ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
26-04-2024, 10:39
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ทรราชย์นิยม มักจบด้วยการรัฐประหารเสมอ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ทรราชย์นิยม มักจบด้วยการรัฐประหารเสมอ  (อ่าน 6357 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 10-10-2006, 08:07 »



กระทู้นี้ตั้งใจ จะชี้ประเด็นรากเหง้าว่าเหตุใด รัฐประหารจึงเกิดขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ท่านล่ะครับ คิดว่าจะมีการรัฐประหารหรือการประกาศ พรก. ภาวะฉุกเฉิน โดยรัฐบาลจากการเลือกตั้งครั้งต่อๆไปหรือไม่?

ส่วนเรื่องการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลปัจจุบัน ผมคิดว่าคงจะไปพร้อมๆกับความเสื่อมของพรรค ทรท.และนักการเมืองอีกหลายๆคนครับ

                                                                                                                                                                 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10-10-2006, 08:11 »



ในเมื่อหลายคนไม่ต้องการรัฐประหาร ด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ก็ต้องสร้างความคิดที่ปฏิบัติได้ อธิบายได้ไว้ล่วงหน้าครับ
                                                                                                                                                                     
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 10-10-2006, 08:20 »

ขออนุญาตนำมาแปะ อ่านประกอบครับ

นิยามของคำว่าทรราชในพจนานุกรม

ใน”พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525” ระบุว่าถึงความหมายของ”ทรราช”ว่า เป็นคำนาม หมายถึง “ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองตน เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราช.

ส่วน”พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย” ฉบับราชบัณฑิตสถาน 2524 หากเปิดไปที่คำว่า tyranny จะแปลว่า ทรราชย์ ระบบทรราช หมายถึง การใช้อำนาจโดยพลการ แบบรวบอำนาจเอาไว้แต่ผู้เดียว และโดยปกติเป็นไปในทางที่โหดร้ายทารุณ ทั้งนี้ไม่ว่าจะได้อำนาจนั้นมาด้วยวิธีใด เป็นการใช้อำนาจโดยไม่ถูกจำกัดด้วยกฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญ และไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อยู่ใต้อำนาจ

ส่วนใน “Merriam-Webster’s Collegiate Dictionary/Thesaurus” ได้ให้ความหมายดังนี้

ty•rant \noun [ME tirant, fr. OF tyran, tyrant, fr. L tyrannus, fr. Gk tyrannos] (14c)

1 a : an absolute ruler unrestrained by law or constitution

b : a usurper of sovereignty

2 a : a ruler who exercises absolute power oppressively or brutally

b : one resembling an oppressive ruler in the harsh use of authority or power

_1996 Zane Publishing, Inc. and Merriam-Webster, Incorporated. All rights reserved.

และใน “The American Heritage Dictionary” ได้นิยามความหมายของคำว่า tyranny ดังนี้

tyr-an-ny (t-r“…-n-) n., pl. tyr-an-nies. 1. A government in which a single ruler is vested with absolute power. 2. The office, authority, or jurisdiction of an absolute ruler. 3. Absolute power, especially when exercised unjustly or cruelly. 4.a. Use of absolute power. b. A tyrannical act. 5. Extreme harshness or severity; rigor.

ทรราชในสารานุกรมอเมริกานา
ศาสตราจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์แห่ง Yale University คือ Frederick Mundell Watkins อธิบายคำว่า Tyranny ในสารานุกรมฉบับนี้ว่า "Tyranny" ทรราชย์ คือคำที่ถูกนำมาใช้บ่อยๆกับรัฐบาลที่กดขี่บีบคั้นประชาชนของตน และใช้หลักการต่างๆที่สร้างขึ้นมาด้วยความรุนแรง ทั้งทางด้านศีลธรรม และรัฐธรรมนูญ. ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะพูดว่า ระบบทรราชเป็นเรื่องระบบซึ่งเกี่ยวกับคนหลายคน หรือกลุ่มการปกครอง แต่ปกติแล้วศัพท์คำนี้จะใช้อ้างอิงถึงคนๆเดียว ที่ปกครองด้วยการใช้อำนาจกดขี่ บังคับ    หรือใช้อำนาจไปในทางทีผิด และใช้อำนาจมากเกินไป

ต้นกำเนิดของคำๆนี้ ย้อนกลับไปถึงสมัยกรีกโบราณ ในช่วงระหว่างยุคของ ทรราช(tyrants) (ประมาณ ศตวรรษที่ 7-6 ก่อนคริสตศักราช) ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการล่มสลายของสถาบันต่างๆตามขนบประเพณเดิมีของกรีกโบราณ จากการล่มสลายของขนบประเพณีและสถาบันการปกครองดังกล่าว ได้นำไปสู่การถือกำเนิดขึ้นมาของจอมเผด็จหลายคนในรัฐต่างๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งรู้จักกันในฐานะพวก”ทรราช”.    บุคคลที่ทำตัวเป็นทรราชเหล่านี้ได้สถาปนาตัวเองขึ้นมา เพราะไม่พอใจในกษัตริย์ต่างๆที่สืบทอดตระกูลตกทอดกันมา และเมื่อยึดอำนาจมาแล้ว    บรรดาเหล่าทรราชทั้งหลายจะปกครองโดยไม่สนใจต่อกฎหมายสูงสุดหรือรัฐธรรมนูญเท่าใดนัก

ทรราชย์หลายคนในสมัยโบราณ มีความเก่งกล้าสามารถมาก และเป็นที่นิยมรักใคร่ด้วย. แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยการถือกำเนิดขึ้นมาของระบอบประชาธิปไตยของกรีก ทำให้การปกครองโดยคนๆเดียวหรือทรราชได้กลายเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมและไม่มีใครเห็นด้วย. ทรราชจึงเริ่มเสื่อมความนิยมลง และได้ถูกโค่นลง(tyrannicide หมายถึง การฆ่าทรราชย์)ไปในที่สุด.    สำหรับการโค่นล้มทรราชนั้น ในสมัยประชาธิปไตยของกรีกถือว่า การกระทำดังกล่าวเป็นภารกิจของผู้รักชาติ

พอมาถึงช่วงประมาณศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล, ความเกลียดชังอาฆาตพวกทรราชได้ถูกฝังลึกเข้าไปในกระดูก ความเกลียดชังอันนี้ได้สะท้อนออกมาให้เห็นในงานเขียนของปรัชญาเมธีทั้งสองท่าน คือ เพลโต และ อริสโตเติล (ในทางรัฐศาสตร์ถือว่า นักปรัชญาทั้งสองท่านนี้เป็นนักทฤษฎีทางการเมืองที่มีอิทธิพลมากที่สุดของกรีกยุคโบราณ). ทั้งเพลโตและอริสโตเติล แม้ว่าจะมีความรู้สึกต่อต้านประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้ชื่นชมต่อพวกทรราช ดังจะเห็นได้จากงงานเขียนของท่านทั้งสอง ซึ่งได้มีการใช้คำว่า”ทรราช”ในฐานะที่เป็นศัพท์คำหนึ่งซึ่งเป็นการตำหนิ และสบประมาท และใช้เป็นคำเรียกที่แสดงให้เห็นถึงความที่น่าอัปยศอดสู. จนกระทั่งคนรุ่นต่อมาได้เรียนรู้ที่จะจำแนกความแตกต่างระหว่างการปกครองโดย”กษัตริย์” กับ การปกครองโดย”ทรราช”ได้อย่างชัดเจน นั่นคือ การปกครองในระบอบกษัตริย์ถูกรับรู้ว่าเป็น"รูปแบบการปกครองโดยอาศัยกฎหมายอย่างบริบูรณ์และดีงาม" ส่วน"การปกครองในระบอบทรราชนั้น ปราศ จากกฎหมาย และเป็นไปในทางทุจริต".

การจำแนกความแตกต่างอันนี้ กลายเป็นประเด็นหลักหรือแนวทางสำคัญของความคิดต่อมาในสมัยกลาง. ในช่วงยุคกลางนั้น ส่วนใหญ่มีการปกครองในระบอบกษัตริย์หรือราชาธิปไตย แต่กษัตริย์ในสมัยกลางก็ทรงปกครองโดยยึดระเบียบปฏิบัติทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ มากกว่าจะเป็นผู้ปกครองแบบเผด็จการ. พระราชอำนาจของพระองค์จะทรงถูกจำกัดโดยขนบธรรมเนียมและกฎหมายศักดินา รวมทั้งกฎแห่งเทววิทยา เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในพระราชอาณาจักรของพระองค์เอง    ซึ่งถูกบัญญัติโดยพระผู้เป็นเจ้าสำหรับรัฐบาลของมนุษยชาติทุกๆคน.

ในมัยกลางนั้นตำแหน่งผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็น"กษัตริย์" ผู้ซึ่งให้ความเคารพต่อข้อผูกมัดทางกฎหมาย หรือจะเป็น"ทรราช" ผู้ไม่เคารพต่อกฎหมายใดๆทั้งสิ้น. อย่างไรก็ตาม ทุกๆคนต่างให้การยอมรับต่ออำนาจแห่งองค์กษัตริย์ทั้งหลายว่าได้รับพระบัญ ชาจากพระผู้เป็นเจ้า แต่อำนาจของเหล่าทรราชนั้นไม่เป็นที่ชัดเจน.

นักเทววิทยาบางคนเชื่อว่า บรรดาทรราชทั้งหลายได้ถูกส่งลงมาโดยพระผู้เป็นเจ้าด้วยเช่นกัน แต่เป็นการส่งลงมาในฐานะที่เป็นการทำโทษ และการต่อต้านภารกิจต่างๆอันถือว่าเป็นบาปอย่างหนึ่งด้วย. นักเทววิทยาบางคนสอนว่า การเชื่อฟังหรืออยู่ในโอวาท เป็นเรื่องที่ต้องยอมให้กับกษัตริย์ต่างๆเท่านั้น, แต่สำหรับพวกทรราชแล้ว มันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่จะขับไล่หรือเข่นฆ่าทรราชได้ด้วยกฎแห่งสวรรค์ และกฎหมายสูงสุด เพราะคนเหล่านี้ปกครองด้วยวิธีการอันรุนแรง และกดขี่ขูดรีดประชาชน.

ด้วยการถือกำเนิดขึ้นมาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16-17 คำสอนในยุคกลางเกี่ยวกับการเข่นฆ่าทรราช(tyrannicide) ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาและได้รับการนำมาใช้อย่างได้ผลมากโดยบรรดาผู้ปกป้องรัฐธรรมนูญ. ดังตัวอย่างเช่น เมื่อรัฐสภาอังกฤษได้บีบบังคับให้ขับไล่ และประหารชีวิตกษัตริย์ Charles ที่ 1 (r.1625-1649). การที่รัฐสภาอังกฤษได้ให้ความเห็นชอบให้กระทำเช่นนั้น เนื่องมาจากว่ากษัตริย์ Charles ที่ 1 ทรงใช้พระราชอำนาจของพระองค์ไปในทางทุจริต มีการใช้ความรุนแรงซ้ำๆซากๆในทางกฎหมายของพระราชอาณาจักร์    จากการกระทำดังกล่าวซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นชัดว่า พระองค์ทรงเป็นทรราช  ดังนั้น พระองค์จึงสมควรต้องได้รับโทษด้วยชีวิตเพียงสถานเดียวเท่านั้น    เพื่อเป็นการชดใช้หนี้กรรมของพระองค์จึงจะเป็นความชอบธรรม.

การประกาศอิสรภาพของชาวอเมริกัน(1776) ชาวอเมริกันยุคแรกที่เข้ามาบุกเบิกทวีป ต้องทนต่อการกดขี่ขูดรีด และปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัฐบาลอังกฤษมาเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงมีการรวมตัวกันเพื่อร้องหาอิสรภาพ การเรียกร้องอิสรภาพนั้นได้อิงอาศัยข้ออ้างเหตุผลที่จะต้องทำการปฏิวัติอเมริกัน โดยการฟ้องร้องในทำนองเดียวกันเกี่ยวกับพระราชบัญญัติที่มีลักษณะ ทรราชของกษัตริย์ George ที่ 3. ด้วยเหตุนี้ การสถาปนาขึ้นมาของรัฐบาลที่ยึดถือหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ จึงเป็นรูปแบบหลักของการเมืองสมัยใหม่ ซึ่งได้เป็นหนี้บุญคุณอย่างมากต่อขนบประเพณี ซึ่งไม่ได้ตัดขาดไปจากยุคโบราณแต่อย่างใดในการต่อต้านระบบทรราช.

และสำหรับคำว่า"ทรราช"นี้ ในตัวของมันเอง มาถึงปัจจุบัน ยังมีสุ้มเสียงบางอย่างที่เป็นแบบฉบับอันเก่าแก่อย่างนั้นอยู่ กล่าวคือ การใช้อำนาจตามอำเภอใจ การใช้อำนาจไปในทางทุจริต. แก่นแท้ใจความสำคัญของคำๆนี้นั้น ก็ยังคงความขัดแย้งร่วมสมัย และยังอยู่กับเราอย่างคุ้นเคยกันต่อไป แต่มันได้เปลี่ยนแปลงชื่อเรียกไปบ้าง กลายเป็นคู่ขัดแย้งกันใหม่ระหว่าง “ระบอบเผด็จการ” กับ “ประชาธิปไตย”.

(อ้างอิง : encyclopedia americana เล่มที่ 27 หน้าที่ 330)

ทรราชในสารานุกรมบริทานนิกา

คำว่า Tyrant หรือ ทรราช / ภาษากรีกคือ TYRANNOS  หมายถึง ผู้ปกครองที่โหดร้ายและกดขี่. สำหรับในยุคกรีกโบราณ คำว่า"ทรราช" หมายถึงนักปกครองซึ่งเข้ายึดครองอำนาจโดยมิได้เป็นไปตามหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ. นอกจากนี้ คำว่า"ทรราช"ยังหมายรวมถึงผู้ปกครองที่รับทอดสืบช่วงอำนาจมาจากนักปกครองคนก่อนที่ได้ยึดอำนาจมาจากกษัตรย์ด้วย.

ในช่วงศตวรรษที่ 10-9 ก่อนคริสตศักราช ระบอบราชาธิปไตยถือเป็นรูปแบบปกติของรัฐบาลในรัฐกรีกทั้งหลาย; แต่ต่อมา ระบบการปกครองโดยชนชั้นสูงได้เข้ามาแทนที่ระบอบราชาธิปไตย ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมาราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ระบบการปกครองโดยชนชั้นสูงนี้ ในตัวของมันเองไม่ได้รับความนิยมมากนักจากชนชาวกรีกในยุคโบราณ. ดังนั้น จึงเปิดโอกาสให้กับคนที่มีความทะเยอทะยานที่จะยึดครองอำนาจ กระทำการยึดอำนาจมาเป็นของตนได้.

การปกครองแบบทรราชต่างๆนั้น ที่รู้จักกันดีที่สุดได้รับการสถาปนาขึ้นมาโดย Cypselus at Corinth และ Orthagoras at Sicyon ในช่วงราวๆ 650 BC. สำหรับใน Asiatic Greece ก็มีทรราชอยู่หลายคนเช่นกัน และที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ Thrasybulus of Miletus (c. 600) . ทรราชทั้งหลายเหล่านี้ บ่อยครั้งได้ถีบตัวขึ้นมาจากพวกชนชั้นสูงชายขอบ ยกตัวอย่างเช่น มารดาของ Cypselus ซึ่งอยู่ในสังกัดของวงศ์ตระกูลการปกครองของ Bacchiads, แต่บิดาของเขาไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากนักปกครองคนใดเลย.

ส่วนสำหรับที่ Sicyon (เมืองโบราณของกรีก), Cleisthenes (รัฐบุรุษแห่งเอเธนส์) ได้มาเป็นผู้ปกครองนับจากช่วงเวลา 600 จนมาถึงราวๆ 570 BC. และรัฐบุรุษที่ปกครอง  Sicyon ซึ่งประสบความสำเร็จมากที่สุดคือ Orthagorids  แต่อย่างไรก็ตาม คนที่ไม่ใช่เชื้อสาย Dorian (Dorian หมายถึง ชนเชื้อสายเฮเลนิคโบราณผู้โค่นล้มอารยธรรมไมซีเนียนลง) กลับแสดงออกถึงความไม่พอใจในการปกครองโดยรัฐบุรุษเหล่านี้ พวกเขามีความแค้นเคืองเนื่องมาจาก การที่พวกเขา้ถูกถอดถอนสิทธิ์และการกีดกันในทางสังคม จากบรรดาบุคคลซึ่งอ้างตนว่าสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์มาจาก Dorian.

นักประวัติศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า กองทหารราบกรีกโบราณซึ่งมีจำนวนมากมายในช่วงต้นของศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้เป็นที่มาของการพัฒนาไปสู่การเกิดขึ้นของชนชั้นชาวนาต่างๆ    ผู้ซึ่งทำหน้าที่รับใช้กองทหารราบอีกทอดหนึ่งและทหารราบเหล่านี้ได้ให้การสนับ สนุนทรราชต่างๆในฐานะนักรบที่ต่อสู้กับพวกชนชั้นสูงทั้งหลาย. แต่ถึงแม้ว่าว่าบรรดาทรราชต่างๆจะใช้ประโยชน์จากกลยุทธต่างๆจากพวกทหารราบ    แต่เป็นไปได้ที่พวกชาวนาจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่แล้วล้วนเป็นพวกอนุรักษ์นิยม พวกเขาไม่ใช่นักปฏิวัติ และก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะทึกทักเอาเองว่า ทหารราบ-ชาวนาได้พัฒนาความสำนึกทางชนชั้นขึ้นมา.

ทรราชทั้งหลาย ในท้ายที่สุด ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นคนที่กดขี่ขูดรีด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบรรดาคู่ปรับทางการเมืองของพวกเขา ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองนั่นเอง. บุตรของ Cypselus คือ Periander ซึ่งปกครอง Corinth ด้วยอำนาจเต็มอย่างบริบูรณ์ แต่ต่อมา 40 ปีให้หลัง เขาก็ได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นตัวอย่างของ”ทรราชที่เลวร้ายมากคนหนึ่ง". สำหรับระบบทรราช Corinthian ได้เริ่มเสื่อมลงในช่วงปลายทศวรรษ 580 ปีก่อนคริสตศักราช หลังจากการตายของ  Periande ไม่นานนัก.

พวก Sparta ได้พัฒนารัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งขึ้นมา ซึ่งระบุว่าพลเมืองทั้งหมดล้วนเป็นทหาร และโดยทางทฤษฎีแล้วผู้คนทั้งหลายต่างมีความเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงระบบทรราช. Peisistratus ได้สถาปนาระบอบทรราชขึ้นมาที่ Athens ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 6; บุตรของเขา Hippias ได้ถูกขับไล่โดยกษัตริย์ Cleomenes I ของ Sparta ในปี 510 ก่อนคริสตกาล. ซึ่งจุดเปลี่ยนอันนี้อาจถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดลงของยุคสมัยแห่งทรราช แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนั้นมิได้หมายความว่า เป็นการสิ้นสุดของระบอบทรราช. ชาวเปอร์เชี่ยนชื่นชอบที่จะควบคุมพวกทรราชแห่งนครต่างๆของ Anatolia ของกรีกเอาไว้, ซึ่งชนชาวเปอร์เชี่ยนได้มีชัยชนะราวๆในปี 540 ก่อนคริสตศักราช.

ในตะวันตก ที่ๆอัตตาธิปไตยแบบทหารหยั่งรากลึกลงไปได้ง่าย, ความนิยมชมชอบเกี่ยวกับตัว Gelon แห่ง Syracuse ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และเขาได้พำนักอยู่ในอาณาเขตอันยิ่งใหญ่บนชัยชนะของเขาที่มีต่อ Carthaginians ที่ Himera ในปี 480 ก่อนคริสตศักราช; น้องชายของเขาและในฐานะผู้สืบทอด, Hieron, ผู้อุปการะแห่ง Pindar และอื่นๆ, มีชัยชนะต่อพวก Etruscans ที่ Cumae ในปี 474 ก่อนคริสตกาล และได้มีการเฉลิมฉลองชัยชนะกันในครั้งนั้น. ในปี 405 ก่อนคริสตศักราช Dionysius I แห่ง Syracuse ซึ่งถือว่ามีอำนาจเต็มมากที่สุด ในบรรดาทรราชทั้งหลาย ได้สถาปนาการปกครองของเขาขึ้นมาครั้งแรกในช่วงวิกฤตของการรุกเข้าไปใน Carthaginian อีกครั้ง.

ในยุค Hellenistic ของกรีก ทรราชบางคนยังคงหลงเหลืออำนาจของพวกตนไว้ในความรู้สึกทางชนชั้น; ส่วนทรราชบางคนเป็นชาวต่างประเทศ เหมือนกับทรราชหลายคนที่ได้รับการสนับสนุนโดยกษัตริย์ Macedonian ใน Peloponnese ในศตวรรษที่ 3. ปรากฏการณ์ทั้งหลายยังคงดำเนินต่อไปตราบนานเท่าที่ประเทศกรีกยังเป็นอิสระ.

ทรราชที่ยิ่งใหญ่หลายคนได้เป็นผู้อุปถัมภ์ที่โดดเด่นเกี่ยวกับงานศิลปกรรมต่างๆ และอาคารสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ. บ่อยครั้งบุคคลเหล่านี้ได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากรัฐธรรมนูญที่เป็นคนของชนชั้นสูงอันคับแคบ ไปสู่รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า, แต่ในหลักการแล้ว ชนชาวกรีกรู้สึกโกรธและแค้นเคืองต่อการปกครองในลักษณะอัตตาธิปไตย ที่นอกกฎหมายของบุคคลเหล่านี้, ด้วยเหตุนี้ ทรราชย์ในช่วงต้นๆจึงเป็นที่มาของคำเรียกที่มีความหมายไปในทางเลวร้าย, และคำว่า tyrannicides (ผู้เข่นฆ่าทรราช) อย่างเช่น Harmodius และ Aristogiton, ผู้ซึ่งได้ฆ่าน้องชายของ Hippias คือ Hipparchus ที่ Athens, จึงได้รับเกียรติอย่างสูงสุด และได้รับการจดจำในประวัติศาสตร์.

Machiavell

ในสารานุกรม Britannica ฉบับเดียวกันนี้ในเรื่อง”ประวัติศาสตร์ปรัชญาการเมืองตะวันตก ช่วงศตวรรษที่ 16-18” โดยเฉพาะในตอนที่ว่าด้วยเรื่อง “Machiavelli” ก็ได้มีการพูดถึงเรื่องของทรราชเอาไว้เช่นกัน คือ...

ในความคิดของนักปรัชญาการเมืองอิตาเลี่ยน Niccol  Machiavelli อาจได้รับการมองว่าเป็นปรัชญาการเมืองแบบทางโลก(secularization)ที่สมบูรณ์. Machiavelli เป็นนักการฑูตและนักบริหารที่มีประสบการณ์ และเมื่อเขาพูดถึงการต่อสู้กันด้วยอำนาจ เขาได้อธิบายว่า การต่อสู้กันด้วยอำนาจนั้น มันได้รับการชักนำขึ้นมาอย่างไรในสมัยเรอเนสซองค์ของอิตาลี, จากการบรรยายถึงเรื่องนี้ทำให้เขาได้รับชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว. แต่อย่างไรก็ตาม เขามิได้ไม่มีแนวคิดอุดมคติเกี่ยวกับสาธารณรัฐโรมัน และเขาชื่นชมต่อจิตวิญญานอันเป็นอิสระของนครต่างๆของเยอรมันและสวิสส์. อุดมคติอันนี้ทำให้เขารังเกียจเดียดฉันท์มากต่อการเมืองต่างๆของอิตาลี ซึ่งเขาได้ทำการวิเคราะห์มันอย่างเป็นวัตถุวิสัย และขจัดมายาภาพต่างๆออกไปจนหมดสิ้น.

งานเขียนในช่วงปลดเกษียณหลังจากการถูกถอดถอนทางการเมือง, Machiavelli ได้พูดอย่างราบเรียบว่า “เมื่ออันนี้ได้รับการยืนยันโดยทั่วไปเกี่ยวมนุษย์, ซึ่งพวกเขาไม่มีความสำนึกในบุญคุณ เอาแน่ไม่ได้ ผิดพลาด ขี้ขลาด มีกิเลสความต้องการ และตราบเท่าที่ท่านประสบความสำเร็จ ทั้งหมดมันคือของๆท่าน; พวกเขาจะให้เลือดของพวกเขากับท่าน, ให้ทรัพย์สมบัติ, ให้ชีวิต, และลูกๆ...เมื่อความต้องการมันอยู่ไกลห่างมากๆ, แต่เมื่อมันเข้ามาใกล้หรือมาถึง พวกเขาก็จะเปลี่ยนมาต่อต้านท่าน. และมันจะเป็นเช่นนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.

เมื่อความปรารถนาของมนุษย์มิได้รับการสนองตอบตามความพึงพอใจ ธรรมชาติจะกระตุ้นและสนับสนุนให้พวกเขาแสวงหาทุกสิ่งทุกอย่างๆ และรวมถึงโชคชะตาด้วย. บางครั้งโชคชะตาได้ให้สัญญาแก่พวกเขาถึงความสนุกเพลิดเพลิน แต่ก็ประสบผลเป็นจริงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นั่นจะส่งผลต่อความไม่พึงพอใจอยู่เสมอในจิตใจของพวกเขา, และสร้างความเกลียดชังในสิ่งที่พวกเขาครอบครองอยู่”

ทัศนะอันนี้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ได้ถูกแสดงออกโดย Plato และ St. Augustine มาแล้ว. Machiavelli ยอมรับข้อเท็จจริงและแนะนำบรรดาผู้ปกครองทั้งหลายให้ปฏิบัติตามหลักการอันนี้. ในเรื่อง The Prince เขาได้กล่าวว่า “จะต้องรวมความเข้มแข็งของสิงโตเข้ากับความหลักแหลม(ฉลาดแกมโกง)ของสุนัขจิ้งจอกเอาไว้ด้วยกัน: เขาจะต้องระมัดระวังตัว ไหวตัว ไร้ความเมตตา และมีความพร้อมทันที ฆ่าหรือขจัดปรปักษ์ หรือทำให้ศัตรูเป็นอัมพาตโดยปราศจากการเตือนให้รู้ล่วงหน้า. และเมื่อเขากระทำการอันใดที่เป็นอันตรายมันก็จะต้องเป็นไปพร้อมกันทั้งหมด. สำหรับมนุษย์แล้ว ควรจะได้รับการปฏิบัติด้วยดีหรือไม่ก็บดขยี้ เพราะพวกเขาสามารถที่จะแก้แค้นและนำอันตรายมาถึงตัวท่านได้เป็นขบวน แต่ถ้าเอาจริงเอาจังพวกเขาจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้. ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าชายหรือนักปกครองที่มีความลังเลใจ ผู้ซึ่งดำเนินรอยตามหนทางที่เป็นกลาง โดยทั่วไปแล้ว จะประสบกับความพินาศ”.

เขาแนะนำว่า มันจะเป็นการดีที่สุดที่จะลงจากอำนาจในช่วงเวลาที่เหมาะสมตอนที่เป็นฝ่ายชนะ และนครต่างๆที่พ่ายแพ้ควรที่จะถูกปกครองโดยตรงโดยทรราชเอง ด้วยการพำนักอยู่ที่นั่นหรือไม่ก็ทำลายมันเสีย. นอกจากนั้น บรรดาเจ้าชาย(นักปกครอง)ไม่เหมือนกับคนที่สันโดษทั่วไป ไม่ต้องรักษาศรัทธาใดๆไว้: นับแต่ที่การเมืองต่างๆได้สะท้อนถึงกฎหมายที่สับสนยุ่งเหยิงและรกรุงรัง รัฐก็คือกฎหมายของตัวมันเอง, และการปกครองที่มีศีลธรรมธรรมดาไม่จำต้องใช้มันแต่อย่างใด.

ในข้อเท็จจริง Machiavelli ได้กล่าวอย่างไม่เกรงกลัวต่อความจริงเกี่ยวกับการประพฤติตัวของบรรดาทรราชทั้งหลาย; และ วิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมของบุคคลเหล่านี้ เขาได้แบ่งแยกระหว่างเจ้าชาย(นักปกครอง)ผู้ซึ่งปกครองโดยกฎหมาย และทรราชซึ่งนำเอากฎหมายมาใช้ตามแต่อารมณ์ของเขา, เขาคิดว่า ผู้ปกครองที่ประสบความสำเร็จจะต้องอยู่เหนือ หรือพ้นไปจากเรื่องศีลธรรม เมื่อความปลอดภัยและการแผ่ขยายของรัฐคือเป้าหมายที่สูงสุด.

ในทัศนะที่สายตาสั้นเช่นนี้, จักรวาลทัศน์(cosmic vision)ของ Aquinas และ Dante จึงถูกมองข้ามและไม่ได้รับความเอาใจใส่, และการเมืองหรือรัฐศาสตร์ จึงกลายเป็นการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด. ในเทอมต่างๆของการอ้างอิง, Machiavelli ได้สร้างกรณีที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่น ในฐานะที่เป็นนักการฑูตที่มีประสบการณ์ เขาตระหนักว่า มีความเป็นไปได้และน่าเชื่อในความเป็นจริงที่ว่า กลโกงและการหลอกลวงที่เป็นระบบ, การทรยศหักหลัง และความรุนแรง ปกติแล้วจะนำมาซึ่งการแก้แค้น และการจองเวร.

(อ้างอิง : Encyclopedia Britannica CD97)

ผู้เผด็จการ(Dictator)

ในสาธารณรัฐโรมัน "Dictator" ถือเป็นผู้ปกครองชั่วคราวซึ่งมีอำนาจพิเศษ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาโดย consul (กงสุล หรือผู้มีอำนาจสูงสุดสองคน ในการปกครองแบบสาธารณรัฐของกรุงโรมสมัยโบราณ)โดยการเสนอแนะของสภาสูง และได้รับการยืนยันโดย the Comitia Curiata (ที่ประชุมประชาชน).

ส่วนคำว่า “The dictatorship” เป็นหน่วยงานทางการที่ถาวรอันหนึ่ง ท่ามกลางรัฐละตินต่างๆ(หมายถึงรัฐโรมโบราณ)ในอิตาลี แต่ที่โรม ได้มีการพึ่งพากองทหารเป็นครั้งคราวตามจังหวะเท่านั้น, และภายหลังในภาวะวิกฤติต่างๆ.

สำหรับช่วงเวลาที่ต้องใช้อำนาจเผด็จการนั้น จะมีระยะเวลาจำกัดเพียงแค่ 6 เดือน, อย่างไรก็ตาม เขา(ผู้เผด็จการ)จะวางอำนาจต่างๆของเขาลงตามธรรมเนียมเร็วที่สุด เมื่อเหตุการณ์วิกฤตได้ผ่านไปแล้ว. หลังจากเหตุการณ์ร้ายแรงผ่านไปแล้ว กงสุลและผู้ปกครองคนอื่นๆจะยังคงอยู่ในสำนักงานเผด็จการ(dictatorship)นั้นต่อไป และจะรับผิดชอบหรือเคารพต่ออำนาจ.

ช่วงประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราช มีการจำกัดขอบเขตของอำนาจเผด็จการ กล่าวคือจะใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัตินอกอาณาเขตของอิตาลี. ยิ่งไปกว่านั้น, ราว 300 BC. ประชาชนมีความปลอดภัยมากขึ้นต่อการจำกัดอำนาจเผด็จการ โดยการควบคุมการใช้อำนาจของบุคคลเหล่านี้ ต่อสิทธิเกี่ยวกับการร้องขอ. ผู้เผด็จการทั้งหลาย ในเวลานั้นจึงได้รับการกล่าวถึง สำหรับหน้าที่ดังกล่าวน้อยลง

การบุกยึด Carthaginian (เมืองโบราณที่เป็นรัฐทางตอนเหนือของแอฟริกาบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทูนิสในปัจจุบัน)ในสงคราม Punic ครั้งที่สอง(218-201 BC.)ได้กระตุ้นให้มีการฟื้นฟูสำนักงานเผด็จการดังกล่าวขึ้นมาชั่วคราว, แต่ภายหลังปี 202 ก็ไม่มีผู้เผด็จการคนใดได้รับการเลือกขึ้นมาอีกไม่ว่าวัตถุประสงค์ใดๆ.

สำหรับอำนาจเผด็จการนั้นได้มีการประสาทให้กับ Sulla และ Julius Caesar ในช่วงสองทศวรรษสุดท้ายของสาธารณรัฐ, ในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล, ไม่มีการบ่งชี้ว่ามีการฟื้นฟูเกี่ยวกับสำนักงานเผด็จการนี้ขึ้นมา แต่ได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับสำนักงานรัฐธรรมนูญพิเศษ(extraconstitutional office)ขึ้นแทน ซึ่งมีอำนาจอันไม่จำกัด. ระยะเวลาของสำนักงานนี้ได้รับการขยายให้ยาวออกไปจนกระทั่ง Caesar ได้มาซึ่งอำนาจเผด็จการ 10 ปี.

ในปี 46 BC. สำนักงานดังกล่าวได้รับการล้มล้างไป ก่อนที่ Caesar จะถูกฆ่าในปี 44 BC.

(อ้างอิง : Encyclopedia Britannica CD97)

บันทึกการเข้า

ลูกไทย หลานไทย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,196


วันนี้วันดี วันที่เป็นไท


« ตอบ #3 เมื่อ: 10-10-2006, 08:43 »

นั่งอ่านต่อฮะพี่ 
บันทึกการเข้า

Ŋēmŏ mē ĩmρưŋē ĺдċęşšįҐ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 10-10-2006, 09:59 »




นั่งอ่านต่อฮะพี่ 

ขอบคุณครับ


อ่านประกอบสั้นๆครับ

What cause corruption or abuser of power? And is conflict of ideas a dangerous thing?

"Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely." This familiar saying originated as a comment in a letter written by Lord Acton, an English historian who lived from 1834 to 1902. His full name was John Emerich Edward Dahlberg Acton. He was a fierce opponent of state power, whether the state was democratic, socialist or authoritarian.

Acton's aphorism has outlasted his other contributions because it captures an insight that rings true to many people. Power certainly seems to corrupt quite a few politicians. Early in their careers, many of them are eager to change the system. They want to help the poor and disadvantaged and to root out corruption and unjust privilege. Yet when they actually get into positions of power, it's a different story. The old slogans become memories. Instead, it becomes a higher priority to placate and reward powerful bureaucracies in both the government and corporate sectors. Most of all, it becomes a priority to increase the power and wealth of politicians themselves.

More generally, the corruptions of power can be minimised by equalising power and opposing social and technological systems that foster power inequalities. This works out the same as opposing systems of domination, inequality and exploitation. In this picture, a free society is a society with the least power differences. This does not mean a stable society of identical citizens. Instead, it could easily be a society seething with action and conflict, precisely because everyone has opportunities to exercise significant power.

The idea of a free society should be seen as a method, not an end point. The idea that "power tends to corrupt" is a guide to action. Policies, technologies and organisational arrangements can be judged to see whether they contribute to equality or inequality of power.

Copy and pasted from http://www.uow.edu.au/arts/sts/bmartin/pubs/98il/il01.html
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 10-10-2006, 10:04 »

กระทู้ "ทรราช" เคยเล่นกันมาพักหนึ่งในราชดำเนิน ข้อมูลอีกด้านน่าจะมีในเว็บ ม. เที่ยงคืน

ทางเว็บเก่าน่าจะมี...
บันทึกการเข้า

Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #6 เมื่อ: 10-10-2006, 10:09 »

อย่ากระแดะยกประวัติศาสตร์ในอดีตมาอ้างอิงเลย

ถ้ายกมามั่ง แล้วจะวงแตก ...


แค่สร้างความชอบธรรมให้กับการยึดอำนาจ ยังใช้มุขโง่ๆเลย
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 10-10-2006, 10:12 »

กระทู้ "ทรราช" เคยเล่นกันมาพักหนึ่งในราชดำเนิน ข้อมูลอีกด้านน่าจะมีในเว็บ ม. เที่ยงคืน

ทางเว็บเก่าน่าจะมี...


ครับ ขอบคุณครับ


นี่ก็อ่าน ประกอบ แต่อย่าไปเชื่อหมอดูทั้งหมด  

ชมบุญทรราชย์


 

 
 

วันนี้ขอยกคอลัมน์ให้โหรสักวัน เพราะท่านอุตส่าห์ เขียนส่งมาให้
 
ไม่ใช่โหรข้างถนนแต่เป็นโหรข้างสนามกอล์ฟ ก็พอเรียกได้ว่าเป็นโหรมีระดับ
 
แค่ชื่อเรื่องก็ชวนอ่านแล้ว ท่านใช้ชื่อว่า “มืออันดับสาม” (ปุโร หิต 399) โดยอ้างอิงอมตพยากรณ์ของ “พลูหลวง” ว่ามาดังนี้
 
อ.พลูหลวง ได้ละสังขารทิ้งร่างไปเมื่อวันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2543 แต่ได้ฝากผลงานโดยเฉพาะการทำนายความเป็นไปของบ้านเมืองได้อย่างแม่น ยำยิ่งกว่าตาเห็น ซึ่งผู้เขียนขอสรุปโดยย่อให้ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ จดจำ และมีความภูมิใจในโหราศาสตร์ไทยตามแนว วิทยาศาสตร์ของอาจารย์ไว้ดังนี้
 
ประเทศสยามถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นประเทศไทยเมื่อ 24 มิถุนายน 2482 ประกาศเวลา 09.00 น. เมื่อผูกดวงกาลชาตาก็จะมีลัคนาอยู่ที่ราศีกรกฎ อาจารย์ได้วิจารณ์ไว้ว่า...
 
“คำว่าสยามหรือเสียมเป็นคำที่สำคัญที่สุด เพราะมาควบคู่กับความรุ่งโรจน์ของราชอาณาจักรทุกยุคทุกสมัย การเปลี่ยนชื่อประเทศซึ่งเท่ากับการทำลายเอกลักษณ์ของชาติ เป็นการฉีกประวัติศาสตร์โดยสิ้นเชิง”
 
อ.พลูหลวงได้พยากรณ์ดวงชาตาการเปลี่ยนชื่อจากสยามมาเป็นไทยไว้ดังนี้
 
1. ยุคกาลี 2. มิตรมาเยือน 3. เฉือนดินแดน 4. แสนแค้นกลางเขาควาย 5. ลายเสือครองเมือง 6. ฟูเฟื่องชาวสังคม 7. ชมบุญทรราชย์   8. ชาติวิปโยค 9. โรคคลาย 10. หายกังวล
 
จะเห็นว่าอาจารย์ได้แบ่งออกเป็น 10 ยุคในรอบร้อยปี โดยแต่ละยุคมีอายุ 10 ปี นับแต่มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ
 
ผู้เขียนได้เคยแอบทักท้วงอาจารย์ว่า ในยุคที่ 7 (หลังจากเปลี่ยนชื่อได้ 60-70 ปี) ซึ่งจะตกอยู่ราว พ.ศ. 2542-2552 ว่า ไม่น่ามี “ทรราชย์” เหลืออยู่
 
แต่กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ในปัจจุบันเราอยู่ในยุค “ชม บุญทรราชย์” จริง
 
เพราะ “ทรราชย์” หมายถึง ระบบการปกครองที่ผู้ปกครอง (ทรราช) บ้านเมืองใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน เรียกลัทธิเช่นนี้ว่า “ทรราชย์”
 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับครูที่ จ.นราธิวาส อันมีดาวเสาร์เป็นดาวประจำเมือง บวกกับอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ อันมีดาวจันทร์เป็นดาวประจำเมือง ทำให้ประชาชนทั้งประเทศมีแต่ความเศร้าหมอง
 
มีแต่เขาคนเดียวเท่านั้นที่ยิ้มร่า โบกมือให้สื่อมวลชนเข้าทำเนียบ แถมยังมีทาสรับใช้ทรราชย์ออกมาดี๊ด๊าเริงร่า ยิ้มรับเงินทุน ที่หวนกลับมาอีกครั้ง
 
น่าอนาถสำหรับคนไทยในยุคนี้ เพราะอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2553) ก็ต้องเจอกับยุคชาติวิปโยคไปอีก 10 ปี
 
ซึ่งคงจะเกิดจากรอยช้ำที่ “ทรราชย์” ทิ้งไว้
 
อย่างไรก็ตาม พระท่านสอนไว้ว่า ถึงเราจะแพ้ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ขอเราอย่าได้พ่ายใจตัวเอง
 
และที่แน่ ๆ ก็คือต้องตั้งใจถือศีล 5 กันทั้งชาติ เพราะศีล 5 คือยุทธศาสตร์ของมวลมนุษย์
 
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคติ ยันติ (คนจะเกิดในที่ดีได้ก็เพราะศีล)
 
สีเลนะ โภคะสัมปะทา (คนจะสมบูรณ์พร้อมด้วยโภคทรัพย์ได้ก็เพราะศีล)
 
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะโย (คนจะบรรลุนิพพานได้ก็เพราะศีล)
 
บอกให้ขนาดนี้แล้ว ยังจะเป็นทาสรับใช้ทรราชย์อีกต่อไปก็เชิญเถอะครับ
 
จบข้อเขียนของ “มืออันดับสาม” หัวข้อ “ชมบุญทรราชย์” เพียงแค่นี้
 
นี่มิต้องนั่งชมบุญกันไปถึงปี 2552 กันเลยเชียวหรือ นานเกินไปหรือเปล่า
 
มีวิธีแก้อย่างไรหรือแก้อะไรไม่ได้เลย น่าจะบอกมาด้วย จะได้ทำใจกันไว้.
 
 
 http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=22251&NewsType=2&Template=1&point=2
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 10-10-2006, 10:18 »

อย่ากระแดะยกประวัติศาสตร์ในอดีตมาอ้างอิงเลย

ถ้ายกมามั่ง แล้วจะวงแตก ...

กลับไปอ่านหัวกระทู้ใหม่ หลงทางแล้ว


แค่สร้างความชอบธรรมให้กับการยึดอำนาจ ยังใช้มุขโง่ๆเลย


ฝากคิลเลอร์อ่านเพลินๆ ถ้าคิดอะไรไม่ออกก็หุบปากไว้อย่าโชว์โง่ 

สามทรราชย์   http://www.prachatai.com/05web/th/columnist/view.php?SystemModuleKey=Column&ContentID=1265&ColumnistID=68&ID=68

เมื่อโจรชั่ว ขึ้นครอง กระทรวงทรัพย์
กาลวิบัติ ก็ซัดโถม และฉ้อฉล
เมื่อสามชั่ว ขึ้นนั่ง บัลลังก์บน
อิทธิพล อันธพาล จึงกร่างเมือง

ทั้งถ่***เถื่อน ต่ำช้า ก็ปรากฏ
ทรยศ ชาวประชา คอยหาเรื่อง
กระทรวงทรัพย์ คอรัปชั่น อยู่เนืองเนือง
ยุทธ - ปลอด - เอี้ยง เลี้ยงไม่เชื่อง เหมือนหมาเรา

มาเถิดมา มวลพี่น้อง มาไล่ แลน*
มาจับแขน ตัวบงการ คอยเสี้ยมเขา
เอามันมัด จับประจาน ตัวมืดเมา
ต้อนมันเข้า ขึ้นศาล ประชาชน

จำเลยที่หนึ่ง คือ ย.ยุทธ
ศาลสูงสุด จะตัดหัว ตัวหน้าขน
เหตุยุยง เสี้ยมประชา ให้ฆ่าคน
แล้วเอาเลือด มารหน้าขน ล้างมลทิน

จำเลย คนต่อมา คือ ดำปอด*
เป็นโจรยอด ขันทีทราม นามกังฉิน
ไล่ชาวดอย สอยชาวเล ไร้แผ่นดิน
ต้องตัดลิ้น เปรตประสพ สยบมาร

จำเลย คนสุดท้าย ไอ้ควาย เอี้ยง
ตัดสินเปรี้ยง เยี่ยงขบถ ต้องประหาร
ทั้งรูปชั่ว ตัวดำ ซ้ำสามานย์
แล้วแขวนหัว อุทยาน ประจานชน

เมื่อตัดสิน สิ้นสาม ทรราช
อย่าได้พลาด ตามหัวหน้า สัตว์หน้าขน
ไปยึดทรัพย์ นับล้านโกฐ ช่วยคนจน
เมืองไทย ถึงข้ามพ้น อาเพศภัย

เมื่อสิ้นเสีย หัวหน้าโจร ทรราชย์
ให้ปลดปล่อย ประชาชาติ จากแอกไถ
ให้ปลดหนี้ คืนถิ่น แผ่นดินไท
ประชาชน จึงเป็นใหญ่ ในแผ่นดิน

แลน ภาษาใต้แปลว่า xxx ,ตะกวด / ดำปอด ภาษาเหนือ แปลว่า หมาหรือสุนัข
ภราดร-ติภาพ / สิ้นมกราสองพันหก


 
 
  วันที่   3/2/2549 22:37 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 10-10-2006, 10:28 »

ต้านอำนาจรัฐ  http://www.prachatai.com/05web/th/columnist/viewcontent.php?SystemModuleKey=Column&System_Session_Language=Thai&ColumnistID=68&ContentID=1104&ID=68
 
-1-

 
กี่ยุคสมัย - - จากอดีตถึงปัจจุบัน

ความฝันของชาวนา  ยังคงเหมือนเดิม

ขอเพียงมีข้าวเต็มยุ้ง  มีผืนนาไว้ไถหว่านเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว

แต่ก็อีกนั่นแหละ,  ความฝันพลันสิ้นสูญ

เมื่อนายทุนเข้ามากอบโกยไปต่อหน้าต่อตา

ยุ้งฉางว่างเปล่า  ที่นาหลุดลอย...

 

หรือประเทศไทยคือความแตกต่าง

ความเป็นธรรม  ความเท่าเทียมถูกทิ้งขว้าง

ระหว่างชนชั้นถูกพอกพูนในสังคมจนแน่นหนา

ยากนักจักฝ่าข้ามไปถึงได้...

นักการเมืองนักปกครองมีเงินทองหมื่นแสนล้าน

ประชาชนล้มลุกคลุกคลานทุกข์ยากในชีวิต

แต่ก็อีกนั่นแหละ, มีคนบอกว่าเขาบกพร่องโดยสุจริต

และนี่คือผลิตผลแห่งความชอบธรรมของรัฐบาลในยุคนี้

 

ปราชญ์ท่านหนึ่งใครกล่าวว่าไว้...

เหล่านักปกครองใดมีความมั่งคั่งมีทรัพย์สมบัติมากจนเกินการ

ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี  ดื่มกินอิ่มหนำสำราญอย่างฟุ่มเฟือย

สะพายดาบแห่งอำนาจ  ใช้ชีวิตอย่างฉ้อฉล

หากประชาชนนั้นท้องกิ่วหิวโหย 

ไร่นารกร้าง  ยุ้งฉางว่างเปล่า

เราอาจเรียกเหล่านักปกครองนั้นได้ว่า - - “มหาโจร!”

 

หมายเหตุ เรียกทรราช ชัดเจนกว่า    
 


ผมเขียนงานชิ้นนี้เอาไว้นานหลายปีแล้ว  ทว่ายังคงเป็นจริงอยู่อย่างนั้น  ไม่เปลี่ยนแปลง  ทำให้ต้องค้นหาเอามาอ่านย้ำซ้ำ ๆ  อีกหน  และเชื่อได้เลยว่า  มันจะต้องเป็นเช่นนี้ต่อไป  ตราบใดที่อำนาจรัฐที่ขาดความชอบธรรมยังคงลอยวนอยู่เหนือทั่วผืนแผ่นดิน  คลอบคลุมวิถีการดำรงอยู่ของประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศให้ยินยอมจำนนจองจำโดยไร้สิทธิการโต้แย้งใด ๆ

-2-

 “...ที่จริงแล้ว  รัฐบาลนั้นเป็นเพียงแค่เครื่องมือซึ่งประชาชนเลือกขึ้นมาเพื่อกระทำตามเจตจำนงขอมหาชน  ทว่าเครื่องมือนั้นกลับบิดเบี้ยวฉ้อฉลไปเสียก่อน  ที่จะได้สนองเจตนารมย์ของประชาชน...” นั่นเป็นถ้อยคำของเขา- -เฮนรี่  เดวิด ธอโร  ในความเรียงที่ชื่อ “ต้านอำนาจรัฐ”

 

“เฮนรี่  เดวิด ธอโร  เป็นใคร?...”

เชื่อว่าใครหลายคนคงจะรู้จักเขาในงานนิพนธ์ที่ชื่อ “วอลเดน” อันลือชื่อ  ใช่  ถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของเขาที่คนทั่วโลกรู้จัก  เมื่อเขาพาตัวเองไปพักอาศัยอยู่กลางป่าริมบึงวอลเดน   และลงมือสร้างกระท่อมเพื่อทดลองใช้ชีวิตพึ่งตนเองอย่างสงบ  สมถะ  เรียบง่าย ทว่าเมื่อเขาออกมาพร้อมกับงานนิพนธ์ชุดนี้  หลายคนรับรู้ว่า  งานชิ้นนี้ทรงพลังอย่างยิ่ง

 

เหมือนกับงานความเรียง ชื่อ  “ต้านอำนาจรัฐ”  ที่ผมหยิบเอามาอ่านอีกครั้ง

ว่ากันว่า  งานเขียนของธอโรมีทั้งความสำคัญ  และความยิ่งใหญ่อยู่ในตัวเอง

 

วีระ  สมบูรณ์  ได้เขียนคำนำเอาไว้ในหนังสือชื่อ “ต้านอำนาจรัฐ”  นี้ว่า  ประเด็นต่าง ๆ ที่เขาหยิบยกขึ้นมานั้น  นอกจากจะท้าทายและเสนอแนะให้แก่คนร่วมยุคสมัยแล้ว  ยังเกี่ยวพันกับปัจจุบันอย่างไม่ล้าสมัย  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องคุณค่าของมนุษย์  ศักดิ์ศรีและวิถีชีวิตของมนุษย์  สังคม  อำนาจรัฐ  ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

 

ดังที่ข้อเขียนที่สำคัญที่ของเขาสองชิ้น คือ วอลเดน (แปลเป็นไทยโดย  สุริยฉัตร  ชัยมงคล  )  และต้านอำนาจรัฐ (แปลโดย  พจนา  จันทรสันติ)  จัดพิมพ์โดยโครงการจัดพิมพ์คบไฟ  มูลนิธิโกมลคีมทอง ที่ยังคงเป็นที่นิยมอ่านและกล่าวขวัญถึงอย่างไม่เสื่อมคลาย

 

“ความยิ่งใหญ่ของงานเขียนของเขา  อยู่ที่สำนวนการเขียนและลีลาการนำเสนอ  ซึ่งตรงไปตรงมา  เข้มข้น  แต่ขณะเดียวกันก็สละสลวยและกระตุ้นเร้าจินตนาการ  ธอโรไม่ใช่นักวิชาการที่รอบรู้  ไม่ใช่กวีที่โดดเด่น  ไม่ใช่ปัญญาชนนักวิจารณ์  ไม่ใช่ศาสดาผู้ไขคำตอบ  นอกจากนี้  ความคิดของเขาก็ไม่ใช่ต้นแบบ  ไม่ใช่คำตอบหรือทางออกที่ชัดเจนสวยหรู  แต่งานเขียนที่สามารถเขย่าความรู้สึกนึกคิดของผู้คนได้อย่างถึงรากถึงโคน” วีระ  สมบูรณ์  พูดถึงเขา

 
-3-

 
เมื่อธอโรพูดถึงเรื่อง อำนาจรัฐ

ธอโร บอกว่า...เมื่อใดที่อำนาจตกไปอยู่ในมือของประชาชนแล้ว  เมื่อนั้นคนหมู่มากก็จะได้ทำการปกครองอย่างต่อเนื่องยาวนาน  นั่นมิใช่เพราะว่าการเป็นฝ่ายข้างมากเป็นความชอบธรรม  ทั้งมิใช่ดูยุติธรรมดีแล้วในสายตาของฝ่ายข้างน้อย  แต่เป็นเพราะเหตุว่า  ฝ่ายข้างมากนั้นมีกำลังเข้มแข็งที่สุด 

 

ทว่ารัฐบาลซึ่งปกครองโดยคนหมู่มากส่วนใหญ่แล้ว  เท่าที่เห็นมาก็ไม่อาจยึดมั่นอยู่ในบรรทัดฐานแห่งความยุติธรรมได้  จะมีรัฐบาลใดไหมที่คนหมู่มากมิได้กระทำการตัดสินถูกผิดชั่วดีลงไปอย่างเด็ดขาด  แต่ปล่อยให้เป็นเรื่องของมโนธรรม  จะมีรัฐบาลใดไหมที่เสียงข้างมากตัดสินแต่เพียงเรื่องที่เกี่ยวพันกับการอำนวยผลประโยชน์  ควรหรือที่ประชาชนพลเมืองจะยอมสละละมโนธรรมของตนให้แก่ผู้ออกกฎหมาย  แม้แต่เพียงชั่วอึดใจหนึ่งหรือชั่วพริบตาหนึ่ง 

 

“ซึ่งถ้าเป็นดังนั้นแล้ว  มนุษย์จะมีมโนธรรมไว้เพื่อสิ่งใดกันเล่า  ข้าพเจ้าคิดว่า  เราควรจะเป็นมนุษย์ก่อนสิ่งอื่นใด  และเป็นพลเมืองในอันดับถัดไป  คงจะไม่ถูกต้องนักที่ที่จะมอบที่จะมอบความเคารพให้แก่กฎหมายยิ่งกว่าความถูกต้องเที่ยงธรรม”

 

เมื่อธอโร  พูดถึงเรื่อง พรรคการเมือง

เขาบอกว่า  มีคำกล่าวอยู่ว่า  พรรคการเมือง  นั้นหามีมโนธรรมใด ๆ  ไม่  คำกล่าวเช่นนี้นับว่าจริงแท้  ทว่าพรรคการเมือง  ซึ่งประกอบขึ้นด้วยบุคคลซึ่งเปี่ยมมโนธรรม  ย่อมนับเป็นพรรคการเมืองซึ่งมีมโนสำนึกได้  กฎหมายนั้นไม่อาจทำให้คนมีความเที่ยงธรรมมากขึ้นมาได้แม้แต่เศษธุลีหนึ่ง  และด้วยเหตุแห่งการถือเคร่งในตัวบทกฎหมายนี้เอง  แม้แต่คนดี ๆ  เอง  ก็ยังกลายเป็นตัวแทนของความอยุติธรรมอยู่ได้ทุกวี่วัน

 

เมื่อพูดถึงเรื่อง  การเลือกตั้ง 

ธอโร บอกว่า  การเลือกตั้งทุกชนิดนั้นเป็นเหมือนกับเกมการเล่นชนิดหนึ่ง  เหมือนกับหมากรุกและสกา  ซึ่งมีศีลธรรมเจือเป็นกระสายอยู่เล็กน้อย  เป็นการเล่นกับเรื่องถูกเรื่องผิด  เล่นกับปัญหาด้านศีลธรรม  และก็มักจะมีการพนันขันต่อติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

 

“ซึ่งในการนี้  ผู้ออกเสียงเลือกตั้ง  ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงใด ๆ  เลย  ฉันเพียงแต่ลงคะแนนเสียงดังที่ฉันคิดว่าเหมาะสมที่สุด  แต่ฉันก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบว่า  สิ่งที่ฉันคิดว่าถูกต้องที่สุดนั้นจะคงเส้นคงวาหรือไม่  เพราะนั่นเป็นเรื่องที่มหาชนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ” 

 

เมื่อธอโร  พูดถึงเรื่อง ความรักชาติ

“...ความผิดที่ได้รับการยอมรับและกระทำกันอย่างกว้างขวางนั้น  ย่อมต้องอาศัยคุณความดีชนิดไม่เห็นแก่ตัวคอยหล่อเลี้ยง  ความรักชาติอาจนำมาซึ่งการกระทำอันน่าตำหนิได้ไม่ยาก  และยิ่งมีจิตใจสูงส่งกลับยิ่งทำได้ง่ายเข้าไปใหญ่  ใครก็ตามที่ประณามพฤติกรรมการกระทำของรัฐบาล  แต่กลับยังให้ความภักดีและการสนับสนุน  ก็คือผู้สนับสนุนรัฐบาลนั้นอย่างเต็มใจที่สุดนั่นเอง  และพวกนี้แหละ  ที่มักเป็นอุปสรรคที่ร้ายแรงที่สุดต่อการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง...”

 

ธอโร  ยังมองรัฐบาลเป็นเพียงเครื่องจักร 

เขาบอกว่า  ถ้าหากว่า  ความอยุติธรรมเป็นส่วนหนึ่งของแรงเสียดทานและความสึกหรอของเครื่องจักรรัฐบาลนี้  ก็ช่างหัวมันเถอะ  ช่างมัน  เพราะบางทีเครื่องจักรนี้อาจเดินได้อย่างราบเรียบอีกครั้ง  หรือไม่ก็พังพินาศไปเลยก็เป็นได้  ถ้าหากว่าความยุติธรรมนี้มีสปริง  มีรอก  สายพานหรือเพลาอยู่ในตัวของมันเอง  ท่านก็อาจพิจารณาดูได้ว่า  การแก้ไขนั้นควรจะหนักเบาสถานใด 

 

“แต่ถ้าหากว่าถึงขนาดที่ทำให้ท่านต้องกลายเป็นแทนของความอยุติธรรมที่กระทำต่อผู้อื่นด้วยแล้วไซร้  ข้าพเจ้าก็ขอบอกว่า  จงขัดขืนต่อกฎหมายชนิดนั้น  ขอให้ชีวิตของท่านเป็นแรงเสียดทานที่จะหยุดเครื่องจักรนั้นเสีย  เพราะสิ่งที่ข้าพเจ้าใส่ใจเหนือสิ่งอื่นใด  ก็คือจะไม่ยอมให้รัฐหยิบมือข้าพเจ้าไปกระทำในสิ่งผิด  ซึ่งตัวข้าพเจ้าเอง ประณามหยามเหยียด”

 

“รัฐนั้นไม่เคยกล้าเผชิญหน้ากับจิตสำนึกของมนุษย์โดยตรงเลย  ไม่ว่าจะเป็นจิตสำนึกทางศีลธรรมหรือสติปัญญา  ทว่ากลับถือเอาร่างกายของมนุษย์เป็นดุจดังจิตสำนึก  รัฐนั้นมิได้มีสติปัญญาหรือความสัตย์ซื่อเที่ยงธรรมเป็นอาวุธ  ทว่ากลับมีพลังทางกายที่เหนือกว่า  แต่ข้าพเจ้าก็มิได้เกิดมาเพื่อที่จะถูกย่ำยีบีฑา  ข้าพเจ้าจะหายใจอยู่ด้วยหลักการของตนเอง  ขอให้ลองดูกันต่อไปเถิดว่า  ใครจะเป็นผู้แข็งแกร่งที่สุด  มหาชนจะมีพลังอำนาจเยี่ยงไรเล่า” 

 

แน่นอน - - ธอโร ได้พูดถึงเรื่อง การปฏิวัติ

“มนุษย์ทุกคนย่อมตระหนักได้ถึงสิทธิอันชอบธรรมแห่งการปฏิวัติ  นั่นก็คือ  สิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมภักดีและต่อต้านขัดขืนต่อรัฐบาล  เมื่ออำนาจเผด็จการและความเหลวแหลกของมันไปถึงจุดที่ไม่อาจทนทานได้...”

 

“...ทว่าเมื่อใดที่เครื่องจักรนั้นผุกร่อนสึกหรอจนหมดสภาพ  เมื่อใดที่การกดขี่ข่มเหง  การเบียดเบียนได้ผนึกรวมตัวเป็นขุมกำลังกล้าแข็ง   ข้าพเจ้าก็อยากจะบอกว่า  ขอให้เราเลิกใช้เครื่องจักรเครื่องนั้นได้แล้ว...”

 

“ขณะที่ทั่วทุกหย่อมหญ้ายังถูกความอยุติธรรมปกคลุมครอบงำอยู่  และถูกยึดครองอยู่ด้วยกองทัพต่าง ๆ  และยังถูกอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกกระนี้แล้ว  ข้าพเจ้าคิดว่าภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้  คงจะไม่เป็นการเร็วเกินไปสำหรับคนผู้ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง  ที่จะทำการกบฏและปฏิวัติต่อต้าน...”

 

เมื่อผมหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านอีกรอบ  แล้วย้อนกลับมามองอำนาจรัฐการเมืองของไทยในห้วงขณะนี้  ช่างตรงและสอดคล้องอย่างไม่น่าเชื่อ  กับความเรียงชิ้นนี้   “ต้านอำนาจรัฐ”  ของ  เฮนรี่  เดวิด  ธอโร  ซึ่งเขียนเอาไว้เมื่อ ปี ค.ศ.1849

 

และเมื่อมาถึงตอนนี้  ผมเริ่มเชื่อในคำกล่าวของปราชญ์ท่านหนึ่งที่เคยว่าไว้...

เหล่านักปกครองใดมีความมั่งคั่งมีทรัพย์สมบัติมากจนเกินการ

ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี  ดื่มกินอิ่มหนำสำราญอย่างฟุ่มเฟือย

สะพายดาบแห่งอำนาจ  ใช้ชีวิตอย่างฉ้อฉล

หากประชาชนนั้นท้องกิ่วหิวโหย 

ไร่นารกร้าง  ยุ้งฉางว่างเปล่า

เราอาจเรียกเหล่านักปกครองนั้นได้ว่า - - “มหาโจร!”
 
หมายเหตุ เรียกทรราช ชัดเจนกว่า    
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-10-2006, 10:32 โดย Q » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 10-10-2006, 10:42 »

เกี่ยวกับจริยธรรม 

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000025229
.. ....
แต่จริงๆ แล้ว จริยธรรมเป็นแค่เรื่องของความรู้สึกจริงหรือ?

เมื่อพูดถึงเรื่องจริยธรรม มีประเด็นที่เราต้องพิจารณาอย่างน้อย 3 ประเด็น คือ

1. บรรทัดฐานทางจริยธรรม

2. ข้อเท็จจริงของพฤติกรรมทางจริยธรรม

3. เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรม

ส่วนเกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรม คือเกณฑ์ตัดสินว่าอะไร ถูก ผิด ควร ไม่ควร มีการใช้กันหลายเกณฑ์ เช่น.-

1. ใช้ความเห็นส่วนบุคคล (individual relativism)

2. ใช้ความเชื่อหรือบรรทัดฐานทางสังคม (social relativism)

3. ใช้ตัวการกระทำที่มีค่าถูก ผิดในตัวเอง (absolutism)

4. ใช้ผลของการกระทำ (utilitarianism)

5. ดูเจตนา ตัวการกระทำ และผลของการกระทำรวมกัน (พุทธศาสนา)

ทีนี้คำถามเรื่องจริยธรรมของนายกฯ ทักษิณ ก็มีร้อยแปดพันเก้ากรณี แต่เราจะลองพิจารณาแค่กรณีเดียวคือ กรณีขายหุ้นชินคอร์ป แอมเพิล ริช

การขายหุ้นชินคอร์ป แอมเพิล ริช เป็นข้อเท็จจริง (fact) แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต่างจากข้อเท็จจริงของ “น้ำเดือดที่อุณหภูมิร้อยองศาฯ” เพราะข้อเท็จจริงของน้ำเดือดเราตัดสินเพียงชั้นเดียวคือ ตัดสินว่ามันจริงหรือเท็จเท่านั้น

แต่การขายหุ้นชินคอร์ปต้องตัดสิน 2 ชั้น นอกจากจะตัดสินในเชิงข้อเท็จจริงว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ถูก หรือไม่ถูกกฎหมายอย่างไรแล้ว เนื่องจากเกี่ยวพันกับธุรกิจของครอบครัวผู้นำประเทศ จึงต้องนำข้อเท็จจริงดังกล่าวไปผูกโยงกับสถานภาพ และบรรทัดฐานทางจริยธรรมของผู้นำที่ดีเพื่อพิจารณาตัดสินในทางจริยธรรมว่าควรหรือไม่อย่างไรด้วย

ดังนั้น การขายหุ้นชินคอร์ปนอกจากเป็นข้อเท็จจริงทางกฎหมายแล้ว ยังเป็นข้อเท็จจริงของพฤติกรรมทางจริยธรรมอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
. .. ...


เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นำประเทศที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับคำถามทางจริยธรรมอย่างตรงไปตรงมา จึงเป็นผู้นำที่ไม่สง่างาม และหมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศอีกต่อไป!
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 10-10-2006, 10:58 »



คำถามที่ควรพยายามตอบคือ

1.ทรราช ที่ไม่ถูกรัฐประหารมีหรือไม่?
2.หากไม่ใช่ทรราช ทำไมจึงถูกรัฐประหาร?
3.การเลือกตั้งป้องกันทรราชย์นิยมได้จริงหรือ
4.ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นจากทรราชย์นิยม?
5.ประชาธิปไตยที่ไร้ทรราชย์จะต้องทำอย่างไร?
6.ถ้าหากไม่มีทรราชย์ในสังคมไทย การรัฐประหารจะเกิดขึ้นสำเร็จหรือไม่?
7.ทำอย่างไรจะไม่มีรัฐประหารในเมืองไทยได้อีก จะป้องกันรัฐประหารที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างไร?

                                                                                                                                               

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 10-10-2006, 11:50 »

คำถามเพิ่มเติม

8.ทรราชย์นิยม มักจบด้วยการรัฐประหารเสมอ :อะไรชี้ชัดว่าทักษิณคือสัญญลักษณ์ของทรราชย์นิยม?
9.ใครคือผู้ที่ต่อสู้กับทรราชและพวกทรราชย์นิยมบ้าง?
10.เมื่อไรสังคมไทยจะมีชัยต่อพวกทรราชย์นิยมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มีเงื่อนไขได้อย่างไรบ้าง แบบไหนดีที่สุด?
   
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 10-10-2006, 12:01 »

แถมความคิดของนิธิ สักหน่อย ไม่นานมานี้ครับ

http://www.carefor.org/th/content/view/1390/56/

นิธิ เอียวศรีวงศ์
....
เพราะสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างยิ่งนั้นไม่ใช่ทักษิณ แต่คือ "คนอย่างทักษิณ" ต่างหาก

.....
ฉะนั้น การกดดันขับไล่ทักษิณให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ จึงเป็นเพียงการขับไล่สัญลักษณ์ ไม่ใช่ขับไล่ความอยุติธรรมและความป่าเถื่อนของอำนาจ ซึ่งพร้อมจะกลับมาครอบงำคนไทยได้อีกเสมอ


_________________________
มติชน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 26 ฉบับที่ 1332
บันทึกการเข้า

ยามเฝ้าแผ่นดิน
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 386


รักพ่อ อย่าพายเรือให้โจรนั่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 10-10-2006, 12:02 »

อย่ากระแดะยกประวัติศาสตร์ในอดีตมาอ้างอิงเลย

ถ้ายกมามั่ง แล้วจะวงแตก ...


แค่สร้างความชอบธรรมให้กับการยึดอำนาจ ยังใช้มุขโง่ๆเลย

คิลเลอร์รู้ไม่จริงนี่หว่า ด่าเก่งอย่างเดียว
บันทึกการเข้า


จงอย่าเกรงกลัวทรราช เพราะทรราชกลัวเกรงพลังประชาชน
beamking85@hotmail.com
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 10-10-2006, 12:41 »



11.ฝากข้อสรุปทิ้งท้ายนะครับ  ทรราชย์นิยม หากไม่จบด้วยการรัฐประหาร ก็จะต้องจบด้วยการศึกสงครามหรือการนองเลือด สงครามกลางเมืองเสมอ จริงไม่จริงลองพิจารณาดูได้เสมอครับ
                                                                   
บันทึกการเข้า

jack8923
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


« ตอบ #16 เมื่อ: 10-10-2006, 13:30 »

ไม่เห็นมีประโยชน์เลยครับ มีความรู้มาก แต่ถ้าเป็นความเห็นที่ผิดก็แย่นะครับ
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 10-10-2006, 15:20 »


มีเอกสารมาเพิ่มเติมให้อ่านครับ เพื่อหาวิธีต่อต้านทรราชย์นิยม และการรัฐประหาร
                                                                                                                         



“ท็อปบูต” เริ่มกระเพื่อม-เก็บข้อมูลยุทธวิธีรัฐประหาร!  http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000163530&CommentPage=4&
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 พฤศจิกายน 2548 19:39 น.
 
 
 
               “นักวิชาการ” ปูด “ท็อปบูต” เริ่มเคลื่อนไหวศึกษาช่องทางรัฐประหารจากอาจารย์กฎหมายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เหตุเพราะสุดทนกับพฤติกรรมรัฐบาลชุดนี้ เตือนระวังติดกับดักตัวเองที่พยายามปิดกั้นเสรีภาพสื่อ ระบุหากยังไม่ฟังใครก็ไม่แน่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ด้าน “เหยื่อไฟใต้” ครวญในเวทีรำลึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ มธ. ระบุความสูญเสียทั้งหมดของ ปชช.ที่ผ่านมา ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
       
       
       วันนี้ (26 พ.ย.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ประสบการณ์เยอรมัน ญี่ปุ่นและไทย สันติภาพ สงครามและการฟื้นฟู บทเรียนจากอดีตสู่การแสวงหาแนวทางในปัจจุบัน” โดยมีนักวิชาการจากญี่ปุ่น และเยอรมนี นักวิชาการ และผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนในภาคใต้เข้าร่วม
       
       นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทุกสังคมไม่อยากจำทุกเรื่องราวของเจ็บปวด รวมทั้งสังคมไทยด้วย เพราะมีแต่ความเจ็บปวด อีกทั้งเป็นเรื่องของทัศนคติที่ไม่อยากรับความจริงว่าเป็นผู้สูญเสียหรือถูกกระทำ โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการศึกษา หรือวัฒนธรรม ไม่มีนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้ความเป็นมาของสงคราม เพราะมีนโยบายที่ไม่อยากเผชิญหน้ากับความจริง นั่นจึงเป็นที่มาที่คนไทยไม่มีความจำร่วมกับสถานการณ์ที่เพิ่งจะเกิดสิ้นและสิ้นสุดลงอย่างสงครามโลกครั้งที่ 2
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการประชุมนั้นมีการแบ่งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนถึงที่มาของสงครามและความรุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าสงครามเกิดจากความขัดแย้งที่มักนำข้ออ้างของผลประโยชน์มาเป็นชนวนของการก่อสงคราม ทั้งนี้ ยังมีผู้สูญเสียจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาแลกเปลี่ยนเพื่อให้ผู้ร่วมประชุมได้รับรู้ความรู้สึกของผู้สูญเสีย
       
       ผู้สูญเสียน้องชายจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้า สภ.อ.ตากใบ กล่าวว่า หลังจากต้องสูญเสียน้องชายไปมันทำให้รู้สึกเจ็บใจ เสียใจ เพราะเราต้องเสียเขาไปโดยที่เขาไม่มีความผิด แต่ต้องสังเวยชีวิตให้กับความรุนแรงและไม่มีใครรับผิดชอบ และเมื่อเดือนที่ผ่านมาก็มีญาติอีกคนหนึ่งต้องตายไปเพราะถูกยิงโดยที่เขาไม่ได้ทำความผิดเหมือนกัน เขาเป็นชาวบ้านธรรมดา แต่ต้องสังเวยชีวิตไป
       
       “อยากจะถามเหมือนกันว่าใครเป็นผู้กระทำ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วเราจะเรียกร้องความยุติธรรมจากใคร ขณะนี้ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ไม่มีรอยยิ้มมันมีแต่ความรุนแรง มีแต่น้ำตาและคราบเลือด ช่วยไปบอกใครก็ได้ให้นำรอยยิ้มกลับมาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ผู้สูญเสียจากน้องชายจากเหตุการณ์ตากใบ กล่าว
       
       ด้านผู้สูญเสียพี่ชายจากเหตุการณ์ยิงถล่มมัสยิดกรือเซะ กล่าวว่า ไม่อยากจะนึกถึงความเลวร้ายนั้นอีกแล้ว เพราะนึกขึ้นมาก็ไม่ส่งผลอะไร แต่ภายหลังเหตุการณ์เกิดขึ้นหลายคนก็ได้รับการเยียวยาจากผลกระทบ ซึ่งเป็นประเด็นทำให้เกิดความไม่เข้าใจของคนในชุมชน เพราะเกิดการแบ่งแยกระหว่างไทยพุทธ และไทยมุสลิมอย่างชัดเจน จากเดิมที่อยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยกันก็มีท่าทีมึนตึงผิดไปจากเดิมจนไม่มีใครกล้าคบค้าสมาคมกับคนมุสลิมอีก ทุกคนหวาดกลัวซึ่งกันและกัน แม้แต่คนในครอบครัวก็ไม่ค่อยได้ปรึกษากันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน แต่จำเป็นต้องดำรงชีวิตอยู่ไปวันๆ ส่วนตัวก่อนจะออกไปทำงานต้องสั่งเสียแฟนก่อนออกจากบ้านเพราะไม่รู้ว่าจะมีโอกาสกลับบ้านหรือไม่ ทุกวันนี้รู้สึกว่าบ้านของตัวเองก็ไม่มีความปลอดภัยอีกต่อไป
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้สูญเสียจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้บรรยายพร้อมทั้งร้องไห้คร่ำครวญไปด้วย ทั้งนี้ยังมีรายงานผู้สูญเสียจากสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นภรรยาของผู้สูญเสีย โดยในจังหวัดนราธิวาสส่วนมากจะเป็นผู้สูญเสียที่เป็นข้าราชการทั้งไทยพุทธและมุสลิม ส่วนในจังหวัดยะลา และปัตตานี เป็นผู้สูญเสียที่เป็นชาวบ้านที่เป็นมุสลิม
       
       นอกจากนั้น นายกิตติศักดิ์ยังกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าทหารบางส่วนเริ่มมีแนวคิดปฏิวัติว่า ที่ผ่านมามีขบวนการเคลื่อนไหวรัฐประหารอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะทหารที่ไม่ชอบใจรัฐบาล มีหลายครั้งที่ทหารเหล่านั้นมาหารือขอคำปรึกษาทางด้านกฎหมายกับอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อขอคำแนะนำว่าจะทำรัฐประหารยึดอำนาจได้อย่างไรบ้าง ซึ่งก็ไม่มีใครเห็นด้วยกับการกระทำเช่นนั้น
       
       “รัฐบาลกำลังเดินเหยียบกับดักที่ตัวเองเคยวางไว้ ทั้งการปิดกั้นเสรีภาพสื่อมวลชน หรือการปิดรายการทีวีที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาล หรืออย่างกรณีบริษัทของนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ส.ว.กทม. เป็นต้น ซึ่งสังเกตได้ว่าภายหลังที่ปิดรายการเหล่านี้ประชาชนตกอยู่ในภาวะมอมเมาด้วยสิ่งบันเทิง ทั้งจากเกมโชว์หรือละครไร้สาระอื่นๆ จนทำให้ประชาชนต้องการรู้ความจริงมากขึ้น” นายกิตติศักดิ์ กล่าว
       
       นายกิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า การปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชนทำให้สถานการณ์การเมืองอึมครึม ซึ่งมันเป็นผลการกระทำของรัฐบาลที่พยายามอยากปิดไฟให้มืด ที่ถือเป็นธรรมชาติของคนเมื่อไม่ได้รับความจริงก็ยิ่งต้องการแสวงหาความจริงเป็นของธรรมดา หากรัฐบาลยอมเปิดไฟเขียวให้ประชาชนหรือสื่อมวลชนได้มีโอกาสโต้แย้งอย่างเสรีก็จะไม่มีการนัดรวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ถ้ารัฐบาลยังทำอย่างนี้ต่อไปผมก็ไม่มั่นใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เพราะเมื่อมีการมารวมตัวของคนหมู่มากทุกอย่างเป็นไปได้อยู่แล้ว ดังนั้น ประชาชนที่จะไปชุมชนต้องระมัดระวังตัวเองให้มาก เพราะเกรงว่าจะมีมือที่สามเข้ามาสร้างสถานการณ์ทำร้ายประชาชนที่ไปร่วมชุมนุม
 
 
 
 
 
 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 10-10-2006, 15:23 »

มีเอกสารมาเพิ่มเติมให้อ่านครับ เพื่อหาวิธีต่อต้านทรราชย์นิยม และการรัฐประหาร

เปรมศักดิ์ เพียรยุระ.  ( 2546,ตุลาคม ).  “ พรรคการเมืองไทยในยุคปฏิรูป,”  รัฐสภา.  5(10) : 7-18.
http://library.uru.ac.th/rps-db/list_news.asp?Id_new=N697

                                                                     พรรคการเมืองไทยในยุคปฏิรูป
บทนำ ระบบพรรคการเมืองที่เข้มเเข็งคือระบบพรรคการเมืองที่รักษาสิทธิประโยชน์เเละสนองความต้องการของประเทศและประชาชนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
การวิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย การปกครองของไทยเดิมเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบกษัตริย์ (Monarchy) ไม่มี
ระบบพรรคการเมือง
   เเนวคิดที่จะนำเอารูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมในในรัชสมัยพระ
บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำเนินรัฐประศาสตร์  เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างค่อย
เป็นค่อยไป
การปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองจะประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ รูปแบบ(Form)และหลักการ (Principle)
ประชาธิปไตยคือรูปแบบเเละหลักการของประชาธิปไตย ที่องค์ประกอบสำคัญ ได้เเก่   (1)   หลักการ         ปกครอง (Principle of
government) แบบประชาธิปไตยมีองค์ประกอบอย่างน้อย 5 หลักการ คือ    1.1 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Sovereignty of the
people)        1.2 เสรีภาพ (Freedom)   1.3 ความเสมอภาพ (Equality)     1.4 หลักนิติธรรม (Rule of law)    1.5 รัฐบาลมาจากการเลือก
ตั้ง (Elected government) (2) รูปแบบการปกครอง (Form of government) ในส่วนของรูปแบบ (Form) ประเทศไทยได้ใช้รูปแบบ
ประชาธิปไตยในระบบรวมอำนาจ (Fusion of power) ไว้ด้วยระบบระบบรัฐสภา (Parliamentary system) บางประเทศ
การวิวัฒนาการของพรรคการเมืองหลังการเปลี่ยนเเปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พรรคการเมืองของไทยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งเเรกตามรัฐ
ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 จนกระทั่งในสมัย         รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้มีการประกาศใช้พระราช
บัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ขึ้น ถือเป็นครั้งเเรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ยุคมืดของพรรคการเมืองเเละนักประชาธิปไตย   เมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของคนกลุ่มน้อยจากการปฏิวัติรัฐประหารโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัช
ต์ ในปีพ.ศ. 2500 มีการฆ่า 4 อดีตรัฐมนตรี นักประชาธิปไตยถูกจับติดคุกหลายรายมีกระแสการต่อต้านระบบเผด็จการจนเกิดวิกฤติการณ์
ประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ 14 ตุลาคม 2516
ยุคเริ่มต้นของการปฏิรูประบบพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 เป็นฉบับที่เรียกกันว่าฉบับประชาชนเพราะ
มีการตั้งประชาชนเข้าไปเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
(สสร.) ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (2540) จึงมีเจตนารมณ์หลัก 3 ประการ คือ   1) เปลี่ยนการเมืองของนักการเมือง    2) ทำให้ระบบการ
เมืองเเละระบบราชการมีความสุจริต     3) ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้มีการปฏิรูประบบพรรคการเมือง  คือ 
1) สามารถจัดตั้งพรรคการเมืองได้ง่ายตาม    2) มีข้อบังคับเเละการบริหารตาม     3) ต้องมีสาขาพรรค    4) สมาชิกพรรคได้รับความคุ้ม
ครองจากการใช้อำนาจมิชอบของพรรคตาม 5) มีการควบคุมเเละเปิดเผยการบริจาคเเละบัญชีตามพรรค     6) มีการช่วยพรรคการเมืองลดค่า
ใช้จ่ายในการเลือกตั้งตาม     7) พรรคการเมืองที่ได้คะเเนนรวมทั้งประเทศต่ำกว่าร้อยละ 5 ไม่สามารถมี ส.ส. จากระบบบัญชีรายชื่อได้ตาม
วิถีทางของพรรคการเมืองไทยยุคปฏิรูป 1) นโยบายของพรรคเป็นกุญเเจสำคัญของความสำเร็จ    2) การเข้าถึง(ใจ)ประชาชนเพื่อให้เกิด
ความรู้สึกเชื่อมั่นไว้ใจ 3) โลกาภิวัตน์ (Globalization) จะเป็นปัจจัยค้ำจุนให้ระบอบประชาธิปไตยดำรงอยู่
   วัฒนธรรมทางการเมืองที่สนับสนุนพรรคการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง(Political Culture) เเตกต่าง กันเป็น 3 ลักษณะ คือ   
1) วัฒนธรรมทางการเมืองเเบบคับแคบ (The parochial political culture) 2) วัฒนธรรมทางการเมืองเเบบไพร่ฟ้า (The subject political
culture)   3) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (The participant political culture)
 

 

   

 
ชื่อเอกสาร :พรรคการเมืองไทยในยุคปฏิรูป:
 
Website :สำนักวิทยบริการ
 
แหล่งที่มา :
 
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์   
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 10-10-2006, 15:28 »

มีเอกสารมาเพิ่มเติมให้อ่านครับ เพื่อหาวิธีต่อต้านทรราชย์นิยม และการรัฐประหาร 
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=home43&topic=177

วิเคราะห์สถานการณ์ การเมือง ณ ปัจจุบัน วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2548

ประเทศไทยตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นเวลา ๗๓ ปี คนไทยได้มีนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ ซึ่งอาจจะถูกใจคนไทยมากบ้างน้อยบ้าง แต่คนไทยก็ยังไม่ได้นายกรัฐมนตรีในอุดมคติที่แท้จริงของคนไทย คือนายกที่ดีเพรียบพร้อมสักครั้งหนึ่ง เพื่อจะให้นายกที่ดีคนนั้นเป็นผู้วางรากฐานประเทศให้เดินได้ถูกทิศถูกทาง และถูกใจคนไทย เพราะถึง ณ ปัจจุบันนี้ แนวทางการบริหารทั้งภายในและต่างประเทศยังสะเปะสะปะ ไม่มีทิศทางที่แน่นอน อย่างเช่นแค่เรื่อง “อำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับกฏหมายรัฐธรรมนูญ” อำนาจใดสูงสุด เรื่องแค่นี้ก็ยังไม่สามารถตัดสินให้ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ สาเหตุเป็นเพราะว่าประเทศไทยเรายังไม่ได้ผู้นำที่ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายนั่นเอง เพราะถ้าประเทศไทยได้ผู้นำที่ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ผู้นำท่านนั้นก็จะสามารถชี้แจงและตัดสินปัญหาต่างๆจนทำให้ทุกฝ่ายต้องยอมรับ โดยไม่มีข้อโต้แย้ง

ขอยกตัวอย่างผู้นำประเทศ ที่มีชื่อเสียงบางท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะได้เห็นข้อดีข้อเสียเพื่อเป็นบทเรียนให้กับผู้ที่จะเป็นผู้นำในอนาคตต่อไป

๑ พยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้นำที่ซื่อตรง
ฝ่ายประชาธิปไตย ชอบท่าน
ฝ่ายศักดินา ไม่ชอบท่าน

๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ซื่อตรง และเด็ดขาด
ฝ่ายประชาธิปไตย สงสัยว่าท่านจะเป็น ประชาธิปไตยหรือเป็นเผด็จการกันแน่
ฝ่ายศักดินา ในช่วงแรกไปด้วยกันได้ แต่ช่วงท้ายฝ่ายศักดินาไม่ชอบจึงถูกปฏิวัติ

๓ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัช ปกครองระบอบเผด็จการทหารบวกกับฝ่ายศักดินา
ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ชอบ
ฝ่ายศักดินา ชอบ

๔ จอมพล ถนอม กิตติขจร ปกครองระบอบเผด็จการทหาร
ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ชอบ
ฝ่ายศักดินา ก็ไม่ชอบ

๕ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพระราชทาน
ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ชอบ
ฝ่ายศักดินา ชอบ

๖ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกคนกลาง ที่มีผู้ใหญ่จัดส่งมาให้แบบไม่รับไม่ได้
ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ค่อยยินดี จึงมีปฏิกิริยารุนแรงในช่วงท้ายของรัฐบาล
ฝ่ายศักดินา ชอบ

๗ พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกในระบอบประชาธิปไตย
ฝ่ายประชาธิปไตย ชอบ
ฝ่ายศักดินา ไม่ชอบ

๘ พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกที่มาแบบฝืนใจประชาชน
ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ชอบ
ฝ่ายศักดินา ชอบ

๙ นาย ชวน หลีกภัย เป็นนายกในระบอบประชาธิปไตย
ฝ่ายประชาธิปไตย ก็ไม่ค่อยชอบเพราะไม่ฟังเสียงประชาชน
ฝ่ายศักดินา ชอบนิดหน่อย

๑๐ นาย บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกในระบอบประชาธิปไตย
ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ถึงกับเกลียดแต่ก็ไม่ถึงกับชอบ
ฝ่ายศักดินา ชอบนิดหน่อย

๑๑ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกในระบอบประชาธิปไตย
ฝ่ายประชาธิปไตย ชอบ
ฝ่ายศักดินา ไม่ค่อยชอบ

๑๒ พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกในระบอบประชาธิปไตย
ฝ่ายประชาธิปไตย ช่วงแรกคาดหวังว่าจะเป็นสัญลักษณ์ของนายกที่สมบูรณ์แบบในระบอบประชาธิปไตยไทย แต่สุดท้ายมีภาพไม่สวยเกี่ยวกับคอร์รัปชั่น จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ชอบ
ฝ่ายศักดินา ก็ไม่ค่อยไว้วางใจ เพราะมีอำนาจมากทั้งอำนาจเงินและลูกน้อง
จึงเป็นสาเหตุให้มีขบวนการสนธิ และขบวนการอื่นๆอีกมาก ที่เป็นปฏิปักษ์
ทั้งฝ่ายศักดินา และฝ่ายประชาธิปไตย จนทำให้ผู้ที่ติดตามการเมืองทุกฝ่ายหนาวๆร้อนๆ ไม่รู้ว่าวันไหนจะมีการระเบิดศึกขึ้นมา

….นายกคนต่อไป ซึ่งจะเป็นใครยังไม่มีใครทราบได้ แต่จะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ คุณสมบัติต่อไปนี้ จึงจะสามารถควบคุมกลุ่มคน ทั้ง ๒ กลุ่มนี้ได้

คุณสมบัติอย่างแรก คือ ผู้นำต้องโหดโดยใช้กำลังปราบกลุ่มคนทั้ง ๒ ฝ่ายให้ยอมจำนน เหมือนกับประเทศจีนที่ปราบพลเมืองจนกลัวไม่กล้าต่อสู้ แต่ผู้นำประเภทนี้ จะไม่มีความสุขในการเป็นผู้นำ และจะมีอันเป็นไป ในทางที่ไม่ดี

คุณสมบัติอย่างที่ ๒ คือ ผู้นำที่มีคุณธรรมที่ดีงามกว่ากลุ่มคนทั้ง ๒ กลุ่ม คือมีความเป็นประชาธิปไตยที่ดีและเป็นธรรม ไม่มีการลำเอียงกับกลุ่มใดๆ ไม่กลัวใคร ไม่เป็นคนโลภมาก มีเหตุมีผล รักประชาชนทุกคนเสมอกัน และสามารถทำตนเองให้ดีเพื่อเป็นตัวอย่างที่แท้จริงกับประชาชนได้ ไม่หลอกลวง สามารถตัดสินปัญหาด้วยความเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ผู้นำที่มีคุณสมบัติอย่างนี้ จึงจะสามารถปกครองคนทั้ง ๒ กลุ่มนี้ได้
ผู้ถูกปกครองคือประชาชนก็จะได้รับความสุข และผู้ปกครองเองก็จะมีความสุข ประเทศชาติจะเจริญกว่าประเทศต่างๆทั่วโลก ประชาชนทั่วโลกก็อยากจะมาเที่ยวประเทศไทย อยากจะมาทำธุรกิจมาลงทุนที่ประเทศไทยและสุดท้ายจะแย่งกันมาขออยู่ประเทศไทย เหมือนกับประเทศที่น่าอยู่อื่นๆในโลกหรืออาจจะน่าอยู่กว่าประเทศอื่นๆในโลก

ประจิณ ฐานังกรณ์
ประธานกลุ่มธรรมาธิปไตย
ถือหลักธรรมเป็นหลักการ
๐๑๓๓๓๙๒๑๖
http://prajinonline.com/board/show.php?Category=pjboard&No=226
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-10-2006, 15:30 โดย Q » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 10-10-2006, 15:36 »

มีเอกสารมาเพิ่มเติมให้อ่านครับ เพื่อหาวิธีต่อต้านทรราชย์นิยม และการรัฐประหาร  

http://www.numtan.com/story_2/view.php?id=122

ยังจำได้มั้ย ... ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ 


     
   

๓๑ ปี ที่ผ่านมา ... ของใครหลาย..หลายคน ถึงแม้ เราจะเกิดไม่ทันในเวลานั้น เราก็ ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง เรื่องราวของเหตุการณ์เหล่านั้นมาตลอด ว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ด้วยเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ใน วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖

แม้เหตุการณ์ดังกล่าว ... ได้ผลักดันให้การเมืองไทยเดินไปตามครรลองของประชาธิปไตยมากขึ้นอีกนิด แต่ก็เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น กลับกลายเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อนักการเมืองเพียงหยิบมือ หาได้บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ลดน้อยลง ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ ความสูญเสียและความเสียหายในครั้งนั้น คงไม่จำเป็นต้องเอามาบอกกล่าวถึงในที่นี้อีก ระยะเวลา ถ้าจะนับกันจริง..จริง อีกไม่กี่วัน ก็จะ ครบ ๓๑ ปี เต็ม..เต็มนั้น ได้ลบรอยเสียหายทางวัตถุ แต่ร่องรอยความเสียหายในหัวใจของคนบางคน และ บางครอบครัวที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น กลับไม่มีทางสมานได้สนิท

อาของเราบอกว่า ... อาได้สูญเสียเพื่อนชายคนหนึ่งในเหตุการณ์นั้น เค้ามีอายุเพียง ๑๘ ปีเท่านั้น เค้ามีนิสัยเป็นคนประนีประนอม มองโลกในแง่ดี และ ตอนนั้นกำลังเตรียมตัวไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา การสูญเสียครั้งนั้น ย่อมนำมาซึ่งความโศกเศร้าของทุกคนในครอบครัวของเพื่อนอาอย่างมากมาย ... อาเล่าว่า ตอนที่ไปเป็นเพื่อนแม่ของเพื่อนของอา รับศพของเพื่อนนั้น ขณะที่อากำลังออกมาจากโรงพยาบาล อาได้พบกับหลายครอบครัว ซึ่งมาตามหาลูกเหมือนกัน บางคนก็พบศพลูก บางคนก็หาลูกไม่พบ ทุกคนร้องไห้ และ พูดคล้าย..คล้ายกันว่า ... ยินดีด้วยนะ ที่พบศพญาติของคุณแล้ว ... อาบอกว่า รู้มั้ยว่า ฟังแล้ว ความเจ็บปวดมันขนาดไหน แม้กำลังพูดอยู่นี้ ก็ยังมีความเจ็บอยู่ลึก..ลึก ในใจเสมอ ... นี่เรามารับคนตายนะ เค้ายังอุตส่าห์บอกว่า เราโชคดีที่พบศพ เค้าบอกว่าหามา ๒-๓ วันแล้ว ยังหาไม่เจอ และ มีหลายครอบครัวที่ในที่สุด ก็หาไม่เจอจริง..จริง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ... ทำให้เกิดความกดดันต่อแม่ผู้สูญเสียเพื่อนของอามาก จนทุกวันนี้ ก็ยังได้รับผลนั้น ยังครึ่ง..ครึ่ง กลาง..กลาง อยู่ จะดีขึ้นกว่าเดิมบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก ช่วงแรก ของการสูญเสียพวกเราทำใจกันไม่ได้เลย เราไม่อยากให้เกิดเรื่องอย่างนี้อีกแล้ว รับรองว่าใครไม่มีสภาพเหมือนพวกเรา จะไม่มีวันรู้ถึงความเจ็บปวดต่าง..ต่าง มันอธิบายไม่ถูก ความเจ็บที่เราสูญเสียคนของเราไป ไม่ใช่ตายแบบธรรมดา ต้องทนรับสภาพ แถมบางครั้ง ฝ่ายตรงข้าม ยังมาด่าพวกเราอีก มันเป็นเรื่องที่แย่มาก เราถูกดูถูก เหยียดหยาม จากเพื่อนบ้านที่มีความคิดไม่ตรงกัน ครอบครัวของเพื่อนอา มีแม่อยู่เพียงคนเดียว แล้วเค้าก็มีลูกชายเพียงคนเดียวด้วย ถึงจะมีเงินพอที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่ก็อยู่อย่างคนที่ไร้ซึ่งวิญญาณเสียแล้ว เป็นสภาพที่สุดจะอธิบายได้ นอกจากคนที่อยู่ในกลุ่มแบบเดียวกัน ก็คงจะพอวาดภาพ ให้เห็นสภาพนั้นได้บ้าง ว่าแท้จริงเป็นเช่นไร

ถามว่าคุ้มมั้ย กับการสูญเสียคนในครอบครัวไป
เพื่อแลกกับประชาธิปไตย หรือ การปกครองบ้านเมืองที่ดีขึ้น ...

อาของเราตอบว่า ... ในทางส่วนตัว ครอบครัวของวีรชนจะตอบว่าไม่คุ้ม เพราะว่าคนของเราตายไป สูญหายไป บางคนจนป่านนี้ ศพก็ยังไม่เจอ บางคนก็พิการ ไม่เคยได้รับการเหลียวแล หรือเชิดชูคุณงามความดี แถมยังถูกลืมไปจากสังคมเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าพูดโดยภาพรวมแล้ว เราคิดว่า “คุ้ม” แม้รัฐบาลนี้ หรือรัฐบาลไหน..ไหน จะไม่ได้พยายามพัฒนาระบอบประชาธิปไตย หรือทำให้ประชาชนเข้าใจถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเองอย่างเต็มที่ แต่ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เราถือว่าสื่อมวลชนมีส่วนสำคัญมาก ที่ทำให้ประชาชนเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ญาติ..ญาติ ของวีรชน ...
ไม่ว่าจะ ... ๑๔ ตุลาฯ ๒๕๑๖ .. ๖ ตุลาฯ พ.ศ. ๒๕๑๙ หรือ พฤษภาวิปโยค
ก็ยังคงเรียกร้องความเป็นธรรม และ ช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ

และแน่นอนว่าพวกเขาจะไม่มีวันลืม ... เหตุการณ์เหล่านั้น
ถึงแม้วันนี้ คนไทยหลาย..หลายคน อาจเริ่มลืมเลือนไปบ้างแล้วก็ตาม … ฯลฯ
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-10-2006, 15:38 โดย Q » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 10-10-2006, 15:37 »

ไม่น่าเชื่อ...สส.เปรมศักดิ์ เขียนหนังสือได้แค่นี้เอง...ผิดหวังจริง ๆ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 10-10-2006, 15:50 »

มีเอกสารมาเพิ่มเติมให้อ่านครับ เพื่อหาวิธีต่อต้านทรราชย์นิยม และการรัฐประหาร    

ค้นหาฐานข้อมูลระดับประเทศ  http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=2

     
 
 มีหัวข้อดังต่อไปนี้ หากต้องการอ่านรายละเอียดต่างๆ ไปตามลิงค์ด้านบนได้เลยครับ     
    ระบอบประชาธิปไตย
    ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง
    กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร
    ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชน
    ปฏิรูปการเมือง
    การบริหารราชการแผ่นดิน
    รัฐธรรมนูญ
    รัฐบาลไทยในอดีต
    รัฐบาลทักษิณ1
    รัฐบาลทักษิณ2
    รัฐสภา
    วุฒิสภา
    สภาผู้แทนราษฎร
    พรรคการเมือง
    ตุลาการ
    กกต.
    กองทัพ
    ผลการเลือกตั้งอบต.ทั่วประเทศ (31 ก.ค.48)
    สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
    มหานครสุวรรณภูมิ
    ความเคลื่อนไหวภาคประชาชน กับการเมือง
    ข้อมูล สถิถิติ และผลการเลือกตั้ง ปี 2548
    เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 เมษายน 49
    ความรู้ บทความ บทวิเคราะห์ ทางการเมือง
    ตำรวจ
    ยุบพรรคการเมือง
    รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
    คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=3993&db_file=
 
บริษัท เศรษฐกิจร่วมด้วยช่วยกัน จำกัด
287/195 ซอย รามคำแหง 21(นวศรี) ถนน ประดิษฐ์มนูธรรม แขวง/เขต วังทองหลาง กทม.10310
อีเมล์ : admin@rakbankerd.com
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 10-10-2006, 16:08 »

ไม่น่าเชื่อ...สส.เปรมศักดิ์ เขียนหนังสือได้แค่นี้เอง...ผิดหวังจริง ๆ

เป็นส่วนของบทนำกระมังครับ คาดว่ามีประมาณสิบกว่าหน้าครับ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 10-10-2006, 16:15 »



คำถามที่ควรพยายามตอบคือ

1.ทรราช ที่ไม่ถูกรัฐประหารมีหรือไม่?
2.หากไม่ใช่ทรราช ทำไมจึงถูกรัฐประหาร?
3.การเลือกตั้งป้องกันทรราชย์นิยมได้จริงหรือ
4.ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นจากทรราชย์นิยม?
5.ประชาธิปไตยที่ไร้ทรราชย์จะต้องทำอย่างไร?
6.ถ้าหากไม่มีทรราชย์ในสังคมไทย การรัฐประหารจะเกิดขึ้นสำเร็จหรือไม่?
7.ทำอย่างไรจะไม่มีรัฐประหารในเมืองไทยได้อีก จะป้องกันรัฐประหารที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคมไทยได้อย่างไร?

                                                                                                                                               



คำถามเพิ่มเติม

8.ทรราชย์นิยม มักจบด้วยการรัฐประหารเสมอ :อะไรชี้ชัดว่าทักษิณคือสัญญลักษณ์ของทรราชย์นิยม?
9.ใครคือผู้ที่ต่อสู้กับทรราชและพวกทรราชย์นิยมบ้าง?
10.เมื่อไรสังคมไทยจะมีชัยต่อพวกทรราชย์นิยมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มีเงื่อนไขได้อย่างไรบ้าง แบบไหนดีที่สุด?
  




11.ฝากข้อสรุปทิ้งท้ายนะครับ  ทรราชย์นิยม หากไม่จบด้วยการรัฐประหาร ก็จะต้องจบด้วยการศึกสงครามหรือการนองเลือด สงครามกลางเมืองเสมอ จริงไม่จริงลองพิจารณาดูได้เสมอครับ
                                                                  

หากคนส่วนใหญ่ตอบได้ การรัฐประหารก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกครับ แม้ส่วนน้อยถ้ามีพลังรณรงค์ขับเคลื่อนสังคมได้อย่างเหมาะสม การรัฐประหารก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเช่นกันครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-10-2006, 16:17 โดย Q » บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 10-10-2006, 16:49 »

จุดจบของทรราช บางทีก็ "โป้งเดียวจอด"

ฮิตเล่อร์ จบยังไงล่ะ
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 16-10-2006, 20:06 »

บทความเกี่ยวกับการรัฐประหาร ช่วงนี้ครับ
สิทธิในการทำรัฐประหาร
โดย เขียน ธีระวิทย์  มติชนรายวัน  วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10447

รัฐประหารในไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2006 แม้จะทำสำเร็จโดยมิได้สูญเสียเลือดเนื้อ แต่ความสับสนในหมู่คนไทย ในด้านความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นยังมีไม่น้อย

ผู้เขียนเห็นว่าในรอบสองพันปีเศษที่ผ่านมา มีนักปราชญ์ทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ของโลกตะวันออก และโลกตะวันตกหลายท่าน ที่พูดถึงเรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ

จึงขอนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ พร้อมด้วยข้อวิเคราะห์บางประการเกี่ยวกับความชอบธรรมในการทำรัฐประหารของไทยในคราวนี้ และข้อคิดเห็นอย่างย่อๆ เกี่ยวกับการเอาเรื่องการปฏิวัติ-รัฐประหารไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

@ ทฤษฎีว่าด้วยสิทธิในการทำรัฐประหาร

ในจีนในช่วงสองพันปีเศษที่ผ่านมา รัฐาธิปัตย์ (โอรสแห่งสวรรค์ กษัตริย์ หรือจักรพรรดิ เรียกต่างกันตามยุค-สมัย) ถูกโค่นล้มกันมานับไม่ถ้วน

ขงจื๊อ (8 ปี ก่อน พ.ศ.-พ.ศ.64) ปรมาจารย์จีนผู้สอนให้คนในสังคมมีคุณธรรม สอนว่าทุกคนในสังคมมีสิทธิ-หน้าที่- ความรับผิดชอบ ตามชื่อที่เรียกขานกัน ("กษัตริย์" "ขุนนาง" "บิดา" "บุตร" ฯ เป็นนามเฉพาะ) "ถ้ากษัตริย์ไม่ได้บำเพ็ญตนอยู่ในคุณธรรมของกษัตริย์ก็ไม่ใช่กษัตริย์" กษัตริย์ต้องมีความกตัญญูเสียสละ มีคุณธรรม มีเมตตาธรรม ฯลฯ

สาวกเอกของขงจื๊อ (พ.ศ.171-254) ขยายความคำสอนของขงจื๊อว่า ถ้า "โอรสแห่งสวรรค์" ไม่ทำตามหน้าที่ของท่าน ประชาชนย่อมมีสิทธิปฏิวัติได้ เมื่อทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็เท่ากับได้ "อาณัติแห่งสวรรค์" ("เทียนมิ่ง") ให้ปกครองประชาชนแทนคนเดิม

ปรัชญาเมธีของโลกตะวันตกระดับปรมาจารย์หลายท่านพูดถึงเรื่องการปฏิวัติ-รัฐประหารไว้มากมาย อริสโตเติล (ประมาณ พ.ศ.159-221) พูดถึงสิทธิของประชาชนในการกบฏต่อ "ทรราชโดยคนข้างมาก"

โธมัส ฮ็อบส์ (พ.ศ.2131-2222) และจอห์น ล็อค (พ.ศ.2174-2247) พูดถึงการก่อตั้ง "ประชาคม" (Leviathan) และการละเมิด "สัญญาประชาคม" (Social Contract) ไว้อย่างพิสดาร

กล่าวโดยสรุป เมื่อคนได้ก่อตั้งประชาคมโดยทำสัญญาประชาคมกันแล้ว ทุกคนต้องทำตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ใครทำผิดหรือละเมิด รัฐาธิปัตย์มีอำนาจสั่งการทำโทษ ถ้าไม่ทำหรือตัวเองละเมิดกฎหมาย-รัฐธรรมนูญเสียเอง หรืออยู่เหนือกฎหมายถือว่าเป็น "ทรราช" ถ้ามีเสียงข้างมากสนับสนุนก็เป็นทรราชโดยเสียงข้างมาก สภาพ "ประชารัฐ" หมดไป คนกลับไปอยู่อย่างธรรมชาติ (state of nature) ใช้ "กฎหมายป่า" (law of the jungle) คือไม่มีกฎหมาย การปฏิวัติ-รัฐประหาร เป็นการใช้ "กฎหมายป่า" ผู้กระทำใช้ "สิทธิธรรมชาติ" (natural right) ไม่มีผิด-ถูก ผู้กระทำเสี่ยงภัยเอาเอง

ถ้าเขาเป็นฝ่ายชนะ จะเป็นผู้ถือดาบอาญาสิทธิ์ก่อตั้งประชาคมใหม่ ถ้าเป็นฝ่ายแพ้ เขาอาจต้องโทษหนักถึงประหารชีวิต สมัยก่อนอาจจะถูกประหารหลายชั่วโคตร

@ ทหารกับการทำรัฐประหาร

ทหารเป็นกองกำลังติดอาวุธของรัฐ ต้องวางตัวเป็นกลางเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา ทหารไทยได้ละเมิดหลักการนี้หลายครั้ง โดยการเข้าไปช่วย (หรือถูกดึงเข้าไปช่วย) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ระบอบประชาธิปไตยต้องการให้คนในชาติแก้ไขข้อพิพาทกันโดยการใช้เหตุผล ไม่ใช่ข่มขู่กันด้วยกำลัง เมื่อเสียงปืนดัง เหตุผลย่อมเงียบ เมื่อปืนอยู่กับฝ่ายใด ฝ่ายนั้นย่อมชนะ แม้ฝ่ายนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายอธรรมก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เราอย่าเข้าใจผิดคิดว่า ทหารเมื่อติดอาวุธแล้ว จะต้องถูกตัดสิทธิขั้นพื้นฐานในทางการเมืองด้วย พวกเขายังมี "สิทธิธรรมชาติ" ที่ติดตัวมากับความเป็นมนุษย์ พวกเขายังมีสิทธิทางการเมืองที่จะใช้ดุลยพินิจของตัวเองที่จะตัดสินว่า เขาจะวางตัวเป็นกลางโดยใช้สิทธิของทหารในระบอบประชาธิปไตย หรือจะใช้สิทธิธรรมชาติในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง

ในที่สุด ทหารภายใต้การนำของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ได้ตัดสินใช้สิทธิธรรมชาติทำรัฐประหาร โค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ภายใต้ชื่อว่า "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" (คปค.)

พวกเขาแจงเหตุผลของการปฏิรูปฯ ในแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ว่า รัฐบาลก่อให้เกิดความแตกแยกในชาติ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีความทุจริตประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แห่งองค์พระมหากษัตริย์บ่อยครั้ง

ในทัศนะของผู้เขียน เหตุผลที่ คปค.อ้างนั้นเป็นความจริงทุกประการ มิได้มีการบิดเบือน หรือแต่งเสริมเติมต่อ ดังการทำรัฐประหารครั้งก่อนๆ หลายครั้ง

ยิ่งกว่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่าพฤติกรรมของรัฐบาลทักษิณหลายอย่าง เป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญ การอ้างเสียงข้างมากโดยนับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมาลบล้างการกระทำที่ละเมิดกฎหมายและรัธฐรรมนูญนั้นฟังไม่ขึ้น

Adolph Hitler ผู้นำเยอรมนีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนจากการเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น ไม่แพ้ของรัฐบาลทักษิณ แต่ประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า เผด็จการทรราชโดยเสียงข้างมากนั้น เป็นอันตรายยิ่งกว่าลัทธิเผด็จการโดยทหารมากมาย

เมื่อเงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าวสร้างขึ้นโดยผู้นำระบบ "ทรราชโดยเสียงข้างมาก" จึงเข้าเงื่อนไขดังที่นักปราชญ์ชาวอังกฤษอธิบายไว้ว่า เมื่อสัญญาประชาคมถูกทำลาย ประชารัฐก็ล่มสลาย ทุกคนมีสิทธิธรรมชาติหันกลับไปใช้ "กฎหมายป่า" ผู้ถืออาวุธเข้าสนามรบต้องเสี่ยงภัยเอาเอง เชื่อว่าผู้ก่อการรัฐประหารและพรรคพวกตระหนักดีในสัจธรรมข้อนี้ และทำไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีว่าตนทำเพื่อใคร

อย่าไร้เดียงสาเกินไปจนถึงกับไม่รู้ว่ารัฐบาลได้ละเมิดสัญญาประชาคมแล้วซ้ำซาก

อย่าหลงกลฝรั่ง และพวกนิยมฝรั่งที่พยายามโฆษณาชวนเชื่อว่า การโค่นล้มรัฐบาลเลือกตั้งต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

และอย่าเพ้อฝันว่ารัฐบาลทรราชตัวจริงนั้นจะลงจากเวทีไปเพราะมีม็อบจำนวนมากรวมตัวกันมาตะโกนด่าทอ รัฐบาลทรราชพร้อมที่จะใช้มวลชนและกำลังตำรวจเป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจให้แก่พวกเขา

อย่าลืมว่ายังไม่มีนักปราชญ์ทางทฤษฎีรัฐศาสตร์คนใดที่ออกมาแนะว่ารัฐาธิปัตย์ที่เป็นทรราชโดยเสียงข้างมากในรัฐสภา หรือการหยั่งเสียงมีสิทธิที่จะละเมิดรัฐธรรมนูญหรือสัญญาประชาคม

@ รัฐประหารกับรัฐธรรมนูญ

ถ้าเราเข้าใจแก่นแท้ของการใช้กำลังโค่นล้มรัฐบาลตามคำอธิบายของปรมาจารย์ทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ตามที่กล่าวไว้แล้ว ตรรกะทางวิชาการในการบัญญัติข้อห้ามการกระทำปฏิวัติ-รัฐประหารไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายก็ไม่มี ความคิดที่จะป้องกันการทำปฏิวัติ-รัฐประหารโดยการบัญญัติเป็นข้อห้ามไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการเพ้อฝัน

ส่วนที่ว่าไว้ในกฎหมายอาญาโดยการกำหนดองค์ประกอบของความผิดและบทลงโทษไว้นั้นจะได้ผลก็เฉพาะใช้กับผู้แพ้เท่านั้น ส่วนผู้ชนะนั้น ย่อมจะใช้สิทธิธรรมชาติประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ประกาศนิรโทษกรรมตัวเองและคณะโดยให้มีผลย้อนหลัง

ฉะนั้นในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรที่ดีและใช้ได้คงทนควรมีสาระเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) ไม่ควรมีข้อห้ามการกระทำที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอาไว้ให้รกรุกรัง เพราะอย่างไรเสียก็ใช้ไม่ได้ (ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 63 และ 65) ถ้าหากรัฐธรรมนูญไม่พูดถึงประเด็นนี้ เมื่อคณะบุคคลใดโค่นล้มรัฐบาลได้สำเร็จก็ไม่ต้องประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปัญหาความต่อเนื่องในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยก็จะไม่มี ความหวังลมๆ แล้งๆ ที่จะใช้รัฐธรรมนูญป้องปรามการปฏิวัติ-รัฐประหารก็ไม่เกิด

(2) ถ้าเราจะลองทำในทางตรงกันข้ามสักครั้งจะมีผลอย่างไร กล่าวคือ ทำการปฏิวัติ-รัฐประหารให้ชอบด้วยกฎหมาย โดยกำหนดเงื่อนไขที่ทำได้ไว้ดังนี้

(2.1) ให้จัดตั้งองค์กรอิสระเฉพาะกิจที่ปลอดจากการเมืองขึ้น1-3 คณะ เพื่อทำหน้าที่สำรวจมติมหาชนของคนไทยในยามวิกฤต ควบคู่กันไปกับรัฐสภา ในประเด็นที่เกี่ยวกับการละเมิดสัญญาประชาคม (ความหมายกว้างกว่ารัฐธรรมนูญ)

(2.2) ให้องค์กรอิสระตามข้อ (2.1) ตั้งประเด็นคำถามและนับคะแนนจากผู้ตอบเฉพาะผู้ที่รู้ในประเด็นที่ถามเท่านั้น (ไม่นับคะแนนของผู้ที่มีแต่ความเห็นแต่ไม่มีความรู้เลย)

(2.3) ถ้าผลจากการสำรวจมติฯ ในข้อ (2.2) มีคะแนนตั้งแต่ 50% ขึ้นไปที่เห็นว่ารัฐบาลละเมิดสัญญาประชาคมแล้ว ให้ถือว่ารัฐบาลได้ทำผิดต่อประชาชนอย่าง "ร้ายแรง" ให้โอกาสทำการแก้ไขภายใน 1 เดือน มิเช่นนั้น ประชาชนทุกหมู่เหล่า มีสิทธิโค่นล้มรัฐบาลได้โดยสันติวิธี (เช่นข้าราชการหรือธนาคารนัดหยุดงาน) หรือโดยการใช้กำลังก็ได้ (เช่น การทำรัฐประหาร)

(2.4) ให้มีบทบัญญัติห้ามทหาร-ตำรวจทำรัฐประหารเพื่อผลประโยชน์แก่ตนเองและพรรคพวก และกำหนดเวลาการคืนอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชนภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี

การมีข้อบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยใช้กำลังทหารนั้น หมิ่นเหม่ต่อการที่จะถูกประฌามว่าเราส่งเสริมการใช้กำลัง เพื่อประโยชน์ในการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศ จึงไม่ควรทำ นอกจากเรามีความมั่นใจว่าเรามีกลเม็ดดีพอที่จะทำให้คนไทยและสังคมโลกเห็นด้วย ถ้าคิดและกำหนดเงื่อนไขให้รอบคอบ อาจมีผลเป็นการป้องปรามมิให้รัฐบาลทรราชละเมิดสัญญาประชาคม เพราะกลัวการปฏิวัติ-รัฐประหาร หรือการประท้วงตามวิถี "อารยะขัดขืน" ได้ด้วย ข้อควรระวังคือจะต้องวางกรอบให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมน้อยที่สุด

อนึ่ง ผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันที่ละเอียดและระบุเอกสารอ้างอิงด้วย ดูได้จากเว็บไซต์ www.thaiworld.org หลังวันที่ 20 ตุลาคม 2549

                                                                                                                                                                         
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2006, 20:10 โดย Q » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 16-10-2006, 20:08 »

บทความเกี่ยวกับการรัฐประหาร ช่วงนี้ครับ

"อัมมาร" วิเคราะห์มูลเหตุรัฐประหารพร่อง "นิติรัฐ"
กรุงเทพธุรกิจ  วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549

"อัมมาร" ชี้ต้นตอรัฐประหารเพราะ "ประเทศประชาธิปไตยเอ่อล้น แต่นิติรัฐพร่อง" รัฐธรรมนูญปี 2540 เปิดช่องให้ "ทักษิณ" มีอำนาจเบ็ดเสร็จคุมทั้งด้านบริหารและนิติบัญญัติ แนะรัฐบาลใหม่ฟื้นระบบนิติรัฐ เริ่มต้นปฏิรูปตำรวจและอัยการ หาผู้รับผิดกรณีซีทีเอ็กซ์ 9000 เพราะเป็น" ทุจริตที่โปร่งใสที่สุด" ระบุรัฐบาลชั่วคราว ออกนโยบายที่ตระหนักว่ารัฐบาลเลือกตั้งสามารถดำเนินการได้ โดยควรยุบบีโอไอ และหันมาใช้วิธีการปฏิรูปโครงสร้างภาษี หั่นนิติบุคคลดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนแทน

ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เห็นว่าปัญหาสำคัญ ของประเทศไทย ณ ขณะนี้ จนนำมาสู่การรัฐประหาร เกิดจาก ประชาธิปไตยเอ่อล้น (democracy surplus) ขณะเดียวกัน ประเทศนิติรัฐพร่อง (rule of law deficit) เพราะตั้งแต่การเข้ามาบริหารประเทศ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเขาได้ขัดขวางระบบนิติรัฐ (against rule of law) และขยายกว้างขว้างมากขึ้น โดยที่หน่วยงานด้านยุติธรรม โดยเฉพาะตำรวจ และอัยการ แทนที่จะเป็นองค์การที่เป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของประชาชน กลับทำหน้าที่ปกป้องรัฐ ซึ่งผิดหลักการ กฎหมายว่าด้วย rule of law

ตัวอย่างเห็นได้จากตลอดเกือบ 6 ปีที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์ สำคัญ ที่สังคมตั้งข้อสงสัย และขบวนการยุติธรรม ไม่สามารถตอบคำถามได้ ไม่ว่าจะเป็น กรณี 2,500 ศพ ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการปราบปรามยาเสพติด กรณีใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาตากใบ นำมาสู่การเสียชีวิตจำนวนมาก รวมไปถึงโครงการจัดซื้อ เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดรุ่นซีทีเอ็กซ์ 9000 ที่เห็นปัญหาความไม่โปร่งใสชัดเจน แต่รัฐบาลไม่สามารถหาคนมาลงโทษได้

ดังนั้น เมื่อผู้นำประเทศต่อต้านหลักการนิติรัฐ โดยที่ไม่มีอำนาจอื่นใดคอยมาถ่วงดุล ทำให้ นิติรัฐเสื่อมถอย ลงเรื่อยๆ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวอยู่หัว เมื่อ 25 เมษายน 2549 ต่อประธานศาลฎีกาและศาลปกครอง ก็เพื่อที่จะให้สถาบันตุลาการเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ไขวิกฤติของชาติ ให้ rule of law ผงาดขึ้นมาอีกครั้ง ดึงประเทศไทยกลับเข้ามาสู่ระบบนิติรัฐ แต่ถึงที่สุดแล้วปัญหา rule of law deficit ที่เข้าข่ายวิกฤติ สถาบันตุลาการ ก็ไม่สามารถเข้ามาเบรก การใช้อำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ จึงเป็นเหตุผลหลักที่สังคมไทยหันกลับมาใช้เส้นทางการรัฐประหาร เพื่อหยุดยั้งอำนาจดังกล่าว

"ไม่แน่ใจกับสมมติฐานที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีความคิดจะทำการรัฐประหารตัวเอง หรือไม่จากความเชื่อที่ว่าในวันที่ 20 กันยายน 2549 อาจจะมีการปะทะของสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม พัฒนาการที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า ประเทศถูกบังคับให้ทำการรัฐประหาร เนื่องจากประเทศไม่มีหลักของ rule of law ที่สำคัญปัญหา rule of law ไม่ใช่ศาลอย่างเดียว แต่ปัญหาอยู่ที่ ตำรวจและอัยการ ที่ต้องได้รับการรื้อโครงสร้างกันครั้งใหญ่ เพื่อมิให้วัฏจักรของปัญหากลับมาอีกและมีกติกาประเทศอย่างชัดเจน"ดร.อัมมาร กล่าว

ทั้งนี้ตามในหลักการ นิติรัฐ หรือ Rule of Law ข้าราชการของรัฐทุกคน แม้ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และมีความรับผิดชอบต่อทุกการกระทำภายใต้กฎหมาย โดยปราศจากอภิสิทธิ์เช่นเดียวกับพลเมืองอื่น

นอกจากนี้ ในหลักการ นิติรัฐ ฝ่ายปกครองไม่สามารถใช้วิธีการอื่นนอกไปจากที่กฎหมายกำหนดกระทำต่อปัจเจกชนได้ กฎหมายเป็นทั้งที่มาแห่งอำนาจและข้อจำกัดอำนาจปกครอง ดังนั้นในนิติรัฐฝ่ายปกครองจะกระทำการที่ขัดแย้ง หรือละเว้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ไม่ได้ และการที่ฝ่ายปกครองจะวางข้อกำหนด หรือออกคำสั่งต่อผู้อยู่ใต้ปกครองจะต้องอาศัยอำนาจของกฎหมาย ที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ความสำคัญของหลักนิติรัฐก็คือ เป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนซึ่งให้อำนาจแก่ประชาชน ที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายปกครอง

ปัญหาอย่างหนึ่งของกฎหมายไทยวันนี้ เนื่องจากตำราหรือทฤษฎีส่วนใหญ่อิงกับแนวทางของฝรั่งเศส ทั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งเติบโตภายใต้วัฒนธรรมอังกฤษและสำเร็จการศึกษาแล้วได้ทรงเลือกศึกษาวิชา กฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิชในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย ทำให้ท่านยึดรูปแบบกฎหมาย common law และเข้ามาวางรากฐานชำระกฎหมายตราสามดวง ปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ แต่ในช่วงหลังนักกฎหมายและแนวคิดแบบฝรั่งเศส เข้ามาทดแทน common law เห็นได้จากกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มีแนวคิดแบบฝรั่งเศสแฝงอยู่

"รัฐธรรมนูญปี 2540 บอกให้เรารู้ว่า ศาลปกครองนั้นประชาชนพึ่งได้ ซึ่งในประเทศอังกฤษนั้นไม่มีศาลปกครอง เพราะระบบ common law ได้ทำหน้าที่ดีอยู่แล้ว ประชาชนพึ่งได้ เพราะไม่ว่าบุคคลจะใหญ่โตแค่ไหน ก็ถูกลงโทษที่เท่าเทียมกัน "ดร.อัมมาร กล่าว

ทักษิณกุมทั้งบริหารและนิติบัญญัติ

ดร.อัมมาร เห็นว่า ในระบอบประชาธิปไตย นั้นมีอำนาจ 3 ฝ่ายคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพื่อสร้างความถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่กรอบของรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้เอื้อให้อำนาจกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มากเกินไป เนื่องจากอำนาจด้านนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ถูกรวมเข้าอยู่ด้วยกันภายใต้การควบคุมของ พ.ต.ท.ทักษิณ อันเนื่องมาจากกรอบคิดผู้ร่างที่หวังจะเห็นการเมืองมีเสถียรภาพ แต่ผลออกมา ทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตรงกันข้ามฝ่ายบริหารสามารถมีอำนาจเบ็ดเสร็จมากเกินไปจน อยู่เหนือ Rule of Law

ดร.อัมมาร ประเมินก่อนหน้านี้แล้วว่า ผู้ได้รับมรดกจากรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2540 คือ พรรคไทยรักไทย แม้จะประกอบด้วยคนที่ค้านหัวชนฝา แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างส่วนหนึ่งคือเบื่อหน่ายรัฐบาลผสม มีเรื่องการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับนี้พรรคการเมืองมีขนาดใหญ่ขึ้น และฟาดฟันด้วยการเสนอนโยบายให้ประชาชนเลือก ไทยรักไทยเดินแต้มประสบผลสำเร็จเป็นพรรคเสียงข้างมาก

สำหรับข้อเสนอของดร.อัมมาร ต่อรัฐบาลใหม่นั้น นอกจากต้องฟื้นนิติรัฐ อย่างจริงจัง โดยหน้าที่ของรัฐบาลคือรักษา จิตวิญญาณ ของกฎหมาย โดยการรื้อระบบตำรวจและอัยการ กลับมาทำหน้าที่เพื่อประชาชน แทนการอยู่ภายใต้กลไกรัฐ และกฎหมายต้องมีความชัดเจนไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาและตีความแบบศรีธนญชัย

"เป็นเรื่องถูกต้องที่ จะมีการตรวจสอบโครงการต่างๆ โดยเฉพาะซีทีเอ็กซ์ 9000 ที่ถือว่าทุจริตที่โปร่งใสที่สุด หากรัฐบาลใหม่ไม่สามารถเอาผิดกับเรื่องนี้ได้ ก็ไม่รู้ว่าจะเอาผิดโครงการอื่นๆ ได้อย่างไร รวมไปถึง กระบวนการไต่สวน การฆ่ากว่า 2,000 คนที่ภาคใต้ และกรณีอื่น ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ เพราะปัญหาเหล่านี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่นำมาสู่วิกฤติประชาธิปไตย"ดร.อัมมาร กล่าว

ในส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนต่างประเทศ หากเห็นว่ากิจการใดสามารถเปิดเสรีได้ ก็ควรให้ลงทุนได้ 100% ส่วนไหนที่เราต้องปกป้อง ก็ต้องใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

"เช่นกรณีกฎหมายต่างด้าว รัฐบาลควรออกกฎหมายนิรโทษกรรม กับบริษัทที่ทำผิดกฎหมายอยู่ เป็นระยะเวลา 3 ปี พร้อมกับกำหนดว่า แต่ละแห่งควรดำเนินการให้ถูกต้องภายใน 10 ปี"

แนะเรื่องใหญ่รอรัฐบาลหน้าดำเนินการ

นอกจากนั้นเขาเห็นว่า รัฐบาลชั่วคราวอายุ 1 ปี อยากให้เอานโยบายเก่ามาทบทวน ว่าส่วนไหนควรทำต่อหรือไม่ และไม่ควรออกนโยบายมากเกินไป โดยเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ ควรปล่อยให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการ และหากจะออกนโยบายภายใน 1 ปีนี้ ต้องตระหนักว่าเมื่อมีรัฐบาลใหม่เข้ามาแล้ว สามารถที่จะปฏิบัติได้ต่อไป ส่วนข้อตกลเขตการค้าเสรีหรือเอฟ ทีเอ นั้นควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่

นอกจากนั้น เขาเห็นว่า หลายโครงการของรัฐบาลชุดที่แล้ว สามารถดำเนินการต่อไปได้ เช่นกรณีของการโครงการเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ขณะที่โครงการกองทุนหมู่บ้าน ข้อมูลขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า ได้ก่อประโยชน์กับประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน ขณะเดียวกันต้องมีการเข้าไปดูแลในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐให้มาก เนื่องจากที่ผ่านมา เป็นแหล่งการเงินที่สำคัญในการสนับสนุนนโยบายประชานิยมของรัฐบาล

"หน้าที่รัฐบาลใหม่ คือต้องทำให้ democracy surplus อยู่ต่อไปเพราะประเทศที่มีประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็ฟื้น rule of law ขึ้นมา ใหม่ ส่วนด้านเศรษฐกิจนอกจากเข้าไปดูปัญหาในแบงก์รัฐแล้ว ในส่วนของ บสท. น่าจะมีคณะกรรมการเข้ามาไปดูแลว่า มีความโปร่งใสแค่ไหน ขณะเดียวกัน บีโอไอ น่าจะถึงเวลาปิดตัวเองได้แล้ว และรัฐบาลหันมาใช้แนวทางลดภาษีนิติบุคคล เพื่อดึงต่างประเทศเข้ามาลงทุน พร้อมๆ กับการปฏิรูปโครงสร้างภาษี เช่นภาษีทรัพย์สิน "ดร.อัมมาร กล่าว

เสนอยุบบีโอไอรื้อระบบภาษี

ดร.อัมมาร อธิบายว่า การยุบสำนักงานส่งเสริมการลงทุนหรือ บีโอไอ คือความพยายามในการตัดสิทธิคนรวย ขณะเดียวกันการปฏิรูปภาษีทรัพย์ คือการกระจายรายได้ ที่ช่วยคนจน ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมของสังคมมากขึ้น

ส่วนแนวทางนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้อง ภายใต้กรอบคิดที่ไม่ควรทำนโยบายหรือลงทุนอะไรที่เกินตัว แต่ทั้งนี้ ต้องหาวิธีการว่า จะทำอย่างไรให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจระดับ 4-5% อย่างต่อเนื่อง เพราะหากยึดแนวทางแบบเศรษฐกิจพอเพียงแต่เศรษฐกิจต่ำกว่า 3% ก็อาจจะมีปัญหากับเศรษฐกิจประเทศได้

"คุณทักษิณ มองได้ในหลายมิติ แต่สิ่งหนึ่งที่ทิ้งคุณค่าไว้กับการเมืองไทย คือทำให้การเลือกตั้งของพรรคการเมืองเกิดภาวะแข่งขันในเชิงนโยบาย และมีการถกเถียงกัน ไม่ว่า นโยบายนั้น จะดีหรือแย่ก็ตาม ซึ่งในอดีตการหาเสียงของพรรคการเมืองจะไม่เกิดขึ้น "ดร.อัมมาร ทิ้งท้าย
                                                                                                                                 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-10-2006, 20:11 โดย Q » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 16-10-2006, 20:24 »



ผมตั้งใจจะสรุป กระทู้แบบง่ายๆก็คือ ต้องมีสมดุลทีดีแห่งอำนาจทุกชนิดในทุกขณะ และมี ธรรมมาภิบาลที่พอเพียงต่อประชากร โดยประชากร เพื่อประชากร ก็จะไม่มีผู้ใดกระทำรัฐประหารได้สำเร็จ หากคนไทยศรัทธาและต้องการประชาธิปไตยก็ต้องเป็นประชาธิปไตยแบบพอเพียง ที่มีความพอประมาณ พอเหมาะพอสม ความรักและการสร้างสรรค์สังคม เป็นแก่นสารและหลักการใหญ่ คือมิติทางด้านต่างๆที่ครบถ้วนและสมดุลในการพัฒนาและดูแลการเมือง เศรษฐกิฐ สังคม ความสุขความจริญของประชาชนทุกกลุ่มไปข้างหน้าได้อยู่ทุกขณะอย่างสมดุลรัดกุมนั้นเอง http://forum.serithai.net/index.php?topic=8307.0
                                                                                                                                 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 27-10-2006, 14:41 »



ดึงแบงก์ชาติสอบเงินล่องหน 4 พันล. http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006october26p7.htm

กรุงเทพธุรกิจ  วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549

"ปรีดิยาธร-ธาริษา "ยืนยันขายที่ดินกองทุนฟื้นฟูฯ คุณหญิงพจมานวงเงิน 772 ล้านบาท โปร่งใสชี้แจงได้ คตส.ดึง "อรรคบุษย์" ผู้บริหารแบงก์ชาติ-อัยการสูงสุด ร่วมทีมสอบทุจริต ใช้กฎหมายปปง.สอบเส้นทางเงินแบงก์กรุงไทย ปล่อยกู้บริษัท ในเครือกฤษดามหานคร หลังแบงก์ชาติตรวจสอบพบเงินที่บริษัทอ้างนำไปไถ่ถอนที่ดินกับธนาคารกรุงเทพ 8,000 ล้านบาท แต่ใช้จริงเพียง 4,446 ล้านบาท "นาม ยิ้มแย้ม" ลั่นไม่หนักใจสอบที่ดิน "คุณหญิงพจมาน" เตรียมตั้งอดีตผู้พิพากษา-ตำรวจ ร่วมอนุกรรมการสอบ

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ คตส.ได้มีมติให้เข้าไปตรวจสอบกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษอดีตผู้บริหารและพนักงาน ธนาคารกรุงไทย ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทจัดสรรที่ดินรายใหญ่ วงเงินหลายพันล้านบาท โดยให้นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ กรรมการ คตส.เป็นผู้รับผิดชอบ ขณะนี้นางเสาวนีย์ได้ทาบทาบบุคคลที่จะเข้ามาเป็นอนุกรรมการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว

โดยบุคคลสำคัญที่จะเข้ามาเป็นอนุกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้คือนายอรรคบุษย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.ซึ่งเคยทำงานในสายคดีที่ธปท.มาก่อนที่จะถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. และถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินคดีกับผู้บริหารสถาบันการเงินในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

นอกจากนายอรรคบุษย์แล้ว ยังมีข้าราชการจากสำนักงานอัยการสูงสุดและนักกฎหมายที่มีความชำนาญ เกี่ยวกับกฎหมายการเงินการธนาคาร มาเป็นกรรมการอีก 2-3 คน เป็นอนุกรรมการด้วย โดยอนุกรรมการชุดนี้ จะประชุมครั้งแรกในวันที่ 27 ตุลาคมนี้

ธปท.ชี้ปล่อยกู้โกลเด้นฯผิดวัตถุประสงค์

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับบริษัทที่ธนาคารกรุงไทยปล่อยสินเชื่อให้แล้วถูกธปท.กล่าวโทษนั้น ไม่ใช่บริษัทโกลเด้นแลนด์ แต่เป็นบริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี่ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกฤษดามหานคร (เคเอ็มซี) จากการตรวจสอบของธปท.พบว่า ธนาคารกรุงไทยได้ปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี่ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด จำนวน 9,900 ล้านบาท โดยนำที่ดินที่เขตเศรษฐกิจใหม่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 4,000 ไร่ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

โดยบริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี่ อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด ให้เหตุผลในการขอสินเชื่อจำนวน 9,900 ล้านบาท เพื่อใช้ไถ่ถอนที่ดินที่ติดค้างอยู่กับธนาคารกรุงเทพ จำนวน 8,000 ล้านบาท อีก 1,900 ล้านบาท ใช้ซื้อที่ดินใหม่ ส่วนที่เหลือ 500 ล้านบาท จะนำมาพัฒนาที่ดินเก่า

อย่างไรก็ตาม ธปท.ตรวจสอบพบว่าเงินที่บริษัทอ้างว่าจะนำไปไถ่ถอนที่ดินกับธนาคารกรุงเทพ จำนวน 8,000 ล้านบาทนั้น ในทางปฏิบัติบริษัทนำไปไถ่ถอนเพียง 4,446 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเกือบ 4,000 ล้านบาท นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และทราบมาว่ามีนักการเมืองระดับชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง 2 ราย ทางธปท.จึงเสนอให้คตส.ใช้อำนาจกฎหมายป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าไปตรวจสอบว่า เงินกู้ที่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ไปอยู่ในกระเป๋าใครบ้าง

"นาม"ดึงอดีตผู้พิพากษาสอบซื้อที่ย่านรัชดา

นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส.กล่าวว่า ตนได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบชุดต่างๆ ตามมติที่ประชุม คตส.อนุมัติ ในส่วนของการตรวจสอบการซื้อขายที่ดินย่านรัชดา ที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการทาบทามบุคคลเข้ามาเป็นอนุกรรมการประมาณ 4-5 คน อาทิเช่น พนักงานตำรวจ เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยประธานอนุกรรมการชุดนี้จะเป็นอดีตผู้พิพากษา เช่นเดียวกับกรณีการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000

นอกจากนี้ ยังมีการเชิญบุคคลภายนอก เข้าร่วมตรวจสอบในฐานะเจ้าพนักงาน ส่วนตนจะเป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น คาดว่าในขั้นตอนการตรวจสอบจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจาก คตส.มีระยะเวลาดำเนินการเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น การดำเนินงานทุกขั้นตอนจึงต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็ว

" ไม่รู้สึกหนักใจในการตรวจสอบเรื่องนี้ แม้ว่าจะมีความเกี่ยวพันกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเรื่องนี้ต้องพิจารณาตามพยานหลักฐาน ผิดก็ว่าตามผิด ถูกก็ว่าไปตามถูก การตรวจสอบโครงการนี้เป็นการร้องเรียนมาจากคนนอก และเคยมีการนำไปอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว" นายนามกล่าวและว่า ส่วนของรายละเอียดโครงการนี้จะส่งผลเสียหายแก่รัฐอย่างไร คงบอกไม่ได้ พูดได้แต่เพียงว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประมูลเท่านั้น ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นการใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองหรือไม่ ก็ต้องว่าไปตามพยานหลักฐาน

นายนามยืนยันว่า การตรวจสอบโครงการนี้ จะเป็นโครงการนำร่องในการตรวจสอบเรื่องทรัพย์สินนักการเมือง ที่เข้าไปซื้อที่ดินราคาถูกต่อไป หากมีการร้องเข้ามาแล้วเห็นว่าดีจะรับไว้ตรวจสอบทั้งหมด ส่วนการเข้าไปซื้อที่ดิน ของคุณหญิงพจมาน จะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ห้ามไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และคู่สมรส เข้าไปทำสัญญากับรัฐหรือไม่นั้น เรื่องนี้ไม่ขอให้ความเห็น

ข้องใจร.ฟ.ท.รับภาระเงินกู้แทนเอกชน

นายแก้วสรร อติโพธิ กรรมการ คตส. กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบโครงการก่อสร้างรถไฟด่วนพิเศษ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า จะเชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยเงินกู้มาชี้แจงข้อเท็จจริงในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ ขณะนี้มีข้อสงสัยกรณีที่ร.ฟ.ท. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องรับภาระค่าธรรมเนียมเงินกู้แทนบริษัทเอกชน การดำเนินการดังกล่าวเหมือนกับการจับเสือมือเปล่า ในการตรวจสอบเรื่องนี้จะเป็นระดับกองงานเท่านั้น เพราะไม่มีความซับซ้อนอะไรมาก โดยตนจะเป็นเพียงผู้กำกับดูแลการดำเนินงานเท่านั้น

ส่วนการตรวจสอบโครงการบ้านเอื้ออาทร ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการระดมเจ้าพนักงานตรวจสอบ ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อเตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูล โดยตนจะรับหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบด้วยตัวเอง  และคาดว่าจะใช้พนักงานตรวจสอบจำนวนมาก แต่ขณะนี้ยังไม่กำหนดว่าจะเลือกลงพื้นที่ใด เพราะต้องมีการหารือกันก่อน

คตส.ตั้งอนุกรรมการสอบ 2 โครงการฉาว

ส่วนความคืบหน้าการประชุมอนุกรรมการชุดต่างๆ ที่ คตส.มีมติให้ตั้งอนุกรรมการตรวจสอบ วานนี้ (26 ต.ค.) คณะอนุกรรมการตรวจสอบ ที่มีนายบรรเจิด สิงคะเนติ นายอุดม เฟื่องฟุ้ง และนาง เสาวนีย์ อัศวโรจน์ รับผิดชอบ 2 เรื่อง คือ โครงการจ้างเหมาเพาะพันธุ์กล้ายางพาราชำถุง 90 ล้านต้น หรือโครงการกล้ายาง วงเงิน 1,440 ล้านบาท และโครงการออกสลากเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว ได้ประชุมอนุกรรมการ โดยมีนายดนัย อนันติโย อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ สภาทนายความ พ.ต.ท.สุเทพ สุทัสน์มาลี หัวหน้าพนักงานสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดราชบุรี และนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ร่วมประชุม

นายบรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการ คตส. กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับอนุกรรมการ เพื่อกำหนดแนวทางการสอบสวนให้ชัดเจน ทั้งในส่วนของการสอบสวนสำนวนเอกสารและบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง เบื้องต้นจะมุ่งประเด็นไปที่เรื่องรวมที่เกิดขึ้นว่ามีความเป็นมาอย่างไร รวมถึงการกำหนดทีโออาร์ ในการว่าจ้างสัญญาการประมูลงาน การดำเนินงานทั้งหมดจะใช้พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) กฎหมายควบคุมยาง กฎหมายป.ป.ช.และกฎหมายอาญา การสอบสวนเกี่ยวกับโครงการนี้ คาดว่าจะใช้เวลานานพอสมควร เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อนและมีตัวละครเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก

สำหรับกำหนดการประชุมครั้งหน้าของอนุกรรมการชุดนี้คือทุกวันอังคาร โดยจะมีการเชิญเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ จำนวน 2 ราย มีบางส่วนที่เป็นอดีตข้าราชการมาสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการนี้

นางเสาวนีย์กล่าวว่า ในส่วนของตนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบการตรวจสอบการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย คงจะมีการขอข้อมูลไปยังป.ป.ช. เพื่อมาดูรายละเอียดในการตรวจสอบ คาดว่าทุกโครงการจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน

เดินหน้าสอบหวย 2 ตัว 3 ตัววันนี้

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายให้เป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบโครงการเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ซึ่งอนุกรรมการชุดนี้จะมีการประชุมกันวันนี้ (26 ต.ค.) ส่วนแนวทางการตรวจสอบที่วางไว้ การสอบสวนหาความจริงและที่มาที่ไปในทุกเรื่อง ที่สังคมอยากรู้เกี่ยวกับโครงการนี้ พร้อมเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง

แหล่งข่าวจาก คตส. กล่าวว่า สำหรับอนุกรรมการคนนอกที่ตรวจสอบเรื่องกล้ายาง ประกอบด้วย นายดนัย อนันติโย อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ สภาทนายความ พ.ต.ท.สุเทพ สุทัสน์มาลี หัวหน้าพนักงานสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดราชบุรี และนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ โดยนายบรรเจิดได้มอบให้อนุกรรมการแต่ละคนไปศึกษารายละเอียดและเชิญผู้เชี่ยวชาญ เรื่องยางพาราจากกรมวิชาการเกษตร มาให้ข้อมูล เบื้องต้นได้กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบไว้ไม่เกิน 2 เดือน โดยการดำเนินการของอนุกรรมการชุดนี้จะมีการลงสำรวจพื้นที่จริงด้วย

"ปรีดิยาธร-ธาริษา"ยันขายที่"พจมาน"โปร่งใส

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และดร.ธาริษา วัฒนเกส ว่าที่ผู้ว่าการ ธปท. ระบุตรงกันว่า การขายที่ดินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน บริเวณถนนรัชดาภิเษก ให้คุณหญิงพจมาน เป็นเงิน 772 ล้านบาทเมื่อปี 2546 เป็นการดำเนินการอย่างโปร่งใส เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยที่ตนเป็นผู้ว่าการ ธปท.อยู่ แม้เป็นเรื่องของกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ยืนยันได้ว่าทุกอย่างบริสุทธิ์ สะอาด โปร่งใส สามารถชี้แจงได้

ขณะที่ ดร.ธาริษา กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า "ดำเนินการอย่างโปร่งใส"

ก่อนหน้านี้ นางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ รองผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กล่าวว่า การประมูลขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟูฯ ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง และมีความโปร่งใส โดยราคาที่ดินที่คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ชนะการประมูล สูงกว่าราคากลางที่กองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งไว้

ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าราคาที่ดินในขณะนี้สูงถึง 1,400 กว่าล้านบาท ถือว่าสูงกว่าราคาที่ประมูลได้ ในช่วงเปิดซองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2546 โดยประมูลได้ในราคา 772 ล้านบาท เรื่องดังกล่าวอาจจะเป็นไปได้ ที่ราคาที่ดินด้านหน้าติดถนน อาจจะมีราคาสูงในช่วงนี้ แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่ราคาจะเท่ากันทั้งแปลง เพราะโฉนดที่ดินมีเนื้อที่กว้างมากส่วนด้านหลังราคาอาจจะไม่เท่ากับพื้นที่ด้านหน้า

เกษตรฯตั้ง"กนก"สอบทุจริตพืชสวนโลก

นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้ตั้งนายกนก คติการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงปัญหาการทุจริต การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จะเริ่มสอบสวนหลังการจัดงานไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานในระหว่างนี้ไปก่อน โดยไม่สะดุด จากความคืบหน้าของการดำเนินการในทุกด้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จทันวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: