบเรือที่ผุพังและซากเรือหาปลาเก่าๆ มากมายที่ติดอยู่กลางทะเลทราย และลานเกลือซึ่งครั้งหนึ่งเป็นโคลนก้นทะเลสาบ เวลาลมพัดเข้ามามันจะพาเอาฝุ่นปนเกลือมาด้วยมากมายจนทำให้อากาศ

เปลี่ยนเป็นสีทึมๆ ในย่านนั้นมีซี่โครงสัตว์ใหญ่ๆ ตกอยู่เรียงรายจำนวนมาก สัตว์เหล่านั้นตายเพราะขาดน้ำ

การหดหายไปของทะเลสาบสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศ ต่อสภาพภูมิอากาศและประชาชนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น ในตอนที่เขาเขียนหนังสือข้อมูลบ่งว่าทะเลสาบอาราลมีน้ำเหลืออยู่ราว 5% เท่านั้น และน้ำมีความเค็มเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า จนปลาได้ตายไปหมดแล้ว นอกจากวิถีชีวิตของผู้คนในย่านนั้นจะต้องเปลี่ยนไปเพราะไม่มีน้ำให้ทำกิจการต่างๆ แล้ว พวกเขายังเป็นโรคต่างๆ มากขึ้นอีกด้วย

การหายใจฝุ่นปนเกลือเข้าไปทำให้เกิดโรคหลายอย่าง เช่น มะเร็งในลำคอ โรคทางเดินลมหายใจเรื้อรัง โรคตับ โรคไต โรคไขข้อ และโรคตับอักเสบ แม้ตอนนี้จะมีโครงการที่จะฟื้นฟูให้ทะเลสาบกลับคืนมาอีก แต่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จดูจะมีน้อย เพราะแผ่นดินในย่านนั้นได้แยกออกเป็น 5 ประเทศหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย ทะเลสาบอาราลจึงอาจเป็นความหายนะถาวร
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 27-10-2006, 14:32 »



Water : น้ำกับชะตากรรมของมนุษยชาติ (3)

คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์  โดย..ดร.ไสว บุญมา www.sboonma@msn.com  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3838 (3038)

วิธีการผันน้ำที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ได้แก่การสร้างเขื่อนซึ่งมีประวัติยาวนาน แต่เขื่อนขนาดใหญ่มาเกิดขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมานี่เอง ข้อมูลบ่งว่าเมื่อปี ค.ศ.1900 โลกไม่มีเขื่อนสูงเกิน 15 เมตรแม้แต่เขื่อนเดียว อีก 50 ปีต่อมา โลกมีเขื่อนสูงกว่า 15 เมตร 5,270 เขื่อน ในจำนวนนี้เพียง 2 เขื่อนอยู่ในเมืองจีน พอถึงปี ค.ศ.1980 (พ.ศ.2523) จำนวนเขื่อนขนาดใหญ่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 36,562 เขื่อน โดยที่ประมาณครึ่งหนึ่งอยู่ในเมืองจีน หลังจากนั้นการสร้างเขื่อนค่อยๆ ลดลงด้วยเหตุใหญ่สองประการ นั่นคือ สายน้ำที่เหมาะแก่การทำเขื่อนเริ่มหมดไปและ นักวิทยาศาสตร์เริ่มมองเห็นผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากเขื่อน ธนาคารโลกเองซึ่งครั้งหนึ่งให้กู้เงินแทบไม่อั้น เพื่อสร้างเขื่อนก็เริ่มปฏิเสธที่จะให้กู้หากเขื่อนมีโอกาสทำลายสิ่งแวดล้อมสูง เช่น เขื่อนสามโกรกในเมืองจีน เขื่อนเริ่มถูกมองว่าเป็นต้นตอของปัญหามากกว่าที่มาของพลังงาน ป้องกันน้ำท่วม เอื้อให้การเดินเรือสะดวก และเก็บน้ำไว้สำหรับใช้อุปโภคบริโภคและการเกษตร

โดยทั่วไปการสร้างเขื่อนนำไปสู่ความจำเป็นที่จะต้องโยกย้ายคนในท้องถิ่น แต่นั่นเป็นปัญหาที่มองเห็นได้ง่าย เมื่อเทียบกับปัญหาที่ตามมาทีหลัง ผลพวงหนึ่งซึ่งผู้สร้างเขื่อนไม่คาดคิด ได้แก่ การศึกษาที่ชี้ว่าผู้คนในย่านนั้น มักมีปัญหาเกี่ยวกับการขาดธาตุอาหารมากขึ้น แทนที่จะลดลงทั้งที่การชลประทานควรจะช่วยให้ผลิตอาหารได้มากขึ้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหานั้นค่อนข้างสลับซับซ้อน เช่น ตามธรรมดาสายน้ำที่ก่อให้เกิดน้ำท่วมประจำทุกปี จะนำไปสู่การเกษตรแบบผสมผสาน ที่มีพืชหลากหลายและเหมาะสมกับปริมาณของน้ำตามฤดูกาล การสร้างเขื่อนควบคุมน้ำเพื่อการชลประทานมักนำไปสู่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวซึ่งส่วนใหญ่เพื่อส่งออก การศึกษาพบว่าการเกษตรแบบผสมผสานให้ผลผลิตโดยรวมมากกว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

เขื่อนเปลี่ยนความเร็วของกระแสน้ำ ทำให้อุณหภูมิและส่วนของสารที่ละลายอยู่ในน้ำเปลี่ยนไป ส่งผลให้อาหารของปลาถูกกระทบ การเพาะเลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำอาจทำให้จับปลาเพิ่มขึ้นชั่วคราว แต่ในระยะยาวแล้วจะจับปลาได้น้อยลง ในบางกรณีอุตสาหกรรมการจับปลาถึงกับถูกทำลายไปโดยสิ้นเชิง เขื่อนกักเอาโคลนตมที่ไหลมากับน้ำไว้ในทะเลสาบเหนือเขื่อน น้ำใต้เขื่อนจึงใส และไหลเร็วยิ่งขึ้นจนทำให้แม่น้ำลึก และเป็นอันตรายมากขึ้น น้ำที่ไม่มีตมเจือปนอยู่นำไปสู่การพังทลายของผืนดินตามปากน้ำ เนื่องจากดินใหม่ ไม่พอกพูนขึ้นมาแทนดินที่ถูกกระแสน้ำกัดเซาะไป มองโดยรวมเขื่อนมีผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญ แต่การสร้างเขื่อนยังมีความจำเป็นเพราะในบางกรณีรัฐไม่มีทางเลือกอย่างอื่น นอกจากการสร้างเขื่อน เพื่อผันน้ำไปให้แก่พื้นที่ซึ่งขาดน้ำอย่างรุนแรงถึงชีวิต ฉะนั้นจึงมองได้ว่าจีนต้องสร้างเขื่อนสามโกรก ทั้งที่รู้ว่ามันมีผลกระทบร้ายแรง เพราะถ้าไม่สร้างเพื่อผันน้ำไปให้ภาคเหนือของประเทศ ภาคนั้นจะไม่มีน้ำพอใช้ในอนาคตอันใกล้นี้

การชลประทานเป็นวิธีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรซึ่งมีประวัติยาวนานหลายพันปีและมาขยายกว้างขวางขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อใช้ผันน้ำในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา การชลประทานและการใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและวัชพืช ทำให้โลกสามารถผลิตอาหารได้มากขึ้นแบบก้าวกระโดด จนดูเสมือนว่าโอกาสที่คนจะอดตายนั้นจะไม่มีอีกแล้ว อย่างไรก็ตามโอกาสที่โลกจะผลิตอาหาร ไม่พอกับความต้องการของประชากร ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยังมีอยู่ เพราะโดยรวมแล้วพื้นที่ในระบบชลประทาน ทั่วโลกเริ่มลดลงทั้งที่มีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้น ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการชลประทานที่ขาดการระบายน้ำอย่างเหมาะสม ทำให้ดินเค็มจนใช้ในการเพาะปลูกไม่ได้ ในตอนก่อนที่ผู้เขียนจะพิมพ์หนังสือข้อมูลบ่งว่าดินในระบบชลประทานทั่วโลก จะเค็มขึ้นจนใช้ปลูกอะไรไม่ได้อีกปีละประมาณ 5 ล้านไร่ ปากีสถานเพียงประเทศเดียวได้สูญที่ดิน เพราะเกลือจากการชลประทานไปถึงประมาณ 10 ล้านไร่แล้ว ในขณะเดียวกันการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร นำไปสู่การสะสมของสารพิษตกค้าง ทั้งที่อยู่ในดินและที่อยู่ในน้ำซึ่งนำไปสู่ภาวะดินและน้ำเป็นพิษ จะใช้ดินสำหรับการเพาะปลูกอีกไม่ได้ ส่วนน้ำก็จะนำไปใช้บริโภคอุปโภคไม่ได้เช่นกัน

น้ำนอกจากแหล่งน้ำบนผิวโลก เช่น แม่น้ำ และทะเลสาบ แล้วยังมีขุมน้ำบาดาลที่เรา สามารถนำขึ้นมาใช้ได้อีกด้วย ในบางพื้นที่ขุมน้ำเหล่านี้มีปริมาณมากคล้ายมีทะเลสาบอยู่ใต้ดิน การนำน้ำชนิดนี้ขึ้นมาใช้ทำได้เพียงจำกัด จนกระทั่งเราเริ่มมีเครื่องจักรกลพลังสูงที่สามารถ สูบน้ำขึ้นมาได้จากความลึกหลายๆ ร้อยเมตร เนื่องจากขุมน้ำบาดาลสะสมน้ำได้ช้าและต้องใช้เวลานาน การสูบน้ำขึ้นมาใช้ในอัตราสูงทำให้น้ำหมดไปอย่างรวดเร็ว ขุมน้ำบางแห่งซึ่งอยู่ใกล้ทะเลถูกทำลายเมื่อน้ำจืดถูกสูบออกไปแล้วน้ำทะเลไหลเข้ามาแทนที่ ผู้เขียนเล่าเรื่องราวของการใช้ขุมน้ำบาดาลใหญ่ๆ หลายแห่ง เรื่องที่เขาเล่าไว้อย่างละเอียดเป็นพิเศษได้แก่เรื่องของ ขุมน้ำบาดาลในใจกลางสหรัฐอเมริกาและในใจกลางประเทศลิเบีย

แม้ตามภาพรวมสหรัฐอเมริกาดูจะอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทุกอย่าง แต่บางส่วนของประเทศแห้งแล้งมากจนเป็นทะเลทราย การแย่งน้ำกันใช้ระหว่างรัฐต่างๆ บางครั้งเป็นไปอย่างเข้มข้นถึงขนาดจะจับอาวุธขึ้นปะทะกัน เช่น ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐแอริโซนาส่งทหารประมาณร้อยนายเข้าไปขัดขวางการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโคโลราโดของรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยอ้างว่าการสร้างเขื่อนนั้นเป็นการขโมยน้ำของแอริโซนา แต่ก่อนที่จะมีการยิงกันรัฐบาลกลางเข้าไปไกล่เกลี่ยสำเร็จ นั่นเป็นตัวอย่างของการแย่งน้ำบนดิน ความแห้งแล้งยังนำไปสู่การแย่งน้ำใต้ดินกันด้วย เช่น รัฐต่างๆ ในตอนใจกลางของประเทศ มีขุมน้ำบาดาลขนาดใหญ่ชื่อว่า โอกายาลา ก่อนที่จะมีเครื่องสูบพลังสูง ชาวนาชาวไร่ต้องประสบกับความหายนะทุกครั้ง ที่ฝนแล้ง แต่หลังจากมีเครื่องสูบดังกล่าว ชาวนาชาวไร่ไม่กลัวฝนแล้งและเมืองต่างๆ ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว การศึกษาล่าสุดพบว่าอีกไม่ช้าน้ำจะหมด เพราะตอนนี้มีบ่อบาดาลราว 74,000 บ่อที่แข่งกันสูบน้ำขึ้นมาใช้แทบไม่อั้น อย่างไรก็ตามน้ำเริ่มไม่พอใช้ทำให้นาไร่และบางเมืองต้องประสบปัญหาอย่างหนัก และเมื่อขุมน้ำแห่งนี้หมดไปในเวลาราว 15 ปี พวกเขาจะทำอย่างไรต่อไปยังไม่มีใครทราบ

ทะเลทรายในแอฟริกาแห้งแล้งรุนแรงกว่าทะเลทรายในอเมริกาเสียอีก แต่ชาวแอฟริกาที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย มีชีวิตอยู่ได้จากการอาศัยแหล่งน้ำใต้ดินซึ่งบางแห่งอยู่ไม่ลึกนักจึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสูบ ลิเบียเป็นทะเลทรายเกือบทั้งหมด ยกเว้นพื้นที่ตามฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพียงเล็กน้อยและมีสภาพยากจนมากจนกระทั่งค้นพบน้ำมันปิโตรเลียม การค้นหาน้ำมันนำไปสู่การพบขุมน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ทางตอนใต้ของประเทศเมื่อราว 30 ปีที่ผ่านมา น้ำมีค่าไม่ต่ำกว่าน้ำมัน ฉะนั้นลิเบียจึงลงทุนเป็นเงินราว 32,000 ล้านดอลลาร์เพื่อเจาะบ่อน้ำบาดาลจำนวนมาก แล้วส่งน้ำนั้นไปใช้ในการเกษตรทางตอนเหนือของประเทศ ด้วยท่อขนาดยักษ์สูงถึง 4 เมตร คาดกันว่าน้ำในขุมนั้น จะมีให้ใช้ไปได้ราว 40-50 ปี หลังจากนั้นจะทำอย่างไรยังไม่มีใครคิดในตอนนี้ บางคนหวังว่าเทคโนโลยีจะแก้ปัญหาได้เมื่อ วันนั้นมาถึง

แม้แนวโน้มจะชี้ไปในทางลบจนน่าวิตก แต่ผู้เขียนนำเรื่องราวของการฟื้นฟูแม่น้ำไรน์ในยุโรปมาเล่า เพื่อแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่จะทำให้แม่น้ำคืนชีพกลับมายังมีอยู่ เมื่อราว 30 ปีที่แล้ว แม่น้ำไรน์ได้สมญาว่า เป็นทางระบายสิ่งโสโครกแห่งยุโรป และนักวิทยาศาสตร์ประกาศว่ามันตายแล้ว หลังจากนั้นการฟื้นฟูได้เริ่มขึ้นจากหลายฝ่าย ที่ใช้แม่น้ำสายนั้น ทำให้มันค่อยๆ สะอาดขึ้นและปลาเริ่มกลับเข้าไปอาศัยอยู่อีก แม้ในตัวปลาจะยังมีสารตกค้างมาก จนไม่เหมาะแก่การนำมาทำเป็นอาหาร แต่มันก็ให้ความหวังว่าในวันหนึ่งข้างหน้าแม่น้ำสายนั้น จะฟื้นคืนชีพกลับมาให้ชาวยุโรปได้ใช้น้ำกันอีกครั้ง

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 27-10-2006, 14:33 »



Water : น้ำกับชะตากรรมของมนุษยชาติ (จบ)

คอลัมน์ ผ่ามันสมองของปราชญ์  โดย ไสว บุญมา  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3839 (3039)

ในภาค 3 ผู้เขียนนำเรื่องความขัดแย้งในพื้นที่ 4 แห่งและการขาดแคลนน้ำในเมืองจีนมาเล่า เรื่องแรกเกี่ยวกับประเทศอิสราเอลกับเพื่อนบ้าน ซึ่งต่างขาดน้ำในระดับวิกฤต ความขัดแย้งรุนแรงซึ่งนำไปสู่สงคราม และการยึดครองพื้นที่มีน้ำเป็นสาเหตุสำคัญ หลังสงครามตะวันออกกลางเมื่อปี 2510 อิสราเอลยึดครองพื้นที่ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำจอร์แดนของชาวปาเลสไตน์ และเนินเขาโกลานของซีเรียไว้ เพราะพื้นที่ทั้งสองเป็นแหล่งน้ำสำคัญในย่านนั้นมากกว่า มีความสำคัญทางการทหารเสียอีก ผู้เขียนเล่าว่าอิสราเอลต้องการยึดพื้นที่ทางตอนใต้ของเลบานอนไว้ด้วย เพราะต้องการใช้น้ำจากแม่น้ำสายสำคัญในส่วนนั้นของเลบานอน แต่ถูกต่อต้านจากสังคมโลก แม้จะได้ทำการวิจัย และพัฒนา จนสามารถใช้น้ำเพื่อทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าใครในโลก แต่ตอนนี้ชาวอิสราเอล ต้องละทิ้งพื้นที่การเกษตรบางแห่งเพราะขาดน้ำ

อิสราเอลและจอร์แดนนำน้ำจากแม่น้ำจอร์แดนไปใช้จนแทบไม่มีเหลือให้ไหลลงทะเลสาบมรณะ (Dead Sea) ของจอร์แดน ซึ่งได้น้ำมาจากแม่น้ำสายนั้นเพียงแหล่งเดียว ตอนนี้ระดับน้ำและขนาดของทะเลสาบน้ำเค็มนั้นจึงลดลง พร้อมกับมีความเค็มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในย่านนั้น ผู้ที่ขาดน้ำมากที่สุดได้แก่ ชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซาเพราะขุมน้ำบาดาลซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่สุดของเขา ถูกสูบขึ้นมาใช้จนเริ่มมีน้ำทะเลไหลเขาไปแทนทำให้ไม่สามารถใช้น้ำบริโภคได้อีก การแย่งน้ำกันเป็นไปอย่างเข้มข้น อิสราเอลซึ่งเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดในย่านนั้นพยายามจะเอาเปรียบทุกอย่าง เช่น จะอนุญาตให้ชาวอาหรับเจาะบ่อบาดาลได้ลึกเพียง 140 เมตรในขณะที่ชาวอิสราเอลสามารถเจาะได้ลึกถึง 800 เมตร ความไม่เป็นธรรมอันโจ่งแจ้งเช่นนี้เป็นที่มาของความโกรธแค้นของชาวปาเลสไตน์

เรื่องที่สองเป็นความขัดแย้งระหว่างตุรกี ซีเรียและอิรักเนื่องจากสายน้ำสำคัญยิ่ง 2 สายมีต้นกำเนิดในตุรกี และไหลผ่านซีเรียและอิรัก ได้แก่แม่น้ำยูเฟรติสและแม่น้ำไทกริส ตุรกีได้สร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อกั้นแม่น้ำยูเฟรติส น้ำที่เหลือจากการเก็บกักของตุรกีไหลลงสู่ซีเรียซึ่งได้สร้างเขื่อนกักน้ำไว้เช่นกัน หลังจากนั้นอิรักจึงได้ส่วนแบ่ง ทั้งตุรกีและซีเรียใช้น้ำในแม่น้ำไทกริสจำนวนมาก แต่ยังไม่ได้สร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นน้ำ ส่วนอิรักสร้างเขื่อนผันน้ำ เพื่อนำไปใช้ในย่านอื่นจนสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศ และประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึง ซึ่งสายน้ำนั้นไหลผ่าน เมื่อประชาชนต่อต้านก็ถูกรัฐบาลของซัดดัม ฮุสเซน ปราบอย่างโหดร้ายด้วยอาวุธเคมี แม่น้ำ 2 สายนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาของอารยธรรมโบราณและจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความขัดแย้งในอนาคต

เรื่องที่สามเป็นความขัดแย้งระหว่างอียิปต์ ซึ่งอยู่ได้ด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์กับเอธิโอเปียและซูดาน ซึ่งเป็นประเทศต้นน้ำของแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกสายนี้ เอธิโอเปียยากจนมาก และต้องการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อกักน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตร อียิปต์ขู่ว่าถ้าเอธิโอเปียทำเช่นนั้น สงครามอาจเกิดขึ้น ณ วันนี้เอธิโอเปียยังไม่ได้สร้างเขื่อน เพราะปัญหาความไม่สงบภายใน และไม่สามารถหาทุนจากภายนอกได้เพียงพอเนื่องจากถูกอียิปต์ปิดกั้น แต่ในวันหนึ่งข้างหน้าเอธิโอเปียอาจแก้ปัญหาการเมืองภายในสำเร็จ และอาจได้รับการสนับสนุนทางเทคนิค และทางการเงินจากอิสราเอล ซึ่งต้องการใส่ไฟให้ความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์ ในเอธิโอเปีย และชาวมุสลิมในอียิปต์คุกรุ่นต่อไป ในวันนั้นสงครามแย่งน้ำอาจเกิดขึ้นจริงๆ

อียิปต์เองได้สร้างเขื่อนขนาดยักษ์เพื่อกักน้ำขึ้นที่อัสวัน จริงอยู่เขื่อนนั้นเก็บน้ำไว้ได้ตามคาด แต่มันกำลังสร้างความเสียหาย ซึ่งคาดไม่ถึงมาก่อน เช่น น้ำในทะเลสาบเหนือเขื่อนระเหยอย่างรวดเร็ว เพราะอากาศแถบนั้นร้อนมาก ทำให้น้ำที่ควรจะไหลไปถึงชุมชนสูญหายไปจำนวนมาก เขื่อนกักเอาตะกอนไว้ในทะเลสาบทำให้น้ำที่ไหลต่อไปใส และดินดอนที่ปากน้ำถูกทำลายเพราะไม่มีตะกอนมาคอยเสริมเมื่อถูกน้ำทะเลกัดเซาะ ชาวประมงในย่านปากน้ำ จับปลาได้น้อยลง เพราะน้ำที่ไม่มีตมอยู่ด้วยไม่ช่วยผลิตอาหารของปลา ผลกระทบระยะยาวของเขื่อนอัสวัน ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ที่แน่นอนก็คือ ประชาชนตามสายน้ำไนล์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ความต้องการน้ำอันหายากเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

เรื่องที่สี่เป็นความขัดแย้งในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีเพียงสามประเทศคือ สหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก แม้ความขัดแย้งนี้จะไม่มีโอกาสนำไปสู่สงคราม แต่มันก็ชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมของโลกได้เป็นอย่างดี ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงความขัดแย้งจากการแย่งน้ำในแม่น้ำโคโลราโด จนเกือบจะเกิดสงครามระหว่างรัฐแอริโซนา และรัฐแคลิฟอร์เนีย สองรัฐนี้ตกลงกันได้ทำให้คนอเมริกันสามารถกักน้ำไว้ใช้ได้เกือบหมด ส่วนเม็กซิโกซึ่งอยู่ปลายสายน้ำ และแห้งแล้งจนเป็นทะเลทรายต้องการน้ำในสายน้ำนั้นเช่นกัน แต่สหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจ เม็กซิโกจึงต้องยอมรับส่วนแบ่งที่ชาวอเมริกันเจียดให้ ร้ายยิ่งไปกว่านั้นน้ำจำนวนน้อยที่ไหลต่อไปถึงเม็กซิโก ได้ผ่านการชลประทาน บ้านเมืองและแหล่งอุตสาหกรรมมาแล้ว คุณภาพของน้ำจึงด้อยมาก เนื่องจากมีเกลือ และสิ่งตกค้างเจือปนอยู่สูง

ความต้องการน้ำของคนอเมริกันยังเพิ่มขึ้นในขณะที่ไม่มีแหล่งน้ำใหม่ให้นำมาใช้ได้อีกแล้ว ฉะนั้นคนอเมริกันจึงเริ่มหันไปมองทางเหนือ ซึ่งมีน้ำเหลือเฟืออยู่ในประเทศแคนาดา รวมทั้งในทะเลสาบขนาดใหญ่ทั้ง 5 ที่อยู่ในเขตติดต่อของประเทศทั้งสองด้วย แม้จะมีน้ำจำนวนมากก็จริง แต่ทะเลสาบเหล่านี้มีน้ำจากน้ำฝน และจากแม่น้ำไหลเข้าไปเพียงปีละ 1% เท่านั้น การผันน้ำออกไปจำนวนมาก ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างใหญ่หลวง แคนาดาจะทำอย่างไรหากคนอเมริกัน จะใช้น้ำจำนวนมากขึ้นมาจริงๆ เป็นประเด็นที่ยังไม่มีใครอยากคิด

จีนมีแม่น้ำใหญ่หลายสาย เนื่องจากจีนมีขนาดใหญ่แม่น้ำเหล่านั้นจึงมักมีต้นน้ำในเขตแดนของจีน และไหลผ่านเมืองจีน ก่อนจะออกสู่ทะเลทำให้โอกาสที่จีนจะขัดแย้งกับประเทศอื่นมีน้อย แต่จีนมีประชากรกว่าพันล้านคน และใช้ระบบชลประทานผลิตอาหารสูงถึง 70% ของอาหารทั้งหมด ฉะนั้นแม่น้ำจึงมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวจีนสูงมาก นอกจากจีนจะต้องการน้ำเพื่อการชลประทานแล้ว ยังต้องการเพื่อการอุตสาหกรรม ซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็วและเพื่อ การบริโภคของประชากร ซึ่งยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย แต่แม่น้ำของจีนราว 80% สกปรกจนบริโภคไม่ได้ทำให้ความขาดแคลนในบางแห่ง ซึ่งขาดน้ำอยู่แล้วสูงขึ้นไปอีก จีนจะทำอย่างไรในอนาคตเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ

ในภาคสุดท้ายผู้เขียนกล่าวถึงทางออกซึ่งมีด้วยกัน 4 ทาง นั่นคือ (1) นำเข้ามาจากแหล่งที่มีน้ำจืดเหลือใช้หรือกลั่นจากน้ำทะเล ซึ่ง ณ วันนี้ยังมีต้นทุนสูงมาก (2) ลดความต้องการผ่านการประหยัด การเพิ่มราคาและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ (3) ลดจำนวนประชากรลงซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อโลกขาดน้ำจริงๆ และ (4) ขโมยจากผู้อื่นโดยเฉพาะสำหรับประเทศต้นน้ำ ที่มีพลังทางทหารสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในกรณีนี้ผู้เขียนกล่าวถึงแม่น้ำโขงไว้ด้วย อย่างไรก็ตามผู้มีพลังทางทหาร อาจจะไม่ชนะเสมอไป เพราะการขาดน้ำอาจนำไปสู่การก่อการร้ายอย่างยืดเยื้อ

ข้อสังเกต - คำเปรยชวนขบขันของชาวกายอานาที่ว่า "น้ำมีอยู่ทั่วไป แต่ไฉนจึงไม่มีอะไรจะดื่ม" สะท้อนให้เห็นสภาพของโลกส่วนหนึ่ง ซึ่งโชคดี เพราะมีแหล่งน้ำจืดมากมาย แต่ก็โชคร้าย เพราะมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำอย่างประหยัด และปราศจากการทำลายแหล่งน้ำ ชาวกายอานาคิดคำเปรยนั้นขึ้นมาทั้งที่ประเทศของเขาไม่มีสายน้ำที่ดำปี๋ และมีกลิ่นชวนคลื่นไส้ดังเช่นในคลองของกรุงเทพฯ หากเขามาเห็นสภาพของเราเขาคงมีคำเปรยที่ชวนขบขันกว่านั้นอีกแน่ แต่คนไทยก็มิใช่ผู้เดียวที่สามารถเปลี่ยนความโชคดี ให้เป็นโชคร้าย เรามีเพื่อนจำนวนมาก ผู้เขียนกล่าวว่าเมืองไทยคล้ายฟิลิปปินส์ที่สูญน้ำไปกว่าครึ่ง เพราะระบบส่งน้ำประปารั่ว และชำรุด ซ้ำร้ายยังถูกขโมยอีกด้วย (หน้า 301) ฉะนั้นหนังสือในแนวนี้จะยังมีพิมพ์ออกมาให้เราอ่านกันเรื่อยๆ

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: