ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
20-04-2024, 02:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  "คนรักทักษิณ" คิดว่า เมื่อไหร่ทักษิณจะมีโอกาสเป็น"รัฐบุรุษ"ของประชาชน........... 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2
"คนรักทักษิณ" คิดว่า เมื่อไหร่ทักษิณจะมีโอกาสเป็น"รัฐบุรุษ"ของประชาชน...........  (อ่าน 2452 ครั้ง)
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« เมื่อ: 12-08-2006, 01:20 »

 
ระหว่างที่ทักษิณพูดถึง"ผู้มากบารมี" 1-2 เดือนที่ผ่านมา
เมื่อถูกซักถามว่า "ผู้มากบารมี" คือใคร....... Question
ทักษิณก็ไม่มีปัญญาตอบ ทั้งที่เป็นคนเริ่มต้นพูดถึง...

ต้องปล่อยให้แกนนำพรรคฯ สาวกฯ และคน"รักทักษิณ"
เพ้อเจื้อ พูดถึงคนที่ถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดีเป็น"ผู้มากบารมี"........ Exclamation

คน"รักทักษิณ" จำนวนมากพยายามยกย่องให้ทักษิณ
เป็น" รัฐบุรุษ"เพื่อแข่งขันกับ" ผู้มากบารมี".....

คน"รักทักษิณ" มีสติปัญญาเข้าใจหรือไม่ว่า"รัฐบุรุษ"นั้น
มีคุณสมบัติ คุณธรรม และจริยธรรมมากน้อยเพียงใด....

ดังนั้นคนที่ถูกระบุว่า ไร้คุณธรรมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จะมีโอกาสเป็น"รัฐบุรุษ"ตามมาตราฐานคุณธรรมและจริยธรรมได้อย่างไร
Question
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
แนวสกา
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 633



« ตอบ #1 เมื่อ: 12-08-2006, 01:39 »

 Twisted Evilผมไม่ใช่คนรักทักษิณจึงตอบให้ไม่ได้ แต่ถ้าถามคนที่ไม่ชอบทักษิณ บอกได้เลยครับ ไม่มีทาง Twisted Evil
บันทึกการเข้า

ทุกคนล้วนมักมีอำนาจวาสนา ตัวข้าต้องการเพียงเสพดื่มกิน
HILTON (ปาล์มาลี)
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,310



« ตอบ #2 เมื่อ: 12-08-2006, 08:45 »

สุภาพบุรุษยังไม่คิดว่ามันจะได้เป็นเลย... 
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #3 เมื่อ: 12-08-2006, 08:52 »

เอาแค่เป็น ผู้มีใบหน้าบุรุษ ก่อนดีไหมคะ เท่านั้นยังไม่มีเลยค่ะ

นานมาแล้วเคยอ่านลิ่วล้อไทยลักไทยเขาคุยฟุ้งว่า เมื่อวางมือทางการเมือง คนคนนี้จะได้เป็นถึงตำแหน่งของป๋านั่นแหละค่ะ  อีกทั้งจะได้เป็น รัฐบุรุษ  ฟังแล้วขนลุกค่ะ

เพราะวันนี้ เป็นได้แค่ ทรราชย์
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #4 เมื่อ: 12-08-2006, 09:21 »

ขอ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป็นตัวหนังสือที่ไม่ได้แต่งเองก่อนแล้วจะตอบให้
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #5 เมื่อ: 12-08-2006, 21:35 »

ขอ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป็นตัวหนังสือที่ไม่ได้แต่งเองก่อนแล้วจะตอบให้



  คุณ"ชอบแถ" เป็นคนรักทักษิณ หรือไม่ Question


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #6 เมื่อ: 12-08-2006, 21:37 »

รักสหายจรัสก็ต้องรักนายกทักษิณด้วย
บันทึกการเข้า
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #7 เมื่อ: 12-08-2006, 21:40 »

ขอ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป็นตัวหนังสือที่ไม่ได้แต่งเองก่อนแล้วจะตอบให้
ไปอ่าน ตำรา ธรรมมาภิบาล (Good Governance) ซะ
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #8 เมื่อ: 12-08-2006, 21:42 »

คนละเรื่องกับจริยธรรมนะน้อง
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #9 เมื่อ: 12-08-2006, 21:46 »

ขอ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป็นตัวหนังสือที่ไม่ได้แต่งเองก่อนแล้วจะตอบให้
ไปอ่าน ตำรา ธรรมมาภิบาล (Good Governance) ซะ



quote author=ชอบแถ link=topic=5478.msg78999#msg78999 date=1155393740]
คนละเรื่องกับจริยธรรมนะน้อง
[/quote]


  จะแถไปทางไหนอีกหล่ะ Question

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #10 เมื่อ: 12-08-2006, 21:49 »

ผมฟันธงไปหลายสิบรอบแล้วครับ ว่าถ้าไอ้เหลี่ยมได้เป็นรัฐบุรุษเมื่อไหร่
ผมยอมย้ายไปเป็นแรงงานอพยพประเทศอื่นทันที   Mr. Green

ว่าแต่ว่าดูอาการตอนนี้แล้ว ไอ้เหลี่ยมน่าจะมีโอกาสได้อพยพมากกว่าผมนะครับ
   Mr. Green
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #11 เมื่อ: 12-08-2006, 21:54 »

  จะแถไปทางไหนอีกหล่ะ Question
จริยธรรมตามท้องถิ่นและสังคมนั้นนะครับ ไม่ใช่ตามตำราฝรั่ง
บริษัทที่ทำตามตำราธรรมาภิบาล หากำไรสูงสุดหรือเปล่า ให้ใต้โต๊ะทางอ้อม (rebate) หรือเปล่า
ทำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือเปล่า ฝรั่งไม่รู้เพราะนี่มันของไทยครับ
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #12 เมื่อ: 12-08-2006, 22:01 »

  จะแถไปทางไหนอีกหล่ะ Question
จริยธรรมตามท้องถิ่นและสังคมนั้นนะครับ ไม่ใช่ตามตำราฝรั่ง
บริษัทที่ทำตามตำราธรรมาภิบาล หากำไรสูงสุดหรือเปล่า ให้ใต้โต๊ะทางอ้อม (rebate) หรือเปล่า
ทำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือเปล่า ฝรั่งไม่รู้เพราะนี่มันของไทยครับ



คราวนี้ไม่ได้ชอบแถแล้ว...
แต่เบี่ยงเบน บิดเบือนความคิดแนวทางธรรมาภิบาลแล้ว....... Exclamation


คุณชอบแถ คงไม่ยกย่องว่าทักษิณแปลง"หวยใต้ดินเป็นหวยบนดินเป็นธรรมาภิบาลของทักษิณน่ะ..................ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #13 เมื่อ: 12-08-2006, 22:04 »

รู้ให้จริงก่อนเหอะครับ มันเหมือนวงกลมหลายวง
มีบางส่วนเป็นอินเตอร์เซคชั่น ไม่ใช่ทั้งหมดครับ
บันทึกการเข้า
see - u
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,370


.......... I'm not Supergirl


« ตอบ #14 เมื่อ: 12-08-2006, 22:06 »


ดังนั้นคนที่ถูกระบุว่า ไร้คุณธรรมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จะมีโอกาสเป็น"รัฐบุรุษ"ตามมาตราฐานคุณธรรมและจริยธรรมได้อย่างไร:?:



คำตอบ...อยูที่ตัวหนังสือสีแดงแล้วคะ...คุณปุ  Very Happy
บันทึกการเข้า

    " I  will  unforgive  you  to  do  the  bad  thing  like  this. "   

                           

                        The  fox  changes  his  skin  but  not  his  habits.   *

                 Superman ( It's Not Easy )   >>  http://www.ijigg.com/songs/V2B7G4GPD
    
    
   "  กฏหมายต้องเดินหน้าเอาผิดต่อคนไม่ดี  ........  ไม่ใช่ปล่อยให้คนไม่ดีมากล่าวเอาโทษกฏหมาย  "

                                     
                                          
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #15 เมื่อ: 12-08-2006, 22:14 »


ดังนั้นคนที่ถูกระบุว่า ไร้คุณธรรมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จะมีโอกาสเป็น"รัฐบุรุษ"ตามมาตราฐานคุณธรรมและจริยธรรมได้อย่างไร:?:



คำตอบ...อยูที่ตัวหนังสือสีแดงแล้วคะ...คุณปุ  Very Happy


คุณชอบแถ ไม่ได้เข้าใจอย่างคุณเอ้ครับ พยายามจะแถ บิดเบือนไปอย่างอื่น........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #16 เมื่อ: 12-08-2006, 23:07 »

เอาแค่เป็น ผู้มีใบหน้าบุรุษ ก่อนดีไหมคะ เท่านั้นยังไม่มีเลยค่ะ
^
^
ช๊อบ ชอบ สำนวนนี้ โดนอีกแร้ววววววววค่ะ ท่านผู้ชม
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
ThailandReport
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,415


« ตอบ #17 เมื่อ: 12-08-2006, 23:24 »

เอาแค่เป็น ผู้มีใบหน้าบุรุษ ก่อนดีไหมคะ เท่านั้นยังไม่มีเลยค่ะ

นานมาแล้วเคยอ่านลิ่วล้อไทยลักไทยเขาคุยฟุ้งว่า เมื่อวางมือทางการเมือง คนคนนี้จะได้เป็นถึงตำแหน่งของป๋านั่นแหละค่ะ  อีกทั้งจะได้เป็น รัฐบุรุษ  ฟังแล้วขนลุกค่ะ

เพราะวันนี้ เป็นได้แค่ ทรราชย์

ลีลา Miss ซีม่า โลชั่น แห่งเสรีไทย
ร่ายมาแต่ละดอก โอ้ย เจะ โอย เจะ ทั้งนั้น  Tongue out Tongue out


พูดไม่ออกเลย เรา... Mr. Green Laughing แล้วใบหน้าไม่เป็นบุรษเนี่ย มันเพศไรละครั่บทั่นผู้ชม !!

บันทึกการเข้า

The only thing necessary for the triump of evil is for good men to do nothing !!
สิ่งเดียวที่จะทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ นั่นคือการที่ คนดีๆนิ่งดูดาย !
nuxvomica
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 101


« ตอบ #18 เมื่อ: 13-08-2006, 01:07 »


พูดไปก็เรื่องเดิม  บกพร่องซุกหุ้นไม่เรียบร้อย  ลูกสอบเทียบแต่เข้าม.เกษตรฯ แบบโควต้าไม่มีคะแนนเอนท์ฯ แต่ย้ายคณะได้  เอาแค่สองเรื่องที่เห็นชัด ๆ คุณชอบแถว่าคนแบบนี้มีคุณธรรมและจริยธรรมสูงหรือ  ยังไม่นับปากเปราะเรื่องไฟใต้ที่ทำให้มีคนตายรายวัน  คนอย่างนี้จริง ๆ แล้วน่าเอาไปตัดหัวเจ็ดโคตรชั่วเอ้ยเจ็ดชั่วโคตรมากกว่าเอามาทำรัฐบุรุษ

บันทึกการเข้า
Şiłąncē Mőbiuş
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,215



เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 13-08-2006, 01:08 »

ให้ทัดกกี้เป็นรัฐบุรุษ

ก็เหมือนให้โจร ได้รับเหรีญเชิดชูเกียรติ์นั่นแหล่ะว๊าาา
บันทึกการเข้า



“People should not be afraid of their governments. Governments should be afraid of their people.”

. “ประชาชนไม่ควรกลัวรัฐบาลของตนเอง รัฐบาลต่างหากที่ควรกลัวประชาชน” .

. แวะไปเยี่ยมกันได้ที่ http://silance-mobius.blogspot.com/ นะครับ .
Coolly_Jade
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 318


ฉันจะบิน บิน บิน สู่เสรีภาพอันยิ่งใหญ่


« ตอบ #20 เมื่อ: 13-08-2006, 06:26 »

ขอ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป็นตัวหนังสือที่ไม่ได้แต่งเองก่อนแล้วจะตอบให้

แกล้งบ้าหรือจริงอะ หรือโง่จริงแต่แกล้งโง่
ถามมาอยากได้คำตอบเพื่อรับรุ้หรือจะคอยค้านแค่เอาชนะคะคาน
แค่จริยธรรมกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคม คนที่มีความสามารถรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ไม่วิกลจริต ไม่เสมือนไร้ความสามารถ เขาตอบได้เป็นร้อยๆ
แต่ต่อให้เขาตอบเป็นร้อยๆ ถ้าเป็นคนที่ไม่มีความสามารถหรือตั้งใจที่จะไม่มีความสามารถก็ไม่ยอมเข้าใจ

บันทึกการเข้า

ทักษิณาธิปไตย เสรีทางความคิด เผด็จการต่อการแสดงออก ใครเห็นด้วยเป็นคนดี ใครคัดค้านเป็นกุ๊ย
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #21 เมื่อ: 13-08-2006, 09:38 »

แกล้งบ้าหรือจริงอะ หรือโง่จริงแต่แกล้งโง่
ถามมาอยากได้คำตอบเพื่อรับรุ้หรือจะคอยค้านแค่เอาชนะคะคาน
แค่จริยธรรมกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคม คนที่มีความสามารถรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ไม่วิกลจริต ไม่เสมือนไร้ความสามารถ เขาตอบได้เป็นร้อยๆ
แต่ต่อให้เขาตอบเป็นร้อยๆ ถ้าเป็นคนที่ไม่มีความสามารถหรือตั้งใจที่จะไม่มีความสามารถก็ไม่ยอมเข้าใจ
ชื่อกระทู้กับคนตั้งก็รู้แล้วครับว่าไม่ต้องการคำตอบ ไม่ต้องแกล้งบ้าก็ได้ครับ
เชื่อไหมว่าไอ้ร้อยๆ ข้อนั้นหน่ะ ตอบไม่เหมือนกันสักคน
แล้วท่านเจ้าของกระทู้ยังจำว่าพี่นายบรู๊คอยู่ไทยรักไทยเลย
สงสัยเกลียดไม่จริง

แก้ไข คุณปุถุชนบอกว่าเขียนสั้นไปคนอ่านเลยเข้าใจผิด ผมเพิ่งกลับไปอ่าน
เค้าว่า พี่นายบรู๊ค กับ นายบรู๊ค สภาพเหมือน อภิสิทธิ์ กับ สุรนันทน์ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-08-2006, 09:55 โดย ชอบแถ » บันทึกการเข้า
วินท์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 176


« ตอบ #22 เมื่อ: 13-08-2006, 11:21 »

ตอนนี้ เอาตัวให้รอดคุกก่อนแล้วกัน อย่าเพิ่งหวังสูงขนาดนั้นเลย
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #23 เมื่อ: 13-08-2006, 11:38 »

แกล้งบ้าหรือจริงอะ หรือโง่จริงแต่แกล้งโง่
ถามมาอยากได้คำตอบเพื่อรับรุ้หรือจะคอยค้านแค่เอาชนะคะคาน
แค่จริยธรรมกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคม คนที่มีความสามารถรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ไม่วิกลจริต ไม่เสมือนไร้ความสามารถ เขาตอบได้เป็นร้อยๆ
แต่ต่อให้เขาตอบเป็นร้อยๆ ถ้าเป็นคนที่ไม่มีความสามารถหรือตั้งใจที่จะไม่มีความสามารถก็ไม่ยอมเข้าใจ
ชื่อกระทู้กับคนตั้งก็รู้แล้วครับว่าไม่ต้องการคำตอบ ไม่ต้องแกล้งบ้าก็ได้ครับ
เชื่อไหมว่าไอ้ร้อยๆ ข้อนั้นหน่ะ ตอบไม่เหมือนกันสักคน

แล้วท่านเจ้าของกระทู้ยังจำว่าพี่นายบรู๊คอยู่ไทยรักไทยเลย
สงสัยเกลียดไม่จริง


แก้ไข คุณปุถุชนบอกว่าเขียนสั้นไปคนอ่านเลยเข้าใจผิด ผมเพิ่งกลับไปอ่าน
เค้าว่า พี่นายบรู๊ค กับ นายบรู๊ค สภาพเหมือน อภิสิทธิ์ กับ สุรนันทน์ครับ






ชื่อกระทู้กับคนตั้งก็รู้แล้วครับว่าไม่ต้องการคำตอบ ไม่ต้องแกล้งบ้าก็ได้ครับ
เชื่อไหมว่าไอ้ร้อยๆ ข้อนั้นหน่ะ ตอบไม่เหมือนกันสักคน


คุณ"ชอบแถ" เข้าใจผิดครับ.....
ผมถาม"คนรักทักษิณ"ว่า   "คนรักทักษิณ" คิดว่า เมื่อไหร่ทักษิณจะมีโอกาสเป็น"รัฐบุรุษ"ของประชาชนนั้น เพราะคนรักทักษิณจำนวนหนึ่ง ได้โยนหินถามทาง อ้างคุณงามความดีของทักษิณ สมควรเป็นรัฐบุรุษ เช่นเดียวกับคุณเปรม ประธานองคมนตรี ข่าวนี้คุณอ่านได้จากกระทู้นี้และตามสื่อฯต่างๆได้....

คน"รักทักษิณ" ส่วนหนึ่งคิดอย่างนั้น...
ส่วนหนึ่งไม่ได้คิดอย่างนั้นด้วยความรู้สึกว่าเชลียร์เกินไป ขวยเขินที่จะพูดถึงด้วยซ้ำไป.... Exclamation

ปล. ผมคิดว่าทักษิณจะต้องปรับปรุงตัว ยอมรับในพฤติกรรมที่ผ่านมา แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้ว และประพฤติตัวอย่าง องคุลีมาล อยู่ในศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ทำความดีทดแทน ลบล้างความชั่วที่กระทำไปแล้ว   ประชาชนอาจจะยอมรับได้ Exclamation
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13-08-2006, 11:42 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
The Piggy@u
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #24 เมื่อ: 13-08-2006, 12:13 »

ชาติหน้าตอนมืดๆ แล้วกันนะเหลี่ยม
บันทึกการเข้า
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #25 เมื่อ: 13-08-2006, 12:30 »

แกล้งบ้าหรือจริงอะ หรือโง่จริงแต่แกล้งโง่
ถามมาอยากได้คำตอบเพื่อรับรุ้หรือจะคอยค้านแค่เอาชนะคะคาน
แค่จริยธรรมกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคม คนที่มีความสามารถรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ไม่วิกลจริต ไม่เสมือนไร้ความสามารถ เขาตอบได้เป็นร้อยๆ
แต่ต่อให้เขาตอบเป็นร้อยๆ ถ้าเป็นคนที่ไม่มีความสามารถหรือตั้งใจที่จะไม่มีความสามารถก็ไม่ยอมเข้าใจ
ชื่อกระทู้กับคนตั้งก็รู้แล้วครับว่าไม่ต้องการคำตอบ ไม่ต้องแกล้งบ้าก็ได้ครับ
เชื่อไหมว่าไอ้ร้อยๆ ข้อนั้นหน่ะ ตอบไม่เหมือนกันสักคน
แล้วท่านเจ้าของกระทู้ยังจำว่าพี่นายบรู๊คอยู่ไทยรักไทยเลย
สงสัยเกลียดไม่จริง

แก้ไข คุณปุถุชนบอกว่าเขียนสั้นไปคนอ่านเลยเข้าใจผิด ผมเพิ่งกลับไปอ่าน
เค้าว่า พี่นายบรู๊ค กับ นายบรู๊ค สภาพเหมือน อภิสิทธิ์ กับ สุรนันทน์ครับ

คุณแถและบิดเบือนไปเรื่อย ยังมาใส่ร้ายว่าเค้าไม่ต้องการคำตอบอีก เรื่องแบบนี้ยังกล้าทำอีกเหรอ อะไรจะรักหน้ามืดตามัวขนาดนั้น

ถ้าคุณเป็นคนรักทักษิณก็แค่ตอบว่าเมื่อไหร่ หรือ เป็นไปไม่ได้ และจะนำเสนอว่าเพราะเหตุใดยิ่งดี มีคนอยากรู้เยอะครับ

ส่วนตัวผมคนที่ทำตัว ทั้งพฤติกรรมและนิสัย ตรงข้ามกับ ความดีมาตลอด คงไม่มีทาง ที่จะเป็น รัฐบุรุษ ได้แน่นอน ไม่รัก แต่เคยไม่เกลียด มาขอตอบ  Mr. Green
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
hidden dragon
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 189



« ตอบ #26 เมื่อ: 13-08-2006, 12:57 »


คน"รักทักษิณ" มีสติปัญญาเข้าใจหรือไม่ว่า"รัฐบุรุษ"นั้น
มีคุณสมบัติ คุณธรรม และจริยธรรมมากน้อยเพียงใด....

หากรักด้วยหลง แม้มีสติปัญญา ระดับของการใช้สติและปัญญาก็จะลดต่ำลงเป็นลำดับ
เปลี่ยนจากการใช้สมองเป็นเหงือกและเกล็ดในการแถก... และแถ.... แทน

หากรักด้วยลาภ แม้มีสติปัญญาระดับของการใช้สติปัญญาก็จะถูกยับยั้งด้วยความโลภ
และใช้สมองในการตะแบงและบิดเบือนแทน ซึ่งอาจรวมถึงการกำหนดคุณสมบัติ คุณธรรม และจริยธรรม
ของรัฐบุรุษขึ้นใหม่เพื่อท่านผู้นำหน้า [*๐*]


ดังนั้นคนที่ถูกระบุว่า ไร้คุณธรรมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จะมีโอกาสเป็น"รัฐบุรุษ"ตามมาตราฐานคุณธรรมและจริยธรรมได้อย่างไร
Question

Impossible Dream แปลเป็นภาษาบ้านเราว่า หมาเห่าเครืองบิน
บันทึกการเข้า

Once a cheater, always a cheater
z e a z
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 564



« ตอบ #27 เมื่อ: 13-08-2006, 13:05 »

เอาเฉพาะเทียบเชิญโปรดเกล้าเป็นองคมนตรีหลังจากลงจากตำแหน่งนายกน่ะ...จะได้รึเปล่า?...ฟันธงว่าไม่มีวันนั้นของชาติไหนๆแน่นอน...ส่วนเรื่องรัฐบุรุษ...ก็เห่าเครื่องบินต่อไป...
บันทึกการเข้า

<a href="http://www.stopglobalwarming.org/countmein.asp" target="blank"><img src="http://msglblwarm.vo.llnwd.net/o16/assets/banners/728x90/sgw_728_90.gif" alt="StopGlobalWarming.org" border="0"></img></a>
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #28 เมื่อ: 13-08-2006, 13:57 »

คำตอบอยู่นี่ไง สำหรับคนที่นี่

ผมคิดว่าทักษิณจะต้องปรับปรุงตัว ยอมรับในพฤติกรรมที่ผ่านมา แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้ว และประพฤติตัว
อย่าง องคุลีมาล อยู่ในศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ทำความดีทดแทน ลบล้างความชั่วที่กระทำไปแล้ว
   

ประชาชนจะยอมรับได้และมีโอกาสเป็นรัฐบุรุษของประชาชน
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #29 เมื่อ: 13-08-2006, 18:17 »

ชั่วดี บาปบุญ ขึ้นอยู่กับเจตนา ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกมันเกินกว่าที่จะให้อภัย
บันทึกการเข้า
THX
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 569



« ตอบ #30 เมื่อ: 13-08-2006, 18:22 »

สุภาพบุรุษยังไม่คิดว่ามันจะได้เป็นเลย... 

แค่ instince ของความเป็นคน ทักษิณยังไม่มีเลย จะเอาอะไรกับคำว่าสุภาพบุรุษหรือรัฐบุรุษ
บันทึกการเข้า



พวกเรา..เรารู้สึกว่าจะมีสายลับปลอมมาในหมู่ของพวกเราโดยไม่รู้ตัว=__='



( づ ̄ 3 ̄ )づ~~~♡♡♡ ~~
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #31 เมื่อ: 13-08-2006, 20:39 »

คำตอบอยู่นี่ไง สำหรับคนที่นี่

ผมคิดว่าทักษิณจะต้องปรับปรุงตัว ยอมรับในพฤติกรรมที่ผ่านมา แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้ว และประพฤติตัว
อย่าง องคุลีมาล อยู่ในศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ทำความดีทดแทน ลบล้างความชั่วที่กระทำไปแล้ว
   

ประชาชนจะยอมรับได้และมีโอกาสเป็นรัฐบุรุษของประชาชน



ชั่วดี บาปบุญ ขึ้นอยู่กับเจตนา ทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกมันเกินกว่าที่จะให้อภัย


สุภาพบุรุษยังไม่คิดว่ามันจะได้เป็นเลย... 

แค่ instince ของความเป็นคน ทักษิณยังไม่มีเลย จะเอาอะไรกับคำว่าสุภาพบุรุษหรือรัฐบุรุษ



คุณ ชอบแถ.....
ผมคิดถึงหลักการทั่วไป....
แต่เพื่อนสมาชิกสองคนที่ผมยกมานั้น
คิดว่าทักษิณเป็นบัวเน่าใต้น้ำ....
ถึงน้ำในบ่อแห้งขอด ก็เป็นบัวเน่าพ้นน้ำเท่านั้นเอง

 
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #32 เมื่อ: 13-08-2006, 20:43 »

เรื่องมด บางทีพูดกันไปเป็นปีศาจไปได้
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #33 เมื่อ: 13-08-2006, 20:50 »

ลีลา Miss ซีม่า โลชั่น แห่งเสรีไทย
ร่ายมาแต่ละดอก โอ้ย เจะ โอย เจะ ทั้งนั้น   


ฮ่า ๆๆๆๆ โหวดครับ (เรียนแบบ ปันติ๊บน๊ะเนียะ)..........ผมเห็นดีเห็นงามกับคุณ Thailand ครับ ฮิ ฮิ
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #34 เมื่อ: 13-08-2006, 22:34 »

คนจะเป็นรัฐบุรุษได้ มันต้องได้รับการยอมรับจากประชาชน
อย่างแท้จริง รัฐบุรุษแบบไหนที่ประชาชนต้องการ อันนี้คงต้องคิดกันให้หนักๆ
บันทึกการเข้า
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #35 เมื่อ: 13-08-2006, 22:38 »

ขอ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป็นตัวหนังสือที่ไม่ได้แต่งเองก่อนแล้วจะตอบให้
ไปอ่าน ตำรา ธรรมมาภิบาล (Good Governance) ซะ
อันนี้ลอกมา

        ส่วนหลักความชอบธรรมที่อ้าง "จริยธรรม" ที่เกินกว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประเพณีขนบธรรมเนียม การปกครอง

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม เลื่อนลอย ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตาม

กลุ่มชน เช่น ชั้นสูง ชั้นกลาง มีมาตรฐาน จริยธรรมอย่างหนึ่ง ชั้นล่างอย่างหนึ่ง เปลี่ยนแปลงไปตามภูมิภาค ภาคใต้ว่าอย่าง

ภาคเหนือ ภาคอีสานว่าอย่าง และเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น ปี 2547 ว่าอย่าง ปี 2549 ว่าอย่าง ต่อไปปี 2550 อาจจะว่าอีก

อย่างก็ได้ การตัดสินความชอบธรรมบนพื้นฐานของ"จริยธรรม"จึงเลื่อนลอย ไม่เหมือนความชอบธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของ "

ระบบ" "หลักการ" และ "กฎหมาย" ซึ่งเป็นรูปธรรม อ้างอิงได้ ถ้าระบบและหลักการควรจะเปลี่ยนเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป

กฎหมายก็เปลี่ยนได้ตามขบวนการ แต่ระหว่างที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็ต้องใช้ความชอบธรรมบนพื้นฐานของกฎหมายที่ยังใช้

บังคับอยู่


อ้าวลิเวอร์พูลเข้าประตูไปแล้ว
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #36 เมื่อ: 13-08-2006, 22:44 »

^
^
^
^
ผมคิดว่าผู้ดูแลพิจารณาเนื้อหา คคห.
แล้วพิจารณาเอาเองนะครับ ผมไม่เกี่ยวข้องด้วย
และขอให้คุณชอบแถออกจากกระทู้ผมดีกว่า
Exclamation
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
THX
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 569



« ตอบ #37 เมื่อ: 13-08-2006, 23:44 »

ขอ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป็นตัวหนังสือที่ไม่ได้แต่งเองก่อนแล้วจะตอบให้
ไปอ่าน ตำรา ธรรมมาภิบาล (Good Governance) ซะ
อันนี้ลอกมา

        ส่วนหลักความชอบธรรมที่อ้าง "จริยธรรม" ที่เกินกว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประเพณีขนบธรรมเนียม การปกครอง

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม เลื่อนลอย ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตาม

กลุ่มชน เช่น ชั้นสูง ชั้นกลาง มีมาตรฐาน จริยธรรมอย่างหนึ่ง ชั้นล่างอย่างหนึ่ง เปลี่ยนแปลงไปตามภูมิภาค ภาคใต้ว่าอย่าง

ภาคเหนือ ภาคอีสานว่าอย่าง และเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น ปี 2547 ว่าอย่าง ปี 2549 ว่าอย่าง ต่อไปปี 2550 อาจจะว่าอีก

อย่างก็ได้ การตัดสินความชอบธรรมบนพื้นฐานของ"จริยธรรม"จึงเลื่อนลอย ไม่เหมือนความชอบธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของ "

ระบบ" "หลักการ" และ "กฎหมาย" ซึ่งเป็นรูปธรรม อ้างอิงได้ ถ้าระบบและหลักการควรจะเปลี่ยนเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป

กฎหมายก็เปลี่ยนได้ตามขบวนการ แต่ระหว่างที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็ต้องใช้ความชอบธรรมบนพื้นฐานของกฎหมายที่ยังใช้

บังคับอยู่


อ้าวลิเวอร์พูลเข้าประตูไปแล้ว

งั้นไม่ต้องมีศาสนาซะเลยดีมั้ย เพราะมันไม่เป็นรูปธรรม มันอ้างอิงไม่ได้ ผมเคยอ่านเจอประวัติของคนคนนึง เป็นข้าราชการระดับสูง มีลูกชายอยู่คนเดียว ปู่ ย่า จะสอนอะไรให้กับหลาน มักจะถูกลูกตัวเองตำหนิว่าอย่าสอนอะไรที่เป็นความเชื่อให้กับลูก ทุกวันนี้มีกฏหมายรองรับ ให้ลูกไม่ทำผิดกฏหมายก็พอ พวกศาสนา จริยธรรมมันเป็นแค่ประเพณี ไม่ใช่กฏหมาย เขาก็สอนลูกโดยเตือนเสมอ ๆ ว่า ทำแบบนั้นไม่ได้ ไม่ดี มันผิดกฏหมาย เดี๋ยวตำรวจจับ ก็เป็นแบบนี้เรื่อยมา วันนึงลูกไปลักของที่ซุปเปอร์มาเก็ต แล้วถูกจับได้ พ่อไปประกันตัวที่โรงพัก กลับมาถึงบ้าน ถามลูกว่าไปลักของเขาทำไม ลูกพูดหน้าตาเฉย บอกไม่เห็นตำรวจก็เลยลัก เพราะไม่เห็นเลยไม่กลัวที่จะถูกจับ แทนที่ลูกจะรู้จัก หิริโอตัปปะ หรือความละอายต่อบาป กลับไม่รู้จัก และขโมยเพียงเพระไม่เห็นตำรวจ จริยธรรมมันไมได้บังคับเป้นรูปธรรม แต่สอนให้คนรู้จักละอายแก่บาป ไม่กล้ากระทำชั่ว แม้จะอยู่ลับหลังคน หรือไม่มีใครเห็น ถ้าคุณชอบแถมีลูกนะ สอนให้เขารู้จักละอายต่อบาป ไม่ใช่สอนให้เขาไม่ทำผิดกฏหมาย จริยธรรมมีไว้เพื่อเตือนสติให้คนรู้จักละลายต่อบาปแม้จะทำในที่ลับที่ไม่มีคนเห็นก็ตาม ไม่ใช่ไม่มีใครเห็นก็ไม่ผิดกฏหมาย ทำชั่วไปได้
บันทึกการเข้า



พวกเรา..เรารู้สึกว่าจะมีสายลับปลอมมาในหมู่ของพวกเราโดยไม่รู้ตัว=__='



( づ ̄ 3 ̄ )づ~~~♡♡♡ ~~
เพนกวินน้อยนักอ่าน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 866



« ตอบ #38 เมื่อ: 14-08-2006, 00:38 »

คนจะเป็นรัฐบุรุษได้ มันต้องได้รับการยอมรับจากประชาชน
อย่างแท้จริง รัฐบุรุษแบบไหนที่ประชาชนต้องการ อันนี้คงต้องคิดกันให้หนักๆ


จริงครับ ตอนนี้แม้วไม่ได้รับการยอมรับจากผมหนึ่งคนแล้วล่ะครับ
คงเป็นรัฐบุรุษไม่ได้หรอก
 Laughing
บันทึกการเข้า
so what?
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,729


« ตอบ #39 เมื่อ: 14-08-2006, 02:02 »

เอาอีกรอบแล้วกัน พฤติกรรมอย่างไอ้เหลี่ยมนี่อะนะ
หมดอำนาจแล้วได้อยู่ได้ตายบนแผ่นดินไทยก็ต้องเรียกว่าปาฏิหารย์แล้วครับ
   Mr. Green   Mr. Green
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #40 เมื่อ: 14-08-2006, 03:23 »

ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรม 
 

เรียงเรียง : ดวงเด่น นุเรมรัมย์

***

ความหมายของจริยธรรม

คำว่า “จริยธรรม” แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “หลักแห่งความประพฤติ” หรือ “แนวทางของการประพฤติ”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า "จริยธรรม" คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม

โดย ทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร นั่นหมายความว่า ได้กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้น” แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า "ศีลธรรม" และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า "จริยธรรม"

จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่จริยธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นหลักคำสอนทางศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติปฏิบัติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติปฏิบัติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี

อีกทั้งจริยธรรมมิใช่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้น สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ในขณะที่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษ ดังนั้นคนจึงมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คน มีจริยธรรม

จากนิยามที่ยกมานั้น สามารถประมวลสรุปความได้ว่า จริยธรรม คือ แนวทางของ การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เป็นประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม

กล่าว โดยสรุป จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้ จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย

ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิด ที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้

    ๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา
    ๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
    ๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
    ๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
    ๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
    ๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
    ๗. ความเสมอภาค
    ๘. ความเสียสละ
    ๙. ความซื่อสัตย์
    ๑๐. ความกล้า
    ๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
    ๑๒. ความสามัคคี
    ๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
    ๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
    ๑๕. ความพากเพียรและอดทน
    ๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
    ๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
    ๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
    ๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
    ๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
    ๒๑. การมีคาวรธรรม
    ๒๒. การมีสามัคคีธรรม
    ๒๓. การมีปัญญาธรรม
    ๒๔. ความไม่ประมาท
    ๒๕. ความกตัญญูกตเวที
    ๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
    ๒๗. การประหยัด
    ๒๘. ความยุติธรรม
    ๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

ใน ข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่า การจัดลักษณะคุณธรรมที่กล่าวมานั้นมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นจะได้จัดกลุ่มคุณธรรมหลักเป็น ๑๙ กลุ่ม คือ

    ๑. ความมีเหตุผล (rationality)
    ๒. ความซื่อสัตย์สุจริต (honesty)
    ๓. ความอุตสาหะ หรือการมีความตั้งใจอันแน่วแน่ (resolution)
    ๔. ความเมตตากรุณา (compassion)
    ๕. ความเสียสละ (devotion)
    ๖. ความสามัคคี (cooperation)
    ๗. ความรับผิดชอบ (responsibility)
    ๘. ความกตัญญูกตเวที (gratitude)
    ๙. ความประหยัด (moderation)
    ๑๐. ความรู้จักพอ (satisfaction)
    ๑๑. ความมีสติสัมปชัญญะ (awareness)
    ๑๒. ความมีระเบียบวินัย (discipline)
    ๑๓. ความยุติธรรม (fairness)
    ๑๔. ความอดทนอดกลั้น (endurance)
    ๑๕. ความเคารพนับถือผู้อื่น (consideration)
    ๑๖. ความไม่เห็นแก่ตัว (selflessness)
    ๑๗. ความถ่อมตัว (modesty)
    ๑๘. ความกล้าทางคุณธรรม (courage)
    ๑๙. ความเคารพตนเอง (self-respect)
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #41 เมื่อ: 14-08-2006, 03:24 »

คำจำกัดความ ความหมายและตัวอย่างพฤติกรรมของแต่ละกลุ่ม

๑. ความมีเหตุผล    
นิยาม ความ สามารถในการใช้ปัญญาในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ผูกพันตนเองกับอารมณ์และความยึดมั่นส่วนตัวความสามารถในการหาสาเหตุของ สิ่งต่าง ๆ ได้โดยการคิดใคร่ครวญ ไตร่ตรองปัญหาต่าง ๆ ว่ามีต้นตอมามาจากสิ่งใด รวมไปถึงการพิจารณาว่าถ้าทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปแล้วจะเกิดผลดีหรือผลเสีย ต่อตนเอง และคนรอบข้างอย่างไรบ้าง

ตัวอย่าง
– ใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
- ศรัทธาต่อการเข้าให้ถึงความจริงของเรื่องต่าง ๆ
- ไม่ลุ่มหลงเพราะเชื่องมงาย
- ไม่ยึดตนเองหรือบุคคลเป็นใหญ่
- ไม่สรุปอย่างง่าย ๆ โดยไม่ใช้เหตุผลอย่างรอบคอบ
- รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาละเทศะ

๒. ความซื่อสัตย์สุจริต    
นิยาม การ ประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและคำมั่นสัญญา ความประพฤติที่ตรงไปตรงมา และจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม รวมไปถึงการไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง นอกจากนี้แล้วความซื่อสัตย์สุจริตยังรวมไปถึง การรักษาคำพูดหรือคำมั่นสัญญา และการปฏิบัติหน้าที่การงานของตนเองด้วยความรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องด้วยการใช้ อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตนี้จะดำเนินไปด้วยความตั้งใจจริงเพื่อทำหน้าที่ของ ตนเองให้สำเร็จลุล่วง ด้วยความระมัดระวัง และเกิดผลดีต่อตนเองและสังคม

ตัวอย่าง
- ซื่อตรงต่อเวลา งาน การนัดหมาย คำมั่นสัญญา ระเบียบประเพณี กฎหมาย
- ไม่พูดปด ฉ้อฉล สับปลับ กลับกลอก ไม่คดโกง
- ไม่ให้ร้ายผู้อื่น
- กล้าที่จะรับความจริง
- ประกอบสัมมาชีพ

๓. ความอุตสาหะ    
นิยาม ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้งานที่ทำสำเร็จลุล่วง ความมีมานะพยายามในการประกอบการงานที่สุจริตด้วยความขยันขันแข็ง อดทน เอาใจใส่อยู่เป็นนิจและเสมอต้นเสมอปลาย โดยใช้สติปัญญาเพื่อให้งานที่ทำบรรลุผลสำเร็จและได้รับผลดีสูงสุด (สรุปการทำงานด้วยความอดทนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค)

ตัวอย่าง
– มานะอดทน
- บากบั่น พยายาม ไม่ท้อถอย
- ขยัน
- ไม่ละเลยหรือทอดทิ้งธุระการงานทั้งของตนเองและทั้งที่ได้รับ มอบหมายให้ปฏิบัติ
- พยายามต่อสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรค

๔. ความเมตตากรุณา    
นิยาม เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา คือ ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข สามารถแสดงออกได้โดยการช่วยเหลือโดยการกระทำ หรือวาจา รวมถึงการไม่คิดร้ายต่อผู้อื่นด้วย

ตัวอย่าง
- ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
- มีอาการทางกาย วาจา ที่แสดงต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ นุ่มนวล
- ช่วยปลอบใจผู้ที่ได้รับความลำบาก
- ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เป็นทุกข
์ - แสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นได้รับความสุขและความสำเร็จ
- ไม่ข่มขู่ ดูหมิ่น เสียดสี พูดจาด้วยความเกรี้ยวโกรธเคียดแค้น

๕. ความเสียสละ    
นิยาม การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่ผู้ที่ควรได้รับ ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง ความมีจิตใจกว้างขวาง ช่วยเหลือเกื้อกูล การสละความสุขสบายหรือผลประโยชน์ของตนเอง อันเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นโดยที่ตนเองมิได้หวังผลตอบ แทนความมีจิตใจกว้างขวาง ช่วยเหลือเกื้อกูล การสละความสุขสบายหรือผลประโยชน์ของตนเอง อันเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่นโดยที่ตนเองมิได้หวังผลตอบ แทน

ตัวอย่าง
- บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
- ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
- สละ แบ่งปัน ทรัพย์ เครื่องอุปโภค แก่ผู้ที่สมควรได้รับ
- ช่วยแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา
- ช่วยเพิ่มพูนความรู้ใหม่แก่ผู้อื่นตามกำลังสติปัญญา

๖. ความสามัคคี    
นิยาม ความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การร่วมมือกันทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีความพร้อมเพรียง หรือความปรองดองกัน

ตัวอย่าง
- รักหมู่คณะ มีใจหวังดี
- มองคนอื่นในแง่ดีเสมอ
- เข้ามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจการของส่วนรวม
- เป็นผู้ประสานความสามัคคีในหมู่คณะ
- ปรับตนเองให้เข้ากับผู้อื่นได้

๗. ความรับผิดชอบ    
นิยาม ความ มุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพันและละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย อีกทั้งพยายามที่จะปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น การมีความสำนึกและการปฏิบัติหน้าที่ของตนทั้งที่เป็นภารกิจส่วนตัว ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และภารกิจทางสังคมโดยจะต้องกระทำจนบรรลุผลสำเร็จ ไม่หลีกเลี่ยงภาระดังกล่าว และยอมรับผลในการกระทำของตน

ตัวอย่าง
- ให้ความสามารถอย่างเต็มที่
- ยอมรับผลการกระทำของตน
- รู้หน้าที่ และกระทำหน้าที่เป็นอย่างดี
- เอาใจในการทำงาน

๘. ความกตัญญูกตเวที    
นิยาม ความ กตัญญู หมายถึง ความรู้สึกนึกในการอุปการะคุณ หรือ บุญคุณที่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นมีต่อตนเอง กตเทวี หมายถึง การแสดงออกเพื่อการตอบแทนบุญคุณ ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การรู้บุญคุณและตอบแทนคุณต่อคนอื่นและสิ่งอื่นที่มีบุญคุณ

ตัวอย่าง
- แสดงความเคารพนับถือ ยกย่องเชิดชู ผู้มีพระคุณ
- ไม่ละทิ้งผู้มีพระคุณในคราวที่ผู้มีพระคุณเดือดร้อนลำบาก
- ไม่ประพฤติ***มโหดต่อสัตว์ที่มีบุญคุณ
- รักษาและสงวนทรัพยากรธรรมชาติ

๙. ความประหยัด    
นิยาม การ ใช้สิ่งทั้งหลายอย่างพอเหมาะพอควรเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุดการรู้จักใช้ รู้จักออมทรัพย์สิน เวลา ทรัพยากรทั้งส่วนตนและสังคมตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งการรู้จักดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพฐานะความเป็นอยู่ส่วนตนและสังคม

ตัวอย่าง
- รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เหมาะกับสถานการณ์
- ใช้จ่ายทรัพย์เท่าที่จำเป็น สมควรแก่อัตภาพ
- รู้จักใช้ประโยชน์จากของเก่า
- รู้จักทำของใช้เอง
- ใช้และถนอมของใช้ และทรัพย์สินให้คงคุณค่า และประโยชน์

๑๐. ความรู้จักพอ    
นิยาม การ ไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตของตนโดยสันโดษการพึงพอใจในสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ และรู้จักดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง การมีความระลึกและรู้สึกตัวอยู่เสมอ อันจะมีผลให้สามารถควบคุมตนเองให้พ้นจากการเป็นทาสของกิเลส

ตัวอย่าง
- พอใจสิ่งที่ตนเองมีอยู่
- รู้จักข่มความโลภ ความหลงผิด

๑๑. ความมีสติสัมปชัญญะ    
นิยาม การ ควบคุมตนเองให้มีความพร้อม มีสภาพตื่นตัว ฉับไวในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ในการตัดสินใจ และในการพฤติตนอย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของการสำรวมรอบคอบและระมัดระวัง

ตัวอย่าง
- รู้ตัวตลอดเวลาว่าตนเองกำลังคิดและทำอะไร
- ตระหนักในข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมของตน
- มีความฉับไวในการรับรู้สิ่งภายนอก
- เมื่อประสบปัญหาข้อยุ่งยาก ก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และความคิดของตนให้มีความพร้อมที่จะแก้ปัญหา
- ยับยั้งการแสดงพฤติกรรมของตนได้ทัน ก่อนที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
- ควบคุมตนเองไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
- ระลึกตั้งมั่นในความถูกต้องดีงามอยู่เสมอ

๑๒. ความมีระเบียบวินัย    
นิยาม การ ควบคุมความประพฤติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยา มารยาท ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรมการรู้จักควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตามข้อตกลง ข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ย่อมนำมาซึ่งความสงบสุขในชีวิตของตน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมและประเทศชาติ

ตัวอย่าง
- ควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้อยู่ในกรอบและระเบียบที่ดีงาม
- ควบคมและปรับปรุงกิริยาให้งดงาม เป็นระเบียบ สุภาพเหมาะกับ บุคคล โอกาส เวลา และสถานที่
- รักษาร่างกาย เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
- รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ และปฏิบัติตามกฎ และข้อบังคับของสถานที่นั้น ๆ

๑๓. ความยุติธรรม    
นิยาม การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริง และเหตุผลความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม และความชอบด้วยเหตุผล

ตัวอย่าง
- ไม่เห็นผิดเป็นชอบ
- ไม่ลำเอียงเพราะความพอรักใคร่ โกธร เกลียด กลัว หลง

๑๔. ความอดทนอดกลั้น    
นิยาม ความ อดทน คือการกระทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ สม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคทั้งปวง ความอดกลั้น คือ การรู้จักข่มใจในเวลาที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่เย้ายวนทุกรูปแบบ อันจะทำให้ไม่เกิดความเสียหายหรือถลำลึกลงไปในความชั่วร้าย หรือความทุจริตทั้งปวง ความเข้มแข็ง ความบึกบึน ความหนักแน่นของจิตใจที่สามารถยืนหยัดต่อสู้การกระทบกระทั้งของสภาพการณ์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่แสดงอาการหวั่นไหวใด ๆ

ตัวอย่าง
- ไม่แสดงอาการเจ็บป่วย หรือทุรนทุรายต่อความเจ็บป่วย หรือต่อ ความลำบาก ตรากตรำ
- อดทนต่อความยากลำบาก ต่อคำเย้ยหยัน คำดูหมิ่น และคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นโดยไม่แสดงปฏิบัติโต้ตอบใด ๆ
- มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อแท้ ไม่ว่าจะตกอยู่ในสภาพการณ์หรือเหตุการณ์ใด ๆ

๑๕. ความเคารพนับถือผู้อื่น    
นิยาม การ แสดงออกซึ่งกาย วาจา ใจ อันสุภาพอ่อนโยน การรู้จักสำรวม รู้จักการให้เกียรติผู้อื่นและให้เกียรติสิ่งที่ควรเคารพอย่างถูกต้องเหมาะ สมตามโอกาสและสถานการณ์ การเคารพในการแสดงออกทางความคิด คำพูดและการกระทำของผู้อื่น อันจะทำให้ตนเองมีใจที่เปิดกว้าง ไม่หมกมุ่นอยู่แต่ความติดของตนเอง เพราะในบางครั้งการที่ยึดติดอยู่เฉพาะแต่ความคิดของตนอย่างเดียวนั้นอาจจะ ผิดพลาด หรือมองปัญหาได้ไม่ทั่วถึง

ตัวอย่าง
- แสดงความสุภาพอ่อนโยน
- แสดงอากัปกิริยาสำรวมและสงบเสงี่ยม
- ยอมรับฟังคำแนะนำของผู้อื่นด้วยกิริยาอันสำรวม

๑๖. ความไม่เห็นแก่ตัว    
นิยาม การกระทำที่ไม่หวังประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวม

ตัวอย่าง
- ประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
- ไม่ยึดถือเอาสาธารณสมบัติมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว

๑๗. ความถ่อมตัว    
นิยาม การวางตนอย่างเหมาะสม ไม่แสดงตนเหนือผู้อื่น

ตัวอย่าง
- ไม่คุยโวโอ้อวด
- ไม่เย่อหยิ่ง

๑๘. ความกล้าทางคุณธรรม    
นิยาม การ แสดงความกล้าในการคิด และกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมความกล้าหาญที่จะคิด พูด และทำในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้องทางจริยธรรมโดยไม่คำนึงว่าหากตนปฏิบัติตาม สิ่งนั้นแล้วตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือเสียผลประโยชน์อะไรบ้าง หากแต่กระทำไปเพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจะไม่กระทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องแม้ว่ามันจะนำมาซึ่งผลประโยชน์มากมายมหาศาล ก็ตาม

ตัวอย่าง
- กล้าพูดความจริง
- กล้าเสียสละ
๑๙.ความเคารพตนเอง    
นิยาม การรู้รับและเชื่อมั่นในความรู้และขอบเขตความสามารถของตนการปฏิบัติตามความ ตั้งใจ หรือปณิธานของตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นสิ่งที่พิจารณาแล้วว่าถูกทำนองคลองธรรมการมีความเชื่อมั่นในความ สามารถที่จะกระทำการใด ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยราบรื่น ไม่เดือดร้อน สามารถหาปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพมาได้ด้วยความสามารถของตนเอง ไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นต้องคอยอุปถัมภ์สงเคราะห์

ตัวอย่าง
- รักศักดิ์ศรีของตน
- ไม่โกหกตนเองว่าตนเองเก่งเกินตัว
- ยอมรับขอบเขตความสามารถในการทำงานของตน


บรรณานุกรม

กรมการศาสนา. (๒๕๒๕). พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑-๔๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). พุทธศาสนากับปรัชญา, พิมพ์ครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕), หน้า ๘๓.

เทพเวที, พระ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (๒๕๓๕). พจนานุกรมพุทธศาสตร์์. (พิมพ์ครั้งที่ ๗). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.ธรรมปิฎก.

ธรรมปิฎก, พระ (ป.อ.ปยุตฺโต). (๒๕๔๑). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๘). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

________. (๒๕๔๓). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๙). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๓๙). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ ๖). กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (๒๕๓๙). พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๖). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
บันทึกการเข้า
buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #42 เมื่อ: 14-08-2006, 09:30 »

ขอ มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
เป็นตัวหนังสือที่ไม่ได้แต่งเองก่อนแล้วจะตอบให้

 Laughing Laughing Laughing

คุณ solidus ทำไมทำแบบนี้ครับ คุณชอบแถ เค้าคงไม่คิดว่าจะมีใคร อธิบาย จริยธรรมออกมาเป็นตัวหนังสือได้มั้ง เพราะท่านรักษาการณ์ยังไม่มีเลย จริยธรรม คนที่รักก็คงเลียนแบบ

คุณ solidus ทำแบบนี้จะแถไปใหนได้หล่ะครับ
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
ชอบแถ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,138



« ตอบ #43 เมื่อ: 14-08-2006, 09:32 »

เนื่องจาก กระทู้กล่าวถึงมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
ผมแสดงความเห็นเรื่องจริยธรรม โดยยกข้อเขียนของ อ.วีรพงษ์
แต่โดนขอให้ออกจากกระทู้ครับ บอกว่าเนื้อหาไม่เกี่ยวข้อง

ไม่ขอแสดงความเห็นในกระทู้นี้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #44 เมื่อ: 14-08-2006, 10:08 »


ไม่ขอแสดงความเห็นในกระทู้นี้แล้วครับ

ดีจัง เลิกแถ ซะที เพราะ เถียง ไม่ออก ไถลไม่ไปแล้ว น่ะจิ

จริงๆ ถ้ามีตำรา นโยบายสาธารณะ อีกเรื่องก็ดีนะคะ
เผื่อจะเปิดสมองคนได้อีกหลายคน ค่ะ
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #45 เมื่อ: 14-08-2006, 11:03 »

เนื่องจาก กระทู้กล่าวถึงมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม
ผมแสดงความเห็นเรื่องจริยธรรม โดยยกข้อเขียนของ อ.วีรพงษ์
แต่โดนขอให้ออกจากกระทู้ครับ บอกว่าเนื้อหาไม่เกี่ยวข้อง

ไม่ขอแสดงความเห็นในกระทู้นี้แล้วครับ



ปล่อยให้คนที่เข้าใจคุณธรรมและจริยธรรมตรงกันแล้ว ละไว้ในที่เข้าใจ ไม่ถก"นิยาม" ต่อ ดีกว่านะครับ...
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #46 เมื่อ: 14-08-2006, 13:16 »

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพุทธจริยธรรม 
 
พระมหาสาคร ศรีดี (ป.ธ.๙)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจริยศาสตร์ศึกษา
© ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล


***

คำ ว่า "จริยธรรม" นั้นมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ซึ่งสรุปได้ดังนี้ คือ จริยธรรม หมายถึง แนวทางในการประพฤติตนที่ดีงามเหมาะสม เพื่อให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เป็นความหมายที่สอดคล้องกับพระพุทธศาสนา ดังคำว่า "ธมฺมสฺส จริยา ธมมา วา อนเปตา จริยา ธมฺมจริยา" แปลว่า "ความประพฤติที่เหมาะสม หรือความประพฤติที่ไม่ปราศจากธรรม เรียกว่า ธรรมจริยา" (มังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ฉบับบาลี, ๒๕๓๖: ๔๗) เมื่อกล่าวในแง่ของพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจริยธรรม ตามทรรศนะของพุทธศาสนา พุทธจริยธรรมนั้นนอกจากจะเป็นหลักของการดำเนินชีวิตแล้ว ยังเป็นวิธีการแก้ปัญหาด้วย ซึ่งมีที่มาดังนี้ คือ

ใน สมัยพุทธกาลนั้น ยังไม่มีการสังคายนาหลักคำสอนของพระองค์ สิ่งที่พระองค์ทรงใช้ประกาศศาสนาในสมัยนั้น ทรงใช้อยู่ ๓ คำ คือ "พรหมจรรย์" (พรฺหมจริย) "ธรรมวินัย" (ธมฺมวิจย) และคำว่า "นวังคสัตถุสาสน์"

๑. พรหมจรรย์

คำ ว่า "พรหมจรรย์" นี้ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นอุดมการณ์ในการประกาศในครั้งที่ส่งสาวกไป ประกาศศาสนาครั้งแรกจำนวน ๖๑ รูป จุดประสงค์เพื่อความประโยชน์สุขของคนทั่วไป ดังตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าใช้ คำว่า พรหมจรรย์ คือ

    จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขายโลกานุกมฺปาย
    อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ มา เอเกน เทฺว อคมิตฺถ
    เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ
    สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหมจริยํ ปกาเสถ ฯ

มีความหมายว่า

    ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
    เพื่อความสุขแก่คนเป็นจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์
    เพื่อความสุข เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
    และงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้ง
    พยัญชนะ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ฯ (ที.ม.๑๐/๕๒/๔๓)

และนอกจากนี้ยังมีหลักพุทธพจน์ที่แสดงถึงหลักจริยธรรมอีกว่า

    อยเมว โข ภิกขุ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค พฺรหฺมจริยํ ฯ

มีความหมายว่า

    ดูก่อนภิกษุ มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ นี้แหละ คือ พรหมจรรย์ ฯ (สํ.ม.๑๙/๓๐/๗)

ด้วย เหตุนี้ พรหมจรรย์ จึงได้ชื่อว่า เป็นพุทธจริยธรรม เมื่อพิจารณาในแง่นี้จะเห็นได้ว่า พุทธจริยธรรมนั้นกว้างขวางมาก ในการดำเนินตามแนวทางนี้ นอกจากบุคคลจะสามารดำเนินชีวิตจนบรรลุความดีอันสูงสุดแล้ว สังคมก็ดำเนินไปด้วยความสงบสุขอันเนื่องมาจากการปฏิบัติของบุคคลในสังคมนั้น

๒. ธรรมวินัย

คำว่า "ธรรมวินัย" นี้ ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ทรงใช้คำว่า "ธรรมวินัย" คือ

    โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต
    โส โว มมจฺเยน สตฺถา ฯ

มีความหมายว่า

    ธรรมและวินัยอันใด ที่เราตถาคตแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้ว
    เมื่อเราล่วงไปแล้ว ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ฯ (สุตฺต.ม. ๑๐/๑๔๑/๑๓๘)

๓. นวังคสัตถุสาสน์ หรือ สัตถุสาสน์ ๙ ประการ คือ๑. สุตตะ คำสอนประเภทร้อยแก้วล้วน

    ๒. เคยยะ คำสอนที่เป็นร้อยแก้วผสมกับร้อยกรอง อันได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคสังยุตตนิกาย

    ๓. เวยยากรณะ คำสอนประเภทที่เป็นอรรถกถาธิบายโดยละเอียด เป็นร้อยแก้วล้วนๆ เช่น อภิธรรมปิฎก พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นๆ ที่ไม่นับเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ

    ๔. คาถา คำสอนประเภทร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อกำกับว่า "สูตร"

    ๕. อุทาน คำสอนประเภทที่เปล่งขึ้นจากแรงบันดาลใจของพระพุทธเจ้า และพระสาวก ส่วนมากจะเป็นบทร้อยกรอง

    ๖. อิติวุตตกะ คำสอนประเภทคำอ้างอิงที่ยกข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มาอ้างเป็นตอน ๆ ได้แก่ พระสูตรสั้น ๆ

    ๗. ชาตกะ คำสอนประเภทนิทานชาดกหรือเรื่องราวในชาติปางก่อนของพระพุทธเจ้าขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่

    ๘. อัพภูตธรรม คำสอนประเภทเรื่องอัศจรรย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย

    ๙. เวทัลละ คำสอนประเภทคำถาม และคำตอบ (ม.มู.๑๒/๒๗๘/๑๘๕)

***

ลักษณะพุทธจริยธรรม

ลักษณะ และขอบเขตและเนื้อหาของพระพุทธจริยธรรมนั้นแบ่งได้ออกเป็น ๒ส่วน คือ ส่วนที่เป็นอภิปรัชญาที่กล่าวถึงความจริงของจักรวาล ของโลกและสรรพสิ่งและมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทจิตนิยม (Idealism) ในแง่ที่ว่า มนุษย์มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๒ ส่วนคือ กาย กับจิต และถือว่าจิตเป็นเรื่องสำคัญดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้หลายแห่งเป็นต้นว่า

ธรรม ทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจ อันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะ ทุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น ฯ (ขุ.ธ. ๒๕/๑๑/๑๑)

ส่วน ที่ ๒ คือเป็นจริยศาสตร์ที่สอนให้มนุษย์เข้าใจถึงความหมายของชีวิต พระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาแห่งเหตุผล และเป็นศาสนาที่แสดงถึงหลักความจริงในชีวิต ไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้บุคคลหลงใหล เชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อตามหลักเหตุผลที่ใคร่ครวญด้วยสติปัญญาแล้ว จะเห็นได้จากหลักปฏิบัติในเรื่องความเชื่อที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในกาลามสูตร มี ๑๐ ประการ

    ๑. มา อนุสฺสเวน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา
    ๒. มา ปรมฺปราย อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา
    ๓. มา อิติกิราย อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
    ๔. มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์
    ๕. มา ตกฺกเหตุ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอาศัยตรรกะ
    ๖. มา นยเหตุ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
    ๗. มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการตรึกตรองตามเหตุผล
    ๘. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากับทฤษฎีที่พินิจแล้ว
    ๙. มา ภพฺพรูปตาย อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมาองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
    ๑๐. มา สมโณ โน ครูติ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า สมณะรูปนี้เป็นครูอาจารย์ของเรา (องฺ.ติก. ๒๐/๕๐๕/๑๗๙)

ใน แง่ญาณวิทยา พระพุทธศาสนาแบ่งความรู้ออกเป็นหลายระดับ เช่น วิญญาณ ความรู้ทางประสาทสัมผัส สัญญา ความจำ ปัญญา ความรอบรู้ และได้แสดงบ่อเกิดของความรู้ไว้ ๓ ทางด้วยกัน (อภิ.วิ.๓๕/๘๐๔/๓๙๕) คือ
๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การคิด การพิจารณาหาเหตุผล
๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับ การเล่าเรียน
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ

พุทธ จริยธรรมจึงเป็นหลักการหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดี ประเสริฐ อันเป็นวิธีการ หรือเครื่องมือในการสู่จุดมุ่งหมายอันเป็นประโยชน์สูงสุด เป็นอุดมคติของชีวิต ครอบคลุมถึงเกณฑ์ตัดสินว่า การกระทำใดดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร ด้วยเหตุนี้พุทธจริยธรรมจึงมีลักษณะที่แตกต่างจากทรรศนะของปรัชญาในสำนัก อื่น ๆ คือ พุทธจริยธรรมไม่ได้เกิดจากโต้แย้งทางความคิด (Argument) การนิยามความหมาย การคาดคะเน หรือการพิจารณาเทียบเคียง เหมือนปรัชญาสำนักอื่น ๆ แต่พุทธจริยธรรมมีธรรมชาติของความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติแล้วสามารถเห็นได้ด้วยตัวของตนเอง (สนฺทิฏฺฐิโก) ไม่จำกัดเวลา (อกาลิโก) ซึ่งเป็นผลของการตรัสรู้ธรรมอันยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า "อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ" ซึ่งแยกได้เป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เป็นสัจธรรมและส่วนที่เป็นศีลธรรม พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต) (๒๕๔๒: ๖) ได้จัดแบ่งพุทธจริยธรรมตามนัยดังกล่าวไว้ดังนี้ คือ
๑. มัชเฌนธรรม หรือมัชเฌนธรรมเทศนา ซึ่งกล่าวถึง ความจริงตามแนวเหตุผลบริสุทธิ์ ตามกระบวนของธรรมชาติ
๒. มัชฌิมาปฏิปทา กล่าวคือหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลง งมงาย มุ่งผลสำเร็จคือความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ

เมื่อกล่าวให้ง่ายต่อความเข้าใจในเชิงจริยศาสตร์ พุทธจริยธรรมแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
๑. สัจธรรม เป็นส่วนแสดงสภาวะหรือรูปลักษณะตัวจริง
๒. จริยธรรม เป็นส่วนแห่งข้อประพฤติปฏิบัติทั้งหมด

โดย นัยนี้ สัจธรรมในพระพุทธศาสนาหมายถึงคำสอนเกี่ยวกับสภาวะความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ทั้งปวงเป็นไปโดยสภาวธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ (Natural Law) กล่าวคือเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ ๓ ประการ คือ (๑) อนิจจตา (Impermanence; Transiency) ความไม่เที่ยง เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายไป (๒) ทุกขตา (State of Suffering) ความเป็นทุกข์ และ (๓) อนัตตา (Non-Self) ความไม่มีตัวตน ข้อเท็จจริงเหล่านี้ พระพุทธศาสนาเชื่อว่ามีอยู่แล้วอย่างนั้นและมีอยู่ตลอดไป ไม่ว่าจะมีคนรับรู้ข้อเท็จจริงเหล่านี้หรือไม่ก็ตาม (สมภาร พรหมทา, ๒๕๔๑: ๕) ส่วนในส่วนจริยธรรม หมายถึงการถือเอาประโยชน์จากความรู้และความเข้าใจในสภาพและความเป็นไปของ สิ่งทั้งหลาย หรือการรู้กฎธรรมชาติและนำมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ (พระศรีสุทธิโมลี, ๒๕๑๔: ๑๘๗ อ้างถึงใน พระมหาไพฑูรย์ อุทัยคาม, ๒๕๔๒: ๓๓)

นอกจากนั้น เนื้อหาของพุทธจริยธรรมยังสามารถแบ่งได้อีก ๒ ระดับคือ (๑) ระดับโลกิยธรรม ได้แก่ธรรมอันเป็นวิสัยของปุถุชนผู้ครองเรือน เป็นข้อปฏิบัติสำหรับปุถุชนให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรม มุ่งสอนเพื่อให้เกิดการลดละกิเลสที่เป็นอกุศล สาเหตุที่ก่อให้เกิดอกุศลต่างๆ ให้กระทำความดี เว้นจากการกระทำความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว หมดจดจากกองกิเลสที่ทำให้เศร้าหมอง เพื่อให้เกิดความความสุขแก่ตนเองและสังคม (๒)โลกุตรธรรม ได้แก่ธรรมอันไม่ใช่วิสัยของชาวโลก แต่เป็นข้อปฏิบัติของพระอริยะ พุทธจริยธรรมในขั้นนี้เป็นขั้นสูงของพระอริยบุคคลผู้พัฒนาจิตใจ จนเกิดปัญญาสามารถละกิเลสหรือสังสารวัฏได้อย่างเด็ดขาด พ้นจากอำนาจกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่เหนือบุญและบาป เป็นผู้ที่ได้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต การกระทำของพระอรหันต์ไม่เป็นทั้งบุญและบาป ไม่มีชาตินี้และชาติหน้า พระอรหันต์อยู่ในส่วนของวิวัฏ จึงไม่มีภพชาติสังสารวัฏต่อไป ดังพระพุทธพจน์ว่า
พระอรหันต์ มีความสุขหนอ เพราะท่านไม่มีตัณหา กำหนดรู้เบญจขันธ์มีสัทธรรม ๗ ประการเป็นโคจร มีร่างกายนี้เป็นครั้งสุดท้าย หลุดพ้นจากภพใหม่ บรรลุพระอรหัตภูมิแล้ว ชนะขาดแล้วในโลก ไม่มีความเพลิดเพลินอยู่ในส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และที่สุด เป็นผู้ยอดเยี่ยมในโลก
(สํ.ข.๑๗/๗๖/๔๑)

ใน ทางพระพุทธศาสนา ความสุขในระดับโลกิยะเป็นความสุขในระดับหนึ่ง พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความจริงอันเป็นสมมติสัจจะและโลกแห่งวัตถุเหล่านี้ เพราะในความเป็นจริง ความสุขในระดับโลกิยะเป็นแนวทางให้บุคคลมีความพยายามเพื่อบรรลุความสุขขั้น สูงสุด อันเป็นบรมสุขกล่าวคือพระนิพพานซึ่งเป็นความสุขในระดับโลกุตตระ จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของชีวิตในระดับโลกิยะและโลกุตตระจะสัมพันธ์กันโดย ความเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ความสุขที่เกิดจากโลกแห่งวัตถุ เป็นเป้าหมายในระดับสัมมติสัจจะ อยู่ในระดับโลกิยวิสัย จึงหาความจริงแท้ไม่ได้ เพราะเป็นความสุขที่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสภาวะแห่งสามัญญลักษณะ และการมีสุขเช่นนี้ ก็ไม่นับว่าเป็นเป้าหมายที่สูงสุดในพระพุทธศาสนา แต่ความสุขในระดับโลกิยะนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการขัดเกลาจิตในระดับเบื้องต้น ถ้าหากบุคคลไม่ได้รับการฝึกฝนและได้รับความสุขระดับเบื้องต้น ความพยายามในที่จะให้ความสุขในระดับโลกุตตระอันเป็นจุดหมายปลายทางเกิดขึ้น ก็จะมีไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ความสุขในระดับโลกิยะและความสุขในระดับโลกุตตระจึงเป็นเหตุผลของกันและกัน และสัมพันธ์กันดังกล่าวมา

พุทธ ปรัชญาได้สอนหลักจริยธรรมการดำเนินชีวิตไว้ทุกระดับ ตั้งแต่จริยธรรมสำหรับผู้อยู่ครองเรือนจนถึงบรรพชิตผู้ออกแสวงหาความสงบ และความหลุดพ้นจากกองกิเลสทั้งปวงพระพุทธศาสนาได้แสดงอรรถะ คือจุดมุ่งหมายของชีวิตที่ดีงาม ที่มนุษย์พึงประสงค์ไว้ ๓ ระดับ คือ

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในโลกนี้ อันเป็นจุดหมายเบื้องต้นหรือจุดหมายเฉพาะหน้าที่มองเห็นได้ในชีวิตประจำวัน อันได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ หรือทรัพย์สิน ฐานะเป็นต้น รวมถึงการแสวงหาสิ่งเหล่านี้โดยชอบธรรม มี ๔ ประการ คือ

    ๑.๑ อุฏฐานสัมปทา หาเลี้ยงชีพด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริต มีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่องตรวจตรา หาอุบายวีธี สามารถดำเนินการให้ได้ผลดี

    ๑.๒ อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยัน หมั่นเพียรโดยชอบธรรม ด้วยกำลังของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือสูญหาย

    ๑.๓ กัลยาณมิตตตา การคบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ไม่แนะนำไปสู่อบายมุข

    ๑.๔ สมชีวิตา มีความอยู่พอเหมาะสม คือรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เลี้ยงชีวิตแต่พอดี ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ (องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๔๔/๒๒๒)

๒. สัมปรายิกัตถะ หรือประโยชน์เบื้องหน้า ประโยชน์ในภพหน้า เป็นประโยชน์ขั้นสูงที่ลึกล้ำกว่าจะมองเห็นได้เฉพาะหน้า เกี่ยวเนื่องด้วยคุณค่าของชีวิต เป็นหลักประกันว่า เมื่อละชีวิตจากโลกนี้ไปแล้ว จะไม่ตกลงไปสู่ที่ชั่ว อันได้แก่ ความเจริญด้านจิตใจที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมและศีลธรรม ใฝ่ใจในทางในเรื่องบุญกุศล มีความสงบสุขทางจิตใจ มี ๔ประการ คือ

    ๒.๑ สัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

    ๒.๒ สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล คือรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ไม่มีโทษ และรู้จักรักษาระเบียบวินัยเป็นอันดี

    ๒.๓ จาคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ เป็นการเฉลี่ยความสุขให้แก่ผู้อื่น

    ๒.๔ ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จัก บาป คุณ โทษ ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ เป็นต้น

๓. ปรมัตถะ หรือประโยชน์สูงสุด ประโยชน์อย่างยิ่งอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด หมายถึงจิตที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง คือวิมุตติและพระนิพพานอันเป็นสาระแท้ของชีวิต ได้แก่การรู้แจ้งและรู้เท่าทันคติธรรมดาของสังขารธรรม ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิต (องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๔๔/๒๒๒)

สรุป ได้ว่า ขอบเขตของพุทธจริยศาสตร์นั้น อยู่ที่การกระทำทางกาย วาจา และใจ เป็นพื้นฐานให้เกิดคุณธรรมขั้นสูงๆ ขึ้นไปเท่านั้น เพราะจริยศาสตร์เป็นเป็นเรื่องที่ว่าด้วยคุณค่าของการกระทำที่มีค่าในระดับ โลกิยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่อยู่ในขั้นปรมัตถ์หรือโลกุตรธรรม

๑) ระดับโลกิยธรรม เป็น เป้าหมายของชีวิตมนุษย์ในสภาวะที่สืบเนื่องอยู่ในโลกแห่งปรากฏการณ์ สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เป้าหมายของชีวิตในระดับนี้จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะเป้าหมายในระดับนี้วัดจากรูปธรรมอันปรากฏให้เห็นเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่า อุดมคติของชีวิตในระดับนี้จะเป็นสิ่งเลวร้าย ในทางตรงกันข้ามหากสร้างและดำเนินชีวิตตามอุดมคติที่วางไว้ได้อย่างถูกต้อง ตามกฎศีลธรรมแล้ว ชีวิตก็จะสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง

๒) ระดับโลกุตรธรรม เป็นเป้าหมายของมนุษย์อันอยู่ในสภาวะที่พ้นจากโลก เป้าหมายในระดับนี้ไม่ได้สามารถวัดได้ด้วยวัตถุ สิ่งของ หรือประสาทสัมผัสทั้ง ๕ เพราะเป็นขั้นที่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสทั้งปวง เป็นเป้าหมายในระดับปรมัตถะ เป็นความสุขที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะอื่นใด อันได้แก่ พระนิพพาน

***

การจัดลำดับพุทธจริยธรรม

พุทธ จริยธรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคคลมีชีวิตที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สามารถอยู่ร่วมกันเป็นสังคมได้เป็นอย่างดี มีความสุข และทำให้มีการดำเนินชีวิต การครองชีพอย่างประเสริฐ เพราะฉะนั้นพุทธจริยธรรมจึงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีของชาวพุทธ การจัดพุทธจริยธรรมสามารถจัดได้ดังนี้

๑. พุทธจริยธรรมขั้นพื้นฐาน เป็น เบื้องต้นของธรรมจริยา หรืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (พระเทพเวที, ๒๕๓๒: ๕) และยังเป็นพื้นฐานของคุณธรรมขั้นสูงๆขึ้นไป จริยธรรมในระดับนี้จะเป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่จำเป็นทั้งต่อตนเองและสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นหลักมนุษยธรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ เบญจศีล อันได้แก่ ศีล ๕ (five percepts) และเบญจธรรม อันได้แก่ ธรรม ๕ ประการ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติฝ่ายศีลและธรรมที่สนับสนุนกัน เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติควบคู่กัน

๑. เบญจศีล

    ๑.๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ปาณาติปาตา เวรมณี)
    ๑.๒ เว้นจากการลักทรัพย์ (อทินฺนาทานา เวรมณี)
    ๑.๓ เว้นจากประพฤติผิดในกาม (กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี )
    ๑.๔ เว้นจากการพูดปด (มุสาวาทา เวรมณี)
    ๑.๕ เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย (สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี)

๒. เบญจธรรม

    ๒.๑ มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ (เมตตา-กรุณา)
    ๒.๒ เลี้ยงชีวิตในทางที่ถูกต้อง (สัมมาอาชีวะ)
    ๒.๓ มีความสำรวมระวังในกาม (กามสังวร)
    ๒.๔ พูดแต่คำสัตย์จริง (สัจจะ)
    ๒.๕ มีสติรักษาตนไว้เสมอ (สติ-สัมปชัญญะ)
    (องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๗๑/๑๘๒)

๒. พุทธจริยธรรมขั้นกลาง ในระดับนี้เป็นการพัฒนาจริยธรรมให้สูงขึ้นไป คือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ แบ่งประเภทออกเป็น ๓ ทาง คือ (๑) ความดีทางกาย เรียกว่า กายสุจริต (๒) ความดีทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต และ (๓) ความดีทางใจ เรียกว่า มโนสุจริต ได้แก่

    ๑. ความดีทางกาย มี ๓ คือ (๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์ (๒) เว้นจากการลักทรัพย์ (๓) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

    ๒. ความดีทางวาจา มี ๔ คือ (๑) เว้นจากการพูดปด (๒) เว้นจากการพูดคำหยาบ (๓) เว้นจากการพูดส่อเสียด (๔) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ

    ๓. ความดีทางใจ มี ๓ คือ (๑) ไม่โลภอยากได้ของเขา (๒) ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น (๓) ไม่เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม (ม.มู. ๑๒/๔๘๕/๓๖๗)

๓. พุทธจริยธรรมขั้นสูง คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ หรือเรียกอีกอย่างว่า อริยมรรค มีความหมายว่า ทางอันประเสริฐหรือทางนำผู้ปฏิบัติให้เป็นผู้ประเสริฐ มี ๘ ข้อ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ มีความเข้าใจถูกต้อง ดังนี้คือ

    ๑.๑ เห็นว่าทานที่ให้แล้วมีผล
    ๑.๒ เห็นว่าของที่เราบูชาแล้วมีผล
    ๑.๓ เห็นว่าของที่เราบางสรวงแล้วมีผล
    ๑.๔ เห็นผลของกรรมดี กรรมชั่วมี
    ๑.๕ เห็นว่าโลกนี้มี
    ๑.๖ เห็นว่าโลกหน้ามี
    ๑.๗ เห็นว่ามารดามี
    ๑.๘ เห็นว่าบิดามี
    ๑.๙ เห็นว่าสัตว์ที่ผุดขึ้นเองมี
    ๑.๑๐ เห็นว่าสมณพราหมณ์ที่หมดกิเลสปฏิบัติดีมีอยู่

๒. สัมมาสังกัปปะ มีความคิดถูกต้อง ดังนี้คือ

    ๒.๑ คิดออกจากกาม
    ๒.๒ ไม่คิดพยาบาทปองร้ายใคร
    ๒.๓ ไม่คิดเบียดเบียนใคร

๓. สัมมาวาจา มีวาจาถูกต้อง ดังนี้คือ

    ๓.๑ พูดคำจริง
    ๓.๒ ไม่พูดส่อเสียด
    ๓.๓ พูดไพเราะอ่อนหวาน ไม่พูดคำหยาบ
    ๓.๔ พูดอย่างมีสติใคร่ครวญ ไม่เหลวไหลเลื่อนลอย

๔. สัมมากัมมันตะ มีการงานถูกต้อง ๓ ประการ ดังนี้ คือ

    ๔.๑ ไม่ฆ่าสัตว์
    ๔.๒ ไม่ลักทรัพย์
    ๔.๓ ไม่ประพฤติในกามทั้งหลาย

๕. สัมมาวายามะ มีอาชีพถูกต้อง ดังนี้

    ๕.๑ ละอาชีพที่ทุจริต
    ๕.๒ ประกอบอาชีพที่สุจริต

๖. สัมมาวายามะ มีความเพียรพยายามถูกต้องดังนี้

    ๖.๑ เพียรระวังไม่ให้ความไม่ดีเกิดขึ้นตังเอง
    ๖.๒ เพียรพยายามละความชั่ว ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
    ๖.๓ เพียรสร้างกุศลความดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดมีขึ้น
    ๖.๔ เพียรรักษาความดีที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่ และให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ

๗. สัมมาสติ มีความระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมในสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้ คือ

    ๗.๑ การพิจารณากายในกาย
    ๗.๒ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ๗.๓ การพิจารณาเห็นจิตในจิต
    ๗.๔ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

๘. สัมมาสติ ความมีใจมั่นคงถูกต้องในฌาน ๔ ดังนี้

    ๘.๑ ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)
    ๘.๒ ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)
    ๘.๓ ตติยฌาน (ฌานที่ ๓)
    ๘.๔ จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) (ม.มู.๑๒/๑๔๙/๘๖)

อริ ยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เรียกว่า ทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติที่อยูระหว่างกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค เป็นทางสายเอกเพื่อความบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนเชือกที่มี ๘ เกลียว แต่รวมกันเข้าเป็นอันเดียว หมายถึงผู้ปฏิบัติในอริยมรรคนี้ต้องกระทำไปพร้อม ๆ กัน
จากการจัดลำดับพุทธจริยธรรมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สรุปการจัดระดับพุทธจริยธรรมตามแนวมรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวแล้วนั้น สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ระดับย่นย่อลงในไตรสิกขา คือ ระดับศีล ระดับสมาธิ และระดับปัญญา หรือแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ได้ดังนี้
๑. ระดับต้น ได้แก่ เบญจศีล เบญจธรรม
๒. ระดับกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
๓. ระดับสูง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการ

เมื่อ กล่าวโดยสรุป พุทธจริยธรรม ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ หรือที่เรียกว่า มัชฌิมปฏิปทา ย่อเข้าในไตรสิกขา ก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่สามารถนำไปสูประโยชน์และความสุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
บันทึกการเข้า
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #47 เมื่อ: 14-08-2006, 13:18 »

เกณฑ์ตัดสินพุทธจริยธรรม

ต่อ ไปนี้จะเป็นการศึกษาปัญหาเกณฑ์ตัดสินพุทธจริยธรรม คือ ปัญหาที่ว่า การกระทำที่มีคุณค่าทางจริยะที่ว่า การกระทำที่เรียกว่า ดี ถูก ผิด หรือควร ไม่ควร เป็นอย่างไร และมีอะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินในการกระทำนั้นว่า ดี ถูก ผิด หรือควร ไม่ควร

หลัก จริยธรรมในระบบพุทธจริยศาสตร์นั้น เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ามี ๒ อย่างคือ สัจธรรม และศีลธรรม สัจธรรมเป็นอันติมสัจจะ กล่าวคือ เป็นความจริงสูงสุดอันเป็นฐานรองรับหลักศีลธรรม และหลักจริยธรรม หรือการกระทำอันมีค่าทางพุทธจริยศาสตร์ที่ดำเนินไปถึงเพื่อเข้าถึงเป้าหมาย อันเป็นอันติมสัจจะนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่เอง มีอยู่อย่างเที่ยงแท้ และสามารถดำรงอยู่ได้โดยธรรมดา ถ้ามนุษย์ไม่มีเป้าหมายในการกระทำ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่า การกระทำใดถูก หรือผิด เพราะฉะนั้น เกณฑ์ในการตัดสินค่าจริยะว่า สิ่งนี้ถูก ผิด ควร ไม่ควร จึงต้องอาศัยเป้าหมายเป็นแนว ในขั้นนี้ ผู้วิจัยจะศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่ว่า มาตรการวัดและตัดสินคุณค่าทางจริยะเหล่านี้ ในทางพุทธจริยศาสตร์คืออะไร และมีอะไรบ้าง นี้เป็นปัญหาที่จะต้องศึกษาต่อไป

ใน พระพุทธศาสนากล่าวการกระทำของมนุษย์ไว้ ๓ ทางคือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม และทางใจ เรียกว่า มโนกรรม การกระทำจะดีหรือชั่วอยู่ที่ ๓ ทางนี้ ถ้าการกระทำนั้นเป็นฝ่ายดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ เรียกว่า กายสุจริต วจีสุจริตและมโนสุจริต กรรมฝ่ายดีนี้ เรียกว่า กุศลกรรม แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นการกระทำในฝ่ายชั่วทางทวารทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กรรมฝ่ายชั่วทั้ง ๓ นี้เรียกว่า อกุศลกรรม ส่วนปัญหาที่ว่า การกระทำของมนุษย์นั้น จะดีหรือชั่ว ใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณากันต่อไป

ตาม แนวพุทธจริยศาสตร์นั้น ให้ถือเจตนาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า การกระทำใด ดี หรือชั่ว ถูก หรือผิด เพราะการกระทำทั้งหมดของมนุษย์มีเจตนาเป็นตัวคอยบ่งชี้ เพราะฉะนั้นเจตนาจึงเป็นตัวแท้ของกรรม"บุคคลคิดแล้วจึงกระทำ กรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ" (องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๓๔/๓๖๕)

เค.เอ็น. ชยติลเลเก (๒๕๓๔: ๓๖) ได้ให้ทัศนะในปัญหานี้ว่า

    พระ พุทธศาสนาถือว่า การกระทำที่ถูกต้องและผิดนั้นจะต้องเป็นการ กระทำที่เป็นไปอย่างเสรี แต่เป็นเสรีภาพที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎของเหตุผล ตามทัศนะของพระพุทธศาสนา มีเงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้การกระทำที่ถูกแตกต่างจากการกระ ทำที่ผิด นั่นคือแรงจูงใจและความตั้งใจหรือเจตนาที่บุคคลมีต่อการกระทำๆ

โดย นัยนี้ กล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนา เชื่อว่า มนุษย์มีเจตจำนงเสรีในการกระทำ ซึ่งเป็นเจตจำนงเสรีที่ความสัมพันธ์กันในเหตุผลเชิงจริยธรรม เพราะถ้ามนุษย์ไม่มีเจตน์จำนงเสรีในการกระทำ ก็จะไม่มีความชั่ว ถูก ผิด ควร หรือไม่ควร การกระทำก็เป็นแต่สักว่า ทำแล้ว กำลังทำ หรือทำอยู่เท่านั้น แต่มนุษย์มีเจตจำนงเสรีในการกระทำ และการกระทำทุกอย่างย่อมประกอบด้วยความจงใจหรือเจตนาเสมอ เพราะฉะนั้น ด้วยการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาหรือความจงใจนี้เอง พระพุทธศาสนาจึงกล่าวว่า ถ้าประกอบด้วยกุศล ก็จัดเป็นกุศลกรรม ถ้าประกอบด้วยอกุศล จัดว่าเป็นอกุศลกรรม ดังพุทธพจน์ว่า

    กรรม ที่ถูกโลภะครอบงำ...กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ...กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดแต่โมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อ ๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑อโมหะ ๑...กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ...กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ... กรรมที่ถูกอโมหะครอบงำ เกิดแต่ อโมหะมีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อโมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ประการนี้แลเป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ (องฺ.ติก.๒๐/๔๗๓/๑๒๘)

จึง กล่าวได้ว่า ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เจตนาที่ประกอบด้วยด้วยความพยายามในการกระทำอันเป็นเหตุเบื้องต้น หรือเป็นความพยายามเพื่อให้การกระทำสำเร็จลงเป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่าเชิงพุทธ จริยธรรม ดังพุทธพจน์ที่ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา (องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๔/๓๕๖)

***

พุทธจริยธรรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่

การ ดำรงตนอยู่ในสังคมนั้น บุคคลหนึ่งจะต้องมีบทบาทหน้าที่หลายๆ อย่าง ถ้าขาดหลักการปฏิบัติในการทำบทบาทหน้าที่เหล่านั้นแล้ว ก็จะเกิดความสับสนในบทบาทหน้าที่เหล่านั้นได้ พระพุทธองค์จึงได้บัญญัติข้อปฏิบัติในการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในสังคม ไว้ดังต่อไปนี้ (ที.ปา. ๑๑/๑๙๘/๑๙๖)

๑. ฐานะลูก ซึ่งมีบทบาทหน้าที่เมื่อเป็นลูกอย่างนี้ คือ

    ๑.๑ ช่วยทำธุระของพ่อแม่
    ๑.๒ ประพฤติตัวดี ควรแก่การที่พ่อแม่จะมอบความไว้วางใจ
    ๑.๓ สร้างและรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลไว้
    ๑.๔ เลี้ยงดูท่านด้วยความกตัญญูกตเวที
    ๑.๕ เมื่อท่านเสียชีวิตแล้วบำเพ็ญกุศลอุทิศส่วนบุญไปให้

๒. ฐานะพ่อแม่ มีบทบาทและหน้าที่เมื่อเป็นพ่อแม่ดังนี้

    ๒.๑ รักษาลูกไม่ให้ทำความชั่ว
    ๒.๒ ส่งเสริมให้ลูกทำความดี
    ๒.๓ ให้การศึกษา
    ๒.๔ หาคู่ครองที่ดีให้
    ๒.๕ มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงเวลาอันสมควร

๓. ฐานะศิษย์ มีบทบาทและหน้าที่เมื่อเป็นศิษย์ดังนี้

    ๓.๑ มีความเคารพนับถือครูอาจารย์
    ๓.๒ เชื่อฟังครูอาจารย์
    ๓.๓ มีความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์
    ๓.๔ ช่วยทำกิจธุระของครูอาจารย์
    ๓.๕ เรียนศิลปะวิทยาด้วยความตั้งใจ

๔. ฐานะครู มีบทบาทและหน้าที่เมื่อเป็นครูดังนี้

    ๔.๑ แนะนำศิษย์อย่างดี ด้วยเจตนาดี
    ๔.๒ สอนอย่างดี ด้วยความตั้งใจ ยึดประโยชน์ของศิษย์เป็นที่ตั้ง
    ๔.๓ สอนวิทยาการให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบัง
    ๔.๔ ยากย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง
    ๔.๕ ช่วยเหลือศิษย์ไม่ให้มีอันตรายและให้มีความสุข

๕. ฐานะคู่ชีวิต คือสามีภรรยา มีบทบาทและหน้าที่ดังนี้คือ

    ๕.๑ บทบาทหน้าที่ของสามีต่อภรรยา
              ๕.๑.๑ ยกย่องว่าเป็นภรรยา
              ๕.๑.๒ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม
              ๕.๑.๓ ไม่ประพฤตินอกใจ
              ๕.๑.๔ มอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้
              ๕.๑.๕ ให้เครื่องประดับเครื่องแต่งกาย
    ๕.๒ บทบาทหน้าที่ของภรรยาต่อสามี
              ๕.๒.๑ จัดการงานในบ้านเรียบร้อยดี
              ๕.๒.๒ สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี
              ๕.๒.๓ ไม่นอกใจสามี
              ๕.๒.๔ รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
              ๕.๒.๕ มีความขยัน

๖. ฐานะเพื่อน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้คือ

    ๖.๑ หน้ามิตรบำรุงมิตร
              ๖.๑.๑ ช่วยเหลือเพื่อน
              ๖.๑.๒ เจรจาถ้อยคำไพเราะ
              ๖.๑. ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
              ๖.๑.๔ เป็นผู้วางตนเสมอ
              ๖.๑.๕ ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
    ๖.๒ หน้าที่มิตรอนุเคราะห์มิตร
              ๖.๒.๑ รักษาเพื่อนผู้มีความประมาทแล้ว
              ๖.๒.๒ รักษาทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
              ๖.๒.๓ เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งได้
              ๖.๒.๔ นับถือวงศ์ญาติของเพื่อน

๗. ฐานะนายและทาสกรรมกร

    ๗.๑ หน้าที่นายจ้างบำรุงบ่าวไพร่
              ๗.๑.๑ จัดงานให้ทำตามสามควรแก่กำลัง
              ๗.๑.๒ ให้อาหารและรางวัล
              ๗.๑.๓ รักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้
              ๗.๑.๔ ให้รางวัลพิเศษเมื่อทำงานได้ดี
              ๗.๑.๕ ให้ลูกจ้างได้พักตามกาลอันสมควร
    ๗.๒ หน้าที่บ่าวไพร่อนุเคราะห์นาย
              ๗.๒.๑ ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย
              ๗.๒.๒ เลิกการงานที่หลังนาย
              ๗.๒.๓ ถือเอาแต่ของที่นายให้
              ๗.๒.๔ ทำงานให้ดีขึ้น
              ๗.๒.๕ นำคุณของนายไปสรรเสริญให้ที่นั้นๆ

๘. บทบาทหน้าที่สำหรับผู้ปกครอง หมายถึง บุคคลที่สังคมยกย่องให้เป็นผู้นำนั้นต้องประกอบด้วยคุณธรรมอันนำมาซึ่งความ สงบสุข และนำสมาชิกของสังคมไปสู่ความเจริญ รุ่งเรือง พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงหลักธรรมสำหรับนักปกครองไว้ว่า ทศพิพิธราชธรรม หมายถึง ธรรมของพระราชา หรือกิจวัตรที่นักปกครองต้องประพฤติปฏิบัติ มี ๑๐ ประการ คือ (ขุ.ชา.๒๘/๒๔๐/๖๒)

    ๘.๑ ทาน การให้ คือการสละทรัพย์สิ่งของบำรุงเลี้ยงช่วยเหลือประชาราษฎร์ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

    ๘.๒ ศีล ความประพฤติดีงาม คือ สำรวมกายกายทวาร และวจีทวาร ประกอบแต่การกระทำที่สุจริต รักษากิตติคุณ และเป็นที่เคารพของนับถือของประชาราษฎร์ มิให้มีข้อที่ใครจะดูแคลนได้

    ๘.๓ ปริจจาค การบริจาค คือเสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

    ๘.๔ อาชชวะ ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงต่อหน้าที่ ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ โดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน

    ๘.๕ มัททวะ ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่งหยาบคาย หรือถือตัว มีความงามอันเกิดจากกิริยามารยาทสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี และความยำเกรง

    ๘.๖ ตปะ ความทรงเดช คือ กำจัดกิเลสตัณหา ไม่ให้เข้ามาครอบงำจิตใจ ข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญอันเกิดจากความปรนเปรอ มีความมุ่งมั่นในการบำเพ็ญเพียร ทำกิจให้สมบูรณ์

    ๘.๗ อักโกธะ ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราด ลุแก่อำนาจโทสะ จะเป็นเหตุให้เกิดการกระทำผิดพลาด มีเมตตาประจำใจเสมอ วินิจฉัยความแลการกระทำต่าง ๆ อันประกอบด้วยธรรม

    ๘.๘ อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่กดขี่บีบคั้นประชาชน เช่น การขูดรีดเก็บภาษี หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจจนขาดความเมตตากรุณา

    ๘.๙ ขันติ ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบายกายเพียงใด ก็ไม่เกิดความย่อท้อ ถึงแม้จะถูกเย้ยหยันด้วยคำเสียดสีอย่างไร ก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้งกรณียกิจที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม

    ๘.๑๐ อวิโรธนะ ความไม่คลาดจากธรรม คือวางตนเป็นหลักในธรรม ไม่มีความเอนเอียงเพราะถ้อยคำที่ดีหรือร้อย ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ใดๆ ตั้งมั่นในหลักธรรมทั้งในส่วนของความยุติธรรม คือ ความเที่ยงธรรม นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผนหลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ไม่ประพฤติให้คลาดเคลื่อนจนเกิดความเสียหายไป

***

พุทธจริยธรรมเกี่ยวกับการแก้ปัญหา

ปัญหา หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์โดยทั่วไป มักเกิดขึ้นมาจากความทะยานอยาก หรือความพอใจอยากได้จนเกินประมาณ คือ อยากได้ในกามคุณเพื่อนสนองความความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ความอยากที่จะมีอยู่คงอยู่ตลอดไป และความอยากที่จะพ้นจากสภาพที่ไม่พึงปรารถนา อยากทำลายหรือดับสูญ รวมความแล้วได้แก่ตัณหา ๓ คือ กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา (องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๗๗/๓๙๘)

วิธี การแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้น ต้องรู้ถึงสาเหตุของปัญหาและแก้ไขตามสาเหตุอย่างถูกต้อง และวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ อันเป็นพื้นฐานเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อยากถูกต้อง เพราะในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรานั้นต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา นั่นคือต้องมีการเผชิญกับปัญหาต่างๆ และต้องตัดสินใจเสมอ และอริยสัจ นี้ก็เป็นหลักธรรมที่ทำให้ผู้เข้าถึงสามารถเป็นผู้ประเสริฐได้

๑. อริยสัจจ์ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของพระอริยเจ้า

    ๑.๑ ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ เป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นสภาวะบีบคั้น ขัดแย้งขัดข้อง มีความบกพร่องไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ ซึ่งเป็นสภาวะปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือสภาพปัญหาอาจจะเกิดขึ้นใน อนาคตแก่ผู้ที่ยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทาน ทั้งนี้เพราะปัจจัยต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นสิ่งที่มีสภาพเป็นไตรลักษณ์ คือสภาวะที่ไม่มีความยั่งยืน มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่สามารถยึดถือเป็นแก่นสารได้

    ๑.๒ สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา ๓ ประการอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือ (๑) กามตัณหา ความทะยานอยากในกามคุณ ที่เป็นสิ่งสนองความต้องการทางประสาทสัมผัสทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (๒) ภวตัณหา ความทะยานอยากในภาวะที่ตนกำลังเป็นอยู่นี้ตลอดไป หรือความอยากที่จะไปสู่ภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่คิดได้ (๓) วิภวตัณหา ความทะยานอยากในเราที่พ้นไปเสียจากภาวะอยากจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พอใจจาก สิ่งที่ตนกำลังได้รับ หรือไม่อยากพบภาวะที่ตนไม่ชอบใจในอนาคต แต่เนื่องจากความเป็นไปในโลกนี้มิได้เป็นไปตามความอยาก แต่เป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ จึงทำให้ประสบกับความทุกข์

    ๑.๓ นิโรธ ความ ดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดันสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา และสำรอกตัณหาได้แล้ว ปราศจากความดิ้นรนทางใจเพื่อแสวงหาความเป็นอิสระจากทุกข์ทั้งปวง คงเหลือแต่ความปรุงแต่งทางกายตามสภาพธรรมชาติ

    ๑.๔ มรรค ข้อปฏิบัติที่ให้ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่ภาวะนิโรธ คือความดับทุกข์ ได้แก่การปฏิบัติตาม มรรคมีองค์ ๘(อภิ.วิ. ๓๕/๑๔๔/๙๓)
    อริยสัจ ๔ ประการนี้ เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งได้แก่ ทุกข์ แล้วพิจารณาหาเหตุของทุกข์เพื่อแก้ปัญหา คือ สมุทัย เมื่อหาสาเหตุแห่งทุกข์ได้แล้ว ต้องหาวิธีแก้ทุกข์ หรือหาวิธีการเพื่อให้พ้นจากสภาพไม่พึงประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ คือนิโรธ แล้วจึงปฏิบัติตามแนวทางเพื่อให้ดับทุกข์คือ นิโรธคามินีปฏิปทา อันได้แก่การดำเนินทางตามแนว มรรคมีองค์ ๘ หรือทางสายกลาง

๒. สัปปุริสธรรม คือ ธรรมของสัตบุรุษ ๗ ประการ คือ

    ๒.๑ ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้จักธรรม หมายถึง รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง หรือรู้เหตุ รู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น รู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้ทำชั่ว อะไรเป็นหลักเกณฑ์แห่งความดี เป็นต้น

    ๒.๒ อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักอรรถ หมายถึง รู้ความหมาย รู้จุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ เช่น รู้หลักธรรมหรือภาษิตนั้นๆ มีความหมายอย่างไร มีความมุ่งหมายอะไร เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร เป็นต้น

    ๒.๓ อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน คือรู้จักตนเองโดยฐานะ ภาวะ เพศ วัย ความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมอื่นๆ มีศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น แล้วประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ภาวะของตน และเมื่อรู้ว่า บกพร่องในเรื่องใด ก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

    ๒.๔ มัตตัญญุตา ความ เป็นผู้รักประมาณ คือ รู้จักความพอดี ความพอเหมาะสม ในการดำรงชีวิต เช่น การรู้จักประมาณในบริโภคอาหาร การรู้จักประมาณในการใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้ รู้จักประมาณในการทำงานเป็นต้น

    ๒.๕ กาลัญญุตา ความเป็นผู้รูจักกาล คือรู้จักเวลาว่า เวลาไหนควร ไม่ควรทำอะไร การงานใด จะต้องใช้เวลาเท่าไร แล้วทำให้ตรงต่อเวลา ให้เป็นเวลา

    ๒.๖ ปุริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบริษัท คือรู้จักชุมชนและสังคม รู้กริยาที่จะพึงประพฤติ แล้วประพฤติตนให้เหมาสมต่อชุมชนและสังคมนั้นๆ

    ๒.๗ ปุคคลปโรรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบบุคคล คือ รู้จักบุคคลที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน รู้ความแตกต่างแห่งบุคคลนั้นๆ ว่า ใคร ผู้ใด มีอัธยาศัย หรือไม่ดี มีค่ำนิยมอย่างไร เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.๒๓/๖๕/๙๑)

๓. สันโดษ คือ ความยินดี ความพอใจ ความรู้จักเพียงพอด้วยปัจจัย ๔ ที่ตนหามาได้ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดยชอบธรรม เพราะมนุษย์โดยทั่วไปจะเกิดความพึงพอใจในแสวงหา ในการบริโภคอย่างมาก เพราะฉะนั้น ความพอใจดังกล่าวนี้ ไม่ใช่หลักการตัดสินอรรถประโยชน์ ถ้าความพอใจไม่ได้มากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ก็อาจจะเป็นตัวการในการทำลายอรรถประโยชน์ได้ เช่น ทำให้หลงมัวเมา เสียคุณภาพชีวิต เป็นต้น ๔ ประการ คือ

    ๓.๑ ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมา หรือเพียรหาสิ่งใดมาได้ และสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ตนปรารถนา ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตเพียงใด ก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่ติดใจอยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายในสิ่งที่ตนไม่ได้ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนได้หรือเกินไปกว่าที่ตนพึงได้โดยถูกต้อง ไม่เพ่งอยากได้ของที่คนอื่นไม่ได้ให้

    ๓.๒ ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือยินดีแต่พอกำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยแห่งการใช้สอยของตน ไม่อยากได้เกินกำลัง หรือเมื่อได้มาแล้วไม่สามารถจะใช้กับกำลังร่างกายหรือสุขภาพได้ ก็ไม่หวงแหน ย่อมจะสละให้กับผู้อื่นได้

    ๓.๓ ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ ยินดีตามที่เหมาะสมกับตน อันสมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางการดำเนินชีวิต และจุดมุ่งหมายการบำเพ็ญกิจของตน (ม.อ.๒/๑๘๘; องฺ.อ.๑/๘๑)

***

พุทธจริยธรรมเกี่ยวกับการสร้างศรัทธาต่อความดี

๑. ศรัทธา คือความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ๔ประการ คือ

    ๑.๑ กัมมสัทธา เชื่อเรื่องกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา จงใจทำการกระทำนั้นย่อมเป็นกรรม คือเป็นความชั่ว หรือความดี เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้าย สืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างป่าว และเชื่อว่า ผลจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือ เป็นต้น

    ๑.๒ วิปากสัทธา เชื่อผลของการกระทำ เชื่อว่าผลของการกระทำมีจริง คือเชื่อว่า กรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลของต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว

    ๑.๓ กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีกรรมเป็นของตน คือแต่ละคนย่อมเป็นเจ้าของของการกระทำ และจะต้องเสวยวิบากอันเป็นไปตามกรรมของตน

    ๑.๔ ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือ มีความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงประกอบด้วยพระคุณทั้ง ๙ ประการ บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนดีแล้ว ก็สามารถเข้าบรรลุภูมิธรรมอันสูง บริสุทธิ์ และหลุดพ้นจากกองกิเลส ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้ได้ (องฺ.สตฺตก.๒๓/๔/๓)

๒. กรรม หมายถึงกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาดีหรือชั่ว ในที่นี้หมายถึงกรรมประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรม ดังนี้คือ

    ก. กรรมที่จำแนกตามเวลาที่ให้ผล
              ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันคือในภพนี้
              ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม คือกรรมที่ให้ผลในภพภูมิชาติหน้า
              ๓. อปราปริยเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป
              ๔. อโหสิกรรม คือ กรรมที่เลิกให้ผล ไม่มีผลอีก

    ข. กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่
              ๑. ชนกกรรม คือ กรรมที่แต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
              ๒. อุปัตถัมภกกรรม คือ กรรมสนับสนุน ซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
              ๓. อุปปีฬกกรรม คือ กรรมบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากกรรมไม่ให้เป็นไปได้นาน
              ๔. อุปฆาตกกรรม คือ กรรมตัดรอน กรรมที่แรง เป็นกรรมฝ่ายตรงกันข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าไปตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดไป เช่น คนเกิดในตระกูลสูง มั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น

    ค. กรรมที่จำแนกตามลำดับความรุนแรงในการให้ผล
              ๑. ครุกธรรม คือ กรรมหนักที่ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ ๘ หรือ อนัตริยกรรม
              ๒. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำมาก หรือกรรมชิน ซึ่งให้ผลรองจากครุกรรม
              ๓. อาสันนกรรม คือกรรมจวนเจียน หรือกรรมที่ให้ผลในเวลาใกล้ตาย
              ๔. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม คือ กรรมสักว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง กรรมข้อนี้จะให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นๆ ให้ผลให้แล้ว (วิสุทธิ. ๓/๒๒๓)

***

พุทธจริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี

มนุษย์ จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้นั้น จะต้องมีหลักจริยธรรมในการครองชีวิตในปัจจุบัน ในพุทธจริยธรรม ได้สอนหลักเพื่อการดำรงชีวิตที่ดี ประเสริฐ ดี งาม และสงบไว้มาก ดังนั้น ผู้วิจัยจะกล่าวเฉพาะที่มีปรากฏอยู่ในบทเพลงเท่านั้น

๑. มงคล ๓๘ ประการ หมายถึงหลักการดำเนินชีวิต หลักความประพฤติ ๓๘ ประการ เพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้วางหลักไว้ เริ่มตั้งแต่การดำเนินชีวิตขั้นต้น จนถึงขั้นสูงสุด คือ ตั้งแต่โลกิยธรรม จนถึงโลกุตรธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เริ่มจากการดำเนินชีวิตจากสิ่งง่ายๆ ไปสู่สิ่งที่ยากที่สุด ครอบคลุมหลักจริยธรรม ในการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้เกิดคุณธรรมตั้งแต่เบื้องตนจนถึงขั้นสูงสุด คือ จิตที่ปราศจากกิเลส มีดังนี้

    (๑) ไม่คบคนพาล (๒) คบบัณฑิต (๓) บูชาผู้ควรบูชา (๔) อยู่ในประเทศอันสมควร (๕) เคยทำบุญไว้ในชาติก่อน (๖) ตั้งตนไว้ชอบ (๗) สดับตรับฟังมาก (๘) การรู้ศิลปะ (๙) ศึกษาวินัยดี (๑๐) วาจาเป็นสุภาษิต (๑๑) บำรุงบิดามารดา (๑๒) สงเคราะห์บุตร (๑๓) สงเคราะห์ภรรยาโดยสมควร (๑๔) การงานไม่อากูล (๑๕) ให้ทาน (๑๖) ประพฤติธรรม (๑๗) สงเคราะห์ญาติ (๑๘) การงานไม่มีโทษ (๑๙) การงดเว้นจากบาป (๒๐) สำรวมจากการดื่มน้ำเมา (๒๑) ความไม่ประมาทในธรรม (๒๒) ความเคารพ (๒๓) ความอ่อนน้อมถ่อมตน (๒๔) ความสันโดษ (๒๕) ความกตัญญู (๒๖) การฟังธรรมตาลกาล (๒๗) ความอดทน (๒๘) ความเป็นคนว่านอนสอนง่าย (๒๙) การไดเห็นสมณะ (๓๐)การสนทนาธรรมตามกาล (๓๑) มีตบ ความเพียร (๓๒) ประพฤติพรหมจรรย์ (๓๓) เห็นอริยสัจ ๔ (๓๔) การทำแจ้งซึ่งพระนิพพาน (๓๕) จิตไม่หวั่นไหวในกิเลส (๓๖) จิตไม่เศร้าโศก (๓๗) จิตปราศจากธุลีไร้กิเลส (๓๘)จิตเกษม ปราศจากอกุศลมูล (ขุ.ธ. ๒๕/๖/๓)

มงคล ชีวิต ๓๘ ประการ เป็นหลักจริยธรรมสำหรับการดำรงชีวิตเพื่อการดำเนินชีวิตให้ประสบความเจริญ ก้าวหน้า ซึ่งค่านิยมด้านต่าง ๆ ในมงคล ๓๘ ประการ ได้แก่ เรื่อง ทาน ศีล ความกตัญญู ความมีวินัย เรื่องการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างบุคคลต่างๆ ที่ดำเนินไปด้วยความถูกต้อง จัดว่าเป็นหลักจริยธรรมที่จำเป็นและสำคัญมากที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติจะได้มี กำลังในการปฏิบัติตามมงคลชีวิตจากระดับต้น จนถึงระดับสูง

๒. การทำบุญถวายทาน เป็นหลักการดำเนินชีวิตของคนไทยอีกประการหนึ่ง เป็นการสละออกซึ่งความตระหนี่ และเป็นหลักจริยธรรมเบื้องต้นของการดำเนินชีวิต เช่น การตักบาตร เลี้ยงพระ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการทำบุญให้ทานนั้น เจตนาถือว่า เป็นสิ่งสำคัญ ผู้ให้จะต้องมีเจตนาทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนให้ทาน ขณะให้ทาน และหลังให้ทาน ดังพุทธพจน์ว่า
ทายากก่อนแต่จะให้ย่อมเป็นผู้มีใจดี กำลังให้ทานอยู่ก็ยังมีจิตใจผ่องใส ครั้นให้แล้ว ก็ย่อมปลาบปลื้มจิต นี้เป็นความสมบูรณ์ของทายก (องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๐๘/๓๐๖)

ส่วนวัตถุที่ควรให้ทานนั้น มี ๑๐ ประการ คือ ทานวัตถุเหล่านี้คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องตามประทีป (องฺ.สฺตฺตก. ๒๓/๔๙/๕๔)

ชาว ไทยนิยมทำบุญไม่ว่าจะปรารภเหตุใด ๆ ก็ให้เข้ากับหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ คือ (๑) ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ (๒) สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล และ (๓) ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตใจ โดยหลักการทั้ง ๓ ประการนี้ การทำบุญซึ่งเป็นหลักบำเพ็ญความดีและทำในกรณีต่างๆ กันตามเหตุผลที่ปรารภจึงเกิดพิธีกรรมขึ้นหลายประการ

กล่าว โดยสรุป คือ การพัฒนาชีวิตและการแก้ปัญหาชีวิตตามหลักของพุทธจริยธรรม เป็นหลักการปฏิบัติตนเพื่อการดำรงที่ดี และการอยู่ร่วมกันด้วยดีของสังคม พุทธจริยธรรมที่ควรนำมาใช้ ได้แก่การปฏิบัติตนตามพุทธโอวาท ๓ คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำแต่ความดี และการทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ซึ่งมีพื้นฐานมาจากพุทธจริยธรรม ๓ ระดับ คือ
          ๑. พุทธจริยธรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่เบญจศีล และเบญจธรรม
          ๒. พุทธจริยธรรมขั้นกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐
          ๓. พุทธจริยธรรมขั้นสูง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘

***

พุทธจริยธรรมกลุ่มสัจการแห่งตน

พุทธ จริยธรรมในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ช่วยให้มนุษย์ได้มองเห็นตนเองอย่างมีหลัก เกณฑ์ และทำให้มีความเคารพต่อตนเองและผู้อื่น สามารถปฏิบัติตนต่อเหตุการณ์ที่ได้พบและต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ตามความ เหมาะสม เช่น มีความซื่อสัตย์ ความเสียสละ เป็นต้น พุทธจริยธรรมในกลุ่มนี้ ได้แก่

๑. คารวธรรม หมายถึง ความเคารพ การถือเป็นสิ่งสำคัญใส่ใจและปฏิบัติตนด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยหนักแน่นจริงจัง การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญแล้วปฏิบัติตนต่อบุคคล หรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ ลักษณะของความเคารพมีดังนี้ ๑) ความสุภาพอ่อนโยน หมายถึงการแสดงออกซึ่งกิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไป ๒) ความอ่อนน้อม หมายถึงการไม่ทำตัวให้แข็งกระด้าง ไม่ประพฤติผิดในสิ่งที่หยาบคายต่อบุคคลอื่น ๆ ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ ๓) ความเชื่อฟัง หมายถึงการไม่ดื้อรั้น รับฟังด้วยเหตุผล ยอมรับปฏิบัติตามด้วยความจริงใจและเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง ๔) ความรู้จักสถานที่ หมายถึงรู้จักวางตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเวลา คือเลือกประพฤติตัวได้อย่างพอเหมาะพอควรทั้งต่อบุคคลและสถานที่ มี ๖ ประการ คือ (องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๐๓/๓๐๐)

    ๑.๑ พุทธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า หรือ บางแห่งเรียกว่า "สัตถุคารวตา" ข้อนี้นับเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะต้องแสดงออกด้วยความเคารพอย่างจริงจัง และด้วยศรัทธา เพราะถ้าขาดความศรัทธาแล้ว คุณธรรมข้ออื่น ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไปนานแล้ว แต่สัญลักษณ์หรือสิ่งที่ทำให้ระลึกถึงพระพุทธองค์ยังปรากฏอยู่ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ และพระพุทธรูป เป็นต้น

    ๑.๒ ธัมมคารวตา ความเคารพในพระธรรม อันหมายถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นส่วนพระธรรม และพระวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงและบัญญัติไว้แล้ว รวมทั้งการเคารพต่อคัมภีร์พระธรรมวินัย โดยไม่แสดงอาการดูหมิ่น

    ๑.๓ สังฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์ โดย แสดงความเคารพดังนี้ คือ ไม่แสดงกริยาวาจารที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ไม่ปลอมแปลงเป็นเพศพระสงฆ์ และหมั่นเข้าไปหาท่านเพื่อสนทนาธรรม และฟังธรรมะจากท่านบ่อยๆ

    ๑.๔ สิกขาคารวตา ความเคารพในสิกขา หมาย ถึง ความเคารพต่อการศึกษาเล่าเรียน ในที่นี้ หมายถึง ความเคารพในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้เกิดความตั้งมั่น และให้เกิดปัญญา คือความรู้ในกองสังขารทั้ง ๕ อันจะเป็นแนวทางให้บรรลุถึงพระนิพพานได้

    ๑.๕ อัปปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท หมายถึง เคารพในความเพียรพยายามเพื่อละอกุศลทุจริต และประพฤติปฏิบัติในกุศลสุจริต หรือเคารพในการพยายามเพื่อละความชั่ว และประกอบคุณงามความดีอยู่เสมอ หรือ หมายถึงการแสดงเคารพในการประกอบกิจการงานทุกอย่างทั้งโดยส่วนและส่วนตนด้วย สติสัมปชัญญะ

    ๑.๖ ปฏิสันถารคารวตา ความเคารพในการปฏิสันถาร หมายถึง ความเคารพในการต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยอัธยาศัยไม่ตรีที่ดีต่อกัน อันแสดงออกถึงความมีน้ำใจ ความโอบอ้อมอารีต่อกัน ซึ่งการปฏิสันถาร มี ๒ ประการคือ ๑) อามิสปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยอามิสสิ่งของ ๒) ธัมมปฏิสันถาร คือการต้อนรับด้วยการกล่าวธรรม หรือสนทนาปราศรัยด้วยธรรมะ

๒. ฆราวาสธรรม คือ ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน หรือคฤหัสถ์ เป็น ธรรมที่จะนำความสุข และเป็นสามัคคีธรรม ช่วยให้บุคคลในตระกูลมีความสมานสามัคคี ทำให้ชีวิตในการมีความสุข ความสงบ อันสมควรแก่ฆราวาสวิสัย มี ๔ ประการ คือ (สํ.ส. ๑๕/๘๔๕/๒๕๘)

    ๒.๑ สัจจะ ความซื่อสัตย์ต่อกัน ความจริงใจ ความซื่อตรง เป็นพุทธจริยธรรมที่สำคัญในการคบหากับทุกชนชั้นจนถึงผู้อยู่ครองเรือนเดียว กัน เช่น สามี ภรรยา บิดามารดากับบุตร เป็นต้น

    ๒.๒ ทมะ ความข่มใจ การฝึกฝน เป็นข้อปฏิบัติเพื่อไม่ให้ตนเองตกไปอยู่ในอำนาจกิเลส หรือถูกอารมณ์ต่าง ๆ ครอบงำจิตใจ ให้มีสติระวังทวารภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และทวารภายใน คือ ใจ เมื่อถูก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มาปรากฏในทวารภายนอกก็ดี อย่าให้อารมณ์เหล่านี้ครอบงำได้ ให้รู้จักควบคุมและแก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา

    ๒.๓ ขันติ ความอดทน ตั้งมั่นในการทำหน้าการงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นใจในจุดหมาย ไม่ท้อถอย อดกลั้นต่ออารมณ์อันเกิดจากอำนาจโทสะ

    ๒.๔ จาคะ การให้ปันสิ่งของของตน เสียสละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัวเอง พร้อมกันนั้น นอกจากนี้ จาคะ ยังหมายถึงการสละกิเลสอีกด้วย
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #48 เมื่อ: 14-08-2006, 13:23 »

โอโห...เอาอะไรมาแปะให้มันเปลืองเนื้อที่เวบบอร์ดทำไม

จะดีจะชั่วอย่างไรไม่รู้ ไม่สน สนแต่ว่าไม่เคยผิดศีล ข้อกาเมฯ แค่นี้ก็ OK แล้ว...5555
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #49 เมื่อ: 20-08-2006, 13:49 »

ภาพและข่าวคนไปหนุน คนไปต้านทักษิณที่สยามพารากอนเมื่อวานนี้
ยังทำให้คนรักทักษิณ สาวก หวอรูมคิดว่า
ทักษิณจะมีโอกาสเป็น"รัฐบุรุษ"ของประชาชนอีกหรือไม่ Question




บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1] 2
    กระโดดไป: