ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 16:28
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ปฏิรูปการเมืองให้ "กินได้" 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ปฏิรูปการเมืองให้ "กินได้"  (อ่าน 741 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 11-09-2006, 10:08 »

ปฏิรูปการเมืองให้ "กินได้"

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

การกระทำที่เรียกว่าปฏิรูปการเมือง ควรหมายถึงอะไรบ้าง ตามความเข้าใจของผม น่าจะ
หมายถึงการกระทำสามด้านที่เกี่ยวโยงกัน

ด้านแรกคือจัดวางกลไกเพื่อการปกครอง (ซึ่งประกอบด้วยการบริหาร, นิติบัญญัติ และ
ตุลาการ) ตั้งแต่ระดับชาติมาถึงระดับท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพแต่ตรวจสอบได้ ควบคุมได้
และต่อรองได้ ด้านนี้เป็นด้านที่มักได้รับความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะจาก
นักการเมืองหรือผู้ที่อยู่ใกล้อำนาจทางการเมือง ฉะนั้นผมจะไม่ขอพูดอะไรมากไปกว่านี้
เพราะมีรายงานข่าวในสื่ออยู่มากและเสมอ

ด้านที่สอง เมื่อกล่าวโดยสรุปคือการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้แก่คนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน
ประชาธิปไตยในประเทศไทย หรือว่ากันที่จริงในสังคมอื่นๆ ด้วย ในทางปฏิบัติ ไม่ได้เปิดพื้นที่
ทางการเมืองให้แก่คนอีกหลายกลุ่ม ยิ่งมองประชาธิปไตยแต่เพียงด้านแรกด้านเดียว ก็ยิ่ง
กีดกันคนส่วนใหญ่ออกไปจากการเมืองด้วยซ้ำ การเลือกตั้งซึ่งเป็นสิทธิเสมอภาคของพลเมือง
ไม่ทำให้ใครเข้าถึงพื้นที่ทางการเมือง เพื่อการต่อรองได้เลย

เสียงของคนทุกกลุ่มต้องดังพอที่จะสร้างญัตติสาธารณะได้บ้าง ไม่ใช่เฉพาะแต่คนที่เป็น
นักการพนันในตลาดหุ้น, นักการเมือง, นายทุน, ข้าราชการ, นักวิชาการ และดาราเท่านั้น ที่
สามารถสั่งสังคมให้ถกเถียงกันเรื่องอะไรก็ได้ คนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้มีผลประโยชน์เดียวกัน
กับกลุ่มคนที่กล่าวแล้วนั้น ก็ควรมีพลังพอจะดึงสังคมให้มาใส่ใจกับสิ่งที่เขาเห็นว่ามีความ
สำคัญด้วยเช่นกัน

แต่ตราบเท่าที่คนเหล่านั้นเข้าไม่ถึงสื่อ (เข้าไม่ถึงเพราะไม่มีสื่อในมือ หรือเข้าไม่ถึงเพราะสื่อ
ไม่คิดว่าเป็นหน้าที่ต้องรายงานความเห็นของเขาก็ตาม) เขาก็ย่อมกลายเป็นคนไร้เสียง
(ไร้ชื่อ, ไร้ทรรศนะ, หรือไร้ตัวตนเลยทีเดียว) ในสังคมการเมือง มีอยู่เพียงเพื่อไปเลือกตั้ง,
เสียภาษี, และเป็นทหารเท่านั้น

กฎหมายอย่างเดียวไม่ช่วย
ให้บังเกิดผลเป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองแก่คนทุกกลุ่มได้ใน
ทางปฏิบัติ ถ้าสังคมนั้นไม่มีปัจจัยอื่นๆ ที่เอื้อต่อการเปิดพื้นที่ทางการเมืองแก่คนทุกกลุ่มจริง
การประท้วงโดยสงบปราศจากอาวุธของสมัชชาคนจน (ซึ่งมีกฎหมายรองรับ) ถูกเทศบาล
กทม.ใช้กำลังเข้าขับไล่ โดยสื่อแทบจะไม่ให้ความสนใจใดๆ และสังคมจึงเมินเฉยต่อการ "ปิด"
พื้นที่ทางการเมืองของพี่น้องร่วมชาติ เช่นเดียวกับตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมของพี่น้องชาว
จะนะที่หาดใหญ่

เพราะเข้าไม่ถึงพื้นที่ทางการเมือง รัฐธรรมนูญ 2540 จึงแทบไม่ได้ช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่

ยุติหรือแม้แต่บรรเทาการแย่งชิงฐานทรัพยากรของตนไปบำเรอคนกลุ่มน้อยที่เข้าถึงพื้นที่ทาง
การเมือง ถ้าใช้ภาษาของสมัชชาคนจน การปฏิรูปการเมืองในครั้งที่แล้ว จึงไม่ทำให้เกิด
ประชาธิปไตยที่ "กินได้" ขึ้นมาเลย

และเพราะกฎหมายอย่างเดียวไม่พอนี่แหละ ที่ทำให้การปฏิรูปการเมืองด้านนี้ทำได้ยาก และ
ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักวิชาการและนักการเมือง แต่หากการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่นี้
ไม่เป็นผลให้มีการเปิดพื้นที่ทางการเมืองอย่างกว้างขวางขึ้น ไม่แต่เพียง "การเมือง" จะ
ไม่ได้รับความใส่ใจจากประชาชนส่วนใหญ่เท่านั้น แม้แต่ "ประชาธิปไตย" ก็จะไม่ได้รับความ
ศรัทธาไปด้วย
(ปรากฏการณ์นี้พอเห็นได้แม้ในปัจจุบัน จากเสียงสนับสนุนของ
ประชาชนระดับล่างที่เข้าไม่ถึงพื้นที่ทางการเมืองแก่พรรค ทรท.ซึ่งแทบจะไม่มีภาพพจน์ของ
ประชาธิปไตยอยู่เลย)

ด้านที่สามของปฏิรูปการเมือง คือ การสร้างกระบวนการทางกฎหมาย, กระบวนการ, สถาบัน,
ฯลฯ ที่จะทำให้สองด้านแรกนั้นเชื่อมต่อกันได้ มิฉะนั้นพื้นที่ทางการเมืองที่เปิดขึ้นจะหมายถึง
ความปั่นป่วนวุ่นวายและการจลาจลเท่านั้น สมมุติว่าผู้ส่งออกต้องการอะไรก็ต้องเดินขบวนไป
ล้อมทำเนียบ ก่อนที่จะได้เจรจากับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จะวุ่นวายขนาดไหน แต่มีกฎหมาย,
กระบวนการ, สถาบัน ฯลฯ หลายอย่างที่ผู้ส่งออกใช้เพื่อเข้าสู่พื้นที่ทางการเมืองโดยราบรื่น,
สงบ, และมีประสิทธิผล ส่วนนี้ก็ต้องคิดถึงคนกลุ่มใหม่ๆ ซึ่งจะเข้าสู่พื้นที่ทางการเมืองเช่นกัน
ว่าการเข้ามาเคลื่อนไหวอย่างเสรีและเท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่นๆ นั้น จะเป็นผลให้เชื่อมโยงกับ
ปฏิรูปการเมืองด้านแรกได้อย่างไร

ทุกคนคงใจไม่ถึงเท่าแม่ไฮที่จะลงมือทุบเขื่อนด้วยมือตนเอง เพื่อเตรียมตัวเข้าคุก หลังจาก
เจรจากับรัฐโดยสงบมากว่า 10 ปี จนได้รับความเห็นใจจากสื่อและสังคมไทยที่เพิ่งมีโอกาส
รู้เรื่อง

ปฏิรูปการเมืองในครั้งที่แล้วซึ่งทำให้ได้รัฐธรรมนูญ 2540 ก็พยายามทำทั้งสามด้านนี้ แต่ไม่ได้
สร้างกลไกที่แข็งแรงเพียงพอจะทำให้มีการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กว้างขวางขึ้น เช่นเดียว
กับการเชื่อมต่อก็ไม่มีกลไกที่แข็งขันรองรับเช่นกัน ฉะนั้นเราจึงมีกฎหมายป่าชุมชน อันเป็น
กฎหมายที่ประชาชนร่างขึ้น ตกไปจากการพิจารณารองรับในขั้นสุดท้ายของรัฐสภาไปสาม
รัฐบาล การศึกษา "ฟรี" ที่ต้องเสียเงินมากกว่าสมัยที่เก็บค่าเล่าเรียน สวัสดิการพื้นฐานซึ่ง
รัฐธรรมนูญให้หลักประกันจ่ายแจกไปไม่ถึงประชาชน และน้อยเกินไป สมบัติสาธารณะที่
รัฐธรรมนูญรองรับไว้มั่นคงเช่นคลื่นความถี่ก็ยังถูกคนบางกลุ่มยึดกุมไว้ในนามของรัฐ (ร้ายไป
กว่านั้นประชาชนที่เชื่อรัฐธรรมนูญ ใช้สมบัติสาธารณะนี้ก็อาจถูกลงโทษถึงติดคุกได้เพราะผิด
กม.อาญา)

ประชาธิปไตยที่ "กินได้" ในทางรูปธรรมจึงมีความหมายได้หลายอย่าง ซึ่งคนที่คิดหรือทำ
เรื่องปฏิรูปการเมืองอยู่ในเวลานี้ควรคิดให้มาก ในที่นี้จะยกเป็นตัวอย่างเพียงสองสามประเด็น

เช่น สวัสดิการพื้นฐานและมาตรการที่เหมาะสมต้องมีความชัดเจน ชนิดที่รัฐหรือหน่วยงาน
ของรัฐจะหลีกเลี่ยงหรือใช้ลูกเล่นอะไรไม่ได้ เรียน "ฟรี" ก็ต้อง "ฟรี" จริงเป็นต้น

เช่น การจำกัดอำนาจรัฐ ต้องเปิดให้ประชาชนสามารถทำได้โดยตรงบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้
องค์กรอิสระซึ่งถูกทำให้เป็นหมันหมดแต่ฝ่ายเดียว เป็นต้นว่าการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นบาง
อย่างอาจต้องได้รับคำรับรองจากประชาชนในพื้นที่โดยตรง ไม่เฉพาะแต่ อบต.หรือกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น

เช่น สิทธิในพื้นที่ทางการเมืองทั้งหลาย นับตั้งแต่สื่อโดยเฉพาะคลื่นความถี่ และสิ่งพิมพ์,
การชุมนุมโดยสงบ, ฯลฯ ต้องได้รับคำรับรองที่แข็งขันอันไม่อาจละเมิดได้

ประชาธิปไตยที่ "กินได้" ในทางรูปธรรม ไม่ได้เกิดจากการคิดเอาเอง แต่เกิดจาก
ประสบการณ์จริงของประชาชน
และก่อนที่ใครจะคิดถึงมาตรการทางกฎหมายหรือการเมือง
อย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ก็ควรต้องมีข้อมูลจริงจากประชาชน รับฟังความคิดเห็นจาก
ประชาชนให้มาก เพราะเขาคือคนที่รู้ดีว่าขยับเขยื้อนทางการเมืองได้ยาก เพราะความไม่มี
พื้นที่ทางการเมืองของตนเองนั้น เป็นอย่างไร ติดขัดตรงไหน

น่าเสียดายที่ปฏิรูปการเมืองในครั้งหลังนี้ ไม่ได้มีความสนใจเพียงพอว่าจะทำให้การเมืองใน
ระบอบประชาธิปไตย มีความหมายต่อชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในเมืองไทยได้อย่างไร บางครั้ง
กลายเป็นเรื่องของนักกฎหมายล้วนๆ บางครั้งเป็นเรื่องของนักการเมืองล้วนๆ บางครั้งเป็น
เรื่องของคนสองจำพวกนี้รวมหัวกันแก้รัฐธรรมนูญ แล้วเรียกการกระทำเช่นนี้ว่าปฏิรูปการเมือง

ในช่วงนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้เปิดพื้นที่ในเว็บไซต์ของตน ตั้งโครงการที่เรียกว่า
"ธนาคารนโยบายประชาชน" (www.midnightuniv.org/forum/index.php?topic)
เปิดให้ส่งความเห็นด้านนโยบายและข้อเสนอแก่สาธารณะ โดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะ
รวบรวมประเด็นจากจดหมายเหล่านี้เป็นระยะๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถ "เบิก" เอาไปใช้ได้
ตามสะดวก

การเปิดพื้นที่เช่นนี้มีความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองด้วย เพราะส่วนหนึ่งคือนโยบายและ
ข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของประชาชน

ตรงนี้คือฐานความรู้สำหรับการปฏิรูปการเมืองที่แท้จริง เพราะตรงนี้คือคำถามที่ผู้ตอบต้องรู้
เสียก่อนที่จะไปเปิดรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นเป็นแบบอย่าง หรือคิดแต่แง่มุมของกฎหมาย
ลอยๆ โดยไม่สัมพันธ์กับคำถามของสังคม

ที่มา มติชน วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10411
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act03110949&day=2006/09/11
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #1 เมื่อ: 11-09-2006, 10:17 »

มันขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อหาสาระ ที่นำเสนอสู่สาธารณชนด้วย

ที่ผ่านมามีช่องทางเยอะแยะอยู่แล้ว แต่คุณภาพของประเด็น และวิธีในการนำเสนอ
มันซ้ำซากไร้สาระเสียจนสังคมเริ่มเบื่อ แรกๆอาจตื่นเต้นอยู่บ้าง แต่พักหลังๆมันเฝือ
จนสังคมเริ่มเมินเฉย และกลายเป็นเอือมระอาไปในที่สุด

จะไปโทษใครไม่ได้เลย

บันทึกการเข้า
hison
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 217


« ตอบ #2 เมื่อ: 11-09-2006, 10:27 »

อาจารย์นิธิ เสนอไอเดียแหลมคมเสมอ  แต่ผมเห็นว่า อาจารย์ได้ทำน้อยกว่า พูดมาก

ยกตัวอย่างเรื่อง จะนะ เรื่องสมัชชาคนจน เมื่อมีการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน  เจ้าของสิทธิที่ถูกละเมิด สามารถใช้สิทธิทางศาลได้  เมื่อนั้นสื่อถึงจะเล่นข่าวต่อ นี่อาจารย์ประนามสังคมว่า  เพิกเฉย

คุณรสนา  เขาได้พยายามใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งปรากฎผล ว่า อำนาจตุลาการ สามารถทัดทานอำนาจบริหารได้
อาจารย์ เป็นผู้นำมติมหาชน ต้องเชื่อมั่น และ ใช้กฎหมายมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะ เป็นกติกา เป็นวิธีเดียวที่แก้ปัญหาอย่างสันติ และ ยั่งยืน

ทำมากกว่าพูดเถอะครับ Wink
บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #3 เมื่อ: 11-09-2006, 11:04 »

เรื่องทำ หรือ ไม่ทำ ไม่น่าเป็นประเด็นนะครับ

เพราะการต่อสู้กับความอยุติธรรม ไม่ได้มีแค่ ออกไปเยิ้ว ๆ ไล่

ผมมองว่า อ.นิธิ เป็นปราชญ์ คนหนึ่งของเมืองไทย
"อาวุธ" ที่ปราชญ์ใช้ต่อสู้ ก็คือ อาวุธทางความคิด
แกคงไม่ถนัด ที่จะ "ทำ" แบบ ขึ้นเวทีปราศรัย เดินขบวน หรือ มี activity แบบนักกิจกรรม

อยากให้มองว่า กระบวนการการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มจาก ทลายคุกบาสติล นั้น

ปัจจัยหลักข้อหนึ่งที่เร่งเร้าความรู้สึกผู้คน นอกเหนือจากความเกลียดชังอำนาจรัฐและอำนาจศาสนจักรอันฉ้อฉลแล้ว

หนังสือ "สัญญาประชาคม" ที่รุสโซ เขียนขึ้นก่อนหน้านั้น ก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งนะครับ
โดยที่ตัว รุสโซ เอง ถ้าจะว่ากันในแง่ส่วนตัว แกมีพฤติกรรมที่ "ไม่เอามวลชน" และ "มวลชนก็ไม่เอา" แกเหมือนกัน

แต่ ตัวหนังสือ ที่รุสโซ สื่อออกไป เหมือน ติดอาวุธทางปัญญา ให้ประชาชนฝรั่งเศสทั้งประเทศเลยละครับ
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
my sweetheart
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61



« ตอบ #4 เมื่อ: 12-09-2006, 08:04 »




ส่วนจุดตั้งต้นที่แท้จริงก็คือกระแสความต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของประชาชนต่อนักการเมือง ดังนั้น การจุดกระแสการเรียกร้องสิ่งต่างๆอันพึงได้ของประชาชนในชนบทต่อรัฐบาลรักษาการให้มากขึ้น จะเป็นประตูที่ต้องสร้างขึ้นไว้ให้สำเร็จต่อไป  Idea
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: