ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 11:52
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  คู่มือเลี่ยงภาษี ฉบับ ‘บิ๊ก’ สรรพากร สำหรับครอบครัวชินวัตร 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
คู่มือเลี่ยงภาษี ฉบับ ‘บิ๊ก’ สรรพากร สำหรับครอบครัวชินวัตร  (อ่าน 3619 ครั้ง)
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« เมื่อ: 18-09-2006, 07:08 »

คู่มือเลี่ยงภาษี ฉบับ ‘บิ๊ก’ สรรพากร
- ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ -
http://www.onopen.com/2006/editor-spaces/948

มีการกล่าวหาว่า ในกระบวนการซื้อขายบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นมูลค่า
73,300 ล้านบาท ระหว่างครอบครัวชินวัตรกับบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้ง
จำกัดของสิงคโปร์ ผู้บริหารระดับสูงกรมสรรพากรละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ไม่เก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจากนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณ
ทองทา ชินวัตร ที่ซื้อหุ้นชินคอร์ป เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549 จำนวน
329.2 ล้านหุ้น จากบริษัท Ample Rich Investment Limited ในราคา
หุ้นละ 1 บาท ในขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49 บาท ทำให้บุคคลทั้งสอง
ได้รับผลประโยชน์จาก “ส่วนต่าง” ราคาหุ้น 15,802 ล้านบาท โดยไม่
ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว


หลังจากมีข้อกล่าวหาดังกล่าวเกิดขึ้น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)
ได้เข้าไปตรวจสอบกรณีดังกล่าว คาดว่าคงมีผลสรุปในเร็วๆนี้

ถ้า มีข้อสรุปว่าทั้งนายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา ต้องเสียภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมาย(ในอัตราร้อยละ 37)จะเป็นเงินกว่า 5,846
ล้านบาท

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ (2 กุมภาพันธ์ 2549)นายศิโรตม์ สวัสดิพาณิชย์
อธิบดีกรมสรรพากร เคยแถลงยืนยัน ว่า การซื้อหุ้นในลักษณะดังกล่าว
นายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทาไม่ต้องเสียภาษีด้วยเหตุผล 2 ข้อ
คือ


1. การที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทาซื้อหุ้นชินคอร์ป ในราคา
ต่ำกว่าราคาตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูกซึ่งเป็นเรื่องของการตก
ลงระหว่างผู้ซื้อและ ผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไป จากการซื้อขายตาม
มาตรา 453
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนต่างของราคา
ซื้อกับราคาตลาด จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39
แห่งประมวลรัษฎากร


(ประเด็น นี้นักวิชาการโต้แย้งว่า ถ้าทุกบริษัททำในลักษณะเดียวกัน คือ
ขายสินค้าของบริษัทให้แก่ลูกจ้าง พนักงานและกรรมการในราคาถูกโดย
ไม่ต้องเสียภาษีเกิดการหลีกเลี่ยงภาษีกัน ขนาดใหญ่ จนทำให้ระบบการ
จัดเก็บภาษีหายนะ)

2. กรณีที่บริษัท Ample Rich ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปที่บริษัทได้ถือไว้
ให้กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท
Ample Rich
ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว หุ้นชินคอร์ปที่บริษัทได้ซื้อไว้เป็น
ทรัพย์สินหรือสินค้าของบริษัท Ample Rich มิใช่เป็นหุ้นของบริษัท
Ample Rich เป็นผู้ออกเอง
กรณีนี้จึงไม่เข้าลักษณะตามคำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 เรื่องภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดา กรณีการเสียภาษีในกรณีได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคาที่
ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ
ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538

(หนังสือของกรมสรรพากร ที่ กค.0706/7896 ลงวันที่ 21 กันยายน
2548 ลงนามโดยนางเบญจา หลุยเจริญ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี
ตอบข้อหารือของ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนสนิทของคุณหญิง
พจมาน)
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #1 เมื่อ: 18-09-2006, 07:08 »

ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ ข้ออ้างของกรมสรรพากรฟังขึ้นหรือไม่
โดยเฉพาะในข้อที่ 2 ที่กรมสรรพากรอ้างว่า ผู้ซื้อจะเสียภาษี “ส่วนต่าง”
ราคาหุ้นเฉพาะหุ้นที่บริษัทออกเอง เป็นการบิดเบือนคำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 หรือไม่

จากการตรวจสอบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษี อากรฯพบว่า
คำวินิจฉัยดังกล่าวครอบคลุมทั้งกรณีที่บริษัทซึ่งออกหุ้นเอง และกรณีที่
บริษัทถือหุ้นบริษัทอื่นไว้และนำหุ้นที่บริษัทออกเองและหุ้นอื่น ที่บริษัท
ถือไว้ไปแจกหรือขายในราคาต่ำกว่าตลาดให้แก่พนักงาน ลูกจ้าง
กรรมการและที่ปรึกษา
ซึ่งส่วนต่างที่เกิดขึ้นย่อมถือได้ว่า บุคคลดังกล่าว
ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องนำไป
รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
ไม่ว่าหุ้นที่ได้รับ
ดังกล่าวมีจะเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการ จำหน่ายจ่ายโอน
หรือไม่

ทั้งนี้ หลักฐานดังกล่าวคือ ข้อเท็จจริงที่สรรพากรขอให้คณะกรรมการ
วินิจฉัยทั้งกรณีที่เป็น “บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ที่นำหุ้นไปแจก
หรือขายในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งในกรณี “ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”
นั้นไม่สามารถออกหุ้นได้เองอยู่เพราะลักษณะการก่อตั้งและการนับ
หุ้นส่วนมิ ได้เป็นหน่วยแบบหุ้นของบริษัท จำกัด แต่เป็นการเข้าหุ้นของ
กลุ่มบุคคลในลักษณะของทุนแต่ละส่วน

ถ้า “ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” จะนำหุ้นไปเสนอขายให้แก่พนักงาน ลูกจ้าง
และกรรมการบริษัท ก็ต้องเป็นหุ้นบริษัทอื่นที่ “ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ถือ
ไว้เท่านั้น เช่น “ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ถือหุ้นชินคอร์ปไว้จำนวนหนึ่งและ
ต่อมานำหุ้นไปขายให้แก่พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้บริหารของห้าง ซึ่งก็เข้า
เงื่อนไขต้องนำ “ส่วนต่าง” ราคาหุ้นไปคำนวณรวมเป็นภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดาตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ วินิจฉัยภาษีอากร

ดังนั้น การที่บริษัท Ample Rich ถือหุ้นชินคอร์ปไว้และนำไปขายต่อ
ให้แก่กรรมการคือนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทา จึงไม่แตกต่าง
จาก “ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ถือหุ้นชินคอร์ปซึ่งมิใช่หุ้นที่ออกเอง ก็ต้อง
นำ “ส่วนต่าง” ราคาหุ้นไปคำนวณรวมเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เช่นเดียวกัน


ที่ สำคัญ มาตรา 13 สัตต วรรคสาม ของประมวลรัษฎากรบัญญัติว่า คำ
วินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่กรมสรรพากรหารือเป็นที่สุด
จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยเปลี่ยนหรือมีคำพิพากษาของศาลอันที่สุด ถ้า
ผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากรไม่ยอมปฏิบัติตามหรือบิดเบือนคำ
วินิจฉัย ดังกล่าวย่อมเป็นการทำผิดกฎหมายอย่างชัดแจ้ง


นอกจากนั้น กรมสรรพากรยังเคยตอบข้อหารืออย่างชัดเจนว่า เมื่อบริษัท
หนึ่งได้นำหุ้นของอีกบริษัทหนึ่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ต่างประเทศมาขายให้แก่พนักงานในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ก็ต้องเสีย
ภาษีเงินได้จาก “ส่วนต่าง” ราคาดังกล่าวโดยหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีโดย

ระบุว่า เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่
28/2538 (หนังสือกรมสรรพากร ที่กค 0706/4934 ลงวันที่ 28
พฤษภาคม 2546 เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีขายหุ้นให้แก่
พนักงานในราคาพิเศษ)

สาระ สำคัญของเรื่องดังกล่าวมีอยู่ว่า บริษัทแห่งหนึ่งจดทะเบียนตาม
กฎหมายประเทศฝรั่งเศส ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายซีเมนต์
ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ยิปซัม และวัสดุทำหลังคา บริษัทมีโครงการจัดสรร
หุ้นให้แก่พนักงาน โดยเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัท บริษัทในเครือ
และบริษัทสาขาทั่วโลกรวมทั้งพนักงานของบริษัทในประเทศไทยเข้ามา
เป็นผู้ถือ หุ้นโดยให้พนักงานมีสิทธิจองหุ้นได้ไม่เกิน จำนวน 110 หุ้น
โดยราคาจองจะต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของราคาหุ้นในช่วง 20 วันของตลาด
หลักทรัพย์ในประเทศฝรั่งเศส

กรณีนี้ได้มีการหารือว่า ผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับจาก “ส่วนต่าง”
ระหว่างมูลค่าตาม ราคาตลาดหลักทรัพย์ในประเทศฝรั่งเศส และราคา
จองหุ้น จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน หรือไม่

กรมสรรพากรตอบ ข้อหารือว่า กรณีบริษัทนำหุ้นขายในราคาที่ต่ำกว่า
ราคาตลาดให้กับพนักงานของบริษัท ภาระภาษีการซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นไป
ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษี อากร ที่ 28/2538 ฯ ลง
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 จึงขอให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว
นั้น

จากข้อหารือดัง กล่าวเห็นได้ชัดว่า บริษัทแม่ในประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้
ออกหุ้น และนำมาขายให้แก่พนักงานซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทย (เป็น
คนละนิติบุคคลกับบริษัทแม่ในต่างประเทศ) แต่มิได้ออกหุ้นเอง แต่
กรมสรรพากรได้ตอบอย่างชัดเจนว่า ต้องนำ “ส่วนต่าง” ราคาหุ้นเข้า
ลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ไปคำนวณรวมภาษีเงินได้
ประจำปี

แต่ในกรณีบริษัท Ample Rich นำหุ้นชินคอร์ปขายให้กับนายพานทอง
แท้และน.ส.พิณทองทา ซึ่งเป็นการนำหุ้นบริษัทอื่นมาขายให้แก่ลูกจ้าง
พนักงาน และกรรมการนั้น


กรม สรรพากรกลับอ้างว่า ไม่เข้าลักษณะคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
วินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 ไม่ต้องนำ “ส่วนต่าง” ราคาหุ้นเข้าลักษณะ
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 ไปคำนวณรวมภาษีเงินได้ประจำปี ทั้งๆ
ที่เป็นการนำหุ้นของบริษัทอื่นมาขายในราคาต่ำกว่าราคาตลาด
เช่นเดียวกัน


จาก หลักฐานเอกสารทั้งสองประการ สาธารณชนคงวินิจฉัยได้เองว่า
ผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากรจงใจบิดเบือนคำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการ วินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 เพื่ออุ้มครอบครัวชินวัตรให้
ไม่ต้องเสียภาษีการซื้อขายหุ้นชิน คอร์ปจำนวนไม่ต่ำกว่า 5,800 ล้าน
บาท หรือไม่

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #2 เมื่อ: 18-09-2006, 07:08 »

นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อกล่าวหากรมสรรพากรว่า ช่วยเหลือ
ครอบครัวชินวัตรอีกหลายกรณีดังนี้

ครั้ง แรก เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่บุญ
ธรรมคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯผ่าน
บริษัทหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 164
บาท เป็นเงิน 738 ล้านบาทจากนางสาวดวงตา วงศ์ภักดี หนึ่งในคนรับ
ใช้ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเคยถือหุ้นของครอบครัวชินวัตรมูลค่ากว่า 3,300 ล้าน
บาท แต่ ป.ป.ช. ตรวจพบว่า แท้ที่จริงนายบรรณพจน์ไม่ได้ซื้อหุ้น
ดังกล่าวแต่อย่างใด การซื้อขายผ่านตลาดหุ้นเป็นเพียงนิติกรรมอำพราง
เพราะเงิน (เช็ค) ที่จ่ายผ่านโบรกเกอร์เป็นค่าหุ้น เป็นเงินของคุณหญิง
พจมานเอง ในลักษณะ “อัฐยายซื้อขนมยาย” จึงอ้างว่า เป็นการยกหุ้นให้
ฟรี ทั้งๆที่มีการเสียค่านายหน้าให้โบรกเกอร์กว่า 7.38 ล้านบาท (อัตรา
ร้อยละ 0.5ทั้งซื้อและขาย)

กรณีดังกล่าวกรมสรรพากรอ้างว่า การที่คุณหญิงยกหุ้นชินวัตรฯให้นาย
บรรณพจน์ เป็นการให้ตามขนบธรรมเนียมประเพณีและอุปการะโดย
ธรรมจรรยา ทั้งๆ ที่นายบรรณพจน์มีหน้าที่การงานมั่นคงและเงินเดือนสูง
จึงไม่เข้าข่ายการอุปการะโดยธรรมจรรยา


ข้ออ้างของกรมสรรพากรการอ้างจึงขัดต่อแนวคำพิพากษาศาลฎีกา

ดังนั้น ถ้านายบรรณพจน์ถ้าต้องเสียภาษีจะคิดเป็นเงิน 273 ล้านบาท

ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณี

1. พ.ต.ท.ทักษิณ-คุณหญิงพจมาน ขายหุ้นชินคอร์ปให้นายพานทองแท้
73,395,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 150
บาท ทำให้นายพานทองแท้ได้รับผลประโยชน์จาก “ส่วนต่าง” ราคาหุ้น
เป็นเงิน 10,275 ล้านบาท

ถ้าต้องจ่ายภาษีคิดเป็นเงินประมาณ 3,800 ล้านบาท

2. คุณหญิงพจมานขายหุ้นชินคอร์ปให้นายบรรณพจน์ จำนวน
26,825,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาด 150 บาท
ทำให้นายบรรณพจน์ได้รับผลประโยชน์จาก “ส่วนต่าง” ราคาหุ้นเป็นเงิน
3,755 ล้านบาท

ถ้าต้องจ่ายภาษีคิดเป็นเงินประมาณ 1,389 ล้านบาท

3. พ.ต.ท.ทักษิณขายหุ้นชินคอร์ปให้นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว 2
ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาด 150 บาท ทำให้นาง
ยิ่งลักษณ์ได้รับผลประโยชน์จาก “ส่วนต่าง” ราคาหุ้นเป็นเงิน 280 ล้าน
บาท

ถ้าต้องจ่ายภาษีคิดเป็นเงิน 103.6 ล้านบาท

รวมเป็นเงินภาษีทั้ง 3 กรณี(ถ้าต้องจ่าย) กว่า 5,292.6 ล้านบาท


ใน กรณี นี้ถ้าติดตามพฤติกรรมของผู้บริหารระดับสูงในกรมสรรพากรมา
ตลอดจะพบว่า มีความพยายามอย่างสูงยิ่งที่จะออกคำวินิจฉัยกลับไป
กลับมา เพื่อช่วยให้ครอบครัวชินวัตรไม่ต้องเสียภาษี “ส่วนต่าง” ราคาหุ้น
กว่า 5,000 ล้านบาท ทั้งๆที่ในช่วงก่อนที่พรรคไทยรักไทยจะเป็นรัฐบาล
ในเดือนมกราคม 2544 นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร
ในขณะนั้น (ปัจจุบันได้ดิบได้ดีเป็นปลัดกระทรวงการคลัง) ทำหนังสือลง
วันที่ 30 พฤษจิกายน 2543 (ที่กค.0811/632) ตอบประธานอนุกรรมการ
ตรวจสอบทรัพย์สิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า

“ กรณีบุคคลธรรมดาซื้อหุ้นของบริษัทที่มิได้จดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์/ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ซื้อหุ้นไม่มีเงินได้
พึงประเมิน จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่เป็นการซื้อ
หุ้นในราคาต่ำกว่าราคาหรือค้าอันพึงมี ผลต่างระหว่างราคาหรือค่าอันพึง
มีกับราคาซื้อ เข้าลักษณะประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งเป็นเงินได้พึง
ประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ซื้อต้องนำไปรวมคำนวณ
เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย


แต่ หลังจากพรรคไทยรักไทยยึดอำนาจรัฐสำเร็จ พ.ต.ท.ทักษิณก้าวขึ้น
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรมสรรพากรกลับสุ่มเงียบไม่ยอม
ดำเนินการใดๆกับการซื้อขายหุ้นทั้ง 3 กรณีที่มี “ส่วนต่าง” ราคาหุ้นนับ
หมื่นล้านบาท

จนกระทั่ง มีการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
ขอให้กรมสรรพากรเปิดเผยผลการวินิจฉัยภาษีในลักษณะดังกล่าว
กรมสรรพากรจึงจำใจต้องเปิดเผยผลคำวินิจฉัยตามคำสั่งของ
คณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหาร
ราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย แต่นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ไม่
ลงนามในหนังสือเองมอบหมายให้นายวิชัย จึงรักเกียรติ รองอธิบดี
ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร เป็นผู้ตอบ

หนังสือดังกล่าว ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 (ที่ กค.0811/6312) ระบุ
ว่า การซื้อขายหุ้นดังกล่าว ถือไม่ได้ว่า ผู้ซื้อได้รับประโยชน์จากการโอน
หุ้นซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึง
ประเมิน ตามมาตรา 40(4)(ช) ตามประมวลรัษฎากร เนื่องจากยังมิได้
ก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ซื้อแต่ประการใด จนกว่าผู้ซื้อจะได้ขายหุ้นดังกล่าว
ไปโดยได้รับผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็น เงินได้เกินกว่า เงินที่ลงทุน


เรียกว่า พลิกคำวินิจฉัยจากหน้ามือเป็นหลังตีน!!
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #3 เมื่อ: 18-09-2006, 07:09 »

ต่อ มา เมื่อนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นักบัญชี ซื้อหุ้นบริษัททางด่วน
กรุงเทพ จากบิดาในราคา 10 บาท จากราคาตลาด 21 บาท มีส่วนต่าง
ประมาณ 55,000 บาท ปรากฏว่า ถูกกรมสรรพากรคำนวณเป็นภาษีเงิน
ได้
จึงมีการร้องเรียนว่า กรมสรรพากรเลือกปฏิบัติ ไม่ยอมเก็บภาษี “ส่วน
ต่าง” ราคาหุ้นชินครอ์ป ทำให้นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลังชี้แจงในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย
ประจำปี 2549 ว่า เป็นการความผิดพลาดและความเข้าใจผิด
กรมสรรพากรพร้อมที่จะคืนเงินภาษีที่เก็บไปจากนายเรืองไกรไป


นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่กรมสรรพากรคืนเงินให้ผู้เสียภาษี โดย
ผู้เสียภาษีมิได้ขอคืน


ใน การคืนภาษีให้แก่นายเรืองไกร นายพิชเยนทร์ กองทอง นิติกร 8
กรมสรรพากร บันทึก(ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2548)ไว้ว่า เงินได้พึง
ประเมินที่เป็นผลประโยชน์จากการซื้อหุ้น ยังคงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี
เพราะเงินได้ในส่วนนี้ยังมิได้มีการก่อให้เกิดรายได้ต่อท่าน(นายเรืองไกร)
ท่านจะเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้ก็ต่อเมื่อ ท่านได้ขายหุ้นดังกล่าวไปโดย
ได้รับผลประโยชน์ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกิน กว่าเงินที่ลงทุน ทั้งนี้ตาม
มาตรา 40(4)(ช)

อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า กรมสรรพากรยังไม่แน่ใจว่า คำวินิจฉัยดังกล่าว
ครอบคลุมหรือปิดช่องให้ครอบครัวชินวัตรครบถ้วนหรือยัง


ดังนั้นกรมสรรพากรจึงมีคำวินิจฉัยใหม่อีกครั้ง อ้างเหตุที่ไม่ต้องเสียภาษี
ได้จาก “ส่วนต่าง” ราคาหุ้นว่า

การ ซื้อขายทรัพย์สิน(หุ้น)ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดนั้น “ส่วนต่าง”
ดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 ของ
ประมวลรัษฎากรตั้งแต่ต้น โดยพยายามอธิบายว่า การซื้อทรัพย์สินโดย
ปกติจะมีราคาตลาดสำหรับซื้อทรัพย์สินนั้น ซึ่งราคาตลาดจะมีหลายราคา
หากเป็นการซื้อเพื่อนำไปใช้เองหรือเป็นผู้บริโภค ผู้ซื้อจะซื้อตามราคา
ของผู้ขายปลีก หากเป็นการซื้อเพื่อนำไปขายซึ่งต้องซื้อเป็นจำนวนมาก
ผู้ซื้อจะต้องซื้อในราคาต่ำ โดยอาจซื้อราคาตลาดที่เป็นของผู้ผลิตหรือ
ผู้ขายส่ง

ดังนั้น ทรัพย์สินชนิดเดียวกัน อาจมีราคาซื้อแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานะ
ของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไปของการซื้อขาย ตามมาตรา 453 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)

นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ราคาซื้อดังกล่าวถูกกว่าราคาตลาด
เช่น การส่งเสริมการขาย สินค้าตกรุ่น เลหลังสินค้า เลิกกิจการ ขาย
ทอดตลาด ความพอใจ ความสัมพันธ์ส่วนตัวฯลฯ ซึ่งเป็นการตกลงกัน
ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วๆไปตามมาตรา 453 ป.พ.พ.


“การซื้อ ทรัพย์สินในลักษณะดังกล่าว จะเป็นเรื่องของทุนซึ่งกระทบต่อ
จำนวนเงินของผู้ซื้อที่มีอยู่ ทั้งจำนวนเงินที่เหลืออยู่และที่ได้จ่ายไป
ดังนั้นไม่ว่า การซื้อทรัพย์สินผู้ซื้อจะซื้อตามราคาตลาดหรือซื้อในราคา
ถูกกว่าตลาด ผู้ซื้อต้องเสียเงินสำหรับการซื้อตามจำนวนมากน้อยตาม
ราคาที่ตกลงกัน

การ ที่ซื้อทรัพย์สินราคาถูกจะทำให้เหลือเงินมากกว่าซื้อทรัพย์สินใน
ราคาปกติ เงินที่เหลือดังกล่าวไม่ว่าจะเหลือมากน้อยเท่าใด ก็เป็นเงิน
ของผู้ซื้อเอง เป็นเรื่องของทุน มิใช่เงินที่ผู้ซื้อได้รับหรือเข้าลักษณะเป็น
ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ จากผู้อื่นแต่อย่างใด

ด้วยเหตุผลข้างต้น การซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้
หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ อันเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 39 เช่นเดียวกับส่วนลดปกติและส่วนลดพิเศษที่จะลดให้ทันที
เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าตามเกณฑ์ที่กำหนด”

(หนังสือกรมสรรพากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2548 ที่ กค.
0709.31/18325 ลงนามโดย นางจิตรมณี สุวรรณพูล สรรพากรภาค 1
ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร)

จาก นั้น จึงสรุปว่ากรณีของนายเรืองไกร ซึ่งซื้อหุ้นบริษัททางด่วน
กรุงเทพจากบิดาต่ำกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์ เป็น
การซื้อขายทรัพย์สินกันระหว่างนายเรืองไกรกับบิดาซึ่งเป็นการซื้อขาย
อันเป็นเรื่องปกติในทางการค้า ส่วนราคาที่ตกลงซื้อขายกันต่ำกว่าราคา
ตลาด ผู้ขายและผู้ซื้อมีสิทธิตกลงกันได้โดยผู้ซื้อต้องใช้ราคาทรัพย์สิน
ตามที่ ตกลงกันนั้นตามมาตรา 453 แห่ง ป.พ.พ.


น่าประหลาดที่จู่ๆ กรมสรรพากรได้ใช้แนวคำวินิจฉัยว่า การซื้อหุ้นราคา
ถูกกว่าราคาตลาดเป็นการซื้อขายสินค้าตามปกติตามมาตรา 453 ป.พ.พ.
“ส่วนต่าง” ราคาหุ้นหรือราคาสินค้าจึงไม่เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมิน
ตามมาตรา 39 ประมวลรัษฎากร


แต่ปริศนาดังกล่าวคลี่คลายลงทันที เมื่อมีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปมูลค่า
73,300 ล้านบาทให้ เทมาเส็ก และกรมสรรพากรออกมาแถลงรับรองเมื่อ
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า การที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทอง
ทา ซื้อหุ้นชินคอร์ปในราคาเพียงหุ้นละ 1 บาทจากบริษัท Ample Rich
ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูกซึ่งเป็นเรื่องของการ
ตกลงระหว่างผู้ซื้อและ ผู้ขาย อันเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไป จากการซื้อขาย
ตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนต่างของ
ราคาซื้อกับราคาตลาด จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร(หนังสือของกรมสรรพากร ที่ กค.
0706/7896 ลงวันที่ 21 กันยายน 2548)

เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า การวินิจฉัยว่านายเรืองไกรซื้อหุ้นบริษัททาง
ด่วนกรุงเทพในราคาต่ำกว่าราคา ตลาด เป็นไปตามมาตรา 453 ป.พ.พ.
ในภายหลัง เป็นการหาพวกให้แก่การซื้อขายซื้อหุ้นระหว่าง Ample Rich
กับนายพานทองแท้ และ น.ส.พิณทองทาเพื่อสร้างความชอบธรรมว่า
ไม่ได้วินิจฉัยเฉพาะครอบครัวชินวัตร แต่ใช้กับประชาชนทั่วไปด้วย


จาก ข้อมูลทั้งหมดเห็นได้ชัดว่า ผู้บริหารระดับสูงในกรมสรรพากร
พยายามทุกวิถีทางเพื่อสร้าง “คู่มือ” มิให้ครอบครัวชินวัตรต้องเสียภาษี
ทุกกรณีเป็นมูลค่าเป็นเงิน 11,411.6 ล้านบาท (ยังไม่รวมเบี้ยปรับ 2 เท่า
ของเงินต้นและเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน รวมแล้วไม่น่าจะต่ำกว่า
22,000 ล้านบาท ถ้ามีการประเมิน)


คำถามที่เกิดขึ้นคือ ทางการจะตามเก็บภาษีครอบครัวชินวัตรได้หรือไม่
เพราะเวลาล่วงเลยมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า
“สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความสิบปี”

ดัง นั้น เมื่อดูจากการซื้อขายหุ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 มี
อายุความในการประเมินภาษีถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 ขณะที่ครั้ง
ต่อๆ มาก็มีอายุความถึงปี 2553 และ 2559 ตามลำดับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่หลังการเลือกตั้งจะเป็น
นายก “นอมินี” หรือไม่

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 18-09-2006, 08:25 »

ข้อมูลแน่นชัดเจนมากครับ จขกท. ผมหวังว่าพวกลิ่วล้อคนขายชาติจะไม่แถ ไม่ตะแบงอีก

ถ้ายังทำอยู่แสดงว่าสนับสนุนการขายชาติอย่างชัดเจน
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 18-09-2006, 08:58 »

ทีนี้ก็รอพวกทาศในเรือนเบี้ยมาแถครับ (เชื่อว่าต้องมีการดิสเครดิต ตามมาแน่นอน  Mr. Green)
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
Cambridge
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 160



« ตอบ #6 เมื่อ: 18-09-2006, 09:23 »

Damn.... ขอโทษที่ต้องใช้คำไม่สุภาพ

ขนาดผมไปซื้อคอมพิวเตอร์มา ยังต้องเสียภาษีเลย <- ศุลกากร

(คอมพิวเตอร์ครบชุดใช้งานได้ทันที ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ ก็ดัน.....ต้องเสีย VAT จาก CIF, Shipping, Insurance)

ผมบอกเขาไปว่าคอมพิวเตอร์ได้มาราคา 10,000 บาท ทางเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่สนใจ จัดการประเมินราคา นะวันนั้นให้ใหม่

ไม่ยุติธรรมเลย

จริงอยู่อาจจะเปรียบเทียบไม่ได้กับกรณีของ แม้ว And the Gang... แต่ว่าเห็นๆอยู่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติ งานอย่าง Multiple Standard...



 Sad Sad Sad Sad Sad Sad Sad Cry Cry Cry
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18-09-2006, 09:26 โดย Cambridge » บันทึกการเข้า

Tomorrow never die!!!
hison
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 217


« ตอบ #7 เมื่อ: 18-09-2006, 13:53 »

 Smile
บันทึกการเข้า
hison
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 217


« ตอบ #8 เมื่อ: 18-09-2006, 22:35 »

 Rolling Eyes
บันทึกการเข้า
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #9 เมื่อ: 18-09-2006, 23:28 »

น่าจะตอบคำถามแบบ "ขายหุ้นชินมันมันขายชาติ ตรงไหน" ได้บางส่วน  Idea
http://forum.serithai.net/index.php?topic=7238.0
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #10 เมื่อ: 09-11-2006, 00:25 »

ขุดกระทู้มาฉลองให้ ‘บิ๊ก’ สรรพากร
บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 09-11-2006, 01:13 »

ข้อมูลของประสงค์ ทำเอายุ่งทุกที คราวก่อนโน้นก็เรื่อง "ซุกหุ้น"
บันทึกการเข้า

NiTeLiGhT
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 147


« ตอบ #12 เมื่อ: 09-11-2006, 01:26 »

ชัดเจนแต่ไม่ชัดแจ้งพอ(สำหรับชาวบ้าน) น่าจะทำเป็นหนังไปเลย

ชาวบ้านจะได้เข้าใจง่ายๆ 
บันทึกการเข้า
p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #13 เมื่อ: 09-11-2006, 08:58 »

ชัดเจนแต่ไม่ชัดแจ้งพอ(สำหรับชาวบ้าน) น่าจะทำเป็นหนังไปเลย

จะชัดแจ้งแน่นอนตอนที่มีการจ่ายเงินส่วนต่างให้สรรพากร
ไม่นานเกินรอหรอกครับ


 
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 09-11-2006, 09:33 »

กระทู้นี้ไม่เห็นลิ่วล้อแฮะ 
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #15 เมื่อ: 09-11-2006, 09:39 »

กระทู้นี้ไม่เห็นลิ่วล้อแฮะ 

รู้สึกเหงาๆใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #16 เมื่อ: 09-11-2006, 09:49 »

"คู่มือเลี่ยงภาษีไทย" ที่น่าอ่าน น่าจะให้ทักษิณ
เผด็จการจากการเลือกตั้ง เป็นผู้เขียน
โดยมี สุวาน วลัยเถน เป็น ghostwriter
Exclamation





บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
มดโฟร์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 122



« ตอบ #17 เมื่อ: 09-11-2006, 10:20 »


www.naewna.com/news.asp?ID=34670#news

เปิดหนังสือลับสรรพากรใจดี
ไม่เก็บภาษี "โอ๊ค-เอม"
 หมายเหตุ: "แนวหน้า"ขอนำ หนังสือที่น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ ซึ่งเป็นตัวแทน บริษัท แอมเพิลริชฯ ได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 หารือเรื่องการเสียภาษีในการซื้อขายหุ้นให้กับนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร และหนังสือจากนางเบญจา หลุยเจริญ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการคลัง ในฐานะที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ปฏิบัติราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น เป็นผู้ตอบหนังสือหารือ (ตามหนังสือที่ กค 0706/7896 ซึ่งตอบข้อหารือดังกล่าว ลงวันที่ 21 กันยายน 2548 ตอบกลับไปว่าไม่มีภาระภาษี แต่ล่าสุด นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร กลับลำยืนยันว่าต้องเสียภาษี
 เรื่อง การซื้อหุ้นบริษัทซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ
 เรียน อธิบดีกรมสรรพากร
 ด้วย Ample Rich Investment Limited เป็น บริษัทที่จดทะเบียนนิติบุคคลใน British Virgins Islands ได้ซื้อหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 32,920,000 หุ้น ในราคาพาร์ 10 บาท เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 ในระหว่างที่ถือหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ลดราคาพาร์ลงเหลือ 1 บาท เป็นเหตุให้จำนวนหุ้นที่ Ample Rich Investment Limited ถือเพิ่มเป็น 329,200,000 หุ้น
 ต่อมา Ample Rich Investment Limited หุ้นตกลงขายหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ถือทั้งหมดให้นายพานทองแท้ ในราคาพาร์ 1 บาท โดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงขอหารือว่าในกรณีดังกล่าวเมื่อนายพานทองแท้ฯซื้อหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จาก Ample Rich Investment Limited มีภาระต้องชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหรือไม่
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์)

 ที่ กค 0706/7896
 วันที่ 21 กันยายน 2548
 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ
 เรียน นางสาวปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์
 อ้างถึง หนังสือลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2548
 ตามหนังสือที่อ้างถึงแจ้งว่า บริษัท Ample Rich Investment Limited เป็นบริษัทจดทะเบียนนิติบุคคลใน British Virgins Islends ไม่มีสำนักงานประกอบการในประเทศไทย มีนายพานทองแท้ ชินวัตร และนางสาวพิณทองทา ชินวัตร เป็นกรรมการ บริษัทฯประกอบกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 บริษัทฯได้ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยจำนวน 32,920,000 หุ้น ในราคาพาร์ 10 บาท ในระหว่างที่ถือหุ้นอยู่ บริษัทชินคอร์ฯได้ลดราคาพาร์ลงเหลือ 1 บาท ทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 329,200,000 หุ้น ต่อมาบริษัทฯได้ตกลงขายหุ้นบริษัทชินคอร์ฯที่บริษัทฯถือไว้ทั้งหมดให้กับนายพานทองแท้ฯ และนางสาวพิณทองทาฯในราคาพาร์ 1 บาท โดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงขอทราบว่ากรณีนายพานทองแท้ฯ และนางสาวพิณทองทาฯ ได้ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ฯ จากบริษัทฯ มีภาระต้องชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ นั้น
 กรมสรรพากรขอเรียนว่า 1.ตามข้อเท็จจริง การขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ฯ ในราคาหุ้นละ 1 บาท ให้กับนายพานทองแท้ฯ และนางสาวพิณทองทาฯ กรณีเรื่องของการซื้อขายทรัพย์สินระหว่างบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ขายกับนายพานทองแท้ฯ และนางสาวพิณทองทาฯ ซึ่งเป็นผู้ซื้ออันเป็นเรื่องปกติในทางการค้า ส่วนราคาที่ตกลงซื้อขายกันต่ำกว่าราคาตลาด ผู้ขายและผู้ซื้อมีสิทธิตกลงกันได้ โดยผู้ซื้อต้องใช้ราคาทรัพย์สินตามที่ตกลงนั้น ตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับประเด็นภาระภาษีการซื้อขายหุ้นดังกล่าว
 (1) กรณีบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ขาย ผลประโยชน์นี้ได้จากการโอนหุ้น ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินลงทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(5) แห่งประมวลรัษฎากร หากการขายหุ้นดังกล่าวต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคาตลาดในวันที่โอนหุ้นได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎรกร เนื่องจากตามข้อเท็จจริง บริษัทฯเป็นบริษัทจดทะเบียนนิติบุคคลใน British Virgins Islends ไม่มีสถานประกอบการในประเทศไทย และไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย ดังนั้น หากบริษัทฯมิได้เข้ามาในประเทศไทยเพื่อการขายหุ้นดังกล่าวหรือได้ขายหุ้นดังกล่าวผ่านลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย กรณียังถือไม่ได้ว่า บริษัทฯกระทำกิจการในประเทศไทย ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 85 วรรคสอง และ มาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎรกร และเมื่อมีการจ่ายเงินค่าหุ้นดังกล่าวไปให้กับบริษัทฯ ซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เนื่องจากเงินได้ที่ได้รับไม่เข้าลักษณะตามเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีจึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
 (2) กรณีนายพานทองแท้ฯ และนางสาวพิณทองทาฯ ซึ่งเป็นผู้ซื้อ การได้ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูกซึ่งเป็นเรื่องของการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอันเป็นเรื่องปกติทั่วๆ ไปของการซื้อขายตามมาตรา 453 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาตลาด จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
 2.กรณีบริษัทฯได้ขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ฯ ที่บริษัทได้ถือไว้ให้กับนายพานทองแท้ฯ และนางสาวพิณทองทาฯ ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว หุ้นที่บริษัทฯ ได้ซื้อไว้เป็นทรัพย์สินหรือสินค้าของบริษัทฯ มิใช่เป็นหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้ออกเอง กรณีจึงไม่เข้าลักษณะตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 28/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการเสียภาษีในกรณีได้รับแจกหุ้น หรือได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดตามข้อตกลงพิเศษ
ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538
ขอแสดงความนับถือ
(นางเบญจา หลุยเจริญ)
ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร


กะเเระ ท่านทักสินไม่จนเเต้มง่ายๆ กฎหมายอุตสาห์ออกเเบบมาเพื่อคนรวยทั้งที  คนตีความกฎหมายก็จ้างมาซะเเพง จะพลาดง่ายๆได้ไง

บันทึกการเข้า

หลอกคนอื่นนะหลอกง่าย แต่หลอกตัวเองอะไม่มีทาง
soco
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,842



« ตอบ #18 เมื่อ: 09-11-2006, 10:26 »


ภาพเป็นข่าว
บันทึกการเข้า
ชามู
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 536


ชามู ปลาวาฬตัวใหญ่ใจดี


« ตอบ #19 เมื่อ: 09-11-2006, 11:51 »

คุณ Cambridge ครับ

สุดยอดครับกับคำว่า Multiple Standardssssss (ขออนุญาตเติม S เข้าไปให้เห็นภาพชัดเจน)

ไม่ใช่ Double หรือ Triple แต่เป็น

Multiple
บันทึกการเข้า

สมาชิกหมายเลข #348

ชามู ปลาวาฬตัวใหญ่ใจดี
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 09-11-2006, 11:56 »

รายงาน:เปิดบัญชีชินคอร์ปจ่ายภาษีย้อนหลัง10ปี
...

ดังนั้นรวมเป็นเงินภาษีจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปทั้ง 3 ครั้ง

โดยยังไม่รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่มอีกมหาศาล เป็นเงินต้น 11,411.6 ล้านบาท


...

http://www.bangkokbiznews.com/level3/news_119424.jsp


น้ำลดตอผุด
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
Cherub Rock
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,183


น้องๆ ช่วยไปบอกผู้หญิงคนนั้นที ว่าเลิกมองผมได้แล้ว


« ตอบ #21 เมื่อ: 08-12-2006, 08:04 »

รายงาน:เปิดบัญชีชินคอร์ปจ่ายภาษีย้อนหลัง10ปี

9 พฤศจิกายน 2549 08:00 น.

ผล จากกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังกับ 2 ทายาท"ทักษิณ" กรณีซื้อขายหุ้นชินมูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาท
 และยังผลให้นำไปสู่ คตส.ได้ช่องที่จะใช้อำนาจเข้าไปตรวจสอบภาษีย้อนหลังของ"ตระกูลชินวัตร - ดามาพงษ์"
ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับหุ้นชิน 3 ครั้ง เป็นเงิน 11,411.6 ล้านบาท...ยังไม่รวมเบี้ยปรับ

สืบเนื่องจากวันที่6 พฤศจิกายน 2549 กรมสรรพากร แทงหนังสือเรียกเก็บภาษีไปยัง นายพานทองแท้ และน.ส.
พิณทองทา ชินวัตร ทายาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าได้รวบรวมข้อเท็จจริงใหม่
ซึ่งพบว่าบุคคลทั้งสองเข้าข่ายต้องเสียภาษี จากกรณีซื้อขายหุ้นชินคอร์ป เมื่อ 23 มกราคม 2549 และต้องยื่นเสีย
ภาษีกลางปี ณ สิ้นเดือนกันยายน 2549

ขณะเดียวกันคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) ระบุชัดแล้วว่าจะเข้าไปตรวจ
ทุกกรณีของการซื้อขายหุ้นชินย้อนหลังไปถึงปี 2540 ถ้ายังไม่พ้น10 ปีหรือยังไม่หมดอายุความด้านภาษี จึงชัดเจน
ว่า จะไม่จำกัดแค่เฉพาะกรณี "พานทองแท้ - พิณทองทา"

รานงานข่าวแจ้งว่าการซื้อขายหุ้นชินในตระกูล"ชินวัตร" และ"ดามาพงษ์" ที่อยู่ในข่าย คตส.จะเข้าตรวจสอบเกิดขึ้น
ใน 3 กรณีด้วยกัน

กรณีแรกเมื่อวันที่7 พฤศจิกายน 2540 นายบรรณพจน์ดามาพงศ์ พี่ บุญธรรมคุณหญิงพจมาน
ชินวัตร ซื้อหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ฯ ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด จำนวน 4.5 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ
164 บาท เป็นเงิน 738 ล้านบาท จากนางสาวดวงตาวงศ์ภักดี คนรับใช้แต่คณะ กรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ตรวจพบว่า แท้ที่จริง นายบรรณพจน์ ไม่ได้ซื้อหุ้นดังกล่าวแต่อย่างใด การซื้อขายผ่าน
ตลาดหุ้นเป็นเพียงนิติกรรมอำพราง เพราะเงิน(เช็ค) ที่จ่ายผ่านโบรกเกอร์ เป็นเงินของคุณหญิงพจมานเอง

กรณีดังกล่าวกรมสรรพากรอ้างว่า การที่คุณหญิงยกหุ้นชินวัตรฯ ให้นายบรรณพจน์ เป็นการให้ตามประเพณีและอุป
การะโดยธรรมจรรยา ทั้งๆ ที่นายบรรณพจน์ มีหน้าที่การงานมั่นคงและเงินเดือนสูง การอ้างดังกล่าวจึงขัดต่อแนวคำ
พิพากษาศาลฎีกา

ดังนั้นถ้านายบรรณพจน์ ต้องเสียภาษีจะคิดเป็นเงิน 273 ล้านบาท

กรณีที่สองเมื่อ วันที่1 กันยายน 2543 พ.ต.ท.ทักษิณ - คุณหญิงพจมาน ขายหุ้นชิน ให้ "พาน
ทองแท้" 73,395,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 150 บาท ทำให้ พานทองแท้ ได้รับผล
ประโยชน์จาก "ส่วนต่าง" ราคาหุ้นเป็นเงิน 10,275 ล้านบาท

ถ้าต้องจ่ายภาษีคิดเป็นเงินประมาณ 3,800 ล้านบาท

ขณะที่คุณหญิงพจมานขายหุ้นชินคอร์ป ให้นายบรรณพจน์ จำนวน 26,825,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ขณะที่
ราคาตลาด 150 บาท ดังนั้น นายบรรณพจน์ จึงย่อมได้รับผลประโยชน์จาก "ส่วนต่าง" ราคาหุ้นเป็นเงิน 3,755 ล้าน
บาท

ถ้าต้องจ่ายภาษีคิดเป็นเงินประมาณ1,389 ล้านบาท

นอกจากนั้นวันเดียวกันพ.ต.ท.ทักษิณ ขายหุ้นชินคอร์ปให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร น้อง สาว2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้น
ละ 10 บาท ขณะที่ราคาตลาด 150 บาท ทำให้นางยิ่งลักษณ์ได้รับผลประโยชน์จาก "ส่วนต่าง" ราคาหุ้นเป็นเงิน
280 ล้านบาท

ถ้าต้องจ่ายภาษีคิดเป็นเงิน103.6 ล้านบาท รวมเป็นเงินภาษี กว่า 5,292.6 ล้านบาท

ครั้งที่สามเมื่อ วันที่20 มกราคม Ample Rich ขายหุ้นชินคอร์ปทั้งหมด 329.2 ล้านหุ้น ในราคา
หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาด 49 บาท ให้แก่นายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา บุคคลทั้งสองจึงได้รับผลประ
โยชน์จาก "ส่วนต่าง" ราคาหุ้น 15,802 ล้านบาท

ถ้าต้องจ่ายภาษีคิดเป็นเงิน5,846 ล้านบาท

ดังนั้นรวมเป็นเงินภาษีจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปทั้ง 3 ครั้ง โดยยังไม่รวมเบี้ยปรับเงินเพิ่มอีกมหาศาล เป็นเงินต้น
11,411.6 ล้านบาท

การตรวจสอบการเสียภาษีย้อนหลังของบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร ที่ให้อำนาจกรมสรรพากร สา
มารถตรวจสอบการเสียภาษีย้อนหลังได้ 10 ปีคตส.จึงใช้อำนาจที่มีอยู่ไปตรวจสอบการเสียภาษีของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ทั้ง หมดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเพื่อดูว่ามีการยื่นแบบการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร กำหนดให้ กรมสรรพรกร สามารถเก็บภาษีย้อนหลัง กับบุคคลที่ไม่ยื่นแบบแสดงการเสียภาษีได้ถึง
10 ปี

อย่างไรก็ตามหากผู้เกี่ยวข้องมีการยื่นแบบเงินได้แล้ว แต่เสียภาษีไม่ครบถ้วน ตามประมวลรัษฎากร ก็ให้อำนาจกรม
สรรพากร เก็บภาษีย้อนหลังได้ 5 ปี ที่สำคัญขณะนี้ต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากมีบางรายที่คดีกำลังใกล้หมดอายุความ

'พิณทองทา'เข้าข่ายม.41 เสียภาษีขายหุ้นเทมาเส็ก

นอกจากนี้ในการซื้อขายหุ้นให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ของ น.ส.พิณทองทาก็ ต้องพิจารณาว่ารายได้ที่เกิดขึ้นตรงตาม มาตรา
41 ของประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ผู้ที่มีเงินได้ที่อยู่ในต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีเงินได้

หากนำเงินได้ดังกล่าวเข้าประเทศแล้วอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือหลายระยะเวลารวมกันแล้วถึง180 วัน
เพราะระหว่างการซื้อขายหุ้นนั้น น.ส.พิณทองทากำลังอยู่ระหว่างการเรียนต่อในต่างประเทศ จึงอาจจะยังไม่ต้องเสีย
ภาษีเงินได้ หากพำนักอยู่ในประเทศไม่ครบ 180 วันแต่ถ้าน.ส.พิณทองทาอยู่ในประเทศครบ 180 วันหลังขายหุ้นก็จะ
ต้องเสียภาษีเงินได้

ทั้งนี้หากพิจารณาจากข้อเท็จจริง รายได้ที่ น.ส.พิณทองทาได้รับจากการขายหุ้นนั้น เป็นรายได้ที่เกิดจากการทำธุรกรรม
ในประเทศ หลังจาก น.ส.พิณทองทานำหุ้นที่ซื้อมาจาก"แอมเพิลริช" ในราคา 1 บาทขายต่อให้กับกลุ่มเทมาเส็กในราคา
40 บาททำให้ น.ส.พิณทองทา ต้องเสียภาษี จากการขายหุ้นให้กับกองทุนเทมาเส็ก

สำหรับมาตรา41ของประมวลรัษฎากรกำหนดว่า "ผู้มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจ
การที่ทำในประเทศหรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้อง
เสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ อยู่ในประเทศมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้น เข้ามาในประเทศไทย ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่ว
ระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย"

ดังนั้นกรณีการขายหุ้นให้กับกลุ่มเทมาเสก ของ น.ส.พิณทองทาจึงเข้าข่าย มาตรา 41 วรรค2 เพราะเงินได้ที่น.ส.พิณ
ทองทาได้รับเป็นเงินได้ที่เกิดจากการทำธุรกรรมใน ประเทศไทย

จากนี้ไปประชาชนต้องรอการพิสูจน์หลักนิติธรรมที่จะต้องดำเนินการเปิดบัญชีขุมทรัพย์ที่เลี่ยงภาษีนี้ได้หรือไม่

http://www.bangkokbiznews.com/level3/news_119424.jsp

ขุดฉลองให้บิ้กสรรพากร
อยากจะบอกว่าไม่สงสารเลยซักนิด
 

บันทึกการเข้า

"นายกรัฐมนตรีกำลังใช้รัฐสภาประกอบพิธีกรรมสถาปนาอำนาจของตนเองโดยเห็นรัฐสภาเป็นเพียงแค่ตรายาง และปล่อยให้มีการทำร้ายประชาชนถือว่าหมดความชอบธรรมแล้ว" รสนา โตสิตระกูล
visitna
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 209



« ตอบ #22 เมื่อ: 08-12-2006, 10:04 »

น่าเห็นใจข้าราชการ ตัวชั่วจริงมีอยู่คนเดียว   
      หน้าเหลี่ยม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: