ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
11-04-2025, 04:21
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ชายคาพักใจ  |  เอาบทความมาให้อ่าน วันพระ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
เอาบทความมาให้อ่าน วันพระ  (อ่าน 2425 ครั้ง)
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« เมื่อ: 10-07-2006, 08:47 »

จงอย่าใช้ “เมื่อวาน” ไปจนถึง “วันพรุ่งนี้”
 
วันนี้เป็น “วันอาสาฬหบูชา” ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญยิ่งอีกวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่ “พระพุทธเจ้า” ทรงแสดง “ปฐมเทศนา” ที่ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ประกาศ “พระพุทธศาสนา” ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก

วันนี้ผมเลยหาเรื่องเบาๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อความเจริญทางจิตและความสงบสุขทางใจ ไม่รกไปด้วยเรื่องกิเลสการเมืองที่กำลังเมามันอยู่ในขณะนี้

เรื่องที่จะเล่านี้ผมเอามาจากหนังสือ “ศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จ-อี้จิง” ของคุณมนตรี ภู่มี ที่ใช้เวลาค้นคว้ากว่ายี่สิบปี ศาสตร์อี้จิงนี้เป็นมรดกปรัชญาจีนโบราณเพื่อการยกระดับวิถีชีวิต ซึ่งผมเห็นว่าเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาเขียนถึงในวันมงคลทางพุทธศาสนาในวันนี้

แค่ชื่อเรื่องก็น่าสนใจแล้วละครับ

จงอย่าใช้ “เมื่อวาน” ไปจนถึง “วันพรุ่งนี้” เพราะเพียงชั่วข้ามคืน “วันนี้” ก็หมดไป และกลายเป็น “อดีต” เมื่อวันพรุ่งนี้มาถึง

แค่วันนี้กับวันพรุ่งนี้ ทุกคนก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือหรือไม่ ประวัติศาสตร์การเมืองก็มีให้เห็นมากมาย ต่อให้ผู้ที่ฉลาดที่สุดในที่สุดก็ต้องตกอยู่ในกับดัก ไม่กับดักของตนเอง ก็กับดักที่ฝ่ายตรงข้ามวางไว้

คุณมนตรี ภู่มี ให้ข้อคิดในหนังสือเล่มนี้ไว้อย่างแหลมคมว่า

“ปัญหาใหญ่หลวงในชีวิตนั้น มักเกิดมาจากการที่เราทำตัวคล้ายกับปลา คือเอาแต่กระเสือกกระสนแหวกว่าย “ไปข้างหน้า” อยู่ถ่ายเดียว เมื่อเกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นครั้งคราวใด เราก็เอาแต่พยายาม “ดัน” ไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนทำให้ยิ่งเกิดผิดพลาดซํ้าแล้วซํ้าเล่าหนักขึ้นไปอีก ไม่ต่างอะไรกับตกอยู่ในบ่อทรายดูด ยิ่งดิ้นรนก็ยิ่งจมลึกลง

สิ่งที่ อี้จิง แนะนำเราคือ แค่เพียงรู้จัก “ปล่อยวาง” ปัญหา และหยุดกระเสือกกระสนดิ้นรน บางทีทุกอย่างอาจจบลงด้วยดี หรืออย่างน้อยเราก็ไม่ถูก “ดูด” จนจมลึกยิ่งไปกว่าเดิม

ฟังครั้งแรกนี่อาจเหมือนการรามือท้อถอยไม่ยอมสู้ ทว่าสิ่งสำคัญ ก็คือ ใน “สภาพจิต” เยี่ยงนั้น ไม่มีทางเลยที่เราจะแก้ปัญหาได้อย่าง มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ใน “สภาพจิต” ดังว่า เราไม่มีทาง “หยั่งรู้” หรือประเมินผลของการต่อสู้นั้นๆเลยว่า มีคุณค่าควรหรือไม่ เพราะเหนือกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด คำถามที่สำคัญคือ เราสามารถ “เอาชนะ” ตัวเองก่อนที่จะเอาชนะผู้อื่นหรือสิ่งอื่นๆภายนอกได้หรือไม่”

อ่านหลายประโยคนี้แล้ว ผมก็อยากจะ ส่งผ่าน ไปยัง หัวหน้าพรรคการเมือง ที่กำลังหน้าดำคร่ำเคร่งเย้ยฟ้าท้าดินต่อสู้แย่งชิงอำนาจทั้งหลาย เพราะดูแล้วแต่ละคนที่กำลังกระเสือกกระสนดิ้นรนไปวันๆ ก็ไม่ต่างไปจาก “ปลา” ที่กระเสือกกระสนแหวกว่ายไปข้างหน้าถ่ายเดียว อย่างที่ คุณมนตรี ภู่มี เปรียบเทียบให้เห็น

อีกประโยคที่ลึกซึ้งก็คือ

“หลักในศาสตร์อี้จิงเน้นยํ้าอยู่ตลอดเวลาว่า การมีความรับผิดชอบต่อตัวเองนั่นแหละ จึงจะเป็นวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด

กล่าวคือ ให้รู้จักวกกลับมา “มองข้างใน” ซึ่งหมายถึงว่า หากเราสามารถปรับเปลี่ยน “ด้านใน” ให้มีความคิดเห็นที่ถูกต้องแล้ว นั่นย่อมนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง และการกระทำที่ถูกต้องก็จะตามมาเองโดยธรรมชาติ

ในมุมกลับกัน การกระทำที่ถูกต้องนั้น ย่อมส่งผลย้อนกลับมาที่ด้านในอีกครั้ง โดยทำให้มีความคิดเห็นและการตัดสินใจที่ถูกต้องยิ่งๆขึ้นในคราวต่อไป เพราะได้เห็นผลในแง่ปฏิบัติแล้วนั่นเอง”

ผมอยากให้นักการเมืองไทยซื้อหนังสือเล่มนี้ไปอ่าน เผื่อบุญกุศลจะส่งผลเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดไปในทางที่ดีขึ้น คิดถูก ตัดสินใจถูก และทำถูก บ้านเมืองจะได้หายวิกฤติเสียที.

“ลม เปลี่ยนทิศ”
 
 
http://www.thairath.co.th/news.php?section=society03&content=12091
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10-07-2006, 11:06 »

วันเข้าพรรษา

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ

เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร

แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์

การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.dhammathai.org
 
http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=24410&NewsType=2&Template=1

บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 10-07-2006, 11:08 »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญ เดือนอาสาฬหะ หรือ เดือน 8 เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่ พระพุทธเจ้า ทรงประกาศ พระศาสนาครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมี พระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนา จนถือว่า เป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) เนื้อหาว่าด้วย ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุนิพพาน ฤาษีโกณฑัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบวชเป็น พระสาวกรูปแรก ที่เป็น ประจักษ์พยาน ในการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยเป็นประเทศแรก ในบรรดาประเทศ ที่นับถือพระพุทธศาสนา ที่ประกาศให้มี วันอาฬหบูชา และถือปฏิบัติมา จนกระทั่งปัจจุบัน

วันอาสาฬหบูชาจัดเป็นวันที่สำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นในโลก คือ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญเดือน 8 (เดือนกรกฎาคม) อาสาฬหบุชา ย่อมาจากคำว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 8 ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หลัง

วันนี้ในครั้งพุทธกาลกว่า 2500 ปีมาแล้ว เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่

ทุกข์ ความไม่สบาย ไม่สบายใจ
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
นิโรธ ความดับทุกข์
มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

เพื่อเป็นการระลึกนึกถึงวันอันเป็นมงคลนี้ ชาวพุทธทั่วทั้งประเทศจะทำบุญ และรักษาศีล บางคนก็ไปวัดเพื่อถวายอาหาร และจตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระสงฆ์ และฟังพระธรรมเทศนา เพื่อขัดเกลาจิตใจ โดยปกติวันอาสาฬหบูชา จะมีขึ้นก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน กล่าวคือ วันเข้าพรรษาจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ

พุทธศาสนิกชนไปร่วมทำบุญ ใส่บาตรและฟังเทศน์ที่วัด ในตอนเช้า

ในตอนเย็น และค่ำ พระภิกษุ สามเณร ฆราวาสประชุม ร่วมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือหน้าประสถูปเจดีย์ มือถือ ดอกไม้ธูปเทียน ยืนประนมมือสำรวมจิต พระสงฆ์เป็นผู้ กล่าวนำบูชา จบแล้วทำประทักษิณ หรือเดินเวียนขวา (เดินให้มือขวาเข้าหาสิ่งที่เราเคารพ ในกรณีนี้ก็คือเดินให้ มือขวาเข้าหาพระอุโบสถ หรือพระสถูปเจดีย์

ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน

ขอบคุณข้อมูลจาก http://sunsite.au.ac.th

http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=24316&NewsType=2&Template=1

 Smile
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #3 เมื่อ: 10-07-2006, 11:52 »

ขอบพระคุณ ค่ะ พี่นทร์

ขอบคุณมากๆ ...แม้ว่า หนูจะสวดมนต์ สรรญเสริญพระพุทธคุณ อยู่บ่อยๆ
แต่การได้รำลึกถึง โอกาส สำคัญที่สุด ในพุทธศาสนา ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
ก็เป็นความรู้สึก ที่ ปิติสุขมากๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ที่เอาบทความ ในวันพระ มาฝาก...

 Very Happy

สาธุ ค่ะ พี่
บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
หน้า: [1]
    กระโดดไป: