ทักษิณ บอกว่า เสียดายปริญญาคนกรุงเทพ ..........................
แต่เรา คิดว่า ยังดีกว่า ตระกูลชินวัตร ที่ลูกๆ ทั้ง โอ๊ค ,อุ๊งอิ๊ง และ ...
สอบยัง แอบเอาโพยเข้าห้องสอบ ถูกจับได้ และ สอบเข้า มหาลัย ไม่ได้ ถึงสอบได้ ก็เรียนไม่ได้
ทั้งตระกูลเลย ...............................................................
เลยต้องซื้อปริญญา ........................................................
ก็เพราะได้ปริญญา มาแบบนี้ มันคงนึกว่า คนกรุงเทพ จะเหมือนตระกูลมันมั้ง .........................
ขอที่มาของข่าวหน่อยได้มั้ยครับ จะได้วิเคราะห์ได้ถูก
ไปPost ถามในหว้ากอดูสิ เกียรติ์นิยม ม. เกษตร นักศึกษาภาคสมทบม.เกษตร จบสายศิลป์ แต่ไปสมัครคณะสายวิทย์ แล้วย้ายไปภาคปกติที่ต้องผ่านเอนทรานซ์ได้ยังไง แล้วมีอีกคน จดโพยเข้าสอบที่ม.ราม จับได้ลงข่าวหรือไม่จริง
พิณทองทา ชินวัตร ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สิ่งที่น่าคลางแคลงใจเกี่ยวกับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของ น.ส. พิณทองทา ชินวัตร ดูเหมือนจะถูกละเลยไม่กล่าวถึง คล้ายกับเป็นสิ่งต้องห้าม ที่ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างยินยอมพร้อมใจไร้ท่าทีหรือแม่แต่การแสดงความ คิดเห็นใดๆต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
ในการสอบ EntRance 1999 (พ.ศ. 2542) มีเด็กสาวคนหนึ่งซึ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสตรีเอกชนชื่อดัง ซึ่งมีสถานีรถไฟฟ้าชิดลมตั้งอยู่ด้านหน้า ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (ภาคพิเศษ) คณะอุตสาหกรรมเกษตร รหัสนิสิต 42150888* ประเด็นที่น่าขบคิด คือ
1. นิสิตใหม่ผู้นี้ จบการศึกษาจากการสอบเทียบ(หรือการศึกษานอกโรงเรียน: ซึ่งเปิดให้นักเรียนในระบบสามารถสอบเทียบได้เป็นปีสุดท้าย โดยหลังจากปี 2542 แล้วได้ตัดสิทธินักเรียนที่เรียนในระบบ มิให้ใช้สิทธิสอบเทียบอีก) ขณะที่การศึกษาในโรงเรียนเธอนั้น เธอร่ำเรียนมาในสาย ศิลป์-คำนวณ หลักเกณฑ์ของคณะในการรับนิสิตนั้น ทางคณะฯรับนิสิตโดยตรง ซึ่งทำการสอบข้อเขียนที่จัดขึ้นเป็นการเฉพาะและกำหนดคุณสมบัติของนิสิตว่า ต้องเป็นนักเรียนสาขาวิทย์-คณิต
เหตุใดเธอจึงเข้าเรียนในสาขาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (ภาคพิเศษ) คณะอุตสาหกรรมเกษตร?
ข้อโต้แย้ง เป็นไปได้ว่า เธอผู้นี้สอบเทียบในสาขาวิทยาศาสตร์มาก็อาจเป็นได้
2. เธอเข้ามาศึกษาในคณะฯเป็นเวลา 1 ปีเศษ โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 เป็น 1.50 และ 1.58 ตามลำดับ (ต้องการข้อมูลยืนยัน โปรดติดต่อสำนักทะเบียนและประมวลผล มก. : รับประกันได้ว่าเขาไม่มีทางให้คุณดูแน่นอน!) แต่สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุด คือ ชื่อของเธอผู้นี้ปรากฏอยู่ในรายชื่อของนิสิตใหม่ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสสศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ ในปีการศึกษา 2543 ภาคเรียนที่ 1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรหัสนิสิตใหม่อย่างเสร็จสรรพ คือ 4208281*
เงื่อนไขในการเข้าศึกษาคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ฯ สาขาบริหารรัฐกิจ ตามที่ระบุในหนังสือคู่มือการเลือกคณะ แสดงคะแนนรวมต่ำสุดไว้ที่ 57.60% โดยมีรายวิชาที่ต้องสอบ คือ 01 02 03 08 และ 09 (นิสิตปัจจุบันอาจจะไม่เข้าใจ กล่าวคือ เป็นรหัสวิชา ภาษาไทย สังคมศึกษา อังกฤษ วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ และคณิตศาสตร์ตามลำดับ) ถือว่าเป็นคณะและภาควิชาที่มีการแข่งขันสูงคณะหนึ่งและคะแนนก็อยู่ในระดับ ที่สูงกว่ามาตรฐานมาโดยตลอด คำถามก็คือ
2.1 เธอผู้นี้มีคุณสมบัติใด จึงสามารถย้ายคณะได้ ทั้งๆที่เธอเข้ามาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยการสอบตรงของคณะอก. และเป็นภาคพิเศษ ในปี 2542
(แน่นอนว่าเธอไม่มีคะแนนสอบEnt ในปี 2000 ด้วย)
2.2 การย้ายคณะของเธอกระทำได้อย่างไร ถูกตามหลักเกณฑ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยการย้ายคณะหรือไม่? และเหตุใดจึงต้องเปลี่ยนรหัสนิสิตใหม่? (การย้ายคณะไม่ใช่เรื่องแปลก ที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือ กรณีการย้ายคณะของนิสิตสายวิทย์ เช่น วิทยา มา วิศวะ หรือนิสิตคณะเกษตรฯ ย้ายเข้าคณะอก. : แต่การย้ายทุกครั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสนิสิตของนิสิตผู้ย้ายคณะแต่ อย่างใด เพราะจะมีปัญหาตามมาภายหลังจากทะเบียนนิสิตซ้ำซ้อน การคิดเกรด การตรวจสอบการจ่ายค่าการศึกษา การทำเรื่องขอจบ และการอนุมัติการจบการศึกษา)
เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลาท่านผู้อ่านผู้เจริญด้วยปัญญา ขออนุญาตนำไปพบกับหลักเกณฑ์การย้ายคณะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบุไว้ คือ ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พุทธศักราช 2521 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง) ข้อ 15.1.2 ระบุว่า นิสิตที่เข้าเรียนในคณะเดิม แต่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในปีการศึกษาแรกต่ำกว่า 2.00
“ไม่มีสิทธิย้ายคณะ” แต่ผลการเรียนเฉลี่ยของเด็กสาวคนนั้นเพียง 1.50 และ 1.80 เธอย้ายคณะได้อย่างไร?
กลับมาพิจารณาตามเส้นทางการศึกษาอันน่าพิศวงของเธอกันต่อ ในความแตกต่างระหว่างภาคพิเศษและภาคปกติ ที่ชัดเจน คือ การคัดเลือกนิสิต จากการสอบโดยตรงและมีข้อสอบเฉพาะ ความยากง่ายอาจจะไม่ห่างกันเท่าใดนัก แต่เน้นความรู้ ความเข้าใจในสขาเฉพาะที่คณะหรือภาควิชานั้นต้องการมากกว่า และภาคพิเศษเป็นโครงการที่เลี้ยงตนเอง ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยจำนวนมากเช่นภาคปกติ แน่นอนว่าค่าเล่าเรียนของนิสิตในภาคพิเศษย่อมมีราคาสูง
คำถามที่ชวนขบคิด คือ เกษตรฯมีโครงการภาคพิเศษ(เฉพาะปริญญาตรี) หลายคณะ เช่น วิศวะ อก. บริหาร เศรษฐ์ วิทย์ เป็นต้น ถ้ามหาวิทยาลัยอนุญาตให้นิสิตปีหนึ่งเมื่อจบการศึกษาผ่านไป 1 ปี สามารถย้ายคณะจากภาคพิเศษ ไปภาคปกติในอีกคณะหรือแม้แต่ภายในคณะเดียวกันได้ อยากถามว่า ในอนาคต หากมีนักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนในสาขาวิชาหนึ่ง แต่ไม่อยากสอบ ent จึงสมัครเข้าเรียนในโครงการภาคพิเศษคณะใดคณะหนึ่งก่อนจะทำเรื่องขอย้ายเข้า เรียนในคณะที่ตนหมายตาไว้ตั้งแต่ต้น แม้อาจจะเสียเวลาไป 1 ปี (คล้ายกับเส้นทางเดินของการยักย้ายถ่ายเทหุ้นเลยเนอะ) ซึ่งหมายความว่าเด็กนักเรียนหรือนิสิตใหม่นั้น สามารถทำได้ เพราะมีกรณีนิสิตสาวผู้นี้เป็นบรรทัดฐานใช่หรือไม่?
สิ่งที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดีของคณะที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ในช่วงขณะที่นิสิตผู้นั้นเข้าศึกษา ต้องตอบกับสังคม คือ ปล่อยให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในรั้วสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างไร? มาตรฐานของมหาวิทยาลัยอยู่ที่ไหน? การกระทำเช่นนี้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ต่างอะไรกับการสนับสนุนและส่ง เสริมในการกระทำทุจริตทางการศึกษา
เป็นไปได้หรือ? ที่ผู้ปกครองของเด็กสาวจะไม่รู้เรื่องการเรียน การศึกษาของลูก
เป็นไปได้หรือ? ปฏิเสธ ความไม่รู้ย่อมไม่ได้ เพราะนิสิตสาวผู้นี้ขณะที่กระทำอำพรางทางการศึกษาเช่นนี้เธอยังไม่บรรลุ นิติภาวะและเธอก็อาศัยอยู่กับครอบครัวโดยตลอด
เป็นไปได้หรือ? ที่คณะที่เกี่ยวข้องจะอนุโลมให้เด็กสาวผู้นี้เป็นกรณีพิเศษ
เป็นไปได้หรือ? ที่เธอย้ายคณะได้โดยสะดวก เพราะผู้ปกครองเป็นหนึ่งในกรรมการสภามหาวิทยาลัย พร้อมทั้งออกทุนทรัพย์ส่วนตนปรับปรุงห้องสมุดให้แก่คณะที่เธอต้องการเข้า ศึกษา
และทั้งหมดนี้ คือ คำตอบว่าเหตุใดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงไม่แม้แต่จะแสดงท่าที กำหนดจุดยืนใดๆ ต่อภาวะการณ์ทางการเมือง ณ เวลานี้ ใช่หรือไม่?
อ้อ....ขอแถมให้อีกนิด นิสิตสาวผู้นี้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2546 รับพระราชทานฯในเดือนกรกฎาคม 2547 ด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยมอันดับ 2 (3.25 ขึ้นไป) และมีความพยายามที่จะหาทางมอบเกียรตินิยมให้เธอให้ได้ แต่มิเป็นผลสำเร็จเนื่องจากเผชิญแรงต้านจากกรรมการตรวจสอบที่ยังคงไว้ซึ่ง ความน่าเชื่อถือ ทำให้ เพราะหากจะพิจารณาอย่างจริงจังแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า น่ากลัวจะมีรายการ เพิกถอนปริญญา พร้อมทั้งสอบสวนผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้สะเทือนลั่นทุ่งบางเขน!!!!!!
แม้กระทั่งการศึกษายังไม่โปร่งใส แล้วเราจะไว้ใจให้บริหารประเทศต่อไปอีกหรือ?
http://kucity.kasetsart.org/kucity/WebFormDetailBoard.aspx?BRD_ID=16084&PAGE=1