ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
19-04-2024, 08:27
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  การปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างยั่งยืน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
การปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างยั่งยืน  (อ่าน 2717 ครั้ง)
taworn09220
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 302


« เมื่อ: 29-09-2006, 21:54 »

การปฏิรูปการเมืองการปกครองอย่างยั่งยืน
 
โดย ประมวล รุจนเสรี  28 กันยายน 2549 17:57 น.
 
 
       ประเทศไทยมีการปฏิรูปการเมืองมาแล้ว 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ แต่มิได้แก้ไขปรับปรุงและปฏิรูปองค์ประกอบทางการเมืองด้านอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน ที่จะทำให้การเมืองเป็นการเมืองคุณธรรมตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ยั่งยืนและถูกต้อง การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่นี้ควรให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการไปพร้อมกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ
       
       1. การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรกำหนดดังนี้
       
       1.1 ให้เป็นการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เท่านั้น
       
       1.2 ให้เป็นการเมืองคุณธรรมที่นักการเมือง พรรคการเมือง และประชาชน ถือปฏิบัติด้วยความเสียสละ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
       
       1.3 ประชาชนต้องได้เรียนรู้กระบวนการทางการเมืองทุกระดับโดยถูกต้อง เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง การกำหนดนโยบาย การพัฒนา การแก้ปัญหา และการตรวจสอบควบคุมการเมืองการปกครองทุกระดับ
       
       1.4 ให้ระบบราชการสามารถรองรับและส่งเสริมการเมืองระบบนี้
       
       1.5 สื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชน จะต้องสามารถทำหน้าที่อย่างเสรี สุจริต เที่ยงธรรม และครบถ้วน
       
       2. ภารกิจที่ต้องปฏิรูป
       
       2.1 เกี่ยวกับประชาชน ควรดำเนินการดังนี้
       
       (1) ให้ประชาชนมีโอกาสสามารถเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมทางการเมืองในชีวิตประจำวัน ด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง การกำหนดนโยบาย การพัฒนา การแก้ปัญหา และการตรวจสอบควบคุมการเมืองการปกครองทุกระดับ
       
       (2) จัดให้มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นจุดแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนอย่างแท้จริง โดยไม่ให้การเมืองระดับชาติลงไปยุ่งเกี่ยวโดยตรงกับการมี ถนน น้ำ ไฟฟ้า ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอาชีพ การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมประเพณีที่มีคุณภาพและพอเพียง
       
       2.2 เกี่ยวกับพรรคการเมือง ควรดำเนินการดังนี้
       
       (1) ป้องกันมิให้พรรคการเมืองเป็นของนายทุนผูกขาด
       
       (2) ส่งเสริมให้เป็นพรรคการเมืองที่สมาชิกสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองทุกระดับในการระดมทุนและส่งเสริมการเรียนรู้ และการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองการปกครองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
       
       2.3 เกี่ยวกับนักการเมือง ควรดำเนินการดังนี้
       
       (1) กำหนดมาตรการไม่ให้ซื้อเสียงและกำหนดใช้เงินในการเลือกตั้งเท่าที่จำเป็นด้วยการ กำหนดวันเลือกตั้งให้น้อยวันที่สุด กำหนดจุดติดตั้งและขนาดโปสเตอร์ แผ่นผ้าหาเสียง กำหนดจุดปราศรัยให้กระทำได้ในโรงเรือนเท่านั้น และกำหนดบทลงโทษในการฝ่าฝืนให้หนัก และตัดสิทธิทาง การเมือง
       
       (2) ปฏิรูปพฤติกรรมของนักการเมืองที่เป็น ส.ส. ส.ว. ให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะงานนิติบัญญัติ งานตรวจสอบควบคุมฝ่ายบริหาร ห้ามมิให้จัดสงเคราะห์แก่ประชาชนอันเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น อนุญาตให้ปรึกษาหารือกับประชาชนได้ในการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาเท่านั้น การฝ่าฝืนในเรื่องนี้มีบทลงโทษหนักและตัดสิทธิทางการเมือง
       
       (ในประวัติศาสตร์ประเทศไทย ไม่เคยมีการปฏิรูปนักการเมืองมาก่อนเลย)
       
       2.4 เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ระบบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันเป็นมรดกมาจากการปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทำให้ข้าราชการอยู่ในระบอบ “อำมาตยาธิปไตย” ที่ข้าราชการเป็นเจ้าของอำนาจ เจ้าของงบประมาณ เจ้าของทรัพยากร ประชาชนเป็นผู้อาศัยพึ่งพา โดยมีเสนาบดีเป็นหัวหน้าใหญ่ เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว รัฐมนตรีก็มาสวมอำนาจของเสนาบดี ระบบราชการก็ยังยึดติดอยู่กับความเป็นเจ้าของอำนาจ เจ้าของงบประมาณและเจ้าของทรัพยากรตามเดิม ทัศนคติและวิธีการบริหารยังไม่พัฒนาเปลี่ยนแปลง จึงควรดำเนินการดังนี้
       
       (1) ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่ ให้ความสำคัญกับราชการบริหารท้องถิ่นมากขึ้น ลดภารกิจ อำนาจ และงบประมาณของส่วนกลางแล้วลงไปเพิ่มให้องค์กรปกครองท้องถิ่น โดยมอบภารกิจเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของประชาชนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับผิดชอบ
       
       (2) ส่วนกลาง รับผิดชอบในด้านการต่างประเทศ การรักษาความมั่นคง การเงินการคลัง เศรษฐกิจ การป้องกันปราบปรามยาเสพติด การป้องกันการทุจริตคิดมิชอบ ส่วนกิจการอื่น ๆ ก็ให้ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดนโยบาย มาตรฐาน สนับสนุน ช่วยเหลือ กำกับ ตรวจสอบ ควบคุม ทั้งนี้จะต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงทัศนคติของทุก ๆ ฝ่ายด้วย
       
       (3) ส่วนภูมิภาค ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ รวมถึงกำนันผู้ใหญ่บ้าน ให้เน้นภารกิจอยู่ที่การรักษาความมั่นคงภายใน การป้องกันปราบปรามยาเสพติด การป้องกันการทุจริตคิดมิชอบ และการกำกับตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองท้องถิ่น และป้องกันปราบปรามการทุจริตคิดมิชอบในองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด
       
       (4) ลดอำนาจคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีลง ให้อำนาจการอนุมัติ อนุญาต ตรวจสอบควบคุม เป็นภารกิจของข้าราชการประจำให้มากขึ้น รวมทั้งไม่ให้มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ มุ่งให้ฝ่ายการเมืองทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำกับ ติดตาม เร่งรัด มิใช่ลงมาบริหารงานเสียเอง
       
       การนี้ต้องจัดให้มีองค์กรธรรมาภิบาลที่คอยเป็นกันชนระหว่างข้าราชการประจำ กับ ฝ่ายการเมือง คอยให้ความเป็นธรรมแก่ข้าราชการในการแต่งตั้งโยกย้าย การให้คุณให้โทษ และเป็นหลักประกันให้นโยบายของฝ่ายการเมืองได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากข้าราชการประจำ
       
       2.5 เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นหัวใจของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เจ้าของอำนาจอธิปไตยเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองอย่างใกล้ชิด การนี้ควรได้ดำเนินการดังนี้
       
       (1) เพิ่มอำนาจ หน้าที่ งบประมาณ บุคลากร ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น โดยยึดหลักกิจกรรมเกี่ยวกับ ถนน น้ำ ไฟฟ้า ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอาชีพ การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมประเพณี ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น
       
       (2) ยกฐานะพนักงานส่วนท้องถิ่นให้มีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่ากับข้าราชการอื่น ๆ สามารถถ่ายโอนกันได้โดยไม่มีข้อรังเกียจเดียดฉันท์ ด้วยการให้มีองค์กรบริหารงานบุคคลของข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพียงองค์กรเดียว
       
       (3) ปรับปรุงขนาดพื้นที่ ประชากร ของท้องถิ่นให้ใหญ่ขึ้น สามารถรองรับภารกิจได้มากขึ้น ทั้งนี้อาจจะใช้มาตรการจูงใจหรือการลงประชามติ
       
       2.6 เกี่ยวกับสื่อสารมวลชน ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องมีหลักประกันเสรีภาพไม่ให้รัฐบาลและระบบทุนครอบงำ โดยการกำหนดมาตรการทางกฎหมายและนโยบาย
       
       3. กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ
       
       เพื่อให้ภารกิจในการปฏิรูปการเมืองการปกครองเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ไม่ชั่ววูบเหมือนไฟไหม้ฟาง ในช่วง 12 เดือน ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกำหนดไว้ จะต้องดำเนินการ
       
       3.1 ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
       
       3.2 แก้ไขปรับปรุงกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ กฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น กฎหมายการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น กฎหมายข้าราชการพลเรือน กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. กฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง กฎหมายการสื่อสารมวลชน ฯลฯ
       
       3.3 กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และอื่น ๆ ต้องลงมือส่งเสริมการเรียนรู้และการปฏิบัติของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งที่อยู่ในธรรมะ ไม่ขายสิทธิขายเสียง การกำหนดนโยบาย การพัฒนา การแก้ปัญหา การตรวจสอบควบคุมการเมืองการปกครองทุกระดับ ตั้งแต่ที่ใกล้ตัวที่สุด คือ องค์กรปกครองท้องถิ่น ไปจนถึงระดับชาติ
       
       3.4 ระยะเวลา 1 ปีของรัฐบาลชุดใหม่ ต้องพัฒนาทัศนคติของข้าราชการทุกประเภท และดำเนินการกระจายคน เงิน งาน ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและให้แล้วเสร็จ

 
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: