ระพี สาคริก วิพากษ์ "พืชสวนโลก 3 พันล้าน"
สัมภาษณ์หลังจาก คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกมาปฏิเสธว่า ศ. ระพี สาคริก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ใดๆ กับงานพืชสวนโลกที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 2549-31 ม.ค. 2550
กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา "ศ. ระพี สาคริก" ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชพันธุ์ระดับโลก ซึ่งเคยเดินทางไป
ร่วมงานพืชสวนโลกมาแล้วทั่วโลก ทั้งยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น แอฟริกา ได้เปิดใจกับ "ประชาชาติ
ธุรกิจ" ถึงสิ่งที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับมหกรรมพืชสวนโลก พร้อมวิเคราะห์เปรียบการจัดงานพืชสวน
โลกในประเทศไทยกับต่างประเทศอย่างผู้รู้จริง
- ทำไมอยู่ๆ ถึงออกมาให้ข้อมูลเรื่องความไม่โปร่งใสการจัดงานพืชสวนโลก จริงๆ แล้วผมพูดเรื่องนี้มาเป็นปี ลูกศิษย์จะได้ยิน ยิ่งพองานใกล้เข้ามา คนมาทักผม พืชสวนโลก
เป็นอย่างไร ผมก็สะดุด ทำไมมามองที่ผม ถ้างานนี้เกิดเป็นอะไรขึ้นมา ผมก็แย่นะสิ ก็เลยเคลียร์
เสียก่อน
ตรงนี้แหละที่เห็นว่าถ้าเกิดความเสียหายกับงานนี้ขึ้น สุดท้ายก็ไม่พ้นถูกป้ายว่าผมเป็นคนทำ
เสียหาย
ผมก็ส่งหนังสือไปที่กระทรวงเกษตรฯ มีหลายคนมาหว่านล้อม ถ้าบอกว่าผมไม่เกี่ยว เมื่อเดือน
เมษายนที่นายกสมาคมพืชสวนโลกระหว่างประเทศมาตรวจงาน ใครเป็นคนจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน
ค่าโรงแรมให้ จริงๆ แล้วงานนี้จะต้องมีระดับรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงไปต้อนรับ เพราะนายก-
สมาคมพืชสวนโลกก็เสมือนทูตระหว่างประเทศ แต่รัฐบาลส่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรไป
ต้อนรับ นี่คือจุดอ่อนอีกจุดหนึ่ง
ในวันนั้นผมได้พูดในที่ประชุม 2-3 ประเด็น เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ อะไรบ้างที่ควรทำ อะไรบ้าง
ที่ไม่ควรทำ และบอกด้วยว่า การเติบโตของต้นไม้นั้นใช้เงินซื้อไม่ได้
ในช่วงที่ประเทศไทยเสนอตัวเพื่อจัดงานพืชสวนโลก ฝรั่งก็ถามว่า มีโปรเฟสเซอร์ระพีร่วมงาน
อยู่ด้วยหรือเปล่า ทางประเทศไทยก็ตอบไปว่ามี โดยที่ไม่ได้แจ้งให้รู้ตัวก่อน หลังจากนั้นก็มี
การนำหนังสือมาให้ลงนามในฐานะประธานกิตติมศักดิ์เมื่อ 6 ปีที่แล้ว สมัย นายชูชีพ หาญสวัสดิ์
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ในช่วงนั้นงานพืชสวนโลกยังไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย
ผมก็รู้สึกว่างานลักษณะนี้เขาจะต้องเตรียมกันเป็น 10 ปี แต่ครั้งนี้ประเทศไทยเตรียมงานกัน
3 ปี ช่วงเวลาสั้นมาก ผมก็ยินดีช่วยเต็มที่ และรู้ว่าหากเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานนี้จะต้องเหนื่อย
อย่างแน่นอน เพราะจะต้องบินไปประเทศต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะศรัทธามันมีอยู่ เวลาไปพูด
อะไร คนก็เชื่อ
- ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ที่ลงนามขอจัดงานในครั้งแรก อาจารย์ควรจะได้เข้าไปมีส่วนใน
การจัดงานครั้งนี้ด้วยใช่ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เรื่องนี้มีการเจรจาจัดงานก่อน แล้วจึงมาขออนุมัติคณะรัฐมนตรี
ภายหลัง ซึ่งในช่วงทำแผน ทำรายละเอียดนั้น ตนไม่ได้รับทราบ หรือรับรู้ใดๆ เลย ไม่รู้แม้
กระทั่งว่ามีการขอเงินไปใช้ในงานนี้เท่าไหร่ การที่รัฐมนตรีออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีชื่อผม
อยู่ในกรรมการชุดไหนเลยในการจัดงานพืชสวนโลก ในมุมมองของผมเห็นว่าดี เป็นการสารภาพ
ว่า กันผมออกไป ไม่ให้รู้เรื่องต่างๆ
หลายคนมาถามว่า อาจารย์สนใจเรื่องเงินหรือ ผมบอกไปว่าไม่ใช่ เรื่องใหญ่คือการจัดงาน
ทั้งงานมากกว่า
- คอนเซ็ปต์ของงานพืชสวนโลกจากคิดไว้ในครั้งแรกกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในวันนี้แตกต่างกัน
อย่างไรจริงๆ แตกต่างตั้งแต่แรกแล้ว ถ้าผมจัดงานนี้จะต้องเตรียมเกษตรกรให้พร้อมเสียก่อน เพราะตรง
นี้เป็นเรื่องสำคัญ ประเทศไทยถึงจะได้ประโยชน์ ตอนที่จัดเรื่องกล้วยไม้โลก ไม่ได้เตรียมงาน
กันแค่ 3-4 ปีเช่นนี้ แต่ใช้เวลาเตรียมงานกัน 30-40 ปี ผมเริ่มตั้งแต่สร้างประชาชนขึ้นมา ไม่ได้
ทำในรั้วของข้าราชการ แต่ทำงานข้างนอกก่อน แล้วข้าราชการเพิ่งมายอมรับในปี 2530 นี่เอง
ตอนนั้นเกษตรกรมีความพร้อมมาก พอข้าราชการไปทำอะไรผิดท่า ผิดทาง เกษตรกรก็ค้าน การ
มีส่วนร่วมของเกษตรกรตรงนี้สำคัญ จึงได้บอกว่า ถ้าเป็นผมจะยังไม่จัดงานนี้แต่จะต้องเตรียมคน
ให้พร้อมก่อน
วันนี้เกษตรกรบ่นว่า ไม่มีส่วนร่วมในการทำงานในงานพืชสวนโลกเลย
- เอาเข้าจริงคนไทยได้อะไรบ้าง จากการจัดงานพืชสวนโลกครั้งนี้ ผลประโยชน์ที่ลงถึงเกษตรกรมีน้อยมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมของเกษตรกร ไม่ใช่มองแค่
สายตา 2 ดวงเท่านั้นแล้วจบ คนระดับบนอาจจะคิดแค่ว่าแค่ได้ดู ไปเห็นก็เพียงพอแล้ว
ความจริงมันไม่ใช่ เกษตรกรต้องคิดเอง ทำเอง
- งบฯ 3,600 ล้านบาทที่ลงไปคุ้มหรือไม่
ถ้าเอาหลักมาจับ เกษตรกรไม่ได้มีส่วนร่วมมาตั้งแต่เริ่ม แถมยังไป รังแกเขาอีก เอาเอฟทีเอ
ไปรังแกเขาอีก ผมไปประชุมที่เชียงใหม่ มีเกษตรกรทั้งเชียงราย เชียงใหม่ ศรีสะเกษเล่าให้
ฟังว่าเขาเสียหายเยอะ
- ปกติการเตรียมงานลักษณะนี้จะต้องใช้เวลาแค่ไหน แล้วกระบวนการเป็นอย่างไร เมื่อพืชสวนโลกมีเวลาเตรียมงานสั้นๆ ต้องอาศัยศรัทธา ถ้าเป็นผมคงต้องบินไปทุกประเทศ
ในต่างประเทศเวลาจัดงาน เขาบินมาเชิญด้วยตัวเองถึงบ้าน
- ถ้าอาจารย์เป็นคนจัดงานนี้จะต้องใช้งบฯถึง 3,600 ล้านบาทหรือเปล่า ครึ่งหนึ่งก็อาจจะไม่ถึง ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม ในช่วงเดือนเมษายนที่ไปดูความคืบหน้าของ
งาน เห็นเขากำลังเอาต้นทุเรียน ต้นลำไยมาลง ใช้ไม้ค้ำกันไป ค้ำกันมา ก็นึกในใจว่า ถ้าเป็น
ผม ผมจะไม่เอามาปลูกหรอก ไม่ต้องลงทุนแล้วได้เงินด้วย
เวลาทำอะไรจะต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา แล้วจะรู้ว่าเวลาไปที่ไหนเราอยากจะดูอะไร ทุกคน
อยากพบชาวสวน ไปคุยกับชาวสวน ของจริงอยู่ที่นั่น จัดทัวร์ลงพื้นที่ไปดูกันเลย ตอนที่จัด
งานกล้วยไม้โลก ก็จัดให้มีแพ็กเกจทัวร์หลากหลาย 3 วัน 5 วัน 7 วัน เป็นการกระจายรายได้
ด้วย คงไม่มีใครอยากดูของปลอม ทุกคนอยากดูของจริงทั้งนั้น
- ชั่งน้ำหนัก ผลดีกับผลเสียงานครั้งนี้เป็นอย่างไรทุกอย่างอยู่ที่คน ถ้าคนที่ไม่รู้เรื่องแล้วอยากจะไปทำ อยากจะไปหน้าใหญ่ ใจโต ลืมตัว มัน
เสียแน่ แล้วจะไปโทษใคร โทษคนโน้น คนนี้ ทำก็ตกไปอยู่ในสภาพอย่างนี้
บ้านเราเวลานี้เรื่องคอร์รัปชั่นค่อนข้างหนัก
ตอนนี้ได้ยินข่าวว่าหลายประเทศถอนตัว ประเทศที่มาส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ขัดสนเงินทอง
ก็ต้องเอาเงินไปดึงเขามา แล้วขณะนี้รัฐบาลไม่มีเงินจะทำอย่างไร อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส เขา
ก็ไม่มา
- เหลือเวลาอีกเพียง 2 เดือน งานพืชสวนโลกก็จะเริ่มต้นขึ้นแต่ตอนนี้ทุกอย่างยังชุลมุนวุ่นวาย เรื่องบางเรื่องซื้อด้วยเงินไม่ได้ ถ้าอีกด้านหนึ่งไม่ได้ ก็ทะลักมาอีกด้านหนึ่ง
- จากการเดินทางไปร่วมงานพืชสวนโลกอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี ประทับใจประเทศไหนมากที่สุด มี 2 แห่งคือ ที่เอ็กซ์โปโอซากา ประเทศญี่ปุ่น จัดงานได้ละเอียดมากๆ และที่ Reunion Island
ประทับใจเรื่องการนำวัฒนธรรมท้องถิ่นมานำเสนอ
ที่มา มติชน วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3827 (3027)
http://www.matichon.co.th/prachachart/prachachart_detail.php?s_tag=02p0107140949&day=2006/09/14