ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 00:01
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สโมสรริมน้ำ  |  แฟนๆ พรรคแมลงสาบ มาแก้ตัวเร็วเข้า หึึหึ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
แฟนๆ พรรคแมลงสาบ มาแก้ตัวเร็วเข้า หึึหึ  (อ่าน 1468 ครั้ง)
Atisaki
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 21


รักกันๆ


« เมื่อ: 14-08-2006, 22:11 »

ผ่า "วาระประชาชน" ปชป. พิสูจน์นโยบายของแท้หรือของเทียม


นับตั้งแต่ต้นปีสถานการณ์การเมืองของประเทศไทย ถือว่าอยู่ในภาวะที่ล่อแหลม ยุ่งเหยิงจนเป็นที่หวั่นวิตกของประชาชนมาตลอดว่าทางเดิน ในอนาคตของประเทศจะไปทางไหน?

แม้รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะยุบสภาลงตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.2549 แต่จนถึงบัดนี้การบริหารประเทศยังไม่ถูกผลัดมือ ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจถูกรุมเร้าจากปัจจัยลบทั้งภายใน และภายนอกประเทศ การทำงานของรัฐบาลรักษาการก็มีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้เต็มที่

เป็นผลให้การบริหารประเทศแทบหยุดนิ่ง!

พร้อมกันนี้ ประชาชนส่วนหนึ่งยังมีความคลางแคลงใจในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ประกอบกับการบริหารประเทศที่ยาวนานถึง 5 ปี ทำให้ประชาชนบางส่วนเริ่มเบื่อหน่าย อยากมีทางเลือกใหม่ๆ

บัดนี้เสียงเชิดปี่กลองหาเสียงเลือกตั้งได้ดังกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง

ถ้าถามใจประชาชนก็คาดหวังที่จะเห็นทางเลือกใหม่ๆให้กับประเทศ และถ้ามองหาพรรคการเมืองที่จะเป็นทางเลือกใหม่แล้ว ก็คงไม่อยากได้คำตอบว่า ประเทศไทยหมดทางเลือกแล้ว

ขณะเดียวกันนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้ประกาศกำหนด “การพัฒนาประเทศที่เป็นทิศทางใหม่” ภายใต้ “วาระประชาชน” โดยมีสโลแกนว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”

จะว่าไปแล้วพรรคประชาธิปัตย์นับเป็นพรรคที่มีประวัติศาสตร์ ยาวนาน ในช่วงระหว่างการบริหารประเทศของรัฐบาลทักษิณ พรรคประชาธิปัตย์มีเวลาถึง 5 ปี ที่จะคิดวิธีการบริหารจัดการประเทศที่เป็นทางเลือกใหม่ ให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน

แต่ภายหลังจากที่เปิดนโยบายออกมา อย่าว่าแต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ ของนักวิชาการที่ออกมาแสดงความกังขาในหลายแง่ หลายประเด็นเลย

ความรู้สึกของประชาชนเองก็ยังงุนงง และไม่เห็นความชัดเจนกับสิ่งที่เป็นทางเลือก!!!

“ทีมเศรษฐกิจ” จึงได้รวบรวมแนวนโยบายทางเศรษฐกิจ ภายใต้ “วาระประชาชน” ของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น

นายอภิสิทธิ์ประกาศว่า ตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ขบวนการบริหารประเทศ นำพาประเทศ และประชาชนถลำลึกเข้าสู่วิกฤติมากขึ้น

ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ระบุว่า ประชาชนยากจนที่สุดของไทยมีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 20 เท่าในปี 2547 เมื่อเทียบกับ 8 เท่าจากปี 2543 ก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะเข้ามาบริหารประเทศ

เป็นจุดบ่งชี้ว่า ประชาชนไม่ได้เข้มแข็งขึ้น ไม่ได้มีฐานะดีขึ้น ขณะที่หนี้สินต่อครัวเรือนในปี 2547 คือ 104,571 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นมาจากประมาณ 68,279 บาทต่อครัวเรือนในปี 2544 เท่ากับว่าประสิทธิภาพเศรษฐกิจไม่ได้ดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนหนี้สินต่อเงินเหลือจ่ายแต่ละเดือนของครัวเรือนสูงถึง 39 เท่า

ขณะนี้ประเทศกำลังเกิดวิกฤติค่าครองชีพ และความยากจน พี่น้องประชาชนเป็นหนี้ ไม่มีเงินออม รายจ่ายสูง รายได้น้อย มาจากภาระหนี้ จากการผูกขาดทางธุรกิจ จากนโยบายที่เอาประโยชน์ของกลุ่มอื่นมาก่อน และวันนี้คนไทยเสียภาษีคอรัปชันสูงมาก

“เกิดขึ้นเพราะทิศทางการพัฒนาของรัฐบาลไทยรักไทยที่ตั้งโจทย์ผิด อยากจะพัฒนาเศรษฐกิจก็คิดอย่างเดียวว่าจะทำอย่างไรให้เงินมันหมุน เวียน แล้วใช้ตัวเลข

จีดีพีเหมือนกับคำตอบทุกเรื่อง แต่ เป้าหมายของวาระประชาชน ทุกคนในประเทศไทยต้องมีที่ยืนที่ภูมิใจและอยู่ได้ อย่างมีศักดิ์ศรี”

พรรคประชาธิปัตย์จึงมีแนวคิดเศรษฐกิจคุณภาพ ไม่วัดการเติบโตปีใด ปีหนึ่ง แต่เป็นการโตที่สมดุล ไม่ใช่การเติบโตที่มีความเสี่ยง โดยเริ่มต้นด้วยการเอา “คน” เป็นตัวตั้ง

เรื่องแรกที่ต้องดูแลคือ “หลักประกันสุขภาพทั่วหน้า” ซึ่งเริ่มมีตั้งแต่สมัยพรรคประชาธิปัตย์ รักษาเด็ก คนแก่ คนจนฟรี รัฐบาลไทยรักไทยเอามาทำเป็น 30 บาท ซึ่งตอนนี้มีปัญหา 3 ด้าน คือ เรื่อง คุณภาพ แพทย์และพยาบาล รับภาระหนักจากการบริการที่สูงขึ้น และงบประมาณต่อหัวที่ไม่เพียงพอ

พรรคประชาธิปัตย์จึงมองการปรับระบบการบริหารจัดการใหม่ ให้ประชาชนจะได้รับบริการรักษาฟรี ไม่ต้องจ่ายแม้เพียง 30 บาท เพราะทุกปีการเก็บ 30 บาท จะได้เงินเพียง 1,000 ล้านบาท เทียบกับ 100,000 ล้าน ที่ต้องลงทุนไม่ได้เลย

“นักวิชาการบอกว่าถ้าจะปรับให้มีมาตรฐาน ต้องให้เงิน 2,000 บาทต่อหัว เราจึงหาวิธีการให้เงินต่อหัวเพียงพอ โดยเข้าไปจัดระบบกองทุนประกันสังคม ในส่วนการรักษาพยาบาลที่มีเงินเหลือมาก ให้คนเอาประกันตนในระบบนี้สามารถขยายสิทธิ์ อาจไปสู่ครอบครัวหรือคนที่เขาระบุ เพื่อให้คนที่อยู่ในโครงการ 30 บาท มาใช้สิทธิประกันสังคม เป็นการเอาคนส่วนหนึ่งประมาณ 6 ล้านคน ออกมาจากระบบหลักประกันสุขภาพ”

ทำให้เงินเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ จาก 1,659 บาทในขณะนี้ เป็น 1,800-1,900 บาทต่อหัว และรัฐเติมเงินเพียงเล็กน้อยก็ครบ 2,000 บาทต่อหัว

สำหรับวิกฤติเฉพาะหน้าเรื่องค่าครองชีพ และหนี้สินจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 13 บาท

“พี่น้องผู้ใช้แรงงานยังไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงต้องปรับเพื่อความเป็นธรรม จากค่าแรงขั้นต่ำ 184 บาท หากต้องการวิ่งให้ทันค่าครองชีพและมีประสิทธิภาพแรงงานเพิ่มต้องขึ้นให้อีก 13 บาท ซึ่งคำนวณแล้วว่าจะกระทบเงินเฟ้อเพียง 0.2% ของจีดีพี”

พร้อมๆกับการลดราคาน้ำมันลง 2 บาทต่อลิตร บางคนถามว่า ทำได้จริงหรือเปล่า

เป็นการฝืนธรรมชาติ ฝืนกลไกตลาด พูดชัดๆว่า ราคาน้ำมันที่ปรับลงได้ไม่เกี่ยวกับกลไกตลาด แต่เพราะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งมีหนี้จากการอุดหนุนราคาน้ำมัน ไม่ควรเป็นภาระประชาชน

“ถ้าถอดภาระหนี้ออกไป จะทำให้ลดเบนซิน ลิตรละ 2.50 บาท และดีเซล ลิตรละ 90 สตางค์เท่ากับที่นำส่ง แล้วหาเงินที่อื่นมาเพื่อบริหารหนี้กองทุนน้ำมัน เรามี ปตท.รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานที่มีกำไรแสนล้านบาท ทุกวันนี้ปันผลให้รัฐ 30% คำนวณแล้วถ้าให้ปันผลเพิ่มขึ้นเป็น 50% เพียง 2-3 ปี ก็บริหารล้างหนี้กองทุนน้ำมันได้”

สำหรับการลดค่าไฟฟ้าลง กฟผ.มีสูตรคำนวณค่าไฟ และเอฟทีอยู่หลายสูตร แต่ ตอนที่จะขาย กฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปกำหนดผลตอบแทนในการลงทุนมาก ทำให้ ต้องผลักภาระค่าไฟให้ประชาชน เพียงแค่ปรับไปอยู่ในเกณฑ์วัดเดิมก่อนมีนโยบายขาย ก็ปรับค่าไฟฐานลงมาได้

ส่วนการลดค่าก๊าซหุงต้ม สามารถอุดหนุนได้ในระยะเวลาที่จำเป็น และไม่เห็นว่าการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มไปบิดเบือนพฤติกรรมของผู้ใช้ และจะหาทางจัดสรรกำไรของผู้ส่งออกก๊าซที่ได้กำไรสูงถึงกิโลละ 8 บาท มาช่วยเหลือผู้บริโภค

นโยบายสำคัญมากๆ คือ กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเงินให้เปล่าในกรณีลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่วนรวมในชุมชน หรือโครงการที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง และอีกส่วนเป็นเงินทุนกู้ยืมระยะยาว ซึ่งจะทำให้มีเวลาสร้างธุรกิจได้อย่างแท้จริง

“ที่ผ่านมาคนชอบขู่ว่า ถ้าเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้วจะไม่มีเงินไปรากหญ้า ผมอยากให้ทบทวนว่า เงินที่ทุ่มไปรากหญ้าอยู่ที่รากหญ้าหรือหมุนกลับมาที่กลุ่มทุนใหญ่ แต่เราจะทำให้เงินอยู่รากหญ้า...ยั่งยืน”

วาระประชาชน ภายใต้แคมเปญหลากรูปแบบข้างต้นนี้ นอกจากจะไม่สามารถเรียกเสียงขานรับจากประชาชนในกลุ่มต่างๆได้แล้ว แต่ละบรรทัดที่พูดถึงภารกิจอันสำคัญยิ่งของพรรคประชาธิปัตย์ ยังผสมผสานไว้ด้วยความเกลียดชัง และความต้องการจะลงโทษพรรคไทยรักไทยเป็นหลักอยู่ตลอดเวลา

ถึงแม้ว่า วันนี้ สังคม และสื่อมวลชนจะลงโทษหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในความผิดมากมายภายใต้ข้อกล่าวหาต่างๆ นานาไปแล้วระดับหนึ่ง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่เพียงพอ หรือสาแก่ใจใครบางคนที่ยังคงดำรงตนเป็นคู่แข่งทางการเมืองในทุกกาลเทศะ

นี่เองที่ทำให้การนำเสนอเนื้อหาและแนวนโยบาย ในเชิงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ คงออกมาในลักษณะที่เอาแต่การพร่ำพรรณนา และใช้สำนวนโวหารเข้าว่า แล้วจับเอาตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวเข้ามาประกอบอย่างขาดหลักวิชาการ ทั้งมิได้ศึกษาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเพียงพอที่จะบอกให้ประชาชนรู้ได้ว่า

ที่สุด ถ้าต้องเลือกพรรคประชาธิปัตย์กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ประชาชนจะอยู่ดีกินดีตามอัตภาพอย่างไร ภายใต้ปัญหาและปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่กำลังเผชิญหน้าอยู่

ที่แย่กว่านั้น ก็คือ ทำไมหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่พูดเสมอว่า จะต้องล้มระบอบทักษิณซึ่งเป็นตัวแทนของระบบทุนนิยม และการคอรัปชันเชิงนโยบาย จะถ่มน้ำลายรดฟ้า กลับมาประกาศกับสังคมอย่างไม่อายว่า จะต่อยอดนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยด้วยวิธีการต่างๆ มากมายภายใต้คำพรรณนาที่ว่า

ประชาธิปัตย์จะพยายามล้างบางความผิดพลาดของรัฐบาลทักษิณ ในเรื่องของการใช้เงินกองทุนน้ำมันเพื่อไม่ให้ความผิดนั้นกลับมาเป็นภาระของประชาชน หรือผู้ใช้น้ำมัน

มาดูประเด็นนี้ให้ชัดอีกที โดยเฉพาะในกรณีที่มีข้อเสนอลดราคาน้ำมัน และให้ ปตท.จ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปใช้หนี้กองทุนน้ำมัน ประเด็นนี้ ดูเหมือนนายอภิสิทธิ์จะหันกลับไปทำผิดซ้ำเสียเอง ในขณะที่นโยบายนี้กลายเป็นอดีตไปแล้วสำหรับรัฐบาลทักษิณ

เอสแอนด์พีก็เพิ่งจะประกาศไม่นานนี้ว่า มีแนวโน้มที่อาจเป็นไปได้สูงว่า ระดับราคาน้ำดิบจะพุ่งขึ้นไปติดยอดดอยถึง 200 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลในอนาคต ดังนั้น การลดราคาน้ำมันเพียงจิ๊บจ๊อย หรือครั้งเดียว คงไม่ช่วยอะไร ส่วนกำไรสุทธิของ ปตท.ก่อนจ่ายเงินปันผล ก็คงเป็นความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงว่ามีมากถึง 100,000 ล้านบาท อีกเช่นกัน

ถ้าลองเปิดเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ดู จะพบว่า จริงๆกำไรของ ปตท.มีเพียง 30,000-40,000 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นของธุรกิจในเครือที่ ปตท.กอบกู้กิจการไว้ได้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และเพิ่งฟื้นไข้ได้เพียงไม่กี่ปีมานี้ ฉะนั้น ถ้าจะเอาเงินกำไรจาก ปตท.มาตัดหนี้กองทุนน้ำมันเกือบ 60,000 ล้านบาท จึงอาจต้องเอาทุกปี เป็นเวลานานถึง 10 ปี ไม่ใช่แค่ 2-3 ปีอย่างที่พูด

มาถึงแนวคิดการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำรวดเดียว 13 บาท แล้วบอกว่า จะกระทบกับเงินเฟ้อเพียง 0.2% ของจีดีพี ตรงนี้ ทีมเศรษฐกิจขอเถียง เพราะแค่พูดว่า จะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ หรือค่าจ้างขั้นต่ำ ราคาสินค้าก็ปรับขึ้นไปรออยู่แล้วทุกครั้ง นี่ยังไม่นับผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ตามมา ซึ่งจะมีผลต่ออัตราการเร่งตัวของเงินเฟ้อโดยอัตโนมัติ ในขณะที่การจะปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานจะต้องผ่านการพิจารณาร่วมกันของที่ประชุมไตรภาคี แน่นอนว่า มันไม่ใช่แค่การลองคำนวณดูคร่าวๆ แค่เอาค่าจ้างขั้นต่ำตั้ง แล้วเอาประชากรผู้ใช้แรงงานหารเท่านั้น ที่สำคัญ คำพูดสะเพร่าบางคำ อาจทำให้ต่างชาติที่ได้ยิน ถอยทัพการลงทุนไปได้ง่ายๆ

ทีนี้หันไปดูแนวคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพที่ว่า ประชาชนทุกคนจะได้รับการรักษาฟรี โดยไม่ต้องจ่าย 30 บาท ขณะเดียวกันจะฝากคนจำนวนหนึ่งไปใช้สิทธิประโยชน์ในกองทุนประกันสังคม เพื่อให้โครงการหลักประกันสุขภาพมีเงินเหลือมาเพิ่มงบรักษาพยาบาลครบหัวละ 2,000 บาท

กรณีนี้ก็เช่นกัน หากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะศึกษาผลการดำเนินงาน และความสำเร็จ ของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ชัดเจนกว่านี้ ก็จะทราบว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีแผนจะเพิ่มเงินเหมาจ่ายรายหัวของปี 2550 เป็น 2,089 บาท ขณะที่ประชาชนกว่า 47 ล้านคนวันนี้ สามารถเข้าถึงการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ และมีค่าใช้จ่ายสูงได้แล้ว ภายใต้การบริหารจัดการร่วมกันของโรงพยาบาลรัฐที่มีบุคลากรพร้อม และโรงพยาบาลเอกชนที่มีเครื่องไม้เครื่องมือดีกว่า

ที่จะเป็นปัญหาก็คือ ถ้ายกเลิก 30 บาท จะต้องกลับไปสู่ระบบเดิมที่คนไม่มีเงินจ่ายจริงๆเท่านั้น จะได้รับการรักษาฟรีหรือไม่

เราพูดเสมอว่า การเมืองสมัยใหม่วัดกันด้วยนโยบายที่ต้องมาจากกลุ่มคนซึ่งรู้จริง รู้ลึก และรู้ซึ้งถึงปัญหาบ้านเมือง ไม่ใช่การเมืองแบบฉาบฉวยที่ปรุงแต่งนโยบายขึ้นเพื่อมุ่งหวังจะช่วงชิงคะแนนเสียงจากประชาชน โดยเฉพาะจากคนในระดับรากหญ้าที่มักถูกว่ากล่าวบ่อยครั้งว่า หลอกง่าย และมีเงินก็ซื้อได้

ขณะที่นโยบายจากพรรคการเมืองที่ผู้คนต้องการรู้ และรับฟัง ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนมากไปกว่า 3-4 เรื่องเหล่านี้ เช่น เศรษฐกิจจะเดินไปทางไหน สังคมไทยจะสงบสุขเพียงไร จะดูแลการกินอยู่ จนถึงสุขภาพของผู้คนอย่างไร และสุดท้าย จะปกครองประเทศด้วยระบบการเมืองใด เป็นต้น

จริงๆคนส่วนใหญ่อาจขอแค่ให้อยู่ดีมีสุขตามอัตภาพ ไม่ถึงกับร่ำรวย แต่ต้องไม่ยากจน เท่านี้ ก็เพียงพอแล้ว

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าตีฆ้องร้องป่าวมาตลอดว่า ตัวเลขจีดีพีไม่มีความหมาย เพราะการแบ่งผลประโยชน์จากการเติบโตของจีดีพีไม่เป็นธรรม คนจำนวนน้อยมีรายได้มากกว่าคนครึ่งค่อนประเทศซึ่งเข้าลักษณะใครมือยาว สาวได้สาวเอา

สิ่งที่ควรนำเสนอก็น่าจะเป็นนโยบายของการสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเน้นการสร้างงาน การกระจายรายได้ และทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดในระดับการผลิต และการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ไม่ใช่การเอากองทุนเศรษฐกิจอีกกองทุนเข้าไปแทนที่กองทุน หมู่บ้าน แทนที่กองทุนมิยาซาว่า หรือเงินผันในอดีต ที่สำคัญ ไม่ใช่การกลับมาลอกเลียนแบบ หรือต่อยอดนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า จะนำประเทศไปสู่ความหายนะทางเศรษฐกิจ

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงยืนกรานในวาระประชาชนฉบับนี้ ที่สุดผู้คนก็อาจต้องตัดสินใจว่าจะเลือกอะไร ระหว่างของแท้กับของเทียม

และเลือกใคร ระหว่างเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาแท้ๆ กับนักลอกเลียนแบบ.

ทีมเศรษฐกิจ
 

จาก  http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic02&content=16027


อย่างที่เคยบอกไว้  ของลอกเลียนแบบ   

จะแถก้อได้นะว่า นี่คือประชานิยม แบบระบอบแมลงสาบ

หึหึ

(มันต่างกะที่ ทรท. ทำไว้ยังไงเนี่ยยย  แค่ ต่อยอด นโยบายเดิมของ ทรท.)
 
บันทึกการเข้า

เหอๆๆ    - -"
PJSOFT
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 154


« ตอบ #1 เมื่อ: 14-08-2006, 22:46 »

มันก็ผลัดกันมาแ..กภาษีของพวกเราทุกพรรคนั่นแหละครับ เพียงแต่ตอนนี้ปชป.ยังไม่ได้เป็นรัฐบาล ก็ช่างหัวมันก่อน ตอนนี้รัฐบาลนี้ มีปัญหา ที่ไม่กล้าตอบออกสื่อ ต้องเอามันออก และถ้ารัฐบาลต่อไปมีปัญหาอีก ก็ค่อยว่ากันต่อครับ....
บันทึกการเข้า
Tam-mic-ra
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 603


« ตอบ #2 เมื่อ: 15-08-2006, 04:34 »

ถ้าไม่มีพรรคนี้รอเสียบตอนทักสินร่วงในอนาคต  ผมก็คงไม่เชียร์ ทรท ในตอนนี้หรอก

นานมาแล้วพรรคนี้ ใส่ร้ายเก่ง ทำอะไรแย่ๆไว้เยอะ  ใครในนี้ที่อายุไม่ถึง25 ถ้ารักชาติจริง ต้องไปหาข้อมูลเก่าๆอ่านดู 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 15-08-2006, 09:09 »

อ้างถึง
ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ระบุว่า ประชาชนยากจนที่สุดของไทยมีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 20 เท่าในปี 2547 เมื่อเทียบกับ 8 เท่าจากปี 2543 ก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะเข้ามาบริหารประเทศ
เป็นจุดบ่งชี้ว่า ประชาชนไม่ได้เข้มแข็งขึ้น ไม่ได้มีฐานะดีขึ้น ขณะที่หนี้สินต่อครัวเรือนในปี 2547 คือ 104,571 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นมาจากประมาณ 68,279 บาทต่อครัวเรือนในปี 2544 เท่ากับว่าประสิทธิภาพเศรษฐกิจไม่ได้ดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนหนี้สินต่อเงินเหลือจ่ายแต่ละเดือนของครัวเรือนสูงถึง 39 เท่า

ขณะนี้ประเทศกำลังเกิดวิกฤติค่าครองชีพ และความยากจน พี่น้องประชาชนเป็นหนี้ ไม่มีเงินออม รายจ่ายสูง รายได้น้อย มาจากภาระหนี้ จากการผูกขาดทางธุรกิจ จากนโยบายที่เอาประโยชน์ของกลุ่มอื่นมาก่อน และวันนี้คนไทยเสียภาษีคอรัปชันสูงมาก

“เกิดขึ้นเพราะทิศทางการพัฒนาของรัฐบาลไทยรักไทยที่ตั้งโจทย์ผิด อยากจะพัฒนาเศรษฐกิจก็คิดอย่างเดียวว่าจะทำอย่างไรให้เงินมันหมุน เวียน แล้วใช้ตัวเลข

จีดีพีเหมือนกับคำตอบทุกเรื่อง แต่ เป้าหมายของวาระประชาชน ทุกคนในประเทศไทยต้องมีที่ยืนที่ภูมิใจและอยู่ได้ อย่างมีศักดิ์ศรี”
 

เอ้อ พี่คะ เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่าค่ะ  ข้อมูลที่พี่เอามาเนี่ย  มันน่าจะถามว่า แฟนๆไอ้หน้าเหลี่ยม มาแก้ตัวเร็วเข้า หึหึ

บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #4 เมื่อ: 15-08-2006, 10:10 »

นั่นโดนคุณ พรรณชมพู เข้าให้อีกพลั๊ก.........

ผมต้องถาม ทรท.ก่อน ว่าวันนี้ ปชป. ออกนโยบายหาเสียง แล้ว ทรท.ทำอะไรอยู่ครับ "ตอนนี้อาจจะยังคิดอะไรไม่ออกเลยด่าอย่างเดียว กับ ไปเดินสายแจก ก่อน....." หรือไง"...........
แล้วเรื่องการชดเชยเงินกองทุนน้ำมันนั่น ผมก็ยังไม่ถูกใจจริง ๆ ครับ .......ผมว่าคุณอภิสิทธิ์น่าจะเสนอให้ ปตท.ชดเชยเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ก่อน แล้วจึงปันผลด้วยซ้ำ........ส่วนเรื่องผู้ถือหุ้น จะว่ายังไงไม่ต้องไปสนใจครับ เพราะ..

การจัดตั้งบริษัท ฯ ปตท. เจตนารมย์เบื้องแรก ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการค้ากำไร ถ้าผมจำไม่ผิด เริ่มจากการเป็น "น้ำมันสามทหาร" อะไรซักอย่าง.....นี่ล่ะครับผลแห่งการแปรรูป

การลดราคาน้ำมันที่ประชาธิปัตย์ เสนอ ไม่ได้มีเจตนาในการบิดเบือนตลาด มันเป็นแค่การถอดเอาภาระที่ต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันออก แล้วปล่อยให้ราคาน้ำมันสะท้อนความเป็นจริง  ที่นี้น้ำมันในตลาดโลกจะขึ้นไปเท่าไหร่ ราคาขายปลีก ก็จะขึ้นตาม ผมไม่เห็นว่ามันจะมีอะไรซับซ้อนตรงไหน........คุณทักษิณเองต่างหาก ที่ไปบิดเบือนกลไกตลาดด้วยการเอากองทุนน้ำมันเข้าไปอุ้ม แล้วปล่อยเนิ่นนานจนติดลบแสนกว่าล้าน    ยัง..ยังไม่พอครับ...ยังมีการลดภาษีน้ำมันอีกครั้งหลังจากไม่มีปัญญาอุ้มเพราะกองทุนติดลบบานตะไท.......เสร็จแล้ว ก็ไปกู้มาอุดไว้ก่อน (ตามประสานักกู้แห่งชาติ) ต้องจ่ายดอกเบียอีกบานตะไท...ภาษีล้วน ๆ จ้า  ที่นี้ไม่รู้จะทำยังไงมันตัน อยากทำแบบ อภิสิทธิ์ ว่า ก็ไม่ค่อยกล้า กลัวจะกระทบรายได้ ปตท.แล้วไม่รู้ผู้ถือหุ้นจะซวยไปด้วยหรือปล่าว (ไม่รู้กลุ่มไหน)..........
บันทึกการเข้า
Atisaki
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 21


รักกันๆ


« ตอบ #5 เมื่อ: 15-08-2006, 10:50 »

โจทย์ของผม หมายถึง การต่อยอด นโยบายเดิม ของ ทรท. นะ

ต่อยอดในสิ่งที่เขาเรียกว่า ประชานิยม   ที่เขาแอนตี้สุดๆ

เข้าใจผิดรึป่าว

คุณ พรรณฯ
บันทึกการเข้า

เหอๆๆ    - -"
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #6 เมื่อ: 15-08-2006, 11:19 »

สุดท้ายก็ต้องมาแก้ตัวให้ท่านรักษาการณ์  Laughing

ด่าคนขายชาติ ดีกว่าเยอะ เผื่อพวกมันรู้สำนึกซะบ้าง  Mr. Green
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #7 เมื่อ: 15-08-2006, 16:02 »

ไอ้พรรคเมโทรเซกช่วล เก๊กหล่ออย่างเดียว สติปัญญาเท่าหางอึ่ง...
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: