ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 23:25
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ใครมีข้อมูลนักวิชาการขายตัวบ้างครับ? 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ใครมีข้อมูลนักวิชาการขายตัวบ้างครับ?  (อ่าน 2661 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« เมื่อ: 01-10-2006, 14:13 »




ลองอ่านบทความประกอบดู 


เราเป็นโสเภณี ..กันหมดแล้วหรือ ? 
..ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

Kriengsak@bangkokcity.com, http://www.ifd.or.th




เราเป็นโสเภณี ..กันหมดแล้วหรือ ?

ถ้าหาก โสเภณี (prostitute) หมายถึง คนที่ให้บริการทางเพศแก่บุคคลอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินหรือเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุเป็นหลัก ร่างกายของโสเภณีจะเปรียบได้กับวัตถุที่ซื้อขายกันได้ โสเภณีอาจเรียกได้ว่าเป็น “คนขายตัว”

โสเภณีเป็นอาชีพที่เก่าแก่มากที่สุดในโลกอาชีพหนึ่ง คนส่วน หนึ่งในสังคมโลกมีแนวคิดว่าผู้หญิงเปรียบเสมือน “สินค้า” สังคมหลายแห่งเชื่อกันว่าโสเภณีสามารถดำรงสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวไว้ได้ในขณะเดียวกันโสเภณีจะเป็นที่รังเกียจและได้รับการต่อต้านจากกรอบประเพณีทางศาสนาและจริยธรรมพื้นฐาน สังคมส่วนใหญ่มีความรู้สึกเหยียดหยามหญิงโสเภณีว่าเป็นหญิงชั้นต่ำ ได้รับการเรียกว่าเป็นผู้หญิงขายตัวในสังคมบางแห่งมีกฎหมายลงโทษหญิงโสเภณีอย่างรุนแรง โสเภณีจึงได้รับการตราหน้าให้มีสถานะทางสังคมที่ต่ำกว่าผู้หญิงในอาชีพอื่น ๆ ความจริงโสเภณีไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายที่ขายตัวในปัจจุบันมีพอให้เห็นได้เช่นกัน ในบทความนี้เมื่อ กล่าวถึงหญิงให้คลุมความหมายไปถึงชายด้วย

โสเภณีมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ทางกายภาพถูกลดน้ำหนัก ให้กลายเป็นสิ่งไร้คุณค่าทางใจเพราะถูกลดคุณค่าลงเหลือเพียงมูลค่างินทอง กิจกรรมการค้าประเวณีจะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความ เคยชินที่จะถือว่ามนุษย์มีความสัมพันธ์ต่อกันเพียงในฐานะซื้อขาย แลกเปลี่ยนประโยชน์ต่อกัน ทำให้ความสัมพันธ์ทางเพศกลายเป็น เพียงการตอบสนองตัณหาของฝ่ายหนึ่ง และการได้มาซึ่งเงินตราของ อีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับความจริงว่า จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีสิ่งใดสามารถหยุดยั้งอาชีพนี้ให้หมดไปได้ แม้ประเทศที่ห้ามการมีโสเภณีเพราะข้อบังคับที่เข้มงวดทางศาสนา ในประเทศนั้นยังมีการ ขายบริการแอบแฝงอยู่ นั่นเนื่องเพราะว่า ตราบใดที่ยังมีความต้องการอุปสงค์ของตลาด ตราบใดที่มี “เงิน” เป็นข้อแลกเปลี่ยนที่สร้างแรงจูงใจคนได้อยู่ แน่นอนว่าอาชีพโสเภณีจะยังคงมีอยู่เป็นอุปทานเสมอไปแท้จริงวัตถุประสงค์หลักของบทความนี้ไม่ได้ตั้งใจจะพูดเรื่องโสเภณีในความหมายปกติ แต่มุ่งขออนุญาตนำศัพท์มาถกแถลงวิถี ของคนหลากอาชีพที่อาจกระทำตนอยู่ในข่ายเป็นโสเภณีโดยไม่รู้ตัว

คนที่ทำอะไรเพื่อเงินเป็นหลัก คือ โสเภณี ?

คำถามเชิงปรัชญาในใจของผมมีอยู่ว่า “หากโสเภณีขายเรือนร่างเพื่อแลกกับเงิน แล้วคนที่ทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อเงินเป็นหลัก คน ๆ นั้นสมควรได้รับการเรียกว่า ‘โสเภณี’ ด้วยหรือไม่ ?”

นักการเมือง ที่แสวงหาเงินเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ไม่ได้ทำหน้าที่อุทิศตัวเพื่อเป็นตัวแทนประชาชนอย่างเหมาะสม แต่กลับ มุ่งแสวงหาประโยชน์ทำการคอร์รัปชัน และแสวงหาอำนาจใส่ตนเพื่อ ตนเท่านั้น นักการเมืองคนนั้นน่าจะเรียกได้ว่า โสเภณีนักการเมืองหรือ นักการเมืองขายตัว

ครู ที่สอนเพื่อแลกกับเงินเป็นจุดมุ่งหมายหลักในชีวิต โดย ขาดการมีจิตสำนึกแห่งความเป็นครู ขาดหัวใจแห่งการสร้างสรรค์อนาคตของชาติในชีวิตเด็กอย่างมีอุดมการณ์ ตลอดจนเรียกเก็บเงิน ใต้โต๊ะเพื่อหาประโยชน์เข้าสู่ตนเอง ครูคนนั้นน่าที่จะเป็นเพียง ครูโสเภณี

แพทย์ ที่เปิดคลินิกรักษาคนไข้ เพื่อ “เงิน” เพียงอย่างเดียว ไม่ได้รักษาคนไข้ด้วยจิตใจแห่งความเมตตาตามจรรยาแพทย์ที่ดี ใคร ไม่มีเงินให้ สามารถปล่อยให้สิ้นชีวิตได้อย่างขาดมนุษยธรรม แพทย์ เช่นนี้น่าจะเรียกได้ว่าแพทย์โสเภณี หรือ แพทย์ขายตัว

นักวิชาการ ที่ถูกจูงใจด้วยเงินจำนวนหนึ่งและยอมเบี่ยงเบน จุดยืนทางวิชาการของตน และกลับชักนำทิศทางความคิดประชาชน ตามความต้องการของผู้เป็นเจ้าของเงินโดยไม่คำนึงถึงหลักการและความถูกต้อง ในลักษณะ “การคอร์รัปชันทางความคิด” นักวิชาการนั้นน่าได้รับการเรียกขานว่า นักวิชาการขายตัว หรือ นักวิชาการโสเภณ

ทนายความที่ทำหน้าที่ว่าความเพื่อเงินเป็นหลัก ไม่ได้ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรมเมื่อมีเม็ดเงินแห่งสินบนมาเป็นเครื่องล่อ หรือถูกอำนาจเงินชักนำให้ว่าความทำให้ความผิดกลายเป็นความถูกต้อง ทนายความคนนั้นถือเป็นทนายความโสเภณหรือทนายความขายตัว

เราสามารถยกตัวอย่างอาชีพแล้วอาชีพเล่าได้ไม่สิ้นสุดและ กล่าวถึงอีกหลาย ๆ อาชีพในทำนองเดียวกัน จนอาจกล่าวได้ว่า หากใครดำเนินชีวิตโดยแลกสิ่งที่เขามี สิ่งที่เขาเป็น ไม่ว่าจะเป็นร่างกายแรงงาน ศักยภาพ ความรู้ความสามารถ หรือสิ่งอื่นใดก็ตาม โดยมแรงจูงใจเพียงเพื่อแลกกับเงินเป็นหลัก เขาผู้นั้นเท่ากับเป็น “คนขายตัว” หรือเป็น “โสเภณี” เช่นเดียวกัน แม้เขาอาจไม่เคยหยุดคิดอย่างที่ผม นำเสนอความเห็นในที่นี้ และหากคนจำนวนมากในสังคมดำเนินชีวิตเยี่ยงลักษณะนั้นเช่นเดียวกัน สังคมส่วนรวมจะถูกขนานนามได้ไหม ว่าเป็นสังคมโสเภณี


“เงิน” ในตัวเองเป็น “กลาง”คุณ และ โทษ เกิดจากผู้ใช้
ในความเป็นจริง ผมมีความเห็นว่า “เงิน” มีความเป็นกลาง ตามความหมายเรานิยามได้ว่าเงินเป็นเพียง “สื่อกลาง” ที่ใช้ในการ แลกเปลี่ยนสิ่งของและสินค้าต่าง ๆ ระหว่างกัน ดังนั้นการที่เงินจะ ก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียต่อผู้ใช้หรือผู้หาเงินนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าเขา ได้ให้คุณค่าแก่เงินเช่นไร คนแต่ละคนจะตัดสินใจเลือกเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตบนพื้นฐานของเงินเป็นหลักหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปรัชญาการมองโลกของคน ๆ นั้น ปรัชญาการมองโลกของบางคนให้คุณค่าทางกายภาพมากกว่าคุณค่า ทางจิตใจ จึงให้คุณค่าแก่เงินทรัพย์สิน ชื่อเสียงเกียรติยศสูง เขาจะ เลือกในทิศของการหาเงินได้อย่างง่าย ๆ แม้จะเป็นสิ่งที่ผิด แต่หากปรัชญาของคน ๆ นั้นให้คุณค่าทางใจสูงส่ง เขาจะเห็นคุณค่าของคน เห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่อาจแลกเปลี่ยนได้ด้วยเงินอย่างสมควร เช่น คนที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ความเสียสละเพื่อช่วยเหลือคนยากจน เขาจะไม่ทำสิ่งที่ได้เพียงแต่เงิน ได้เพียงแต่ความสุขสบายของตนเองต่อคนยากจนก่อน หรือคนที่มีจุดยืนเพื่อรักษาป่าและสิ่งแวดล้อม เขาจะไม่ยินยอมให้คนบุกรุกป่าอย่างเด็ดขาด แม้จะได้รับข้อเสนอผลประโยชน์มากเพียงใด ฯลฯ

คนในแต่ละสังคม แต่ละประเทศ อาจมีปรัชญาการมองโลกในเรื่องเดียวกันแตกต่างกันเพราะปัจจัยทางกายภาพที่บีบบังคับ เช่น ถ้าถามคนเขมรในยามสงครามว่าเขาต้องการป่าหรือไม่ เขาอาจตอบว่าไม่ต้องการเพราะเขาต้องการเงินเพื่อซื้ออาหารประทังความหิวก่อน ถามคนแอฟริกาบางที่อาจไม่สนใจป่าเพราะประเทศของเขายากจน แทบจะไม่มีอาหารทานอยู่แล้ว ทั้งสองประเทศนี้สิ่งที่เขาต้องการคือ เงินและอาหารมากที่สุด แต่ถ้าหากไปถามคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ใน เมือง เขาอาจตอบว่าป่ามีค่ามาก ต้องรักษาป่าไว้เพราะคุณค่าป่าหากหมดไปจะไม่สามารถแลกด้วยเงินได้ นั่นเนื่องเพราะคนอเมริกันไม่ เดือดร้อนทางกายภาพจนพอจะมีโอกาสคิดคำนึงเกินมิติความอยู่รอดนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม คุณค่าทางจิตใจสามารถทำให้หวั่นไหวได้เสมอเมื่อมี “ระดับราคา” มาเป็นเครื่องดึงดูดใจ เช่น ถามว่าผู้หญิงคนนี้ยอมเป็นโสเภณีที่ระดับราคาเท่าไร ร้อยบาทอาจจะไม่ยอม ห้าร้อย อาจจะไม่ยอม หนึ่งพันอาจจะไม่ยอม ห้าหมื่นอาจจะไม่ยอม หนึ่งแสน..ชักจะไม่ค่อยแน่ใจ ห้าแสน...ต้องถามครอบครัวก่อน หนึ่งล้าน....ตกลงยอมก็ยอม นั่นแสดงว่าผู้หญิงคนนั้นยอมเป็นโสเภณีที่ ระดับราคาหนึ่งล้านบาท แต่ขณะเดียวกันมีผู้หญิงอีกหลายคนที่ไม่ว่าจะต่อรองถึงระดับราคาร้อยล้านสองร้อยล้านจะไม่ยอมเป็นโสเภณี เพราะเห็นว่าคุณค่าของศักดิ์ศรีในความเป็นผู้หญิงหรือในความเป็นคนซึ่งไม่สามารถนำเงินหมดทั้งโลกมาแลกซื้อไปได้ เป็นต้น

ตัวอย่างดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการตัดสินใจในการให้คุณค่าของคนแต่ละคนอย่างไม่สามารถบังคับกันได้ ในแต่ละคน แต่ละสังคม แต่ละประเทศ ต่างมีจุดการยอมรับคุณค่าเหล่านี้ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนา ระดับจิตใจ ระดับความคิด ของคนแต่ละคน คนที่ ยอมพลีตนเป็นโสเภณีย่อมมีเหตุผลทางใจที่ปรารถนาเงินก้อนหนึ่ง มากกว่าปรารถนาความถูกต้องในการดำเนินชีวิต

ในสังคมไทยปัจจุบัน ภายใต้ความปรารถนาวัตถุนิยมที่สูงกว่าจิตนิยม คนในสังคมจึงให้คุณค่าแก่เงินสูงเกินกว่าความเป็นจริงและ จะวัดคุณค่าคนบนมาตรฐานของจำนวนเงิน อันเนื่องมาจากเงิน สามารถแลกเปลี่ยนมาซึ่งความมั่นคงในการดำรงชีวิต เงินทำให้ชีวิต มีความสุขสบาย เงินก่อให้เกิดอำนาจเหนือผู้อื่น เงินทำให้คนได้รับ โอกาสที่ดีกว่าคนอื่น ๆ ในสังคม สะท้อนจากการที่บุคคลใดมีเงิน มากกว่าจะได้รับการยอมรับและการให้เกียรติจากสังคม และเป็นเหตุให้เรามีความปรารถนาที่จะมีเงินจำนวนมากจนเกิดอาการอย่างที่ผมเรียกเสมอ ๆ ว่าอาการ“ธนานิยม” คือให้คุณค่าแก่เงินสูงเกินมาตรฐานความเป็นจริง

การตอบสนองของคนในสังคมส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นหากพิจารณาให้ดีคือ การประพฤติที่ไม่ต่างกับการแสวงหาเงินของโสเภณีคือเห็น คุณค่าของเงินสูงกว่าสิ่งใด เพราะเงินคือความอยู่รอดและความสุขสบาย แม้วิธีการที่หาเงินนั้นส่งผลร้ายต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อผู้อื่นและต่อสังคมในภาพรวม ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น หากแพทย์กระจุกตัวอยู่ในเมืองเพราะได้เงินมากกว่า แต่คนในชนบทจะต้องตกระกำลำบากเพราะขาดแพทย์ หากนักการเมืองไม่ทำหน้าที่ของตนอย่างดี มุ่ง แต่จะคอร์รัปชัน ประชาชนย่อมเดือดร้อน หากครูไม่เห็นแก่นักเรียน ประเทศชาติจะมืดบอดทางปัญญา หากสื่อมวลชนขายข่าวเพื่อให้ได้เงินมากที่สุดมากกว่านำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ ประชาชนจะรับแต่สิ่ง ไร้สาระ หากสังคมหิวเงินอย่างมาก เราจะเห็นโสเภณีปรากฏในทุก อาชีพโดยไม่ต้องขายแม้ร่างกายของตนในนิยามปกติแต่ขายความรู้ ขายฝีมือ ขายทักษะ ขายความสามารถ ฯลฯ

หากเราดำเนินชีวิตเพียงเพราะเห็นแก่ “เงิน” เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต สังคมจะอยู่ในสภาพเช่นไร ?

ถ้าคนถูกสั่นคลอนได้เพียงเพราะ เงินจำนวนหนึ่ง เงินจะ เคลื่อนใจเราไม่ให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องชอบธรรมและอย่างสมเหตุสมผล เงินจะทำให้...ความถูกต้องชอบธรรมถูกซื้อไป...ความดีงาม ถูกซื้อไป...ศีลธรรมจรรยาถูกซื้อไป...ความยุติธรรมถูกซื้อไป...เหตุ และผลแห่งสัจจะถูกซื้อไป...คนจะถูกซื้อไป...สังคมจะถูกซื้อไป หรือ แม้กระทั่ง...ประเทศชาติอาจจะถูกซื้อไปได้

บุคคลที่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของตนเอง ปฏิเสธจิต สำนึกชอบ ความถูกต้องชอบธรรม และความดีงาม โดยยินดีทำทุกสิ่งเพื่อแลกกับเงินเป็นหลัก บุคคลนั้นไม่ต่างอะไรกับคนที่เรามักเผลอไปประณามว่าเป็นโสเภณี....ถ้าสังคมเป็นเช่นนี้คือหิวเงินจนตาลายและ ขาดสติอย่างในปัจจุบันโสเภณีจะไม่สมควรถูกประณาม เพราะเขาทำไปเพื่อแลกกับเงินเช่นเดียวกับคนจำนวนมากหลายอาชีพที่ทำไปเพื่อ แลกกับเงินเช่นกัน เราเป็นโสเภณีกันหมดแล้วหรือ ?

 
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 01-10-2006, 14:17 »



เปิดโฉมหน้าแร้งทึ้งขุมทรัพย์แสนล้าน       http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=1231

ภายใต้นโยบายการจัดการด้านพลังงานของชาติ และการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด ตลอด 7 ปี 4 รัฐบาลที่ผ่านมา ใครคือผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์บนความผิดพลาด ความขัดแย้ง ฉ้อฉลและอัปยศ


ใครคือนักการเมืองชั่ว ข้าราชการเลว นักลงทุนหน้าเงิน นักวิชาการขายตัว ชาวบ้านหัวรุนแรง เอ็นจีโอจอมปลอม และแท้จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นเป็นดังที่ว่าหรือไม่ หาคำตอบได้ ณ บัดนี้


โฉมหน้าก๊วนเทคโนแครต


ทุกปัญหาล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ และมนุษย์พันธุ์พิเศษที่ผูกขาดองค์ความรู้ ผูกขาดการวางแผน วางยุทธศาสตร์ และผูกขาดการจัดการด้านพลังงานของชาติจนเป็นปัญหาของชาติที่สังคมไทยควรจะได้รับรู้ ก็คือ ก๊วนเทคโนแครต ผู้ซึ่งมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลมาทุกยุค และกุมชะตาอนาคตกิจการพลังงานเอาไว้ในมือ

สมาชิกสำคัญของก๊วนเทคโนแครต ก็คือ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, เทียนไชย จงพีร์เพียร และ พรายพล คุ้มทรัพย์ พวกเขาซึ่งมีคำนำหน้าด้วยด็อกเตอร์ทั้งนั้น ไม่เพียงร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนเท่านั้น เพราะพวกเขาถูกตั้งข้อกังขาว่าก้าวล่วงเข้าไปมีผลประโยชน์ร่วมไม่มากก็น้อย อีกด้วย


กรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการผูกขาดองค์ความรู้ ผูกขาดการวางแผนของเขาทั้งสามคือ การแต่งตั้งคณะทำงาน คณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการต่างๆ ที่มีส่วนวางแผนและตัดสินในกิจการพลังงานไฟฟ้า ดังเช่น


1) คณะทำงานยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาพลังงาน (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์) ซึ่งแต่งตั้งโดย สาวิตต์ โพธิวิหค สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อยกร่างพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน


2) คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการในอนาคตของการไฟฟ้า (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ แต่งตั้งโดยประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน เพื่อกำกับดูแลงานปฏิรูปกิจการไฟฟ้า


3) คณะทำงานเตรียมการด้านกฎหมายและการกำกับดูแล (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์) แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า (ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เพื่อร่างกฎหมายลูกภายใต้ร่างพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน


4) คณะทำงานศึกษาต้นทุนและหนี้ตกค้าง (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์) แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า
(ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เพื่อคำนวนต้นทุนตกค้างฯ


5) คณะกรรมการกองทุนอนุรักษ์พลังงาน (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์)

6) คณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร เป็นประธาน) แต่งตั้งโดยประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน เพื่อทำ Load Forecast

7) คณะอนุกรรมการศึกษาการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร) แต่งตั้งโดย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงสร้างค่าไฟใหม่และติดตั้งมิเตอร์ TOU

Cool คณะทำงานพิจารณาร่างกฎตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร) แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า

จากกรณีตัวอย่างข้างต้นทำให้เห็นภาพของสามทหารเสือด้านพลังงาน คือ ปิยสวัสดิ์-พรายพล-เทียนไชย โยนลูกกันไปมาอย่างชัดเจน

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ อาจจะเป็นด้วยเหตุผลที่ว่าเมืองไทยขาดแคลนนักวิชาการด้านพลังงาน ดังที่ ปิยสวัสดิ์ เคยอรรถาธิบายเมื่อคราวให้สัมภาษณ์ ผู้จัดการรายเดือน ฉบับที่ 206 เดือนพฤศจิกายน 2543 ที่ว่า เรื่องนโยบายพลังงานนี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยไหน จริงๆ แล้วการกำหนดนโยบายในหลายๆ เรื่องไม่จำเป็นต้องเรียนเฉพาะในด้านนั้น สำคัญก็คือสามารถที่จะวิเคราะห์ได้และคนของสพช.ก็ไม่ได้จบด้านพลังงานเลย และคนที่จบหลักสูตรด้านพลังงานโดยเฉพาแทบจะไม่มีในประเทศไทย

ท่ามกลางบรรยากาศที่ดูเหมือนว่าเมืองไทยขาดแคลนผู้รู้ด้านพลังงานอย่างมากนั้น ดร.เทียนไชย และดร.พรายพล ก็ได้อาศัยคราบนักวิชาการที่มีโอกาสเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดกำหนดนโยบายด้านพลังงานชุดต่างๆ เข้าประมูลงานโครงการศึกษาจากสพช. โดยจัดตั้งบริษัทเบอร์ร่า จำกัด ขึ้นมา

บริษัทเบอร์ร่า จำกัด ทะเบียนเลขที่ 1964/2535 ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2535 มีชื่อกรรมการ 2 คน คือ นายเทียนไชย จงพีร์เพียร และ นายพรายพล คุ้มทรัพย์ มีผลงานที่เข้าประมูลและได้งานจากสำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ที่มีดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นเลขาธิการ อาทิเช่น


โครงการศึกษาผลกระทบอัตราค่าไฟฟ้าต่อผู้ใช้ไฟ (2543) โดยทำร่วมกับบริษัททริบเปิ้ล เจ จำกัด


โครงการศึกษาการนำเข้าน้ำมันเถื่อนในประเทศไทย (ประมาณ 2542-2543) โครงการวิจัยภาระการใช้ไฟฟ้าในเขตการไฟฟ้านครหลวง (ทำให้กับกฟผ.ในปี 2543) โครงการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU (ปี 2538) และการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOD (ปี 2534)

โครงการศึกษาและประชาสัมพันธ์อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (ปี 2544) ทำร่วมกับบริษัททริบเปิ้ล เจ จำกัด

โครงการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า (ปี 2544)

โครงการศึกษาการวิจัยภาระไฟฟ้าของกฟผ. (ปี 2544)

พันธมิตรที่เข้ารับงานศึกษาโครงการร่วมกับบริษัทเบอร์ร่า คือ บริษัททริปเปิ้ล เจ นั้น อาจบอกได้ว่าเป็นบริษัทที่มีสายสัมพันธ์อย่างแนบแน่นเป็นพิเศษกับท่านเลขาธิการสพช.และเป็นบริษัทที่เข้ามารับทำงานประชาสัมพันธ์ให้โรงไฟฟ้าบ่อนอก


วงการบริษัทธุรกิจที่ปรึกษาต่างค่อนขอดและตั้งข้อกล่าวหาว่า บริษัทดังกล่าวมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับปิยสวัสดิ์ จึงทำให้ได้งานเป็นผู้รับงานประชาสัมพันธ์ในโครงการใหญ่ๆ ทั้งๆ ที่ เป็นบริษัทหน้าใหม่มากในแวดวงประชาสัมพันธ์ ชื่อบริษัทกับการได้งานจะผูกติดกับตำแหน่งของปิยะสวัสดิ์ เมื่อ ปิยสวัสดิ์ เป็นเลขาสพช. ก็จะได้งานในสพช. ดังนั้นเมื่อ ปิยสวัสดิ์ ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก็จะไปได้งานในกรมประชาสัมพันธ์


จริงเท็จอย่างไรมีแต่ดร.ปิยสวัสดิ์ และผู้จัดการบริษัททริปเปิ้ล เจ เท่านั้นที่รู้


สำหรับผู้จัดการบริษัท คือ นางสาวสวินยา นุ่มพันธุ์ หรือ แจง เป็นอดีตผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์คุณภาพแถวประชาชื่น

บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 01-10-2006, 14:31 »



ผลวิจัยนโยบายรัฐบาล´ทักษิณ´ ย้ำผลประโยชน์ทับซ้อน  http://tnews.teenee.com/politic/3490.html
 
กรุงเทพธุรกิจ
1 สิงหาคม 2549 18:48 น.
ผลวิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจรัฐบาลทักษิณ พบดำเนินการหลายเรื่องมีน้ำหนักเกี่ยวโยงผลประโยชน์ทับซ้อน เสนอแก้ฎหมายไม่ให้นักการเมืองและครอบครัว มีช่องเข้าไปเอื้อประโยชน์ให้บริษัทที่ตนถือหุ้นอยู่

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายวิทยากร เชียงกูล ผู้อำนวยการวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เสนอผลการวิจัยเรื่อง “นโยบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ : การทับซ้อนของผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Conflict of interest) ว่า ปัญหาการทับซ้อนของผลประโยชน์เกิดขึ้น เมื่อการกำหนดนโยบายพัฒนาทางเศรษฐกิจ ถูกแทรกแซงด้วยผลประโยชน์เฉพาะของบริษัทธุรกิจเอกชนผล คือนโยบายและมาตรการที่ให้ผลประโยชน์กับเอกชนบางราย แต่สังคมโดยรวมเสียประโยชน์ ทั้งนี้เป็นการคอรัปชั่นรูปแบบใหม่ โดยกฎหมายอาจจะเอาผิดไม่ได้ ซึ่งผลการวิจัยนโยบายและมาตรการของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ช่วงปี 2544 –2548 พบว่า มีการดำเนินการหลายเรื่อง ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ระหว่างผลประโยชน์สาธารณะ กับผลประโยชน์ของผู้มีตำแหน่งทางการเมือง เครือญาติหรือพรรคพวกของผู้มีตำแหน่งทางการเมือง

“โดยเรื่องที่มีน้ำหนักเกี่ยวโยงปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ได้แก่ การที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นๆ โอนหุ้นให้ลูกและญาติ ก่อนเข้ารับตำแหน่ง แทนที่จะโอนให้นิติบุคคลบริหารหุ้นแทน ซึ่งนักการเมืองยังคงใช้อำนาจหน้าที่ เอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเอง เช่น บริษัทชินคอร์ป ของครอบครัวชินวัตร หลายทาง เช่น นโยบายนำภาษีสรรพสามิตมาใช้กับบริษัทธุรกิจด้านคมนาคม เป็นการกีดกันธุรกิจรายใหม่ ส่วนบริษัท กสท. โทรคมนาคม และบริษัททีโอที ที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ เสียประโยชน์ การแก้ไขลดค่าสัมปทานไอทีวีลง กรณีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ยกเว้นภาษีการสั่งเข้าวัสดุอุปกรณ์ให้กับบริษัทแซทแทลไลท์ ในเครือชินคอร์ป การสนับสนุนให้ธนาคารเอ็กซิมแบงค์ ให้เงินกู้คิดดอกเบี้ยต่ำกับรัฐบาลพม่า โดยรัฐบาลไทยค้ำประกันเงินกู้ให้พม่า เพื่อจะใช้ซื้อบริการจากบริษัทแซทแทลไลท์ กรณีกลุ่มชินฯลงทุนในบริษัทสายการบินแอร์เอเชีย ทำให้บริษัทการบินไทย ที่เป็นรัฐวิสาหกิจของชาติเสียประโยชน์ หรือการที่กลุ่มชินฯมีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหลายเท่าในรอบ 5 ปี การขายหุ้นชินฯให้เทมาเส็กโดยไม่ต้องเสียภาษี” นายวิทยากร กล่าว

นายวิทยากร กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องการตกลงทำสัญญาเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ ระหว่างไทยกับจีน สหรัฐ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นผลดีต่อธุรกิจบางอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่คณะรัฐบาลมีหุ้นอยู่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีกำไร เช่น ปตท. การใช้อำนาจหน้าที่ และการรู้ข้อมูลข่าวสารเหนือคนอื่น ในการช่วยให้ธุรกิจของพรรคพวก หรือที่ตนจะเข้าไปครอบงำกิจการ ที่เป็นลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้ขาดการชำระ (เอ็นพีแอล) ให้สามารถปฏิรูปโครงสรางหนี้กับธนาคารพาณิชย์ โดยได้ส่วนลดจากเจ้าหนี้สูงกว่าธุรกิจอื่น ที่ไม่ใช่พรรคพวก การแทรกแซงการเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และวิทยุโทรทัศน์ของภาครัฐ การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อโดยถอนการให้โฆษณา หรือฟ้องร้อง การใช้งบประมาณจำนวนมากลงทุนในโครงการขนาดใหญ่และโครงการประชานิยมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไม่มีการวางแผนที่ดี ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคประชาชนให้เข้มแข็ง

“ สภาพดังกล่าวเป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุล ไม่ได้กระจายทรัพย์สิน รายได้ ความรู้ ไปสู่ประชาชนกลุ่มต่างๆอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม การเร่งผลิตสินค้าและบริการ แสวงหาผลกำไรสูงสุดของเอกชน แม้จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเติบโต แต่เป็นประโยชน์กับเจ้าของธุรกิจส่วนน้อย มากกว่าประชาชนทั่วไป ส่งผลขาดความสมดุลระหว่างเมืองและชนบท ปัญหาความยากจน และปัญหาสังคมเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขั้นพื้นฐานอ่อนแอ มีโอกาสนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงยิ่งขึ้นในระยะต่อไป” นายวิทยากร กล่าว

นายวิทยากร กล่าวอีกว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน ควรต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อปฏิรูปการเมือง ให้ประชาชนมีสิทธิและอำนาจใจการจัดตั้งองค์กรที่เป็นกลาง เป็นอิสระมีขีดความสามารถในการตรวจสอบ และถอดถอนนักการเมืองเพิ่มขึ้น ต้องพัฒนาองค์กรป.ป.ช. สตง.ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ให้เข้มแข็ง และมีอำนาจเพิ่มขึ้น รวมถึงการตราพ.ร.บ.จัดตั้งองค์กรอิสระเพิ่มขึ้น เช่น องค์กรอิสระข้อมูลข่าวสาร องค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค และต้องปฏิรูปการได้มาซึ่งกรรมการองค์กร ต้องให้ได้คนที่เป็นกลาง รัฐต้องจัดงบประมาณสนับสนุนองค์กรอิสระ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ต้องปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมทุกระดับ

รวมถึงระบบการศึกษาและสื่อสารมวลชน เพื่อให้ภาคประชาชนรู้ทันและเข้มแข็ง ในการติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดระบบธรรมาภิบาล ทั้งนี้ยังต้องปฏิรูป และบังคับใช้กฎหมาย ที่ห้ามไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและครอบครัว เข้าไปเกี่ยวข้องในการที่จะเอื้อประโยชน์ให้บริษัทที่ตนถือหุ้นอยู่ และต้องกำหนดหลักเกณฑ์ทางจริยธรรมหรือหลักเกณฑ์ทางการประพฤติสำหรับนักการเมือง ข้าราชการและอาชีพที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ
 
 โดย : Axl โพสเมื่อ [ วันพุธ ที่ 2 สิงหาคม 2549 เวลา 01:49 น.] 
บันทึกการเข้า

นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 01-10-2006, 14:38 »

...
การเปลี่ยนสีของข้าราชการจึงเกิดขึ้นจากภาวะจนใจ-เต็มใจระคนกันไป!!!

อย่างไรก็ตาม การนั่งเก้าอี้นักบริหารใช่ว่าจะได้มาเปล่าๆ เมื่อถูกหนุนขึ้นที่สูงแล้วก็ต้องทำได้ทั้งงานหลวงและงานราษฎร ไม่เช่นนั้นคงไม่มีเทปลับ "เนวิน ชิดชอบ" พร้อม ส.ส.ไทยรักไทย ยึดสถานที่ราชการเป็นสถานที่ที่ประชุมหัวคะแนน โดยมีผู้ว่าฯ 2 คนร่วมรับฟัง หรือได้ยินข่าวลือเรื่องการปลุกม็อบป่าไม้ขึ้นมาสู้กับม็อบพันธมิตร ในสมัยที่ "ดำรงค์ พิเดช" ที่มีความแนบแน่นเหลือเกินกับ "ยงยุทธ ติยะไพรัช" อดีต รมว.ทรัพยากรฯ นั่งเป็นอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติและพันธุ์พืช

เหล่านี้คือคำตอบเหตุใดรัฐบาลทักษิณจึงต้องเข้ามาแทรกแซง-แทรกซึมพรรคราชการ

ท้ายที่สุดอาจกล่าวได้ว่าการเข้ามาบริหารประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามจะปฏิวัติ (เงียบ) พรรคราชการ ด้วยการรื้อโครงสร้างเก่าและวางโครงข่ายอำนาจใหม่ วันนี้แม้รัฐบาลทักษิณจะถูกคณะปฏิรูปการปกครองโดยระบอบประธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เข้ายึดอำนาจไปแล้ว

แต่ซากปรักหักพังของระบบราชการที่ พ.ต.ท.ทักษิณกับพวกเคยทำไว้ยังตกค้างอยู่!!!

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pol01011049&day=2006/10/01

น้ำลดตอผุด ออกมาเรื่อยๆ ต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหาเหล่านี้
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 09-11-2006, 19:23 »



กำลังนึกถึงนิธิ กับ สมศักดิ์ (เจียม) และสิขิต ธีระเวคิน เกษียร ธีรยุทธ ฯลฯ

ดูเหมือนบางคนกำลังจะตกยุค

                                                     
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 09-11-2006, 22:19 »

อาจารย์เกรียงศักดิ์ เข้า ปชป. แล้ว ไม่ใช่เหรอครับ
บันทึกการเข้า

easy
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10


« ตอบ #6 เมื่อ: 10-11-2006, 06:05 »

สุวรรณ วลัยเสถียร
บันทึกการเข้า
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 10-11-2006, 11:43 »

อาจารย์เกรียงศักดิ์ เข้า ปชป. แล้ว ไม่ใช่เหรอครับ

เป็นปาร์ตีลิสต์ สมัยที่แล้วครับ ตอนนี้คงต้องรอดูกันต่อไป
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 10-11-2006, 11:47 »



จากรายการบทความที่ Snowflake นำมาโพสต์ตั้งแต่ก่อนรัฐประหารจนหลังรัฐประหาร

1. ธงชัย วินิจตระกูล  สะกดถูกเปล่า?
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 10-11-2006, 12:49 »



จากรายการบทความที่ Snowflake นำมาโพสต์ตั้งแต่ก่อนรัฐประหารจนหลังรัฐประหาร

1. ธงชัย วินิจตระกูล  สะกดถูกเปล่า?


2.ว่ายทวนน้ำ โดย ใบตองแห้ง ไทยโพสต์
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 10-11-2006, 13:08 »



จากรายการบทความที่ Snowflake นำมาโพสต์ตั้งแต่ก่อนรัฐประหารจนหลังรัฐประหาร

1. ธงชัย วินิจตระกูล  สะกดถูกเปล่า?


2.ว่ายทวนน้ำ โดย ใบตองแห้ง ไทยโพสต์

3.โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 10-11-2006, 13:21 »



จากรายการบทความที่ Snowflake นำมาโพสต์ตั้งแต่ก่อนรัฐประหารจนหลังรัฐประหาร

1. ธงชัย วินิจตระกูล  สะกดถูกเปล่า?


2.ว่ายทวนน้ำ โดย ใบตองแห้ง ไทยโพสต์

3.โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.คัดจาก ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: