ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 09:25
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  อะไรคือ Zero-sum game 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อะไรคือ Zero-sum game  (อ่าน 25355 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 12-09-2006, 09:20 »

เอาศัพท์แปลกๆ ... เอาเป็นว่าไม่คุ้น ... มาฝากอีกแล้วค่ะ
จะไว้รวมกับ demagogue กระทู้นั้นก็ยาวแล้ว และดูไม่เข้ากัน
http://forum.serithai.net/index.php?topic=6400.0

ขออนุญาตขึ้นกระทู้ใหม่

อะไรคือ Zero-sum game

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว
ตอนหนึ่งว่า การใช้วิธีลอบสังหารตัวเขาเองด้วยคาร์บอมบ์ เป็นปฏิบัติการขั้นแตกหัก เป็น
Zero-sum game ที่ต้องฆ่ากัน

คำว่า Zero-sum game เราได้จะยินกันบ่อยๆ โดยเฉพาะในแวดวงการทำธุรกิจ

เมื่อลองพลิกดูความหมายในดิกชันนารี ให้ความหมายของ Zero-sum game ไว้ว่า หมายถึง
สถานการณ์ที่สองฝ่ายแข่งขันกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะ อีกฝ่ายก็จะสูญเสีย
หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อเราเป็นฝ่ายได้ อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายเสีย โดยสิ่งสำคัญคือจำนวน (เงินหรือ
ผลประโยชน์) ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับนั้นจะเทียบเท่ากับจำนวนที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสียไป (อาจ
จะไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าเป็นชัยชนะบนความสูญเสียของคนอื่น)

ยกตัวอย่างเช่น *Television has become a zero-sum game,with networks gaining
audience only at each other"s expense (กิจการโทรทัศน์ได้กลายเป็น zero-sum game
โดยสถานีหนึ่งแย่งผู้ชมมาจากอีกสถานีหนึ่ง)

หรือ Diplomatic negotiations often aim at a zero-sum game (การเจรจาทางการทูต
มักมุ่งเป้าหมายไปที่การได้รับกลับมาเท่ากับที่ได้สูญเสียไป)

ที่มา มติชน วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10412

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pol03120949&day=2006/09/12
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12-09-2006, 09:27 »

แปลไทยเป็นไทยให้นะ

Zero-sum game คือเกมส์ที่ ผลบวกระหว่าง คะแนนที่ได้ของผู้ชนะ (มีค่าเป็นบวก) กับคะแนนที่เสียของผู้แพ้ (มีค่าเป็นลบ) มีค่าเท่ากับ 0

ไม่มีการเกี้ยเซี้ย ฮั้วหยวน ๆ ให้ win-win หรือ พังทั้งคู่ loss-loss ต้องมีคนแพ้คนชนะ และไม่มีสองเด้งแต่อย่างใด
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
ธ.ส.
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,086



« ตอบ #2 เมื่อ: 12-09-2006, 10:35 »

Zero-Sum Game เป็นสถานการณ์หนึ่งในทฤษฎีเกมส์ที่มีผลเพียงแค่ ชนะ-แพ้ เท่านั้น ไม่ว่าจะมีผู้เล่นในเกมส์กี่คนก็ตาม จะมีผู้ชนะแค่คนเดียว และผู้ชนะจะได้ผลประโยชน์จากเกมส์ทั้งหมด ผู้แพ้ไม่ได้อะไรและสูญเสียรวมกันทุกคนเท่ากับผลประโยชน์ที่ผู้ชนะได้ เรียกง่ายๆว่า ผู้ชนะ กินรวบ ผู้แพ้หมดตูด ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Last man standing game คือเกมส์ที่เหลือคนเล่นคนสุดท้ายคือผู้ชนะ ปัจจุบันสถานีโทรทํศน์ ไม่จำเป็นต้องเป็น Zero-Sum Game แล้ว เพราะว่า การเสนอรายการของสถานีโทรทัศน์มีหลายช่วงเวลา ไม่จำเป็นต้องมาเสนอรายการในช่วงเวลาเดียวกัน หากแต่เลี่ยงกันไปเสนอรายการเด็ดๆในช่วงเวลาอื่นได้ ซึ่งจะได้ผู้ชมที่มีจำนวนมากกว่าการไปแข่งกันเองในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งเป็นไปตามทฤษเกมส์แผนใหม่ของ จอห์น ฟอร์บ แนช ที่ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องมาแย่งผลประโยชน์กันเองในตัวผลประโยชน์อันใดอันหนึ่งที่จะก่อให้เกิด Zero-Sum Game ผู้เล่นจะเลือกเล่นในสถานการณ์ที่เกิด Positive-Sum Game มากกว่า นั่นคือ ผู้เล่นทุกคนได้ประโยชน์ จะมากหรือน้อยก็ยังได้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ราคาน้ำมัน ประเทศผู้ผลิตน้ำมันยอมที่จะฮั้วกำลังการผลิตไม่ให้เกินโควต้าของแต่ละประเทศเพื่อควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก มากกว่าที่จะเร่งกำลังการผลิตของตัวเองให้มากที่สุด เพราะการกระทำเช่นนั้น แม้ว่าตนเองจะขายน้ำมันได้มากขึ้น แต่ประเทศอื่นก็จะทำตามและส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจจะลดลง ผู้ชนะในเกมส์คือประเทศที่มีน้ำมันเหลืออยู่เป็นประเทศสุดท้ายที่อาจจะกลายเป็นประเทศที่ขายน้ำมันเป็นเจ้าสุดท้ายของโลก ดังนั้นทุกประเทศที่ผลิตน้ำมันจึงรวมหัวกันกำหนดโควต้าเพื่อควบคุมราคาและยอมรับผลประโยชน์ที่แน่นอนแต่ไม่ได้มากที่สุดของแต่ละประเทศ ส่วนสถานการณ์เกมส์รูปแบบสุดท้ายคือ Negative-Sum Game เป็นเกมส์ที่มีแต่การสูญเสีย ผู้เล่นที่เข้าเล่นในเกมส์นี้เหมือนคนบ้า ที่จะนำทั้งตัวเองและผู้เล่นอีกฝ่ายไปสู่การสูญเสีย ไม่มีใครได้ประโยชน์ ทุกคนเสียประโยชน์เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ในสงครามเย็น สหรัฐและรัฐเซียรู้ดีว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยิงนิวเคลียร์ก่อน ผู้เล่นอีกฝ่ายจะต้องยิงตามแน่ๆ ดังนั้นรูปแบบของสถานการณ์ในสงครามนิวเคลียร์จะเป็น Negative-Sum game คือต่างคนต่างเสียหายทั้งคู่และอาจจะไม่มีฝ่ายใดชนะ สหรัฐและรัสเซียจึงไม่เล่นในเกมส์นี้ เอาแต่คุมเชิงกันอยู่ตลอด หรือในกรณีของสงครามราคา ที่ผู้ค้าแต่ละรายพยายามลดราคาลงให้ต่ำกว่าคู่แข่ง เพื่อหวังให้ยอดการจำหน่ายสูงขึ้น จนผู้ค้าในตลาดทั้งหมดต้องลดราคาลงตาม สถานการณ์แบบนี้ มีแต่สูญเสีย เพราะทุกคนอาจจะไม่ได้กำไร ดังนั้น ผู้ค้าส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะ ฮั้วราคากัน หรือรวมกลุ่มแบ่งโควต้ากัน เพื่อให้เกิด Positive-Sum Games มากกว่าจะทำให้เกิด Negative-Sum Game หรือ Zero-Sum Game

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-09-2006, 10:42 โดย ธ.ส. » บันทึกการเข้า

ปีนี้เราจะได้ Triple Champ

คุณพนันกับผมไม๊ แต่ผมไม่พนันกับคุณนะ
Sweet Chin Music
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,613



« ตอบ #3 เมื่อ: 12-09-2006, 10:49 »

อืม ความรู้ใหม่เลยนะครับเนี่ย ขอบคุณทุกๆท่านที่ช่วยอธิบายให้เข้าใจครับ
บันทึกการเข้า


You'll Never Walk Alone
เข้าไปกันได้ค๊าป- - - >http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetchinmusic&group=1
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #4 เมื่อ: 12-09-2006, 11:12 »

 Zero Sum Game เกมนี้จะมีผู้ชนะคนเดียว ไม่ว่าจะมีผู้แข่งขันกี่คนก็ตาม
เป็น win-lose ออกแนวโหดเล็กน้อย เอ หรือ โหดที่สุดแล้วกันแน่ Lips are sealed
 ประมาณฆ่ามันให้หมดเรียบวุธ! เหลือกูเป็นผู้ชนะคนเดียว ....

เอามาใช้ ในหลักการตลาด แบบ นักฆ่าผู้ยิ่งใหญ่ ค่ะ ใครหลักไม่ดี สู้ไม่ได้ วางแผนมาไม่ล้ำลึกหลบไป.....

ไม่เอาดีกว่า ประกายดาวไม่ชอบทฤษฎีนี้ เอามากๆ...
ขำที่ว่า เคยได้ยินคำนี้ครั้งแรก ในสปีช ของ ดร มหาธี ...รีบไป ตามเสริ์ช มันอะไรเนี่ย....
ตอนนั้น ยังไม่ค่อยได้ยิน ...มาวันนี้อยากขำแต่ขำไม่ออก ที่ได้ยินจากปาก นายดร . ทักกี้
  Frown

ตรงนี้เอามาฝาก พี่ธส . แคนดิเดท ของเสรีไทย
http://www.goodmedia.co.th/thai/archive/mba/87jun06/cover_history_math.htm

พี่อาจจะอ่านแล้ว แต่ประกายดาวเพิ่งอ่าน ก็ สนุกดีค่ะ
บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 12-09-2006, 11:43 »

อืม.......... ฟังแล้ว ไม่ชอบเลยแฮะ รูปแบบนี้น่ะ

ผมชอบแบบ Win - Win - Win มากกว่านะ
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 12-09-2006, 11:44 »

ยืนตามความเห็นคุณคนในวงการค่ะ ถ้าอยู่ในวงไพ่ อาจจะเป็นตัวอย่างที่ดี คือ เล่นกันกี่คนก็ตาม เงินที่กองตรงกลาง ผลสรุปออกมา จะเท่ากับ 0 จะมีทั้งคนได้และคนเสีย หรือแม้แต่เสมอตัว เพราะฉะนั้นคนที่ได้ชื่อว่า ชนะในเกม ก็คือคนที่มีผลลัพธ์เป็นบวก ผู้แพ้คือ ผลลัพธ์เป็นลบ (มีได้มากกว่า 1 คนทั้งสองฝ่าย อาจจะเป็นเจ้ามือเจ๊งคนเดียว ที่เหลือกำไรหมดก็ได้ Mr. Green Mr. Green Mr. Green

แต่ในกรณีที่ยกตัวอย่างที่คุณทักษิณพูดว่า "เป็นปฏิบัติการแตกหัก เป็น Zero-sum game ที่ต้องฆ่ากัน" ตรงนี้ น่าจะหมายถึง ไม่เอ็งตาย ข้าก็ม้วย แอนคิดว่า ใช้คำนี้ เป็น Zero-sum game อาจจะไม่ค่อยตรงเท่าไหร่ แต่อย่างที่รู้ๆ กัน ว่าท่านผู้นำของเรา ภาษาปะกิต ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ เพราะงั้นก็อย่าไปฟังแกเพ้อเจ้อเลย  Mr. Green Mr. Green Mr. Green


ปล. มักจะมีบางคนว่า ในตลาดหุ้น เป็น Zero-sum game จริงๆ แล้วไม่ใช่นะคะ เพราะเกิดได้ทั้ง win-win หรือ lose-lose หรือ win-lose ได้ทั้งสามแบบ จขกท ถ้าอยากจะทราบแนะนำให้ศึกษาเรื่อง Game Theory สนุกนะเออ

วิกิพีเดีย สรุปสั้นๆ อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ Wink
http://en.wikipedia.org/wiki/Game_theory
http://en.wikipedia.org/wiki/Game_theory#Zero_sum_and_non-zero_sum
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-09-2006, 11:58 โดย แอ่นแอ๊น » บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #7 เมื่อ: 12-09-2006, 11:59 »

มายืนยัน ไปอีกแบบ (ให้มันยุ่งเข้าไปอีก)

ว่า

ใช้ได้หลายความหมาย แล้วแต่ context ครับ

โดยรากศัพท์/ที่มา Zero-sum game ก็อยู่ในความหมาย แบบที่คุณ คนในวงการ และ คุณแอน อธิบาย ครับ

แต่ส่วนใหญ่แล้ว Zero-sum game มักจะถูกนำมาใช้ในความหมายที่เป็น Technical Term อันเป็นที่รู้ว่าหมายถึงการ dag เรียบ คนเดียว ในแวดวงธุรกิจครับ
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #8 เมื่อ: 12-09-2006, 12:08 »

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมและช่วยกันขยายความ  Very Happy

ถามคุณ ประกายดาว หน่อยว่า คุณ ธ.ส. เป็นแคนดิเดท อะไรหรือคะ?
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #9 เมื่อ: 12-09-2006, 12:12 »

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมและช่วยกันขยายความ  Very Happy

ถามคุณ ประกายดาว หน่อยว่า คุณ ธ.ส. เป็นแคนดิเดท อะไรหรือคะ?

พี่เค้าเป็น  Senate Candidate ค่ะ Tongue out
ที่จริง เรื่อง คำ คำนี้

พี่เค้ารู้ดีที่สุด ประกายดาวว่านะ
บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
No_Tuky
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 296


« ตอบ #10 เมื่อ: 12-09-2006, 13:22 »

Zero sum game ของ A Tuky ก็คือ ตูต้องแด๊กสมบัติของชาติทุกอย่างให้เรียบ เงินตูใครอย่าแตะ พวกตูใึครห้ามแตะ ญาติตูต้องเป็นใหญ่ 555 Cool Cool Cool
บันทึกการเข้า
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 12-09-2006, 15:26 »

ไม่ต้องอื่นไกล

เอาแค่เศรษฐกิจไทยที่มันปั่น GDP ที่ผ่านมาที่มันบอก "เงินกำลังจะหมุนไป" ก็เป็นแค่ zero-sum game แถมยังติดลบอีกต่างหาก ก็คือเอาเงินมาปล่อยกู้(จริงๆคือแจก) ชาวบ้านใช้จ่ายเกิดเป็นตัวเลขบริโภคโตๆ แต่ทว่าเป็นแค่ผู้บริโภคชั่วครั้งชั่วคราว ในขณะที่สร้างผลผลิตที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงภายในตลาดไม่ได้ ธุรกิจก็อาจจะจ้างงานเพิ่มอยู่พักหนึ่ง มีการขยายงาน ดูเหมือนดี แต่มันมีส่วนที่เป็น "ตัวรั่ว" คือ วัตถุดิบ หรือสินค้าจะตอบสนองความต้องการของคน แต่ดันผลิตเองไม่ได้ ต้องสั่งเข้ามา ส่วนไอ้เหลี่ยมพอมันได้เงินเสร็จ ผลประกอบการดี ก็เอามาปั่นหุ้นในตลาดอีก ได้กำไรอีกต่อ หลงจ้งเสร็จก็ถ่ายโอนเอาไปเก็บเมืองนอก แย่กว่า zero-sum อีก ตอนนี้ถึงมีการปะๆชุนๆ งบปิดไม่ลง แล้วก็เอาเงินกองนั้นมาปะกองนี้ มั่วๆซั่วๆไปหมด เรียกว่า negative-sum game

แต่ถ้ากำจัดเหลี่ยมไปได้ ไม่ว่าจะทาง "ชีวภาพกายภาพ" หรือ ในทาง "รัฐศาสตร์" ตรงนี้จะทำให้เกิด positive-sum game แถมได้ surplus กลับคืนมาอีกในอนาคต

ถ้ามัวแต่กลัวโน่นกลัวนี่  นั่นก็ยั่วยุทั้ง 2 ฝ่าย นี่ก็ไม่เอา เกร็งจัดกลัวจะไม่อยู่ในกติกา ก็คง negative ไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้ประชาชน พุทธ มุสลิม ทหาร ตำรวจ ทางปักษ์ใต้ ก็ถูกระเบิด ถูกฆ๋าตายไปเรื่อยๆแบบนี้ คนกระโดดตึก แขวนคอ กินยาฆ่าตัวตาย เด็กเสียคน จากปัญหาวิกฤตหนี้ ปัญหาครอบครัว ได้คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้หรือไม่ว่าเวลานี้มันเป็น negative-sum game อยู่แล้ว หรือคุณอาจจะเคยชินกับความตายของพี่น้องภาคใต้ไปแล้วก็ได้ คนจนๆที่กำลังจมกองหนี้เผชิญปัญหาอยู่ หรือฆ่าตัวตายไปแล้ว เขาไม่มีโอกาสมาบ่นให้ฟัง คุณจึงคิดว่าขณะนี้ยัง zero-sum อยู่  ก็ negative ไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็เสียดินแดนไม่พอ ส่วนที่เหลือกลายเป็น FAILED STATE อีกต่างหาก เพราะแก้ไขอะไรไม่ทันแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12-09-2006, 15:30 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

ธ.ส.
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,086



« ตอบ #12 เมื่อ: 12-09-2006, 15:36 »

เอาง่ายๆเลยครับ สองพรรคใหญ่แข่งกันเสนอนโยบายประชานิยม แย่งความนิยมกัน มันเป็น Zero-Sum Game หรือ Negative-Sum Game ล่ะ ผมว่ามันเป็นอย่างหลังนะ เพราะสุดท้ายแล้ว ทุกคนจะรักษาสมดุลระหว่างคะแนนิยมกับทรัพยากรที่ต้องสูญเสียไปไม่ได้ มันเหมือนการใช้สงครามราคาน่ะแหล่ะ คุณได้ยอดขาย คุณได้ลูกค้า แต่สุดท้ายไม่ได้กำไรอะไร เพราะทุกคนแข่งกันลดกระหน่ำซัมเมอร์เซลกันหมด ไม่มีใครได้กำไรแถมคนที่ได้ลูกค้ามากที่สุดก็รักษาการผลิตของตัวเองไม่ได้ เพราะไม่มีกำไรแล้ว จะทำธุรกิจต่อได้ยังไง

ระวังไว้นะครับ ทั้งไทยรักไทยและประชาธิปัตย์ กำลังเล่น Negative-Sum Game นโยบายเจ๊งทั้งคู่ แต่ประชาชนอย่างพวกเราซวย
บันทึกการเข้า

ปีนี้เราจะได้ Triple Champ

คุณพนันกับผมไม๊ แต่ผมไม่พนันกับคุณนะ
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #13 เมื่อ: 12-09-2006, 22:57 »

คุณภาพของนายกทักษิณอยู่ตรงนี้ แม้คำพูดยังแฝงความรู้ให้ศึกษา

Senate Candidate แปลว่า รอกกต.ใหม่สอยเหรอครับ หรือว่ารอดแล้ว
บันทึกการเข้า
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 13-09-2006, 00:38 »

Zero Sum Game เป็นหนึ่งในทฤษฏีย่อยของทฤษฏีเกมส์  ในทฤษฏีเกมส์นี้ยังมีทฤษฎีย่อยอื่น ๆ อีก เช่น ทฤษฏี "เกมส์ตาขาว" หรือ Chicken Game ตัวอย่างคือ คน 2 คนขับรถบนถนนเลนเดียวเข้าหากัน จะต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะ

ผู้แพ้คือคนที่ตาขาว หักรถหลบก็ตกถนนไป คนที่ใจกล้าก็คือคนที่ไม่หักหลบ แต่เกมส์ตาขาว ก็ยังมีผลลัพท์ได้อีกแบบคือ แพ้ทั้งคู่ เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่าย ไม่หักหลบ ก็ชนกันยับกลางถนน

ในทฤษฏีเกมส์ หรือ Game Theories มันแตกเป็นหลายทฤษฏีย่อย เป็นหนึ่งในทฤษฏีที่สอนกันในหลักสูตรด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต่อมาก็ถูกประยุกต์มาใช้ในการบริหารธุรกิจ มันก็ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย แต่ถ้าคนชั่วนำไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว เราจะเรียกว่าทฤษฏีโกง

 
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 13-09-2006, 02:24 »

คุณภาพของนายกทักษิณอยู่ตรงนี้ แม้คำพูดยังแฝงความรู้ให้ศึกษา

Senate Candidate แปลว่า รอกกต.ใหม่สอยเหรอครับ หรือว่ารอดแล้ว

เสียดายข้าวเย็นว้อย   Yell
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 13-09-2006, 12:23 »

ทฤษฎีเกมส์มีการประยุกต์อยู่ในหลายๆ ศาสตร์ค่ะ ภาพยนตร์ที่เคยมีประวัติของนักคิดก็เรื่อง Beautiful Mind ซึ่งเป็นประวัติของนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ จอห์น เอฟ. แนช (John F. Nash) ซึ่งมีโรคประจำตัวคือโรคจิตเภท ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์อีกสองท่าน



ส่วนเรื่องนักคณิตศาสตร์ที่เอามาประยุกต์ใช้ในการหาพฤติกรรมของผู้ร้ายในซีรี่ส์ เรื่อง Numbers ได้ใช้ทฤษฎีนี้ด้วยหรือเปล่า แต่ชอบดูมากเหมือนกัน

บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
ธ.ส.
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,086



« ตอบ #17 เมื่อ: 13-09-2006, 12:29 »

คุณแอ่นแอ๊นครับ จอห์น ฟอร์บ แนช เป็นนักคณิตศาสตร์ครับ ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ ได้ Ph.D. ทางด้านคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัย ปรินซ์ตัน
บันทึกการเข้า

ปีนี้เราจะได้ Triple Champ

คุณพนันกับผมไม๊ แต่ผมไม่พนันกับคุณนะ
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #18 เมื่อ: 13-09-2006, 12:42 »

web site ของเรื่อง numb3rs => สะกดประหลาดแบบนี้เพื่อความเท่  Laughing
ออกอากาศที่อเมริกาทางช่อง CBS

http://www.cbs.com/primetime/numb3rs/

ส่วนที่ประเทศไทยออกช่อง UBC 19 AXN
ช่องเดียวกะ CSI, Alias, House, The Amazing Race, etc.
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ธ.ส.
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,086



« ตอบ #19 เมื่อ: 13-09-2006, 12:55 »

คณิตศาสตร์ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แต่คณิตศาสตร์คือภาษาในการอธิบายทฤษฎีทางวิทยาสาสตร์ คณิตศาสตร์จึงมีหน้าที่ในการ พรรณนา อรรถาธิบาย เปรียบเทียบ และพยากรณ์ ปรากฏการณ์ในวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆเหล่านั้น คณิตศาสตร์จึงอาจเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของมวลมนุษยชาติ
บันทึกการเข้า

ปีนี้เราจะได้ Triple Champ

คุณพนันกับผมไม๊ แต่ผมไม่พนันกับคุณนะ
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 13-09-2006, 13:25 »

แอนลอกมาจากเวปวิชาการค่ะ ถึงรู้ว่าผิดก็ไม่กล้าแก้ ต้องให้เจ้าตัวเค้ามาแก้เอง
http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=365&page=1

"จนอีก 50 ปีต่อมา (ปี 1994) ทฤษฎีเกมมาโด่งดังอีกครั้ง เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ และเป็นศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ จอห์น เอฟ. แนช (John F. Nash) ซึ่งมีโรคประจำตัวคือโรคจิตเภท ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์อีกสองท่าน ในด้านทฤษฎีเกี่ยวกับ Non-Cooperative Games ซึ่งหลายท่านอาจจะเคยได้ชมภาพยนต์เรื่อง Beautiful Mind กันมาแล้ว ซึ่งเป็นภาพยนต์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ จอห์น เอฟ. แนช ดังกล่าว"

หนังเรื่องนี้ได้ดูค่ะ เห็นแล้วก็เสียดายความเก่ง


อันนี้เอามาจาก วิกิพีเดีย

In addition to its academic interest, game theory has received attention in popular culture. A Nobel Prize-winning game theorist, John Nash was the subject of the 1998 biography by Sylvia Nasar and the 2001 film A Beautiful Mind. Game theory was also a theme in the 1983 film WarGames. Several game shows have adopted game theoretic situations, including Friend or Foe? and to some extent Survivor. The character Jack Bristow on the television show Alias is one of the few fictional game theorists in popular culture. [1]


และ

John Forbes Nash Jr.


John Nash in 2003.

Born June 13, 1928
Bluefield, West Virginia, USA
Residence USA
Nationality US
Field Mathematician
Institution Princeton University
Alma Mater Carnegie Institute of Technology, Princeton University
Doctoral Advisor Albert W. Tucker
Known for Nash equilibrium, algebraic geometry
Prizes John Von Neumann Theory Prize (1978), Nobel Prize (1994), Leroy P Steele Prize (1999)
Spouse Alicia Lopez-Harrison de Lardé, Eleanor Stier
Children John Charles Martin, John David


John Forbes Nash, Jr. (born June 13, 1928) is an American mathematician who works in game theory and differential geometry. He shared the 1994 Bank of Sweden Prize in Economic Sciences (also called the Nobel Prize in Economics) with two other game theorists, Reinhard Selten and John Harsanyi. He is best known in popular culture as the subject of the Hollywood movie, A Beautiful Mind, about his mathematical genius and his struggles with the paranoid type of schizophrenia.

มาช่วยยืนยันค่ะว่า คณิตศาสตร์เป็นภาษาค่ะ เป็นภาษาแห่งจักรวาล

NUMB3RS - WE ALL USE MATH EVERYDAY -
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 13-09-2006, 15:56 »

ชอบกระทู้นี้ครับ
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
Hyper
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


เหล้าแรง ขวดแทบแตก - จงอาง กับ ชาวสวน


« ตอบ #22 เมื่อ: 13-09-2006, 17:06 »

ต้องขอขอบคุณ ..คุณ แอ่นแอ๊น คุณ Snowflake และคุณ ธส. กำลังช่วยกันสาธิต แสดงตัวอย่าง
ของ Zero Summary ...Game  ให้พวกเราได้ดูกัน..

10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น
10 ตาเห็นไม่เท่ามือคลำ
10 มือคลำไม่เท่าทำเอง

อธิบายไปไม่เท่า สาธิต การกระทำ

เกมส์ ที่แพ้ไม่ได้ มีแต่ตายกะเจ๊ง แบบนี้แหละคับ  Shocked
Zero Sum Game ขนานแท้

 Laughing Mad Razz Mr. Green Laughing Laughing Innocent
บันทึกการเข้า

คิดน้อย=โง่มาก
คิดมาก=ฟุ้งซ่าน
เลือดพล่าน=ไร้สติ
ปากดี=ใจเท่ามด
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #23 เมื่อ: 13-09-2006, 17:11 »

ลืมขอบคุณนายกทักษิณด้วยหรือเปล่าที่ช่วยเปิดประเด็น
บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #24 เมื่อ: 13-09-2006, 17:24 »

ลืมขอบคุณนายกทักษิณด้วยหรือเปล่าที่ช่วยเปิดประเด็น

 Mr. Green Mr. Green Mr. Green Mr. Green Mr. Green

แหม ยังงี้รักตายเลย จะเอาหุ้นกี่ล้านหุ้นดี เดี๋ยวจะเอาเอกสารมาให้เซ็นรับ

แต่ผมว่า ท่านพูดว่า

Zero-DUMB Game

เกมที่ท่านถนัดมากกว่านา นักข่าวฟังผิดเอง  Mr. Green Mr. Green
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 13-09-2006, 18:34 »

เคยเห็นในทีวี เล่นโป๊กเกอร์ ใครแพ้ แก้ผ้าอะครับ อิ อิ
บันทึกการเข้า

my sweetheart
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61



« ตอบ #26 เมื่อ: 13-09-2006, 21:23 »




John F. Nash Jr. http://nobelprize.org/nobel_prizes/economics/laureates/1994/nash-autobio.html
The Sveriges Riksbank Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel 1994
Autobiography
 My beginning as a legally recognized individual occurred on June 13, 1928 in Bluefield, West Virginia, in the Bluefield Sanitarium, a hospital that no longer exists. Of course I can't consciously remember anything from the first two or three years of my life after birth. (And, also, one suspects, psychologically, that the earliest memories have become "memories of memories" and are comparable to traditional folk tales passed on by tellers and listeners from generation to generation.) But facts are available when direct memory fails for many circumstances.

My father, for whom I was named, was an electrical engineer and had come to Bluefield to work for the electrical utility company there which was and is the Appalachian Electric Power Company. He was a veteran of WW1 and had served in France as a lieutenant in the supply services and consequently had not been in actual front lines combat in the war. He was originally from Texas and had obtained his B.S. degree in electrical engineering from Texas Agricultural and Mechanical (Texas A. and M.).

My mother, originally Margaret Virginia Martin, but called Virginia, was herself also born in Bluefield. She had studied at West Virginia University and was a school teacher before her marriage, teaching English and sometimes Latin. But my mother's later life was considerably affected by a partial loss of hearing resulting from a scarlet fever infection that came at the time when she was a student at WVU.

Her parents had come as a couple to Bluefield from their original homes in western North Carolina. Her father, Dr. James Everett Martin, had prepared as a physician at the University of Maryland in Baltimore and came to Bluefield, which was then expanding rapidly in population, to start up his practice. But in his later years Dr. Martin became more of a real estate investor and left actual medical practice. I never saw my grandfather because he had died before I was born but I have good memories of my grandmother and of how she could play the piano at the old house which was located rather centrally in Bluefield.

A sister, Martha, was born about two and a half years later than me on November 16, 1930.

I went to the standard schools in Bluefield but also to a kindergarten before starting in the elementary school level. And my parents provided an encyclopedia, Compton's Pictured Encyclopedia, that I learned a lot from by reading it as a child. And also there were other books available from either our house or the house of the grandparents that were of educational value.

Bluefield, a small city in a comparatively remote geographical location in the Appalachians, was not a community of scholars or of high technology. It was a center of businessmen, lawyers, etc. that owed its existence to the railroad and the rich nearby coal fields of West Virginia and western Virginia. So, from the intellectual viewpoint, it offered the sort of challenge that one had to learn from the world's knowledge rather than from the knowledge of the immediate community.

By the time I was a student in high school I was reading the classic "Men of Mathematics" by E.T. Bell and I remember succeeding in proving the classic Fermat theorem about an integer multiplied by itself p times where p is a prime.

I also did electrical and chemistry experiments at that time. At first, when asked in school to prepare an essay about my career, I prepared one about a career as an electrical engineer like my father. Later, when I actually entered Carnegie Tech. in Pittsburgh I entered as a student with the major of chemical engineering.

Regarding the circumstances of my studies at Carnegie (now Carnegie Mellon U.), I was lucky to be there on a full scholarship, called the George Westinghouse Scholarship. But after one semester as a chem. eng. student I reacted negatively to the regimentation of courses such as mechanical drawing and shifted to chemistry instead. But again, after continuing in chemistry for a while I encountered difficulties with quantitative analysis where it was not a matter of how well one could think and understand or learn facts but of how well one could handle a pipette and perform a titration in the laboratory. Also the mathematics faculty were encouraging me to shift into mathematics as my major and explaining to me that it was not almost impossible to make a good career in America as a mathematician. So I shifted again and became officially a student of mathematics. And in the end I had learned and progressed so much in mathematics that they gave me an M. S. in addition to my B. S. when I graduated.

I should mention that during my last year in the Bluefield schools that my parents had arranged for me to take supplementary math. courses at Bluefield College, which was then a 2-year institution operated by Southern Baptists. I didn't get official advanced standing at Carnegie because of my extra studies but I had advanced knowledge and ability and didn't need to learn much from the first math. courses at Carnegie.

When I graduated I remember that I had been offered fellowships to enter as a graduate student at either Harvard or Princeton. But the Princeton fellowship was somewhat more generous since I had not actually won the Putnam competition and also Princeton seemed more interested in getting me to come there. Prof. A.W. Tucker wrote a letter to me encouraging me to come to Princeton and from the family point of view it seemed attractive that geographically Princeton was much nearer to Bluefield. Thus Princeton became the choice for my graduate study location.

But while I was still at Carnegie I took one elective course in "International Economics" and as a result of that exposure to economic ideas and problems, arrived at the idea that led to the paper "The Bargaining Problem" which was later published in Econometrical. And it was this idea which in turn, when I was a graduate student at Princeton, led to my interest in the game theory studies there which had been stimulated by the work of von Neumann and Morgenstern.

As a graduate student I studied mathematics fairly broadly and I was fortunate enough, besides developing the idea which led to "Non-Cooperative Games", also to make a nice discovery relating to manifolds and real algebraic varieties. So I was prepared actually for the possibility that the game theory work would not be regarded as acceptable as a thesis in the mathematics department and then that I could realize the objective of a Ph.D. thesis with the other results.

But in the event the game theory ideas, which deviated somewhat from the "line" (as if of "political party lines") of von Neumann and Morgenstern's book, were accepted as a thesis for a mathematics Ph.D. and it was later, while I was an instructor at M.I.T., that I wrote up Real Algebraic Manifolds and sent it in for publication.

I went to M.I.T. in the summer of 1951 as a "C.L.E. Moore Instructor". I had been an instructor at Princeton for one year after obtaining my degree in 1950. It seemed desirable more for personal and social reasons than academic ones to accept the higher-paying instructorship at M.I.T.

I was on the mathematics faculty at M.I.T. from 1951 through until I resigned in the spring of 1959. During academic 1956 - 1957 I had an Alfred P. Sloan grant and chose to spend the year as a (temporary) member of the Institute for Advanced Study in Princeton.

During this period of time I managed to solve a classical unsolved problem relating to differential geometry which was also of some interest in relation to the geometric questions arising in general relativity. This was the problem to prove the isometric embeddability of abstract Riemannian manifolds in flat (or "Euclidean") spaces. But this problem, although classical, was not much talked about as an outstanding problem. It was not like, for example, the 4-color conjecture.

So as it happened, as soon as I heard in conversation at M.I.T. about the question of the embeddability being open I began to study it. The first break led to a curious result about the embeddability being realizable in surprisingly low-dimensional ambient spaces provided that one would accept that the embedding would have only limited smoothness. And later, with "heavy analysis", the problem was solved in terms of embeddings with a more proper degree of smoothness.

While I was on my "Sloan sabbatical" at the IAS in Princeton I studied another problem involving partial differential equations which I had learned of as a problem that was unsolved beyond the case of 2 dimensions. Here, although I did succeed in solving the problem, I ran into some bad luck since, without my being sufficiently informed on what other people were doing in the area, it happened that I was working in parallel with Ennio de Giorgi of Pisa, Italy. And de Giorgi was first actually to achieve the ascent of the summit (of the figuratively described problem) at least for the particularly interesting case of "elliptic equations".

It seems conceivable that if either de Giorgi or Nash had failed in the attack on this problem (of a priori estimates of Holder continuity) then that the lone climber reaching the peak would have been recognized with mathematics' Fields medal (which has traditionally been restricted to persons less than 40 years old).

Now I must arrive at the time of my change from scientific rationality of thinking into the delusional thinking characteristic of persons who are psychiatrically diagnosed as "schizophrenic" or "paranoid schizophrenic". But I will not really attempt to describe this long period of time but rather avoid embarrassment by simply omitting to give the details of truly personal type.

While I was on the academic sabbatical of 1956-1957 I also entered into marriage. Alicia had graduated as a physics major from M.I.T. where we had met and she had a job in the New York City area in 1956-1957. She had been born in El Salvador but came at an early age to the U.S. and she and her parents had long been U.S. citizens, her father being an M. D. and ultimately employed at a hospital operated by the federal government in Maryland.

The mental disturbances originated in the early months of 1959 at a time when Alicia happened to be pregnant. And as a consequence I resigned my position as a faculty member at M.I.T. and, ultimately, after spending 50 days under "observation" at the McLean Hospital, travelled to Europe and attempted to gain status there as a refugee.

I later spent times of the order of five to eight months in hospitals in New Jersey, always on an involuntary basis and always attempting a legal argument for release.

And it did happen that when I had been long enough hospitalized that I would finally renounce my delusional hypotheses and revert to thinking of myself as a human of more conventional circumstances and return to mathematical research. In these interludes of, as it were, enforced rationality, I did succeed in doing some respectable mathematical research. Thus there came about the research for "Le Probleme de Cauchy pour les E'quations Differentielles d'un Fluide Generale"; the idea that Prof. Hironaka called "the Nash blowing-up transformation"; and those of "Arc Structure of Singularities" and "Analyticity of Solutions of Implicit Function Problems with Analytic Data".

But after my return to the dream-like delusional hypotheses in the later 60's I became a person of delusionally influenced thinking but of relatively moderate behavior and thus tended to avoid hospitalization and the direct attention of psychiatrists.

Thus further time passed. Then gradually I began to intellectually reject some of the delusionally influenced lines of thinking which had been characteristic of my orientation. This began, most recognizably, with the rejection of politically-oriented thinking as essentially a hopeless waste of intellectual effort.

So at the present time I seem to be thinking rationally again in the style that is characteristic of scientists. However this is not entirely a matter of joy as if someone returned from physical disability to good physical health. One aspect of this is that rationality of thought imposes a limit on a person's concept of his relation to the cosmos. For example, a non-Zoroastrian could think of Zarathustra as simply a madman who led millions of naive followers to adopt a cult of ritual fire worship. But without his "madness" Zarathustra would necessarily have been only another of the millions or billions of human individuals who have lived and then been forgotten.

Statistically, it would seem improbable that any mathematician or scientist, at the age of 66, would be able through continued research efforts, to add much to his or her previous achievements. However I am still making the effort and it is conceivable that with the gap period of about 25 years of partially deluded thinking providing a sort of vacation my situation may be atypical. Thus I have hopes of being able to achieve something of value through my current studies or with any new ideas that come in the future.

From Les Prix Nobel. The Nobel Prizes 1994, Editor Tore Frängsmyr, [Nobel Foundation], Stockholm, 1995

This autobiography/biography was written at the time of the award and later published in the book series Les Prix Nobel/Nobel Lectures. The information is sometimes updated with an addendum submitted by the Laureate. To cite this document, always state the source as shown above.


....................................

 

Copyright © The Nobel Foundation 1994  Printer Friendly  Comments & Questions
 Tell a Friend The 1994 Prize in:
PhysicsChemistryMedicineLiteraturePeaceEconomics Prev. year Next year
The Sveriges Riksbank Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel 1994Press Release
Presentation Speech
John C. HarsanyiAutobiography
Prize Lecture
Banquet Speech
John F. Nash Jr.Autobiography
Prize Seminar
Interview
Other Resources
Reinhard SeltenAutobiography
Prize Lecture
Interview
Other Resources
 
Only 33 out of 758 are women!
 
Who can nominate for a Nobel Prize?
 
"War leaves no victors, only victims."

The Official Web Site of the Nobel FoundationCopyright © Nobel Web AB 2006
บันทึกการเข้า
my sweetheart
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61



« ตอบ #27 เมื่อ: 13-09-2006, 21:29 »


พิจารณาจากชื่อ ก็เป็นเกม เดิมพันแบบมีคนได้และเสีย เป็นวิธีคิดแบบระบบปิด ไม่สร้างสรรค์ เพราะไม่มีมูลค่าเพิ่ม

เหมือนแนวคิดของพวกพ่อค้าคนกลาง ทั่วๆไป คือกินค่านายหน้าหัวคิว  Mr. Green
บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #28 เมื่อ: 13-09-2006, 21:35 »

เคยเห็นในทีวี เล่นโป๊กเกอร์ ใครแพ้ แก้ผ้าอะครับ อิ อิ

ทีวีช่องไหนลุง จะได้แจ้งเจ๊เบียบให้ตามไปดู  Mr. Green
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
ศก
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 244



« ตอบ #29 เมื่อ: 13-09-2006, 23:22 »

Situation or interaction in which one participant's gains result only from another's equivalent losses.
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 16-09-2006, 03:27 »

อะไรคือ Zero-sum game

เมื่อวันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวตอนหนึ่งว่า การใช้วิธีลอบสังหารตัวเขาเองด้วยคาร์บอมบ์ เป็นปฏิบัติการขั้นแตกหัก เป็น Zero-sum game ที่ต้องฆ่ากัน

คำว่า Zero-sum game เราได้จะยินกันบ่อยๆ โดยเฉพาะในแวดวงการทำธุรกิจ

เมื่อลองพลิกดูความหมายในดิกชันนารี ให้ความหมายของ Zero-sum game ไว้ว่า หมายถึงสถานการณ์ที่สองฝ่ายแข่งขันกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อฝ่ายหนึ่งชนะ อีกฝ่ายก็จะสูญเสีย หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อเราเป็นฝ่ายได้ อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายเสีย โดยสิ่งสำคัญคือจำนวน (เงินหรือผลประโยชน์) ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับนั้นจะเทียบเท่ากับจำนวนที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องสูญเสียไป (อาจจะไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่าเป็นชัยชนะบนความสูญเสียของคนอื่น)

ยกตัวอย่างเช่น *Television has become a zero-sum game,with networks gaining audience only at each other"s expense (กิจการโทรทัศน์ได้กลายเป็น zero-sum game โดยสถานีหนึ่งแย่งผู้ชมมาจากอีกสถานีหนึ่ง)

หรือ Diplomatic negotiations often aim at a zero-sum game (การเจรจาทางการทูตมักมุ่งเป้าหมายไปที่การได้รับกลับมาเท่ากับที่ได้สูญเสียไป)



สรุปคงคล้าย ๆ แย่งเค็กหรือสัดส่วนทางการค้า คนหนึ่งได้มา อีกคนต้องเสียไปเพราะตลาดมีจำกัด

ถ้ามองแบบทักษิณ คงคิดทำนองว่า หากจะเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง ต้องกำจัดอีกฝ่ายให้ล้มหายตายจาก ( ซึ่งคิดว่า ทักษิณคิดเอาเองมากกว่า )

ในความเป็นจริงที่เป็นอยู่ มันคือการแย่งชิงคะแนนนิยมของประชาชน เพราะผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งมีจำกัด หากทำให้ประชาชนเข้าใจปัญหาของประเทศมากขึ้น ก็เท่ากับกำจัดทักษิณลงไปอยู่แล้ว

ไม่เห็นจำเป็นต้องฆ่าแกงกัน เพราะฝ่ายต่อต้านยืนยันมาตลอดจะใช้สันติวิธีและต้องถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น


ความรู้สึกทักษิณตอนนี้ผมว่า...วัวสันหลังหวะมากกว่าอย่างอื่น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-09-2006, 03:38 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #31 เมื่อ: 25-10-2006, 18:39 »

มองมุมใหม่: ทฤษฎีเกมแห่งอำนาจ

1 สิงหาคม 2549 16:37 น.

ชำนาญ จันทร์เรือง

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) กล่าวว่า "การเมือง เป็นเรื่องของการได้มาซึ่ง
อำนาจ เพื่อที่จะตัดสินว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" ซึ่ง "อำนาจ" ในที่นี้
หมายถึง พลังอะไรบางอย่างที่จะสามารถบังคับให้คนหรือกลุ่มบุคคลที่มีพลังน้อยกว่า
กระทำตามที่ตนต้องการ
ฉะนั้น อำนาจจึงเป็นสิ่งที่หอมหวนและน่าพิสมัยเป็นยิ่งนัก
บางรายถึงกับเสพติดจนไม่ลืมหูลืมตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองหรือข้าราชการ
ระดับสูงทั้งหลาย

เกม (games) หมายถึง สถานการณ์ที่มีการแข่งขันหรือการขัดแย้งระหว่างฝ่ายตั้งแต่
2 ฝ่ายขึ้นไป ที่ใช้กันมากได้แก่ เกมในการกีฬา ส่วนในการเมืองก็เช่นเดียวกันมีสถาน-
การณ์แห่งการขัดแย้งและการแข่งขันคล้ายๆ กับเกมในการกีฬา ผู้ที่เข้าเล่นแต่ละฝ่าย
ต่างก็ต้องศึกษาถึงกฎเกณฑ์กติกาของการเล่น โดยพยายามคาดคะเนล่วงหน้าถึงวิธี
การเล่นของฝ่ายอื่นๆ หากมีการละเมิดกติกาก็จะต้องมีผู้เข้ามาตัดสิน

จริงๆ แล้ว ทฤษฎีเกมนี้เริ่มนำมาเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1928 โดยนักคณิตศาสตร์ชื่อ จอห์น
ฟอน นิวแมน (John Von Newmann) ที่นำมาอธิบายเรื่องการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจ
จนทำให้เขาได้รับสมญานามว่าเป็นบิดาของทฤษฎีเกม โดยทฤษฎีเกมนี้จะเป็นการ
ศึกษากระบวนการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่ขัดแย้งกัน (conflict situations)

ทฤษฎีคณิตศาสตร์ของนิวแมนนี้เรียกว่า "minimax" มีหลักว่า ผู้แข่งขันควรวิเคราะห์
ความเคลื่อนไหวก้าวต่อไปของตนในทุกๆ ความเป็นไปได้ เพื่อคำนวณว่า ความเคลื่อน-
ไหวใดที่อาจเปิดโอกาสให้คู่แข่งขันสามารถสร้างความสูญเสียให้แก่เราได้มากที่สุด
ด้วยความคิดแบบนี้ กลยุทธ์ที่ดีที่สุดก็คือเราจะต้องเลือกการเคลื่อนไหวที่ "จะก่อความ
สูญเสียสูงสุดน้อยที่สุด" (minimum maximum possible loss) เพราะหากเราจะต้อง
แพ้ก็จะได้ไม่เจ็บปวดมากนัก

เมื่อทฤษฎีเกมของนิวแมนรวมเข้ากับความคิดของออสการ์ มอร์เกนสะเติร์น (Oskar
Morgenstern) จึงเกิด "Theory of Games and Economic Behavior" ขึ้น โดย
ถูกนำไปใช้ในศาสตร์ต่างๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมือง การ
ทหาร ฯลฯ ในด้านการเมืองนั้นก็มีการนำไปใช้ในการศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง
การแย่งชิงอำนาจทางการเมือง การแย่งชิงตำแหน่งในหน่วยงาน ฯลฯ

เราสามารถแบ่งเกมออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

1) เกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ (zero-sum games) เป็นเกมที่ผลรวมผลได้ของผู้ชนะมีค่า
เท่ากับผลรวมความเสียหายที่ผู้แพ้ได้รับ และที่หนักที่สุดคือผู้ชนะได้หมดที่เราเรียกว่า
"The winner take all" ซึ่งผู้เสียจะสูญเสียไปทั้งหมด เกมชนิดนี้จึงเป็นเกมที่ต้องต่อสู้
กันอย่างถึงพริกถึงขิง แพ้ไม่ได้เพราะถ้าแพ้ก็อาจหมดตัวไปเลย

2) เกมที่มีผลรวมไม่เป็นศูนย์ (nonzero-sum games) เป็นเกมที่มีกลยุทธ์ที่ผลได้ของ
ผู้ชนะมีค่าไม่เท่ากับความเสียหายที่ผู้แพ้ได้รับ ในเกมชนิดนี้ผู้แข่งขันทุกคนอาจเป็นผู้ชนะ
(win-win) หรือในทำนองกลับกันก็อาจจะเป็นผู้แพ้ (loss-loss) ทั้งหมดก็ได้

จากที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อนำมาวิเคราะห์กับสถานการณ์บ้านเมืองของไทยเรา ในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าเป็นการเล่นเกมแห่งอำนาจอย่างชัดเจน โดยมีผู้เล่นอยู่หลายๆ ฝ่าย ซึ่งสามารถ
แบ่งออกได้เป็น 3 ฝ่าย ใหญ่ๆ คือ

1) ฝ่ายเชียร์ทักษิณ และต้องการให้ทักษิณเป็นนายกฯ

2) ฝ่ายไม่เอาทักษิณ และต้องการคนกลางเป็นนายกฯ

3) ฝ่ายไม่เอาทักษิณ แต่ไม่ต้องการคนกลางเป็นนายกฯ

ฝ่ายแรกคือฝ่ายที่เชียร์คุณทักษิณ ซึ่งก็แน่นอนว่าคือฝ่ายที่ชื่นชอบในฝีไม้ลายมือของคุณ
ทักษิณและในที่นี้หมายความรวมถึงผู้ที่ชื่นชอบพรรคไทยรักไทยด้วย โดยอนุมานเอาว่า
16 ล้านเสียงที่ลงคะแนนให้การเลือกตั้งคราวที่ผ่านมา อยู่ฝ่ายแรกนี้

ฝ่ายที่สองก็หมายถึงฝ่ายพันธมิตร รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ (ในคราวที่เรียกร้อง
มาตรา 7) โดยมองว่าคุณทักษิณคือเป้าหมายอันดับแรกสุดที่จะต้องถูกกำจัดให้
ออกจากเวทีการเมืองไทย เพราะเห็นว่าเป็นภัยร้ายแรงต่อชาติ จึงเลือกเอาวิถีทาง
ที่คิดว่าอาจไม่เป็นประชาธิปไตย นักแต่เมื่อเทียบความเสียหายแล้ว ถ้าให้คุณทักษิณ
อยู่ต่อไปจะเสียหายมากกว่า จึงมีการเรียกร้องให้คุณทักษิณลาออกหรือเว้นวรรคอยู่
อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ฝ่ายที่สามนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฝ่ายนักวิชาการหัวก้าวหน้า ที่เห็นว่า ทั้งฝ่ายแรกและ
ฝ่ายที่สองล้วนแล้วแต่เป็นภัยต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระยะยาว แต่ฝ่าย
ที่สามนี้ก็ถูกตอบโต้ว่าเป็น "กระฎุมพีบนหอคอย" เช่นกัน ซึ่งฝ่ายที่สองกับฝ่ายที่สามนั้น
ตอนแรกๆ ดูเหมือนว่าจะพอไปกันได้ แต่ในที่สุด ก็มีการแตกขั้วกันออกมาอย่างชัดเจน

แต่เมื่อเรานำทฤษฎีเกมเข้ามาวิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ว่า "เป็นเกมแห่งการแย่งชิงและ
รักษาอำนาจ" ดีๆ นี่เอง แต่ว่าเกมแห่งอำนาจของการเมืองไทยนี้มีปัจจัยที่จะต้องนำมา
ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อประกอบในกลยุทธ์ที่จะใช้ต่อสู้เพื่อแย่งชิงและรักษาอำนาจที่ว่า
นั้นมีปัจจัยแตกต่างและมากกว่าบ้านเมืองอื่นพอสมควร

ที่ว่าแตกต่างจากบ้านเมืองอื่นก็คือโดยปกติแล้วการตัดสินเกมแห่งอำนาจ เพื่อชัยชนะ
ทางการเมืองในบรรดาประเทศประชาธิปไตยทั่วๆ ไปแล้ว ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาดก็คือ
ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ผู้ที่ทำหน้าที่คอยตรวจสอบและรักษากติกา ก็คือองค์กรที่จัด
การเลือกตั้งและองค์กรตุลาการที่พิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่มีปัญหาในด้านความชอบ
ด้วยกฎหมายเกิดขึ้น

แต่ของไทยเรานอกเหนือจากปัจจัยที่ว่ามานี้แล้วยังมีปัจจัยอื่นที่จะต้องนำมาพิจารณา
อีก อาทิ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังพรรคการเมือง กลุ่มอำมาตยาธิปไตย
กลุ่มพลังอำนาจทั้งในระบบและนอกระบบ ตลอดจนผู้คนที่ประชาชนให้ความเคารพ
นับถือในสังคม ฯลฯ

ฉะนั้น ทฤษฎีเกมแห่งอำนาจที่จะใช้อธิบายการต่อสู้แย่งชิงอำนาจในวิกฤตการณ์ของ
การเมืองไทยในคราวนี้ จึงอธิบายได้ว่า มิใช่เป็นเพียงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่าง
กลุ่มของพรรคการเมืองเท่านั้น ผลของการแพ้ชนะในการต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้ จึง
มิใช่ zero-sum games หรือ the winner take all แต่จะเป็น nonzero-sum games
เพราะจวบจนถึงปัจจุบันนี้ยังมองไม่เห็นว่าใครจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากชัยชนะในการ
ต่อสู้ในครั้งนี้ มีแต่มองเห็นความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทุกฝ่ายจนบางคนต้องติดคุกติด
ตารางสังเวยเกมแห่งอำนาจนี้

ที่สำคัญก็คือประเทศชาติซึ่งเปรียบเสมือนเวทีของการเล่นเกมแห่งอำนาจนี้ต้องพลอย
ได้รับผลแห่งความเสียหายอย่างมิอาจประเมินได้เพราะเหตุแห่งการที่ผู้เล่นเกมหวังมุ่งแต่
เพียงชัยชนะโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่ตามมานั่นเอง

http://www.bangkokbiznews.com/2006/08/02/w017_125174.php?news_id=125174

ย้อนยุคหน่อย เอาอย่าง ครม. คุณตาคุณยาย
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
หน้า: [1]
    กระโดดไป: