ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 18:06
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  OTOP อีกครั้งหนึ่ง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
OTOP อีกครั้งหนึ่ง  (อ่าน 1421 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 13-04-2006, 00:41 »

เสี่ยทักษิณและแกนนำพรรคไทยลักไทยพยายามเชิดชูโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อย่างชื่นชมและให้การสนับสนุนต่อเนื่อง เพื่อเป็นผลงานชิ้นหลัก ชินสำคัญสร้างรายได้ให้รากหญ้าและผู้ประกอบการรายเล็กรายกลาง

นายธนาคาร ผู้บริหารสถาบันการเงินต่างๆ มีความรู้สึกเอือมระอากับโครงการนี้อย่างยิ่ง เพราะเนื้อแท้ของโครงการไม่ได้บรรลุผลตามที่ได้ประชาสัมพันธ์และทุ่มเงินภาษีไปแล้วจำนวนไม่น้อย....

ผลิตภัณฑ์ที่ตีตราโอทอปจำนวนเท่าใด มากน้อยเพียงใดที่ได้เข้าจำหน่าย จัดเรียงในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าปลีกขนาดใหญ่และทันสมัยภาคเอกชนในขณะนี้ ?

ที่ผ่านมานั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้จ่ายเงินภาษีและเวลาไปเพื่อประชาสัมพันธ์และโฆษณามากกว่าการพัฒนาการบริหาร การจัดการและการพัฒนาการของผลิตภัณฑ์ให้ภาคเอกชนอย่างแท้จริง  เมื่อได้สำรวจ วิจัยอย่างจริงจัง จะได้ข้อเท็จจริงว่าสินค้าที่เสี่ยทักษิณและเจ้าหน้าที่รัฐฯ ตีตราเป็นโอทอป เกือบทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายให้ผู้ค้าปลียรายกลาง รายใหญ่แลรายยักษ์ได้ด้วยคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการจัดการที่ดีของผู้ประกอบการมากกว่า"ตราโอทอป"ของเสี่ยทักษิณ

ในเรื่องนี้ถ้าสอบถามผู้บริหารสถาบันการเงิน จะได้รับคำอธิบายว่าพวกเขาจำใจ จำเป็นต้องกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนโครงการโอทอป พร้อมการลงบัญชี"หนี้สูญ" ไว้จำนวนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว

ในการจัดจำหน่ายให้ผู้ค้าปลีกรายใหญ่นั้น สามารถยืนยันได้ว่าเพราะคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริหารการจัดการของผู้ประกอบการมากกว่า เพราะการเข้าโครงการโอทอป ดั่งที่เสี่ยทักษิณและแกนนำไทยลักไทยโหมประโคมข่างและโฆษณาการ


ดั่งนั้นโครงการโอทอป จึงเป็นโครงการเอื้ออาทรที่เลี้ยงไม่โตและก้าวหน้าต่อเนื่องอย่างที่คาดหวังไว้....


หากเสี่ยทักษิณต้องการให้ผลิตภัณฑ์โอทอปเป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อ ประชาชนทั่วไป แทนผู้ซื้อจัดตั้งแล้ว ควรจะเน้นการให้ความรู้ การพัฒนาสินค้ามากกว่า การประชาสัมพันธ์หรือการจัดนิทรรศการหรือการแสดงสินค้าเป็นครั้งคราว.....
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 13-04-2006, 00:53 »

หนึ่งในโครงการประชานิยม ได้คะแนนเป็นหลัก (ได้คะแนนเสียงไปแล้ว)

การติดตาม ประเมินผล การรับผิดชอบโครงการ ไม่มีเหมือนเดิม

(ช่วงก่อนชาวบ้านล้อมกระทรวง ล้อมธนาคาร.. ให้แก้ปัญหาเรื่องหนี้...)
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
บก.ลายจุด
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13-04-2006, 10:51 »

เรือ่ง OTOP ต้องมองหลาย ๆ มุมครับ ผมขอนุญาตมองเพิ่มมุมนะครับ


ผมเข้าใจว่า แนวคิดเรื่องนี้ตอนเริ่มต้นมีองค์ประกอบด้วยกันหลายประการ
หนึ่ง..ภูมิปัญญาชาวบ้าน
การพัฒนาชนบท จะต้องพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่เขามีอยู่ และข้อเท็จจริง ชาวบ้านมีภูมิปัญญาของตนเองอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ทักษะ การผลิตภัณฑ์ และ ความรู้  ผู้รู้ (ปราชญ์ชาวบ้าน) ซึ่งสิ่งเหล่าชุมชนจะเป็นคนตอบเองว่า เขามีอะไรที่เป็นของดีในชุมชน มันไม่ใช่แค่ประเด็นทางเทคนิคเท่านั้น(ประชานิยม) แต่มันคือการยอมรับในความมีตัวตน และ เสมอกัน ของคนในชนบท กับ คนเมือง ในทัศนะคติของคนเมือง เราแทบมองไม่เห็นคนในชนบทมีสติปัญญาอะไรเลย นอกจากแรงงานราคาถูก และ คนไร้การศึกษา แทบจะเป้น Nobody ดังนั้นการหยิบเรื่องนี้มา ทำให้คนชนบทมีที่ยืนที่สง่างามและได้รับการยอมรับ

สอง....ยกระดมการบริหาร
สินค้าและภูมิปัญญาที่ชุมชนมีอยู่ ยังมีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพ และการบริหารจัดการ ดังนั้นการจัดกระบวนการมากมายในการสนับสนุน OTOP ซึ่งประกอบด้วยการเฟ้นหา "ของดีในชุมชน" และนำมาอบรม สัมมนา เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ มีสินค้ามากมายทีถูกพัฒนาต่อยอด เพิ่มคุณภาพ เพิ่มการจัดการ ทำให้มียอดขายเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช้ยอดขาย แต่เป็นวิธีคิดของคนในชุมชนที่สามารถมองเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเข้าใจระบบธุรกิจได้ดีขึ้น

สาม....การสร้างแบนด์ และทำตลาดกลาง
รัฐส่งเสริมทุกวิถีทางที่จะสร้างแบนด์ OTOP ขึ้นมา เพื่อเป็นแบนด์ของประเทศ การลงทุนโดยภาครัฐในช่วงเริ่มต้นแบบนี้ มันก็เหมือนกับประเทศมี ททท ที่ใช้ในการสนับสนุนการท่องเที่ยว และ เป็นกลไกในการสนับสนุนผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่เป็นรายเล็กรายน้อย กลวิธีเช่นนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนโดยส่วนกลาง

สี่......การสนับสนุนด้านการเงิน
เมื่อก่อน รัฐสนับสนุนให้ปลูกพืชผลทางการเกษตร รวมถึงปศุสัตว์ โดยให้เงินกู้ ปัญหาคือ มันเจ๊ง ไม่มีตลาด และ ส่งเสริมแบบทำเหมือน ๆ กันเยอะ ๆ มันเลยไปไม่ได้ และการที่รัฐเปิดช่องทางใหม่ เพื่อหนีความล้มเหลวในอดีต โดยการสนับสนุนอุสาหกรรรมชุมชนจึงเป็นความริเริ่มที่ผมเห็นว่าน่าสนใจ และ การประกอบการ ย่อมจะต้องมีการลงทุนมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่พวกเราจะคิดว่าสร้างหนี้หรือเปล่า แต่คนอย่างทักษิณบอกว่า นี่คือ การลงทุน ไม่ใช้ค่าใช้จ่าย Investment กับ Cost การลงทุนคือ หวังผลการได้คืน และ นำไปสู่ กำไรที่มากขึ้น

สรุป.......
แม้ว่า OTOP จะมีแง่มุมที่เป็นคำถามถึงความสำเร็จ และ คาบเกี่ยวที่จะถูกตีความว่าเป็นนโยบายประชานิยม แต่ในความเป็นจริง โครงการนี้ริเริ่มและพยายามสร้างทางเลือกใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้า และ สร้างผู้ประกอบการจากชุมชน และตราบใดที่ชุมชนยังเห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อเขา และยังเป็นสิ่งที่เชื่อว่าดี เราคงต้องให้โอกาสชุมชนในฐานะคนได้รับประโยชน์ได้ใช้เวลาในการพัฒนาต่อไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งระหว่างทาง ก็ควรมีการสรุปบทเรียนเพือปรับปรุงในข้อด้อยต่าง ๆ เช่นกัน
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #3 เมื่อ: 14-04-2006, 09:48 »

ตอบคุณ บก.ลายจุด

ผมคิดว่าคุณ บก.ลายจุดเข้าใจปัญหาส่วนหนึ่งของการเร่งรัดโครงการotop สู่ธุรกิจ สู่ตลาดไทย และตลาดต่างประเทศ.....

ก่อนหน้าที่เสี่ยทักษิณจะดำเนินโครงการโอทอบ คนในชนบทก็มีสินค้า ผลิตภัณฑ์สู่สังคม สู่ตลาดบ้างแล้ว สินค้าที่มีคุณภาพ ด้านใด ด้านหนึ่งจะถูกนำสู่ตลาดโดยผู้ประกอบการ หรือ คนกลางในชนบท หรือคนกลางในเมือง หรือคนกลาง(ซัพพลายเออร์)ระดับชาติในกรุงเทพมหานคร

สินค้าที่มีโอกาสสู่ตลาดในเมือง จะได้รับการพัฒนาการระดับหนึ่ง ถ้าผ่านคนกลางระดับชาติจะได้รับการพัฒนาการหลายรูปแบบ หรือ รอบด้านให้มีสินค้ามีคุณภาพ บรรจุภัณฑ์เหมาะสม ฯลฯ เพื่อวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกสมัยใหม่

รัฐบาลของเสี่ยทักษิณ มีความคิดอ่านอยากจะกระจายสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้านสู่ตลาด สู่สังคมด้วยเจตนาซ่อนเร้น ให้เป็นโครงการประชานิยม มากกว่าการส่งเสริมอย่างจริงจังและมืออาชีพ จึงไม่ได้ศึกษาหรือวางแผนการถูกต้อง ถือผู้ประกอบการหรือภูมิปัญญาชาวบ้านเป็น"หนูลองยา".....

ไม่คัดเลือก ไม่วางนโยบายว่าผลิตภัณฑ์ชนิดใดควรพัฒนาการรูปแบบใดก่อน จึงจะนำเผยแพร่สู่ตลาดได้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นธุรกิจถาวร ไม่ใช่สินค้าขายในนิทรรศการที่ศูนย์แสดงสินค้าบางครั้งบางคราวเท่านั้น

บางครั้งสินค้าที่จำหน่ายในงานแสดงสินค้าฯ ได้มีการวางแผน การ"ซื้อเทียม" ไว้แล้ว ทำให้ผู้ประกอบการ หลงเข้าใจผิดว่า สินค้าของเขาขายได้ตามหลักการ อุปสงค์-อุปทาน จริงๆ  จึงขยา กู้หนี้ยืมสินเพื่อขยายกิจการ  ทำให้ผู้ประกอบการระดับนี้ ล้มเหลว เป็นหนี้ที่ไม่สามารถชำระได้จนถึงทุกวันนี้ และรัฐบาลของเสี่ยทักษิณ ที่กำลังผจญวิกฤตการเมือง วิกฤตศรัทธา แก้ไขปัญหาด้วยการบีบบังคับให้ธนาคารของรัฐและเอกชนเข้าไปโอบอุ้มมากยิ่ง หรือ ลดหนี้กันถึง 50 % พร้อมเงื่อนไขอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหา ไม่ให้ซ้ำเติมวิกฤตการเมืองและวิกฤตศรัทธา....

โครงการโอทอป กับ โครงการบัตร 30 บาท เป็นโครงการประชานิยมหรือโครงการเอื้ออาทรอย่างแท้จริง เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ ทั้งที่ความคิดขั้นปฐมนั้นเป็นสิ่งที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการใหม่จากชนบทได้มีโอกาสแสดงภูมิปัญญาชาวบ้าน สู่ตลาด.....

แต่เนื่องจากเป็นโครงการประชานิยม จึงเร่งรัดให้ผู้ประกอบการจากชนบทนำผลิตภัณฑ์ของเขาสู่ตลาดในเมือง ในตลาดระดับชาติเร็วเกินไป โดยไม่มีให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบการ การควบคุมคุณภาพ การพัฒนาการ การบริหาร การจัดการและการช่วยเหลืออย่างแท้จริง เป็นภาระของรัฐบาลและสังคมที่เอาใจช่วย....

โครงการเอื้ออาทร 30 บาท ที่จำกัดในบนพื้นฐานประชาชนที่ยากจน ไม่มีโอกาสได้รับการรักษาพยาบาลแผนใหม่ หรือ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในด้านค่าใช้จ่าย ก็เป็นสิ่งดี  แต่การที่ให้เป็นโครงการเอื้ออาทร ที่เปิดกว้างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่สมควรจะอยู่ในข่ายนี้ แสวงหาประโยชน์จากโครงการ เป็นภาระแก่งบประมาณแผ่นดิน ภาษีของประชาชนด้วย
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
บก.ลายจุด
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 14-04-2006, 10:14 »

ผมเห็นว่าโครงการนี้มีพัฒนาการ
ช่วงแรก มันเริ่มต้นจากการค้นหาของดีในแต่ละหมู่บ้าน เป็นโครงการ One Village One Product.
ต่อมาพบว่า คำตอบของสินค้า มักเป็น "น้ำพริก กับ น้ำปลา" จึงได้คัดสรร สุดยอดระดับตำบลขึ้นมา กระบวนการแข่งขันก็เป็นกระบวนการในการกระตุ้นการพัฒนา การจัดเวทีเรียนรู้ จัดกิจกรรมร่วมกัน ก็ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์มากมาย

ประเด็นท้าทายของเรื่องนี้ คือ ตลาดจริง
ว่ามันมีอยู่จริงหรือไม่ หรือมันกระตุ้นตลาดได้หรือเปล่า

ดังนั้นสินค้าจึงถูกกระตุ้นให้ปรับเปลี่ยนคุณลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับผู้ซื้อมากขึ้น ทั้งคุณภาพ หีบห่อ แบนด์(ความน่าเชื่อถือ)

หน้าร้าน....การส่งเสริมให้สินค้าเหล่านี้ไปวางตามที่ต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้ผมเห็นว่ามันไปวางไว้เต็มไปหมด และผมเชื่อว่า ตลาดถูกกระตุ้นขึ้นหลายเท่าตัว แนวทางนี้ ผมยังอยากให้มีการดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ ให้สินค้าเหล่านี้ไปวางอยู่ในที่ ๆ ต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไปอยู่ในโรเรียนต่าง ๆ อยู่ในบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เพราะใช้ตลาดภายในประเทศ เป็นการรับรองการผลิตจากชุมชน

การขยายสู่ตลาดต่างประเทศ.....ผมเห็นความพยายามของรัฐบาลในการขยาย และ สู้ตายเรื่องนี้ แม้จะได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่การที่ไม่หยุดหย่อนต่อการพัฒนาตนเอง ความล้มเหลว หรือ ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นบันไดในการก้าวไปสู่ข้างหน้า

ผมอาจเป็นนักฝัน และ มองโลกในแง่ดีเกินไปในสายตาของคนหลายคน
แต่ผมมักให้โอกาสตัวเองในการเชื่อว่า โลกควรมีช่องทางที่จะดีขึ้น และถ้าใครเสนอตัวหรือพยายามทำสิ่งนั้นให้เห็น ผมขอเลือกที่จะสนับสนุนแนวทางใหม่ ๆ เหล่านั้น

ที่ผ่านมา ผมไม่เคยเห็นรัฐบาลไหนมีความพยายามในเรื่องนี้เลย ขอผมฝันหวานหน่อยเถอะนะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: