ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-04-2024, 22:26
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "ธีรยุทธ์" สวมเสื้อกั๊กมาร่ายยาวหนทางสร้างกติกา...เพิ่มพลังตรวจสอบทั้งสังคม 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
"ธีรยุทธ์" สวมเสื้อกั๊กมาร่ายยาวหนทางสร้างกติกา...เพิ่มพลังตรวจสอบทั้งสังคม  (อ่าน 1088 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 12-10-2006, 05:42 »

“ธีรยุทธ” ตั้งฉายา “รัฐบาลสุรยุทธ์” เป็นรัฐบาลโอที แนะเร่งสร้างความปรองดองในชาติ 7 ประการ สร้างความสมดุลเน้นการสื่อสารกับชาวบ้านมากขึ้น ขณะเดียวกัน เชื่อไทยรักไทยจะสลายเป็นพรรคย่อยแกนนำพรรคจะถูกดำเนินคดีทุจริตภายใน 3-6 เดือนนี้
       
       วันนี้ (11 ต.ค.) นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอรายงานเสนอแนะรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยเรียกร้องให้สร้างความปรองดองในชาติ 7 ประการ และสร้างความสมดุลในชาติ อย่าพึ่งแต่กองทัพอย่างเดียว และต้องเน้นการสื่อสารกับประชาชนมากขึ้น ขณะเดียวกัน เชื่อว่าพรรคไทยรักไทยจะสลายกลายเป็นพรรคย่อย เนื่องจากมีแกนนำหลายคนต้องคดีทุจริตภายใน 3-6 เดือนนี้
       
       สำหรับรายละเอียดของรายงานของ นายธีรยุทธ มีดังนี้

       (1) รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ

       1. ข้อเสนอต่อรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์

       รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งน่าจะขนานนามน่ารักๆ ว่า รัฐบาล OT ซึ่งแปลได้ทั้งเป็นรัฐบาล Old Technocrat และรัฐบาลล่วงเวลา (Over Time) คือเน้นข้าราชการ ผู้ชำนาญการอาวุโสที่เสียสละมาแก้วิกฤตชาติ ซึ่งก็น่าจะปฏิบัติภารกิจหนึ่งปีของตนได้ลุล่วง นำพาประเทศพ้นวิกฤตไปได้เพราะ
       
       ด้านเสถียรภาพมีข้อกังวลไม่มาก เพราะ พล.อ.สุรยุทธ์ สุขุม มั่นคง ไทยรักไทยจะสลายตัวเป็นเพียงพรรคย่อย บรรดาผู้นำจำนวนหนึ่งจะมีความผิด และถูกลงโทษตามกฎหมายใน 3-6 เดือนข้างหน้า ส่วนอุดมการณ์ประชานิยมยังไม่ได้ฝังรากลึกในหมู่รากหญ้า กลุ่มต่างๆ ของพรรคจะลอยตัว รอเวลาวิ่งเข้าหาศูนย์อำนาจการเมืองใหม่
       
       ด้านเศรษฐกิจ แม้ภาพรวมของประเทศจะไม่ดีนัก แต่ประสบการณ์ ความสุขุม และความสามารถของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ จะประคองเศรษฐกิจไปได้ด้วยดี
       
       ด้านทิศทางของประเทศ หลังยุคประชานิยมว่าจะไปทางใด เป็นภาระหลักซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องขบคิด และที่สำคัญยิ่งคือ ต้องช่วยกันถ่ายทอดเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจอย่างทั่วถึง
       
       ความประทับใจของประชาชน สำคัญมาก เพราะรัฐบาลทักษิณใช้การตลาดให้ชาวบ้านได้บริโภคข่าวของความหวัง การทำงานที่รวดเร็วแม้จะไม่เป็นมรรคผล จนประชาชนเสพติด นายกฯ สุรยุทธ์ คลุกชาวบ้านได้ แต่ควรสื่อสารกับชาวบ้านมากขึ้นโดยมีคนอื่นๆ อาทิ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ จรัญ ภักดีธนากุล วิจิตร ศรีสอ้าน สุวิทย์ ยอดมณี ช่วยสนับสนุน
       
       2. รัฐบาลกับ 7 ภารกิจการปรองดองชาติในระดับโครงสร้าง

       ภารกิจหลักของรัฐบาล คือ การสร้างความปรองดองในชาติ แต่ความปรองดองนี้ต้องไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องเป็นการแก้เชิงโครงสร้าง เพื่อสร้างฐานรากให้กับการปรองดองแห่งชาติ (national reconciliation) อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ต้องมองว่าในโครงสร้างของวิกฤตมีคู่ขัดแย้ง 2 ด้านอยู่ ต้องคำนึงทั้ง 2 ด้าน และสร้างสมดุลระหว่างกันให้ได้
       
       1. ผลของการล้มระบอบคอร์รัปชัน ทรท. สร้างความขัดแย้งระหว่างคณะผู้ทำการ เป็นพลังซึ่งเน้นด้านคุณธรรมของบ้านเมือง (moralist forces) กับพลังประชาธิปไตยส่วนหนึ่ง ต้องไม่แก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ แต่แก้ด้วยการยกระดับความเข้าใจกัน และขยายสิทธิเสรีภาพของพลังประชาธิปไตยและชาวบ้านให้กว้างขึ้น
       
       2. วิกฤตที่ผ่านมาทำให้คนเมืองขัดแย้งกับคนชนบท คนชั้นกลาง/สูงขัดแย้งกับรากหญ้า ทางแก้ไม่ใช่กีดกันชนบทว่าเป็นพวก ทรท. แต่ต้องขยายความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ และการยอมรับทางการเมืองสังคม เพื่อความปรองดองของเมืองและชนบท อีกปัญหาหนึ่งคือ รัฐบาลแต่งตั้งที่มาจากชนชั้นนำและคนดี มักปิดตัวเอง ไม่รับฟังคนอื่น การให้อำนาจประชาชนเสนอวาระหรือปัญหาของชาติเป็นหลักสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย
       
       3. สร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความสุขของชาวบ้าน นโยบายเศรษฐกิจไทยละเลยภาคชนบทมาตลอด ประชานิยมจึงได้ผลอย่างมาก รัฐบาลใหม่ยังคงต้องใช้จ่ายเงินเพื่อภาคชนบทแต่ให้ถูกทิศทางขึ้น เช่น ขยายอัตราการเติบโตเศรษฐกิจของภูมิภาคที่ยากจนให้มากกว่าภูมิภาคอื่น เน้นเศรษฐกิจเมือง หมู่บ้าน ขนานไปกับ SME ประชานิยมสร้างหนี้และการบริโภคฟุ่มเฟือย ทำให้ชนบทอ่อนแอ นโยบายใหม่ควรสร้างให้ภาคชนบทและเศรษฐกิจรากหญ้าเข้มแข็ง มุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิจัยด้านสุขภาพ วัฒนธรรม สินค้าพื้นถิ่น เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายใน/ภายนอก เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสุขภาพ และบริการ ซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย มีงบสนับสนุนการศึกษาวิจัยของเยาวชน นวัตกรรมท้องถิ่นในด้านสุขภาพ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม งบสร้างความน่าอยู่ การปลูกดอกไม้ต้นไม้ให้กับหมู่บ้าน เมือง การเสริมคุณภาพให้กับสวัสดิการด้านสุขภาพ ให้ “คนไทยทุกคนรักษาฟรี” และสวัสดิการการศึกษา ฯลฯ
       
       4. สร้างสมดุลปรัชญาเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือปรัชญา GDP กับปรัชญา GNH สมดุลระหว่างอำนาจทุนข้ามชาติกับอำนาจชุมชนท้องถิ่นอย่างให้เกิดผลที่เป็นจริง
       
       5. สร้างสมดุลระหว่างอำนาจการเมืองกับอำนาจสังคม ระบบทักษิณครอบงำสื่อ และปิดกั้นภาคสังคมมากเกินไป รัฐบาลใหม่ควรทำให้เกิดสมดุลดีขึ้น โดยอาศัยกฎหมาย นโยบาย และงบประมาณ เช่น ให้สำนักงานสลากฯ ซึ่งเอาเงินจากประชาชนไปให้นักการเมืองใช้ พัฒนาตัวเองเป็นสถาบันการเงินของสังคมที่ปลอดการแทรกแซงการเมือง เพื่อคืนกลับให้ประชาชนและสังคม ยกเลิกงบประมาณสนับสนุนพรรคการเมืองและนำมาสนับสนุนองค์กรทางสังคม องค์กรสิทธิเสรีภาพ เอ็นจีโอ องค์กรวิชาการ และสื่อ เช่น มีงบ 100-200 ล้านต่อปี สนับสนุนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค องค์กรประชาชนต้านคอร์รัปชัน งบสื่อทางเลือก (alternative media) เช่น แทนที่จะปิดกั้นเสรีภาพมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ควรมีงบสนับสนุนแทน ควรให้สื่อโทรทัศน์ของรัฐจัดเวลาเสนออย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงให้สถาบันวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ สภาหนังสือพิมพ์ สภาทนายความ กลุ่มรากหญ้า องค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ ได้ร่วมกันใช้ โดยรัฐและเอกชนร่วมกันสนับสนุนด้านงบประมาณ
       
       6. สร้างความปรองดองของความต่างวัฒนธรรม ความรุนแรงภาคใต้มีสาเหตุสำคัญมาจากการละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการเคารพความต่างในวัฒนธรรม ศาสนา อัตลักษณ์ ความเป็นชาติพันธุ์มลายู ความต่างเหล่านี้ล้วนมีปรากฏอยู่ในระดับต่างๆ ระหว่างภูมิภาคท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทย การปรองดองที่แท้จริงคือ การตระหนักและเคารพความต่างเหล่านี้ ส่งเสริมการรักษาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของภูมิภาคต่างๆ โลกปัจจุบันมองความต่าง ความหลากหลายเป็นทุนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศมากกว่าจะเป็นหนี้สินหรือภาวะติดลบของประเทศ
       
       7. มีโครงสร้างคอร์รัปชันของรัฐบาล ทรท. ซึ่งประสานระหว่างนักการเมือง ข้าราชการ และ เอกชนซึ่งอยู่ตามบอร์ดของรัฐวิสาหกิจ กิจการร่วมทุนรัฐเอกชน โครงสร้างเชิงนโยบายซึ่งโกงกินและใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากมาย ซึ่งรัฐบาลต้องสลายโครงสร้างนี้อย่างจริงจัง
       
       (2) ภาพรวมการเมืองไทย

       ปัญหาการเมืองไทยเกิดจากการไม่มีสถาบันและความเป็นสถาบันมากพอจะกำกับอำนาจทุนการเมือง

       1. ทุกสังคมในโลกมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เปลี่ยนแปลงไว ได้แก่ ชีวิตเศรษฐกิจประจำวันของผู้คน และส่วนที่มั่นคงอยู่มานาน ทำหน้าที่กำกับดูแลพฤติกรรมค่านิยม คุณธรรม ความเจริญงอกงามทางจิตใจ ศิลปวัฒนธรรมของผู้คน เราเรียกส่วนหลังนี้ว่าสถาบัน ทั้งสองส่วนต้องช่วยกำกับดูแลซึ่งกันและกัน ผลักดันประเทศไปสู่ทิศทางที่ดี ไม่ใช่ส่วนหนึ่งมุ่งทำลายอีกส่วนหนึ่ง
       
       2. ในโลกยกเว้นประเทศตะวันตก มีประมาณ 5 ประเทศคือ รัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไทย ที่ประวัติศาสตร์การสร้างสถาบัน เช่น สถาบันราชการ สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ยาวนานกว่าประเทศอื่น เนื่องจากสถาบันเหล่านี้เกิดมานานจึงมีแนวโน้มอนุรักษนิยมหรือบางส่วนเสื่อมโทรม เช่น สถาบันศาสนา ข้าราชการ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อุดมการณ์ประชาธิปไตยปักหลักมั่นคงในประเทศไทย พรรคการเมืองซึ่งคืออำนาจของทุนและกลุ่มอุปถัมภ์ท้องถิ่นขยายตัวอย่างรวดเร็วและผันผวน (chaotic) เกิดคอร์รัปชัน ทำลายค่านิยมซื่อสัตย์สุจริตจนสังคมต้องหาทางออกโดยสร้างระบบประชาธิปไตยครึ่งใบ คือกองทัพนำโดย พล.อ.เปรม ทำหน้าที่กำกับพฤติกรรมของพรรคการเมือง ระบบนี้หลีกทางให้ประชาธิปไตยเต็มใบในปี 2531 แต่ทุนการเมืองก็สร้างปัญหาแบบเดิมซ้ำอีก จนเกิดวิกฤติอีกหลายหนตามมา
       
       3. ยุครัฐบาลทักษิณ ทุนการเมืองขยายเป็นทุนการเมืองระดับชาติและระดับโลกาภิวัตน์ ชาวบ้านเกือบทั้งประเทศถูกครอบงำโดยประชานิยม สถาบันข้าราชการ ตำรวจ ทหาร องค์กรอิสระ ศาลถูกแทรกแซงและครอบงำ ค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตถูกทำลายเกือบหมด จนพลังเชิงสถาบันที่เหลือต้องลุกมาปักหลักสู้อยู่คือ พลังของสถาบันซึ่งยึดถือความซื่อสัตย์ ความชอบธรรม (moralist) ได้แก่ สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ นักวิชาการ พลังสถาบันยุติธรรม คือ ศาลต่างๆ พลังสถาบันชาติ คือ ทหาร กลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ พลังซึ่งจงรักภักดีสถาบันกษัตริย์ คือ ชนชั้นสูงและองคมนตรี แต่อำนาจของทุนการเมืองมีสูงมาก ในที่สุดกองทัพต้องใช้วิธีรัฐประหารมาคลี่คลายความขัดแย้ง
       
       (3) ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย เน้นยุทธศาสตร์การสร้างและขยายสถาบันและวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน
       
       ปัจจุบันเราไม่อาจหวนไปใช้ประชาธิปไตยครึ่งใบซึ่งพึ่งพิงอำนาจแบบศูนย์เดียว คือ กองทัพ ต้องให้มีประชาธิปไตยเต็มใบ แต่มีหลายสถาบันมาตรวจสอบกำกับ (regulate) ทิศทางทุนการเมือง เพราะขอบเขตปัญหากว้างกว่าเดิมมาก โลกก็เคลื่อนตัวเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเดิม
       
       1. ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย

       การแก้ไขปัญหาหลังวิกฤตการเมืองไทยทำกันผิดพลาดทุกหน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ศึกษาและหยิบยกทฤษฎีตะวันตกมาใช้อย่างลวกๆ หลังพฤษภาคม 2535 ก็มีการปฏิรูปการเมืองที่เป็นลัทธิคลั่งทฤษฎีตะวันตกมากเกินไป ในครั้งนี้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องกล้าคิดวิธีการที่ส่งเสริมอำนาจประชาชนที่เหมาะกับสังคม วัฒนธรรมไทยด้วย จึงควรเรียกว่าเป็นการจัดทำเป็นรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทย
       
       2. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องเน้นการสร้างประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร

       จาก 14 ตุลาคม 2516 มาถึงปัจจุบัน ประชาธิปไตยโดยรูปแบบคือประชาธิปไตยที่เป็นเฉพาะการเลือกตั้ง (Procedural Democracy) ได้มาถึงทางตัน ต้องมีการพัฒนาไปอีกขั้น คือประชาธิปไตยที่มีเนื้อหาหรือประชาธิปไตยที่มีแก่นสาร (Substantive Democracy) แก่นสารนี้คือการเพิ่มความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความอยู่ดีมีสุขและสิทธิอำนาจของประชาชน
       
       3. รัฐธรรมนูญใหม่ต้องสร้างโครงสร้างการเมืองกู้ชาติแบบยั่งยืนสมดุลขึ้นให้ได้

       โครงสร้างการเมืองที่ดีที่จะแก้วิกฤตประเทศได้ยั่งยืนถาวร คือโครงสร้างที่ยอมรับอำนาจของประชาชนผ่านความชอบธรรมของประชาธิปไตยเลือกตั้ง คู่กันไปกับอำนาจตรวจสอบของสถาบันต่างๆ ซึ่งมีความชอบธรรมในเชิงการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ และการพิสูจน์ตัวเองว่าทำงานเพื่อประโยชน์สังคม (functional differentiation ในฐานะเป็น social legitimation) แนวคิดเสรีนิยมตะวันตกสุดขั้วที่ยึดเอาสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลอย่างเดียวเป็นที่มาของอำนาจทั้งปวง ถูกพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะทุนการเมืองเข้าครอบงำแทรกแซงได้หมด
       
       4. โครงสร้างการเมืองกู้ชาติเน้นยุทธศาสตร์ 2 อย่างคือ

       4.1 ประเทศไทยจะหวนไปใช้สถาบันเดียว คือ กองทัพ มากำกับการเมืองตามระบบประชาธิปไตยครึ่งใบไม่ได้ ต้องใช้ยุทธศาสตร์การสมดุลอำนาจ ต้องขยายและสร้างความเป็นสถาบันแบบหลายศูนย์มาตรวจสอบถ่วงดุลทุนการเมือง ขยายสถาบันเดิม และสร้างสถาบันใหม่ๆ เช่น
       
       (1) ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสนับสนุนประชาสังคม สนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย ทุกวิกฤติในอดีต ภาคเอกชนไทยแสดงความรับผิดชอบน้อยที่สุด จนกล่าวได้ว่าการเมินเฉยหรือสนับสนุนผู้มีอำนาจการเมืองของพวกเขา เป็นสาเหตุสำคัญให้วิกฤติขยายตัวถึงขั้นมีการรัฐประหาร ภาคเอกชนจึงควรเสียสละเพื่อชดเชยความผิดและมีคุณูปการสร้างความปรองดองแห่งชาติด้วยการเสียภาษีเพิ่มเติม 0.2 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สำหรับ 100 บริษัทใหญ่ที่สุดของประเทศ และ 0.1 เปอร์เซ็นต์สำหรับ 200 บริษัทถัดไป เพื่อสนับสนุนกิจกรรมภาคสังคม
       
       (2) องค์กรตรวจสอบคอร์รัปชันนักการเมือง ต้องดำเนินไปอย่างเข้มข้น กรรมการเลือกตั้งต้องดำเนินไปอย่างจริงจัง และกระบวนการตุลาการภิวัตน์ต้องเกิดต่อไปอย่างเข้มข้น ถ้า 3 ส่วนนี้ดำเนินไปต่อเนื่อง จะมีโอกาสเกิดเป็นวัฒนธรรมต้านคอร์รัปชัน และการซื้อเสียง
       
       (3) ต้องหาทางกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้องค์กรตรวจสอบ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. คตส. สตง. รวมทั้งองค์กรสำคัญอื่นๆ เช่น ปปง. กกต. องค์กรอิสระ มีความเป็นกลางและเป็นสถาบันมากขึ้น ซึ่งความเป็นสถาบันมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้คือ มีความเป็นอิสระ มีอุดมคติ เพื่อภารกิจ มีบุคลากรที่ได้รับความนับถือ มีผลงาน มีวัฒนธรรมเฉพาะขององค์กร ซึ่งอาจได้รับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ให้สืบเนื่องตัวเอง (reproduce) ได้ เช่น ให้มีสิทธิเสนอบุคลากรชุดต่อไปจำนวน 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 เป็นต้น
       
       (4) ที่มาขององค์กรตรวจสอบดังกล่าว ควรมาจากสถาบันสังคมที่พิสูจน์แล้วว่าไม่ถูกครอบงำหรือถูกแทรกแซงน้อยที่สุด ได้แก่ สถาบันศาลฎีกา สถาบันศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ สถาบันสื่อหนังสือพิมพ์ คณาจารย์มหาวิทยาลัยรุ่นเก่าซึ่งมีลักษณะความเป็นสถาบันสูง บุคคลที่มีผลงานการดำรงชีวิตเป็นที่ประจักษ์จนมีลักษณะเป็นสถาบันที่ได้รับความนับถือจากสังคมทั่วไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน เช่น ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ปปช. 15 คน ให้มาจากศาลฎีกา 3 คน จากศาลปกครอง 3 คน ศาลรัฐธรรมนูญ 3 คน สถาบันหนังสือพิมพ์ 3 คน ที่ประชุมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรุ่นเก่า เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามคำแหง สุโขทัยธรรมาธิราช เลือกตัวแทนแห่งละ 2 คน แล้วให้มาเลือกกันเองเหลือ 3 คน เป็นต้น วุฒิสภาก็ยังควรจะมีเพราะเป็นการขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคสังคม ทั้งนี้ อาจกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่งและมาจากสถาบันสังคมอีกครึ่งหนึ่ง
       
       4.2. นอกจากยอมรับบทบาทสถาบันแล้วยังควรขยายพื้นที่ภาคประชาชน คือ

       (1) การขยายบทบาทภาคสังคม – ประชาชน ด้วยการให้รัฐและภาคเอกชนสนับสนุนด้านงบประมาณและพื้นที่ต่อสาธารณะ

       (2) ขยายพื้นที่ยุติธรรม โดยกำหนดในรัฐธรรมนูญใหม่ ให้ประชาชนเข้าถึงสถาบันยุติธรรมได้ง่ายขึ้น เช่น ศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องคดีศาสตรา โตอ่อน vs กระทรวงไอซีที หรือ ให้กลุ่มบุคคล ตัวแทนกลุ่มวิชาชีพ เช่น สภาหนังสือพิมพ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ สภาทนายความ คณะมนตรีคุณธรรม เป็นตัวแทนรับเรื่องจากประชาชนฟ้องร้องรัฐได้
       
       (3) ขยายพื้นที่ตรวจสอบคอร์รัปชันให้กับภาคสังคม – ประชาชน – สื่อ เช่น ปรับปรุง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่งเวลาปฏิบัติจริงยุ่งยาก ให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ ส่งสัญญาที่มีมูลค่าตั้งแต่ 250 ล้านขึ้นไปมาให้ห้องสมุด ซึ่งจัดขึ้นเพิ่มเติมขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอนแก่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ สงขลาฯ สมาคมนักหนังสือพิมพ์
       
       (4) ขยายพื้นที่คุณธรรม เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะมนตรีคุณธรรม เพื่อให้บุคคลที่ได้รับการเคารพ อาทิ นพ.ประเวศ วะสี เสนาะ อุนากูล ระพี สาคริก เสน่ห์ จามริก ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ สุเมธ ตันติเวชกุล โสภณ สุภาพงษ์ ฯลฯ มีโอกาสได้รับเลือกไปทำหน้าที่ส่งเสริมคุณธรรม มีอำนาจยื่นเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองจากภาคประชาชนไปยังศาลที่เหมาะสม
       
       คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย
       รัฐธรรมนูญและโมเดลการเมืองที่เสนอนี้จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบชนชั้นนำ หรืออมาตยาธิปไตย (elite democracy) ไม่เป็นแบบมาตรฐานสากล แต่มีคำชี้แจงได้ดังนี้

       1. ประชาธิปไตยทั่วโลกโดยไม่มีข้อยกเว้น (รวมทั้งรัฐธรรมนูญไทยปี 40 ที่ผ่านมา) ล้วนอนุโลมให้มีบทบาทชนชั้นนำปนอยู่ด้วย อาทิเช่น กระบวนการตุลาการภิวัตน์ (judicial review) ของทุกประเทศก็จะอยู่ในแนวคิดนี้

       2. ประชาธิปไตยทั่วโลกล้วนมีลักษณะเฉพาะตามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของตน เช่น การเลือกวุฒิสภาการลงคะแนนไพรมารีโวต เป็นลักษณะเฉพาะของอเมริกา สภาสูงของอังกฤษ บทบาทศาสนานิกายต่างๆ ต่อพรรคการเมืองของเยอรมัน ไทยก็ควรคิดบนเงื่อนไขภูมิปัญญาไทย
       
       3. โลกยุคสมัยใหม่มีความซับซ้อน (complexity) มีการแบ่งงาน แบ่งหน้าที่ (functional differentiation) แบ่งความชำนาญเฉพาะ (specialization) กว้างขวางมาก การออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับภูมิปัญญาไทยให้ยอมรับความชอบธรรมแบบหลากหลายนี้ มากกว่าการยอมรับเฉพาะสิทธิของปัจเจกบุคคล อีกนัยหนึ่ง ระบบการเมืองที่ดีต้องประสานการเมืองภาคตัวแทน การเมืองภาคตรวจสอบ การเมืองภาคสังคม-ประชาชน

       4. รัฐธรรมนูญใหม่จะต้องเน้นประชาธิปไตยเต็มใบ ต้องเคร่งครัดให้อำนาจของสถาบันต่างๆ จำกัดอยู่เฉพาะอำนาจตรวจสอบ ไม่ใช่การบริหารหรือการออกกฎหมาย และควรมีลักษณะชั่วคราว เช่น 6-8 ปี

       5. รัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองแบบภูมิปัญญาไทย ไม่ใช่การหวนกลับไปหาประชาธิปไตยแบบไทยๆ ของเผด็จการทหาร หรือประชาธิปไตยวิถีเอเชียแบบสิงคโปร์ แต่ต้องเป็นการยกระดับคนไทยให้พ้นจากการสยบยอมทางความคิดตะวันตก และตัดความหลงงมงาย เชิดชูความเป็นไทยจนล้นเกินออกไป
       
       6. วิกฤตที่ผ่านมาควรเป็นวิกฤตสุดท้ายของประเทศ และอาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราแก้ปัญหาด้วย เพราะวิกฤตครั้งนี้กระทบทุกส่วนไม่เว้นแม้สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงควรพิจารณาข้อกังวลของนักวิชาการว่า การเมืองไทยจะหวนกลับไปสู่อมาตยาธิปไตยหรือไม่อย่างตรงไปตรงมา ทั้งนี้เพราะปัจจุบันวัฒนธรรมข้าราชการ นักการเมือง เอกชนไทย กลายเป็นวัฒนธรรมคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวางที่สุด จึงเรียกร้องให้พลังทุกส่วนต้องออกมาแก้ไขปัญหา ตามกระบวนการเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ
       
       ตามรัฐธรรมนูญองคมนตรี บุคคล องค์กรที่ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ต้องเป็นกลางทางการเมืองอย่างเคร่งครัด แต่ในฐานะสมาชิกสังคมย่อมมีสิทธิที่จะบอกประชาชนว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว กล่าวคือ ไม่ยุ่งการเมืองแต่ยุ่งเรื่องจริยธรรม เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนเคารพคนดี คว่ำบาตรประณามนักการเมืองชั่วไม่ว่าจะอยู่พรรคใด เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เราอาจถกเถียงกันหรือยอมรับว่า ปัจจุบันควรเกิดหรือได้เกิดกระบวนอมาตยาภิวัตน์ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะของพัฒนาการการเมืองไทย ซึ่งต้องมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนเสริมคุณธรรมสังคมเพื่อกู้ชาติ ไม่ใช่กระบวนการเพื่ออำนาจหรือเพื่อผลประโยชน์ สังคมก็ต้องคอยกำกับให้กระบวนการนี้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
       
       ทหารเองก็ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่สนับสนุนหรือมีอิทธิพลในพรรคการเมืองใดๆ แต่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะสมาชิกสังคมที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมคุณธรรมเพื่อสังคมดังกล่าวได้เช่นกัน


http://www.manager.co.th/

-------------------------------------------------------------


อ.ธีรยุทธ บุญมี เป็นอดีตคนเดือนตุลาเหมือนกับสหายใหญ่ ( ภูมิธรรม เวชยชัย ) และสหายจรัส ( นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ) คู่ซี้เดือนตุลาที่ฝักใฝ่ในอุดมการณ์มากเกินเลยต้องหลบหนีเข้าป่าไปหรืออาจเป็นเพราะพ่ายแพ้ให้กับอำนาจของผู้มีบารมีด้วยก็ได้ เมื่อเวลาผ่านไปทั้งสองได้ออกมาจากป่าและร่วมกันตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ก็มิวายพ่ายแพ้ให้กับผู้มีบารมีอีก จะแข่งเรือแข่งพายคงได้ แต่ถ้าจะไปแข่งบุญวาสนาด้วยนี่ก็คงลำบาก..

อ.ธีรยุทธ บุญมี เลือกที่จะเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย แต่สองคนหลังนี่เลือกที่จะทำงานทางการเมือง แม้ว่าพวกเขาจะมีอุดมการณ์ที่คล้ายกันในอดีต แต่สุดท้ายในบั้นปลายแล้วพวกเขาก็ยังต่างกันอยู่ดี

ครั้นมองไปที่นายใหญ่ของคนทั้งสองแล้วก็ไม่ต่างกันนัก เพราะ ในตอนนี้ก็กำลังเผชิญกับลมมรสุมทางการเมืองที่โหมกระหน่ำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเรื่องยุบพรรคการเมือง ข้อกล่าวหาทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ ซึ่งบางทีอาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับไสยศาสตร์ด้วยก็ได้ ก็นายใหญ่เล่นไปทำบุญประเทศในวัดพระแก้วเหมือนกับจอมพลแปลก สุดท้ายแล้วก็ต้องหลุดจากตำแหน่งเหมือนกันทั้งคู่.. ฤาว่าอาถรรพ์จะมีจริงสำหรับใครก็ตามที่ได้ไปทำบุญประเทศในวัดพระแก้ว
บันทึกการเข้า

stromman
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 526



« ตอบ #1 เมื่อ: 12-10-2006, 07:33 »

พูดตามตรงนะ เมื่อก่อนผมไม่เคยสนใจการเมืองเลย แต่เวลามีข่าวไรก็จำได้นะ ไม่ได้ตกข่าว เพียงแต่ไม่ลึก แต่พอไอ้เหลี่ยมมันมานำประเทศ แล้วเห็นวิธีการที่มันทำกับคนอื่น เลวจิงๆ แล้วดันไปเป็นมันถอดเมืองไทยฯด้วยเหตุผลทุเรศๆ (เมื่อก่อนก็ไม่ค่อยดูเมืองไทยฯด้วย เพียงแต่เทปสุดท้ายที่ช่อง9 ดูเพราะไม่มีไรดู)
มันข้องใจคับ ไม่ยุติธรรมคับ เลยทำให้ผมติดตามตลอด และเห็นว่าต่อไป ขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมจริงในการติดตามการทำงานของนักการเมือง ไม่ใช่ให้กาบัตร หย่อนบัตรเสร็จก็หมดสิทธิ ไม่งั้นไม่ต้องไปมีหรอกวิชารัฐศาสตร์เนี่ย
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 12-10-2006, 08:07 »

เที่ยวนี้ ธีรยุทธเสนอได้ครบวงจร...น่ารับฟังมาก.

มองเห็นชัดเจน...คงต้องลองรอฟังจากสาย คุณหมอประเวศ วสี จะออกเค้าโครงแบบใหนมาบ้าง

เท่าที่อ่านทางของคุณหมอประเวศ ก็มาทางเดียวกับธีรยุทธ์

คือการสร้างชุมชนเข้มแข็ง-ประชาสังคม-เศรษฐกิจพอเพียง
บันทึกการเข้า

decison_making
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 254


แม่ไม่ว่าเหรอแม้ว ทำตัวอย่างงี้


« ตอบ #3 เมื่อ: 12-10-2006, 11:57 »

คราวนี้ ขาประจำของทักษิน มาแบบรอบด้าน และคลอบคลุมมาก

แต่เห็นด้วยเรื่องยังไม่ยกเลิกกฏอัยการศึก

เพราะถ้ามีอะไรเกิดขึ้นแล้ว แก้ไขยาก ภาวะสมานฉันท์ ไม่เกิดแน่ๆ

เพราะพวกอกหักมีป่วนแน่นอน

ไม่ยกเลิกกฏอัยการศึกก็ไม่เห็นเดือดร้อนไรนี่ สบายใจด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 12-10-2006, 12:30 »

ถ้าเกิดเหตุ ต้องกลับไปใช้ พรก. ฉุกเฉิน หนักกว่าเก่า อยู่แบบนี้ไปก่อนซักพัก

สภาก็มีแล้ว หากไม่มีสัญญาณบอกเหตุ ฝั่งต่อต้านเงียบ ๆ ไป การยกเลิกคงไม่ยาก

..............................................

ผมชอบนะ ธีรยุทธ์เสนอ พลังสถาบันต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับ เช่นสภาวิชาชีพทั้งหลาย

เดี๋ยวขอแยกแยะย่อยความคิดของเค้าก่อน แต่องค์กรฝ่ายตรวจสอบเข้าท่ามาก

เพราะการตรวจสอบ ต้องตรวจสอบลงลึกถึงเรื่อง "จริยธรรม" เป็นฐานราก

พวกองค์กรความโปร่งใส-ต้านคอรัปชั่นทั้งหลาย รัฐต้องดูแล เรื่องงบประมาณในการวิจัย

ผสานกับองค์กรเอกชนท้องถิ่น ที่มีอยู่แล้ว กระจายลงไปให้มีการประชาสังคมทั้งการเมืองและเศรษฐกิจพอเพียง

การเข้าถึง "ศาล" ทั้งหลายต้องง่าย หรือให้ สภาทนายหรือองค์กรอื่นฟ้องแทนได้ ตรงนี้ก็สวย

กระทู้ก่อนนี้ผมเสนอ "ศาลจริยธรรม" กรรมการสิทธิ์ ผู้ตรวจการรัฐสภา ต้องเพิ่มอำนาจตรวจสอบ

เพิ่มกำลัง อัยการสูงสุด ตลอดจน บุคลากรด้านศาลต่าง ๆ

หากเราเสริมกำลัง อำนาจตุลาการ และกระบวนการตรวจสอบให้ดี การถ่วงดุลจะไม่ทำให้เกิดวิกฤติ

นักการเมืองจะทำตัวดีขึ้น...เพราะประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

สำหรับฝั่ง"ผู้มีบารมี" และสถาบันกษัตริย์ ธีรยุทธ์ เสนอทางออกให้อย่างแหลมคม...

ท่านผู้หลักผู้ใหญ่เหล่านั้น ถือว่าเป็นสถาบัน "เสาหลัก" ที่จะสามารถค้ำยันสังคมได้

เท่าที่ดูแล้ว รู้สึกจะขาดกลุ่ม "ราชบัณฑิต" ต้องขอแรงท่านลงมาอีกกลุ่มหนึ่ง จะขาดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้

กลุ่มใหนที่เข้าขั้นเป็น "สถาบัน" ที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ต้องผสมผสานเข้ามา สร้างตัวตายตัวแทนไว้ตลอดเวลา

ทำได้แบบนี้ สังคมดีขึ้นแน่นอน

สำหรับฝ่ายเอกชน ต้องลงมาคลุกพลังตรวจสอบมากขึ้น การแบ่งภาษีออกมาส่วนหนึ่งให้สันบสนุนองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค นับเป็นข้อเสนอที่ดีมาก อยากเห็น

เงินจากหวย...อยากให้ทำแบบ สสส. ที่ได้เงินสนับสนุนจากภาษีสรรพสามิตของสินค้าทำลายสังคม

การนำเงินส่วนที่ได้จากหวย มาทำกองทุนใหญ่ ใช้สนับสนุน อพช. ก็เยี่ยมไปเลย เท่ากับเอาเงินบาปไปทำกุศลกับชาวบ้าน

เอาเงินโง่ ไปทำให้คนฉลาด รู้จักทำมาหากิน มีศีลธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เสนอแบบนี้มองภาพออกเลยว่า งาน"ประชาสังคม" เกิดได้ไม่ยาก เพราะจะมีงบประมาณตลอดไป

ผมคิดว่า "ของดีแบบไทย ๆ" มีอีกมากมาย เพียงแต่เราไม่ได้ใช้เต็มประสิทธิภาพ จึงมักมีพวกมือถือสากปากถือศีลมากไปหน่อย

จะว่าไปน่าจะขอบใจทักษิณนะ ที่ทำให้ทั้งสังคม หันมามองตัวเอง มองสิ่งที่มันควรจะเป็น

ใช้หลัก ผิดเป็นครู บูรณาการความเป็นไทยลงไปในรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนเสียที

ดีกว่ามานั่งส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย ที่ทำไปเท่าไหร่ ก็ทัดทานกระแสวัฒนธรรมตะวันตก บริโภคนิยมไม่ไหว

ส่วนเรื่อง ตัวแทนมหาวิทยาลัย เค้าเสนอ แค่ 4 มหาวิทยาลัย ผมมองว่า ทำไมมองข้าม มหิดล...สถาบันนี้มองข้ามไม้ได้

ในเรื่องจริยธรรมนั้น กลุ่มแพทย์ ยอดเยี่ยมกว่าเพื่อนอยู่แล้ว

ที่จริงต้องเป็น "แกนหลัก" ด้วยซ้ำไป
บันทึกการเข้า

TAKSIN THE BEST PM.
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 258


« ตอบ #5 เมื่อ: 12-10-2006, 13:01 »

เบื่อ ก๊อปแปะกันจัง  ทำอย่างกะ ตาแคน เปิดอินเตอร์เนต อ่าน

ตาธีรยุดได้คนเดียว  ทำlinks ก็พอ ...ลุง 
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 14-10-2006, 15:15 »

ก็ทำให้ได้อ่านทุกคนไง จะได้อ่านและตอบ หรืออ้างอิงได้ง่าย ๆ ไม่ชอบก็ผ่านเลย...

ไปลงป้ายหน้าก็ได้นี่...


ที่จริง ประเด็นของ อ.ธีรยุทธ์นี่สิ ถึงจะเป็นทิศทางให้สังคมอินเตอร์เน็ต สมควรแลกเปลี่ยนความเห็น

เพื่อแสวงหาหนทางที่ดีกว่า ในระบอบประชาธิปไตย

ดีกว่าจะมาตั้งกระทู้เสียดสีกันไปมา...


หรือว่าสมองมีไม่ถึง ไม่กล้าเสนอแนวทางประชาธิปไตย ผ่านการร่างรัฐธรรมนูญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14-10-2006, 15:26 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #7 เมื่อ: 14-10-2006, 17:14 »

นักวิชาการสามานย์สารเลวหนังหัวกลับด้าน.....

ปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้ปืนมาบังคับขู่เข็ญให้คนรักกัน...

นี่มันเอาอะไรคิดกันเนี่ย ? แค่เริ่มต้นคิดมันก็ผิดแล้ว

นักวิชาการต้องมีความกล้าหาญที่จะพูดความจริงกับสังคมไทย

ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับชาติบ้านเมือง อะไรที่ทำให้ชนกลุ่มน้อย

สามารถมามีอิทธิพลเหนือคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ

อะไรที่ทำให้ชนชั้นศักดินาทุนเก่า  ถึงมีความสลักสำคัญ

และสามารถชี้นำบงการชะตากรรมประเทศชาติ และประชาชนทั้วปวงได้

ถ้า ธีรยุทธ ตอบโจทย์ข้อนี้ไม่ได้ ก็ควรหุบปากแล้วเร้นกายหายไปห้องสมุด

อย่าได้โผล่มาหลอกหลอนประชาชนอีกเลย มันน่าสังเวช


ไม่ต้องไปพล่ามถึงเรื่องอื่นๆให้เสียเวลา เพราะมันไม่ได้ช่วยอะไรได้เลย สูญเปล่า
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 14-10-2006, 17:31 »

ฮ่า ฮ่า ลองบอกวิธีไล่ทรราชหน้าเหลี่ยม โดยไม่ใช้ปากกระบอกปืน มาซัก 1 วิธีหน่อยสิ
บันทึกการเข้า

ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #9 เมื่อ: 14-10-2006, 18:22 »

เที่ยวนี้ ธีรยุทธเสนอได้ครบวงจร...น่ารับฟังมาก.

มองเห็นชัดเจน...คงต้องลองรอฟังจากสาย คุณหมอประเวศ วสี จะออกเค้าโครงแบบใหนมาบ้าง

เท่าที่อ่านทางของคุณหมอประเวศ ก็มาทางเดียวกับธีรยุทธ์

คือการสร้างชุมชนเข้มแข็ง-ประชาสังคม-เศรษฐกิจพอเพียง


รอฟัง อ.สมศักดิ์ เจียมฯ ด้วย  ป่านนี้ไม่รู้เขียนบทความโต้ อ.ธีรยุทธ เสร็จยัง

วันก่อนหัวฟัดหัวเหวี่ยงกับบทความของ อ.นิธิ ในมติชน  กรณี อ.ธีรยุทธ ไม่รู้อาจารย์จะว่าไง

เว็บ ม.เที่ยงคืนก็ปิด เด๋ว อ.สมศักดิ์ คงโพสต์ในประชาไท หรือไม่ก็ในบล็อค
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 14-10-2006, 18:29 »

ไอ้หัวโต ก็คอยแต่เขียนด่าชาวบ้าน

ทำไมไม่นำเสนอแนวทางประชาธิปไตยแบบไทย ๆ บ้างล่ะ

จะได้เห็นกึ๋น คนเดือนตุลาบ้าง
บันทึกการเข้า

Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #11 เมื่อ: 14-10-2006, 18:55 »

มันมีบอร์ด ม.เที่ยงคืน เปิดอยู่อันนึง ไปหาดู จำ Link ไม่ได้แล้ว

เกี่ยวกับเรื่องให้ประชาชนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ แข่งกับเผด็จการศักดินา

ในนั้นก็ยังเห็นบทความของ สมศักดิ์ เจียม แปะอยู่
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 14-10-2006, 19:02 »

พวกพิภพ สุริยใส กลุ่มนี้ เค้าคิดแล้ว แต่ยังไม่รู้จะออกรูปใหน จะมีใครไปร่วมบ้าง

มอง ๆ ดู ก็คง มีไม่กี่คน...ที่สำคัญ...จะหาเบี้ยเลี้ยงที่ใหน ไปจ่ายค่าข้าว ค่ากาแฟ


ไม่ก็ต้องชวนกลุ่ม อ.บรรเจิด เจิมศักดิ์ อะไรพวกนี้ไปร่วม สว.ดำรง ฯลฯ...

เค้าศึกษากันไว้เยอะแล้ว จับมาตบ ๆ กันเข้าไม่น่าจะยากเย็น

หมวดสิทธิ์ ก็ยกของเก่าทั้งหมดในหมวด 3 มาลงไว้ไม่ให้ขาด ไปดูเรื่อง สส. - สว. กับเรื่องการตรวจสอบถ่วงดุล ก็จบแล้ว

ของเก่านั่น สสร. วางล็อคเอาไว้หมด ก็ปลดล็อคซะ ให้เข้าถึงการฟ้องร้องผู้บริหารให้ง่ายขึ้น ก็เท่านั้น

กลุ่มองค์กรอิสระ ก็โยนไปฝั่งอำนาจตุลาการให้หมด ให้ศาลฎีการับไปสิ ทำอะไรให้มันยุ่งยากนักหนา
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: