ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
24-04-2024, 02:31
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  หลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิในที่ดิน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
หลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิในที่ดิน  (อ่าน 5648 ครั้ง)
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« เมื่อ: 04-10-2006, 14:08 »

หลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิในที่ดิน

การแบ่งประเภทของสิ่งต่างๆ

ในทัศนะของมนุษย์ ซึ่งย่อมถือตนเองเป็นศูนย์กลาง หรือเป็นใหญ๋ สรรพสิ่งทั้งหลายแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ คือ
๑. สิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ โดยรวมก็คือสากลจักรวาล หรือเอกภพ บางทีเราก็คิดเป็นส่วนย่อยที่เราเกี่ยวข้องด้วย เช่น โลก แผ่นดิน ทางเศรษฐศาสตร์คือ “ที่ดิน” ซึ่งหมายความรวมถึง เนื้อที่ หรือ ที่ว่าง (space) และทรัพยากรธรรมชาติ
๒. มนุษย์ มนุษย์เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ที่ก่อผลกระทบกระเทือนใหญ่หลวงต่อทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม ยิ่งมีความสามารถผลิต (เจริญมาก?) ยิ่งก่อผลกระทบกระเทือนมาก การบริโภคก็วิจิตรประณีต หลากหลายขึ้นตามส่วน ด้านการผลิตนั้น มนุษย์ต้องใช้ “แรงงาน” (แรงกาย แรงสมอง รวมถึง การประกอบการ) กระทำต่อที่ดิน และต้องกระทำอยู่บนที่ดิน แม้ยามไม่ได้ผลิต เช่น เวลานอน ก็จำเป็นต้องมีเนื้อที่ หรือที่ดิน รองรับ หากถูกพรากไปจากที่ดิน มนุษย์จะมีชีวิตอยู่หาได้ไม่ เงื่อนไขแห่งการมีชีวิตคือต้องมีที่ดิน
๓. สิ่งที่มนุษย์ลงแรงลงทุนผลิตได้มา ปกติก็คือ “เศรษฐทรัพย์” (wealth) เศรษฐทรัพย์ย่อมเสื่อมสลายไปเรื่อยๆ เหมือนมนุษย์ ในที่สุดก็คืนสภาพกลับสู่ดิน หรือที่ดิน เศรษฐทรัพย์แบ่งได้เป็น ๒ ชนิด แล้วแต่เจตนาของการใช้ประโยชน์ (ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้) คือ “โภคทรัพย์” ได้แก่เศรษฐทรัพย์ที่ใช้บริโภคโดยตรง และ “ทุน” คือ เศรษฐทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตเศรษฐทรัพย์สำหรับการแลกเปลี่ยน ได้แก่เครื่องมือ จักรกล โรงงาน เป็นต้น และเศรษฐทรัพย์ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน เช่น สินค้าที่อยู่ในร้าน

ปัจจัยการผลิต มี ๓ ปัจจัย โดยถือหลักทำนองเดียวกับการแบ่งประเภทของสิ่งต่างๆ
๑. ที่ดิน ผลตอบแทนต่อการใช้ที่ดิน คือ ค่าเช่าที่ดิน ไม่ว่าจะใช้ที่ดินของเราเองหรือเช่าจากผู้อื่น
๒. แรงงาน ผลตอบแทนคือ ค่าแรง ไม่ว่าผู้นั้นจะทำงานของตนเอง หรือรับจ้างผู้อื่นทำงาน
๓. ทุน ผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ย ควายไถนาเป็น “ทุน” ของมนุษย์ ผลตอบแทนของการใช้ควายจึงมิใช่ “ค่าแรง” แต่เป็น “ดอกเบี้ย” และที่เรียกว่า “ค่าเช่ารถ” นั้น ทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็น “ดอกเบี้ย” สำหรับการใช้รถ ส่วนเงินตราถือว่าเป็นตัวแทนของเศรษฐทรัพย์ และเรียกผลตอบแทนว่า ดอกเบี้ย เหมือนกัน

Sir William Petty (ค.ศ.1623-1687) เปรียบเทียบว่า ที่ดินคือมารดาของผลผลิต และ บิดาของผลผลิตคือแรงงาน

การผลิตจะเกิดขึ้นได้ต้องมีอย่างน้อย ๒ ปัจจัยแรก คือ ที่ดิน และ แรงงาน เช่น การเก็บของป่า แต่ถ้ามีทุนช่วยก็ทำให้ความสามารถผลิตสูงขึ้น สะดวกสบายขึ้น

ความเท่าเทียมกันควรใช้เฉพาะกับสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ
อารยชนถือว่า “มนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน”
สิ่งที่ควรให้มีเท่าเทียมกันคือ สิ่งต่างๆ ประเภทที่ ๑ คือ “ที่ดิน” ซึ่งรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ
ส่วนประเภทที่ ๒ ตัวมนุษย์เอง ควรเป็นของแต่ละคน
ประเภทที่ ๓ คือ สิ่งที่มนุษย์ลงแรงลงทุนผลิตขึ้นมา ใครผลิตใครสร้าง ก็ควรเป็นของผู้นั้น และยกให้กันหรือขายให้กันได้ ผู้รับก็ควรมีสิทธิในสิ่งที่รับมาหรือซื้อมาเต็มที่

แต่ในการผลิตจะต้องแบ่งผลตอบแทนให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งสาม หรืออย่างน้อยก็สองปัจจัยแรก ยกเว้นถ้าทำการผลิต ณ ที่ดินชายขอบ หรือ ขอบริมแห่งการผลิต (Margin of Production) ซึ่งที่ดินที่นี่ไม่มีราคา และไม่มีการใช้ทุน แรงงานจึงจะได้รับผลตอบแทนไปทั้งหมด ซึ่งก็คือผลผลิตของเขาเอง

ผลตอบแทนต่อปัจจัยการผลิตที่ ๑ คือ ค่าเช่าที่ดิน มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นสิ่งที่ทำให้ แรงงาน และ ทุน ได้รับผลตอบแทนเท่าเทียมกันไม่ว่าจะทำการผลิต ณ ที่ดินอุดมมากน้อยผิดกันเพียงไร ถ้าที่ดินอุดมมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดินย่านธุรกิจซึ่งให้ผลตอบแทนได้มาก เพราะการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลผลิตและบริการเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว) ค่าเช่าก็จะสูง หักแล้วเหลือเป็นค่าแรงและดอกเบี้ยพอๆ กับค่าแรงและดอกเบี้ย ณ ที่ดินชายขอบ

แต่การจะให้มีความเท่าเทียมกันในที่ดินนั้น เราไม่ต้องแบ่งที่ดินให้ทุกคนเท่าๆ กัน (โดยมูลค่า) ซึ่งเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ธรรมชาติของสังคมมนุษย์มีวิธีที่ง่ายมาก ผิดกับปัจจุบันที่ปล่อยให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์จากที่ดินไปเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเก็งกำไรสะสมแสวงหาที่ดิน ทำให้ที่ดินแพงขึ้นอย่างมากมาย คนจนต้องเสียค่าเช่าที่ดินแพงกว่าปกติ และยังต้องเสียภาษีอื่นๆ ซึ่งไม่น่าเก็บ แต่จำเป็นต้องเก็บ เพราะแหล่งรายได้ที่ชอบธรรมของรัฐคือที่ดิน รัฐกลับปล่อยให้รายได้นั้นตกแก่เจ้าของที่ดิน

มิเพียงเท่านั้น การเก็บภาษีอื่นๆ และการเก็งกำไรที่ดินยังเกิดผลเสียแก่ส่วนรวมมากมาย ได้แก่ การลงทุนมีต้นทุนการผลิตสูง มีการลงทุนผลิตน้อย การจ้างงานน้อย ค่าแรงต่ำ แต่ของแพง มีผลร้ายต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวและความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ.

บทความที่เกี่ยวข้อง -
สิทธิในตนเอง ในทรัพย์สิน และ ในที่ดิน
ที่ http://www.bbznet.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=93&c=1&order=numtopic
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #1 เมื่อ: 04-10-2006, 14:13 »

อ้างถึง
แต่การจะให้มีความเท่าเทียมกันในที่ดินนั้น เราไม่ต้องแบ่งที่ดินให้ทุกคนเท่าๆ กัน (โดยมูลค่า) ซึ่งเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ธรรมชาติของสังคมมนุษย์มีวิธีที่ง่ายมาก ผิดกับปัจจุบันที่ปล่อยให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์จากที่ดินไปเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเก็งกำไรสะสมแสวงหาที่ดิน ทำให้ที่ดินแพงขึ้นอย่างมากมาย คนจนต้องเสียค่าเช่าที่ดินแพงกว่าปกติ และยังต้องเสียภาษีอื่นๆ ซึ่งไม่น่าเก็บ แต่จำเป็นต้องเก็บ เพราะแหล่งรายได้ที่ชอบธรรมของรัฐคือที่ดิน รัฐกลับปล่อยให้รายได้นั้นตกแก่เจ้าของที่ดิน

นี่แหละค่ะ ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยเรา ที่รออัศวินขี่ม้าขาว มาจัดการแก้ไข โดยสมานฉันท์ และปราศจากการนองเลือด

ประเทศไทยเลิกทาสให้คนมานานแล้ว เหลือแต่ที่ดินซึ่งยังตกเป็นทาสอยู่ หากใครเลิกทาสที่ดินได้ ประชาชนชาวไทยจะอยู่ดีมีสุขค่ะ
บันทึกการเข้า
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 04-10-2006, 14:29 »

ก็พูดยาก ต้องถามว่า ถ้าที่ดินเป็นของรัฐแล้วจะดีจริงหรือ สุดท้ายที่ดินดีๆ ก็จะตกอยู่ในมือของอภิสิทธิ์ชนกลุ่มหนึ่งอยู่ดี


บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 05-10-2006, 00:25 »

เราไม่เอาที่ดินเป็นของรัฐครับ ปล่อยให้ราษฎรซื้อขายหรือทำอะไรกับที่ดินได้เหมือนปัจจุบัน แต่ใช้วิธีเก็บภาษีที่ดินเท่ากับค่าเช่าที่ควรจะเป็น ที่ดินที่จะต้องเสียภาษีมากก็คือที่ดินในย่านชุมนุมชน แล้วก็ลดหลั่นกันไป

ผลของภาษีที่ดินแบบนี้ ราคา/ค่าเช่าที่ดินจะลด เพราะที่ดินจะไม่ถูกเก็งกำไรเก็บกักปิดกั้นไว้ แต่จะเปิดออกเพื่อหาประโยชน์ให้คุ้มกับการเสียภาษีให้รัฐ รวมทั้งให้เช่า หรือทำประโยชน์เอง หรือมิฉะนั้นก็ขายให้แก่ผู้ที่เห็นทางทำประโยชน์ การทำประโยชน์ก็มักต้องหาคนมาทำงานให้ เจ้าของที่ดินต่างคนต่างต้องทำอย่างนี้ ก็เกิดแข่งขันกันเอง การว่างงานจะลด ค่าแรงจะเพิ่ม ผลตอบแทนต่อการใช้ทุนก็เพิ่มครับ
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 05-10-2006, 00:34 »

ขออภัยครับ ลืมไป - แต่ขอให้ค่อยเป็นค่อยไป โดยค่อยๆ เพิ่มภาษีที่ดิน และค่อยๆ ลด/เลิก ภาษีอื่นๆ อาจต้องใช้เวลาหลายสิบปี ภาษีที่ดินจึงขึ้นถึงระดับค่าเช่าตามที่ควรจะเป็น ก็การเลิกทาสยังใช้เวลาราว 30 ปีด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
เพนกวินน้อยนักอ่าน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 866



« ตอบ #5 เมื่อ: 05-10-2006, 12:14 »

ก็ดูมีความเป็นธรรมในการกระจาย การถือครองที่ดินดีนะครับ
แต่ยังไง คนทุนหนาก็คงได้เปรียบอยู่ดี

คนทุนน้อย ก็ต้องเลือกหาสิ่งที่พอใจรองๆลงไป
ก็เป็นความเท่าเทียม ที่พอจะยอมรับได้นะครับ
ค่อนข้างเห็นด้วยทีเดียว
 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #6 เมื่อ: 05-10-2006, 13:19 »

อ้างถึง
แต่ขอให้ค่อยเป็นค่อยไป โดยค่อยๆ เพิ่มภาษีที่ดิน และค่อยๆ ลด/เลิก ภาษีอื่นๆ อาจต้องใช้เวลาหลายสิบปี ภาษีที่ดินจึงขึ้นถึงระดับค่าเช่าตามที่ควรจะเป็น ก็การเลิกทาสยังใช้เวลาราว 30 ปีด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช

เห็นด้วยค่ะ และขอเสนอเสริมว่า ภาษีที่ดินจะต้องยึดหลักจำนวนที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินควบคู่กันไปด้วย

บุคคลหนึ่งมีที่เพียง 50 ตารางวาแปลงเดียวในเขตเมือง เพียงพอแค่ปลูกบ้านอาศัย ไม่น่าจะต้องเสียภาษี
บุคคลหนึ่งมีที่ 50 ไร่แปลงเดียวในเขตกสิกรรม เพียงพอต่อการทำมาหากินด้วยการเกษตร  ไม่น่าจะต้องเสียภาษี

แต่บุคคลหนึ่งมีที่หลายแปลง ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เป็นที่รกร้างว่างเปล่า หรือให้เช่าเอากำไร เกินความจำเป็นของการทำมาหากินหรืออยู่อาศัย ต้องเสียภาษีมากกว่า ตัวอย่างราชาที่คิด ถือไว้นับพันนับหมื่นแปลง เพื่อเก็งกำไร ต้องฟาดภาษีให้หนัก

ไม่ยกเว้นแม้แต่จะถือครองไว้ในสภาพนิติบุคคล ต้องคิดภาษีให้หนักเข้า

ปลดทาสที่ดิน ให้ประชาชนมีที่ดินทำกิน ประเทศไทยรุ่งเรืองแน่นอนค่ะ
บันทึกการเข้า
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 06-10-2006, 07:42 »

การจะยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษีที่ดินถ้าเป็นบ้านอยู่อาศัยไม่เกินเนื้อที่ที่กำหนดอันหนึ่ง ถ้าเป็นไร่นาไม่เกินเนื้อที่ที่กำหนดอีกอันหนึ่ง จะทำให้สังคมส่วนรวมมีรายได้น้อยมาก แต่ละคนก็เลยจะยังต้องเสียภาษีจากการลงแรงและลงทุนอีกต่อไปเกือบเหมือนเดิม และเป็นการไม่ยุติธรรมเพราะที่ดินที่ได้รับยกเว้นมีดีมีเลวถูกแพงแตกต่างกันไป ครั้นจะแยกโซนย่อยลงไปมากก็ยุ่งยากทางการบริหารครับ

ต้องทบทวนว่าบทความของผมได้กล่าวแล้วว่าสิ่งที่ควรให้มีเท่าเทียมกันคือที่ดินอย่างเดียว ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า ยกเว้นภาษีที่ดินแล้ว ภาษีอื่นๆ แทบทั้งสิ้นจะตกเป็นภาระแก่ผู้ทำงานและผู้ลงทุน ซึ่งไม่ควรเก็บ เพราะแหล่งรายได้ที่ชอบธรรมของรัฐคือที่ดิน รัฐกลับปล่อยให้รายได้นั้นตกแก่เจ้าของที่ดิน

สำหรับคนทำงานที่มีฐานะเจ้าของที่ดินด้วย แม้จะเสียภาษีที่ดินเพิ่ม แต่ภาษีที่เคยเสีย (เช่น ภาษีเงินได้ และภาษีทางอ้อมที่ถูกผู้ผลิตผลักภาระให้ในรูปของราคาสินค้าที่สูงขึ้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีการขายในรูปแบบอื่นๆ ภาษีการผลิต ภาษีขาเข้า เหล่านี้) จะไม่ต้องเสียหรือเสียน้อยลงมาก ภาษีเหล่านี้เรามักคิดว่าเราจ่ายน้อย แต่ขอให้ลองรวมกันทั้งปีและรวมทุกคนในครอบครัวดูเถิดครับ
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #8 เมื่อ: 06-10-2006, 08:18 »

    เจ้าของกระทู้ คือ คุณ   สุธณ หิญ    แน่ๆเลย   เปลี่ยนชื่อแล้วหรือครับ     
 
     ผมจะบอกให้ที่คุณ เข้าใจมาตลอดชีวิตน่ะ    ผิดครับ
 
     ผมขอทายว่า    ตอนเด็กๆ   คุณอยู่ในครอบครัว  ที่พ่อแม่ต้องเช่าที่นา เค้าทำ คุณจึงเกิดความฝังใจ เรื่อง
 
   ความอยุติธรรมในเรื่องที่ดิน          ผมทายถูกมั้ยครับ   
 
   
     
บันทึกการเข้า
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 06-10-2006, 09:32 »

สวัสดีคุณ glock19 ครับ

ยินดีที่คุณสนใจผมหรือบทความของผม แต่ผิดหวังที่คุณยังไม่เห็นผลร้ายของการปล่อยให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์จากที่ดินไปเป็นส่วนใหญ่ และการที่ผู้ทำงานและผู้ลงทุนต้องแบกรับภาษีต่างๆ อยู่ครับ

ถ้าเป็นที่พันทิป เวลาผมส่งข้อความเข้ากระทู้ตอนที่เป็นความคิดเห็นที่ 1, 2, . . . ผมจะใส่ชื่อเว็บ ยูโทเพียไทย เข้าไปด้วย มันก็จะออกมาเป็น ยูโทเพียไทย (สุธน หิญ) คือออกมาทั้งชื่อเว็บและชื่อตัวผมเลยครับ . . . เสียดายที่ทำไม่ได้แบบนี้ตอนตั้งกระทู้ มันเลยออกมาแต่ชื่อ สุธน หิญ อิ อิ

ที่คุณทายน่ะ ผิด ครับ ตอนผมยังเด็กๆ พ่อผมพาผมไปเก็บค่าเช่านาด้วยซ้ำไปครับ  5 5 5

คุณว่าผมเข้าใจผิด ดีครับ ผิดยังไงบรรยายมาเลย เผื่อผมจะเปลี่ยนใจมาชอบแบบที่คุณคิดว่าดีบ้าง ! ! !

บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #10 เมื่อ: 06-10-2006, 13:02 »

     ผมจะว่าเป็นข้อๆ ไป
  1. ตั้งแต่โบราณ  ที่ดิน ก็อยู่ในครอบครองของเกษตรกร คนไทย ไม่ต้องซื้อต้องหาด้วย ใครมีแรง หักร้างถางพงเท่าไหร่  ก็ได้ที่ดินเท่านั้น แถม ต้นไม้ ที่หักร้าง ยังนำมาปลูกบ้าน หรือทำรั้วได้อีก   เพราะฉนั้น คนขยัน ก็จะมีที่ดินมาก
  ที่ดิน มีพอเพียงสำหรับทุกคน     คนไหนขี้เกียจ หรือขยันน้อยหน่อยก็ หักร้างถางพงเอาแค่ พอกิน  ไม่เอาแบบเหลือเก็บ   คนจีนสมัยก่อนลงเรือสำเภามาแบบเสื่อผืนหมอนใบ  ถูกรัฐบาลกีดกันในการถือครองที่ดิน  ไม่สามารถมีที่ดินได้
  ก็ต้องเช่าเค้าปลูกผัก   ทำนา แต่ด้วยความขยันขันแข็ง  ก็เก็บหอมรอมริบ จนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวเก็บเงินทอง ไว้ซื้อที่ดินเป็นของตนเอง  ( ในชื่อคู่สมรส)   
       ซื้อจากใครล่ะครับ    ก็ซื้อจาก เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งเป็นคนไทยนั่นแหละ     แล้วเจ้าของที่ดินเดิม  เมื่อขายที่ดินแล้ว   เอาเงินไปไหนหมดล่ะ    ไม่อยากพูดให้แสลงใจ คุณคงทราบดี
 
    2.   ปัจจุบัน กลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดิน ที่มากที่สุด คือ   เกษตรกร   ครับ   จากเท่าที่ผมเห็น  เฉลี่ยแล้ว   ครอบครัวนึงมีที่ดินอย่างน้อย  10 ไร่ขึ้นไป ( ค่าเฉลี่ย นะครับ   เพราะบางครอบครัวอาจจะไม่มีเลย  บางครอบครัวอาจมีเป็นร้อยไร่)     แต่แทบไม่ต้องเสียภาษีเลย     ภาษีรายได้ไม่ต้องเสีย ส่วนภาษีที่ดินที่ชาวบ้านเรียกภาษีดอกหญ้าแค่  แปลงละ 10บาท เท่านั้น ส่วนกลุ่ม คน ชั้นกลางที่ค้าขาย  ใช้พื้นที่ดินแค่  5 ตารางเมตร   หรือ 10ตารางเมตร  ในการวางแผงขายสินค้าเท่านั้นเอง   ส่วนบ้านพักอาศัยก็ใช่พื้นที่แค่  20  ตารางวา   60  ตารางวา
 
    ถ้า100 ตารางวานี่ คนรวยเลยครับ   คนพวกนี้ เป็นพวกที่เสียภาษีมาก  เรียกว่าเป็นฐานภาษีของประเทศเลยครับ
 
  3. จากประสพการณ์ที่ผมเห็น   คนแถวบ้านผม  (ภาคอีสาน)  ชาวบ้านได้ที่ดิน ติดถนน ใหญ่มาแบบฟรีๆเลย คนละ 
   25 ไร่   เป็นที่ ที่ทางการจัดสรรให้   พอออกหลักฐานเป็น นส3  หรือ โฉนด  เค้าก็ขาย ได้เงิน 3ล้าน 4ล้าน  ออกปิคอัพให้ลูกคนละคัน   พอมีรถก็เที่ยว   เที่ยวไปเที่ยวมา เงินหมดเอารถจำนำไฟแนนซ์   ไปๆมาๆ  รถโดนยึดหมด  ที่ดินก็หมด รถก็หมดเงินก็หมด    สุดท้ายก็เช่าที่เค้าทำนา  นี่ แบบนี้ผมเห็นมามากเลยครับ
 
     อีกประเภทนึง   ได้ที่ดินมาฟรีๆเหมือนกัน   เป็นที่ สปก.  คือ หักร้างถางพงเอา  แล้วทางการก็ออกเอกสารสปก ให้     ใส่ชื่อลูก บ้าง เมียบ้าง  รวมแล้ว ครอบครัวนึง มีเกือบร้อยไร่      แต่เชื่อมัย เวลาทำนา ต้องเช่านาคนอื่นทำ
      เพราะนาตัวเองเอาไปจำนำ    กับคนอื่นไว้แล้ว     (จำนำในภาษาของชาวบ้านนี้คือ     นาย ก.  มีที่ดินแปลงนึง
  นายก. ไปยืมเงินนาย ข. มา  20000  บาท  แต่ต้องผลประโยชน์นายข. คือ ยกนา ของตนเองให้ นาย ข. ทำ  จนกว่า ตนเองจะมีเงินไปใช้คืนนาย ข.        ( ยกนาตัวเองให้เค้าทำแทนการเสียดอกเบี้ย  ชาวบ้านเรียก จำนำนา)
 
    คุณไปดูได้    กรณีแบบนี้มีมากเสียยิ่งกว่ามาก     
 
       ตั้งแต่เกิดมา ที่ตารางวาเดียวผมไม่เคยได้ฟรีๆ  ต้องซื้อมาทั้งนั้น    แต่ คนยากคนจนของคุณ ไปถามดูได้ ที่ดินได้มาฟรีๆ ทั้งนั้น    แต่ได้มาแล้ว ขายกินหมด
 
             คุณลองจินตนาการดูว่าถ้ามีมือยักษ์   จับเอา คนแถวเยาวราชทั้งหมดไปกองรวมที่  ทุ่งกุลาร้องไห้
 
    แล้วจับคนแถวทุ่งกุลาร้องไห้ ไปไว้เยาวราช      คุณว่า 10ปีผ่านไปจะเป็นยังไง
 
       สำหรับผมผม คิดว่า   ทุ่งกุลาร้องไห้ ก็จะกลายเป็นแหล่ง ค้าขาย  เป็นศูนย์กลางการค้า ที่ดิน ถูกๆนั้น ก็จะกลายเป็นมีราคามหาศาล
 
       ส่วนเยาวราช  ก็จะกลายเป็นสลัม
   4.  ในการซื้อขายที่ดินนั้น   เป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ    หรือกดราคา   ถ้าคุณคิดว่า เค้าให้ราคาถูก    ก็อย่าไปขาย   สิ     คนขาย ก็ควรจะ มีวิจารณญาณ ว่า ที่แปลงนี้  ราคาเท่านี้  กับ ถ้าเราไม่ขาย แล้วใช้ประโยชน์ในที่ดินแบบไหนจะคุ้มกว่ากัน    เช่นถ้าขายไปแล้วได้เงินมาแค่ สองหมื่น แต่ ขายไปแล้วคุณต้องเช่าเค้าในราคา ปีละ หนึ่งหมื่น แบบนี้จะไปขายทำไม เพราะ ขายได้เงินมา สองหมื่นจ่ายค่าเช่าเค้า2 ปีก็หมดแล้ว    ดังนี้เป็นต้น
 
          หรือ ฝ่าย  คนซื้อ ก็เช่นกัน    คุณจะไปลงโทษเค้าโดยเก็บภาษีที่ดินแพงๆ น่ะ ถูกต้องแล้วหรือ   เพราะกว่าเค้าจะได้ที่ดินนั้นมา เค้าก็ต้องใช้เงิน ของเค้า ไป แลกมา   ไม่ได้ได้มาเปล่าๆซะหน่อย  และเงินนั้น ถ้าไม่ได้ซื้อที่ดินเค้าก็สามารถนำไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ   แต่เมื่อนำมาซื้อที่ดิน ก็เสียประโยชน์ในส่วนนั้นไป แล้วจะไปลงโทษเค้าน่ะยุติธรรมแล้วหรือ
   
   5.   สำหรับความเห็นของผม   ถ้าคนเรา มีความคิด   มีความอ่าน  ไม่ขี้เกียจ ไม่ติดอบายมุข  ไม่ขาดแคลนที่ดินหรอก ครับ     ราคาที่ดินมันเป็นไปตามกลไกตลาดอยู่แล้ว    บางทีราคา ตารางวาละ แสน  บางที่ตารางวาละ50บาท       ถ้าเป็นคน ไม่มีความคิด   ต่อให้เอาที่ดินไปแจก คนละ 50 ไร่ มันก็ขายกินหมด
          ส่วนคนที่มีความคิด ต่อให้   มาจากเมืองจีนแบบตัวเปล่าๆ   ก็สามารถมีที่ดินได้มากมาย     สรุปแล้วคือว่า   มันอยู่ที่ตัวบุคคลครับ     
บันทึกการเข้า
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #11 เมื่อ: 06-10-2006, 13:14 »

     ลองดูเกาะฮ่องกง ญี่ปุ่น   สิงคโปร์ สิ เล็กนิดเดียว   เฉลี่ยแล้ว คนนึง มีไม่ถึง ตารางวา ซะด้วยซ้ำ  ต้องทำเป็นตึกสูงระฟ้า
  ของเค้าไม่เห็นต้องมีที่ดินมากๆเลย แต่ประเทศเค้า ก็ร่ำรวย  มหาศาล
 
       ผมจะบอกความจริงให้ที่คนไทยต้องยากจน   เพราะ  ไปหลงโง่ ทำนาครับ    ไม่เกี่ยวกับมีที่ดินน้อยที่ดินมากอะไรหรอก    คุณลองคิดดูสิ ชาวนาที่ไหนไม่ยากจนบ้าง     และคนรวยๆๆๆ น่ะ เค้าไม่ได้รวยเพราะมีที่ดินเยอะ
    เค้ารวยมาจากการทำอย่างอื่น     พอรวยแล้ว จึงค่อยซื้อที่ดิน     เข้าใจมั้ยครับ
 
      ยกตัวอย่างให้ฟัง    คนไม่ได้รวยเพราะใส่เพชร      แต่พอรวยแล้ว จึงค่อยซื้อเพชรใส่
บันทึกการเข้า
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #12 เมื่อ: 06-10-2006, 13:21 »

คุณ glock19

ต้องมองแค่พื้นฐานก่อน คือ  ใครถือครองที่ดินมาก เกินเท่าไหร่ก็ว่าไป ก็จะเสียภาษีการถือครองมาก

คิดตามราคาประเมินไปเลยไม่ยุ่งยากครับ มีรายละเอียดอยู่แล้วไม่ต้องทำใหม่อะไรเลย

 
จะทำให้คนที่มีฐานะต่ำลงมา  มีที่ดินเหลือให้อยู่อาศัยบ้าง ไม่ว่าจะในไหน

ในเมือง ก็จะไม่มีที่ดินรกร้าง รอวันสร้าง หรือ รอเก็งกำไร

ในชนบท  คนที่มีที่นา ที่สวนเยอะๆ ก็ต้องสร้างงาน หรือ กระจายที่ดิน ให้คนอื่นมีโอกาสทำบ้าง   
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #13 เมื่อ: 06-10-2006, 13:35 »

  เอาล่ะ    ลองคิดตามผมนะ  สมมุตว่า   ทางการเค้าเชื่อแบบที่คุณสุธน เชื่อ  และออกกฎหมายเก็บภาษีที่ดิน แพงๆ สำหรับ คนถือครองที่ดินเยอะๆ ( คนรวย)     มาดูความเป็นไปได้ 2 แบบ   
 
   แบบที่1.    ในเมื่อ ทางการเก็บภาษีที่ดินแพงๆ    เพราะฉนั้น  ถ้าคนมีที่ดินเยอะๆ  ก็จะไปขึ้นค่าเช่า ที่ดิน เอากับคนเช่า       คนเช่า ( คนจน)  ซวยอีกแล้ว ใช่ไหม
 
   แบบที่2.    ในเมื่อทางการเก็บภาษีที่ดินแพงๆ    และทางการออกกฎหมายห้ามเก็บค่าเช่าแพงๆ  ดังนั้น คนที่มีที่ดินเยอะๆ จะเก็บที่ดินเอาไว้ทำไมล่ะ    ก็พากันขาย สิครับ    เมื่อ มีแต่คนขาย เยอะๆ  ที่ดินก็ถูก   อาจจะเหลือ แค่
 ไร่ละ  พ้น หรือ 2 พันแบบสมัยโบราณ     อ่ะ ดีละซี   คิดงี้ใช่ไหม     ลองคิดดูอีกมุมซี   ที่นี้ ถ้า คนจน นั้น ต้อง เอาที่ดินไปกู้ธนาคาร   ซัก   สองแสนบาท     ต้องเอา ที่ดิน ไปวางถึงร้อยไร่ เชียวนะครับ     ถ้าไม่มีไปใช้คืน ก็โดนธนาคารยึด เป็นร้อยไร่ เหมือนกัน สำหรับเงิน แค่ สองแสน
บันทึกการเข้า
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #14 เมื่อ: 06-10-2006, 13:54 »

  ผมจะสรุปละ
 1.   ความแตกต่างในเรื่องฐานะ ยากจนหรือร่ำรวย มาจาก  นิสัยของตนเอง และ   การเลือกที่จะประกอบอาชีพ
     
      ( ถ้าใครเลือกที่จะประกอบอาชีพทำนา   นี่ แน่นอนครับ   ยากจน 99 %
  2.  คนรวยส่วนใหญ่  ไม่ได้ร่ำรวยเพราะมีที่ดินเยอะ   
 
  3. เกษตรกรผู้ยากจน   ส่วนใหญ่   เคย เป็นเจ้าของที่ครอบครองที่ดินจำนวนหลายๆไร่มาแล้วทั้งนั้น และได้มาฟรีๆซะด้วย   แต่เมื่อเลือกอาชีพผิด ประกอบกับ นิสัยบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถรักษาที่ดินนั้นไว้ได้
 
  4.  เกษตร กร ผู้ยากจน  ส่วนใหญ่ในปัจุบัน ก็ยังคงถือครองและใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดิน มากกว่า อาชีพอื่น
     
     ( เช่นคนชั้นกลางเปิดร้านขายมือถือ ใช้พื้นที่แค่ 10ตารางเมตร      แต่ คนทำนา ใช้พื้นที่ 25 ไร่)    แต่คนซึ่งใช้พื้นที่10ตารางเมตร   ต่างกัน 4000 เท่ากลับต้องเสียภาษีให้รัฐมากกว่า คนใช้พื้นที่25ไร่
บันทึกการเข้า
pankgara
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 114



« ตอบ #15 เมื่อ: 06-10-2006, 14:00 »

ฟังดูดีแต่รู้สึกไม่ถูกต้องยังไงไม่รู้ มันแหม่งๆ แต่ไม่มีข้อมูลครับ
ใครมีช่วยมาตอบหน่อยครับ งง ๆ

 
บันทึกการเข้า
irq5
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,149



« ตอบ #16 เมื่อ: 06-10-2006, 14:34 »

  ผมจะสรุปละ
 1.   ความแตกต่างในเรื่องฐานะ ยากจนหรือร่ำรวย มาจาก  นิสัยของตนเอง และ   การเลือกที่จะประกอบอาชีพ     
      ( ถ้าใครเลือกที่จะประกอบอาชีพทำนา   นี่ แน่นอนครับ   ยากจน 99 %
  2.  คนรวยส่วนใหญ่  ไม่ได้ร่ำรวยเพราะมีที่ดินเยอะ   
 
  3. เกษตรกรผู้ยากจน   ส่วนใหญ่   เคย เป็นเจ้าของที่ครอบครองที่ดินจำนวนหลายๆไร่มาแล้วทั้งนั้น และได้มาฟรีๆซะด้วย   แต่เมื่อเลือกอาชีพผิด ประกอบกับ นิสัยบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถรักษาที่ดินนั้นไว้ได้
 
  4.  เกษตร กร ผู้ยากจน  ส่วนใหญ่ในปัจุบัน ก็ยังคงถือครองและใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดิน มากกว่า อาชีพอื่น
     
     ( เช่นคนชั้นกลางเปิดร้านขายมือถือ ใช้พื้นที่แค่ 10ตารางเมตร      แต่ คนทำนา ใช้พื้นที่ 25 ไร่)    แต่คนซึ่งใช้พื้นที่10ตารางเมตร   ต่างกัน 4000 เท่ากลับต้องเสียภาษีให้รัฐมากกว่า คนใช้พื้นที่25ไร่

เห็นด้วยกับข้อสรุปครับ แต่ผมว่า สรุปแบบ ถอดใจเกินไป  เพิ่มเติมเหตุผลให้นะ และเสนอทางแก้

    1 ความจน มาจาก การเลือก และนิสัย  เลือกผิดหรือนิสัยเป็นปัญหาต่ออาชีพ ก็เจ๊งและจน  หรือมีนิสัยติดอบายมุขก็จน

           - ต้องมีทางออกให้คนจนครับ  บางคนเลือกผิด จาก ล้าน เหลือ สิบบาทก็มี  ทางออกไม่ใช่แค่ฆ่าตัวตาย
                  - ให้ไปเป็นลูกจ้าง
           - ปัญหาเรื่องการเลือกเสี่ยงจะรวย  ซึ่งการเป็นลูกจ้างทำให้เรารวยได้ยากที่สุดในโลก
                  - มันเป็นปกติของระบบทุน   เสี่ยงมากผลตอบแทนมาก
                  - ปกติที่คนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะประสบผลสำเร็จ
           - รวยแบบไม่เสี่ยง ในอดีตที่ผ่านมาคือการค้าขาย และบริการ รวยน้อยแต่ไม่จน
                  - ปัจจุบันก็เจอผลกระทบจากการลงทุน จาก บริษัทใหญ่ เช่น กรณีโชว์ห่วย เจอ โลตัส บิ๊กซี
                  - ยังคงเหลือ ค้าขายปรุงอาหาร   และงานฝีมือเป็นส่วนใหญ่ที่ยังมีช่องทางได้

                                                                คน
                                        ขยัน                                                                        ขี้เกียจ                   
                      เปิดกิจการ                          ลูกจ้าง                                    เปิดกิจการ                ลูกจ้าง
                  รวย               เจ๊ง           มีตัง     ซวย(โดนแกล้ง,บ เจ๊ง)                 เจ๊ง                    โดนไล่ออก
               รุ่นลูกต่อ    เริ่มใหม่     ผันเป็นลูกจ้าง   หางานต่อไป  เปิดกิจการ                        กินเหล้า                           
       
           
            - คนขยัน มีโอกาส เริ่มใหม่เมื่อเสี่ยงเลือกธุรกิจ หรือ เลือกอาชีพหรือไม่ (กิจการอาจหมายถึง ตั้งแต่ ทำนา ทำสวน ทำธุรกิจ เป็นเจ้าของธนาคาร)
            - คนขี้เกียจ  ต้องพออยู่ได้ มีอาชีพแบบขี้เกียจ รองรับ (ใครหาได้ แนะนำผมหน่อย)
            - ลูกจ้าง ต้งอมีหลักประกัน ให้อยู่ได้มีฐานะพอสมควร

          หากขาด ความช่วยเหลือหรือ รับประกันจากผู้อื่น อาจจะจากรัฐ หรือ มูลนิธิ หรือ องค์กร  คนเกือบหมดประเทศจนแน่นอน
          ปัจจุบันวงเวียนความจนขยายไปเรื่อย    จาก คนที่รวยมีความเสี่ยงจะจนมากขึ้นเช่นกัน  คนที่จนอยู่แล้วโอการวยก็น้อยลงทุกวัน
          เหลือที่หลุด ออกมา ก็ต้องเป็นผู้เข็มแข็งอย่างมาก ธุรกิจก็มีขนาดใหญ่ ถึง ใหญ่มากๆ  (ตีว่า 20 ล้าน ต่อคน วัดความรวยนะครับ) 
 
 2  คนรวยส่วนใหญ่ ไม่ได้รวยเพราะมีที่ดินเยอะ
          แต่ ปัจจุบันที่ดิน ก็เป็นหลักทรัพย์ที่ดีที่สุด ทั้งๆที่มันไม่ควรจะเป็น
          เพราะหลักทรัพย์เหล่านี้ มีจำนวนจำกัด และผู้ที่ไม่มี มันจะเดือดร้อนอย่างมาก
         
          ต้องลดความต้องการถือครอง ซึ่งมาจาก  โอกาสขึ้นราคาที่มีมาก เช่นมี ถนน ตัดผ่าน หรือมีแหล่งความเจริญมาตั้ง
          ราคาจะขึ้น เป็น เท่าตัว อาจถึง 10 เท่า        (อันนี้จะลดยังไงวะ)
       
          ต้องลดความต้องการถือครองที่ดินว่างเปล่า  เพราะคนที่ถือครองที่ดินเหล่านั้นไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ (โดยการเก็บภาษีแพงหน่อยตามข้างต้น)
          หากให้เช่าจะลดราคาภาษีลงมาก็ดีนะ  คนจะได้แข่งกันให้เช่า  ราคาจะได้ถูกลง

          ผลักดันให้ไปถือทองหรือเพชรนิลจินดาแทน   ดีกว่าซื้อที่ให้หมาอึ  (พ่อโดนยายด่าแบบนี้บ่อยๆ)

  3. เกษตรกรผู้ยากจน   ส่วนใหญ่   เคย เป็นเจ้าของที่ครอบครองที่ดินจำนวนหลายๆไร่มาแล้วทั้งนั้น และได้มาฟรีๆซะด้วย   แต่เมื่อเลือกอาชีพผิด ประกอบกับ นิสัยบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถรักษาที่ดินนั้นไว้ได้
           วกไปวนมาเนอว่ามั๊ย คล้ายๆข้อ 1
        Glock ต้องอย่าลืมว่า คนคนก็ควรมีทางเดิน มีที่อยู่บ้าง ไม่ใช่ข้างทาง หรือ ป้ายรถเมล์
          ถ้าเค้าสิ้นเนื้อประดาตัว และหางานทำในเมืองได้เดือนละ 7,000 ก็น่าจะมีโอกาสได้เช่าห้องที่มีขนาดพอเพียงให้อยู่พักผ่อนได้ตามความเป็นคน
          หรือถ้าอยู่ต่างจังหวัด ค่าที่อยู่ที่มันนอนหลับฝันดี ก็ไม่น่าจะโหดร้าย มาเกินไป 

          และยิ่งให้คนจนๆ มีโอกาสถือครองที่ดิน ใ้ห้สืบทอดลูกหลานบ้างก็ดี  เพราะสุดท้ายจะมีที่ซุกหัวนอนได้ โดยไม่โดนไล่ออกเพราะติดค่าเช่า
          (เดี๋ยวมันก็เอาไปขายอีก หมดตัวอีก  วนๆ ไปวนๆ มา   แต่ถ้าราคาถูก สำหรับคนไม่มีที่อยู่ มันก็จะได้ขยันทำงานไง ไม่ใช่หมดโอกาส ตายลูกเดียว)   

4.  เกษตร กร ผู้ยากจน  ส่วนใหญ่ในปัจุบัน ก็ยังคงถือครองและใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดิน มากกว่า อาชีพอื่น
         ผมว่าข้อนี้ต้องแก้โดยการใช้เรื่อง สหกรณ์ครับ
          ที่อเมริการเจ้าของสวนจะใช้เครื่องจักรหมด มีเครืองหนีบต้นไม้เขย่า ตกมาในแหที่พอดีต้นไม้

       อาชีพจริงๆที่เลี้ยงปากท้องคนทั้งโลก ก็คือ เกษตรนี่แหละครับ  มันต้องแก้ที่การจัดการ  และเพิ่มมูลค่า
       หลังจากนี้ พวกนั่ง บริหาร  กินหัวคิว กำลังจะหมดแล้วครับ 

        สัดส่วนการเพิ่มมูลค่าจากการขายทอดตลาด ลดลง เรื่อยๆครับ  ผมว่าไม่นาน  คงเข้าใกล้ 0  เกษตรกร  รวมตัวกันซื้อเครื่องจักร
        จ้างคนมาชิปปิ้งเอง รัฐช่วยติดต่อ ต่างประเทศโดยตรง โดย ตกลงประกันความเสี่ยงหรือการโกง ด้วยเทคโนโลยี
 
   
           
บันทึกการเข้า

.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMddMMMs..
.:MMMMMMMMMMMMMMMMMMMMMssMMMMs..
.:Mddddddddddddddddddddddddddo+ddddNs..
.:M................................................hs..
.:M.............//:................//:.............hs..
.:M...........:MMs.............NMd............hs..
.:M................................................hs..
.:M................................................hs..
.:M.............yNNNNNNNNNN................hs..
.:M.................................................hs..
.:dyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyyho..

....W..W::W:...AAA...NN...N...TTTTT..EEEEE...DDD..........
.....Ww.wW...AAAA..N..N..N......T.....EEE......D....D.......
.....-W...W...A......A N....NN......T.....EEEEE...DDD..........
. . . . . . . . . . . . thaksin shinawatra
พระพาย
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 679



« ตอบ #17 เมื่อ: 06-10-2006, 15:15 »

สวัสดีคุณ glock19 ครับ

ยินดีที่คุณสนใจผมหรือบทความของผม แต่ผิดหวังที่คุณยังไม่เห็นผลร้ายของการปล่อยให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์จากที่ดินไปเป็นส่วนใหญ่ และการที่ผู้ทำงานและผู้ลงทุนต้องแบกรับภาษีต่างๆ อยู่ครับ

ถ้าเป็นที่พันทิป เวลาผมส่งข้อความเข้ากระทู้ตอนที่เป็นความคิดเห็นที่ 1, 2, . . . ผมจะใส่ชื่อเว็บ ยูโทเพียไทย เข้าไปด้วย มันก็จะออกมาเป็น ยูโทเพียไทย (สุธน หิญ) คือออกมาทั้งชื่อเว็บและชื่อตัวผมเลยครับ . . . เสียดายที่ทำไม่ได้แบบนี้ตอนตั้งกระทู้ มันเลยออกมาแต่ชื่อ สุธน หิญ อิ อิ

ที่คุณทายน่ะ ผิด ครับ ตอนผมยังเด็กๆ พ่อผมพาผมไปเก็บค่าเช่านาด้วยซ้ำไปครับ  5 5 5

คุณว่าผมเข้าใจผิด ดีครับ ผิดยังไงบรรยายมาเลย เผื่อผมจะเปลี่ยนใจมาชอบแบบที่คุณคิดว่าดีบ้าง ! ! !



คุณยูโทเปียไทย... คุณสามารถปรับแต่งชื่อให้เป็นภาษาไทยและโปรโมทเวบได้ผ่านการล๊อกอินไปที่ส่วน "ข้อมูลส่วนตัว" ซึ่งมีให้ปรับแต่งใน "ปรับแต่งชื่อผู้ใช้งาน" และ "ปรับแต่งข้อมูลในฟอรั่ม" ครับ
บันทึกการเข้า

คลิป นปก บุกทำเนียบชนพันธมิตร
http://pirun.ku.ac.th/~g4685035/01mob.asf
กระทู้ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดร่วมคัดคัดกรณีปราสาทพระวิหาร นำโดยคุณ *bonny http://forum.serithai.net/index.php?topic=28065.0
และเอกสารยื่นคัดค้านกระทรวงต่างประเทศไทยและกัมพูชา  http://www.savefile.com/files/1629973
กระทู้สรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://forum.serithai.net/index.php?topic=28392.0
ใบปลิวขนาด 2 หน้าสรุปประเด็นปราสาทพระวิหาร โดยคุณ Jerasak http://www.savefile.com/files/1626944

แม่น้ำร้อยสายล้วนต้นกำเนิดเดียวกัน... จากสายฝน จากภูเขา ที่ซึ่งคล้ายเจตนารมณ์แห่งฟ้า
เสรีไทยเวบบอร์ด http://forum.serithai.net/
We Open Mind http://www.weopenmind.com/board/index.php
อรุณสวัสดิ์ http://www.arunsawat.com/board/index.php
ที่ทำการเสี่ยวอีสาน[
somebody
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 244



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 06-10-2006, 16:15 »


สวัสดีครับ คุณสุธน

เรื่องที่ดินนี้ซับซ้อนมากครับ ผมตั้งข้ออสังเกตสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังนี้ครับ

1.เห็นว่าคนจนไม่มีวันได้เปรียบหรือมีโอกาสเท่าเทียมในทุกด้านกับคนรวย ยกเว้นประการเดียวคือ ขยันทำงานเก็บออม และขวนขวายหาความรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด
2.เรื่องที่ดินในฐานะทุนและปัจจัยการผลิตนั้นใช่ แต่ที่ดินอยู่ในฐานะสิ่งจำเป็นในการดำรงค์ชีวิตด้วย ดังนั้นต้องมีกลไกสงเคราะห์ที่อยู่สำหรับผู้ไร้ความสามารถหรือไร้สมรรถภาพด้วยครับ
3.ปัญหาเรื่องหลักทรัพย์ที่เหมาะสม ปัจจุบันยังไม่มีอะไรที่มั่นคงและเพิ่มค่าได้เช่นเดียวกับที่ดิน หากถือแต่เงินและหรือหุ้นทุนภาวะความผันผวนทางการเงินจะยิ่งมากและรุนแรงกว่าปัจจุบัน
4.ปัญหาการรุกล้ำสิ่งหรือปัจจัยอื่นๆที่จำเป็นต่อชีวิตในอนาคตจะต้องมีมากขึ้นเป็นทวีคูณต่อไป เช่น พลังงาน ความถี่คลื่นต่างๆบนผิวโลก น้ำ หรือ อากาศที่อยู่รอบตัวเรา จะทวีความรุนแรงขึ้นเช่นกัน ซึ่งผู้เสียเปรียบก็คือคนยากจนครับ

โดยรวมเห็นด้วยกับแนวคิด แต่ไม่เชื่อว่าจะแก้ปัญหาความยากจนได้มากนักนะครับ เพราะไม่ใช่ระบบปิด ที่เราควบคุมได้ทั้งหมด โดยเฉพาะความคิดของคนแต่ละคนในโลกเสรีในเรื่องต่างๆ  หากจะควบคุมเรื่องที่ดิน ผมเห็นด้วยในประเด็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของชีวิตมากกว่า การแก้ปัญหาความยากจนครับ


ในแง่ความยากจนสิ่งแรกที่ต้องทำให้สำเร็จคือ การขจัดการคอร์รัปชัน สิ่งต่อมาก็คือ การปรับเปลี่ยนคุณภาพคน ให้มีพื้นฐานที่แน่นพอเอาตัวรอด มีความเชื่อที่ถูกต้องสมเหตุสมผล

เพื่อนเก่า กทธ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2006, 18:15 โดย somebody » บันทึกการเข้า
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #19 เมื่อ: 06-10-2006, 16:51 »

[ในแง่ความยากจนสิ่งแรกที่ต้องทำให้สำเร็จคือ การขจัดการคอร์รัปชัน สิ่งต่อมาก็คือ การปรับเปลี่ยนคุณภาพคน ให้มีพื้นฐานที่แน่นพอเอาตัวรอด มีความเชื่อที่ถูกต้องสมเหตุสมผล

เพื่อนเก่า กทธ.

[/quote
                       ถ้าจะแก้เรื่องคอรับชั่น     มีวิธีเดียว คือ    เวลา มีการเลือกตั้ง   ผมอยากขอร้องให้ คนที่รู้ตัวว่าไม่มีความรู้
 
   รู้ตัวว่า ไม่ได้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง     นอนอยู่กับบ้านเฉยๆ   ยอมเป็นผู้เสียสิทธิ์     ซัก1 ครั้ง   คงไม่ถึงกับเสียศักดิ์ศรี
 
  หรือ เจ็บไข้ได้ป่วยอะไร นะครับ     เพียงเท่านี้ คนที่คอรับชั่นก็จะไม่ได้เข้ามา โกงบ้านกินเมืองแล้วครับ
 
                   ความจริงข้อนี้ใครจะเถียงผมบ้างครับ
 
       แต่ปัญหาคือ  คนเรามันฝังหัวกับคำว่า   ประชาธิปไตย    1 คน ต้อง 1คะแนน เท่าๆกัน   แล้ว คนพวก ที่ไม่มีความรู้  ไม่ได้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง นี่ก็รักประชาธิปไตยกันเหลือเกิน    เราถึงได้ส.ส.     ได้รัฐมนตรี ที่รวยกันเป็นหมื่นล้านแสนล้าน จากการทุจริต      และพวกรักประชาธิปไตยเข้าสายเลือดพวกนี้ ก็จนดักดาน   โง่ดักดานกันต่อไป       ทหารก็ปฎิวัตกันต่อไป
บันทึกการเข้า
เพนกวินน้อยนักอ่าน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 866



« ตอบ #20 เมื่อ: 06-10-2006, 19:37 »

ผมว่าเราไม่ควร คำนึงถึงที่ดินอย่างเดียวน่ะครับ
อาจจะต้องดูประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ของคนที่ถือครองที่ดินด้วยครับ

มันดูเหมือนไร้จิตใจเกินไปถ้าเราจะจัดการที่ดินให้มีการพิจารณากันที่ค่าเช่า และรัฐกลายเป็นผู้ให้เช่ารายใหญ่ไปซะงั้น
เชื่อว่า มันน่าจะมีการผสมผสานแนวคิดครับ

เช่นที่ดินสำหรับการเกษตร ก็กำหนด กรอบให้เป็นที่ดินเพื่อการเกษตร และวางกรอบให้ใช้ได้เท่านั้น
ส่วนที่ดินในภาคการค้าขายและบริการ อุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง ก้แยกกรอบกติกาให้ชัดเจนในการถือครองครับ

เพราะการใช้ที่ดินในภาคส่วนต่างๆ มันไม่เท่าเทียมกัน หรือ ใช้เกณฑ์เรื่องขนาดมากำหนด ความถูกแพงของค่าเช่าไม่ได้หรอกครับ
ต้องมีเรื่องทำเล และ สาธารณูปโภค หรือแม้กระทั่ง วัฒนธรรมชุมชนรอบๆที่ดินนั้นๆ ครับ ก็สำคัญในการพิจารณา
ถ้าคิดในแนวที่รัฐเป็นเจ้าของที่ดินครับ


ผมว่า แนวคิดนี้ มันจะดีก็ต่อเมื่อ คนที่เข้าไปมีอำนาจจัดการเป็นรัฐมีความเป็นธรรม และไม่บิดเบือน
เพื่อผลประโยชน์ของตนเองอย่างเดียว ซึ่งมีแนวโน้มว่าเป็นไม่ได้ ครับ
ถ้ามีโอกาสได้จัดการที่ดินทั่วประเทศ พวกหลงอำนาจ จะต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อพวกพ้องแน่นอน ครับ


บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #21 เมื่อ: 06-10-2006, 19:53 »

อ้างถึง
1. ตั้งแต่โบราณ  ที่ดิน ก็อยู่ในครอบครองของเกษตรกร คนไทย ไม่ต้องซื้อต้องหาด้วย ใครมีแรง หักร้างถางพงเท่าไหร่  ก็ได้ที่ดินเท่านั้น แถม ต้นไม้ ที่หักร้าง ยังนำมาปลูกบ้าน หรือทำรั้วได้อีก   เพราะฉนั้น คนขยัน ก็จะมีที่ดินมาก
  ที่ดิน มีพอเพียงสำหรับทุกคน     คนไหนขี้เกียจ หรือขยันน้อยหน่อยก็ หักร้างถางพงเอาแค่ พอกิน  ไม่เอาแบบเหลือเก็บ   คนจีนสมัยก่อนลงเรือสำเภามาแบบเสื่อผืนหมอนใบ  ถูกรัฐบาลกีดกันในการถือครองที่ดิน  ไม่สามารถมีที่ดินได้
  ก็ต้องเช่าเค้าปลูกผัก   ทำนา แต่ด้วยความขยันขันแข็ง  ก็เก็บหอมรอมริบ จนสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวเก็บเงินทอง ไว้ซื้อที่ดินเป็นของตนเอง  ( ในชื่อคู่สมรส)   
       ซื้อจากใครล่ะครับ    ก็ซื้อจาก เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งเป็นคนไทยนั่นแหละ     แล้วเจ้าของที่ดินเดิม  เมื่อขายที่ดินแล้ว   เอาเงินไปไหนหมดล่ะ    ไม่อยากพูดให้แสลงใจ คุณคงทราบดี

นี่เป็นบทสรุป ของเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมของไทย ที่ปะทะกับเศรษฐกิจแบบซื้อบาทขายสิบบาทของจีน เศรษฐกิจแบบโอบอ้อมอารี เมื่อมาพบเศรษฐกิจแบบโกงได้เป็นโกง ฝ่ายโอบอ้อมอารีย่อมพ่ายแพ้ค่ะ

ในระบบดั้งเดิมของไทยนั้น เงินไม่ใช่ปัจจัยในการแลกสินค้าที่สำคัญนัก ปลูกข้าวแลกปลา ไข่แลกเกลือ ด้วยระบบดั้งเดิมนั้นคนไทยมีเงินไม่มาก แต่ถ้าจะวัดความรวยจนด้วยเงินตราอันเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนนั้น ย่อมต้องยอมรับว่าจน แต่หากใช้เศรษฐกิจพอเพียงวัดจะทราบว่า ไม่จนค่ะ

มุมมองตรงนี้แหละค่ะ ที่หากสลัดไม่ออก จะมองภาพของปัญหาสับสนไปหมด เรียกได้ว่าไม่มีหลักการ เพราะจะคิดเอาเงิน ความรวย การฉวยโอกาศ เป็นตัวตั้ง นี่เป็นแนวคิดของทุนนิยมโดยแท้ค่ะ
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #22 เมื่อ: 06-10-2006, 20:03 »

อ้างถึง
2.   ปัจจุบัน กลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดิน ที่มากที่สุด คือ   เกษตรกร   ครับ   จากเท่าที่ผมเห็น  เฉลี่ยแล้ว   ครอบครัวนึงมีที่ดินอย่างน้อย  10 ไร่ขึ้นไป ( ค่าเฉลี่ย นะครับ   เพราะบางครอบครัวอาจจะไม่มีเลย  บางครอบครัวอาจมีเป็นร้อยไร่)     แต่แทบไม่ต้องเสียภาษีเลย     ภาษีรายได้ไม่ต้องเสีย ส่วนภาษีที่ดินที่ชาวบ้านเรียกภาษีดอกหญ้าแค่  แปลงละ 10บาท เท่านั้น ส่วนกลุ่ม คน ชั้นกลางที่ค้าขาย  ใช้พื้นที่ดินแค่  5 ตารางเมตร   หรือ 10ตารางเมตร  ในการวางแผงขายสินค้าเท่านั้นเอง   ส่วนบ้านพักอาศัยก็ใช่พื้นที่แค่  20  ตารางวา   60  ตารางวา
 
    ถ้า100 ตารางวานี่ คนรวยเลยครับ   คนพวกนี้ เป็นพวกที่เสียภาษีมาก  เรียกว่าเป็นฐานภาษีของประเทศเลยครับ
 
  3. จากประสพการณ์ที่ผมเห็น   คนแถวบ้านผม  (ภาคอีสาน)  ชาวบ้านได้ที่ดิน ติดถนน ใหญ่มาแบบฟรีๆเลย คนละ 
   25 ไร่   เป็นที่ ที่ทางการจัดสรรให้   พอออกหลักฐานเป็น นส3  หรือ โฉนด  เค้าก็ขาย ได้เงิน 3ล้าน 4ล้าน  ออกปิคอัพให้ลูกคนละคัน   พอมีรถก็เที่ยว   เที่ยวไปเที่ยวมา เงินหมดเอารถจำนำไฟแนนซ์   ไปๆมาๆ  รถโดนยึดหมด  ที่ดินก็หมด รถก็หมดเงินก็หมด    สุดท้ายก็เช่าที่เค้าทำนา  นี่ แบบนี้ผมเห็นมามากเลยครับ
 
     อีกประเภทนึง   ได้ที่ดินมาฟรีๆเหมือนกัน   เป็นที่ สปก.  คือ หักร้างถางพงเอา  แล้วทางการก็ออกเอกสารสปก ให้     ใส่ชื่อลูก บ้าง เมียบ้าง  รวมแล้ว ครอบครัวนึง มีเกือบร้อยไร่      แต่เชื่อมัย เวลาทำนา ต้องเช่านาคนอื่นทำ
      เพราะนาตัวเองเอาไปจำนำ    กับคนอื่นไว้แล้ว     (จำนำในภาษาของชาวบ้านนี้คือ     นาย ก.  มีที่ดินแปลงนึง
  นายก. ไปยืมเงินนาย ข. มา  20000  บาท  แต่ต้องผลประโยชน์นายข. คือ ยกนา ของตนเองให้ นาย ข. ทำ  จนกว่า ตนเองจะมีเงินไปใช้คืนนาย ข.        ( ยกนาตัวเองให้เค้าทำแทนการเสียดอกเบี้ย  ชาวบ้านเรียก จำนำนา)
    คุณไปดูได้    กรณีแบบนี้มีมากเสียยิ่งกว่ามาก     
       ตั้งแต่เกิดมา ที่ตารางวาเดียวผมไม่เคยได้ฟรีๆ  ต้องซื้อมาทั้งนั้น    แต่ คนยากคนจนของคุณ ไปถามดูได้ ที่ดินได้มาฟรีๆ ทั้งนั้น    แต่ได้มาแล้ว ขายกินหมด
             คุณลองจินตนาการดูว่าถ้ามีมือยักษ์   จับเอา คนแถวเยาวราชทั้งหมดไปกองรวมที่  ทุ่งกุลาร้องไห้
    แล้วจับคนแถวทุ่งกุลาร้องไห้ ไปไว้เยาวราช      คุณว่า 10ปีผ่านไปจะเป็นยังไง
       สำหรับผมผม คิดว่า   ทุ่งกุลาร้องไห้ ก็จะกลายเป็นแหล่ง ค้าขาย  เป็นศูนย์กลางการค้า ที่ดิน ถูกๆนั้น ก็จะกลายเป็นมีราคามหาศาล
       ส่วนเยาวราช  ก็จะกลายเป็นสลัม

บทสรุปนี้ชี้ชัดว่า ระบบทุนนิยมไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับประเทศชาติเลย การที่ชาวนามีที่ทำกิน แต่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเปิดโอกาศให้มีการจำนองจำนำ อ้างว่าแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน นั่นคือต้นเหตุของการขาดแคลนที่ดินของคนจน เนื่องจากระบบเอื้ออำนวยให้คนที่ไม่ได้รับการศึกษาพอเพียง จนถูกรัฐบาลโฉดเรียกอย่างเหยีดหยามว่ารากหญ้า ลุ่มหลงมัวเมาในทางอบาย ซื้อมือถือ ซื้อมอร์เตอร์ไซด์ โดยการเอาที่ดินสำหรับทำมาหากินไปจำนำจำนอง โดยไม่รู้เท่าทันระบบทุน ที่จ้องจะขูดรีดดอกเบี้ย และจ้องที่จะฮุบที่ซึ่งเป็นหลักประกันนั้น

หนทางปฎิรูปที่ดิน จึงต้องกระทำไปพร้อมกับปฎิรูประบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างแนวคิดของที่ดิน สปก.นั้นดีมาก นั่นคือจัดสรรที่ทำกินให้ผู้ที่ไม่มี ห้ามขาย ห้ามจำนอง แต่ด้วยกลไกบิดเบี้ยวที่นายทุนซึ่งได้เข้าไปบริหารประเทศ พลิกแพลงตลบแตลงเสียจนที่ สปก.หลุดจากมือของเกษตรกรไปสู่นายทุน เป็นเหตุให้กระดูกสันหลังของชาติ จึงยากจนและไร้ที่ดินทำกินไม่รู้จักจบจักสิ้น

คุณลองจินตนาการว่า ไม่มีมือยักษ์ที่ไหนมาย้ายใคร แต่มีมือที่สะอาดยุติธรรม เข้ามาจัดการกระจายที่ดินสู่มือเกษตรกร ห้ามจำนองห้ามขาย มีระบบสหกรณ์เกื้อหนุนระบบเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชไร้สารพิษ ไร้ยาฆ่าแมลง พื้นฐานให้ช่วยเหลือและเลี้ยงตนเองได้ ไม่เกื้อหนุนให้คนเป็นหนี้ ห้ามผ่อนสินค้า ต้องอดออมเก็บเงินสดซื้อ

รับรองเยาวราชนั่นแหละจะร้าง ต้องกินข้าวต้มอมหินคั่วเกลือกันใหม่อีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #23 เมื่อ: 06-10-2006, 20:11 »

อ้างถึง
4.  ในการซื้อขายที่ดินนั้น   เป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ    หรือกดราคา   ถ้าคุณคิดว่า เค้าให้ราคาถูก    ก็อย่าไปขาย   สิ     คนขาย ก็ควรจะ มีวิจารณญาณ ว่า ที่แปลงนี้  ราคาเท่านี้  กับ ถ้าเราไม่ขาย แล้วใช้ประโยชน์ในที่ดินแบบไหนจะคุ้มกว่ากัน    เช่นถ้าขายไปแล้วได้เงินมาแค่ สองหมื่น แต่ ขายไปแล้วคุณต้องเช่าเค้าในราคา ปีละ หนึ่งหมื่น แบบนี้จะไปขายทำไม เพราะ ขายได้เงินมา สองหมื่นจ่ายค่าเช่าเค้า2 ปีก็หมดแล้ว    ดังนี้เป็นต้น
 
          หรือ ฝ่าย  คนซื้อ ก็เช่นกัน    คุณจะไปลงโทษเค้าโดยเก็บภาษีที่ดินแพงๆ น่ะ ถูกต้องแล้วหรือ   เพราะกว่าเค้าจะได้ที่ดินนั้นมา เค้าก็ต้องใช้เงิน ของเค้า ไป แลกมา   ไม่ได้ได้มาเปล่าๆซะหน่อย  และเงินนั้น ถ้าไม่ได้ซื้อที่ดินเค้าก็สามารถนำไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ   แต่เมื่อนำมาซื้อที่ดิน ก็เสียประโยชน์ในส่วนนั้นไป แล้วจะไปลงโทษเค้าน่ะยุติธรรมแล้วหรือ

นั่นคือข้ออ้างในการรักษาระบบทุนนิยมแบบสุดทรามไว้ การค้าขายที่ดินเก็งกำไร ไม่ได้ก่อให้เกิดความผลผลิตในระบบเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับธุรกิจพ่อค้าคนกลาง ซึ่งไม่ได้ก่อให้กเดผลผลิตในระบบเช่นกัน ดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจอาจจะมีมาก แต่ไร้รากฐานการพัฒนา

การได้มาซึ่งที่ดินซึ่งกระทำในระบบดั้งเดิมนั้น เข้าใจค่ะ แต่เมื่อจะพัฒนา ก็จะมานั่งห่วงว่า คนรวยที่กักตุนที่ดินไว้จะขาดทุน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน ไม่น่าจะถูกต้องนะคะ จะชดเชยทดแทนกันอย่างไรก็ไปว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง

ที่ดินประชาชนซื้อมา ด้วยความยากลำบาก รัฐบาลซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ เวนคืนที่ดินนั้น เอาไปสร้างทางด่วน แล้วให้นายทุนเก็บตังค่าทางด่วนแพงๆ เจ้าของที่ซึ่งถูกเวนคืนไปสร้างทางด่วนนั้น เอาเงินค่าเวนคืนไปซื้อที่ข้างๆทางด่วนซึ่งเคยเป็นบ้านตนเองยังไม่ได้ ค่าเวนคืนต่ำกว่าราคาที่ดิน ยุติธรรมไหมคะ รัฐอ้างว่า เพื่อประโยชน์ของสาธารณะชน แต่นายทุนที่เซ้งทางด่วนไป เก็บค่าผ่านทางแพงสุดโหด

และที่น่านำตาตก เจ้าของที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไปนั้น ก็ต้องเสียเงินเพื่อจะวิ่งผ่านที่ดิน ซึ่งเคยเป็นของตนเอง

ยุติธรรมหรือคะ
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #24 เมื่อ: 06-10-2006, 20:19 »

อ้างถึง
5.   สำหรับความเห็นของผม   ถ้าคนเรา มีความคิด   มีความอ่าน  ไม่ขี้เกียจ ไม่ติดอบายมุข  ไม่ขาดแคลนที่ดินหรอก ครับ     ราคาที่ดินมันเป็นไปตามกลไกตลาดอยู่แล้ว    บางทีราคา ตารางวาละ แสน  บางที่ตารางวาละ50บาท       ถ้าเป็นคน ไม่มีความคิด   ต่อให้เอาที่ดินไปแจก คนละ 50 ไร่ มันก็ขายกินหมด
          ส่วนคนที่มีความคิด ต่อให้   มาจากเมืองจีนแบบตัวเปล่าๆ   ก็สามารถมีที่ดินได้มากมาย     สรุปแล้วคือว่า   มันอยู่ที่ตัวบุคคลครับ     

จีน ก็คิดแบบนี้ล่ะค่ะ ที่ดินจึงหลุดจากมือชาวนา ไปสู่นายทุน และประเทศก็ยากจนลงเป็นลำดับ จนถูกมหาอำนาจต่างชาติเข้ารุกราน และราชวงศ์แมนจูก็ล่มสลาย

ความคิด ความอ่าน ความขยัน ของคน ต้องปลูกฝัง แต่ในระบบทุนนิยม เราหล่อหลอมคนออกมาให้โง่ ตกเป็นทาสของกิเลส เป็นเครื่องจักรในระบบทุน และบุคคลด้อยโอกาศทางการศึกษา หรือด้อยโอกาศมากกว่าลูกหลานนายทุน มีมากมาย หากปล่อยให้ความคิดที่ว่า หากมีปัญญาไม่ขี้เกียจ จะไม่ขาดแคลนที่ดิน  คงจะมีชาวนาไม่ถึงห้าเปอร์เซนต์ สามารถมีที่ทำกินได้ แล้วที่ดินก็ตกเป็นของนายทุนหมด

หากจะแก้ปัญหา ก็ต้องมองออกนอกกรอบนั้นแล้วค่ะ จะมานั่งอบรมเกษตรกรทั้งประเทศ ให้มีคุณสมบัติดีงามพร้อมขยันไม่เล่นการพนัน ทั้งๆที่รัฐก็ออกหวยโครมๆๆ แม้แต่ ธกส.ยังออกหวยกับเขา อดีตนายกยังขายมือถือเงินผ่อน ทีวีจอแบน เครื่องซักผ้า มอร์เตอร์ไซด์ ขอให้มีชื่อเป็นเจ้าบ้าน จะผ่อนเท่าไหร่ก็ได้ เกษตรกรรู้ไม่เท่าทันนายทุนค่ะ ตายเรียบ แก้ปัญหาไม่ได้ค่ะ

จะว่าไป โคตะระหนูบางสายก็โล้สำเภามากับเขาเหมือนกัน หนูจึงจะบอกให้ได้ว่า มาจากเมืองจีนน่ะ ไม่ได้มาตัวเปล่าๆหรอกค่ะ เอาระบบทุนที่ทำเอาเมืองจีนล่มพินาศติดกันมาด้วยทั้งนั้น อั้งยี่ก็ติดมาเยอะ ต้องปราบกันเป็นศึกใหญ่

ตระกูลใหญ่รวยมากๆบางตระกูล ต้นตระกูลน่ะโล้สำเภามารับจ้างวางเพลิงนะคะ เคยรู้บ้างไหม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06-10-2006, 20:27 โดย พรรณชมพู » บันทึกการเข้า
Neoconservative
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 407


We protect the Kingdom


« ตอบ #25 เมื่อ: 06-10-2006, 20:22 »

เอกสารสิทธิ ที่ รัฐบาลเหลี่ยม เรียกกลับไปแก้ไข อยากให้รัฐบาลหงอกรีบๆ คืนมาให้ ซะที

ยิ่งช่วงนี้น้ำท่วม ถ้า หลักมันเคลื่อนไป เมตรสองเมตร ขาดทุน แน่ๆ

 

บันทึกการเข้า
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 07-10-2006, 00:00 »

ทำได้ไง? – ค่าจ้างเงินเดือนสูงขึ้น แต่ของกินของใช้ถูกลง!

ลูกจ้างคนงานจะมีสภาพดีขึ้นมากมายถ้าเก็บภาษีมูลค่าที่ดินเท่าค่าเช่าที่ควรเป็น
แล้วเลิก/ลดภาษีทั้งหลาย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้  เป็นการทดแทนกัน
ถ้าเก็บภาษีแบบนี้ รายได้ของเจ้าของที่ดินก็จะหายไปเกือบหมด ส่วนรัฐบาลก็คงได้ภาษีเท่าเดิม

แล้วใครล่ะจะเป็นผู้ได้? แน่นอน – ผู้ใช้แรงงาน (แรงสมองและแรงกาย) และเจ้าของทุน
ผู้ทำงานมีเงินเดือน ค่าจ้าง และผู้ลงทุนมีกำไรหรือดอกเบี้ย ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียน้อยลง ก็ได้ผลตอบแทนสุทธิสูงขึ้น
ของกินของใช้จะถูกลงก็เพราะ “ภาษีทางอ้อม” ที่ลดลงหรือหายไป เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสินค้าเข้า ภาษีสรรพสามิต
ยิ่งกว่านั้น ผู้ลงทุนลงแรงที่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นจากการลด “ภาษีทางตรง” ก็อาจยอมเสียส่วนนี้ไปบ้างในการแข่งขันกันเชิงธุรกิจ

แถมค่าเช่าที่ดินขณะนี้สูงเกินจริงเพราะการเก็งกำไรเก็บกักปิดกั้นที่ดินไว้มหาศาล
ถ้าเก็บภาษีที่ดินสูงขึ้น ที่ดินก็จะเปิดออกหาคนทำงานในที่ดิน หรือขายออกไปในราคาต่ำลง
คนก็จะหางานทำได้ง่ายขึ้น การว่างงานลด ค่าแรงเพิ่ม
ฝ่ายนายทุนจะกลับต้องง้อคนงาน เพราะคนงานบางส่วนจะสามารถจ้างตนเอง เป็นเจ้าของกิจการเอง
และหาซื้อที่ดินเป็นที่อยู่ที่ทำกินได้ในราคาต่ำแทบจะเป็นศูนย์

สหรัฐฯ ได้ใช้วิธีกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นครั้งคราวเรื่อยมาโดยยอมเสียรายได้จำนวนมหึมา ด้วยการ *ลดภาษี*
แต่เราน่าจะทำได้ถาวรกว่า เพราะเลิก/ลดภาษีอื่นๆ แต่เพิ่มภาษีมูลค่าที่ดินแทน ซึ่งจะกลับไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกแรงหนึ่งด้วย

การซื้อที่ดินไม่ใช่การลงทุนผลิต เจ้าของที่ดินไม่ได้มีส่วนร่วมในการผลิต
แต่เป็นการสืบต่อสิทธิ์เรียกผลตอบแทนการใช้ที่ดินจากผู้ลงแรงลงทุนผลิต
ถ้าเจ้าของที่ดินลงแรงหรือลงทุนในที่ดิน เขาก็ได้รับผลตอบแทนในฐานะผู้ลงแรงหรือผู้ลงทุน

ที่ดินย่านชุมชนมีราคาเพราะผู้คนมารวมกันเพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน
กิจกรรมการก่อสร้างการผลิตการค้าของเอกชนเอง ทำให้สังคมน่าอยู่ มีสิ่งให้ความสะดวกสบายมากขึ้น
ภาษีจากการลงทุนลงแรงนำไปบริการสังคม สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกปลอดภัย
มันกลับไปทำให้ราคา-ค่าเช่าที่ดินสูงขึ้น และสูงขึ้นเรื่อยๆ เกือบตลอดมา กลับตกเป็นประโยชน์แก่เจ้าของที่ดิน
แต่ผู้ทำงานและผู้ลงทุนเป็นฝ่ายต้องจ่ายภาษีนี้ และผู้ไร้ที่ดินยังต้องจ่ายค่าเช่ามากขึ้นๆ อีกอย่างหนึ่ง

ข้อที่ขอย้ำ คือ การเปลี่ยนแปลงควรค่อยเป็นค่อยไป อาจต้องนานหลายสิบปี
เพื่อให้ทุกคนมีเวลาปรับตัวได้พอควร และถือเป็นการชดใช้ให้แก่เจ้าของที่ดินไปด้วยในตัว
จะชดใช้ให้แก่เจ้าของที่ดินวิธีอื่นก็ไม่ควร เพราะเงินชดใช้นั้นจะได้มาจากใครถ้ามิใช่ผู้ลงแรงผู้ลงทุน
ซึ่งเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่นานมาแล้วและยิ่งรุนแรงขึ้น ไม่รู้ว่าจะต้องเสียเปรียบไปอีกนานเท่าไร




ที่ดินผิดกับทรัพย์สินอื่น เพราะมนุษย์มิได้ใช้แรงงานและทุนผลิตที่ดิน ส่วนทรัพย์สินอื่นมนุษย์ต้องลงแรงลงทุนผลิต
 การเก็งกำไรกักตุนสินค้าต่างกับการเก็งกำไรกักตุนที่ดิน เพราะสำหรับสินค้า เมื่อราคาสูงขึ้น จะมีผู้อื่นหันมาผลิตสินค้านั้นมากรายขึ้น ราคาก็ลด
แต่ที่ดินมีจำกัด เมื่อคนมีเงินกักตุนกันไว้มากๆ ราคาขึ้นสูง คนจนหมดโอกาสมีที่ดิน หมดโอกาสเข้าถึงวัตถุดิบและพลังธรรมชาติ ต้องเช่าที่ดินจากคนอื่น
 
ผลตอบแทนจากการทำงานและการลงทุนผลิตแล้วเอามาแลกเปลี่ยนกันควรเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลมากกว่าผลตอบแทนจากการครอบครองที่ดิน เพราะการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลผลิตกันแสดงว่าทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ (ถ้าไม่ได้ประโยชน์ก็ไม่มีการซื้อขาย) นั่นคือเป็นการร่วมมือแบ่งงานกันทำระหว่างบุคคลในสังคม (แม้จะดูว่ามีการแข่งขันกันก็ตาม) ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้นกว่าต่างคนต่างทำเพื่อกินเพื่อใช้ของตนเอง ก็เกิดความอยู่ดีกินดีแก่บุคคลส่วนมากในสังคมที่ร่วมมือกัน เป็นการทำให้ได้ผลสมตามความมุ่งหมายของทุกรัฐบาลอยู่แล้ว จึงน่าจะให้รางวัลแทนที่จะปรับเขาให้ท้อใจด้วยภาษีซึ่งถ่วงการผลิต
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #27 เมื่อ: 07-10-2006, 08:32 »

ขอบคุณ  คุณพรรณชมพู  (ตอนแรกนึกว่าเป็นคุณ แอ้ม สโรชา )   ที่สนใจ วิจารณ์ความเห็นของผมครับ
 
   ลองเอาไปอีกนึง1 ข้อ ครับ
 
         ราคาที่ดินเพิ่งจะแพงเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ในสมัยนายกชาติชาย  ที่มีการปั่นราคาที่ดินพุ่งขึ้นจากเดิม  กว่า400%
 
     เมื่อสมัย 20   -   30  ปีที่แล้ว ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร     ที่นา (แถวจ.ชลบุรี)  ไร่ละ สามร้อยกว่าบาท เองครับ   ถูกมากเลย   ( ตอนนั้นจ่ายตลาด วันละ 50บาท)
   
    แถวอีสานที่ผมอยู่นี่  เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว  ยังมีที่ว่างให้จับจองเลยครับ ฟรีครับ  เสียดายผมมาอยู่ไม่ทัน คนเก่าแก่ที่นี่เล่าให้ฟัง   
   
       คือผมจะชี้ให้เห็นว่า       ที่ดินสมัยก่อนราคาถูกมาก  เพราะจำนวนคนยังน้อย   และตอนนั้น ยังไม่นิยม  ถือครองที่ดินเป็นหลักทรัพย์        ผมถามว่า     ชาวนา ในสมัยนั้น    ทำไม ยากจนล่ะครับ    ในเมื่อที่ดินก็ราคาถูก ๆ
 
           เชื่อผมเถอะครับ ที่  คนไทยเราจน  เพราะ   ดันไปเลือก อาชีพ ทำนา  ครับ    ไม่ได้จนเพราะ ไม่มีที่ดินหรอก ครับ        ผมจึงอยาก ขอให้ คนไทย ที่คิดจะทำนา    ท่านไม่ต้องเป็นผู้เสียสละหรอกครับ     ไม่ต้องเป็นวีรบุรุษหรอกครับ           เราซื้อข้าว จีน เวียตนาม  ลาว เขมร กินก็ได้    ปล่อยให้ประเทศพวกนั้น เค้าเป็นวีรบุรุษไป
  ว่าเป็น ผู้เลี้ยงคนทั้งโลก  ให้เค้าเอาชื่อเสียงตรงนั้นไป      ชื่อเสียงกินไม่ได้หรอกครับ   เรามาทำอย่างอื่น อะไรก็ได้นอกจากการทำนา  คนไทยปลูกข้าวแทบตาย  ต้องเอาข้าวไม่รู้กี่สิบลำเรือ  เพื่อไปแลกหนัง    เรื่อง  แดจังกึม ของเกาหลีมาดู          ข้าวกี่กระสอบเพื่อแลกน้ำหอมขวดเท่านิ้วก้อย ของฝรั่งเศส          ยิ่งถ้าแลกหนังเรื่อง ไททานิค  ของอเมริกานี่ เราใช้ข้าวเป็น หลายร้อยลำเรือเลยนะครับ
 
     
                   
บันทึกการเข้า
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #28 เมื่อ: 07-10-2006, 10:02 »

       คนจน หรือเกษตรกร    ได้ที่ดินมา โดยการ  หักร้างถางพง   ครอบครองเอาฟรีๆ    หรือ รับการจัดสรรจากทางการ   ฟรีๆ   
 
      คนที่ไม่จน ( ไม่จำเป็นต้องเป็นคนรวย)    ได้ที่ดินมาจากการ    เอาเงิน ซึ่งหามาอย่างยากลำบาก  ไปแลกมา
 
   
        แล้วเจ้าของกระทู้ยังจะมีแนวคิดว่า    จะจำกัดการถือครองที่ดิน ( ของ คนที่ได้ที่ดินมาโดยการเอาเงินซึ่งหามาอย่างยากลำบากเข้าแลก      แต่ไม่จำกัดสิทธิ   ของคนที่ได้ที่ดินมาฟรีๆ       เข้าข้างคนจน ว่างั้นเถอะ       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07-10-2006, 10:10 โดย glock19 » บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #29 เมื่อ: 07-10-2006, 10:25 »

สวัสดีค่ะคุณ glock19

มุมมองของหนูอาจมองคนละมุมกับคุณน่ะค่ะ แต่ค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณ utopiathai ในแง่มุมของการครอบครองที่ดิน และเงื่อนไขการปลดการครอบครองนั้น

ในระบบทุนที่เราใช้อยู่ เปิดโอกาศให้บุคคลที่มีกำลังทรัพย์ กักตุนที่ดิน หนูจะยกตัวอย่างจริงๆให้ดูสักสองสามคน เอาในระยะไม่กี่ปีที่คุณว่ามานี่แลหะค่ะ ระยะที่ดินบูมจากฟองสบู่ ราชาน้ำเมาเจ้าของเบียร์สัตว์ใหญ่ เจ้าพ่อภาคตะวันออกที่หลบหนีคดี มหาเศรษฐีเจ้าของกิจการโทรคมนาคม ฯลฯ คนเหล่านี้อาศัยกำลังทรพยื?มีมีมหาศาล บ้างก็กว้านซท้อในนามของตัวเอง บ้างก็ซื้อในนามนิติบุคคล แต่ละคนครอบครองที่ดินนับหมื่นนับแสนไร่ เพื่อการเก็งกำไร ให้เช้า หรือรอจังหวะขาย เป็นการทำให้ภาวะที่ดินเข้าสู่วิกฤติ รัฐบาลไม่มีปัญญาจัดการกับที่ดินพวกนี้ได้ หรือจะพูดให้ชัดคือ ไม่จัดการ เพราะเป็นพวกเดียวกันหรือจะอะไรก็แล้วแต่ ทำให้ผูยากไร้ต้องเข้าบุกรุกที่สาธารณะ ป่าสงสน แล้วยนายทุนพวกนี้ก็ใช้เงินไปกว้านซื้อที่เหล่านั้นมาอีก วนเวียนไม่รู้จบ

ต้นต้อของปัญหาก็คือ 1.ที่ดินสามารถเปล่ยนมือได้ง่ายเกินไป 2.การจำนองที่ดิน 3.ภาษีที่ดินที่ไม่ยุติธรรม

หากแก้ด้วยแนวทางภาษี จำกัดการถือครอง เข้มงวดในการเปลี่ยนมือ ภาวะที่ดินจะคลายลง  และหนูเห็นด้วยในมุมที่คุณ utopiathai ว่าไว้ 
อ้างถึง
ถ้าเก็บภาษีที่ดินสูงขึ้น ที่ดินก็จะเปิดออกหาคนทำงานในที่ดิน หรือขายออกไปในราคาต่ำลง
คนก็จะหางานทำได้ง่ายขึ้น การว่างงานลด ค่าแรงเพิ่ม
ฝ่ายนายทุนจะกลับต้องง้อคนงาน เพราะคนงานบางส่วนจะสามารถจ้างตนเอง เป็นเจ้าของกิจการเอง
และหาซื้อที่ดินเป็นที่อยู่ที่ทำกินได้ในราคาต่ำแทบจะเป็นศูนย์
การเปิดโอกาศให้ประชาชน มีที่ดินทำกิน แม้จะทำนาซึ่งเป็นสาเหตุที่คุณ glock19 ว่าไว้ว่าเราจนเพราะดันโง่ที่ไปเลือกทำนา ซึ่งไม่ถูกต้อง เราจนไม่ใช่เพราะทำนาค่ะ แต่เพราะทำนามีกินแล้วถูกพ่อค้านายทุนเอากิเลสมาล่อลวง ชาวนาต้องซื้อรถไถ รถไถราคาแพงเพราะรัฐฐาลไม่รู้จักควบคุมต้นทุนการผลิตและยังเก็บภาษีโหด ชาวนาเดินทางลำบากลูกไปโรงเรียนต้องซื้อรถเครื่องไปส่ง รถเครื่องแพงมหาศาลเพราะนายทุนและรัฐบาลต่างขูดรีดกำไรบวกภาษี ของจำเป็นพวกนี้ไม่ช่วยทำให้มันถูก แล้วยังเอาวัฒนธรรมมือถือปยอมให้ชาวนาผ่อนสินค้า หลอกลวงคนที่ไม่เข้าใจในระบบโหดของดอกเบี้ย กฎหมายก็เอื้อให้นายทุนมากกว่าประชาชน ก็เจ๋งยับสิคะ

ห้ามผ่อนสินค้าสิคะ หรือมีกฎง่ายๆ หนึ่งคนผ่อนได้หนึ่งอย่าง หมายถึงคุณผ่อนบ้านก็ได้หลังเดียว ผ่อนรถก็ได้คันเดียว ผ่อนอะไรๆก็ได้ชิ้นเดียว จนกว่าจะผ่อนหมดจึงให้ผ่อนชิ้นใหม่ได้  สองห้ามมีการค้ำประกัน หนี้เป็นของส่วนบุคคลห้ามคนอื่นค้ำประกันให้ใคร ใครผ่อนใครรับผิดชอบ ผ่อนไม่ไหวฟ้องได้แค่คนผ่อน ผ่อนด้วยเงินให้ใช้ด้วยเงิน ห้ามมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ห้ามึดหลักทรัพย์ค้ำประกัน  เท่านี้ที่ดินก็ไม่หลุดไปไหน และยุคเงินผ่อนจะเบาบางลง  ไม่เอใจว่าลูกค้าจะผ่อนได้ ไม่ต้องให้ผ่อน รับรองชาวนาหรือคนจนไม่ตายค่ะ อาจหมุงหงิดที่ไม่ได้ซื้อของฟุ่มเฟือย แต่ชีวิตไม่เจ๊ง  ทำอย่างนี้เชื่อไหมคะ เยาวราช สีลม ต้องเปลี่ยนไปขายกระเพาะปลาค่ะ เพราะขูดรีกชาวบ้านไม่ได้แล้ว อิอิ
บันทึกการเข้า
glock19
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 355


« ตอบ #30 เมื่อ: 07-10-2006, 11:42 »

     ถ้าห้ามผ่อน สินค้า นะครับ   คนที่จะออกมาโวย คนแรก คือ คนจน ครับ
 
     แต่ผมเห็นด้วยกับคุณ  เรื่องสินค้าเงินผ่อน ที่เป็นตัวดูดเงินจากคนจน ( ที่ไม่มีหัวคิด)   
 
     เดี๋ยวนี้ ผ่อนมอเตอร์ไซด์   มีเงินดาวน์ แค่ 900     บาท   ก็ออกรถได้แล้ว   ส่วนใหญ่ ผ่อนไม่หมดหรอก ผ่อนได้ซักระยะนึงก็ปล่อยให้ยึดแล้ว          ทางการน่าจะออกกฎว่า สินค้าเงินผ่อนลูกค้าต้องมีเงินดาวน์อย่างต่ำ  50%
 
   จะได้ผ่อนไหว    แต่รับรอง  ถ้าออกมา คนจนออกมาโวยแน่
บันทึกการเข้า
Don Pepino
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 82


« ตอบ #31 เมื่อ: 07-10-2006, 12:00 »

เรื่องที่ดินนี่ ที่วิเคราะห์กันระวังเป็นสังคมนิยมนะครับ

เรื่อง รวย จน นั้นแก้ที่ ที่ดิน น่าจะเป็นปลายเหตุ

ให้คนจนมีที่ดินทุกคน ไม่ได้หมายความว่าเค้าจะอยู่ได้ครับ จะแก้ช่องว่างระหว่างรวย จน นั้นโดยใช้ระบบภาษีอย่างเดียวก็ไม่ได้

แก้ที่การศึกษา น่าจะเป็นจุดเริ่มที่ดีกว่า โดยให้คนไทยไม่ว่ารวยจนได้เรียนฟรีจริงๆดีกว่า  จนถึงปริญญาเอกกันเลย

การศึกษาจะเป็นโอกาสแรก ที่จะช่วยให้คนจนขยับตัวเองขึ้นมาได้(โดยไม่ดึงคนรวยให้ลงมา) คราวนี้ลูกชาวนาก็มีสิทธิ์รวยครับ มีปัญญาซะอย่าง

และนโยบายอย่างนี้ไม่ใช่นโยบายประชานิยมแบบเหลี่ยมแน่ เพราะไม่ให้เงิน ไม่ให้ของ ไม่ให้หนี้(ดอกเบี้ยต่ำ)

แต่ให้ปัญญา ...

ส่วนคนรวยก็อย่าให้เค้าจนลง เพราะคนรวยจะเป็นตัวขยายโครงสร้างเศรฐกิจ ขยายงานและกระจายรายได้

คนจนจบใหม่จะได้มีงานทำ หลังจากนั้นก็ต้องสร้างโอกาสกันเองครับ
บันทึกการเข้า
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 07-10-2006, 13:16 »

ที่ว่าเป็นสังคมนิยมนั้นถูกเฉพาะเมื่อคิดถึงปัจจัยที่ดินอย่างเดียว (คือถือว่าที่ดินเป็นของส่วนรวม จึงเก็บภาษีที่ดินมาบำรุงส่วนรวม แต่ไม่ต้องการให้รัฐเข้าไปจัดการที่ดินโดยตรง เช่น บังคับจัดแบ่งหรือจัดสรรที่ดิน)

ถ้าจะว่าเป็นแรงงานนิยมก็ถูกเพราะพยายามไม่เก็บภาษีจากแรงงานเลย

แต่ก็ต้องถือว่าเป็นทุนนิยมสุดขั้วเลยด้วยอย่างไม่เคยปรากฏ เพราะพยายามไม่เก็บภาษีจากทุนเหมือนกัน

วิธีของเฮนรี จอร์จนี้ไม่คิดเอาของที่ส่วนบุคคลควรมีควรได้มาเป็นของส่วนรวมเลย
เช่น ค่าแรงสมอง/แรงกาย และผลตอบแทนต่อทุน
จึงคิดเลิกภาษีเงินได้และภาษีทางอ้อมที่ไปเพิ่มต้นทุนการผลิต

เขาขอให้เก็บภาษีที่ดินอย่างเดียว
(คงต้องรวมภาษีทรัพยากรธรรมชาติหรือค่าภาคหลวง ค่าเอกสิทธิ์ ค่าสัมปทาน
และค่าชดใช้การก่อมลพิษทำความเสียหายแก่แผ่นดินและทรัพยากรธรรมชาติด้วย)

ความยากจน การศึกษาน้อย มันอยู่ใน vicious cycles หรือ วัฏจักรเลวร้าย ด้วยกันครับ

บางครอบครัวไม่ให้ลูกเรียนต่อ ต้องการให้ลูกช่วยทำงาน


การปล่อยให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์จากที่ดินไปเป็นส่วนมาก เป็นต้นเหตุของการเก็งกำไรสะสมแสวงหาที่ดิน ทำให้ที่ดินแพงขึ้นอย่างมากมาย คนจนต้องเสียค่าเช่าที่ดินแพงกว่าปกติ และยังต้องเสียภาษีอื่นๆ ซึ่งไม่น่าเก็บ แต่จำเป็นต้องเก็บ เพราะแหล่งรายได้ที่ชอบธรรมของรัฐคือที่ดิน รัฐกลับปล่อยให้รายได้นั้นตกแก่เจ้าของที่ดิน

มิเพียงเท่านั้น การเก็บภาษีอื่นๆ และการเก็งกำไรที่ดินยังเกิดผลเสียแก่ส่วนรวมมากมาย ได้แก่ การลงทุนมีต้นทุนการผลิตสูง มีการลงทุนผลิตน้อย การจ้างงานน้อย ค่าแรงต่ำ แต่ของแพง มีผลร้ายต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวและความสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ.
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 07-10-2006, 13:51 »

              แล้วเจ้าของกระทู้ยังจะมีแนวคิดว่า    จะจำกัดการถือครองที่ดิน ( ของ คนที่ได้ที่ดินมาโดยการเอาเงินซึ่งหามาอย่างยากลำบากเข้าแลก      แต่ไม่จำกัดสิทธิ   ของคนที่ได้ที่ดินมาฟรีๆ       เข้าข้างคนจน ว่างั้นเถอะ       

วิธีของผมไม่จำกัดการถือครองที่ดิน ปล่อยให้ราษฎรซื้อขายหรือทำอะไรกับที่ดินได้เสรี
ภาษีที่ดินก็เก็บอัตราเดียวเหมือนกันหมด คือเท่ากับค่าเช่าที่ควรเป็น

การเก็บภาษีที่ดินเพิ่ม มีการชดเชยโดยลดภาษีอื่นๆ ลงเท่าๆ กัน
ถ้าครอบครัวหนึ่งมีฐานะเจ้าของที่ดินสมส่วนกับฐานะผู้ลงแรงและผู้ลงทุน ครอบครัวนั้นจะเสียภาษีรวมแล้วเกือบเหมือนเดิม
ถ้ามีฐานะเจ้าของที่ดินมากเกินส่วนความเป็นผู้ลงแรงลงทุน ก็ควรแล้วที่จะต้องรับภาระภาษีมากขึ้น
เพราะนั่นคือการเก็งกำไรที่ดิน ซึ่งผลร้ายของมันอยู่ในคำตอบของผมที่เพิ่งตอบก่อนหน้านี้นิดเดียวครับ
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 07-10-2006, 23:12 »

วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยกล่าวว่า

- "การผูกขาดที่ดินมิใช่การผูกขาดเพียงชนิดเดียว แต่ก็เป็นการผูกขาดที่ใหญ่หลวงที่สุด - เป็นการผูกขาดตลอดกาล และเป็นต้นกำเนิดของการผูกขาดอื่นๆ ทุกรูปแบบ . . . "

- "ที่ดิน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแหล่งที่มาแห่งทรัพย์สินทั้งสิ้น ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งมีตำบลที่ทางภูมิศาสตร์คงที่ - ที่ดิน ข้าพเจ้าขอกล่าว แตกต่างจากทรัพย์สินในรูปแบบอื่นๆ ทั้งมวล . . . . "

- " … ข้าพเจ้าหมายถึงกระบวนการมากกว่าตัวเจ้าของที่ดินแต่ละคน
ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะทำให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังชนชั้นหนึ่งชั้นใดขึ้น
ข้าพเจ้ามิได้คิดว่าผู้ที่หาเงินจากส่วนเพิ่มจากที่ดินอันมิใช่เกิดจากการลงทุนลงแรงนั้นเลวกว่าบุคคลอื่นที่หากำไร
เท่าที่อาจจะหาได้ในโลกที่มีความลำบากนี้โดยไม่เป็นการผิดกฎหมายและเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันทั่วไป
ที่ข้าพเจ้าโจมตีนั้นไม่ใช่บุคคล แต่เป็นระบบ ไม่ใช่บุคคลเลว แต่เป็นกฎหมายต่างหากที่เลว
ที่ควรจะถูกติเตียนนั้นไม่ใช่บุคคลผู้กระทำการอันกฎหมายได้อนุญาตไว้และผู้อื่นก็กระทำกัน
แต่ควรจะเป็นรัฐที่ถูกตำหนิหากไม่หาทางปฏิรูปกฎหมายและแก้ไขการปฏิบัติ
เราไม่ต้องการจะลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย"

(http://www.progress.org/banneker/chur.html)
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
Don Pepino
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 82


« ตอบ #35 เมื่อ: 08-10-2006, 05:49 »



บางครอบครัวไม่ให้ลูกเรียนต่อ ต้องการให้ลูกช่วยทำงาน
[/quote]

อันนี้เราต้องยอมรับกันว่า มีจริง และคงแก้ยากครับ แต่แก้ได้ โดยนอกจากการศึกษาภาคบังคับแล้ว

การเรียนฟรีนั้น รวมถึงคนไทยที่นอกเหนือจากเยาวชน และรวมถึงการเรียนนอกโรงเรียนด้วย

ที่วินสตัน เชอร์ชิล พูดน่ะ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่นัก อาจจะเป็นเพราะมันเหมาะกับเวลานั้น แต่อาจไม่เหมาะในเวลานี้(มันเป็นเรื่องตามตำรา)

และยิ่งทำให้อยากรู้ว่า ปัจจุบันอังกฤษเป็นอย่างไรในเรื่องนี้ เราต้องดูความเป็นรูปธรรม ความเหมาะสมครับ

ปล.ขออภัย จขกท.ที่พาออกนอกเรื่องไปบ้าง
บันทึกการเข้า
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 08-10-2006, 07:58 »


ที่วินสตัน เชอร์ชิล พูดน่ะ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่นัก อาจจะเป็นเพราะมันเหมาะกับเวลานั้น แต่อาจไม่เหมาะในเวลานี้(มันเป็นเรื่องตามตำรา)

ลองดูจากนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลบ้างก็ได้ครับ

Paul Samuelson: ค่าเช่าที่ดินแท้ๆ มีสภาพของ "ส่วนเกิน" ซึ่งอาจเก็บมาเป็นภาษีได้อย่างหนัก
โดยไม่ทำให้พลังกระตุ้นการผลิต หรือประสิทธิภาพ บิดเบี้ยวไป

James Tobin: ข้าพเจ้าคิดว่า โดยหลักการ เป็นความคิดที่ดีที่จะเก็บภาษีจากที่ดินโดยไม่รวมสิ่งปรับปรุง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคา (ลาภลอย) ที่ได้เพิ่ม
ทฤษฎีกล่าวว่าเราควรพยายามเก็บภาษีจากสิ่งที่มีความยืดหยุ่นน้อยหรือเป็นศูนย์ ซึ่งรวมถึงทำเลด้วย

Franco Modigliani: เป็นความสำคัญที่จะรักษาค่าเช่าที่ดินไว้เป็นแหล่งรายได้แหล่งหนึ่งของรัฐ
บางคนที่สามารถจะใช้ประโยชน์ที่ดินได้เป็นเลิศอาจไม่สามารถหาเงินได้มากพอสำหรับราคาซื้อ
การเก็บค่าเช่าเป็นรายปีจะช่วยให้ผู้ที่มีขีดจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อสามารถเข้าถึงที่ดินได้

Robert Solow: ผู้ใช้ที่ดินไม่ควรได้สิทธิ์ที่ไม่จำกัดระยะเวลาเพียงเพราะการจ่ายเงินครั้งเดียว
เพื่อประสิทธิภาพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอ และเพื่อความยุติธรรม
ผู้ใช้ที่ดินทุกคนควรจะต้องจ่ายเป็นรายปีให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเท่ากับมูลค่าของค่าเช่าในขณะนั้น
สำหรับที่ดินซึ่งเขาทำให้ผู้อื่นหมดสิทธิที่จะใช้

William Vickrey: มัน [ภาษีมูลค่าที่ดิน] เป็นสิ่งประกันว่าจะไม่มีผู้ใดพรากสิทธิของเพื่อนพลเมือง
โดยการแสวงหาส่วนแบ่งที่มากเกินควร ในสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้แก่มนุษยชาติ.

Milton Friedman: ตามความคิดของข้าพเจ้า ภาษีที่เลวน้อยที่สุดคือภาษีทรัพย์สินที่เก็บจากมูลค่าที่ดิน
ซึ่งไม่รวมสิ่งปรับปรุง - ตามข้อโต้แย้งของ Henry George เมื่อหลายๆ ปีมาแล้ว

Herbert Simon: ถ้าสมมุติว่ามีความจำเป็นต้องเพิ่มภาษี จะเห็นชัดว่าควรเพิ่มต้นทุนของที่ดิน
โดยเพิ่มภาษีที่ดิน มากกว่าที่จะเพิ่มภาษีค่าแรง - นี่คือทางเลือก 2 ทางที่เปิดให้แก่นคร [แห่ง Pittsburgh]
การใช้ประโยชน์และการอยู่อาศัยในทรัพย์สินเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความจำเป็นต้องมีบริการต่างๆ ของเทศบาล
ซึ่งปรากฏว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในงบประมาณ -
ได้แก่ การป้องกันอัคคีภัยและการคุ้มครองจากตำรวจ การกำจัดสิ่งปฏิกูล และงานสาธารณะทั้งหลาย
ภาษีที่เก็บเพิ่มจากผู้พักอาศัยในนครโดยเฉลี่ยจะเป็นประมาณ 2 เท่าถ้าเพิ่มภาษีค่าแรง แทนที่จะเพิ่มภาษีที่ดิน

(จาก The Compatibility of Georgist Economics and Ecological Economics
ที่ www.schalkenbach.org/library/SaratogaBatt.pdf เชิงอรรถ 38)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08-10-2006, 08:02 โดย utopiathai » บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
utopiathai
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23


เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 08-10-2006, 23:27 »

ท่านที่สนใจเรื่องระบบภาษีเดี่ยวจากที่ดิน ขอเชิญที่เว็บ http://geocities.com/utopiathai/ ครับ
ร่วมเรียนรู้-บอกต่อวิธีแก้ไขความยากจนจากความอยุติธรรมขั้นฐานราก

มีหนังสือบนเว็บคือ:--
1. หนังสืออเมริกันดีเด่นแปล ความก้าวหน้ากับความยากจน
. . (ต้นฉบับภาษาอังกฤษอยู่ที่ http://www.schalkenbach.org/library/george.henry/ppcont.html )

2. ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม
 
ทั้งสองเล่มนี้ยินดีให้เผยแพร่ต่อได้ด้วยความขอบคุณ

และมีบทความจำนวนมากอยู่ที่เว็บบอร์ด ซึ่งยินดีให้เผยแพร่ต่อได้ด้วยความขอบคุณเช่นเดียวกัน
(ยกเว้นส่วนที่แปลมาบางส่วนซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของเขา)

สำหรับหนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม มีเรื่องราวดังนี้:--

คำนำ
บทที่ 1 เศรษฐศาสตร์และเศรษฐทรัพย์
1. เศรษฐศาสตร์
2. เศรษฐทรัพย์ (Wealth)
3. กฎมูลฐานในทางเศรษฐศาสตร์

บทที่ 2 ผลิตกรรม (Production)
1. การผลิต (Production)
2. ปัจจัยการผลิต (Factors of Production)
3. เปรียบเทียบที่ดิน ทุน และโภคทรัพย์
4. ความร่วมมือในการผลิตและการแบ่งงาน (Division of Labour)
- ก. ลักษณะและประโยชน์
- ข. การแข่งขันคือความร่วมมือ
- ค. การปรับแต่งตามธรรมชาติ
- ง. ความร่วมมือระหว่างประเทศ

บทที่ 3 วิภาคกรรม
1. วิภาคกรรม (Distribution)
2. กฎว่าด้วยวิภาคกรรม (Laws of Distribution)
- ก. ขอบริมแห่งการผลิต (Margin of Production)
- ข. กฎว่าด้วยค่าเช่า (Law of Rent)
- ค. กฎว่าด้วยค่าแรง (Law of Wages)
- ง. กฎว่าด้วยดอกเบี้ย (Law of Interest)
3. นายทุนกับผู้ใช้แรงงานมีผลประโยชน์ร่วมกัน
4. ราคาที่ดินคิดจากค่าเช่า (Land Price is Rent capitalized)

บทที่ 4 มูลฐานของความยากจนและวิธีแก้ไข
1. ผลจากกฎธรรมชาติว่าด้วยวิภาคกรรม
2. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Economic Depression)
3. การว่างงาน (Unemployment)
4. หลักแห่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน - วิธีแก้ไขความยากจน

บทที่ 5 การภาษีอากร (Taxation)
1. ประเภทของภาษี (Classification of Taxes)
2. หลักบัญญัติแห่งการภาษี (Canons of Taxation)
3. ผลของการเก็บภาษีชนิดต่างๆ (Effects of Taxation)
4. ภาษีขาเข้าทำลายสินค้าออก (Import Duty Hurts Export)
5. ภาษีมูลค่าที่ดิน (Land Value Tax)
6. ทำไมจึงไม่คิดเก็บภาษีจากทุนหรือผู้มีรายได้ดีอื่นๆ?

บทที่ 6 วิธีแก้ไขความยากจนที่เสนอหรือที่ใช้กันอยู่
1. วิธีการแบบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม
2. การแบ่งสันปันส่วนที่ดินและจำกัดขนาดการถือครอง
3. การควบคุมค่าเช่า (Rent Control)
4. การเก็บภาษีเสริมที่ดิน (Special Assessment on Land)
5. การเก็บภาษีเก็งกำไรที่ดิน (Land Speculation Tax)
6. การเก็บภาษีสูงสำหรับที่ดินไม่ใช้ประโยชน์
7. การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำและการประกันราคาพืชผล
8. การประกันการว่างงาน (Unemployment Insurance)
9. การให้สินเชื่อการเกษตร (Agricultural Credits)
10. การสหกรณ์ (Co-operatives)

บทที่ 7 ปัญหาเกี่ยวเนื่องกับระบบภาษีมูลค่าที่ดิน
1. ภาษีที่ดินอย่างเดียวจะพอกับรายจ่ายของรัฐบาลหรือไม่ ?
2. ภาษีที่ดินจะก่อความเดือดร้อน
3. ภาษีที่ดินผลักภาระไม่ได้จริงหรือ ?
4. กำลังใจในการปรับปรุงที่ดิน
5. ความเจริญเป็นเครื่องรุกรานทำให้เสียภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น
6. ความยากง่ายในการประเมินราคาที่ดินให้ถูกต้อง
7. แหล่งเสื่อมโทรม - อาคารสงเคราะห์
8. แหล่งเสื่อมโทรมกับกิจการผังเมือง
9. ไม่เคยมีประเทศใดใช้ระบบภาษีมูลค่าที่ดิน ?
10. ภาษีที่ดินใช้ไม่ได้กับระบบเศรษฐกิจปัจจุบันซึ่งมีความซับซ้อน ?
11. ผลกระทบกระเทือนต่อการกู้ยืมเพื่อลงทุน
12. การคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศและแก้ดุลการค้า
13. คนต่างด้าวจะได้เปรียบ ?

บทที่ 8 สรุปและส่งท้าย

ผนวก ก. ความก้าวหน้ากับความยากจน ฉบับย่อเหลือ 1/50
ผนวก ข. การยกย่องเฮนรี่ จอร์จ
ผนวก ค. นิยามศัพท์และกฎมูลฐานทางเศรษฐศาสตร์
บรรณานุกรม
ดัชนีค้นเรื่อง

ขอเชิญนะครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับค่านิยมทางศีลธรรมหาใช่เศรษฐศาสตร์ไม่ - มหาตมา คานธี
เราไม่ต้องการลงโทษเจ้าของที่ดิน แต่เราต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - วินสตัน เชอร์ชิลล์
การให้เอกชนบางคนมีกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินโลกเป็นความเฉาโฉดเหมือนกับการให้บุคคลหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอีกบุคคลหนึ่ง - Das Kapital, vol. III, p. 901-2
เราจะก่อตั้งระบบใหม่ของเราด้วยมัน [ภาษีที่ดิน] - ซุนยัตเซ็น
หน้า: [1]
    กระโดดไป: