ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
30-11-2024, 18:41
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สโมสรริมน้ำ  |  ศรีบูรพา ....ทั้งศักดิ์และศรี ...เทิดไว้สุภาพบุรุษไทย 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ศรีบูรพา ....ทั้งศักดิ์และศรี ...เทิดไว้สุภาพบุรุษไทย  (อ่าน 3791 ครั้ง)
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« เมื่อ: 19-08-2006, 06:18 »

คารวะนาม “ศรีบูรพา”
ปากกา “กุหลาบ สายประดิษฐ์”
เป็นศรีแห่งบูรพาทิศ
เป็นมิตรมิ่งมหาสามัญชน
เป็นศักดิ์เป็นศรีสยามประเทศ
เป็นเจตนารมณ์อุดมผล
ปรากฏแก่โลกหล้าเป็นสากล
มงคลมิ่งขวัญวรรณกรรม

ปากกาเป็นอาวุธ              อันยุทธยงอยู่คงคำ
ทระนงดั่งธงนำ                    ประกาศสัจธรรมสมัย
ใครกุมปากกาทาส                แลใครกุมปากกาไท
ใครอยู่แม้ยามไป                  แลใครไปแม้ยามเป็น
ปากกายังจารึก                    ไม่เปลี่ยนหมึกไม่เปลี่ยนประเด็น
คงสีและคงเส้น                    เป็นธงทิวไม่เปลี่ยนทาง
หนึ่งดอกกุหลาบแดง             สำแดงคารวะวาง
ประดับไว้ ณ ใจกลาง             ปากกา “ศรีบูรพา”


เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
 
 
 
 


ขอ รำลึก ถึง หนึ่งสุภาพบุรุษในดวงใจ ของ ประกายดาว " ศรีบูรพา "

เพื่อ คารวะ แต่ดวงวิญญาณท่าน ในโอกาส วันแห่งการจากไกล ไม่หวนกลับ ของ " พ่อ "
พ่อ ของ ประกายดาว สุภาพบุรุษคนแรก ในดวงใจลูก
ลูกสาว คนที่ พ่อ ให้ชีวิต และ คำสอนมากมาย ผ่านโลก และ ตัวตนของพ่อ

ลูก กราบ พ่อ ครั้งสุดท้าย ....ที่เมืองไกล
พ่อ สอน ให้ ลูก รักการอ่าน รักการเดินทาง และเป็น ลูกสาวคนเก่งของพ่อ
พ่อ สอนลูกให้รู้จัก สุภาพบุรุษ ท่านนี้





ศักดิ์ ..." ศรีบูรพา "....



กราบ......พ่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-08-2006, 06:20 โดย ประกายดาว » บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 19-08-2006, 06:35 »

กุหลาบ สายประดิษฐ์ ถ้ายังมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นปราชญ์ของเมืองไทยคนหนึ่งเลยทีเดียว เหมือนกับจิตร ภูมิศักดิ์ การสูญเสียบุคคลทั้งสอง เป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของชาวไทย ครับ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #2 เมื่อ: 19-08-2006, 06:36 »

ชีวิตที่ดีงามย่อมมีอยู่ และถูกใช้ไปเป็นคุณประโยชน์แก่คนอื่น

(จนกว่าเราจะพบกันอีก)

ประโยค นำ ข้างบนเป็นเพียง วรรคโดนใจ ตรงใจ และ เป็น หนึ่งความประทับใจ
ในการไปรู้จัก สุภาบุรุษ ท่านนี้ " ศรีบูรพา "


ปฏิทินชีวิต กุหลาบ สายประดิษฐ์



พ.ศ. ๒๔๔๘ - ๓๑ มีนาคม

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เกิดที่กรุงเทพฯ  
พ่อชื่อสุวรรณ เป็นเสมียนเอก ทำงานอยู่กรมรถไฟ  แม่ชื่อสมบุญ มีลูกสาวอีกคนหนึ่งชื่อ จำรัส
เป็นพี่สาวของกุหลาบ

พ.ศ. ๒๔๕๒ - เข้าเรียนโรงเรียนวัดหัวลำโพง

พ.ศ. ๒๔๕๓ - รัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต

พ.ศ. ๒๔๕๔ -
พ่อเสียชีวิต เมื่อกุหลาบอายุได้ ๖ ขวบ แม่ต้องรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
และส่งพี่สาวไปฝึกเล่นละครรำและละครร้อง เพื่อช่วยหาเงินส่งเสียให้กุหลาบเรียนหนังสือ

พ.ศ. ๒๔๕๙-๒๔๖๘ -
หลังจากจบชั้นประถม ๔ ที่วัดหัวลำโพงแล้วได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนทหารเด็ก ของกรมหลวงนครราชสีมา
 แต่เรียนได้ไม่นาน แม่ให้ย้ายมาอยู่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ในชั้นมัธยม ๒ และเรียนจนจบชั้นมัธยม ๘

พ.ศ. ๒๔๖๐ - เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์

พ.ศ. ๒๔๖๕ - เรียนชั้นมัธยม ๖ ออกหนังสือพิมพ์ในห้องชื่อ ศรีเทพ ใช้นามปากกา "ดาราลอย"

พ.ศ. ๒๔๖๖ - เรียนชั้นมัธยม ๗ ออกหนังสือพิมพ์ในห้องชื่อ เทพคำรน ต่อมาเปลี่ยนเป็น ศรีสัตตคารม

                  

 - ใช้ในนามปากกา "ศรีบูรพา" เป็นครั้งแรกในบทความชื่อ "แถลงการณ์" ลงในหนังสือพิมพ์ ทสวารบรรเทิง

 - มีงานเขียนประเภทบทกลอนลงหนังสือพิมพ์ ฉันทราบหมด และภาพยนตร์สยาม

พ.ศ. ๒๔๖๗ -
 เรียนชั้นมัธยม ๘ เริ่มทำงานกลางคืนเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนรวมการสอน
 เป็นนักประพันธ์ในสำนักรวมการแปล ของนายแตงโม จันทวิมพ์
 มีนวนิยายเรื่องแรกชื่อ คุณพี่มาแล้ว ในนามปากกา "ศรีบูรพา" พิมพ์ออกจำหน่าย

                  

- ใช้ชื่อจริง กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นครั้งแรกในงานเขียนกลอนหกชื่อ "ต้องแจวเรือจ้าง" ลงในหนังสือพิมพ์ แถลงการณ์ศึกษาเทพศิรินทร์  

พ.ศ. ๒๔๖๘ - รัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต  

- จบชั้นมัธยม ๘ เป็นบรรณาธิการหนังสือรายทส ชื่อ สาสน์สหาย ซึ่งออกมาได้เจ็ดเล่ม  

- ๒๙ ตุลาคม เข้าทำงานที่กรมยุทธศึกษาฯ เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เสนาศึกษา
และแผ่วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีบรรณาธิการคือ พ.ท. พระพิสิษฐพจนาการ
 (ชื่น อินทรปาลิต บิดาของ ป. อินทรปาลิต) แต่มีตำแหน่งเป็น "เจ้าพนักงานโรงวิทยาศาสตร์"

พ.ศ. ๒๔๖๙ -
มีงานเขียนลงในหนังสือพิมพ์ประเภทบรรเทิงคดีรายคาบที่ออกมาแพร่หลายในช่วงเวลานี้
 เช่น สมานมิตรบรรเทิง รายปักษ์ สวนอักษร รายปักษ์ สาราเกษม รายปักษ์
ปราโมทย์นคร รายสัปดาห์  ดรุณเกษม รายปักษ์ เฉลิมเชาว์ รายเดือน ฯลฯ

- มีผู้ซื้องานเขียนไปพิมพ์เป็นเล่มออกจำหน่าย ได้แก่ พิษนางกำนัล ชีวิตวิวาห์
 และโลกสันนิวาส นามปากกา "ศรีบูรพา"

 - ช่วยทำหนังสือพิมพ์ ธงไทย ซึ่ง เฉวียง เศวตะทัต เพื่อนร่วมรุ่นเป็นหัวเรือใหญ่

พ.ศ. ๒๔๗๐
- เปลี่ยนตำแหน่งจากเจ้าพนักงานโรงวิทยาศาสตร์
 เป็น เลขานุการแผนกบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เสนาศึกษาฯ

     
              
- เริ่มหัดต่อยมวย  

 - ร่วมกับเพื่อนจัดพิมพ์หนังสือออกจำหน่าย ใช้ชื่อสำนักพิมพ์ว่า "นายเทพปรีชา"
โดยหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์คือ ชีวิตสมรส

พ.ศ. ๒๔๗๑
 - เขียนนวนิยายขนาดสั้นเรื่อง เล่นกับไฟ ลงในเสนาศึกษาฯ
 มีประโยคที่จะมีความสำคัญในกาลต่อมา คือ

"ผู้ใดเกิดมาเป็นสุภาพบุรุษ ผู้นั้นเกิดมาสำหรับผู้อื่น"    
                  
 - เขียนนวนิยายเรื่อง ลูกผู้ชาย ซึ่งนับเป็นนวนิยายที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ "ศรีบูรพา"

พ.ศ. ๒๔๗๒ - ลาออกจากหนังสือพิมพ์เสนาศึกษาฯ    

บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #3 เมื่อ: 19-08-2006, 06:41 »

กุหลาบ สายประดิษฐ์ ถ้ายังมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นปราชญ์ของเมืองไทยคนหนึ่งเลยทีเดียว
เหมือนกับจิตร ภูมิศักดิ์ การสูญเสียบุคคลทั้งสอง เป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของชาวไทย ครับ


เห็นด้วย อย่างที่สุด ค่ะ ...
แต่ ท่านเป็นปราชญ์ ในดวงใจ หนู ตลอดไป
บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #4 เมื่อ: 19-08-2006, 06:47 »

ก่อตั้งคณะสุภาพบุรุษ


กลุ่มนักประพันธ์นวนิยายรุ่นหนุ่มสาวฝีมือดีที่เป็นสามัญชน
โดยออกหนังสือพิมพ์รายปักษ์ชื่อ    สุภาพบุรุษ    มีกุหลาบเป็นเจ้าของและบรรณาธิการ


 สำนักงานอยู่ที่ห้องเกษมศรี หน้าวัดชนะสงคราม  ฉบับปฐมฤกษ์ วันที่ ๑ มิถุนายน
เป็นหนังสือพิมพ์ที่เริ่มประเพณีการซื้อเรื่องลงในหนังสือพิมพ์เป็นครั้งแรก
ยกระดับงานเขียนหนังสือให้เป็นงานที่มีเกียรติและเป็นอาชีพได้ 
และได้ประกาศความหมายของคำว่า "สุภาพบุรุษ"
อันเป็นอุดมคติที่มั่งคงในชีวิตของกุหลาบ สายประดิษฐ์

พ.ศ. ๒๔๗๓ 
- รับเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน บางกอกการเมือง
เพื่อช่วยปรับปรุงหนังสือพิมพ์ซึ่งออกจำหน่ายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖
นับเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่อาณาจักรหนังสือพิมพ์ข่าว โดยนำเพื่อนนักเขียนในคณะสุภาพบุรุษ
เข้ามาเป็นกองบรรณาธิการ  แต่ทำอยู่ได้ ๓ เดือนก็ลาออก 


  - หนังสือพิมพ์ สุภาพบุรุษ ฉบับสุดท้ายคือปีที่ ๒ เล่มที่ ๓๗ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน
โดยไม่มีการชี้แจงจากบรรณาธิการ   

                 
  - ช่วงปลายปีคณะสุภาพบุรุษจัดทำหนังสือพิมพ์รายวันชื่อ ไทยใหม่ มีกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นบรรณาธิการ
นายเอก วีสกุล เป็นนายทุน

พ.ศ. ๒๔๗๔ - เปลี่ยนให้ สนิท เจริญรัฐ เป็นบรรณาธิการไทยใหม่ 

                 

 - วันที่ ๘ และ ๑๑ ธันวาคม ไทยใหม่ ลงบทความของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เรื่อง "มนุษยภาพ"
ซึ่งแสดงถึงความคิดทางสังคมที่ก้าวหน้ามากของนักเขียนในวัยเพียง ๒๖ ปี
โดยเป็นการวิพากษ์สังคมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรียกร้อง
ความเสมอภาคของมนุษย์และความเป็นประชาธิปไตยในสังคม ทำให้  หลวงวิจิตรวาทการ
เข้ามาถือหุ้นและเบี่ยงเบนนโยบายของหนังสือพิมพ์ คณะสุภาพบุรุษจึงลาออกทั้งคณะ

พ.ศ. ๒๔๗๕
- วันที่ ๑๐, ๑๖ และ ๒๑ มกราคม หนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ลงบทความ "มนุษยภาพ" ใหม่อีกครั้ง
 ทำให้ ศรีกรุง ถูกสั่งปิดไป ๙ วัน นับเป็นเหตุการณ์ที่เกรียวกราวมากในยุคนั้น

                   
- คณะสุภาพบุรุษร่วมจัดทำหนังสือพิมพ์ ผู้นำ ซึ่งมีนายทองอิน บุณยเสนา (เวทางค์) เป็นบรรณาธิการ
ออกฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน    - ๑ มิถุนายน

 นวนิยายเรื่อง สงครามชีวิต ของ "ศรีบูรพา"

 จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก เป็นนวนิยายที่แสดงถึงสำนึกทางมนุษยธรรมต่อผู้ยากไร้ในสังคม
ซึ่งสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่วงการประพันธ์ไทย
บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #5 เมื่อ: 19-08-2006, 07:07 »

- วันที่ ๒๔ มิถุนายน คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

                 

 - หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ
ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ ประชาชาติ รายวัน มีกุหลาบสายประดิษฐ์ เป็นบรรณาธิการ
พร้อมด้วยคณะสุภาพบุรุษที่มาร่วมกองบรรณาธิการ ออกฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม เป็นหนังสือพิมพ์ที่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย และคัดค้านเผด็จการ

 
 - วันที่ ๑๐ ธันวาคม รัชกาลที่ ๗ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

พ.ศ. ๒๔๗๖ - กระทรวงมหาดไทย ออก พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๖

พ.ศ. ๒๔๗๗ - วันที่ ๒๗ มิถุนายน วันเปิดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

                 
 - อุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตร ๑ พรรษา

พ.ศ. ๒๔๗๘
- วันที่ ๑๙ สิงหาคม แต่งงานกับนางสาวชนิด ปริญชาญกล
 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นเจ้าภาพ พร้อมทั้งได้ประทานที่ดินในซอยพระนางให้ปลูกเรือนหอ



 

พ.ศ. ๒๔๗๙
 - จอมพล ป. พิบูลสงคราม เชิญหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นที่ปรึกษา
 เพื่อหวังให้ ประชาชาติ ลดการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 

ในเดือนพฤษภาคม กุหลาบ ถือโอกาสลดความขัดแย้ง
ด้วยการเดินทางไปดูงานหนังสือพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยได้รับคำเชิญจากหนังสือพิมพ์อาซาฮี
เป็นเวลา ๖ เดือน  มาลัย ชูพินิจ จึงเป็นบรรณาธิการประชาชาติ แทน 
เมื่อกุหลาบกลับมาแล้วก็ไม่ได้รับหน้าที่ในประชาชาติ อีก โดยเป็นเพียงนักเขียนพิเศษที่มีเรื่องลงประจำ

พ.ศ. ๒๔๘๐
- เขียนนวนิยายรักที่มีชื่อเสียงมากคือ ข้างหลังภาพ ลงในประชาชาติ และเรื่อง ป่าในชีวิต ลงในสยามนิกร รายวัน

                   
- เกิดกรณีประชาชาติ ลงข่าวเกี่ยวกับทหารในกรม ป.ต.อ. วิวาทชกต่อยกับกรรมกรสามล้อ
ทหารไปล้อมวังท่านวรรณ กองบรรณาธิการจึงลาออกทั้งคณะ

พ.ศ. ๒๔๘๑ - พันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลคณะที่ ๙

                   
- สนิท เจริญรัฐ หนึ่งในคณะสุภาพบุรุษ ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ประชามิตร รายวัน
สำนักงานอยู่ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ บางขุนพรหม เรียกกันว่า วิกบางขุนพรหม  ฉบับปฐมฤกษ์ออกเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม  กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นกรรมการอำนวยการ

พ.ศ. ๒๔๘๒ - วันที่ ๒๔ มิถุนายน เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย

                   
- วันที่ ๑ กันยายน กองทัพเยอรมันบุกโปแลนด์ เปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ ๒

                   
- ออกหนังสือพิมพ์ สุภาพบุรุษ กับวิกบางขุนพรหม กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นบรรณาธิการ
เขียนบทความต่อต้านรัฐบาลเผด็จการมาโดยตลอด  ต่อมารวมประชามิตร กับสุภาพบุรุษ
เป็นเล่มเดียวในชื่อ ประชามิตร สุภาพบุรษ แต่ในยุคนั้นเขียนว่า ประชามิตร สุภาพบุรุส

พ.ศ. ๒๔๘๓ - เกิดสงครามอินโดจีน ไทยรบกับฝรั่งเศสเพื่อขอดินแดนคืน

พ.ศ. ๒๔๘๔ - รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศใช้ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
เกิดการข่มขู่ คุกคาม สิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์อย่างหนัก

                 
  - เขียนบทความชุด "เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕" ลงใน สุภาพบุรุษ
 ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม ถึง ๑๑ มิถุนายน รวม ๑๖ ตอน สร้างความไม่พอใจให้แก่รัฐบาล

                   
- ได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการก่อตั้งสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
 มีพิธีเปิดป้ายสมาคมในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน กุหลาบ เสนอให้พระยาปรีชานุศาสน์ (บิดาของอานันท์ ปันยารชุน) เป็นนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ฯ คนแรก กุหลาบเป็นเลขาธิการสมาคม

                 
- วันที่ ๘ ธันวาคม ญี่ปุ่นเดินทัพเข้าไทย เริ่มต้นสงครามมหาเอเชียบูรพา
เกิดขบวนการเสรีไทย มีนายปรีดี พนมยงค์เป็นหัวหน้า


พ.ศ. ๒๔๘๕ - เขียนบทความคัดค้านการฟื้นฟูบรรดาศักดิ์ของรัฐบาล จนเป็นผลให้รัฐบาลต้องระงับไป
และยังได้เขียนบทความคัดค้านรัฐบาลเรื่องการร่วมมือกับญี่ปุ่น
 จึงถูกรัฐบาลจับกุมข้อหากบฏในราชอาณาจักร ถูกขังอยู่ ๓ เดือน  Cry

พ.ศ. ๒๔๘๖ - สอบได้ ธรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. ๒๔๘๗ - รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ลาออก
 เนื่องจากแพ้เสียงในการเสนอร่าง พ.ร.บ. สองฉบับ ต่อสภา

  - ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ฯ คนที่ ๓ และได้ดำรงตำแหน่งอยู่สองสมัย (พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๙)

พ.ศ. ๒๔๘๘ - วันที่ ๑๕ สิงหาคม ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงคราม วันที่ ๑๖ สิงหาคม ไทยประกาศสันติภาพ

                 
 - เดือนตุลาคม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกจับในคดีอาชญากรสงคราม


พ.ศ. ๒๔๘๙
- ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๔๘๙
 และมีการยกเลิก พ.ร.บ. ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๔๗๖

                   
- วันที่ ๙ มิถุนายน รัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคตพ.ศ. ๒๔๙๐

                 
 - วันที่ ๘ พฤศจิกายน คณะนายทหารทำรัฐประหาร
มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม พลโท ผิน ชุณะหวัณ หลวงกาจ กาจสงคราม พันเอกเผ่า ศรียานนท์
 พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้ร่วมก่อการ  และให้นายควง อภัยวงศ์ จัดตั้งรัฐบาล
 ต่อมาเกิดการแก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง

                 
 - กุหลาบไปศึกษาวิชาการเมืองในประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา ๒ ปี

พ.ศ. ๒๔๙๑ - จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๐

พ.ศ. ๒๔๙๒ - เหมาเจ๋อตง และพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะจากพรรคก๊กมินตั๋ง
 ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

                 
  - ปรีดี พนมยงค์ ลี้ภัยการเมือง ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ 

                 
 - กลับจากออสเตรเลีย กุหลาบตั้งสำนักพิมพ์สุภาพบุรุษ
 เพื่อพิมพ์และจำหน่ายหนังสือของ "ศรีบูรพา" และ "จูเลียต"

พ.ศ. ๒๔๙๓ - เกิดสงครามในคาบสมุทรเกาหลีระหว่างเกาหลีเหนือซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
 กับเกาหลีใต้ซึ่งปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย  รัฐบาลไทยประกาศส่งกำลังทหารเข้าร่วม 

                 
  - จนกว่าเราจะพบกันอีก จัดพิมพ์ครั้งแรก และเป็นเล่มแรกของสำนักพิมพ์สุภาพบุรุษ นวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของนวนิยายเพื่อชีวิตซึ่งเป็นพัฒนาการใหม่ของนวนิยายไทย 

                 
 - เรื่องสั้น "คำขานรับ" ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดลิเมล์วันจันทร์   

               
   - เขียนบทความเรื่อง "มองดูนักศึกษา ม.ธ.ก. ด้วยแว่นขาว"
ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนำไปพิมพ์เพื่อเตือนสตินักการเมืองบางคนในยุคนั้นที่พยายามทำลายสถาบันแห่งนี้  ประโยคอมตะในบทความนี้คือ

"ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" 

                 
 - เริ่มเขียน ปรัชญาของลัทธิมาร์กซิสม์ ลงพิมพ์เป็นบทความต่อเนื่องใน อักษรสาส์น รายเดือน

พ.ศ. ๒๔๙๔
- เดือนกุมภาพันธ์ มีการประชุมสภาสันติภาพสากลเป็นครั้งแรก ที่เมืองเบอร์ลินตะวันออก
 เรียกร้องให้มหาอำนาจเจรจาตกลงกันให้เกิดสันติ าพขึ้น รวมทั้งกรณีสงครามเกาหลี
 และมีการรับรองคนไทยสามคนให้เข้าร่วมงานส่งเสริมสันติภาพในสภานี้ด้วย
 คือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ สมัคร บุราวาศ และเพทาย โชตินุชิต

                 
  - เดือนเมษายน มีการก่อตั้ง คณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย นายแพทย์เจริญ สืบแสง เป็นประธาน

               
   - หนังสือ ข้าพเจ้าได้เห็นมา เรื่องราวจากประสบการณ์ที่ออสเตรเลีย จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๙๕ - เดินทางไปสวนโมกข์ ศึกษาพุทธศาสนากับท่านพุทธทาสภิกขุ

                   
- เรื่องแปลและเรียบเรียง เขาถูกบังคับให้เป็นโจร จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก

                 
 -ปราศรัยในที่ประชุมใหญ่สมาคมหนังสือพิมพ์ฯ และเขียนบทความเรียกร้องใ
ห้รัฐบาลเลิกเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์ และยกเลิก พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๔

                 
 - รับตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย เรียกร้องสันติภาพคัดค้านสงครามเกาหลี

                   
- เดือนตุลาคม เป็นประธานนำคณะจากสมาคมหนังสือพิมพ์ฯ
ไปแจกสิ่งของแก่ประชาชนภาคอีสานที่ประสบภัยแล้ง  วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน รัฐบาลจับกุมกุหลาบ สายประดิษฐ์ พร้อมทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ข้าราชการ จำนวนมากในข้อหา
"ขบถภายในและภายนอกราชอาณาจักร" ถูกตัดสินจำคุก ๑๓ ปี ๔ เดือน
และถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำบางขวาง
เรียกกันว่ากรณี "กบฏสันติภาพ"


 Cry Cry Cry

พ.ศ. ๒๔๙๖
 -เรื่องสั้นที่มีชื่อเสียงของ "ศรีบูรพา" เรื่อง "ขอแรงหน่อยเถอะ" ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ปิยะมิตรพ.ศ. ๒๔๙๗

                 
 - ฝ่ายเวียดนามเหนือรบชนะฝรั่งเศสในสมรภูมิเดียนเบียนฟู

                 

  - ไทยเข้าร่วมในองค์การ SEATO ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ
เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้

พ.ศ. ๒๔๙๘ - นวนิยายเรื่อง แลไปข้างหน้า ภาคปฐมวัย จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก

                   
-เขียนบทความเกี่ยวกับพุทธศาสนา นามปากกา "อุบาสก"
ลงในหนังสือพิมพ์ วิปัสสนาสาร ของสำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๕๐๐ - เดือนกุมภาพันธ์ ได้รับนิรโทษกรรมเนื่องในวโรกาสครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษ 





               
   - เดือนเมษายน ร่วมประท้วงรัฐบาลกรณีจับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ 

                 
 - เดือนกันยายน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม หนีออกนอกประเทศ 

                 
 - เดือนพฤศจิกายน ได้รับเชิญให้เดินทางไปเยือนสหภาพโซเวียตเพื่อร่วมฉลองครบรอบ ๔๐ ปี
ของการปฏิวัติโซเวียต

                 
  - หนังสือ อุดมธรรมกับความเรียงเรื่องพุทธศาสนา ๑๓ บท จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก 


  - เขียน แลไปข้างหน้า ภาคมัชฉิมวัย ลงพิมพ์เป็นตอนๆ ในปิยะมิตร

พ.ศ. ๒๕๐๑ - วันที่ ๑ มกราคม จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ ๑๐

                 
 - แม่ ผลงานแปลจากงานประพันธ์ของแมกซิม กอร์กี้ จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน โดยสำนักพิมพ์บุษบาบรรณ

                   
- ไปสหภาพโซเวียต หนังสือเล่มสุดท้ายของสำนักพิมพ์สุภาพบุรุษ



                 
 - เดือนสิงหาคม นำคณะผู้แทนส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน

               
   - วันที่ ๒๐ ตุลาคม จอมพลสฤษดิ์ ทำการปฏิวัติอีกครั้ง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเอง สั่งจับกุมคุมขังผู้รักชาติรักประชาธิปไตยจำนวนมาก  กุหลาบขอลี้ภัยอยู่ในจีน




                   
- เดินทางจากจีนไปร่วมประชุมกลุ่มนักเขียนเอเชีย-แอฟริกาที่เมืองทาชเคนท์ สหภาพโซเวียต

พ.ศ. ๒๕๐๖ - จอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. ๒๕๐๗ - เป็นหัวหน้าคณะเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ (สาขาสังคมศาสตร์) ที่ปักกิ่ง

พ.ศ. ๒๕๐๘ - เป็นหัวหน้าคณะเข้าร่วมประชุมนานาชาติที่ฮานอย ในการสนับสนุนประชาชนเวียดนามต่อต้านการรุกรานของสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. ๒๕๐๙ - เป็นหัวหน้าคณะเข้าร่วมประชุมกลุ่มนักเขียนเอเชีย-แอฟริกาที่ปักกิ่ง

พ.ศ. ๒๕๑๖
- เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พลังประชาชนล้มล้างรัฐบาลเผด็จการถนอม-ประภาส-ณรงค์  กุหลาบเขียนบทกวีร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ส่งมาเมืองไทย


พ.ศ. ๒๕๑๗ - วันที่ ๑๖ มิถุนายน กุหลาบ สายประดิษฐ์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคปอดบวมและเส้นโลหิตหัวใจตีบที่โรงพยาบาลเซียะเหอในปักกิ่ง อัฐิส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่สุสานปาเป่าซาน

พ.ศ. ๒๕๑๘ - แลไปข้างหน้า ภาคมัชฉิมวัย จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก

พ.ศ. ๒๕๑๙ - เกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ผลักดันนักศึกษาจำนวนมากเข้าป่าเป็นแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. ๒๕๒๑ - รัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม "คดี ๖ ตุลา"

พ.ศ. ๒๕๒๘ - ข้างหลังภาพ สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรก โดยเปี๊ยก โปสเตอร์

พ.ศ. ๒๕๓๑ - กองทุนศรีบูรพา มอบรางวัล "ศรีบูรพา" แก่นักเขียนที่สร้างสรรค์งานอันมีคุณค่าแก่สังคมและมนุษยชาติ เป็นปีแรก คือ "เสนีย์ เสาวพงศ์" หรือนายศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์

พ.ศ.๒๕๓๗ - อัฐิของกุหลาบได้รับการนำกลับมาไว้ที่สุสานหลวงวัดเทพศิรินทร์

พ.ศ. ๒๕๔๑ - ถนนสายหนึ่งในเขตบางกะปิ กรุงเทพฯ ได้รับการตั้งชื่อว่า ถนนศรีบูรพา และมีการจัดทำแผ่นป้ายคำสดุดีสันติภาพลายมือกุหลาบ สายประดิษฐ์ติดไว้ที่สวนสันติภาพ

พ.ศ. ๒๕๔๓ - ในวาระเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปีชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส คณะอนุกรรมการฝ่ายรางวัลปรีดี พนมยงค์ มอบรางวัลปรีดี พนมยงค์ สำหรับบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านประชาธิปไตยในรอบ ๑๐๐ ปีแก่ กุหลาบ สายประดิษฐ์

พ.ศ. ๒๕๔๔ - ข้างหลังภาพ สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งที่ ๒ โดยเชิด ทรงศรี

พ.ศ. ๒๕๔๕ - ข้างหลังภาพ จัดพิมพ์เป็นเล่มครั้งที่ ๓๖

พ.ศ. ๒๕๔๖ - วันที่ ๑๗ ตุลาคม ยูเนสโก (UNESCO) ประกาศการคัดเลือกบุคคลดีเด่นของโลก ปี พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๘ รวม ๔๓ คน เป็นคนไทยสองคน คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และ กุหลาบ สายประดิษฐ์

พ.ศ. ๒๕๔๘ - วันที่ ๓๑ มีนาคม การฉลอง ๑๐๐ ปีชาตกาล กุหลาบ สายประดิษฐ์




 
   
 
บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #6 เมื่อ: 19-08-2006, 07:14 »

เหมือน ทุกๆ ครั้ง ที่ลูกยังเล็ก และ พ่อจะเล่าเรื่อง นักเขียนในดวงใจของพ่อ
หนังสือเล่มโปรด โดย ไม่สงสัยเลยสักนิดว่า เด็กหญิงอายุ สิบขวบ คนนั้น
รับรู้ และ เข้าใจได้แค่ไหน

พ่อ บอกสั้นๆ ว่า ลูกควรอ่าน เมื่อโตขึ้น
พ่อ ให้ หนังสือ หลายเล่มเป็นของขวัญวันเกิด
พ่อ พา ลูกสาวไปสอนขับรถ ตั้งแต่ อายุ สิบสาม ...

แต่ ทุกๆ เรื่องที่ พ่อ สอน ...มันคือ ชีวิตของหนู การอ่านเป็น ชีวิต ค่ะ

หนูขอกล่าวถึง ความรู้สึก ของหนู กับ สุภาพบุรุษ ท่านี้เป็นลำดับต่อไป
บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
เม็ดทราย
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 25


เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน


« ตอบ #7 เมื่อ: 19-08-2006, 13:34 »

ยุคนี้อยากจะถามหาจิตสำนึกของสื่อสารมวลชน  ที่กล้าเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ เหมือนคนรุ่นก่อน ๆ
บ้านเมืองที่มันลุกเป็นไฟในทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันสื่อมวลชนยังไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่
กลับทั้งคนดีและสามัญชนต่างท้อแท้และปล่อยปละละเลยให้คนชั่วลอยนวล
บันทึกการเข้า

มีเม็ดทรายอยู่มากมายในแผ่นดินนี้
เมื่อเม็ดทรายหลายเม็ดมารวมกัน
จะก่อให้เกิดเป็นบ้านที่อบอุ่น
และเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งมั่นคง
ประชาราษฎรจะอยู่กันอย่างสงบสุขร่มเย็น.

วันนี้เม็ดทรายหลายเม็ดในประเทศไทย
จะประกาศให้ชาวโลกได้รู้ว่า
พวกเราชาวไทยจะร่วมกันสร้างชาติขึ้นมาใหม่
ด้วยความรักและสามัคคีปรองดอง
เพื่อไปสู่ความไพบูลย์ร่วมกัน
เราขอให้พันธสัญญา.
THE THIRD WAY
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,821


Love looks not with eyes, but with the mind.


« ตอบ #8 เมื่อ: 24-08-2006, 15:03 »

"นามของกุหลาบนั้นบ่งไปถึงต้นไม้ที่ดอกมีกลิ่นหอม
ดมก็ได้ ชมความงามก็ได้ ใช้ทำยาก็ได้ ใช้ลอยน้ำเพื่อดื่มด้วยความชื่นใจก็ได้
พร้อมกันนั้น กุหลาบก็มีหนามอันแหลมคม พร้อมที่จะทิ่มตำฝ่ายอธรรมและฝ่ายเผด็จการ...
 แม้คุณกุหลาบจะมีคุณค่าในฐานะนักเขียน นักหนังสือพิมพ์
 แต่คุณค่าที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือการเป็นสุภาพบุรุษผู้มีมนุษยภาพ..."
    ร่องรอยแห่งความจำได้ที่เป็นเกียรติประวัติสำคัญของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ในประการต่อมาเมื่อไม่นานนี้
 คือการที่เขาได้รับ รางวัลปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านประชาธิปไตยและสันติภาพ
 เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส
 เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ซึ่งในคำประกาศเกียรติคุณตอนหนึ่ง ได้กล่าวยกย่องเขาว่า เขาเป็นบุคคลพิเศษ
 
      "ในฐานะนักคิด นักเขียน และนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
 ด้วยวิถีทางอันปราศจากการใช้ความรุนแรง
ไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือทางอ้อม
ด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ และจริงจัง..."
--------------------------------------------------------
        "ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน
    แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก"[/
b] 
  "ศรีบูรพา" : ข้างหลังภาพ : ๒๔๘๐
---------------------------------------------------------
    "ไนเวลาสงบ ท้องฟ้าโปร่ง สว่างจ้าด้วยแสงตวัน
 ไคร ๆ ก็แลเห็นว่าเรายืนอยู่ที่ไหน
 เวลาพายุกล้าฟ้าคนอง ผงคลีฟุ้งตลบไปไนอากาส ไม่เห็นตัวกัน
 ต่อพายุสงบฟ้าสว่าง ไคร ๆ ก็จะเห็นอีกครั้งหนึ่งว่า เรายืนหยู่ที่เดิม และจักหยู่ที่นั่น..."

    กุหลาบ สายประดิษฐ์
    บทนำ : ประชามิตร สุภาพบุรุส
    ๑ ธันวาคม ๒๔๘๗
http://www.sarakadee.com/feature/2001/06/sri_burapha.htm/ตัดต่อความเดิม
บันทึกการเข้า

ความรักนั้นหวาน ไม่ว่าจะรับหรือให้
************************
การขับไล่ทรราช เป็นภารกิจของเจ้าของประเทศ
หน้า: [1]
    กระโดดไป: