ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 11:36
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  บทต่อมา - การขายหุ้นชินคอร์ป - - อย่ากะพริบตา 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
บทต่อมา - การขายหุ้นชินคอร์ป - - อย่ากะพริบตา  (อ่าน 960 ครั้ง)
control_J
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 69


« เมื่อ: 10-08-2006, 12:29 »


แม้ว่าปรากฎการณ์ขายหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือชินคอร์ป จำนวน 1,487.7 ล้านหุ้น มูลค่า 73,300 ล้านบาท ของตระกูลชินวัตร ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งของสิงคโปร์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 จะทอดระยะเวลามาชั่วขณะหนึ่งแล้ว

แต่ดูเหมือนว่าทุกครั้งที่มีความเคลื่อนไหวใดที่เกี่ยวข้อง หรือกระทั่งดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับ “อภิมหาดีล” ดังกล่าว ก็จะต้องปรากฏเป็นข่าวครึกโครมทุกครั้ง อาจจะเป็นเพราะเป็นดีลที่สร้างความน่าสงสัยในใจคนบางกลุ่ม และไม่ว่าจะมีการชี้แจงหรือแถลงข่าวกี่ครั้ง ก็มิอาจล้มล้างความสงสัยนั้นได้

อย่างที่หลายคนเชื่อว่า การขายหุ้นมูลค่ามหาศาลขนาดนี้จะต้องเสียภาษีบ้างไม่มากก็น้อย แต่ปรากฏว่าไม่มีภาษีที่ต้องเสียแม้เพียงบาทเดียว นำไปสู่ความเชื่อว่าต้องมีเงื่อนงำบางอย่าง ทำให้ผลออกมาเช่นนี้

คนจึงตั้งคำถามกับการขายหุ้นชินคอร์ปของบริษัท แอมเพิลริช อินเวสต์เมนท์ จำกัด (ของครอบครัวชินวัตร) โดยได้ขายหุ้นชินคอร์ป จำนวน 329.2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท ให้แก่นายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรธิดาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2549-ตามที่แจ้งต่อสำนักงานก.ล.ต.) ขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่หุ้นละ 49 บาท

มีการคำนวณกันว่า การขายหุ้นดังกล่าวส่งผลให้บุคคลทั้งสองได้รับประโยชน์จากส่วนต่างราคาหุ้น เป็นเงินถึง 15,501 ล้านบาท แต่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแม้แต่บาทเดียว (ซึ่งถ้าต้องเสียภาษี ต้องจ่ายสูงถึง 5,864 ล้านบาท)

แม้กรมสรรพากรจะเปิดแถลงข่าว เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 หยิบยกเหตุผลที่บุคคลทั้งสองไม่ต้องเสียภาษีว่า การซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาตลาดเป็นการซื้อทรัพย์สินในราคาถูก ซึ่งเป็นเรื่องของการตกลงราคากันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายอันเป็นเรื่องปกติทางการค้า จึงไม่เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

การชี้แจงจบลง แต่เรื่องกลับไม่จบ เพราะทันทีที่คณะรัฐมนตรีรักษาการของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สั่งให้แต่ละกระทรวงจัดทำโผการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำกระทรวงเสนอต่อที่ประชุมครม.ไม่เกินวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อที่จะส่งรายชื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรอง

พลันก็มีชื่อของ “เบญจา หลุยเจริญ” ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการคลัง ผุดขึ้นมาเป็นตัวเก็งที่จะก้าวขึ้นเป็นอธิบดีหญิงคนแรกของกรมสรรพากร แทนนายศิโรฒน์ สวัสดิ์พาณิชย์ ที่อาจจะถูกโยกไปเป็นรองปลัดกระทรวง

โดยระบุว่าผลงานที่โดดเด่นของนางเบญจา คือ การตอบข้อหารือเกี่ยวกับภาษีให้แก่การขายหุ้นชินคอร์ปฯของแอมเพิลริชครั้งนั้นนั่นเอง

การกล่าวอ้างดังกล่าว เหมือนจะทำให้การแต่งตั้งครั้งนี้เหมือนเป็นการสมนาคุณโดยส่วนตัว

นอกจากนี้ ในสัปดาห์เดียวกัน ยังมีข่าวว่า สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้ออกคำสั่ง เรียก 5 ข้าราชการระดับสูงของสรรพากรมาสอบ กรณีการยกเว้นภาษีให้แก่ลูกนายกฯ

โดยข้าราชการที่ สตง.ได้ออกหนังสือเชิญมา ประกอบด้วย นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร รองอธิบดีกรมสรรพากร น.ส.โมฬีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย นายกริช วิปุลานุสาสน์ นิติกร 9 และรายสุดท้าย คือ นางเบญจา หลุยเจริญ

ทั้งนี้หนังสือระบุว่า ต้องการให้มาให้ข้อมูลกรณีนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร ซื้อหุ้นชินคอร์ปฯ นอกตลาดหลักทรัพย์จากบริษัท แอมเพิล ริช

ด้านกรมสรรพากรได้ทำหนังสือที่ กค 0706/6159 แจ้งว่าพร้อมจะให้ความร่วมมือ แต่ขอให้สตง.ระบุขอบเขต สาระสำคัญ และประเด็นของข้อมูลที่ต้องการทราบรายละเอียด เพื่อจะได้ขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากกรมสรรพากร ประกอบการพิจารณาตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542

เท่ากับเป็นการปฏิเสธที่จะมาชี้แจงด้วยตัวเอง แต่ยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการตอบข้อซักถามผ่านลายลักษณ์อักษร

แต่ดูท่าสตง.จะไม่ลดละ มีข่าวว่า สตง.อยู่ระหว่างการยกร่างหนังสือถึงผู้บริหารของกรมสรรพากรทั้ง 5 คนเป็นรายบุคคล เพื่อให้ตอบหนังสือกลับมาเป็นรายบุคคล ไม่ใช่ตอบเหมารวมในนามกรมสรรพากร โดยหนังสือดังกล่าวจะมีการตั้งคำถามแต่ละบุคคลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นดังกล่าวของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณอย่างไรบ้าง และเคยเข้าไปตรวจสอบตั้งแต่เกิดปัญหาขึ้นหรือไม่อย่างไร

รวมทั้ง การตั้งประเด็นคำถามเป็นรายบุคคลในแต่ละส่วนเพื่อให้ผู้บริหารกรมสรรพากรทั้ง 5 คนตอบกลับมาเป็นข้อ ๆ และชี้แจงให้ชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องของการตรวจสอบการซื้อขายหุ้นดังกล่าว

คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ปฏิบัติการของสตง.ในครั้งนี้ จะได้ข้อสรุปอย่างไร และทั้ง 5 ผู้บริหารของกรมสรรพากรจะชี้แจงกรณีดังกล่าวอย่างไร

แต่สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ไม่ทันที่ข่าวสตง.จะจางหายไป ไม่กี่วันถัดมาก็มีการตีพิมพ์หนังสือของ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ ซึ่งเป็นตัวแทน บริษัท แอมเพิลริชฯ ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ที่มีถึงกรมสรรพากรหารือเรื่องการเสียภาษีในการซื้อขายหุ้นดังกล่าว โดยระบุว่า บริษัทแอมเพิลริชฯ ได้ตกลงขายหุ้นชินคอร์ปที่บริษัทถือไว้ทั้งหมดให้แก่นายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา หนังสือของน.ส.ปราณี ถูกตีพิมพ์ประกบกับ หนังสือที่ กค 0706/7896 ซึ่งตอบข้อหารือดังกล่าว ลงวันที่ 21 กันยายน 2548 ลงนามโดย "นางเบญจา หลุยเจริญ" ซึ่งเวลานั้นเป็นที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี

เป็นหนังสือของน.ส.ปราณี ที่นักข่าว "มติชน" เคยใช้สิทธิตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ขอสำเนาหนังสือดังกล่าว แต่ทางกรมสรรพากรเก็บเรื่องไว้เกือบ 2 เดือน ก่อนจะตอบปฏิเสธ โดยอ้างว่า หนังสือดังกล่าวเป็นการหารือเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจะเปิดเผยต่อผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้า หรือในขณะนั้นมิได้ ตามมาตรา 24 แพ่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ และการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะทำให้รู้เรื่องกิจการของผู้เสียภาษี ต้องห้ามมิให้เจ้าพนักงานนำออกแจ้งแก่ผู้ใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 10 แห่งประมวลรัษฎากร

หากความตามข้างต้นเป็นเรื่องจริง ไฉนหนังสือฉบับดังกล่าวจึงเล็ดลอดปรากฎต่อสาธารณชนได้??

ดูเหมือนว่าข่าวสารที่ปรากฏและเกี่ยวข้องกับการขายหุ้นชินในรอบนี้ ช่างขับเน้นให้ตัวละครที่ชื่อ “เบญจา หลุยเจริญ” ดูโดดเด่นขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้แทบไม่มีการอ้างถึง

หรือนี่คือ ผลสะท้อนจากการถูกโยนเข้าไปเป็นแคนดิเดตในเก้าอี้อธิบดีกรมสรรพากร!!

หากเป็นเช่นนั้น ก็เท่ากับว่าประเด็นการขายหุ้นชินคอร์ป มิได้จำกัดอยู่เพียงการเป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่ถูกกลับนำมาใช้เป็นเครื่องมือในแวดวงราชการด้วย

เรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุป มีเพียงข้อชี้แนะว่า สังคมต้องมีติดตามประเด็นการขายหุ้นชินคอร์ปฯ อย่างไม่หยุดยั้ง

ขณะเดียวกัน ก็ต้องพินิจพิจารณาประเด็นอย่างรอบคอบ และกลั่นกรองความคิดให้ดี

กันความผิดพลาดและหลงประเด็นที่อาจจะเกิดขึ้นได้!!

จาก - มติชนรายวัน l จันทร์ 7 สิงหาคม 2549
บันทึกการเข้า

ไม่ชนะ ไม่เลิก
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10-08-2006, 12:40 »

การจะลงโทษใครสักคน ก็ต้องมีทั้งคนได้ผลประโยชน์และคนเสียผลประโยชน์
ประเด็นคือต้องตัดสินโดยสุจริตเที่ยงธรรม ไม่นำเอาประเด็นการได้หรือผลประโยชน์ของบุคคลภายนอกมาเกี่ยวข้อง
ผู้ที่ทำหน้าที่โดยสุจริต ย่อมไม่มีวันเป็นเครื่องมือของใคร ถ้าจะเป็นก็เป็นเพียงแต่การจินตนาการเอาเองของผู้ที่ได้หรือเสียประโยชน์เท่านั้น
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #2 เมื่อ: 10-08-2006, 13:01 »

เอาซะทีเหอะ...เห็นพ่นพล่ามมานานแล้ว น่าเบื่อจริงๆ
บันทึกการเข้า
hison
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 217


« ตอบ #3 เมื่อ: 20-09-2006, 19:31 »

เอาซะทีเหอะ.
บันทึกการเข้า
พรรณชมพู
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,073


« ตอบ #4 เมื่อ: 20-09-2006, 19:40 »

พรุ่งนี้ ราชการทำงานตามปกติ ขบวนการตรวจสอบ โดยปราศจากอิทธิพลมืดจะเริ่ม  ข้าราชการในบัญชีดำ ต้องเร่งทำผลงานค่ะ  ไม่ต้องห่วง
บันทึกการเข้า
No_Tuky
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 296


« ตอบ #5 เมื่อ: 20-09-2006, 20:02 »

เย่ ยึดทรัพย์ ๆ ยึด ๆ ๆ 

รอดูตอนจบจริง ๆ 
บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #6 เมื่อ: 20-09-2006, 20:04 »

  ถ้าจะเล่นเรื่อง ชินคอร์ป กลต. ต้องหัน180องศาเลย ถึงทำได้

จากที่บอกไม่ใช่หน้าที่ ก็ต้องกลายเป็นหน้าที่ ไม่ง่ายเน้อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: