ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 21:54
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  เปิดมุมมอง 'ลิขิต ธีรเวคิน' "ปฏิรูปการเมืองต้องเริ่มที่วุฒิสภา" 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เปิดมุมมอง 'ลิขิต ธีรเวคิน' "ปฏิรูปการเมืองต้องเริ่มที่วุฒิสภา"  (อ่าน 715 ครั้ง)
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« เมื่อ: 13-10-2006, 12:12 »

เปิดมุมมอง 'ลิขิต ธีรเวคิน' "ปฏิรูปการเมืองต้องเริ่มที่วุฒิสภา"
กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2549

นายลิขิต ธีรเวคิน ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ในฐานะอาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หลักการในการยกร่างรัฐธรรมนูญของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เมื่อปี 2540 นั้น มีความพยายามทำให้นายกรัฐมนตรีเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกัน ก็ได้ให้อำนาจการตรวจสอบโดย ส.ส.200 คน และองค์กรอิสระอีก 10 องค์กร

แต่ปัญหาก็คือ องค์กรอิสระนี้ต้องมาจากวุฒิสภา แต่วุฒิสภากลับมีปัญหาการใช้เงินซื้อเสียง ทำตัวเหมือนสภาผู้แทนราษฎร และอยู่ภายใต้อาณัติของพรรคการเมือง

"ฉะนั้นเมื่อต้นธารไม่สะอาด น้ำที่จะนำไปชงชาก็ไม่สะอาดเช่นกัน ดังนั้น การปฏิรูปการเมืองต้องเริ่มที่องค์กรวุฒิสภาไม่ให้กลับไปสู่วงจรเดิม เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้มีปัญหาแค่กระบวนการ แต่ตัวบุคคลก็มีปัญหาด้วย"

นายลิขิต กล่าวต่อว่า หากดูถึงวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยในหมู่ประชาชนและผู้นำ จะเห็นตัวอย่างของฟิลิปปินส์และอินเดียที่ประสบความสำเร็จในการนำระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมาปฏิบัติ โดยตัวแปรที่ทำให้สำเร็จคือ ผู้นำทางการเมืองของทั้งสองประเทศมีวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย มีจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักนิติธรรม เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกระบวนการต่างๆ ที่จะต้องดำเนินไปตามครรลองของระบบประชาธิปไตย

นอกจากนั้น ยังต้องมีการตีความกฎหมายโดยมุ่งเน้นที่การผดุงไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งแตกต่างจากการพยายามหาประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมาย

ดังนั้น ความสำเร็จของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ปฏิบัติการทางการเมือง ไม่เช่นนั้น ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ดำรงตำแหน่งบริหาร นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองและกลุ่ม โดยอ้างความชอบธรรมตามกฎหมาย

ขณะเดียวกัน ประชาธิปไตยยังมีปัญหาเรื่อง 2 นครา โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่มีปัญหาความจนกับความเขลา ที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สุดท้ายจึงตกเป็นเครื่องมือของการซื้อสิทธิขายเสียง

นายลิขิต กล่าวด้วยว่า ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา รัฐสภาไทยไม่มีอุดมการณ์เสียสละ และไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้จนทำให้หายไปจากสังคม สิ่งที่น่าห่วงคือผู้ปฏิบัติการทางการเมืองขาด 3 สิ่ง

คือ 1.ขาดความรู้ทางการเมือง ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ 2.ขาดประสาทสัมผัสทางการเมือง คือไม่เข้าใจมารยาททางการเมือง และ 3.ไม่เข้าใจอารมณ์ทางการเมืองของสังคม คิดตามความเชื่อที่ผิดๆ การปฏิบัติการทางเมืองมีลักษณะเหมือนคนไม่รู้หนังสือ

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: