ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 01:06
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  บวรศักดิ์เปิดเกมส์รุกกฎหมายป้องกันคอรัปชั่น!! ภารกิจหลักสภานิติฯ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
บวรศักดิ์เปิดเกมส์รุกกฎหมายป้องกันคอรัปชั่น!! ภารกิจหลักสภานิติฯ  (อ่าน 784 ครั้ง)
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« เมื่อ: 12-10-2006, 20:42 »

ช่วงรอเวลาการแถลงนโยบายของรัฐบาลและตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญฯ สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในช่วงนี้ก็คือการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติฯ... ซึ่งองค์ประกอบสมาชิกที่เห็นส่วนใหญ่คิดว่าน่าจะทำงานได้ดี...

ก็คิดว่าต้องรอไปอีกซักพักสภาฯ ถึงจะเข้าที่ มีการตั้งหลักประธานไปจนถึงกรอบการทำงานทีละเปลาะ ทีละเปลาะ... ผิดคาดครับ

อาจารย์บวรศักดิ์หนึ่งในสมาชิกสภาฯ เปิดเกมส์รุกทันทีเกี่ยวกับภารกิจหลักสภานิติฯ นั่นคือกฎหมายป้องกันการคอรัปชั่น... ซึ่งช่องทางสามารถทำได้ง่ายและเร็วดังเนื้อข่าวที่คัดลอกมาจากเวบผู้จัดการดังนี้

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000127549


“บวรศักดิ์” ปัดไม่ใช่เด็ก“แม้ว” ขอเสนอความเห็นในฐานะนักวิชาการ

       “บวรศักดิ์” เปรียบตกเป็นตัวประกัน สมัยรัฐบาล “แม้ว” เพราะหน้าที่ ยันไม่ขอยุ่งร่าง รธน.ฉบับถาวร ขอเพียงเขียนบทความเสนอความเห็น พร้อมรับฟังเสียงคนส่วนใหญ่ ทำหน้าที่สภานิติบัญญัติไถ่บาป
       
       วันนี้ (12 ต.ค.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวถึงการได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง ว่า เมื่อได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ ก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ที่ผ่านมา ช่วงเป็นเลขาธิการ ครม.ก็ทำหน้าดีที่สุด โดยฟังเสียงส่วนใหญ่ สำหรับคนที่กังวลว่าตนเองจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร นั้น ขอบอกว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราว ห้ามสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเข้าไปเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอย่าง เด็ดขาด ทั้งนี้ ตนเองจะทำหน้าที่เขียนบทความเสนอความเห็นในฐานะนักวิชาการเท่านั้น
       
       “คนที่กล่าวหาว่าผมเป็นคนของระบอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ขอชี้แจงว่า ผมเป็นอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการประจำ ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด หากกล่าวหากันอย่างนี้ ก็ยังมีเพื่อนข้าราชการอีกจำนวนมากที่ทำงานในหน้าที่ตัวเองในรัฐบาลอีก หลายๆรัฐบาลเช่นกัน ถือเป็นการกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม ก่อนหน้านี้ ผมเคยถูกเรียกร้องให้ลาออก ผมก็ลาออกมาแล้ว ทั้งๆ ที่อายุราชการยังเหลืออีก 9 ปี ถ้าเป็นคุณจะทำหรือไม่ ไหนบอกว่าจะสมานฉันท์ สมานฉันท์แบบไหนกันแน่” นายบวรศักดิ์ กล่าว
       
       นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ภารกิจของสภานิติบัญญัติ มีภารกิจเฉพาะการทำกฎหมายของประเทศ ควรใช้โอกาสนี้ปฏิรูปกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมกับสังคม โดยเฉพาะกับคนส่วนใหญ่ ต้องผลักดันให้มีการออกกฎหมายป้องกันการทุจริต สร้างความโปร่งใสในระบบราชการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีช่องทางที่จะเสนอกฎหมายของตัวเองได้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้กำหนดให้ลงชื่อ 25 คน ก็สามารถเสนอกฎหมายได



บอกตามตรงผมเห็นใจอาจารย์บวรศักดิ์.. เชื่อมั่นในความรู้ความสามาถ... ถือเป็นนิติบริกรคนแรกที่ลาออกจากระบอบทักษิณ มีสปิริตที่ไม่เป็นมือไม้ให้อาจารย์มีชัยร่างทรงระบอบทักษิณในช่วงสถานการณ์ปฏิวัติ

ขออวยพรให้อาจารย์สามารถร่วมกลุ่มกับนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่มีอยู่เกินพอในสภาฯ จนร่างกฎหมายได้สำเร็จนะครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
1ktip
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,457



« ตอบ #1 เมื่อ: 12-10-2006, 23:59 »

ก็คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ล่ะครับ ผมว่าเขาพลาดกับทักษิณมาเยอะแล้ว ได้โอกาสดีๆ ชุบตัวอย่างนี้ ถ้ายังไม่ไขว่คว้าไว้ก็ไม่รู้จะว่ายังไง
บันทึกการเข้า
decison_making
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 254


แม่ไม่ว่าเหรอแม้ว ทำตัวอย่างงี้


« ตอบ #2 เมื่อ: 13-10-2006, 00:14 »

รู้สึกเห็นใจอาจารย์เหมือนกันนะ เพราะกรรมเก่าที่รับใช้พวกนั้นมาก่อนไง

การจะพิสูจน์ตัวเองก้ยังถุกมองในแง่ไม่ดีไว้ก่อน

แต่ในเมื่อโอกาสมาถึงตัวแล้ว โอกาสที่จะทำความดีเพื่อชาติ เพื่อในหลวงซักครั้งในชีวิต

ก็อยากให้อาจารย์ใช้โอกาสครั้งนี้ในชีวิต ได้ทำแต่สิ่งดีๆละกัน

เราไม่มีโอกาสเหมือนอาจารย์ ก็ได้แต่หวังให้อาจารย์ได้ทำสิ่งดีๆลบล้วงความผิดพลาดในอดีต

สู้เค้านะคะ 

บันทึกการเข้า
เพนกวินน้อยนักอ่าน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 866



« ตอบ #3 เมื่อ: 13-10-2006, 00:18 »

คุณมีชัย มีความเกี่ยวข้องกับทักษิณอย่างไรครับ
ผมว่าบางช่วงเขาก็ไม่เห็นด้วยกับทักษิณนะครับ

เราอาจจะมองอย่างไม่เป็นธรรม กับท่านอาจารย์ทั้งหลายเหล่านี้มากเกินไป
ผมเฉยๆนะ ถ้าพวกเขาจะไปวางยงวางยาอะไร
เพราะกลไกอื่นมันมีอีกเยอะ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เอ๊ย แห่งชาติ
ก็ยังอยู่ นะครับ
และกลุ่มอาจารย์ใจ หรือ ม.เที่ยงคืนก็คอยค้าน คอยจับตาดูอยู่

อีกอย่างรธนฯ หรือร่างกฎหมายที่จะตราออกมาใช้ในรัฐบาลนี้ในอนาคตภายในหนึ่งปีนี้
มันก็สามารถสังเกตและจ้องมองได้ครับ
ถ้าหมกเม็ดหรือมี Hidden Agenda ไปไม่รอดหรอกครับ

สถานการณ์ตอนนี้ผมว่า มีการตรวจสอบกันเป็นงูกินหางอย่างโอเคแล้วครับ
สื่อต่างๆ ก็มีจุดยืนในการตรวจสอบต่างๆกัน

บางทีก็อาจจะต้องให้เขาขยับแขนขยับขาดูลีลาก่อน ว่าไปในทางเลวหรือดี
ค่อยมาอัดอีกที...
 
บันทึกการเข้า
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« ตอบ #4 เมื่อ: 13-10-2006, 12:34 »

ปากคำ “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ปากคำ “บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
“คณะรัฐมนตรีจะตัดสินใจอย่างไรก็ได้ เพราะไม่มีที่ไหนบอกว่าต้องประชุมคณะรัฐมนตรี”

วันศุกร์ที่ผ่านมา(4 มี.ค.) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาเรื่อง พระราชกฤษฎีกาประชุม ครม. : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือเพื่อเพิ่มอำนาจ?” โดยมี ศ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีในฐานะผู้ยกร่างพรฏ. รศ. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณะบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายเอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ดำเนินรายการโดย นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่ง”ประชาไท”ได้นำเสนอสาระไปแล้วบางส่วน

และเพื่อให้ข้อมูลจากวงเสวนาสื่อสารกับท่านผู้สนใจโดยตรง “ประชาไท” ขอนำคำกล่าวของผู้ร่วมเสวนาทั้งฝ่ายผลักดันสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านมานำเสนอ โดยไม่ตัดทอน
-------------------------------

ต้องขอขอบคุณ ที่เปิดโอกาสให้ผมมาอภิปรายร่วมในครั้งนี้ ขอเรียนว่า ครั้งนี้ มาในฐานะของศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชน และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี คู่กัน เพราะฉะนั้น ผมจะพูดทั้งในสองฐานะ…

กรณีการประชุมคณะรัฐมนตรีของประเทศไทย ผมขอแยกเป็น 2 ช่วง ช่วงก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกานี้ ถามว่าเป็นอย่างไร คือ การประชุมคณะกรรมการราษฎร ตั้งวันที่ 27 มิถุนายน 2475 มาจนเป็นคณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ไม่มีกฎหมายกำหนด

รธน. ไม่ได้กำหนดเรื่ององค์ประชุมครม.
อย่างที่ผมบอกแล้วว่า รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับ เวลาที่ต้องให้ประชุม ก็จะเขียนเรื่องการประชุม รัฐสภาประชุม มีองค์ประชุมกึ่งหนึ่ง เว้นแต่กรณีตอบกระทู้ จะออกข้อบังคับให้องค์ประชุมน้อยกว่ากึ่งหนึ่งก็ได้ การประชุมคณะกรรมการเลือกตั้งก็เขียน การประชุมศาลรัฐธรรมนูญก็เขียน แต่พอมาถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี เขียนว่า พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ขีดเส้นใต้บริหารราชการแผ่นดิน ไม่ได้บอกว่ามีหน้าที่ประชุม

พลิกไปดู มาตรา 212 ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมายและนโยบายที่แถลงไว้ตามมาตรา 211 และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ของไทยก็ถือหลักเดียวกันว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งก็คือการตัดสินใจทางนโยบาย เป็นอำนาจหน้าที่สำคัญของคณะรัฐมนตรี ถามว่า จะตัดสินใจอย่างไร คำตอบคือ ไม่มีอะไรบังคับว่าต้องประชุม แต่ผ่านปฏิบัติคือประชุมกันมาตลอดตั้งแต่ 2475 จนกระทั่งถึงวันนี้

การประชุมคณะรัฐมนตรีในอดีตนั้น ถามว่าประชุมกันอย่างไร คำตอบคือ ประชุมโดยอาศัยธรรมเนียมที่เคยทำกันมา ไม่มีอะไร Regulate เลย ธรรมเนียมนั้นคืออะไร ธรรมเนียมนั้นถือกันเหมือนประเทศ Westminster ทั้งหลายว่า คณะรัฐมนตรีไม่มีองค์ประชุม ถ้าไม่เชื่อไปถามเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ทุกคน เพราะไม่ถือว่าคณะรัฐมนตรีเป็นคณะกรรมการตามหลักทั่วไป เพราะ ฉะนั้น เวลานายกรัฐมนตรีมาถึงแล้ว เลขาธิการคณะรัฐมนตรีดูว่าคณะรัฐมนตรีมาพอสมควร ก็จะบอกว่า บัดนี้คณะรัฐมนตรีมาพร้อมที่จะประชุม ขอกราบเรียนเชิญท่านนายกฯ เปิดการประชุม จะไม่บอกว่า บัดนี้รัฐมนตรีมาครบองค์ประชุมแล้วอย่างเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือเลขาธิการวุฒิสภา นี่คือ Practice

ครม. ไม่เคยมีการลงมติ
ถามว่า Practice ต่อไปมีอะไรอีกบ้าง Practice ต่อไปคือว่า เคยเห็นคณะรัฐมนตรีชุดไหนลงมติบ้าง ไม่มี ถามว่าทำไมไม่มี ฮั๊วกันหรือ ตอบว่าไม่ใช่ เรื่องไหนที่มีความขัดแย้งสูง หลักปฏิบัติก็คือ นายกรัฐมนตรีจะบอกว่าให้ถอนเรื่องนั้นออกไปตกลงกันให้เรียบร้อย ถ้าส่วนราชการยังไม่ยอมกัน ก็ไม่อนุมัติทั้งคู่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี 2518 เวลากระทรวงเกษตรฯ มาเถียงกับกระทรวงพาณิชย์เรื่องข้าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น ไล่ข้าราชการทั้งสองกระทรวงออกจากห้องประชุม ถ้ายังไม่ได้ข้อยุติอย่ามาเสนอคณะรัฐมนตรีตัดสิน

เพราะฉะนั้น เท่าที่ผมทราบ ยังไม่มีการลงมติใดๆ เลยในคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีที่เป็นรัฐบาลผสม ถามว่าทำไมไม่ลง คำตอบคือ ถ้าลงรัฐบาลก็แตก ถามว่าทางปฏิบัติผิดหรือไม่ที่เป็นธรรมเนียมอย่างนี้ ตอบว่ากรรมการธรรมดาก็เป็นอย่างนี้ ไม่เคยมีการลงมติ ยกมือว่าใครเอาบ้างกี่คน เป็น Practice ขององค์กรกลุ่ม เพราะฉะนั้นที่พูดกันว่า การลงมติต้องนับเสียงกึ่งหนึ่ง สองในสาม ทางปฏิบัติจริงๆ ไม่มี

ประชุมครม. มีการตรวจสอบอยู่แล้ว
ทางปฏิบัติต่อไปในอดีต การประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น จะทำสัปดาห์ละครั้งที่ทำเนียบรัฐบาล อยู่ท่ามกลางสายตาของผู้สื่อข่าวทั้งปวง ประชุมกันอย่างเปิดเผยทุกวันอังคารเช้า ผู้สื่อข่าวอยู่เต็ม ตรวจสอบองค์ประชุมได้ทุกเมื่อ ผมมีเอกสารจำนวนรัฐมนตรีเข้าประชุม 10 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่รัฐบาลนายกฯ บรรหาร เรื่อยมา ยังไม่เคยมีครั้งใดเลยที่คณะรัฐมนตรีเข้าไม่ถึงครึ่ง แต่ผมจะกราบเรียนให้ทราบว่าทำไมจึงเขียน 1 ใน 3 มันมีเหตุให้เขียน

นี่คือข้อเท็จจริงจริงๆ ที่ผมยินให้ทุกท่านไปค้นได้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีมีอยู่

ต่อไป นี่คือ Practice อีก เพราะไม่มีอะไรกำหนด การประชุมคณะรัฐมนตรีนั้นเมื่อประชุมมากๆ เข้า ถึงวันนี้ เรานับมติได้ 140,000 กว่าเรื่อง เรื่องตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ

“เรื่องที่เข้า ครม.ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่ 3 ประเภท”

ประเภทที่ 1 คือ เรื่องความสำคัญระดับสูง ระดับชาติหรือนานาชาติ การประกาศสงคราม การประกาศกฎอัยการศึก ยุบสภา สารพัด จะร่วมสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ฯลฯ

ประเภทที่ 2 คือ เรื่องการบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นเรื่องมีความสำคัญ เช่น เรื่องการใช้งบ ประมาณ การอนุมัติประมาณ เรื่องที่กฎหมายบอกให้เข้า

ประเภทที่ 3 คือ เรื่องที่กฎหมายและกฎระเบียบบอกให้เข้าอันเป็นงานประจำ

อาจารย์เชื่อไหม ถ้าอาจารย์จะออกไปช่วยราชการขององค์การมหาชน อาจารย์ต้องออกไปพระราชกฤษฎีกาสั่งใช้ที่ออกตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รัฐมนตรีต้องอนุมัติ เรื่องอย่างนี้มีอีกมากมายหลายประการที่กฎระเบียบสมัยโบราณไปเขียนเอาไว้ แม้กระทั่งในยุคหนึ่งจะเดินทางไปต่างประเทศที่ชื่อว่าสังคมนิยม ต้องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ

ตั้งแต่ผมเข้ามาเป็นเลขา ครม.มาปีเศษๆ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมตกใจมากเมื่อวาระการประชุมคณะ รัฐมนตรีฟาดเข้าไป 120 เรื่องในวันเดียว ถามว่า แล้วรัฐมนตรีทำอย่างไร มาดูทีละเรื่องทุกเรื่องหรือ ตอบว่าไม่ใช่ แล้วอันนี้ทำมาแล้ว 28 ปี คณะรัฐมนตรีก็เลยมีมติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2520 เรื่องให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติเรื่องต่างๆ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ขณะนี้เรื่องต่างๆ ที่นำมาเสนอเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีเป็นจำนวนมาก บางเรื่องไม่ใช่เรื่องนโยบาย หรือเรื่องสำคัญ บางเรื่องเป็นเรื่องปฏิบัติตามปกติที่มีระเบียบปฏิบัติแน่นอนอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นการเสียเวลา สมควรมอบให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายพิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติไปได้ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ ขีดเส้นใต้ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ และถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี

แปลว่าอะไร ถ้านำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้วคณะรัฐมนตรีไม่ทราบเฉยๆ แต่ติดใจ คณะรัฐมนตรีก็หยิบขึ้นเป็นวาระขึ้นพิจารณา แล้วมีมติเปลี่ยนเป็นอื่นได้ทันที ถามว่าเคยมีอย่างไหม มีเยอะเลย เพราะนี่ไม่ใช่ Delegation of Power นี่คือ Delegation of Signature คือเซ็นต์ไปก่อน แล้วมาเอาให้ฉันดู ถ้าฉันไม่เห็นชอบ ฉันก็ไม่อนุมัติ และอนุมัติวันไหน ไม่ใช่อนุมัติวันเซ็น อนุมัติวันที่ ครม.รับทราบแล้วไม่ทักท้วง ถามว่าเราเอามติวันที่ 13 ใช้ตั้งแต่ 13 ธันวา 2520 ใช้มาทุกรัฐบาล ทั้งของฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล เวลานี้ 28 ปี ถามว่าเราไปใช้เรื่องสำคัญหรือไม่ ไม่

ตัวอย่างที่ 1 ที่ใช้เรื่องนี้ก็คือ การขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ซึ่งสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางเห็นชอบด้วยแล้ว ครม.ไม่มีประเด็นจะต้องพิจารณาหรือเถียง

ตัวอย่างเรื่องที่ 2 คือเรื่องจังหวัดขอนแก่นทำความตกลงกับเมืองเซียะเหมิน เป็นบ้านพี่เมืองน้อง ซึ่งไม่ได้ผูกพันอะไรรัฐบาลไทยเลย เป็นข้อตกลงที่ไม่มีผลในกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างนี้ เข้ามติ 13

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้มติ 13 คือการแต่งตั้งบุคคล ถามว่าทำไมใช้มติ 13 เพราะถ้าไม่ใช้มติ 13 คณะรัฐมนตรีก็ไม่รู้ว่าจะไปพิจารณากันอย่างไร

ใช้มาตลอด 28 ปี แต่จะมีผลก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลง นี่คือการลดภาระได้เรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น เดิมแฟ้มวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีจะมี 2 ประเภท เพื่อพิจารณาหนึ่งแฟ้ม ต้องพิจารณาแล้วเถียงกันเลย กับเพื่อทราบ ก็มี 2 ประเภทคือ เพื่อทราบทราบ และก็รู้รู้ ไม่มีผลอะไร กับทราบแล้วมีผลเป็นมติคณะรัฐมนตรี

ครม. มอบอำนาจให้นายก-ทำมาทุกรัฐบาล

นี่คือ ที่มาของมาตรา 7 ที่หลายท่านกำลังติดใจอยู่นักหนา ถามว่าในต่างประเทศมีไหม Cabinet อังกฤษเคยมีมติมอบรัฐมนตรีคนเดียว ตัดสินใจอะไรแล้วก็เป็นมติ ครม.เลยก็ได้ ถามว่า Cabinet ไทยเคยทำไหม ถ้าผมไปค้นมาให้ รัฐบาลทุกรัฐบาลทำมาตลอด โดยเฉพาะเรื่องที่เถียงกันไม่ตกฟาก แล้วมีปัญหา เรื่องประท้วง เรื่องอะไร พรรค์อย่างนี้ บางรัฐบาลบอกรัฐมนตรีคนนี้ไปดู ตัดสินใจไปเลย แล้วก็ไม่กลับเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรี แต่ถามว่ามีบ่อยไหมที่มอบขาดไปอย่างนั้น น้อยครั้ง แต่มี มีทุกรัฐบาล มีมาตลอด ต่างประเทศมีไหม มี เขาก็ทำกันเป็นการทั่วไป แต่มี แล้วถ้าเกิดอะไรขึ้น คณะรัฐมนตรีปัดความรับผิดได้ไหม ไม่ได้ หัวใจคือ ตรงนี้ คือ Collective Responsibility เพราะนั่นคือ การบริหารราชการแผ่นดินภายใต้หลักความรับผิดชอบร่วมกัน

ถามต่อไปว่า แล้วมีทางปฏิบัติอื่นอีกหรือเปล่า มีอีกเยอะเลย เช่นเป็นต้นว่า วาระเวียน ถามว่าทำไมต้องเวียน ตอบว่า ตอนผลัดแผ่นดินเปลี่ยนรัฐบาลจากรัฐบาลหนึ่งไปเป็นอีกรัฐบาลหนึ่ง กำลังสาละวนกับการเลือกตั้งสารพัดสารเพ ครม.ก็ไม่ต้องมาประชุมกัน แต่เรื่องการบริหารราชการแผ่นดินยังต้องเดินต่อไป ก็เวียน ถ้าค้นไปทุกรัฐบาลมีไหม มีทุกรัฐบาล แต่คำถามก็คือว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้นรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบไหม ต้องรับผิดชอบ

ทั้งหมดที่เล่ามาให้ฟัง กราบเรียนว่า ไม่ได้ทำแต่ประเทศไทย ที่ไหนๆ เขาก็ทำกันอย่างนี้ ความสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่การจะมานั่งประชุมกันอย่างสภา แต่ Key word ของคณะรัฐมนตรีทั้งของอังกฤษดั้งเดิมจนมาถึงของไทยก็คือ การตัดสินใจทางการเมืองในการบริหาร ส่วนวิธีการตัดสิน จะตัดสินอย่างไรก็สุดแล้วแต่และประเทศจะใช้ ทางปฏิบัติของประเทศไทยคือใช้การประชุม

กราบเรียนว่า แล้วทำไมมาเขียนพระราชกฤษฎีกานี่ล่ะ กราบเรียนอีกนิดว่า ญี่ปุ่นออกเป็นกฎหมาย อิตาลีออกเป็นกฎหมาย เยอรมันเป็นมติ ครม.เฉยๆ ในรัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างนั้นว่า กำหนด Guideline ได้ ไม่ใช่กฎหมาย ของนิวซีแลนด์ ก็เป็น Guideline บางประเทศไม่มี Guideline เลย อย่างอังกฤษ ของเราใช้อย่างนี้มาจนถึง 2531 คุณอนันต์ อนันตกูล เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก็บอกว่า การประชุมที่ผ่านมามีอะไรเยอะแยะไปหมด อย่างนั้นทำมาเป็นระเบียบฉบับเดียวก็แล้วกัน เรียกว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ปี 2531 ข้อความคล้ายๆ พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ บอกว่าเรื่องไหนเสนอได้บ้าง แล้วต้องทำอย่างไร

ต้องเข้าใจว่าระเบียบดังกล่าว ถึงเป็นระเบียบ ก็เป็นระเบียบออกตามอำนาจคณะรัฐมนตรี แปลว่าคณะรัฐมนตรีจะยกเว้นเสียเมื่อใดก็ได้ เหตุการณ์ก็เป็นดังนี้เรื่อยมาจนกระทั่งผมมาเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก็ออกพระราชบัญญัติปฏิรูประบบราชการมา ก็มานั่งคิดกันในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2546 ว่า เราไปปฏิรูปคนอื่นมาทั้งบ้านทั้งเมืองแล้ว การประชุมคณะรัฐมนตรีควรจะปฏิรูปบ้าง

ออก พ.ร.ฎ. ประชุมครม. เพื่ออะไร

วาระจรในอดีต คือทุกเรื่องเลย ตั้งแต่เรื่องไม่สำคัญจนถึงเรื่องสำคัญที่สุด แล้วอนุมัติงบประมาณได้ไม่จำกัด ถ้าถามว่า ปฏิรูปอะไรบ้าง

ประการที่ 1 เพื่อให้เกิดความโปร่งใส อะไรก็ตามที่ไม่ควรจะทำ และรัฐบาลนี้ไม่พยายามจะทำ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีคนนี้บอกว่า วาระจรพึงหลีกเลี่ยง เมื่อผมเข้ามา นายกฯ พูดกับผมเรื่องแรกเลยคือเรื่องนี้ เลขาฯ อย่าไปค่อยยอมนะเรื่องวาระจร เรื่องการเงินถ้าไม่จำเป็นรีบด่วนจริงๆ ก็เอาอันนั้นมาเขียนเสีย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสว่าต่อไปนี้ว่า ถ้าจะจรต้องมีเรื่องจำเป็นและนายกฯ อนุมัติ แต่ถ้าอนุมัติเงิน เปิดดูมาตรา 9 จะต้องมีความจำเป็นฉุกเฉินและรักษาประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน แปลว่าต่อไปนี้จะต้องมี Justification จะเที่ยวเสนอกันแบบธรรมดาไม่ได้

วาระเวียน อ่านมาตรา 8 วรรคท้าย บอกว่าจะใช้วิธีการประชุมอะไรก็ตาม แต่ต้องให้ผู้ประชุมสามารถปรึกษาหารือกันได้ ก็แปลว่าเวียนไม่ได้แล้วถ้าไม่ตอบกลับมาภายใน 3 วัน หรือเที่ยงวันรุ่งขึ้น ถือว่าเป็นมติคณะรัฐมนตรี ทำไม่ได้แล้ว ซึ่งเมื่อก่อนทำมาทุกรัฐบาล

องค์ประชุมครม. ปกติคือกึ่งหนึ่ง

ทีนี้ มาถึงองค์ประชุม ถามว่าทำไมเขียนเรื่ององค์ประชุม คำตอบคือ ถ้าย้อนหลังไป 10 ปี 20 ปี ก็เป็นอย่างนี้ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมเป็นเลขาฯ แล้วผมเห็นข้อขัดข้องอยู่ ซึ่งปกติเช้านัดประชุม 8 โมงครึ่ง รัฐมนตรีจะมาเกินครึ่งหนึ่ง แล้วเกือบจะทั้งหมดมาตั้งแต่ 8 โมง 45 แล้ว 9 โมง ก็ลงมือประชุม

แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง นายกฯ รัฐบาลต่างประเทศมา แล้วบังเอิญรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง เรียกว่ารัฐมนตรีเกียรติยศ ต้องไปรับท่านที่สนามบิน อีกจำนวนหนึ่งต้องมาเตรียมรับที่ทำเนียบรัฐบาล ที่ตึกสันติไมตรี ครม.มาประมาณ 12-13 คน คำถามคือ จะเริ่มประชุมได้ไหม ก็ไม่ได้เพราะเราไม่แน่ใจ มันน้อยเกินไป วันนั้นเป็นอันว่าต้องรอกันถึง 10 โมงครึ่ง เพื่อให้ ครม.ทั้งหลายทยอยมาพร้อมมาพร้อมแล้วถึงเริ่มประชุม

เพราะฉะนั้น การเขียนเรื่ององค์ประชุม 1 ใน 3 ซึ่งในทางปฏิบัติจริงๆ แล้วเกินครึ่งมาตลอด ไม่ได้แปลว่าต่อไปนี้ 1 ใน 3 ก็จะลงมือประชุมแล้วนะ ถามว่าทำไมอย่างนั้น คำตอบคือว่า ผู้สื่อข่าวดูอยู่ทุกคนทุกวันทุกเวลาที่มีการประชุม เรียกว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผมลงมือประชุมแล้วมี ครม.แค่ 12 คน แล้วถือว่าอันนั้นเป็นองค์ประชุมตลอดการประชุม มาพูดกันได้ แต่ถามว่าทำไมต้องเขียนอย่างนี้ไว้ ก็คือว่า เรื่องมันเยอะ พอครบ 12 คน จะได้ลงมือเริ่มประชุมไปได้ พอรัฐมนตรีค่อยทยอยกันมาแล้วครบองค์ ทุกครั้งประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ บางครั้งไม่ขาดเลยสักคนเดียว นี้คือที่มา

ถามว่าที่มาต่อไปของมาตรา 8 วรรค 2 คืออะไร ก็คือสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ผมเรียนให้ทราบนะครับว่าสถานการณ์ฉุกเฉินที่พูด ไม่ได้พูดตัวอย่างทั่วไป ในการอภิปรายของผมเมื่อวันศุกร์ที่แล้วชัดเจนว่า ยกตัวอย่าง เมษาฮาวาย ยกตัวอย่างเรื่องกัมพูชาเผาสถานทูตไทยอีกเรื่องหนึ่ง อีกตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องสึนามิ ถามว่ากรณีกัมพูชาเผาสถานทูตไทยก็ดี เรื่องสึนามิก็ดี ได้เรื่องนี้หรือยัง ยังไม่ได้ใช้ ถามว่า แล้วเขียนไว้ทำไม คำตอบคือ เขียนไว้ก็เพราะไม่รู้ว่า 20 ปีจะได้ใช้สักครั้งหรือเปล่า ถ้าเกิดเหตุขึ้นแล้วไม่มีที่ใช้ ก็จะเสียใจในภายหลัง

แต่ทั้งหมดนี้ กราบเรียนว่ามีอะไรอีกเยอะ คำถามก็คือทำไมออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ถ้าอาจารย์บอกว่าออกไม่ได้ มันเกินอำนาจ ถ้าทฤษฎีอาจารย์ถูก พระราชกฤษฎีประมาณ 20 ฉบับ เกินอำนาจหมดเลย ที่ให้เงินอาจารย์ทั้งหลายพิเศษๆ พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุม ก็ต้องเรียกคืนหมดเลย

…ก็แปลว่าคณะรัฐมนตรีจะตัดสินใจอย่างไรก็ได้ เพราะไม่มีที่ไหนบอกว่าต้องประชุมคณะรัฐมนตรี เขาใช้คำว่าคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ผมขีดเส้นใต้การบริหารราชการแผ่นดินไม่ใช่การประชุม เพราะถ้าเข้าต้องการให้ประชุม รัฐธรรมนูญต้องเขียนไว้ว่าให้ประชุม อย่างสภาเขียนไว้ว่าต้องประชุมกัน

ทั้งหมดนี้ 1 ใน 3 มีที่มาอย่างไร ตอบแล้ว มติ ครม.ฉุกเฉินทำให้เป็นองค์กรกลุ่มอย่างไร ก็กราบเรียนแล้วว่า ก็แจ้ง ครม.ทราบ แล้ว ครม.มีมติกลับใจก็ได้ มาตรา 7 ก็เหมือนกัน เขียนรองรับมติ 13 ธันวา 20 ที่ใช้กันมา 28 ปี แล้วถ้าหากว่ารัฐมนตรียังไม่มีมติรับทราบ ก็ยังไม่เป็นมติคณะรัฐมนตรี ถามว่าหลักนี้อยู่ไหน ถ้าใครอ่าน Cabinet Manual ของนิวซีแลนด์ เขาบอกเลยว่าเรื่องไหนคณะรัฐมนตรีมอบให้รัฐมนตรีคนใดไปทำ มีได้ไหม มีได้

เพราะฉะนั้น มติ ครม.ก็ยังเป็นมติ ครม.ที่เป็นองค์กร แต่สำคัญที่สุดก็คือผมเน้นตรงคำว่า Decision Making และความรับผิดชอบร่วมกัน

เพราะฉะนั้น ตอบว่า ถ้าเราเลิกพระราชกฤษฎีกาวันนี้ ซึ่งมีศักดิ์เป็นกฎหมายสำคัญของฝ่ายบริหารกลับไปสู่หลักเดิมคือ รัฐมนตรีออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะยกเว้นเสียเมื่อใดก็ได้ จะเอาไหม หรือจะมีพระราชกฤษฎีกาแล้วเฝ้ามองไปว่า มีการ Abuse หรือเปล่า เพราะไม่มีการทำอะไรกันเงียบๆ แน่ และผมขอจบลงตรงนี้ว่าเรื่องร่างพระราชกฤษฎีกา ทำมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 46 มีการขอความเห็นส่วนราชการไป 50 กว่าส่วน ขอความเห็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญก็ขอความเห็น สำนักงานศาลปกครอง ศาลยุติธรรม ข้าราชการตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการการเลือกตั้ง ปปช. แล้วก็จัดสัมมนากัน 4-5 ครั้ง หลังสุดวันศุกร์ที่แล้ว สัมมนาเพื่อเตรียมรองรับการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ เพื่อจะบอกว่า วาระจรต่อไปนี้ต้องให้เหตุผลมาว่าประโยชน์ประเทศชาติ ประชาชนจะเสียอย่างไรถ้าไม่อนุมัติเงินตรงนั้น แล้วก็เชิญผู้สื่อข่าวเข้าไปฟัง ไม่เคยคิดจะปกปิด หรือเคยคิดทำอะไรหมกเม็ดเลย

ทั้งหมดนี้ กราบเรียนว่า ทำเพื่อที่จะให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ความโปร่งใสและกฎเกณฑ์ ถ้า Back to square one คือไม่มีพระราชกฤษฎีกานี้ ก็เป็นแบบเดิมที่ผมเรียนมา รัฐมนตรีจะมีมติอย่างไรก็ได้ ผมขอจบลงตรงนี้ว่า เพราะฉะนั้นการจะดูเทียบเคียงทั้งแหล่ ผมขอความกรุณาทุกท่านว่า อ่านทั้งฉบับ แล้วเอา Practice ของเราไปเทียบกับของประเทศสากลทั้งหลายในโลกด้วย แล้วเราจะเห็นอะไรชดเจนขึ้น ถ้าลงมือ เพราะถ้าลงมืออ่านแล้วสมมติเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยอยู่เรื่อยๆ มันก็มีสิทธิจะพูดได้ จะคิดได้ ขออนุญาตจบลงแค่นี้ ขอบคุณครับ

    โดย : ประชาไท        วันที่ 6/03/2005
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: