ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-04-2024, 21:20
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  อันเนื่องมาจากกระทู้บทความอาจารย์สมชายของ Killer 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
อันเนื่องมาจากกระทู้บทความอาจารย์สมชายของ Killer  (อ่าน 2588 ครั้ง)
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 11-07-2006, 20:25 »

เรื่อง กระฎุมพีหอคอย ถล่ม กระฎุมพีสุนัขรับใช้
จากกระทู้
http://forum.serithai.net/index.php?topic=3989.0
ในสภากาแฟของคุณ Killer

ต้องขออภัยคุณ Killer ที่ผมต้องทำลิงก์อ้างอิงกระทู้แทนการเขียนตอบในกระทู้ ทั้งนี้เพราะ
1.ผมไม่มี log in
2.ผมไม่คิดจะมี log in

บอกตามตรง ผมเพิ่งเข้ามาใหม่ และโดยปกติแล้ว ถ้าหากผมเห็นชื่อของคุณ Killer ผมมักเห็นการแสดงความเถื่อนเสรีจากหลายๆ ฝ่ายที่เข้ามาพร้อมๆ กับการแสดงความคิดเสรี... กรณีเช่นนี้ผมจะรีบหลีกลี้หนีไกลไปในทันที

แต่ในกระทู้ดังกล่าวของคุณ Killer ผมเห็นว่าเป็นเรื่อง "สำคัญ" และควร "แยกแยะ" ให้ชัดเจน คนเรามีความหลากหลาย เราไม่ชอบด้านใดก็ไม่ควรต่อต้านเขาไปทั้งหมด คนดีอย่างซีดานยังหลุดแสดงความเถื่อนได้ในบางจังหวะ... สำหรับกระทู้นี้ของ Killer ถือว่าสุภาพมาก เนื้อหาก็น่าสนใจมาก น่าคุยด้วยอย่างยิ่ง

เข้าเรื่องนะครับ... แม้เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นการตอบโต้ไปมาระหว่าง 2 กระฎุมพี แต่หัวใจสำคัญของการโต้ตอบไปมากลับอยู่ที่ข้อความ
"ในทรรศนะของผู้เขียนเองเห็นว่าการใช้มาตรา 7 จะไม่ได้เป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมในระยะยาว ข้อเสนอหรือความคิดนี้ไม่ใช่สัจธรรมสูงสุดและอาจผิดพลาดได้ถ้าพันธมิตรไม่ เห็นด้วยก็ควรโต้แย้งกลับมาบนฐานของการใช้เหตุผล เผื่อจะช่วยทำให้หูตาที่ฝ้าฟางของบรรดานักวิชาการจะได้สว่างไสวพ้นเหนือน้ำเน่าบ้าง"

นั่นคือฝ่ายอาจารย์สมชายเห็นว่า ถ้าไม่ให้เหตุผลทางวิชาการก็ไม่ควรโจมตีนักวิชาการพล่อยๆ แบบนักการเมือง ส่วนฝ่ายพันธมิตรเห็นว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้มากความ

สำหรับผมเห็นว่าเรื่องนี้สามารถโต้แย้งในทางวิชาการได้ และเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง หากไม่ทำความเข้าใจสังคมจะสับสนอ่อนแอได้ ซึ่งก็คงไม่ใช่เป้าหมายปลายทางดังที่อาจารย์สมชายอยากให้เป็นดังนี้

1.มาตรา 7 เป็นการพึ่งพิง อิงบารมีจริง แต่จะเป็นการไม่สร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนหรือไม่ ผมคิดว่าอย่าพึ่งฟันธง

2.การร่ายมนต์ว่า "ประชาชนจงเข้มแข็งๆๆ" ร่ายมนต์สักพันเที่ยวล้านเที่ยว แล้วประชาชนจะเข้มแข็งขึ้นมาหรือไม่? เหมือนกับกรณีให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ก็จงเรียนรู้เองเข้มแข็งเองเถิด... แต่ที่เด็กแสดงความรู้สึกกลับมา กลับเป็นว่าต้องการครูที่มีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงให้ช่วยเหลือพึ่งพิงได้มากกว่านี้ การปล่อยเกาะไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างเข้มแข็งขึ้นมาได้

3.ประชาธิปไตยเราเข้มแข็งแล้วหรือยัง? ประชาชนเราเข้มแข็งแล้วหรือยัง? เรายังต้องการการประคับประคองหรือไม่? ถ้าใช่ ผมคิดว่ามาตรา 7 ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยสร้างประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง ณ ปัจจุบัน...

เฉพาะในยามที่กลไกประชาธิปไตยพิกลพิการ มาตรา 7 จึงจะมีบทบาทสำคัญ... ยามปกติมาตรา 7 ย่อมไม่มีบทบาทมากนัก การห่วงว่าเราจะพึ่งพิงมาตรา 7 เสียจนประชาธิปไตยไม่เข้มแข็ง สังคมไม่เข้มแข็งนั้น เป็นเรื่องห่วงกังวลเกินไป เพราะเราไม่ได้พึ่งพิงมาตรา 7 ตลอดเวลา และการแก้ไขไปทีละก้าวทีละขั้น ระบบย่อมเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ การพึ่งพิงมาตรา 7 จะลดลงเรื่อยๆ ... สิ่งสำคัญคืออย่าเพิ่งให้ระบบพังครืนลงมาต่างหากครับ

4.ผมเข้าใจว่าอาจารย์สมชายมีแนวคิดบางอย่างที่หากเอ่ยถึงแล้ว จะสามารถเปรียบเทียบให้เข้าใจกันได้ในทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี นั่นคือกรณีการต่อต้านบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ อย่างเช่น คาร์ฟู , เทสโก้ ฯลฯ ซึ่งมาพร้อมกับ "การค้าเสรี" ที่มาพร้อมกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย "พลังประชาชนเสรี"

ต้องถามอาจารย์สมชายแล้วหล่ะครับว่า "การค้าเสรี", "การแข่งขันเสรี"  นั้นมีจริงหรือไม่? เพราะปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นคือ คาร์ฟู, เทสโก้ ฯลฯ ที่ปรากฎการณ์ต่อต้านก็คือการเรียกร้องเครือข่ายผู้ค้ารายย่อยกู้ชาติ(อะไรทำนองนี้)... เช่นเดียวกับการเชื่อมั่นใน "พลังประชาชน" นั้น ก็เป็นเพียง "นามธรรม" ลอยๆ เพราะสิ่งที่เกิดเป็นรูปธรรมจริงๆ จังๆ ก็คือ พรรคการเมืองผูกขาดจากการเลือกตั้ง และพันธมิตรฯ ซึ่งมิได้มีทางเลือกให้กับประชาชนจริงๆ มากนัก

พรรคการเมืองผูกขาดกับพันธมิตรฯ ล้วนเป็นรูปธรรมที่อยู่ในลักษณะ "รวมศูนย์" หรือการ "พึ่งพิง" ทั้งสิ้น นับรวมไปถึงการรวมตัวภาคประชาชนทุกรูปแบบ การชุมนุมประท้วง มูลนิธิฯ ไม่เว้นแม้แต่ในเสรีไทยเวบบอร์ดแห่งนี้ ฯลฯ

ดังนั้นโดยรูปแบบแล้ว เราไม่อาจแยกประชาชนออกจาก "ยุทธศาสตร์" ที่มีลักษณะ "รวมศูนย์" หรือการ "พึ่งพิง" ได้

มาตรา 7 เป็นรูปแบบหนึ่งของ "อำนาจรวมศูนย์"... ในยามที่ประเทศไม่ปกติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในเชิง "ยุทธศาสตร์" สำหรับ "ประชาชน" ที่จะได้ร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้กับวิกฤตที่สุึดในโลกทั้งหลาย... มาตรา 7 จึงเป็นรูปธรรมหนึ่งที่สำคัญจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ภาคประชาชน/สังคม ได้เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งขึ้น มิใช่สิ่งที่ก่อให้เกิดความอ่อนแอในระยะยาวอย่างที่วิตกแต่อย่างไร... การไม่มีอำนาจรวมศูนย์ไปต่อสู้กับอำนาจรวมศูนย์ต่างหากที่เป็นความโง่เขลา และประเทศชาติจะต้องประสบกับความพ่ายแพ้ ปล่อยให้คนชั่วได้ครองเมืองต่อไปอย่างแน่นอน

เห็นต่างอย่างไรก็เชิญทุกท่านคุยครับ (ขอความกรุณางดความเถื่อนในกระทู้นี้ครับ)
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #1 เมื่อ: 11-07-2006, 20:43 »

การใช้มาตรา 7 เป็นไปเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชนจริงหรือ ?
หรือว่ามันถูกหยิบยกขึ้นมาใช้อย่างฉับพลัน เพียงเพื่อต้องการที่จะแก้ไขปัญหาทางการเมืองเฉพาะหน้า

คือผมไม่อยากจะเล่นลิ้น ประมาณว่า ถ้างั้นก็ยกเลิกทุกมาตราไปเลย คงเหลือไว้เฉพาะมาตรา 7

ในทางนิติฯ การที่จะหยิบยกมาตราไหนมาใช้
เขาไม่ได้มองลึกขยายวงกว้างไปขนาดที่ท่านได้อธิบายความมา
เพียงดูประเด็นข้อเท็จจริงของปัญหา แล้วก็หยิบเอามาตราใดมาตราหนึ่งมาปรับใช้ ก็เท่านั้นจริง จริ๊ง

ถ้าเราจะคิดว่า การใช้มาตรานี้แล้ว จะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชน
ผมว่าจะเล็งผลเลิศแบบหาที่สุดมิได้เกินไปหน่อยแล้ว
พูดให้มันตรงไปเลยก็คือ ถ้าคิดจะอาศัยอำนาจพระมหากษัตริย์มาเพื่อใช้ในการประคับประคอง
ประชาธิปไตย ผ่านมาตรานี้ ผมว่าไม่จำเป็นหรอก พระองค์ได้แสดงให้เห็นแล้วใช่หรือไม่ ?
ว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งมาตรานี้เลย
บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #2 เมื่อ: 11-07-2006, 20:51 »

ผมไม่ได้อ่าน ไม่คิดอ่านเลยไม่มีความเห็น เถื่อนไหม 

เรื่องมาตรา 7 มันตกไปแล้ว จะหยิบยกมาโจมตีก็เชิญครับ

คนเสนอมาตรา 7 ยินยอมก้มหน้ารับด่า ตามหลังอยุ่แล้ว

บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #3 เมื่อ: 11-07-2006, 20:55 »

แต่รู้สึก สมชาย นี่ก็โนเนมนะ

สงสัยจะมีคนกลืนน้ำลาย

บันทึกการเข้า
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 11-07-2006, 21:06 »

สวัสดีครับคุณ Killer... ไม่นึกว่าจะมาเร็วแบบนี้... ยินดีที่ได้คุยครับ

การใช้มาตรา 7 เป็นไปเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชนจริงหรือ ?
หรือว่ามันถูกหยิบยกขึ้นมาใช้อย่างฉับพลัน เพียงเพื่อต้องการที่จะแก้ไขปัญหาทางการเมืองเฉพาะหน้า

คือผมไม่อยากจะเล่นลิ้น ประมาณว่า ถ้างั้นก็ยกเลิกทุกมาตราไปเลย คงเหลือไว้เฉพาะมาตรา 7

ไพ่ทุกสำรับมีโจ๊กเกอร์สำหรับสถานการณ์พิเศษครับ มาตรา 7 มิได้ใช้ในกรณีปกติ จะเหลือมาตราเดียวไม่ได้

ในทางนิติฯ การที่จะหยิบยกมาตราไหนมาใช้
เขาไม่ได้มองลึกขยายวงกว้างไปขนาดที่ท่านได้อธิบายความมา
เพียงดูประเด็นข้อเท็จจริงของปัญหา แล้วก็หยิบเอามาตราใดมาตราหนึ่งมาปรับใช้ ก็เท่านั้นจริง จริ๊ง

ถ้าเราจะคิดว่า การใช้มาตรานี้แล้ว จะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชน
ผมว่าจะเล็งผลเลิศแบบหาที่สุดมิได้เกินไปหน่อยแล้ว
พูดให้มันตรงไปเลยก็คือ ถ้าคิดจะอาศัยอำนาจพระมหากษัตริย์มาเพื่อใช้ในการประคับประคอง
ประชาธิปไตย ผ่านมาตรานี้ ผมว่าไม่จำเป็นหรอก พระองค์ได้แสดงให้เห็นแล้วใช่หรือไม่ ?
ว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งมาตรานี้เลย

ในคำพูดของท่านที่ให้ไว้กับศาลจากเวบไซต์กาญจนาภิเษก คือ
ตั้งแต่ เป็นมา มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ แล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำไปตามใจชอบ ก็เข้าใจว่า บ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบ แล้วเวลาถ้าเขา ถ้าทำตามที่เขาขอ เขาก็ต้อง ต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ ว่าทำตามใจชอบ ซึ่งไม่ใช่กลัว ถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ... (ต่อจากตรงนี้เป็นข้อความฝากให้ศาลช่วยแก้วิกฤติที่สุดในโลก)

หมายความว่า... ถ้าจำเป็นก็ใช้ครับ... ตอนนั้นไม่จำเป็นเพราะยังเหลือศาลทำงานได้อยู่ แต่ถ้าหากศาลทำงานไม่ได้หล่ะครับ?

บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #5 เมื่อ: 11-07-2006, 21:20 »

ที่จริงประเด็นนี้ ถูกถกเถียงกันมาจนปรุแล้วในหลายเวที

ผมเห็นอย่างที่ฝ่ายคัดค้าน ว่าเอาไว้... มาตรานี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น
จำเป็นเมื่อไหร่ เมื่อ "ไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญ" มันแสดงให้เห็นถึง
เจตนารมณ์ของกฏหมายมาตรานี้ชัดเจน การบังคับใช้กฏหมายเขาให้ยึดถือ
เจตนารมณ์เป็นหลัก
ถ้ามีมาตราอื่นรองรับอยู่แล้ว ที่ยังสามารถใช้่ได้อยู่ เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรานี้

ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ใช้ ถ้ามันถึงทางตันกันจริงๆ ก็จำเป็นต้องใช้

ผมว่ามันเร็วเกินไปที่จะยกมาตรานี้มาใช้ ก็เท่านั้น
บันทึกการเข้า
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 11-07-2006, 21:35 »

ที่จริงประเด็นนี้ ถูกถกเถียงกันมาจนปรุแล้วในหลายเวที

ผมเห็นอย่างที่ฝ่ายคัดค้าน ว่าเอาไว้... มาตรานี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น
จำเป็นเมื่อไหร่ เมื่อ "ไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญ" มันแสดงให้เห็นถึง
เจตนารมณ์ของกฏหมายมาตรานี้ชัดเจน การบังคับใช้กฏหมายเขาให้ยึดถือ
เจตนารมณ์เป็นหลัก
ถ้ามีมาตราอื่นรองรับอยู่แล้ว ที่ยังสามารถใช้่ได้อยู่ เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรานี้

ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ใช้ ถ้ามันถึงทางตันกันจริงๆ ก็จำเป็นต้องใช้

ผมว่ามันเร็วเกินไปที่จะยกมาตรานี้มาใช้ ก็เท่านั้น


อันนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง... และคิดว่าใกล้เวลาได้ใช้งานมาตรานี้แล้วด้วย 3 เหตุ
1.เกิดรัฐประหาร
2.มีการกดดันศาลจนทำงานไม่ได้ ทั้งจากองค์กรอิสระ(หรือองค์กรอื่นๆ) จากรัฐบาลรักษาการ และจากภาคประชาชน
3.มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองและภาคประชาชนหลังการตัดสินของศาล

ใกล้ไคลแม๊กซ์แล้วครับ... คงได้รู้กันว่าจะได้ใช้มาตรา 7 หรือไม่
บันทึกการเข้า
ประสงค์
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 11-07-2006, 23:40 »

   อ่านนายคิลเลอร์แล้ว ถ่***สะถุนสุดๆ ไอ้พวกแท๊กซี่หื่นกาม บก.ควรบล็อกได้แล้ว พเราะทำลายวัฒนธรรมของการวิจารณ์ที่ดีในเว็บนี้ครับ
บันทึกการเข้า
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 11-07-2006, 23:54 »


คุณประสงค์ครับ... ช่วยกรุณาสุภาพด้วยครับ... จากเจ้าของกระทู้
บันทึกการเข้า
พยัคฆ์ซ่อน มังกรซุ่ม
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 12-07-2006, 00:32 »

ที่จริงประเด็นนี้ ถูกถกเถียงกันมาจนปรุแล้วในหลายเวที

ผมเห็นอย่างที่ฝ่ายคัดค้าน ว่าเอาไว้... มาตรานี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น
จำเป็นเมื่อไหร่ เมื่อ "ไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญ" มันแสดงให้เห็นถึง
เจตนารมณ์ของกฏหมายมาตรานี้ชัดเจน การบังคับใช้กฏหมายเขาให้ยึดถือ
เจตนารมณ์เป็นหลัก
ถ้ามีมาตราอื่นรองรับอยู่แล้ว ที่ยังสามารถใช้่ได้อยู่ เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรานี้

ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ใช้ ถ้ามันถึงทางตันกันจริงๆ ก็จำเป็นต้องใช้

สถานการณ์อย่างไร จึงจะเป็นทางตันในความหมายของคุณ Killer
ในความเห็นของตัวเอง เหตุที่ 1 ของคุณพระพายหากเกิดนั้น หากเกิดขึ้นจริงก็น่าจะเป็นการผ่าทางตันเสียมากกว่986า


ผมว่ามันเร็วเกินไปที่จะยกมาตรานี้มาใช้ ก็เท่านั้น

บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #10 เมื่อ: 12-07-2006, 00:36 »

quote author=koo link=topic=4010.msg55202#msg55202 date=1152625867]
ผมไม่ได้อ่าน ไม่คิดอ่านเลยไม่มีความเห็น เถื่อนไหม 

เรื่องมาตรา 7 มันตกไปแล้ว จะหยิบยกมาโจมตีก็เชิญครับ

  คนเสนอมาตรา 7 ยินยอมก้มหน้ารับด่า ตามหลังอยุ่แล้ว


[/quote]



ที่จริงประเด็นนี้ ถูกถกเถียงกันมาจนปรุแล้วในหลายเวที

ผมเห็นอย่างที่ฝ่ายคัดค้าน ว่าเอาไว้... มาตรานี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็น
จำเป็นเมื่อไหร่ เมื่อ "ไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญ" มันแสดงให้เห็นถึง
เจตนารมณ์ของกฏหมายมาตรานี้ชัดเจน การบังคับใช้กฏหมายเขาให้ยึดถือ
เจตนารมณ์เป็นหลัก
ถ้ามีมาตราอื่นรองรับอยู่แล้ว ที่ยังสามารถใช้่ได้อยู่ เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรานี้

ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ใช้ ถ้ามันถึงทางตันกันจริงๆ ก็จำเป็นต้องใช้

ผมว่ามันเร็วเกินไปที่จะยกมาตรานี้มาใช้ ก็เท่านั้น


อันนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง... และคิดว่าใกล้เวลาได้ใช้งานมาตรานี้แล้วด้วย 3 เหตุ
1.เกิดรัฐประหาร
2.มีการกดดันศาลจนทำงานไม่ได้ ทั้งจากองค์กรอิสระ(หรือองค์กรอื่นๆ) จากรัฐบาลรักษาการ และจากภาคประชาชน
3.มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองและภาคประชาชนหลังการตัดสินของศาล

ใกล้ไคลแม๊กซ์แล้วครับ... คงได้รู้กันว่าจะได้ใช้มาตรา 7 หรือไม่




คุณ koo ครับ....

  คนเสนอมาตรา 7 ยินยอมก้มหน้ารับด่า ตามหลังอยุ่แล้ว

ถ้าคุณได้อ่านความคิดเห็นของคุณ Killer และคุณพระพาย คงเข้าใจดีนะครับ

นักวิชาการหรือนักเคลื่อนไหว ก็มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
ระหว่างถึงเวลาหรือยังไม่ถึงเวลา เท่านั้นแหละครับ


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #11 เมื่อ: 13-07-2006, 17:01 »

อันนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง... และคิดว่าใกล้เวลาได้ใช้งานมาตรานี้แล้วด้วย 3 เหตุ
1.เกิดรัฐประหาร
2.มีการกดดันศาลจนทำงานไม่ได้ ทั้งจากองค์กรอิสระ(หรือองค์กรอื่นๆ) จากรัฐบาลรักษาการ และจากภาคประชาชน
3.มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองและภาคประชาชนหลังการตัดสินของศาล
ใกล้ไคลแม๊กซ์แล้วครับ... คงได้รู้กันว่าจะได้ใช้มาตรา 7 หรือไม

1. เกิดรัฐประหาร ก็ใช้ไม่ได้อยู่ดี เพราะได้ล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ไปด้วยแล้ว
ทหารก็จะต้องประกาศกฏอัยการศึก บริหารประเทศโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ตั้งนายกฯ เองได้เลยไม่ต้องพึ่ง ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวขึ้นมาอย่างนี้ละได้

2. ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรไปล้มล้างศาลได้ ศาลก็ทำหน้าที่ของศาลไป จัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย
ถึงเกิดจราจลวุ่นวาย ก็ล้มล้างอำนาจรัฐไม่ได้อยู่ดี
บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #12 เมื่อ: 13-07-2006, 20:23 »

คุณ koo ครับ....
  คนเสนอมาตรา 7 ยินยอมก้มหน้ารับด่า ตามหลังอยุ่แล้ว

ถ้าคุณได้อ่านความคิดเห็นของคุณ Killer และคุณพระพาย คงเข้าใจดีนะครับ

นักวิชาการหรือนักเคลื่อนไหว ก็มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
ระหว่างถึงเวลาหรือยังไม่ถึงเวลา เท่านั้นแหละครับ



อ้าว เวรกรรม มองไกลๆเห็นสับซะเละตุ้มเปะ มองไปมองมา ทำไมทำไมกอดกันกลม แล้วเถียงกันว่า จะกินมื้อเย็น ตอน6โมงหรือ1ทุ่มไปได้  Confused
บันทึกการเข้า
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 14-07-2006, 22:04 »

อันนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง... และคิดว่าใกล้เวลาได้ใช้งานมาตรานี้แล้วด้วย 3 เหตุ
1.เกิดรัฐประหาร
2.มีการกดดันศาลจนทำงานไม่ได้ ทั้งจากองค์กรอิสระ(หรือองค์กรอื่นๆ) จากรัฐบาลรักษาการ และจากภาคประชาชน
3.มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองและภาคประชาชนหลังการตัดสินของศาล
ใกล้ไคลแม๊กซ์แล้วครับ... คงได้รู้กันว่าจะได้ใช้มาตรา 7 หรือไม

1. เกิดรัฐประหาร ก็ใช้ไม่ได้อยู่ดี เพราะได้ล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ไปด้วยแล้ว
ทหารก็จะต้องประกาศกฏอัยการศึก บริหารประเทศโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ
ตั้งนายกฯ เองได้เลยไม่ต้องพึ่ง ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวขึ้นมาอย่างนี้ละได้

2. ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรไปล้มล้างศาลได้ ศาลก็ทำหน้าที่ของศาลไป จัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย
ถึงเกิดจราจลวุ่นวาย ก็ล้มล้างอำนาจรัฐไม่ได้อยู่ดี


ยินดีที่ได้กลับมาคุยต่ออีกครั้งหนึ่งครับคุณ killer

กรณีเกิดรัฐประหาร สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาโดยอัตโนมัติในทุกครั้งที่ผ่านมาก็คือ การฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง... ที่เป็นดังนี้ก็เพราะการหมดสภาพนายกฯและได้มาซึ่งนายกฯมิได้ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

แต่ในกรณีของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กลับมีไพ่โจ๊กเกอร์อยู่ นั่นคือ มาตรา 7 หมายความว่า "มีความเป็นไปได้ที่จะรัฐประหารโดยไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ" ลองดูมาตราข้างล่างนี้นะครับ

อ้างถึง
มาตรา 63 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

มาตรา 72 รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ

มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดให้วินิจฉัยกรณี นั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข

เงื่อนไขที่สำคัญคือ การมีรัฐบาลรักษาการที่ยาวนานกว่าปกติมาก และสถานการณ์ทางการเมือง "การเลือกตั้ง" มีความอึมครึม และเป็นจุดเปลี่ยนของ "วิกฤตที่สุดในโลก" อันคุกคามไปทั้ง 3 ขา คือ รัฐ รัฐสภา และศาล

กรณีเช่นนี้ การมีรัฐบาลรักษาการที่นานกว่าปกติมากๆ เช่นนี้ ก็มิได้ถูกระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ หรือว่าไปแล้วก็คือเป็นสถานการณ์ที่ดึงเข้าสู่มาตรา 7 ได้ตั้งแต่แรก... วิธีการต่อจากนั้น จึงสามารถพลิกแพลงได้โดยกำลัง "รัฐ" ส่วนอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง (อาจเข้าใจผิดครับ ถ้าใครยืนยันได้ว่ารัฐประหารแล้วต้องฉีกรัฐธรรมนูญทุกครั้ง ผมจะเบาใจอย่างยิ่ง)

อย่างไรก็ตาม ผมไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ และแนวทางนี้ในรัฐธรรมนูญมีคำผูกอยู่คือ "รัฐ" ซึ่งอาจเข้าทางรัฐบาลมากกว่า (แต่ช่องโหว่คือการเป็นรัฐบาลรักษาการเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาวิกฤติรัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยในปัจจุบัน) ผมจึงเห็นด้วยกับแนวทางศาลครับ

กรณีที่สองของคุณ killer เรื่องศาลทำงานได้ในทุกสภาพนั้น ไม่น่าจะใช่ เช่น การประกาศภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น... เกิดเมื่อไหร่ ทุกเรื่องในศาลที่เกี่ยวกับรัฐและการเมืองจะหยุดชงักทันที

อย่าลืมนะครับว่าก่อนหน้านี้ ทักษิณส่งลิ่วล้อมากดดันพันธมิตรด้วยตำรวจและการฟ้องร้อง การป่วนเช่นนี้ก็เพราะรู้ว่าพันธมิตรจะต้องหาเกราะป้องกันตนเองคือประชาชน และเริ่มม๊อบขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น... จังหวะเวลาก็พอดี๊พอดี แต่บังเอิญว่าท่านสุเมธออกมากล่าวค่อนข้างชัด (เหมือนส่งซิกเลยครับ) รักพ่ออย่าทะเลาะกัน... ม๊อบชนม๊อบถึงไม่เกิด ทหารก็แทรกไม่ได้ ประกาศภาวะฉุกเฉินที่เป็นตัวช่วยสุดท้ายไม่ให้ทักษิณจนแต้มด้วยศาลก็ยังใช้ไม่ได้

ที่จริงเรื่องรักพ่ออย่าทะเลาะกัน จุดมุ่งหมายจริงๆ ไม่น่าจะใช่การปรามพันธมิตร เพราะเป้าหมายสุดท้ายคือการปล่อบให้ศาลทำงานได้อย่างเต็มที่ ... ม๊อบพันธมิตรไม่น่าจะเป็นปัจจัยขัดขวางการทำงานของศาล แต่น่าจะเป็นม๊อบของอีกฝ่ายมากกว่า ซึ่งถ้าหากไม่เกิดการปะทะกัน สถานการณ์ก็ยังคงสงบอยู่ ศาลก็ยังคงทำงานได้อยู่... ยกเว้นสถานการณ์พิเศษซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีความพยายามให้เกิดขึ้น เพื่อหยุดการทำงานของศาล... รักพ่ออย่าทะเลาะกันจึงถือเป็นกระบวนท่าที่ล้ำลึกยิ่ง เพราะหยุดม๊อบทุกฝ่ายโดยพลัน

ล่าสุด ... ป๋าออกมาสำทับเรื่องทหารเป็นของพระเจ้าอยู่หัวและประเทศชาติ มิใช่ทำงานให้พรรคการเมือง เป็นการไม่ให้ทหารแตกแถวมายุ่งการเมือง เห็นได้ชัดว่าต้องการให้ศาลทำงานเต็มที่ ในขณะที่อีกฝ่ายกลับพยายามเคลื่อนไหวเปลี่ยน ผบ.ทบ. ในช่วงเวลาที่สำคัญเช่นนี้...

จากความเคลื่อนไหวที่เข้มข้นดังกล่าว ผมจึงไม่เห็นด้วยว่าศาลจะทำงานได้ในทุกสภาพการณ์ ... ในสภาพจราจลหรือม๊อบชนม๊อบนี้ อาวุธของรัฐบาลคือประกาศภาวะฉุกเฉิน อาวุธของม๊อบจึงยังคงเป็นมาตรา 7 (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ม๊อบที่ถูกไล่บี้ด้วยคดีและตำรวจ... ม๊อบเสียหัวเมื่อไหร่ทุกอย่างก็จบครับ โดยยุทธศาสตร์ม๊อบจึงต้องเร่งเครื่อง) ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้กุมสภาพได้เปรียบไว้ได้

อย่ากระพริบตานะครับ ช่วยชาติได้ทางไหนก็ต้องช่วยกันหล่ะครับ
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #14 เมื่อ: 14-07-2006, 22:20 »

ไม่แน่ใจ ว่าพรบ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
จะไปยกเว้นอำนาจศาลหรือเปล่า ไม่ได้ค้นดู แต่คิดว่าไม่
เพราะเป้าหมายต้องการให้แยกต่างหากออกมาจาก กฏอัยการศึก ที่ต้องใช้ศาลทหาร

เรื่องป๋าออกมาพูดที่ จปร. ยิ่งส่งสัญญานเป็นปฎิปักษ์กับรัฐบาลชัดเจนในช่วงที่ให้สัมภาษณ์กับนักข่าว
เท่าที่ทราบ ทหารโนคอมเมนท์มาตั้งแต่ ก่อนพระราชพิธีแล้ว
คำพูดของผบ.ทบ.ที่ว่า เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผมก็เคยบอกแล้วว่า นั่นเป็นการแสดงจุดยืนว่าไม่เข้าข้างฝ่ายใดทั้ง รัฐบาลและอีกฝ่ายหนึ่ง
พร้อมกันนั้นก็ปรามไม่ให้ ตท.10 ออกมาเคลื่อนไหวด้วย

บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #15 เมื่อ: 14-07-2006, 22:24 »

ขี้เลอะพิมพ์เร็วจริงๆ คล้ายๆการรับส่งบอล  Mr. Green

พึ่งเริ่มอ่านเอง
บันทึกการเข้า
Coolly_Jade
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 318


ฉันจะบิน บิน บิน สู่เสรีภาพอันยิ่งใหญ่


« ตอบ #16 เมื่อ: 14-07-2006, 22:30 »

นั่นสิครับ งานนี้ไม่มีถอยกันอยู่แล้วทั้ง2ฝ่าย
ประชาชนอย่างเราๆนี่สิครับ ไม่รู้จะทำอย่างไร ยิ่งรู้ยิ่งเห็นยิ่งลำบาก
จะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทำอะไรเลย ก็เหมือนลอยน้ำไปตามวันเวลา
ข้างบนเขาก็เซฟกันเต็มที่ ข้างล่างก็ต้องใช้มวลชน
ยังกับรถ วิ่งสวนทางกันในถนนที่มีแค่ช่องทางเดียวไงงั้นเลยครับ
แถมเบรคแตกทั้งคู่ด้วยนี่สิ ใครเบรคก่อนก็โดนเต็มๆ นะโมอมิตตพุทธ
บันทึกการเข้า

ทักษิณาธิปไตย เสรีทางความคิด เผด็จการต่อการแสดงออก ใครเห็นด้วยเป็นคนดี ใครคัดค้านเป็นกุ๊ย
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #17 เมื่อ: 14-07-2006, 22:59 »

มาตรา 72 รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐสถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ

เหอๆเวร กระทู้นี้อ่านผ่านๆไม่เข้าเจตนาจริงๆ
มาตรา 72 ที่ยกมามันอยู่ใน นโยบายพื้นฐาน
http://www.kodmhai.com/m1/m1-71-89.html

ซึ่งมาตรานี้น่าจะเขียนไว้เพื่อป้องกันการยุบกองกำลังทหารของประเทศไทย

เอามาโยงถึงเรื่องการปฏิวัติได้ยังไง ยังงงอยู่เลย เวรกรรมจริงๆ

ยิ่งอ่านยิ่งสงสัย ขี้เลอะมันพิมพ์เร็วจังฟ่ะ

บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #18 เมื่อ: 14-07-2006, 23:12 »

ประเด็นของจขกท.คือ การใช้มาตรา 7 เพื่อแก้ไขปัญหาทางตันของบ้านเมือง
ผมก็บอกว่ายากส์ ถ้ามีการรัฐประหาร ก็เท่ากับเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ก็คือไม่มีมาตรา 7 อีกต่อไป

หรือการใช้มาตรการทางศาลเป็นทางออกในเวลานี้ ถ้าเกิดทางตันขึ้นมา ก็ต้องใช้มาตรา 7 อยู่ดี

แต่ผมเห็นว่า มาตรการทางศาลจะถึงทางตันไม่ได้เด็ดขาด มันมีแต่สิ้นสุดด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ยกเว้นเสียแต่ว่าจะเกิดการประกาศกฏอัยการศึก ซึ่งรัฐบาลมีพรบ. สภาวะฉุกเฉิน แล้ว
ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากฏอัยการศึก (นั่นหมายถึงไม่ต้องพึ่งศาลทหาร)

ผมจึงเห็นว่า ศาลจึงเป็นทางออกเดียวในขณะนี้จริงๆ และไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 7 แน่นอน
บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #19 เมื่อ: 14-07-2006, 23:30 »

มาตรา 63 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้าง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพี่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

งงเจงๆเลยเฟ้ย ถ้าสงสัยว่าทำไมงงนัก ไปอ่าน repที่2

มาตรานี้เอามาแปะไว้เพื่ออะไร อ่านหลายทีแล้ว ยังไม่เห็นข้อความใดอ้างถึงเลย  Evil or Very Mad

ขี้เลอะไม่สงสัยเหรอ

ยังไงก็ก๊อปข้อความที่คิดว่าเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญมาตราที่อ้างถึงมาหน่อย

พ่อค้าข้าวแกง งง
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #20 เมื่อ: 14-07-2006, 23:40 »

นั่นสิมาตรานั้นโผล่มาได้ไง...ดีเหมือนกันเข้าทางเลย
มาตรานี้เห็นได้ชัดว่ารัฐธรรมนูญห้ามอ้างสิทธิใดๆ ที่ได้รับจากรัฐธรรมนูญนี้
ไปใช้ทำลายล้ายกระบวนการประชาธิปไตย

นั่นก็คือ การที่พวกมันประท้วงกัน เย้วๆ อ้างว่ามีสิทธิ์ตามระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
แต่มันกลับกีดกันไม่ให้ทักษิณเล่นการเมืองตลอดชีวิต อันนี้มันพลาดชัดเจน
บันทึกการเข้า
koo
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 550



« ตอบ #21 เมื่อ: 14-07-2006, 23:46 »

ส่งบอลให้ขี้เลอะไปซะแล้ว  Mr. Green

ไม่อยากพินิจพิเคราะห์มาตรา63ต่อ ปล่อยตามบุญตามกรรมละกัน

ใครรู้เรื่องตอบ 2ข้อข้างบนของผมก่อนเด้อ

 
บันทึกการเข้า
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #22 เมื่อ: 15-07-2006, 00:25 »


คุณ koo ครับ

มาตรา 72 รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช ความมั่นคงของรัฐสถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ

ตรงที่ผมมาร์คแดงไว้นั้น แสดงให้เห็นถึง "บทบาท" ของทหารได้ ซึ่งต้องไม่ผิดรัฐธรรมนูญที่แสดงไว้ในมาตรา 63 ซึ่งช่องทางคือมาตรา 7

สำหรับปัญหามาตรา 63
บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้าง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพี่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ข้อแรก การประท้วงบอยคอตทักษิณ มิใช่การล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ทักษิณมิใช่ระบอบประชาธิปไตย
ข้อสอง การเรียกร้องมาตรา 7 มีระบุในรัฐธรรมนูญมิใช่การใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ
ข้อสาม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีบทบาทหลักคือ "การตรวจสอบ" บุคคลผู้มีปัญหา (ทักษิณ) และเรียกร้องให้ระบบตามรัฐธรรมนูญได้ทำงานเป็นปกติ

การตีความต้องละเอียดนิดนึงครับ
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #23 เมื่อ: 15-07-2006, 08:44 »

ผมถามคุณพระพาย ตรงๆเลยว่า การไม่ให้ทักษิณเล่นการเมืองโดยเด็ดขาด
ไม่งั้นจะประท้วงก่อความวุ่นวายอย่างนี้ เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่  Question
บันทึกการเข้า
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #24 เมื่อ: 15-07-2006, 16:11 »

ผมถามคุณพระพาย ตรงๆเลยว่า การไม่ให้ทักษิณเล่นการเมืองโดยเด็ดขาด
ไม่งั้นจะประท้วงก่อความวุ่นวายอย่างนี้ เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญหรือไม่  Question


เรียนคุณ Killer

คำถามข้อนี้ของคุณ Killer สั้นๆ แต่มีหลายประเด็นที่เกี่ยวพันกัน คงต้องชี้ประเด็นก่อนค่อยอธิบายตอบครับ

1.การไม่ให้ทักษิณเล่นการเมืองนั้น พิจารณาแค่สิทธิของ "บุคคล" หรือพิจารณาต่อเนื่องจาก สถานภาพนายกฯสีเทา?

ถ้าหากเราตอบว่าพิจารณาเป็นสิทธิของบุคคล ผมคิดว่าคงต้องพิจารณาจากรัฐธรรมนูญมาตรานี้ครับ
มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

ที่ผมมาร์คแดงและขีดเส้นใต้ไว้นั้น เน้นว่านายกฯ จะอ้างสิทธิ "บุคคล" ได้ก็ต่อเมื่อมิได้ละเมิดสิทธิของประชาชนหรือขัดจริยธรรมผู้นำมาก่อน ผมคิดว่าการคอรัปชั่นเชิงนโยบายและการล่วงล้ำสถาบันหลายๆ ประการด้วยกันนั้น น่าจะเป็นการละเมิดชาติและประชาชนเมื่อใช้มาตรฐานในเชิงจริยธรรม และความเชื่อถือเชื่อมั่นจากประชาชน...

แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าในข้อนี้ควรจะพิจารณาจาก สถานภาพนายกฯ สีเทา เป็นหลัก เคลียร์เป็นสีขาวได้เมื่อไหร่ ไม่มีใครประท้วงแน่ครับ

2.การประท้วงเป็นการก่อความวุ่นวาย หรือถือเป็นความเคลื่อนไหวตามสิทธิของประชาชนในรัฐธรรมนูญ โดยหน้าที่ และโดยชอบธรรม?

ผมคิดว่าประเด็นนี้คงต้องอ้างรัฐธรรมนูญหลายมาตราครับ

มาตรา 37 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 39 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

มาตรา 44 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น

มาตรา 66 บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้

ที่ผ่านมา พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนไหวในกรอบดังกล่าวนี้ จึงไม่น่าจะเป็นการก่อความวุ่นวาย... เจ้าหน้าที่รัฐก็ได้รับการประสานงานด้วยดีมาตลอด

ม๊อบถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ "การสื่อสาร" ตามมาตรา 37 และ 39

ม๊อบถือเป็นการรวมกลุ่มที่ชอบตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 44 และ 45

เป้าหมายของผู้เข้าร่วมม๊อบถือว่าชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 66

คำตอบเหล่านี้น่าจะชัดเจนครับ
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #25 เมื่อ: 15-07-2006, 16:56 »

คุณตีความรัฐธรรมนูญแบบนั้น
ถ้าอย่างนั้น คนที่มีอาชีพอย่าง ชูวิทย์ ชัชเตาปูน ฯลฯ ไม่โดนจำกัดสิทธิ์กันหมดแล้วหรือ

มาตรานี้เขากำหนดกรอบของการอ้างสิทธิและเสรีภาพ ในแต่ละบุคคล
ให้มันมีขอบเขตไปสุดอยู่ตรงที่ เมื่อบุคคลอื่นมีความรู้สึกว่า
การใช้สิทธิ์เสรีภาพของคุณนั้น มันได้ไปกระทบถึงสิทธิของผู้อื่นเขา
สิทธิและเสรีภาพของคุณก็ไปสิ้นสุดลงตรงที่จุดนั้น

ก็เหมือนกับการชุมนุมประท้วง เขาสามารถอ้างสิทธิที่จะขับไล่ทักษิณได้
แต่เขาไม่สามารถจะไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นได้ เช่นไปกีดขวางการจราจร
ไปจนถึงห้ามไม่ให้ทักษิณลงเลือกตั้ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-07-2006, 17:00 โดย Killer » บันทึกการเข้า
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #26 เมื่อ: 16-07-2006, 00:01 »

คุณตีความรัฐธรรมนูญแบบนั้น
ถ้าอย่างนั้น คนที่มีอาชีพอย่าง ชูวิทย์ ชัชเตาปูน ฯลฯ ไม่โดนจำกัดสิทธิ์กันหมดแล้วหรือ

ม๊อบถือเป็นการสื่อสารและการแสดงพลัง การจำกัดสิทธิทำได้โดยศาลเท่านั้นครับ... แต่ที่คุณ Killer ถามผมมาคือม๊อบทำผิดหรือไม่ สิ่งที่ผมตอบคือไม่ผิด แค่นั้นครับ แน่นอนว่าชูวิทย์และชัุชสามารถดำเนินงานทางการเมืองได้ แต่ก็มีสิทธิถูกต่อต้านได้เช่นเดียวกันครับ ถ้าประเด็นของชูวิทย์และคุณชัชมีผลกระทบในวงกว้างเพียงพอ ประชาชนก็จะเกิดการสื่อสารทางสังคมเป็นม๊อบทันทีครับ... อยู่ที่คนๆ นั้นจะหน้าด้านหน้าทนอยู่หรือเปล่า ถ้ายังทนอยู่ ม๊อบก็จะปรับเป็นใช้ช่องทางศาลหรือองค์กรอิสระอื่นเหมือนกับที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งก็ถูกแล้วนี่ครับ

มาตรานี้เขากำหนดกรอบของการอ้างสิทธิและเสรีภาพ ในแต่ละบุคคล
ให้มันมีขอบเขตไปสุดอยู่ตรงที่ เมื่อบุคคลอื่นมีความรู้สึกว่า
การใช้สิทธิ์เสรีภาพของคุณนั้น มันได้ไปกระทบถึงสิทธิของผู้อื่นเขา
สิทธิและเสรีภาพของคุณก็ไปสิ้นสุดลงตรงที่จุดนั้น

คำพูดนี้ของคุณนี้ ได้ถามกลับคุณทักษิณหรือยังครับ?.... เมื่อบุคคลอื่นมีความรู้สึกว่า
การใช้สิทธิ์เสรีภาพของคุณนั้น มันได้ไปกระทบถึงสิทธิของผู้อื่นเขา
สิทธิและเสรีภาพของคุณก็ไปสิ้นสุดลงตรงที่จุดนั้น
... "ความรู้สึก" ที่คุณเน้นนั้น ประชาชนก็รู้สึกครับ รู้สึกว่ากำลังมีคนละเมิดประโยชน์ประเทศชาติไปเป็นประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งการละเมิดสิทธิในการตรวจสอบด้วยกลไกองค์กรอิสระ กรณี สตง. นั้นชัดเจนมากครับว่า "ความรู้สึก" ของประชาชนเป็นอย่างไร... เกิดม๊อบต้านทักษิณก็ถูกแล้วนี่ครับ เพราะทักษิณมาละเมิดสิทธิเราก่อน


ก็เหมือนกับการชุมนุมประท้วง เขาสามารถอ้างสิทธิที่จะขับไล่ทักษิณได้
แต่เขาไม่สามารถจะไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นได้ เช่นไปกีดขวางการจราจร
ไปจนถึงห้ามไม่ให้ทักษิณลงเลือกตั้ง


เรื่องการกีดขวางการจราจรโดยพละการ อันนี้ผมเห็นด้วยว่าไม่ควร เพราะละเมิดสิทธิชัดเจน แต่ถ้าหากมีการประสานงานกับจราจรเสียก่อนเพื่อการจัดการต่างๆ แล้ว ผมเห็นด้วยว่าม๊อบทำถูกต้องแล้ว

ส่วนการห้ามไม่ให้ทักษิณลงเลือกตั้ง ไม่ได้หมายถึงในทุกกรณีนี่ครับ ถ้านายกฯเคลียร์ตัวเองชัดเจน และเกิดการปรับปรุงรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว คงไม่มีใครห้ามทักษิณลงเลือกตั้งครับ... ภาพนายกสีเทาไม่เคลียร์... "ความรู้สึก" ถูกละเมิดประโยชน์ชาติประชาชนประชาธิปไตยไม่เคลียร์ ยังไงปัญหาก็ไม่จบแน่ นายกฯ น่าจะรู้ตัวในจุดนี้เสียทีครับ แต่ถ้าไม่รู้ตัวจะลงเลือกตั้งก็ทำได้ แต่ม๊อบก็มีสิทธิต้านได้ครับ เป็นการสื่อสารที่มีพลังชัดเจน (ประกอบการเคลื่อนไหวผ่านช่องทางศาล) ถ้าม๊อบไม่มีความชอบธรรมตรงนี้ สุดท้ายคงไม่มีใครเข้าร่วมเอาด้วยเป็นแน่ครับ ... นักรบจริยธรรมคงอยู่ไม่ได้ครับถ้าประเด็นจริยธรรมผู้นำได้รับการเคลียร์แล้ว จะมาอ้างสิทธิเพื่อประโยชน์ส่วนตัวแบบทักษิณนี้ มีแต่สร้างปัญหาต่อไม่รู้จบครับ... คำถามที่สำคัญกว่าเรื่องสิทธิ น่าจะเป็นการกระทำของทุกฝ่ายนั้น ผลประโยชน์เพื่อใคร อะไรเป็นเหตุเกิดก่อนและหลัง เหตุตรงไหนจบปัญหาจบ ตรงนี้น่าจะเป็นหลักมากกว่าครับ

บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #27 เมื่อ: 16-07-2006, 14:03 »

คุณยังไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของมาตรานั้น

มาตรานั้นเขาบอกว่า ใครก็ตามจะอ้างสิทธิเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญได้เท่าไหร่ก็เชิญ
ตราบใดที่มันไม่ไปกระทบถึงสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเขา...

และถ้าคุณเข้าใจเสียแล้ว คุณก็ต้องคิดเลยต่อไปว่า

ทักษิณนั้น ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถูกหรือเปล่า ?
ทักษิณนั้น ต้องจ่ายภาษีถูกหรือเปล่า ?
ทักษิณถ้าไปฆ่าคนมีสิทธิถูกฉีดยาพิษใช่หรือเปล่า ?
แต่ทักษิณ ไม่มีสิทธิเล่นการเมือง หรือ ?
คุณฆ่าเขาได้ คุณเก็บตังค์เค้าได้ คุณบังคับเค้าให้ไปเลือกตั้งได้

แต่คุณห้ามไม่ให้เค้าเล่นการเมือง...ผมว่ามัน ประหลาดดีนะ
บันทึกการเข้า
พระพาย
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #28 เมื่อ: 16-07-2006, 14:31 »


คุณ Killer ครับ

ผมเข้าใจดี ... เหมือนกับที่คุณเขียนมานั่นแหละ

ถามว่าม๊อบห้ามทักษิณเล่นการเมือง... แต่ทักษิณถือ "สิทธิ" ในการเล่นการเมืองได้หรือไม่ ... ตราบใดที่ศาลยังไม่สั่งห้ามก็ย่อมได้ 100 %... OK?... ผมเขียนแบบนี้ คุณก็เขียนแบบนี้ ... ไม่เข้าใจอะไรตรงไหนเนี่ย?... (สมใจคุณยัีงหล่ะคับ)

แต่ที่คุณไม่เข้าใจก็คือ ม๊อบก็มี "สิทธิ" 100% ในการประท้วง สื่อสารและแสดงพลังกระตุ้นต่อมสำนึกของทักษิณ... ส่วนช่องทาง "ห้าม" ได้จริงๆ อยู่ที่ศาล ซึ่งม๊อบก็ดำเนินการอยู่

เห็นหรือยังครับ?... ถ้าหากคุณยังเน้นประเด็นเรื่อง "สิทธิ" อีก ปัญหามันไม่จบครับ ยกมากี่ทีคุณก็พูดถูกนั่นแหละ(แต่ก็ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะคุณไม่พยายามเข้าใจม๊อบ)

และถ้าหากคุณเข้าใจเรื่อง แรงกริยา-แรงปฏิกริยา การถือสิทธิของทักษิณในการเล่นการเมืองเพื่อ "ประโยชน์ส่วนตน" ที่เห็นได้อย่างชัดเจนกรณีหุ้นชินฯ ถือเป็นต้นเหตุ ย่อมเกิดแรงปฏิกริยาต่อต้านเพื่อแสดงสิทธิ "ตูทนตึงไม่ไหวแล้วโต้ย"... เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดขึ้นครับ

การสื่อสารแสดงออกทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างดุลสังคมและการเมือง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การเข้าใจร่วมกันใน "ประเด็นสาธารณะ" ของสังคมร่วมกัน ส่งเป็นแรงสนับสนุนศาลให้ทำงานอย่างชอบธรรม มองเห็นชัดเจนขึ้นทันที... จริงหรือไม่ครับ? (คนละกรณีกับการกดดันศาลนะครับ ถ้าหากม๊อบกดดันศาลแบบโสภณขอให้ยกตัวอย่างให้ชัดเจนด้วย)

ปล่อยๆ ให้ม๊อบทำหน้าที่ของตนเถิดครับ... พยายามเข้าใจเขาบ้างครับ
บันทึกการเข้า
ไทมุง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,543



« ตอบ #29 เมื่อ: 16-07-2006, 14:47 »


การชุมนุมขับไล่ทักษิณของพันธมิตร เป็นการแสดงออกทางการเมืองด้วยสิทธิของพลเมืองแห่ง The Kingdom of Thailand

กรณีสร้างความกระทบกระเทือนต่อผู้คนในกรุงเทพฯ ที่ต้องใช้พื้นที่สัญจร เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้

ต้องขอโทษด้วย  เพราะถ้ามัวแต่จะนอนต่อต้านทักษิณ/ขับไล่ สามหนา อยู่หน้าจอทีวี ส่ง SMS ไปไล่ คงไม่สะเทือน


บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #30 เมื่อ: 16-07-2006, 15:09 »

ประเด็นขายหุ้น Shin นี่ผมก็แนะนำให้ไปหาอ่านบทความ ของฟ้าเดียวกัน ดู

ก็มีคนบางคนมาบอกผมว่า อย่าแนะนำอย่างนั้น คนไทยยังไม่มีวุฒิภาวะที่จะไปรับรู้
ผมก็งง ด่าเอ๊า ด่าเอา พอมีการนำเสนอข้อเท็จจริงบางประการ
 ที่เขาสังเคราะห์ออกมาในเชิงวิชาการ
กลับปิดหูปิดตากันเสียอย่างนั้นแหละ
ก็ได้แต่ร้องว่า ขายชาติ อ๊อกไป๊
วนเวียนอยู่ในความมึนเมาของข่าวสาร

บทความทางวิชาการบางอย่าง ผมเคยปรึกษาคุณ Can ควรเอาลงหรือเปล่า
คุณ Can บอกผมว่าให้มันแพร่หลายอยู่ในวงวิชาการอย่างนั้นแหละ
แต่อีกไม่กี่วัน มันไป หรา...อยู่บนบอร์ด Pantip แบบไม่มี เซนเซอร์
ผมก็งงอยู่ทุกวันนี้ แล้วเราจะมาแสวงหาความจริง จากข้อมูลที่ขาดๆวิ่นๆ กันทำไม
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #31 เมื่อ: 16-07-2006, 15:10 »


การชุมนุมขับไล่ทักษิณของพันธมิตร เป็นการแสดงออกทางการเมืองด้วยสิทธิของพลเมืองแห่ง The Kingdom of Thailand
กรณีสร้างความกระทบกระเทือนต่อผู้คนในกรุงเทพฯ ที่ต้องใช้พื้นที่สัญจร เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้
ต้องขอโทษด้วย  เพราะถ้ามัวแต่จะนอนต่อต้านทักษิณ/ขับไล่ สามหนา อยู่หน้าจอทีวี ส่ง SMS ไปไล่ คงไม่สะเทือน

ผมขมวดประเด็นให้แล้วนะครับ ว่าการไปห้ามเขาเล่นการเมืองมันอาศัยสิทธิอะไรมิทราบ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: