1.
รัฐบาลพลเรือนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของฝ่ายทหารมากเกินไป สภาผู้แทนราษฎรจุกจิกคอยจับผิดทหารหรือตัดงบประมาณของทหารเกินความจำเป็น รัฐบาลพลเรือนหรือฝ่ายการเมืองพยายามที่จะกดทหารลงไปเหมือนเป็นผู้รับใช้ ในขณะที่ฝ่ายทหารเองบางครั้งบางคราวไม่ยอมรับอำนาจฝ่ายการเมืองด้วยเหตุผลบางประการ เช่นตัวบุคคล และการบริหารงานของรัฐบาลที่มุ่งรักษาผลประโยชน์พวกตนมากกว่าของประเทศชาติ
2.
ความพยายามของฝ่ายการเมืองในการเข้าไปแบ่งกลุ่มแบ่งพวกทหารด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่นแอบสนับสนุนนายทหารบางคน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาจากการประกอบธุรกิจ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆโดยไม่คำนึงถึงระเบียบแบบแผนที่เคยปฏิบัติ ทำให้ทหารแตกกันเป็นกลุ่ม เป็นการแยกดุลอำนาจของทหารในกองทัพเพื่อให้เป็นที่วางใจได้ว่าทหารจะไม่สามารถทำการปฏิวัติรัฐประหารได้
3.
ความขัดแย้งกันเองระหว่างฝ่ายทหารด้วยกัน ไม่ว่าจะเกิดจากความทะเยอทะยานส่วนตัว ความขมขื่นส่วนตัว หรือขัดแย้งกันด้วยผลประโยชน์บางอย่างของกลุ่มตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆในกองทัพ ที่โยกย้ายคนของตนไปดำรงตำแหน่ง และโยกย้ายคนที่ไม่ใช่กลุ่มหรือพวกตนไปอยู่ในตำแหน่งอื่นที่ไม่สำคัญ
4.
เกียรติภูมิและบทบาทของทหารถูกละเมิด หรือไม่ก็ตกต่ำเนื่องจากการลบหลู่ดูถูก หยามเกียรติ ถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการหรือทุจริตคอรัปชั่น
5. การปฏิวัติรัฐประหารหลายครั้งที่ผ่านมานั้น เกิดเพราะ
ทหารไม่มีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลพลเรือนที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้นจะสามารถนำพาประเทศชาติไปได้ด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจสังคม ความสงบเรียบร้อยภายในหรือปัญหาที่เกิดจากการทุจริตแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ชอบธรรมของนักการเมืองและพรรคการเมืองที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศอยู่ในขณะนี้
ทั้ง 5 ประการ เป็นที่มาของการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในบ้านของเราในอดีต หยิบยกมาให้ได้เห็นกันเป็นอุทาหรณ์
http://www.naewna.com/news.asp?ID=25891http://www.komchadluek.net/