ความคิดเห็นที่ 28
ยกตัวอย่างตัวเลขนิดหน่อยแล้วกันครับ
ปกติค่าผ่านทาง จะคิดตามน้ำหนักระวางบรรทุก เฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 1.2 USD ต่อตัน
ซึ่งเรือน้ำมันขนาด 250,000 ตัน จะเสียค่าผ่านทาง ตีซะว่า 200,000 USD ต่อเที่ยว
แต่คลองกระจะย่นระยะทางได้ ประมาณ 1 วัน (จริงๆถ้าวัดตามระยะทางจะย่นได้มากกว่านั้น
แต่เมื่อหักลบกับระยะเวลารอคอยคิวเพื่อผ่านคลอง / ความเร็วในการวิ่งในคลอง ฯลฯ
แล้วประหยัดเวลาได้แค่ 1 วันเท่านั้น) ซึ่งค่าใช้จ่ายของเรือน้ำมันขนาด 250,000 ตัน
จะอยู่ที่ 70,000 USD ต่อวัน แปลว่า การวิ่งผ่านคลอง จะเสียค่าโสหุ้ยมากกว่าการวิ่งอ้อมแหลมมะละกาเสียอีก
จากคุณ : ช่างไฟ - [ 25 มี.ค. 48 21:26:48 ]
ความคิดเห็นที่ 3
กรุณาดูแผนที่โลกบ้าง
หากไม่รู้เรื่องการเดินเรือ กรุณาไปเรียน (อย่าเรียนจากผู้ที่เรียนในเมืองไทย) และถามผู้ที่มีประสบการณ์เดินเรือผ่านคลองใหญ่ๆเช่นปานามา สุเอซ และคีล ว่าเสียเวลาเพียงใดที่ต้นคลองและปลายคลอง ยังไม่รวมถึงทะเลสาปหรือคลองตอนใน ที่ต้องใช้ความเร็วต่ำมากๆ
อย่าโพสต์แบบให้ความเห็นคาดเดาในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้
และก็ Land Bridge รัฐบาล ระงับหรือชลอโครงการไปแล้ว สงสัยสอบถามได้ที่รัฐบาล
จากคุณ : .. - [ 5 ต.ค. 48 20:51:33 A:58.147.82.107 X: TicketID:009839 ]
ความคิดเห็นที่ 13
คลอง กระ (KRA CANAL)”
ความเป็นมา :
คงเป็นที่ทราบดี :- ในด้านประวัติศาตร์ โดย ไม่จำเป็นต้อง เจาะลึกลงไปให้มากกว่านี้ ด้วยเหตุผลเพียง สองประการ คือ :- ประการแรก ในด้านการ ศึกสงคราม ในประวัติศาสตร์ที่ใช้เรือ คนละแบบ และสมรรถธนะของเรือไม่เหมือนในปัจจุบัน กับ ประการที่สอง ในเรื่องของการพาณิชน์ซึ่งถ้ามีผลประโยชน์ในทางพาณิชยและการเดินเรือแล้วคงไม่มีนักลงทุนชาติใดในโลกที่จะปล่อยให้ ปัญหาของ คลองกระเหลือมาถึงวันนี้
ดังนั้น เรื่องของ “ คลองกระ” ที่จะกล่าวในบทความนี้ คงกระชับขึ้นนั้น จะเริ่มได้ ในตอนปลายปี 2540 ที่มีการนำเอาเรื่อง อภิมหา โครงการยักษ์ เข้ามาพูดกันหลังจากที่ ประเทศไทยประสพปัญหาเศรษฐกิจ และมีหลายฝ่ายพยายามสร้างภาพของตนเองในการเข้ามาช่วยประเทศให้หลุดพ้นจากเคราะห์กรรมในเวลานั้น และโครงการยักษ์นี้ ก็ถูกนำเข้ามาโดยนักฝันชาวไทยที่ร่วมมือกับนักฝันสหรัฐฯ เขาคือ นาย ………. (รายการ ฟังความรอบข้าง ใน itvs ปี 1999) และ Mr. Lyndon RaRoche ร่วมด้วยสาวกของท่าน ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ท่านหนึ่งที่มาแสดงตน เพื่อสร้างปณิทาน คลองกระ(ในรายการทางทีวี ช่อง 11 ในปี 2543 ) และ ในที่สุดก็ สามารถนำเข้าสู่ นโยบายของพรรคการเมืองบางพรรคที่ขาดการรอบคอบในการวิเคราะห์ และสามารถ นำไปสู่ การตั้งกรรมาธิการในวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่รัฐบาล สมัยนั้น และ ต่อๆมา แม้แต่ในรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งมีการขอให้ใช้เงิน 100 ล้านบาท จากกระเปำของรัฐบาลเองมาใช้ในการทำ “ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ “
โดยที่โดยแท้จริงแล้ว การประชาสัมพันธ์ ของโครงการนี้ในตอนปลายปี 1997 ต้นปี 1998 นั้น อ้างว่าใช้เงินอุอหนุนจากต่างประเทศทั้งสิ้น แต่จากการข่าวที่ได้รับทราบต่อมา ปรากฏว่า ในการกระทำสัมนาและเผยแพร่การสนับสนุนให้ขุดคลองกระในอดีตนั้นไม่มีต่างชาติใดๆที่สนใจเป็นตัวตนในการให้ทุน นอกจากพวกที่เข้ามาเพื่อแสวงหาโชคและประโยชน์จากการขายเครื่องมือใช้แล้ว ที่บริษัทต่างชาติเคยทำงานมาในโครงการอื่น ดังนั้นกลุ่มคณะทำงานที่มีนาย …….และสหายทั้งหลาย ได้ร่วมทุนกันลงไป จึงต้องพยายามหาเงินคืน ด้วยการขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาลทักษิณฯในครั้งนี้ และจากการติดตามอย่างใกล้ชิด พบว่า นายก ทักษิณฯ จะจ่ายเฉพาะค่าเบี้ยเลี้ยงและพาหนะ เท่านั้น
ข้อพิจารณา และการเปรียบเทียบ :
1. : ในด้าน การใช้ การขุดคลองบังหน้าแต่เพื่อสร้างประเทศใหม่ หรือ ดินแดนในอารักขาใหม่ ซึ่งหากพิจารณา จาก การเปิดประเทศของจีน และการปกครองแบบสองลัทธิหนึ่งประเทศของจีน และ การกลับตัวของลัทธิคอมมูนิสต์ มาสู่ระบบประชาธิปไตย และ ความหลงเหลือของ ทรัพย์สิน ที่เป็น ที่อยู่อาศัยภายในประเทศไทย จะเห็นว่าไม่มีแนวโน้มอื่นใดที่จะทำให้ แผ่นดินที่คิดจะสร้างคลอง ที่มีขนาด 2,000 ตารางกิโลเตร หรือ สามเท่าประเทศสิงค์โปร์ หรือเท่ากับประเทศ ลักเซมเบิร์ก เจริญขึ้นมาทันทีทันใด แม้ว่า แผ่นดินไทยในแถบนี้ของโลกจะถือว่าเป็นแผ่นดินทองที่ คนในโลกต้องการมาอาศัยอยู่ก็ตาม แต่การให้เช่าระยะยาวที่กฏหมายของชาติได้เปิดโอกาสให้ชนต่างชาติมาอาศัยแผ่นดินไทยในการทำมาหากิน ( คราวละ 30 ปี) ก็มีอยู่แล้ว(เราคงไม่เห็นด้วยกับการให้เช่ายาวถึง 99 ปี เพราะไทยไม่เข้มแข็งเหมือนอเมริกา หรือมีที่ดินมากมายแบบจีน พูดง่ายๆ ถ้าชาติที่มีอำนาจมาเช่า และเขาเอาอำนาจปืนมารักษาผลประโยชน์ของเขา ไทยจะไปเอาน้ำหน้าที่ไหนไปสู้กับเขา) มองไม่เห็นประโยชน์ว่าจะทำไปเพื่ออะไร? เว้นแต่จะเพื่อเจตนาอื่นที่ไม่สุจริต?
2. : เมื่อขุดคลองแล้ว ไม่มีเรือมาใช้ เรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงกันมาก และ การให้ข้อมูลแบบไม่ถูกต้องของฝ่ายที่อยากจะขุด จนทำให้เกิดแนวคิดที่ไขว้เขว แต่บทความนี้จะพยายามให้คำตอบแบบถาม-ตอบ ง่ายๆ ที่มีคนถามมาบ่อยๆ ((FAQ)ไปทีละข้อและสรุปตอนท้ายด้วยการหยิบยกเอาปัญหาใหญ่คือเรื่องการย่นระยะทาง การคำนวณเวลาที่เสียไป และ การคำนวณตัวเลขสำคัญเช่นค่าเช่าเรือ และ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเปรียบเทียบกับ ค่าธรรมเนียมในการผ่านคลอง ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาและใช้ในการตัดสินใจได้อย่างชัดเจน
2.1: คำ ถาม-ตอบ บ่อยๆ [ FAQ ]
2.1.1 : ถาม เรือที่ผ่านช่องมะละกาและสิงค์โปร์ ต้องเสีย ค่าธรรมเนียมในการผ่าน
ช่อง หรือไม่?
ตอบ ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ เว้นแต่จะจอดเรือเพื่อ ธุระกิจของเรือเอง
ซึ้งมีอัตรา ค่าจอดเป็นรายชั่วโมง และคุ้มค่า
2.1.2 : ถาม ช่องแคบทั้งสองสามารถให้เรือขนาดกินน้ำลึกกี่เมตร และ ขนาดกี่ตันผ่านได้?
ตอบ เรือกินน้ำลึก 22 เมตร ขนาดบันทุกเต็มที่ เช่นเรือบรรทุกน้ำมัน VLCC(250,000 ตัน)
2.1.3 : ถาม ความถี่ห่างของเรือที่ผ่านช่องแคบทั้งสอง แออัดอย่างไร?
ตอบ เดือนละ 13,000-14,000 ลำ หรือประมาณ ชั่วโมงละ 19 ลำ หรือ
สามนาที จะผ่าน หนึ่ง ลำ
2.1.4 : ถาม เรือ ขนาด เป็นแสนตัน กินน้ำมันวันละกี่ตัน ต้องแวะเติมน้ำมันที่สิงค์โปร์หรือไม่?
ตอบ แต่ก่อนเรือขนาดแสนตันจะใช้เครื่องจักรที่ผลักดันเรือให้แล่นไปด้วยเครื่องแบบไอน้ำเทอร์บินกิน้ำมันวันละ สองร้อยกว่าตัน แต่ในปัจจุบัน เรือขนาดแสนๆตันใช้เครื่องยนต์แบบดีเซ็ล กินน้ำมันวันละไม่ถึง ร้อย ตัน จึงไม่มีเรือต้องมาจอดเติมน้ำมันที่สิงค์โปร์เว้นแต่เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
2.1.5: ถาม เรือ ขนาด 20,000 ตัน และขนาด หกหมื่นตัน ค่าเช่าวันละ กี่เหรียญสหรัฐฯ?
ตอบ เรือขนาด 200,000 ตัน ค่าเข่าประมาณวันละ US$
20,000.- เรือขนาด 60,000 ตัน ค่าเช่าวันละประมาณ US$ 10,000.-
2.1.6: ถาม เรือขนาด 60,000 ตัน ผ่านคลอง ปานามาและ
คลองสุเอซ จะเสียค่าธรรมเนียมเท่าใด
ตอบ เรือ ขนาด 60,000 ตัน ผ่านคลองปานามา เสียค่าธรรมเนียมประมาณ US$ 69,600 ผ่านคลองสุเอซ เสียค่าธรรมเนียม US$ 109,000
2.1.7 : ถาม เรือขนาด 250,000 ผ่านคลองสุเอซจะเสียค่าธรรมเนียมประมาณเท่าใด?
ตอบ เรือ ขนาด 250,000 ตันผ่านคลองสุเอซ จะเสียค่าธรรมเนียมประมาณ US$ 275,000
2.1.8 : ถาม เรือขนาด 50,000 ตันความเร็ว 12 น็อต ออกจาก ท่าเรือเมืองนิวยอร์คผ่านคลองปานามา มาเมือง ปูซานเกาหลีไต้ จะย่นระยะทางได้กี่วัน? หากต้องแล่น อ้อมปลายทวีปอเมริกาไต้ด้วยการผ่านช่อง มาเจนแลน
ตอบ ย่นระยะทางได้ 24 วัน
2.1.9 : ถาม เรือขนาด 250,000 ตัน ความเร็ว สิบหก น็อต ออกจากท่าเรือในนอร์เวย์ ไปยัง เมืองท่า เกาชุงในไต้หวัน หากผ่านคลองสุเอซแทนที่จะไปผ่านแหลมกูดโฮป จะย่นระยะทางได้กี่วัน?
ตอบ ย่นระยะทางได้ 9 วัน
2.1.10 : ถาม เรือ ขนาด ห้าหมื่นตัน ความเร็ว 16 น็อต หาก มีคลองกระ จะใช้คลองเพื่อย่นระยะทางในการเดินเรือจาก โคลอมโบไป ฮ่องกง ได้กี่วัน?
ตอบ ย่นระยะทางได้ 0.73 วัน
2.2 การคำนวณเพื่อหาระยะทางเปรียบเทียบที่ ลดลงเมื่อเรือเดินผ่านจาก หัวเกาะสุมาตรา ไปยังจุดเชื่อมต่อเส้นทางไป ฮ่องกงและตะวันออกไกล
( โปรดดู แผ่นภาพประกอบ)
สมมติ ให้เรือ ตัวอย่างเป็นเรือ ขนาด 50,000 ตัน ความเร็ว 16 น็อต ใช้ ค่าผ่านคลองเท่ากับปานามา เรือกินน้ำมันวันละ 40 ตัน(IFO) 1.5 ตัน(MDO) IFO= US$ 110/ton MDO US$ 140/ton, charter hire/day us$ 7,000.-
สำหรับเรือที่ใช้ช่องสุมาตรา :
จุด A = lattitude 4-30 N. longitude 99 E. เป็นจุดเริ่มเปลี่ยนเส้นทางเข้าช่องมะละกา
จุด A1 = บริเวณ ปากทางที่จะเข้าคลองในประเทศไทย ทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันตก ซึ่งถือว่า
เป็น จุดเริ่มคิดเส้นทางเปรียบเทียบ
จุด B = จุดที่เรือที่ออกจากประเทศไทยและมาจากสิงค์โปร์จะต้องใช้เป็นเส้นทางเพื่อเดินทางไป
ยังฮ่องกงและตะวันออกไกล : Lattitude: 6-30 N. longitude 107-30E.
ระยะ จาก A – B = ระยะที่เรือแล่นผ่านช่องมะละกาและช่องสิงค์โปร์ วัดได้ระยะทาง 720 ไมล์
ทะเล
ดังนั้น ใช้เวลาในการเดินทาง = 720 / 16 = 45 ชั่วโมง
หาก ใช้ คลองกระที่จะคิดขุด :-
ก) จาก A to C1 = ระยะที่เรือ มาถึงรับเรือลากจูงเข้าร่องน้ำ ให้เวลา 1 ชั่วโมง
ข) จาก C1 to C2 = ระยะเวลา ที่เรือแล่นในคลอง ( กะว่าประมาณ 103km. ที่ ปานามา 82.3 km.
[ใช้เวลา 10 ชม.] ให้เวลาเท่ากับ ปานามา 10 ชั่วโมง
ค) จาก C2 to C3= ระยะทางที่เรือแล่นออกจากร่อง ส่งนำร่อง ให้ 0.5 ชั่วโมง
ง) จาก C3 to B = ระยะเวลาที่แล่นไปยังจุด ต่อเชื่อมเข้าเส้นทางหลัก ไปฮ่องกง และตะวันออก
ไกล = 400/16 – 25 ชั่วโมง
ดังนั้นจะเห็นว่า จะใช้เวลาจากจุด A 1 ไปยัง B คือ = 0 ชั่วโมง
จากคุณ : ตกรุ่น - [ 5 ต.ค. 48 22:15:48 ]