โกรธ จนเบี่ยงประเด็นไปเลย killer
ขยายความต่อดีกว่า...
3. ทะลุกรอบความคิดประชาธิปไตยเลือกตั้ง (representational democracy) ไปสู่ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ (constitutional democracy)
คำพูดของทักษิณว่า 1 คน มี 1 เสียงเท่ากัน สะท้อนความคิดว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง เป็นกระบวนการแสดงอำนาจของประชาชน ซึ่งเมื่อพ้นการเลือกตั้งกลุ่มทุนการเมืองก็เป็นผู้เอาอำนาจนี้ไปใช้ แต่แนวคิดประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ เน้นการเคารพสิทธิเสรีภาพด้านต่างๆ ของประชาชน ซึ่งต้องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การกำกับอำนาจกลุ่มทุนเลือกตั้งด้วยรัฐธรรมนูญจึงเป็นแนวโน้มใหญ่ของโลกปัจจุบัน การพัฒนาการเมืองของโลกในศตวรรษ 21 ก็คือกระบวนการพัฒนารัฐธรรมนูญให้ถ่วงดุลทุนและฝ่ายบริหารได้ดีขึ้น
ลักษณะของทักษิณ ที่ อ้างเรื่องการให้ประชาชนมอบเสียงให้คนที่เขาไว้ใจนั้น
และการออกมา อวดอ้างคะแนนเสียงบ่อยครั้ง
แฝงเจตนาของการบีบให้คนคิดอยู่ในกรอบ ที่ต้องเชื่อถือพึ่งพา ผู้นำ โดยฝากอำนาจแห่งปวงชน
หรือสิทธิขาดนั้นไว้แก่คนใดคนหนึ่ง
ซึ่งเป็นการแสดงถึงเจตจำนงในการรวบอำนาจนั่นเอง
หลักคิดในการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ สะท้อน ออกมาในการแก้ไขปัญหา และนโยบาย ของทักษิณเองในหลายๆส่วน
เช่น
การ ฆ่าตัดตอนยาบ้า ที่รวบอำนาจการตัดสินของตุลาการมาใช้ จนบัดนี้ก็ไม่สามารถชี้แจงได้
การกำเนิดผู้ว่าซีอีโอ เพื่อรวบอำนาจของแต่ละจังหวัด ให้ขึ้นตรงกับ รัฐบาล
โดยมีการแบ่งให้ รองนายกฯดูแลเป็นส่วนๆ ใกล้ชิด การให้คุณให้โทษ แก่ ผู้ว่าซีอีโอ จึงมาจาก
ฝ่ายรัฐบาลโดยตรง
แต่เมื่อเกิดปัญหา มีจังหวัดที่ไม่ได้เลือกทักษิณ เกิดขึ้นในการเลือกตั้งซ่อม
นั่นหมายถึง คะแนนนิยมในตัวทักษิณและ ทรท เกิดตกต่ำลง
มุขเด็ด ที่เขานำมาใช้คือการ สัญญาว่าจะช่วยจังหวัดที่เลือกตนก่อน
จังหวัดอื่นๆ ที่ไม่ได้เลือกก็ให้รอไป
ความหมายของเขาที่ส่งผ่านออกมา เป็นเจตนาในการข่มขู่ประชาชน
ให้มอบเสียงแก่เขา มิฉะนั้นเขาจะไม่ทำงานให้
ซึ่งผิดเจตนารมณ์ของการเลือกตั้งในระบอบประชาธปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และ แสดงเจตนาลึกซึ้งของความกระหายในอำนาจเบ็ดเสร็จ
การอ้างว่า ตนเองกำลังรักษาประชาธิปไตย ของทักษิณ จึงมองได้ว่า
เป็นเพียงคำพูดที่แฝงความหมายที่แท้จริงว่า
"กรูจะรักษาอำนาจของกรู อย่าเข้ามานะ กรูจับประเทศไทยเป็นตัวประกันนะว้อย"