ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 17:34
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ผลดีผลเสียของการรัฐประหาร 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ผลดีผลเสียของการรัฐประหาร  (อ่าน 22937 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 25-09-2006, 06:46 »

ว่ายทวนน้ำ โดยใบตองแห้ง ไทยโพสต์  25 กันยายน 2549

สวัสดีครับ คุณใบตองแห้งที่เคารพ

ผมเข้าใจว่าคุณใบตองแห้งไม่สนับสนุนวิธีรัฐประหาร ซึ่งมันยากจริงๆ...ที่จะพัฒนาประเทศ
ชาติต่อไป คนจะเดินทางชีวิตของตนในกรอบต่อไปได้อย่างไรถ้ายกเว้นปฏิบัติอยู่เรื่อยๆ
ไม่มีการแก้ไขโดยเหตุผล...มันยากครับ การที่หลักการทางวิทยาศาสตร์ทฤษฎีต่างๆ ก็ดี
พุทธศาสนาธรรมะก็ดี จะบอกให้ทุกคนยืนบนหลักการ และหลักธรรม การสนับสนุนให้ทำ
รัฐประหารจึงเสมือนกับการที่เรา "หันหลังให้หลักการ"...ถึงแม้มันก็เป็นเพียงหลักการ
หลักการหนึ่งเป็นจุดๆ หนึ่งของการปกครองเท่านั้น แต่ผลร้ายที่อาจจะกระทบสังคมคืออะไร

ผลร้ายที่น่าจะเกิดขึ้น คือคนในสังคมจะไม่พากเพียรที่จะรักษากฎเกณฑ์, กติกา ผลก็คือ
ความศักดิ์สิทธิ์ของตัวบทกฎหมายต่างๆ ย่อมถูกละเมิดได้ การพัฒนาทางกฎหมายไม่มี
ทางวิทยาศาสตร์ก็คือไม่พากเพียรที่จะยึดหลักการมาอธิบายธรรมชาติ, ปรากฏการณ์ที่
ค้นพบ และยึดติดอยู่กับความรู้ในหนังสือเท่านั้น ผลก็คือ ไม่เกิดการพัฒนาทางวิทยาการ
ที่แท้จริง การลอกเลียนนวัตกรรมของผู้อื่น  และอื่นๆ ซึ่งยังผลสุดท้ายคือ คนในประเทศ
ชาติติดนิสัยเอากันง่ายๆ ไม่รักษากฎเกณฑ์ ตรงนี้ครับที่น่ากลัวที่สุด

ส่วนผลดีของรัฐประหารครั้งนี้ก็คือ การลดความเสี่ยง (ทฤษฎีนี้ผมชอบใช้) ซึ่งมีมากมาย
ในรัฐบาลทักษิณ ถ้าคิดว่าอำนาจอื่นที่ชอบธรรมกว่า (เช่น ทหาร) ยึดอำนาจรัฐบาล
เผด็จการ (ยึดครองสื่อบิดเบือนความจริง, คอรัปชั่น, ใช้อำนาจมืดเช็กบิลผู้อื่น) ได้เพื่อ
ความมั่นคงของชาติ คำตอบของเหตุการณ์ครั้งนี้จะยังคงอยู่ในหลักการได้ ผมคิดเช่นนี้
ครับ แต่รายละเอียดปลีกย่อยของผลเสียมีมากเราต้องระมัดระวัง คือการไม่ลืมที่จะรณรงค์
ยกบรรทัดฐานกฎหมาย ค่านิยมของประชาชนให้สูงขึ้นควบคู่กันไปด้วย

ที่ใดมีแสงสว่าง ย่อมมีเงามืดทอดอยู่เบื้องหลัง ฉันใด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมมีทั้งดีและ
ไม่ดี อย่าปล่อยตัวเองลอยตามกระแส ในทางธรรมก็คือ อย่าเอาอารมณ์เป็นตัวตั้ง อย่า
ประมาทกับทุกสิ่ง (คือให้ว่ายทวนน้ำบ้าง)

ถ้ายังคงมีคุณใบตองแห้ง คอยเตือนสติผู้อ่านว่า ไม่ควรเอาแต่ (สะ) ใจ, ไม่ควรเอาอารมณ์
เข้าครอบงำ หลักการ คือหลักการ ไม่มีวันที่มันจะบิดเบือน ผมว่าอีก 1-2 ปี เราจะถอยหลัง
เข้าคลองรึเปล่า อาจจะขึ้นอยู่กับสื่ออย่างคุณใบตองแห้งว่าจะเตือนสติคนไทยได้รึไม่ ว่า
ที่ทำอยู่นี้เอาง่าย, มักง่ายเกินไปรึเปล่า? ข้อดีมีมากข้อเสียก็มี การทำรัฐประหารครั้งนี้ ทำ
ได้คลาสสิก ไม่มีคนเสียเลือดเสียเนื้อ ดีจนประชาชนอาจจะลืมคิดไปว่าถ้าเลือกได้จะไม่
เลือกวิธีนี้เด็ดขาด

จึงเขียนมาแสดงความคิดเห็น

นอมินีจำเป็น

-----------------------------------

ตอบ คุณนอมินีจำเป็น

ผลดีผลเสียของการรัฐประหารอยู่ในตัวเอง เป็นหนึ่งเดียวกัน ในขณะที่ผลดีคือการยุติ
ระบอบทักษิณโดยไม่ต้องนองเลือด ยุติความระส่ำระสายไม่แน่นอน ที่ดำเนินมาตลอด
9 เดือน แต่ผลเสียในตัวก็คือ คุณอย่าไปคาดหวังว่าประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของ
ประชาชนจะเติบโต สมมติว่ามีรัฐบาลใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญ ครบ 1 ปีเลือกตั้ง ยังไงๆ
ก็ต้องได้นักการเมืองนักเลือกตั้ง ที่อีกไม่นานคนก็เบื่อหน่าย ครบวงจร 15 ปี ก็อาจจะ
เรียกร้องให้ทหารออกมาอีก

แล้วก็พากันหอบลูกจูงหลานไปถ่ายรูปกับรถถัง ยังกะมีงานเฉลิมฉลอง เหมือนแห่ไปดู
ฝนดาวตก สุริยุปราคา ที่สิบกว่าปี ยี่สิบปี จะมีครั้ง โอกาสพิเศษยังงี้ ครั้งหนึ่งในชีวิต
พลาดได้ไง

ฝรั่งมันรายงานข่าวอย่างเซอร์ไพรส์ ด้านหนึ่งเราก็ภาคภูมิใจว่านี่แหละรัฐประหารแบบ
ไทยๆ ไม่เสียเลือดเนื้อ ทหารเป็นมิตรกับประชาชน แต่อีกด้านหนึ่งทั่วโลกเขาก็ปุจฉา
ว่า เฮ้ย คนไทยนี่มันไม่รู้สึกรู้สาเลยหรือที่รัฐธรรมนูญถูกฉีก สิทธิเสรีภาพทางการเมือง
ถูกระงับ วิทยุชุมชนถูกปิด SMS โฟนอิน ถูกห้าม สื่อต่างๆ เซ็นเซอร์ตัวเองไม่มากก็น้อย

ผมฟังบางท่านผมก็ยังพอยอมรับได้นะ เช่น อาจารย์สมเกียรติ อ่อนวิมล ท่านบอกว่าท่าน
ตอบรับรัฐประหาร แต่โดยส่วนตัว hurt มากเลยในฐานะคนร่างรัฐธรรมนูญ เคยต่อสู้มา
ตั้งแต่ 14 ตุลาคม

"มันจะจบยังไงก็ไม่รู้  แต่เขาสัญญาว่าภายใน  1 ปีจะมีรัฐธรรมนูญและเลือกตั้งใหม่
คนที่ยึดอำนาจทั่วโลกก็สัญญากันแบบนี้ไม่มีอะไรใหม่ ถึงเวลาก็คงไป แต่อาจจะเกิน
1 ปีไปสักนิด แล้วก็เลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองเดิม อาจจะเปลี่ยนชื่อใหม่กลับเข้ามาอีก
ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เหมือนเดิม เดี๋ยวผมก็ตาย แล้วลูกผมก็มาเริ่มที่เดิม ตั้งแต่ไม่มีรัฐธรรมนูญ
มันเป็นชีวิตที่น่าเบื่อหน่าย"

"ถ้ามีทางเลือก ผมก็คิดว่าให้ประเทศชาติมันเสียหายอย่างยับเยินด้วยฝีมือทักษิณ ให้
ประเทศเละเทะไปเลย ผมว่าสัก 12 ปีถ้าดูจากโบลิเวีย อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา แล้วก็
สมน้ำหน้าประชาชนผู้โง่เขลา ทักษิณก็รวยเละและถูกอัปเปหิโดยฝูงชนให้ไปอยู่ลอนดอน
อย่างทุกวันนี้ แต่วันนี้ไปด้วยกระบอกปืน ไม่ได้โดนประชาชนไล่ ฉะนั้นมันไม่จบลงแบบ
เป็นบทเรียนให้ทักษิณและประชาชน เขาอาจจะคอยจังหวะกลับมาอีก"

นี่ผมลอกมาให้ดูจากที่อาจารย์สมเกียรติคุยกับเว็บไซต์ประชาไท เพราะติดใจอยากถามว่า
แล้วประเทศไทยมีทางเลือกไหม ไม่ถึง 12 ปีหรอก ที่จริงหลังเลือกตั้งยังไงๆ ทักษิณก็
ต้องถูกบีบจากทุกฝ่ายจนต้องเว้นวรรค อาจจะสมคิดขึ้นเป็นนายกฯ แต่ไม่ใช่นอมินีเต็มตัว
เพราะเสียงกลุ่มอื่นใน ทรท.ก็จะขึ้นมาคาน ทักษิณจะลดอำนาจจากการกุมพรรคเบ็ดเสร็จ
ไปเป็นกุมเสียงข้างมาก แล้วก็จะลดลงเรื่อยๆ พลังประชาชนจะมีอำนาจต่อรองขึ้นเรื่อยๆ
(ถ้ามีสติ) แล้วก็จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม แม้ทักษิณอาจจะยังมีส่วน
มากหน่อย แต่ก็จะต่อสู้ความคิดกันถกเถียงกันต่อหน้าประชาชนทั้งประเทศ

โอเคมันเป็นทฤษฎีไปหน่อย อารมณ์สังคมไทยยอมทนอย่างนั้นไม่ได้ ผู้หลักผู้ใหญ่ใน
สังคมไทยทนเห็นการ "เขย่า" กันอย่างนี้ไม่ได้เพราะเกรงบ้านเมืองจะเสียหาย ไม่สงบ
เราชอบใช้วิธีตัดตอนกันเสีย

แต่ทำไมนักวิชาการนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ทั้งหลายกลับไปสนับสนุนวิธีการ
ตัดตอนเช่นนี้ แล้วต่อไปใครจะเป็นหลักในการวางรากฐานประชาธิปไตย ตอนนี้ก็เริ่มออกมา
พลิกลิ้นกันแล้ว เห็นทยอยออกตัวไม่สนับสนุนการรัฐประหารกันทีละรายสองราย ขี้หมา!

สู้กับทักษิณในกระบวนการ ถ้าเทียบกับรัฐประหารแล้วเป็นไงล่ะ ขบวนการไล่ทักษิณมี
ทุกขั้ว ตั้งแต่อนุรักษนิยมไปจนนักประชาธิปไตย คนชั้นกลาง นายทุน พ่อค้า กรรมกร
เอ็นจีโอ ระบบราชการ หลากหลายมาก แต่พอรัฐประหารมันก็คือการพลิกให้ขั้วอนุรักษนิยม
ระบบทหาร ขึ้นมามีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือกลุ่มอื่น เหนือทุกพลังในสังคมไทย มีอำนาจ
ยิ่งกว่าทักษิณอีกเพราะนี่คืออำนาจรัฐประหาร

บางคนบอกว่าทักษิณฉีกรัฐธรรมนูญก่อน เผด็จการก่อน ใช่ แต่ทุกฝ่ายก็ยังสามารถสู้กับ
ทักษิณในกรอบเพราะทักษิณจำต้องอ้างกติกา คุณม็อบได้ ชุมนุมได้ ชูป้ายได้ ฉีกบัตร
เลือกตั้งได้ หรือแม้แต่ตะโกนด่าได้ ตอนนี้ได้ไหมล่ะ

ทักษิณครอบงำสื่อ แทรกแซงสื่อ แต่ตอนท้ายเหลือสื่อกี่ฉบับยืนข้างทักษิณ แล้ววันนี้
สื่อมีเสรีเต็มที่ไหมล่ะ

สิ่งแตกต่างกันประการเดียวคือผู้ยึดอำนาจมีคุณธรรมจริยธรรมกว่าทักษิณ อันนี้ผมเชื่อ
แต่ไม่ใช่ว่ามีแล้วเขาจะทำถูกหมดทุกอย่าง เขาก็ทำตามแนวคิดเขา แนวคิดจารีตนิยมที่
เคยล้มเหลวมาแล้ว แนวคิดที่เชื่อว่า 19 ล้านเสียงมันโง่ 16 ล้านเสียงมันโง่ คงจะปล่อย
ให้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบไม่ได้ คราวนี้อาจจะเอาสัก 3 ใน 4 ใบก็พอ

แล้วนักประชาธิปไตยจะไปหวังอะไร นอกจากรอความเมตตาปรานี หวังว่าเขาจะทำดี
หวังว่าเขาจะให้มีส่วนร่วม พอไม่ได้ดังหวังตอนนี้ก็ออกมาโวยกันแล้ว เช่น คัดค้านการ
ร่างธรรมนูญชั่วคราวที่ให้ "ดรีมทีม" ยุคพันปีอย่างมีชัย ฤชุพันธุ์, เนติบริกร บวรสาก
เป็นคลังสมอง

ล่าสุดวันนี้ ครป. ก็ออกมาแถลงแล้ว อาจารย์สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ เจ้าเก่า ก็ออกมาแล้ว
แกบรรยายเป็นฉากๆ ไว้ล่วงหน้าเลยว่า ถ้า คปค.ยังทำอย่างนี้ ประชาชนเริ่มจะไม่ยอมรับ
มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับขั้น คือ 1. แรกเลย ประชาชนสนับสนุนอย่างกว้างขวาง  2. เกิด
ความคลางแคลงสงสัยว่ารัฐประหารเพื่อปฏิรูปหรือรัฐประหารเพียงเพื่อให้อำนาจ "เปลี่ยนมือ"
จากกลุ่มหนึ่งมาสู่อีกกลุ่ม 3. เกิดความเสื่อมถอย ประชาชนจะเริ่มกล้าเผชิญหน้ามากขึ้น
เรื่อยๆ 4. เกิดการต่อต้านโดยมวลชนอันไพศาล

เห็นไหม มันไม่จบหรอกครับ ผมว่าทั่นผู้นำที่ลอนดอนเริ่มจะนั่งหัวเราะบ้างแล้ว

ขอแสดงความนับถือ

ใบตองแห้ง

http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=25/Sep/2549&news_id=130583&cat_id=400
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #1 เมื่อ: 25-09-2006, 06:51 »

คนตาบอดไม่กลัวงู คนไม่รู้ย่อมไม่กลัว
คนที่เคยเห็นรัฐประหารและผลของมัน
จากอดีตย่อมเดาอนาคตได้ไม่ยากครับ
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #2 เมื่อ: 25-09-2006, 15:28 »

ที่ใดมีแสงสว่าง ย่อมมีเงามืดทอดอยู่เบื้องหลัง ฉันใด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมมีทั้งดีและ
ไม่ดี อย่าปล่อยตัวเองลอยตามกระแส ในทางธรรมก็คือ อย่าเอาอารมณ์เป็นตัวตั้ง อย่า
ประมาทกับทุกสิ่ง (คือให้ว่ายทวนน้ำบ้าง)

เห็นใจคุณใบตองแห้ง
แต่ผมว่าแกมีอารมณ์

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #3 เมื่อ: 25-09-2006, 21:47 »

รัฐประหารรอบนี้ เงื่อนไขไม่เหมือนอดีตที่ผ่านๆมา...
ก็็หวังว่าผลคงจะไม่เป็นไปอย่างในอดีตที่ผ่านมาเช่นกัน...

ในอดีต พวกรัฐประหารที่สามารถรอดพ้นบ่วงกรรม ถอยลงจากหลังเสือไปได้
ก็เพราะเขาไม่อยู่เบื้องหน้า แต่แอบถอยไปอยู่เบื้องหลัง
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 25-09-2006, 21:54 »

รัฐประหารรอบนี้ เงื่อนไขไม่เหมือนอดีตที่ผ่านๆมา...
ก็็หวังว่าผลคงจะไม่เป็นไปอย่างในอดีตที่ผ่านมาเช่นกัน...

ในอดีต พวกรัฐประหารที่สามารถรอดพ้นบ่วงกรรม ถอยลงจากหลังเสือไปได้
ก็เพราะเขาไม่อยู่เบื้องหน้า แต่แอบถอยไปอยู่เบื้องหลัง


ถูกต้องนะคร๊าาาาบบบ !!!!


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25-09-2006, 22:12 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

ลูกไทย หลานไทย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,196


วันนี้วันดี วันที่เป็นไท


« ตอบ #5 เมื่อ: 25-09-2006, 21:55 »

รัฐประหารรอบนี้ เงื่อนไขไม่เหมือนอดีตที่ผ่านๆมา...
ก็็หวังว่าผลคงจะไม่เป็นไปอย่างในอดีตที่ผ่านมาเช่นกัน...

ในอดีต พวกรัฐประหารที่สามารถรอดพ้นบ่วงกรรม ถอยลงจากหลังเสือไปได้
ก็เพราะเขาไม่อยู่เบื้องหน้า แต่แอบถอยไปอยู่เบื้องหลัง


ส่วนใหญ่พอมีคนไปชมมากๆ มักจะลืมตัวน่ะครับ สุดท้ายก็หลงอำนาจไป

ลำบากคนไล่ต่อไป

วันก่อนผมดูรายการคุณอัญชลี เขาก็ถามเสธ.แดงว่ารู้สึกอย่างไรที่เห็นประชาชนเขานำดอกไม้มาให้ทหาร

เสธ.แดงผู้ผ่านการปฏิวัติมา 3 ครั้งตอบว่า ตอนสมัยผมร่วมปฏิวัติปี 24 ก็อย่างนี้ คนเอาของมาให้ชื่นชมยินดี ส่วนใหญ่พอผ่านไป 1 ปีเขาก็เบื่อแล้วก็ขับไล่(แต่จริงๆเสธ.เขาไม่เคยปฏิวัติชนะ) ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

 
บันทึกการเข้า

Ŋēmŏ mē ĩmρưŋē ĺдċęşšįҐ
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #6 เมื่อ: 25-09-2006, 22:48 »

ไหน เล่ามาหน่อยซิ...ว่ารัฐประหารที่ผ่านมาเป็นไงมั่ง....(ไม่ได้เช็คอายุ)

ปี 16 ยังตัวกระเปี้ยกอยู่ มีการปฏิวัติโดยประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ ปลื้มปีติเป็นล้นพ้น
เพราะโรงเรียนหยุดเรียนหลายวันติดต่อกัน รักเทิดทูน นศ. มาก

ปี 19 เปลี่ยนมาเกลียดนศ. ฟันเฟืองคือ Hero และกลัวคอมมิวนิสท์มาก
ที่บ้านมีสารพัดทั้ง หนังสือ จุลสาร การ์ตูนต่อต้านคอมฯเกลื่อน

ปี 20 ตื่นเต้นเล็กน้อย เพราะว่ามีการยิงเป้า ฉลาด หิรัญศิริ เพราะ พล.อ.อรุณ ถูกยิงเสียชีวิต

ปี 24 มันส์มาก...ตื่นเต้นเร้าใจ...ตอบโต้กันผ่าน TV คนละช่อง เชียร์ยังเติร์ก แต่ก็พ่ายแพ้

ปี 28 ตอนเช้า เมาค้าง ยังไม่สร่างดี ไปมุงแถวๆ ลานพระรูป ก่อนเขาถล่ม พล.1 รอ.

ปี 34 รสช. เริ่มเบื่อหน่ายและรำคาญกับการรัฐประหาร

ปี 35 ประชาชนรัฐประหารมั่ง ดีใจที่ชนะ แต่ก็ตะหงิ่ดๆ

ปี 49 ใช่แล้ว  Exclamation Exclamation Idea Idea.....เรามันเป็นเพียงแค่ฝุ่นเมือง
บันทึกการเข้า
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #7 เมื่อ: 25-09-2006, 22:54 »

ไหน เล่ามาหน่อยซิ...ว่ารัฐประหารที่ผ่านมาเป็นไงมั่ง....(ไม่ได้เช็คอายุ)

ปี 16 ยังตัวกระเปี้ยกอยู่ มีการปฏิวัติโดยประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ ปลื้มปีติเป็นล้นพ้น
เพราะโรงเรียนหยุดเรียนหลายวันติดต่อกัน รักเทิดทูน นศ. มาก

ปี 19 เปลี่ยนมาเกลียดนศ. ฟันเฟืองคือ Hero และกลัวคอมมิวนิสท์มาก
ที่บ้านมีสารพัดทั้ง หนังสือ จุลสาร การ์ตูนต่อต้านคอมฯเกลื่อน

ปี 20 ตื่นเต้นเล็กน้อย เพราะว่ามีการยิงเป้า ฉลาด หิรัญศิริ เพราะ พล.อ.อรุณ ถูกยิงเสียชีวิต

ปี 24 มันส์มาก...ตื่นเต้นเร้าใจ...ตอบโต้กันผ่าน TV คนละช่อง เชียร์ยังเติร์ก แต่ก็พ่ายแพ้

ปี 28 ตอนเช้า เมาค้าง ยังไม่สร่างดี ไปมุงแถวๆ ลานพระรูป ก่อนเขาถล่ม พล.1 รอ.

ปี 34 รสช. เริ่มเบื่อหน่ายและรำคาญกับการรัฐประหาร

ปี 35 ประชาชนรัฐประหารมั่ง ดีใจที่ชนะ แต่ก็ตะหงิ่ดๆ

ปี 49 ใช่แล้ว  Exclamation Exclamation Idea Idea.....เรามันเป็นเพียงแค่ฝุ่นเมือง


อันนี้น่าขึ้นเป็นกระทู้ใหม่นะ คิลเล่อร์     Mr. Green Laughing Mr. Green
บันทึกการเข้า
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #8 เมื่อ: 25-09-2006, 22:55 »

เฮ้อออออออออออ พศ.นี้

ถ้าไปยืนกุม หัม อย่างกับเค้าบ้างจะรวยมั๊ยยยว๊า 

ถามดูเอ๋ย ๆ น่ะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #9 เมื่อ: 26-09-2006, 09:50 »

ไหน เล่ามาหน่อยซิ...ว่ารัฐประหารที่ผ่านมาเป็นไงมั่ง....(ไม่ได้เช็คอายุ)
ปี 14 จำอะไรไม่ได้แล้ว

ปี 16 ยังตัวกระเปี้ยกอยู่ มีการปฏิวัติโดยประชาชนครั้งยิ่งใหญ่ ปลื้มปีติเป็นล้นพ้น
เพราะโรงเรียนหยุดเรียนหลายวันติดต่อกัน รักเทิดทูน นศ. มาก

เพิ่งเริ่มจำคำว่า ถนอม ตัวเบ้อเริ่มบนหัวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้

ปี 19 เปลี่ยนมาเกลียดนศ. ฟันเฟืองคือ Hero และกลัวคอมมิวนิสท์มาก
ที่บ้านมีสารพัดทั้ง หนังสือ จุลสาร การ์ตูนต่อต้านคอมฯเกลื่อน

เริ่มอ่านหนังสือสยดสยองที่มีคนนำมาพิมพ์รวมเล่มขาย

ปี 20 ตื่นเต้นเล็กน้อย เพราะว่ามีการยิงเป้า ฉลาด หิรัญศิริ เพราะ พล.อ.อรุณ ถูกยิงเสียชีวิต
สงสารเพื่อนที่มีนามสกุล หิรัญศิริ ที่โดนคนอื่นมองอย่างเหยียดหยามทั้งที่ไม่เกี่ยวกับตัวเอง

ปี 24 มันส์มาก...ตื่นเต้นเร้าใจ...ตอบโต้กันผ่าน TV คนละช่อง เชียร์ยังเติร์ก แต่ก็พ่ายแพ้
จำได้ว่ามีข่าวครูเอื้อเสียชีวิตช่องกระจิ๋วอยู่ข้างล่าง

ปี 28 ตอนเช้า เมาค้าง ยังไม่สร่างดี ไปมุงแถวๆ ลานพระรูป ก่อนเขาถล่ม พล.1 รอ.
ไม่สนใจมันหรอก ชักซ้ำซาก

ปี 34 รสช. เริ่มเบื่อหน่ายและรำคาญกับการรัฐประหาร
เป็นครั้งแรกที่บนหน้าจอทีวีมีรอยเท้า ขณะที่มีการมอบดอกไม้

ปี 35 ประชาชนรัฐประหารมั่ง ดีใจที่ชนะ แต่ก็ตะหงิ่ดๆ

ปี 49 ใช่แล้ว  Exclamation Exclamation Idea Idea.....เรามันเป็นเพียงแค่ฝุ่นเมือง
เซ็ง
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #10 เมื่อ: 26-09-2006, 21:17 »

รัฐประหาร ทางออกเดียวในการจัดการกับระบอบทักษิณ จริงหรือ ?

...

สังคมไทยกำลังถูกทำให้เชื่อว่า สันติวิธีและกระบวนการแบบประชาธิปไตยอาจอุดมคติ
และอ่อนแอเกินกว่าที่จะจัดการกับระบอบทักษิณได้
ในภาวะวิสัยเช่นนี้การรัฐประหารอาจ
เป็นวิถีทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
บางทีสังคมไทยอาจต้องยอมรับวีถีแบบไทยๆ หรือพลัง
การเมืองที่มีอยู่จริงในบริบทของการเมืองไทย

นอกจากนั้นยังมีอีกหลายกลุ่มที่เป็นห่วงและเชื่อว่าจะเกิดการใช้ความรุนแรงจากฝ่าย
ทักษิณเข้าปราบปรามการชุมนุมของพันธมิตรในวันที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา และนั้น
อาจเป็นจังหวะทำให้คุณทักษิณเข้ายึดอำนาจการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ ก็พยายาม
สร้างความเข้าใจกับสังคมว่าการรัฐประหารเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเสียเลือด
เสียเนื้อและการเข้ารวบอำนาจของทักษิณที่อาจจะเกิดขึ้นได้
...

แท้จริงสังคมไทยต้องยอมรับว่า วิธีการแก้ไขปัญหาระบอบทักษิณโดยการ
รัฐประหารครั้งนี้มี ต้นทุน ข้อจำกัด และปัญหา
ในตัวเอง หลายประการ โดยงานชิ้นนี้
ขอเสนอปัญหาที่สำคัญ 4 ประการ คือ

ประการแรก ต้นทุนทางประชาธิปไตยภาคประชาชน การรัฐประหารครั้งนี้บั่นทอนพลัง
และกระบวนการต่อสู้ทางการเมืองแบบสันติวิธีและวิถีประชาธิปไตย (ที่มิใช่เพียงการ
เลือกตั้ง) เนื่องจากภาพความสำเร็จของการจัดการกับนายกทักษิณโดยการรัฐประหาร
บดบังภาพของพลังประชาชนที่ต่อสู้มาก่อนหน้านี้ ซึ่งนั่นส่งผลต่อความเชื่อถือที่สังคมมี
ต่อกระบวนการต่อสู้แบบประชาธิปไตย

นอกจากนั้น การประกาศห้ามชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง ยังเป็นการผลักให้
คนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างยิ่งไร้พื้นที่ยืนในสังคม และที่สำคัญเป็นการสร้างสภาวะที่
ทำให้คนในสังคมขาดความเชื่อมั่นต่อการแสดงออกและการมีส่วนร่วมทางการเมืองใน
ระยะยาวอีกด้วย

ประการที่สอง การรัฐประหารไม่สามารถแก้ปัญหาและป้องกันการกลับมาของระบอบ
ทักษิณได้
โดยการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของ คปค. นั้นแท้จริงกำลังกดทับ
พลังที่แท้จริงที่ยังพร้อมที่จะสนับสนุนการกลับมาของทักษิณ โดยประชาชนเหล่านี้คือ
คนถูกปล่อยปละละเลยโดยรัฐบาลที่ผ่านมาและมายึดติดกับนโยบายประชานิยมของ
รัฐบาลทักษิณ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปัญหาของระบอบทักษิณนั้นไม่ใช่ปัญหาเพียงแค่ตัว
ของทักษิณ แต่เป็นปัญหาของระบบการดำเนินนโยบายการแก้ไขปัญหาสังคมและ
เศรษฐกิจในระยะยาว ดังนั้นการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้นจึงไม่ใช่เพียงการเข้าจัดการกับ
ทักษิณเพียงคนเดียว แต่อยู่ที่การสร้างความเข้าใจกับสังคมในวงกว้างและการผลักดัน
นโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและเศรษฐกิจในระยะยาวต่างหาก

ประการที่สาม การรัฐประหารไม่สามารถรับรองสิทธิความเป็นประชาชนและสิทธิทาง
การเมืองที่เราสูญเสียไปภายใต้ระบอบทักษิณ ในขณะที่หลายฝ่ายเชื่อว่าการเข้ามาของ
คปค. อย่างน้อยก็มีผู้มีอำนาจมาคุ้มครองเราจากรัฐบาลทักษิณ แต่ปัญหาคือมาตรการ
ต่างๆที่ประกาศใช้ในการห้ามชุมนุมและห้ามแสดงออกทางการเมืองเวลานี้ กำลังละเมิด
สิทธิอันชอบธรรมในการแสดงออกและมีส่วนร่วมในกระบวนทางการเมืองของเรา และยิ่ง
กว่านั้นภายใต้เงื่อนไขแบบนี้เราจะมารถคุมครองตัวเราเองได้อย่างไรในการแสดงสิทธิ
อันชอบธรรมทางการเมืองของเรา

ประการสุดท้าย การรัฐประหารผูกขาดอำนาจการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งเป็นการ
เริ่มต้นที่ผิดพลาดของกระบวนการปฏิรูปทางการเมือง ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
เราได้เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจแต่งตั้งที่ปรึกษา
ทางกฎหมาย ป.ป.ง. หรือ กระบวนการเลือกสรรนายกรัฐมนตรี ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดขึ้น
จากการตัดสินใจของกลุ่มคนเพียงไม่กี่คน โดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นและเสียงสะท้อน
จากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม


อย่างไรก็ดี หากต้องมองโลกผ่านภาวะวิสัย ว่าในเมื่อการรัฐประหารจะเกิดขึ้นแล้ว และ
เราคงจะต้องอยู่ร่วมกับผลที่ตามมาของมัน และโดยส่วนตัวมิได้มุ่งเป้าโจมตีคณะบุคคล
ใน คปค. แต่ในฐานะนักวิชาการคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องเตือนสติและสะท้อนให้สังคมเห็น
ถึง ปัญหา และข้อจำกัดในตัวเองของ วิธีการแก้ไขปัญหาทางการเมืองแบบรัฐประหาร
และการตอกย้ำกับสังคมให้เห็นถึงความสำคัญในการปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็นและแสดงออกทางการเมืองโดยสันติวิธี
และที่สำคัญการผลักดันให้เกิดช่อง
ทางในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะในสภาวะทางการเมือง
แบบใด ซึ่งนั่นหมายรวมถึงสภาวะสุญญากาศทางการเมืองหลังการรัฐประหารแบบนี้ด้วย
เพื่อมิให้กระบวนการบริหารประเทศ และการปฏิรูปทางการเมือง อยู่ภายใต้อำนาจของ
คณะบุคคลเพียงไม่กี่คน

25 กันยายน 2549
 
กนกรัตน์ เลิศชูสกุล
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5135&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
[/quote]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-09-2006, 01:28 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ซารุโทบิ ซาสุเกะ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 72


ผู้ตื่นในยามที่ผู้คนหลับไหล


« ตอบ #11 เมื่อ: 26-09-2006, 21:27 »

งานยังเสร็จ อย่าเพิ่งด่วนตัดสิน บางทีอะไร ๆ มันอาจจะดีกว่าที่คิดไว้ก็ได้นะ
บันทึกการเข้า

ชิโนบิโนะโมโนะ โดยเขียนในคันจิว่า 忍者 โดยตัวอักษรแรก 忍 (นิน) หมายถึง "คงทน" โดยในภายหลังคำนี้ได้มีความหมายเพิ่มเติมหมายถึง "การซ่อนตัว" และ "การขโมย" โดยตัวอักษรที่สอง 者 (จา) หมายถึง "บุคคล" นอกจากนี้ได้มีภาษาจีนได้กล่าวถึงนินจาว่า 林鬼 (หลินกุ้ย) ซึ่งหมายถึง ปีศาจในป่า
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 26-09-2006, 22:07 »

ขี้เกียจเขียนละ ก๊อบมามั่ง

 
       อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในไทย แสดงความคิดเห็นต่อรัฐประหารในเมืองไทยผ่านคอลัมน์ในเว็บไซต์ซีแอตเทิลโพสต์ ระบุ อเมริกาควรมองกระบวนการที่ก่อให้เกิดการรัฐประหาร ไม่ใช่ผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว
       
       ซีแอตเทิล โพสต์ - ดาร์รีล จอห์นสัน อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในไทย ซึ่งปัจจุบันเป็นครูสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้รับเชิญจากหนังสือพิมพ์ซีแอตเทิล โพสต์ เขียนคอลัมน์พิเศษแสดงความคิดเห็นต่อการเมืองไทย โดยใช้ชื่อเรื่องว่า “ไทยเผชิญหน้ากับทางเลือกที่ไม่สามารถป้องกันได้”
       
       โดย ดาร์รีล จอห์นสัน เล่าว่า ความวุ่นวายทางการเมืองในกรุงเทพฯ มีมาแล้ว 18 ครั้ง นับตั้งแต่เปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปี ค.ศ.1932 ซึ่งครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1991
       
       อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในไทย แสดงความเห็นต่อการรัฐประหารครั้งนี้ ว่า ปัญหาทางการเมืองของไทยตึงเครียดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม เมื่อครอบครัวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ขายหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ของชินคอร์ป ไปให้กับเทมาเส็ก ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นรัฐบาลของสิงคโปร์ จำนวน 70,000 ล้านบาท แต่ไม่เสียภาษีใดๆ และเรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน นอกจากนี้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังสั่งการให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน เพื่อหวังเรียกอำนาจของตนเองคืนมา
       
       ดาร์รีล จอห์นสัน ระบุอีกว่า ฝ่ายตรงข้ามปฏิเสธที่จะลงเลือกตั้งที่ถูกกำหนดโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และกล่าวหาว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ และหลังจากนั้น 2 วัน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เผยว่า เขาต้องการลงจากตำแหน่ง เพื่อความสงบทางการเมือง และเนื่องในปีเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       
       แต่หลังจากนั้นไม่นาน การเมืองไทยร้อนระอุขึ้นอีกครั้ง หลัง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ แสดงท่าทีว่าเขาเป็นห่วงเป็นใยบ้านเมือง และทำให้เชื่อว่าเขากำลังคิดถึงการลงจากตำแหน่งอีกครั้ง และการเลือกตั้งครั้งใหม่ถูกกำหนดขึ้นมาในวันที่ 15 ตุลาคม
       
       อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในไทย กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดการรัฐประหาร คือ บางคำพูดถึง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ออกไปในทำนองหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และนั่นคือ สิ่งที่ทำให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ต้องพ้นจากอำนาจ จากการทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
       
       ทั้งนี้ ดาร์รีล จอห์นสัน ระบุว่า พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และคณะปฏิรูปฯ จะเริ่มสร้างรัฐบาลใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและผู้คนหวังว่า พลเอกสนธิ จะสามารถคลี่คลายปัญหาบ้านเมือง แต่อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในไทย มองอีกด้านหนึ่งว่า พลเอกสนธิ มีปัญหาที่ต้องจัดการหลายอย่างทีเดียว โดยเฉพาะความรุนแรงทางภาคใต้ แต่การที่พลเอกสนธิเป็นคนมุสลิมน่าจะช่วยได้มากเลยทีเดียว
       
       ดาร์รีล จอห์นสัน ชี้อีกว่า ความท้าทายที่สองของหัวหน้าคณะปฏิรูปฯ คือ จะทำอย่างไรกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หลังจากให้สัมภาษณ์ว่า อดีตนายกรัฐมนตรีสามารถบินกลับไทยได้ แต่อาจต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา โดยอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในไทย แสดงความเห็นว่า ทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ ยอมให้อดีตนายกรัฐมนตรีนำทรัพย์สินส่วนหนึ่งออกจากเมืองไทย แต่ต้องให้สัญญาว่าจะไม่กลับมาเหยียบแผ่นดินไทยอีก กับอีกทางเลือก คือ ประนีประนอม ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานสไตล์ไทยๆ
       
       ความท้าทายที่สาม ที่ จอห์นสัน มองแทนพลเอกสนธิ คือ จะทำอย่างไรและเมื่อไหร่จะมีการนำระบอบประชาธิปไตยคืนมา โดย ดาร์รีล อ้างคำกล่าวของ พลเอกสนธิ ที่ระบุว่า คณะปฏิรูปฯมีภารกิจเพียงสองสัปดาห์ และจะมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีพลเรือน พร้อมกับร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวและจะมีการเลือกตั้งภายใน 1 ปี
       
       ทั้งนี้ ดาร์รีล จอห์นสัน กล่าวอีกว่า ยังไม่แน่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างชาติจะได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารอย่างไร เพื่อนบ้านของไทยต่างจับตาดูเสถียรภาพมากกว่ากระบวนการทางการเมือง โดย จอห์นสัน มองแย้งกับรัฐบาลของสหรัฐฯ พันธมิตรของไทย ที่ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างสันติและเร็วที่สุด พร้อมกับแสดงความผิดหวังต่อกฎที่ไม่ถูกหลักรัฐธรรมนูญ ซึ่งล้มล้างผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง
       
       แต่ทาง จอห์นสัน ระบุว่า สหรัฐฯ ควรมองตามรูปแบบของสังคมไทย ไม่ใช่ดูแค่การรัฐประหาร โดยอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในไทย แสดงความรู้สึกว่า บางทีไทยกำลังเผชิญหน้ากับทางเลือกที่ไม่สามารถป้องกันได้ ซึ่งอเมริกาควรวิเคราะห์ถึงแนวทาง ไม่ใช่มองแต่ผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว

-------------------------------------------
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
NiTeLiGhT
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 147


« ตอบ #13 เมื่อ: 26-09-2006, 23:43 »

ประชาธิปไตยของไทย ผ่านร้อนผ่านหนาวมาแค่ 74 ปีได้กระมัง

มันก็เป็นวิถีทาง ที่ควรจะเป็น รากฐานเราไม่ได้เป็น ร้อยๆ ปีเหมือนประเทศอื่นเค้าเนี่ย จะล้มลุกคลุกคลานบ้าง

เราเป็นประเทศไม่ได้ร่ำรวย อีกทั้งกำลังพัฒนา ไม่เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว อันนี้ก็ต่างกัน

ประชาชนความรู้พื้นฐาน ในด้านการศึกษาก็ต่างกัน  สถิติการอ่านหนังสือรับรู้ข้อมูลข่าวสารก็ต่างกัน

แล้วเราจะไปตามเค้าทำไม  แล้วคิดว่าจะตามเค้าได้ทันหรือ ไอ้การรักษาคำว่า ประชาธิปไตย โดยไม่มีการรัฐประหารน่ะ  74ปีกับ 200 กว่ามี


แต่สิ่งที่น่าภูมิใจ และทำให้ดำรงอยู่ได้เป็นปกติสุขทุกวันนี้ เพราะชาวไทยทุกคน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ซึ่งมีรากฐานเกือบพันปี
บันทึกการเข้า
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 27-09-2006, 05:55 »

ประชาธิปไตยของไทย ผ่านร้อนผ่านหนาวมาแค่ 74 ปีได้กระมัง

มันก็เป็นวิถีทาง ที่ควรจะเป็น รากฐานเราไม่ได้เป็น ร้อยๆ ปีเหมือนประเทศอื่นเค้าเนี่ย จะล้มลุกคลุกคลานบ้าง

เราเป็นประเทศไม่ได้ร่ำรวย อีกทั้งกำลังพัฒนา ไม่เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว อันนี้ก็ต่างกัน

ประชาชนความรู้พื้นฐาน ในด้านการศึกษาก็ต่างกัน  สถิติการอ่านหนังสือรับรู้ข้อมูลข่าวสารก็ต่างกัน

แล้วเราจะไปตามเค้าทำไม  แล้วคิดว่าจะตามเค้าได้ทันหรือ ไอ้การรักษาคำว่า ประชาธิปไตย โดยไม่มีการรัฐประหารน่ะ  74ปีกับ 200 กว่ามี


แต่สิ่งที่น่าภูมิใจ และทำให้ดำรงอยู่ได้เป็นปกติสุขทุกวันนี้ เพราะชาวไทยทุกคน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ซึ่งมีรากฐานเกือบพันปี


พวกนี้มันไม่เคยมองรากเหง้าของตัวเองหรอกครับ  มัวแต่ไปมองคนอื่นว่าเค้าทำอย่างโน้นดีอย่างนี้ดี  ไปเอามาทำเลียนแบบกันโดยไม่มองตัวเองว่ามีข้อจำกัดในเรื่องใดบ้าง  สุดท้ายพอมีปัญหาก็ไปโทษคนอื่นหาว่าไม่รู้เรื่องประชาธิปไตย 
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #15 เมื่อ: 27-09-2006, 06:10 »

คุณ NiteLight เขียนได้ดีมากๆ ประเทศไทย มีประวัติศาสตร์ให้ภาคภูมิใจ... มีสถาบันกษัตริย์ที่ อเมริกาไม่มี..
เวลาไปเดินที่ วอชิงตันดีซี คุณนึกถึงอะไรกันบ้าง?
ชาติอื่นๆพยายามสร้างประวัติศาสตร์ สร้างตึก สร้างวัตถุ ที่ใหญ่โต แต่ไร้ประวัติที่ยาวนาน
สวยดี แต่ไม่กินใจ คนชม!!
ประวัติศาสตร์บอกความละเอียดอ่อน บอกความเป็นชาติได้สง่างามกว่า
การสร้างชาติด้วยวัตถุ ด้วยเงิน อาจทำได้เร็ว แต่มันกลวง...ค่ะ

เหตุการณ์วันนี้..ประเทศไทย อาจจะได้เป็นต้นแบบของการพัฒนาประชาธิปไตยที่ดี
แต่แตกต่าง และทั่วโลก อาจจะต้องศึกษาใช้กรณีศึกษาของไทยเป็นแบบอย่างในการปราบคอรับชั่นของผู้นำที่ไม่มีจริยธรรม
และการใช้อิทธิพลด้านผลประโยชน์ของนักธุรกิจ ที่เข้ามาครอบงำการเมืองการปกครอง

บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
Sky
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 913



« ตอบ #16 เมื่อ: 27-09-2006, 07:41 »

เวลาไปเดินที่ วอชิงตันดีซี คุณนึกถึงอะไรกันบ้าง?
ชาติอื่นๆพยายามสร้างประวัติศาสตร์ สร้างตึก
สร้างวัตถุ ที่ใหญ่โต แต่ไร้ประวัติที่ยาวนาน
สวยดี แต่ไม่กินใจ คนชม!!
ประวัติศาสตร์บอกความละเอียดอ่อน บอกความเป็นชาติได้สง่างามกว่า
การสร้างชาติด้วยวัตถุ ด้วยเงิน อาจทำได้เร็ว แต่มันกลวง...ค่ะ


เฮ้อ  ..  สมองมีแค่นี้..
งั้นประเทศเขมร  ก็น่าจะเจริญกว่าประเทศสหรัฐซิ

ถามจริง  แกล้งโง่  หรือโง่จริง ๆ
บันทึกการเข้า
NiTeLiGhT
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 147


« ตอบ #17 เมื่อ: 27-09-2006, 13:03 »

เวลาไปเดินที่ วอชิงตันดีซี คุณนึกถึงอะไรกันบ้าง?
ชาติอื่นๆพยายามสร้างประวัติศาสตร์ สร้างตึก
สร้างวัตถุ ที่ใหญ่โต แต่ไร้ประวัติที่ยาวนาน
สวยดี แต่ไม่กินใจ คนชม!!
ประวัติศาสตร์บอกความละเอียดอ่อน บอกความเป็นชาติได้สง่างามกว่า
การสร้างชาติด้วยวัตถุ ด้วยเงิน อาจทำได้เร็ว แต่มันกลวง...ค่ะ


เฮ้อ  ..  สมองมีแค่นี้..
งั้นประเทศเขมร  ก็น่าจะเจริญกว่าประเทศสหรัฐซิ

ถามจริง  แกล้งโง่  หรือโง่จริง ๆ

การตัดสินคนว่า โง่ หรือแกล้งโง่ เค้าตัดสินกันที่ประโยคคำพูด ไม่กี่ประโยคเองเหรอครับ

ทั้งๆที่ประโยคข้างต้นนั้น มีความหมายแฝงเร้นอยู่ ตั้งมากมาย ผมยังเข้าใจเลย

ว่าแต่คุณที่คิดว่าฉลาด ทำไมเข้าใจยากจัง แล้วดันทะลึ่งไปว่าคนอื่นเค้าโง่อีก 5555
บันทึกการเข้า
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #18 เมื่อ: 27-09-2006, 16:31 »

การที่ไปว่าใครโง่นั้น ..
คนว่าคนอื่นนั่นแหละ .. โง่กว่า..

คนไหนคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าคนอื่น คนนั้นแหละคนโง่แล้ว!
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #19 เมื่อ: 27-09-2006, 16:37 »

การที่ไปว่าใครโง่นั้น ..
คนว่าคนอื่นนั่นแหละ .. โง่กว่า..

คนไหนคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าคนอื่น คนนั้นแหละคนโง่แล้ว!


ทักษิณค่ะ ทั่นมองว่าคนอื่นโง่กว่าประจำ มีตัวทั่นที่ฉลาดเก่งกล้าสามารถอยู่คนเดียว  Mr. Green

บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #20 เมื่อ: 29-09-2006, 23:56 »

ผลดีผลเสียของการรัฐประหาร 


ถ้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ ให้คนไทยได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ FTA กับประเทศต่าง ๆ เช่น..
1. ไทยกับสหรัฐฯ
2. ไทยกับออสเตรเลีย
3. ไทยกับจีน
4. ไทยกับญี่ปุ่น
5. ไทยกับนิวซีแลนด์
6. ไทยกับอินเดีย

ผมถือว่าเป็นผลดีของการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ
แต่ความหวังอาจจะยากหน่อย เพราะหัวหน้าเจรจาไทยสหรัฐฯนั้น
นิตย์ พิบูลย์สงครามเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองฯ....


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 30-09-2006, 00:32 »

ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

มันไม่ได้เลวไปทั้ง 100 % หรือดีไปทั้ง 100 %

บางเรื่องมองให้เป็นประโยชน์ก็ได้ มองให้เป็นโทษก็ได้...

นี่แหละแบบไทย ๆ...เหลิงมากก็โดนสอยบ้าง...ทำใจแล้วครับ

แต่ขอแค่ว่ามาแล้วรีบออกไป รีบคายอำนาจออกมา อย่าผิดสัญญา

บันทึกการเข้า

mini
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 407


« ตอบ #22 เมื่อ: 30-09-2006, 08:24 »

ประชาธิปไตยของไทย ผ่านร้อนผ่านหนาวมาแค่ 74 ปีได้กระมัง

มันก็เป็นวิถีทาง ที่ควรจะเป็น รากฐานเราไม่ได้เป็น ร้อยๆ ปีเหมือนประเทศอื่นเค้าเนี่ย จะล้มลุกคลุกคลานบ้าง

เราเป็นประเทศไม่ได้ร่ำรวย อีกทั้งกำลังพัฒนา ไม่เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว อันนี้ก็ต่างกัน

ประชาชนความรู้พื้นฐาน ในด้านการศึกษาก็ต่างกัน  สถิติการอ่านหนังสือรับรู้ข้อมูลข่าวสารก็ต่างกัน

แล้วเราจะไปตามเค้าทำไม  แล้วคิดว่าจะตามเค้าได้ทันหรือ ไอ้การรักษาคำว่า ประชาธิปไตย โดยไม่มีการรัฐประหารน่ะ  74ปีกับ 200 กว่ามี


แต่สิ่งที่น่าภูมิใจ และทำให้ดำรงอยู่ได้เป็นปกติสุขทุกวันนี้ เพราะชาวไทยทุกคน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ซึ่งมีรากฐานเกือบพันปี


คุณแน่ใจเหรอครับ ว่าประวัติศาสตร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ

ยกตัวอย่างเช่น
ประเทศไทย เพิ่งรวมเป็นประเทศ
ณ ที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน
ก่อนหน้านี้เป็นหัวเมืองเล็กหัวเมืองน้อย เป็นเมืองขึ้นบ้าง

ก่อนหน้านี้ ในระบบ สมบูรณาญาสิทธิราช
ไม่ได้เห็นประชาชน เป็นประชาชน
แต่เห็นเป็นเหมือนกับสมบัติ ของผู้มีอำนาจ
สามารถทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ

แต่คุณกลับลืม ข้อเท็จจริงเหล่านี้นะครับ

แล้วที่คุณบอกมาทั้งหลาย ไม่ว่าจะประเทศกำลังพัฒนา ประชาชนมีความรู้พื้นฐานต่างกัน
มันเป็นช่วง 74 ปีหลัง หรือเป็นช่วงก่อนหน้านั้นด้วยครับ
ถ้าเป็นมานานแล้วเนี่ย น่าสงสัยว่า เกือบพันปีที่ผ่านมา เราทำอะไรกันอยู่
ถึงได้ล้าหลังอย่างต่อเนื่อง การศึกษาไม่ทั่วถึงซักที
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: