ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 03:07
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สำหรับคนที่เชื่อว่าตัวเองใจกว้างและมีสติพอจะรับฟังผู้ที่คิดไม่เหมือนตัวเองได้ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สำหรับคนที่เชื่อว่าตัวเองใจกว้างและมีสติพอจะรับฟังผู้ที่คิดไม่เหมือนตัวเองได้  (อ่าน 3821 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 09-07-2006, 08:25 »

เอาบทสัมภาษณ์แสดงมุมมองที่แตกต่าง
มาฝากสำหรับคนที่เชื่อว่าตัวเองใจกว้างและมีสติพอจะรับฟังผู้ที่คิดไม่เหมือนตัวเองได้
คนที่อคติมากไม่ต้องเสียเวลาอ่านก็ได้ เพราะคงไม่มีประโยชน์
ตรงไปเขียนคำด่า ประณาม ยัดเยียดคนพูดให้เป็นสาวก ลิ่วล้อ ทักษิณได้เลย

สัมภาษณ์ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (1) : การเคลื่อนไหว 2549 ‘รัฐประหารของคนชั้นกลาง’

ประเด็นการเมืองไทยช่วงนี้อยู่ตรงไหน ขณะที่อำนาจในการจัดการกับความขัดแย้งไปอยู่ที่ฝ่ายตุลาการ และดูเหมือนความขัดแย้งที่ระอุเดือดในช่วงต้นปีได้ผ่อนน้ำหนักลง แต่ในท่ามกลางความผ่อนคลายลงนี้ เราจะทำความเข้าใจมันอย่างไร

‘ประชาไท’ ไปจับเข่าคุยกับ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักศึกษาปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวายอิ เจ้าของคอลัมน์ ‘คุยบนหอคอย’ ในนิตยสารฉบับหนึ่งที่ปิดตัวไปแล้ว ศิโรตม์มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและนิตยสารหลายฉบับมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น เขายังเป็นหนึ่งในปัญญาชนน้อยรายที่เชื่อมโยงความรู้เข้ากับการเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โครงการภาพยนตร์สั้น ‘ใต้ร่มเงาสมานฉันท์’, การจัดตั้งสหภาพแรงงานของคนงานในนิคมอุตสาหกรรม

ศิโรตม์เป็นหนึ่งในคนไทยน้อยรายที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนนี้ลาออกตั้งแต่สองปีที่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์กรือเซะ-ตากใบ แต่ในช่วงที่คนหลายฝ่ายชูธงนายกพระราชทานเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี ศิโรตม์กลับเคลื่อนไหวในกลุ่มอดีตนักกิจกรรมและนักศึกษาไทยในต่างประเทศ เพื่อคัดค้านการต่อสู้แนวทางนี้มาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เพราะเขาชื่นชอบทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย แต่เพราะเขาเห็นว่าประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการขับไล่นายกรัฐมนตรีสารเลว

ศิโรตม์บอกว่า ‘ฐานของอำนาจที่ชอบธรรม’ นั้น คือประเด็นใจกลางของการต่อสู้ทางการเมืองในช่วงหลายสิบปี เขาเสนอว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2549 ไม่ได้มีสาระสำคัญอยู่ที่การขับไล่นายกรัฐมนตรี หรือ ‘พระราชอำนาจ’ แต่คือการเกิดการเมืองแบบ ‘ข้ามชนชั้น’ ที่วางอยู่บน ‘วาระทางการเมือง’ บางอย่าง ซึ่งชนชั้นสูงและชนชั้นกลางต้องอาศัยภาพของชนชั้นล่างเป็นฐานของความชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมือง

ในสถานการณ์เช่นนี้ ศิโรตม์เปิดประเด็นว่าการเคลื่อนไหวที่ไม่ระมัดระวัง อาจนำไปสุ่การ ‘ปล้น’ การเมืองแบบรากหญ้าไปเพื่อสดุดีอำนาจการเมืองแบบจารีต ทำให้ภาคประชาชนเป็นแค่ ‘หางเครื่อง’ ของการต่อสู้ทางการเมือง นอกจากนั้น เขายังตั้งคำถามต่อปัญญาชนฝ่ายที่ไม่ทำหน้าที่เป็น ‘สติ’ ให้กับสังคมในสถานการณ์เช่นนี้ โดยเฉพาะนักกฎหมายปีกที่ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นแค่เรื่องเทคนิคทางกฎหมาย ไม่คำนึงถึงหลักการทางการเมือง

ข้อกล่าวหาอีกหลายประการอันทิ่มแทงใจคนดีกู้ชาติ มาพร้อมคำอธิบายเป็นระบบ ด้วยน้ำเสียงนุ่มมั่กๆ ....เป็นความนุ่มนวลประการเดียวที่ปรากฏระหว่างการสัมภาษณ์ แต่ไม่สามารถทำให้ปรากฏในบทความได้ เว้นแต่ท่านจะอ่านออกเสียงและจินตนาการแบบนี้ไปด้วยพร้อมๆ กัน

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=4078&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #1 เมื่อ: 09-07-2006, 08:45 »

ความไม่ลงหลักปักฐานของความชอบธรรมของอำนาจในการเมืองไทย

ปัญหาที่สำคัญมากในสังคมไทยก็คือการแสวงหาว่า อำนาจที่ชอบธรรมทางการเมืองคืออะไร

สิ่งที่เราต้องพยายามทำความเข้าใจการเมืองในปี 2549 ก็คือ เราต้องพยายาม locate มันในบริบทของประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ถ้ามองการเมืองไทยด้วยสายตาแบบนี้ เราก็จะเห็นว่าประเด็นใจกลางของการเมืองไทยสมัยใหม่คือการพยายามหาว่าอะไรคือ ฐานของความชอบธรรมทางการเมือง ส่วนการต่อสู้ทางการเมืองก็คือการต่อสู้ที่คนแทบทุกฝ่ายต้องอ้างอิงกับหลักการบางอย่างเพื่ออธิบายว่า อะไรทำให้ฝ่ายตนเองชอบธรรมที่จะมีอำนาจทางการเมือง รวมทั้งอะไรที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่มีความชอบธรรม

ในเชิงประวัติศาสตร์ความคิดนั้น ผมคิดว่าปัญหาเรื่องความชอบธรรมทางการเมืองคืออะไรก็ดี หรืออำนาจการเมืองที่ชอบธรรมคืออะไรก็ดี เป็นเรื่องที่ไม่มีในสังคมไทยมาก่อน

ต่อให้เราเชื่อว่าการปกครองโดยกษัตริย์ของไทยวางอยู่บนความคิดเรื่องชาติกำเนิด สิทธิทางสายเลือด หลักเทวสิทธิ์ หรือหลักทศพิศราชธรรม ผมกลับเห็นว่าหลักการเหล่านี้เป็นเรื่องที่ถูกสร้างและตอกย้ำอย่างกว้างขวางในเงื่อนไขบางอย่าง โดยหนึ่งในเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดก็คือการเกิดการเมืองสมัยใหม่ขึ้นมา

คิดในแง่นี้ ความชอบธรรมทางการเมืองเป็นประเด็นที่สำคัญในเงื่อนไขที่อำนาจทางการเมืองมีความเป็นปึกแผ่น ซึ่งสภาพเช่นนี้ไม่เคยมีอยู่ในการปกครองแบบโบราณของไทย ไม่ว่าจะในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น อำนาจของกษัตริย์นั้นดำรงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ขณะที่ราชธานีแทบทั้งหมดก็มีอำนาจการปกครองเหนือหัวเมืองไม่กี่แห่งที่อยู่ในระยะไม่ไกลเกินไป

อำนาจทางการเมืองในเงื่อนไขแบบนี้อ่อนแอ เปราะบาง กระจัดกระจาย และแยกย่อย จนไม่จำเป็นต้องนิยามว่าอำนาจที่ชอบธรรมคืออะไร หรือใครคือผู้ซึ่งชอบธรรมที่จะขึ้นมาเป็นกษัตริย์ เหตุผลง่ายๆ คืออำนาจการเมืองไม่ได้มีความเป็นปึกแผ่นพอที่จะทำให้การคิดแบบนี้เป็นเรื่องที่จำเป็น


ก่อนสมัยใหม่...คนที่มีอำนาจก็คือคนที่กุมอำนาจทางทหารได้

ในความหมายนี้ อำนาจทางการเมืองในสังคมไทยโบราณก็เหมือนกับอำนาจในสังคมชนเผ่าทั้งหลาย นั่นก็คืออำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับอำนาจทางการทหาร และเมื่ออำนาจการเมืองขึ้นอยู่กับอำนาจทางการทหาร ก็หมายความต่อไปว่าอำนาจการเมืองขึ้นต่ออำนาจในการควบคุมกำลังคน

ในสังคมโบราณแทบทั้งหมด อำนาจทางการเมือง-การทหาร-การควบคุมคนนั้น เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้ ‘กำลัง’ คือรากฐานของอำนาจ และใครที่มีกำลังมาก ก็ย่อมมีอำนาจทางการเมือง

สภาพทางการเมืองแบบนี้ถูกจำลองให้เห็นในภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัย เพราะสุริโยทัยพูดถึงอำนาจการเมืองในช่วง พ.ศ.2089-2091 โดยมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ 5 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้นำทางทหาร มีอำนาจด้วยด้วยการยึดอำนาจและกำจัดกษัตริย์คนก่อน ซึ่งธรรมชาติของการเมืองไทยในช่วงก่อนสมัยใหม่ก็เป็นแบบนี้ นั่นคือไม่มีฐานที่ชัดเจนว่าใครคือคนที่เหมาะสมที่จะมีอำนาจ และคนที่คุมอำนาจทางทหารได้ก็คือคนที่เหมาะสมที่สุดในการมีอำนาจการเมือง

มักคิดกันว่ากษัตริย์ในสังคมไทยโบราณอาศัยคำสอนทางศาสนาเป็นฐานของความชอบธรรมทางอำนาจ แต่การที่กษัตริย์อ้างอิงตัวเองเป็นหน่อพระพุทธเจ้าหรือผู้มีบุญในรูปต่างๆ ถือเป็นเรื่องที่เล็กมากเมื่อเทียบกับที่กษัตริย์ในโลกตะวันตกอาศัยศาสนจักรเป็นฐานของอำนาจทางการเมือง

ในกรณีของฝรั่งในบางช่วง ความเป็นกษัตริย์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อบุคคลได้รับการแต่งตั้งจากสันตะปาปาและวาติกัน ขณะที่ศาสนาและศาสนจักรไม่ได้สำคัญต่อการขึ้นครองอำนาจของกษัตริย์ในสังคมไทยมากถึงขั้นนี้

คิดในแง่นี้ อำนาจทางการเมืองในสังคมไทยในช่วงก่อน ร. 5 หรือก่อนสมัยใหม่ จึงเป็นอำนาจที่ดิบ วางอยู่บนอำนาจทางการทหารมากกว่าการอ้างอิงกับหลักการที่เป็นนามธรรม ส. ธรรมยศ จึงเขียนว่าเราเปลี่ยนกษัตริย์ทุกๆ 10 ปี โดยการตัดหัว ซึ่งเป็น Argument ที่แรงมากๆ โดยเฉพาะจากบรรทัดฐานของคนยุคปัจจุบัน

มองจากมุมนี้ บุคลิกประการหนึ่งที่สำคัญของอำนาจการเมืองในสังคมไทยในช่วงก่อนสมัยใหม่ ก็คือการไม่มีฐานว่าอะไรคืออำนาจที่ชอบธรรม นี่หมายความต่อไปว่าในการสร้างการเมืองสมัยใหม่นั้น ปัญหาว่าอำนาจที่ชอบธรรมคืออะไรกลายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญที่สุด

เวลาคนไทยพูดเรื่องการใช้ศาลเพื่อยุติปัญหาทางการเมืองในขณะนี้ มันก็สะท้อนว่า ขณะที่คนส่วนหนึ่งเห็นว่ารัฐบาลที่ชอบธรรมคือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็มีคนอีกส่วนที่เห็นว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอาจไม่ชอบธรรมก็ได้ ส่วนศาลต่างหากที่เป็นคืออำนาจที่ชอบธรรม เพราะศาลคือส่วนหนึ่งของพระราชอำนาจ และพระราชอำนาจนั้นมีสถานะสูงกว่าอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง


การเมืองในสมัย ร. 5 คือการทำให้อำนาจทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์

การไม่มีฐานของอำนาจทางการเมืองที่ชอบธรรมนี้เปลี่ยนเพราะอะไรบ้าง? ผมคิดว่ามันเปลี่ยนเมื่อเกิดสภาพแวดล้อมใหม่ที่สำคัญมากๆ นั่นก็คือการเกิดภาวะ Modernity หรือภาวะสมัยใหม่ อันนำไปสู่กำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ควบคู่ไปกับการสร้างการเมืองแบบที่อำนาจการเมือง ‘รวมศูนย์’ อยู่ที่พระราชา

ในการทำให้กษัตริย์เป็นศูนย์กลางของอำนาจได้สมบูรณ์แบบนั้น ภารกิจที่สำคัญมากที่สุดข้อหนึ่งคือการป้องกันไม่ให้ขุนนางหรือผู้นำทางการทหารมีโอกาสตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ได้ต่อไป คำอธิบายว่ากษัตริย์ได้แก่คนผู้มีสถานะพิเศษบางอย่างจึงเกิดขึ้นบนเงื่อนไขนี้ และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของความพยายามอธิบายว่า อะไรคือฐานของอำนาจการเมืองที่ชอบธรรม

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 คือการพยายามที่จะสถาปนาหลักการว่า ใครคือคนที่มีสิทธิจะเป็นกษัตริย์ ซึ่งในอดีตไม่มีหลักการที่ชัดเจนขนาดนี้ แต่ในสมัยรัชกาลที่5 เป็นครั้งแรกที่มีความชัดเจนว่า Ground ของความชอบธรรมทางการเมืองคืออะไร ซึ่งหนึ่งในหลักการนี้ก็คือคนที่เป็นสายเลือดของกษัตริย์โดยตรง หรือพูดอีกอย่างก็คือคนที่เป็นประมุขของชนชั้นสูงทั้งหมดในสังคมไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-07-2006, 08:48 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ThailandReport
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,415


« ตอบ #2 เมื่อ: 09-07-2006, 08:56 »

ทั้งหลายทั้งปวงที่ นักวิชาการ(จอมปลอมรึเปล่าไม่ทราบ) ท่านนี้เขียนขึ้น..น่าอ่านมาก
เพราะใช้ความพยายามเหลือเกิน ที่จะอธิบาย ความคับแคบทางวิสัยทัรรศน์ของท่านออกมาให้คนเห็น

ลักษณะข้อเขียน นั้น เป็นกลางแล้วหรือ?...
มันก็แค่การหาความชอบธรรมให้กับอำนาจ ของรัฐบาลที่ กระทำผิดต่อบ้านเมือง หลายข้อ
ผิดทั้งทางกฎหมายและทางจริยธรรม คุณธรรม

รัฐถูกศาลตัดสินว่า ออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เช่นกรณีการไฟฟ้า - เอื้อประโยชน์สัมปทานต่างๆ จัดเลือกตั้งไม่สุจริต ฯลฯ
ผู้นำซุกหุ้น หาประโยชน์พวกพ้อง ปกป้องผู้รับเหมาที่เอาประโยชน์จากคอรัปชั่นเชิงนโยบาย ฯลฯ
หุ้นตก เศรษฐกิจหยุดนิ่ง ฯลฯ เพราะการเมือง ใช่หรือไม่


ไม่เคยเห็นผู้นำคนไหนจะ ไร้ยางอายขนาดนี้ ถ้าอารยะประเทศ เขาลาออกกันไปนานแล้ว !! ไม่ด้านอยู่ขนาดนี้หรอก
ด้านกันเป็นขบวนการ บ้านเมืองวิกฤติที่สุดในโลกขนาดนี้ ยังเกาะเก้าอี้แน่น หวงอำนาจ
คิดจะมองด้านเดียวแบบนี้ ไปสมัครเป็น กกต.เลยดีกว่าไหม?จะได้ชัดเจนกันไปเลย ไม่ต้องมาสวมบท ปลอมแปลงร่าง อ้างวิชาการ
ในเมื่อแก้ปัญหาความสงบไม่ได้นานแรมปี จะหวงอำนาจไปโดยอ้างอะไรเป็นความชอบธรรม ?
สรุปจะอ้างว่า บ้านนี้เมืองนี้ ไร้คนดีแล้วหรือ จำต้องให้ตัวกูเท่านั้น คือผู้นำตลอดกาล อย่างนั้นใช่ไหม?


สิ่งเหล่านี้หาไม่เจอในข้อเขียนที่คุณลิ้งค์ไป
คนที่เขาเป็นนักวิชาการ ต้องนำเสนอ ปัญหา...พร้อมทางออก
แต่นี้ เหมือน ร้องทุกข์แทนไอ้เหลี่ยม
หาการนำเสนอแก้ปัญหาไม่มีสักข้อ...
เก่งแต่หาข้อมูลมาอารัมภทออกแขก แล้วเลี้ยวโค้งมาสรุป เอาอย่างที่ปักธงไว้ในใจเท่านั้น

หวังว่าคุณ Snowfake คงมีจิตใจที่เปิดกว้าง เช่นกัน
ยอมรับว่า ข้อเขียนนี้ ห่วยแตก!! เพียงแต่รสชาติ แปลกใหม่ !!
อ่อนนุ่ม เหลวเละ แต่ลุนละไม
พร้อมมีผักชีโรยหน้าจำนวนมากมาย ดูสวยงาม อย่างที่คุณพูด
อย่างน้อยก็ดีกว่า ข้อเขียนของพวกลิ่วล้อที่ไม่ชอบลงแรง แม้ว่าท้ายสุดอ่านแล้วจะแสดงความเขลาของตนอออกมาเท่ากันก็ตาม

ฮา ไม่ออกจริงๆ
รู้สึกผิดหวังในตัวคุณ Snowfake หน่อยๆแล้วหละ เรา


บันทึกการเข้า

The only thing necessary for the triump of evil is for good men to do nothing !!
สิ่งเดียวที่จะทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ นั่นคือการที่ คนดีๆนิ่งดูดาย !
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #3 เมื่อ: 09-07-2006, 08:59 »

2475 คือความพยายามที่จะต่อสู้เพื่อบอกว่า ‘อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน’

ถ้าเราเข้าใจประเด็นนี้ เราก็จะเข้าใจเรื่อง 2475 ต่อไปว่า 2475 คือความพยายามที่จะต่อสู้เพื่อบอกว่าอำนาจทางการเมืองที่ชอบธรรมไม่ได้โยงกับชาติกำเนิด แต่โยงกับสิ่งที่ปรีดีเรียกว่า ‘อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน’ ซึ่งถ้าพูดแบบตะวันตกก็คือ สิ่งที่เรียกว่า Popular Sovereignty นั่นก็คือความเชื่อว่า ปวงชนเป็นที่มาของอำนาจสูงสุดทางการเมือง

ปัญหาสำคัญก็คือการต่อสู้เพื่อให้แนวคิด ‘อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน’ กลายเป็นรากฐานของความชอบธรรมทางการเมือง เป็นเรื่องที่ไม่เคยถูกยืนยันอย่างจริงจัง มันเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ หลังจากที่คณะราษฎร์ยึดอำนาจได้ แต่หลังจากนั้นไม่นาน เวลาปรีดีพูดถึง 2475 ปรีดีก็จะแทบจะไม่พูดถึงคำว่า ‘อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน’ อีกต่อไป บางครั้งปรีดีจะพูดว่า 2475 เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบ ‘ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ นั่นก็คือปรีดีพยายามทำให้ 2475 ดูซอฟท์ลง ว่า 2475 ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อ Popular Sovereignty แต่ทำเพื่อรักษาระบอบการปกครองที่กษัตริย์เป็นใหญ่เอาไว้ เพียงแต่ป้องกันไม่ให้ระบอบนี้กลายเป็นการปกครองโดยอำเภอใจ

ท่าทีของปรีดีแบบนี้เป็นการประนีประนอมที่สำคัญในทางหลักการ เพราะมันเปิดโอกาสให้คิดต่อไปว่า ประชาชนอาจจะเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด แต่อำนาจสูงสุดนี้สามารถโอนไปที่กษัตริย์ได้ตลอดเวลา ทำให้ประเด็นหนึ่งที่มีการถกเถียงกันมากในการร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับในเวลานั้น ก็คือตกลงแล้ว อำนาจอธิปไตย ‘เป็นของ’ ประชาชน หรือว่าแค่ ‘มาจาก’ ประชาชนเท่านั้นเอง

พูดในเชิงหลักการแล้ว ความคิดเรื่อง ‘อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน’ เป็นคนละเรื่องกับความเชื่อว่าอำนาจอธิปไตยขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด ฉะนั้น อำนาจของพระมหากษัตริย์จึงควรอยู่ฝั่งหนึ่ง ส่วนอำนาจที่มาจากประชาชนก็ควรอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน แต่จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ 2475 จบลงด้วยความพยายามอธิบายว่า อำนาจสองแบบนี้ไม่ได้แยกจากกัน เพราะถึงจะมีที่มาต่างกัน แต่ก็ถ่ายโอนไปหากันและกันได้ นั่นก็คือการอธิบายว่าอำนาจสูงสุดอาจจะมาจากประชาชน แต่ว่าประชาชนยกอำนาจให้กษัตริย์ไปทำเรื่องต่างๆ ต่อไป

ประเด็นนี้เป็นลักษณะพื้นฐานอันหนึ่งที่คงอยู่กับสังคมการเมืองไทยมาจนปัจจุบัน อย่างเรื่องศาลก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า คนที่คิดว่าศาลสามารถเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งได้ เขาก็คิดอยู่บนฐานการคิดแบบนี้ว่า อำนาจทางการเมืองอาจจะอยู่ที่ประชาชนแต่ก็ยังมีอำนาจอื่นเข้ามาจัดการได้ เพราะว่าอำนาจนั้นได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนมาแล้วในทางใดทางหนึ่ง


คนที่นิยมเรื่องพระราชอำนาจ เชื่อว่ามีอำนาจที่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนถึงแม้ว่าในที่สุดแล้วจะตรวจสอบไม่ได้

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนี้เองที่เกิดความคิดทางการเมืองที่สำคัญมากแบบหนึ่งขึ้นมา นั่นก็คือความคิดเรื่อง ‘อเนกนิกรสโมสรสมมติ’ ซึ่งปัญญาชนฝ่ายนิยมเจ้าเอาความคิดทางการเมืองของฝรั่งบางอย่างมาปรับใช้ นั่นก็คือความคิดเรื่อง ‘การปกครองโดยฉันทานุมัติ’ (Consensus) ซึ่งเชื่อว่าการปกครองที่ชอบธรรมต้องมีต้นกำเนิดมาจากความเห็นพ้องร่วมกันของผู้อยู่ใต้ปกครอง

ในแวบแรกนั้น ประเด็นเรื่องการปกครองโดยฉันทานุมัติฟังดูเหมือนเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยก็วางอยู่บนความเชื่อว่าอำนาจการเมืองต้องมาจากประชาชน แต่ข้อแตกต่างที่ทำให้แนวคิดเรื่องฉันทานุมัติต่างจากแนวคิดประชาธิปไตย ก็คือมันซ่อนความคิดแบบนิยมกษัตริย์เอาไว้ เพราะมันบอกว่าอำนาจที่ชอบธรรมนั้นต้อง ‘มาจาก’ ประชาชน แต่อำนาจนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่กับประชาชนตลอดเวลา

ในความหมายนี้ อำนาจของกษัตริย์, ชนชั้นนำ, หรือชนชั้นสูง ก็ถือว่าชอบธรรมได้ เพราะเขาอ้างได้เขามีอำนาจจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชนในอดีตกาลอันไกลโพ้น และต่อให้จะไม่มีเงื่อนไขหรือโครงสร้างหรือสถาบันอะไรที่ยึดพวกเขาไว้กับประชาชนในปัจจุบัน ภายใต้กรอบการคิดแบบนี้ ก็ถือว่าคนเหล่านี้ชอบธรรมที่จะครอบครองอำนาจทางการเมืองการปกครอง

แนวความคิดเรื่องงประชาธิปไตยสมัยใหม่ไม่ได้คิดถึงอำนาจการเมืองอย่างเลื่อนลอยแบบนี้ ในทางตรงกันข้าม ประชาธิปไตยให้ความสำคัญต่อโครงสร้างและสถาบันทางการเมืองที่พิสูจน์ได้ ว่าคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองนั้น มีที่มาและยึดโยงอยู่กับประชาชนตลอดเวลา สถาบันอย่างรัฐสภาและการเลือกตั้งจึงเกิดขึ้นมาเพราะฐานการคิดแบบนี้ ขณะที่ความคิดเรื่องฉันทานุมัติไม่เน้นความเชื่อมโยงของสถาบันและโครงสร้าง สนใจแต่การอ้างอย่างเลื่อนลอยว่าชนชั้นปกครองชอบธรรมเพราะถูกประชาชนรับรองมาแต่ครั้งบรรพกาล

ในสังคมไทยเองนั้น คนที่ถกเถียงเรื่องพระราชอำนาจ เช่น ประมวล รุจนเสรี ก็ใช้ฐานคิดแบบนี้ในการอธิบาย ประมวลจึงอ้างตลอดเวลาว่าสถาบันกษัตริย์มีความชอบธรรมเพราะทำให้ประเทศไทยเป็นปึกแผ่นมาเป็นพันๆ ปี ซึ่งเวลาเป็นพันๆ ปีนั้น เป็นเวลาที่ความเป็นชาติไทยยังไม่เกิดด้วยซ้ำไป แต่นี่คือฐานของวิธีคิดของคนที่นิยมเรื่องพระราชอำนาจ ที่เชื่อว่ามีอำนาจที่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน ถึงแม้ว่าในที่สุดแล้ว อำนาจนั้นจะตรวจสอบไม่ได้ และ Verify ไม่ได้ว่าโยงใยกับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้างก็ตาม

อันที่จริง สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีส่วนสำคัญในการขยายแนวความคิดแบบนี้ โดยเฉพาะเมื่อเขาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยการรัฐประหาร, ฉีกรัฐธรรมนูญ และล้มการเลือกตั้ง แต่ในที่สุด ความคิดนี้ไม่ได้ถูกใช้โดยทรราชย์สฤษดิ์ฝ่ายเดียว หากยังเปิดช่องให้คนกลุ่มอื่นเอาไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน


สิ่งสำคัญของการเมืองไทยหลังสมัยใหม่คือคำถามว่า อะไรสำคัญที่สุดระหว่าง อำนาจที่อ้างฉันทานุมัติกับอำนาจที่พิสูจน์ได้ว่ามาจากประชาชน

เพราะฉะนั้นปัญหาหนึ่งที่สำคัญมากของการเมืองไทยในช่วงหลังสมัยใหม่ก็คือ ระหว่างอำนาจการเมืองแบบที่อ้างว่าตัวเองมาจาก Consensus (ฉันทานุมัติ) ของประชาชน กับอำนาจการเมืองแบบที่ Proof ได้อย่างชัดเจน มีโครงสร้างมีสถาบันที่ชัดเจนว่ามาจากประชาชน อะไรคืออำนาจที่สำคัญที่สุดในการเมืองไทย

ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยที่สำคัญทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับปัญหานี้ ตัวอย่างเช่นความขัดแย้งในกรณี 14 ตุลา 2516, พฤษภาคม 2535 หรือขบวนการขับไล่ทักษิณในปี 2549 ล้วนจบลงเมื่อกษัตริย์เข้ามาแสดงบทบาททางการเมือง นี่แสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทั้ง 3 ครั้ง แสดงถึงความเชื่อว่ากษัตริย์เป็นฐานของอำนาจทางการเมืองที่ชอบธรรมที่สุดในสังคมไทย
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 09-07-2006, 09:07 »

ผมกำลังอ่านอย่างละเอียดรอบที่ 1 ครับ

ตอนที่ 1

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=4078&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

ตอนที่ 2

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=4134&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

สักพักอ่านจบจะมาร่วมเสวนาครับ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #5 เมื่อ: 09-07-2006, 09:14 »

การเมืองไทยต้นปี 2549

การเคลื่อนไหวแบบพันธมิตรฯ หรือการเคลื่อนไหวแบบ 2549 ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องเชิดชูกษัตริย์


ถ้าคิดเรื่องการเมืองไทยด้วยสายตาแบบนี้ ก็จะเห็นแง่มุมหนึ่งที่สำคัญมากในขบวนการขับไล่ทักษิณในปี 2548-2549 ก็คือ มันเป็นการเคลื่อนไหวที่วางอยู่บนความพยายามที่จะบอกว่า อำนาจที่ชอบธรรมคืออำนาจแบบพระราชอำนาจ ไม่ใช่อำนาจสมัยใหม่ที่มีโครงสร้างเชิงสถาบันให้พิสูจน์ได้ว่ามาจากประชาชน ประชาชนควบคุมได้ ซ้ำยังถอดถอนอำนาจนั้นได้ตลอดเวลา

จุดแข็งที่สุดของขบวนการขับไล่ทักษิณคือการเป็นขบวนการ Popular Movement ที่มีฐานผู้สนับสนุนอย่างกว้างขวาง กระจายไปทุกพื้นที่ แต่ถ้ามองขบวนการนี้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางการเมืองว่าอะไรคืออำนาจการเมืองที่ชอบธรรม การขับไล่ก็วางอยู่บนการประกาศอย่างกลายๆ ว่าอำนาจที่ชอบธรรมคืออำนาจที่อิงอยู่กับพระมหากษัตริย์

ในมุมนี้ ขบวนการต่อต้านทักษิณไม่ได้เป็นแค่การขับไล่นายกรัฐมนตรีทรราชย์ เพราะนัยยะทางการเมืองที่สำคัญกว่านั้นก็คือนี่เป็นครั้งแรกที่เกิด Popular Movement ซึ่งเชิดชูหลักการทางการเมืองบางอย่างที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ในอดีตนั้น หลักการเรื่องนี้ถูกพูดและผลักดันจากเชื้อพระวงศ์ เช่นพระองค์เจ้าธานีนิวัติ, เสนีย์ และ คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือปัญญาชนพลเรือนฝ่ายนิยมเจ้าหลายต่อหลายราย แต่ในปี 2549 สื่อมวลชนสมัยใหม่, อาจารย์มหาวิทยาลัย, ปัญญาชนสาธารณะ, นักกฎหมายมหาชน, องค์กรพัฒนาเอกชนบางส่วน กลายเป็นขุมกำลังหลักในการผลิตซ้ำและเผยแพร่แนวความคิดเรื่องนี้ ขณะที่นักเคลื่อนไหวการเมืองแนวรากหญ้ากลับแสดงบทบาทหลักในการฉวยใช้ความเชื่อเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการต่อสู้บนท้องถนนครั้งสำคัญ


การเมืองในช่วงปี 2549 เป็นผลของการเสื่อมสลายลงของการเมืองภาคประชาชน และวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540

ผมคิดว่ามีสาเหตุที่ทำให้ Popular Movement หรือการเมืองภาคประชาชน สามารถหลอมรวมกับกระแสการเมืองแบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้ เพราะการเมืองภาคประชาชนในปี 2549 เป็นผลของความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองที่สำคัญมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา อย่างน้อยสองข้อ

ข้อแรกคือความเสื่อมถอยทางการเมืองของการเมืองภาคประชาชนโดยรวม

ข้อที่สองคือผลกระทบที่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มีต่อสภาพทางการเมืองของภาคประชาชน

ต้องยอมรับก่อนว่า ลักษณะสำคัญของการเมืองไทยในช่วงหนึ่งทศวรรษหลังจากเดือนพฤษภาคม 2535 ก็คือการเติบโตของประชาสังคมและภาคประชาชนทั้งในระดับแนวคิดและปฏิบัติการทางการเมือง โดยเฉพาะในแง่ปฏิบัติการทางการเมืองนั้น องค์กรอย่าง ครป. (คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย), เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ, สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน, สมัชชาคนจน หรือเครือข่ายคนชั้นรากหญ้าหลายแห่ง ก็เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงเวลานี้เอง

พูดโดยรวมแล้ว พฤษภาคม 2535 เปิดโอกาสให้การเมืองแบบที่เรียกว่า Grass-root Democracy ขยายตัวขึ้นอย่างกว้างขวางสมัชชาเกษตกรรายย่อยและสมัชชาคนจนมีพลังถึงขั้นที่กดดันให้รัฐบาลหลายชุดปฏิบัติตามข้อเรียกร้องบางอย่างได้อย่างต่อเนื่องขณะที่ ครป. และองค์กรในลักษณะคล้ายคลึงกัน ก็มีส่วนสำคัญมากในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง

ในช่วงปฏิรูปการเมืองในปี 1997 เราเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า Grass -Root Democracy มีพลังถึงขั้นที่ทำให้เกิดขบวนการธงเขียวได้ ซ้ำยังสามารถผลักดันให้แนวคิดเรื่องสิทธิชุมชนเข้าไปอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ถ้ายอมรับว่า Grass- Root Democracy เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองไทย ขบวนการขับไล่ทักษิณก็ Hi-Jack ลักษณะบางอย่างของ Grass- Root Democracy ไปเพื่อต่อสู้กับศัตรูทางการเมืองเฉพาะหน้า นั่นก็คือการเอาองค์กรภาคประชาชนและภาคประชาสังคมมาใช้ เคลื่อนไหวโดยวิธีชุมนุมและเดินขบวน จัดการชุมนุมโดยหยิบยืมทักษะจาก ‘ภาคประชาชน’ แต่ใช้ในเพื่อเป้าหมายที่แตกต่างจากที่ ‘ภาคประชาชน’ เคยใช้ นั่นก็คืออาศัย Grass -root Democracy ไปสนับสนุนแนวความคิดว่าอำนาจทางการเมืองที่ชอบธรรมคืออำนาจที่ไม่จำเป็นต้องมาจากประชาชน

เพราะฉะนั้นที่ถามว่าทำไมการเคลื่อนไหวในปี 2549 เป็นแบบนี้ ก็คือมันมีมรดกของ Grass Root Democracy อยู่ ซึ่งเมื่อถึง 2549 มันถูกเปลี่ยนสภาพ ถูก Hi-Jack ให้กลายเป็นหางเครื่องหรือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเมืองของชนชั้นนำไป

สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าคนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในปี 2549 ไม่เข้าใจ ก็คือ เขารู้สึกอยู่ตลอดเวลา เขาอยู่ท่ามกลางการเคลื่อนไหวของมวลชนที่มีความตื่นตัวอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งก็เป็นความจริงว่า มีคนจำนวนมากที่ตื่นตัวทางการเมืองและออกมาร่วมขบวนการขับไล่ทักษิณ แต่สิ่งที่ต้องคิดให้มากคือคนเหล่านี้เป็น ‘มวลชน’ หรือ ‘ประชาชน’ แบบที่ใครต่อใครใน ‘ภาคประชาชน’ ใฝ่ฝันถึงจริงๆ หรือเป็นคนชั้นกลางและคนชั้นสูงที่อาศัย ‘ภาคประชาชน’ ไปเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการผลักดันAgenda ทางการเมืองบางอย่าง ซึ่งหากไม่ระมัดระวัง ก็อาจทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังลงคลอง
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #6 เมื่อ: 09-07-2006, 09:21 »

หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 คนชั้นล่างจำนวนมากเข้าไปผนึกเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐ แล้วคิดว่าตนเองกำลังทำเพื่อประชาธิปไตย

ผมคิดว่าวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ Grass-Root Democracy เปลี่ยนรูปไป เพราะนอกจากวิกฤติทางเศรษฐกิจจะทำให้ชั้นกลางหรือชนชั้นนายทุนจำนวนหนึ่งพังทลายลงไปแล้ว มันยังทำให้คนยากจนและคนชั้นล่างจำนวนหนึ่งไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะต่อสู้และสร้างขบวนการทางการเมืองที่เข้มข้นได้ต่อไปอีก

เราจะเห็นว่าในทันทีที่ทักษิณและไทยรักไทยต้องการจะตั้งพรรคการเมือง สิ่งที่เขาทำก็คือเขาพยายามที่จะอาศัยวิกฤติทางเศรษฐกิจและความต้องการของชนชั้นล่างเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์สูงที่สุดของเขา เขามีการตั้ง Forum ต่างๆ เขามีการตั้ง Panel ต่างๆ ขึ้นมาเยอะมากเพื่อดูว่าชนชั้นล่างต้องการอะไร และมันก็นำไปสู่นโยบายแบบประชานิยม

เราอาจวิจารณ์หรือประเมินนโยบายประชานิยมของรัฐบาลได้หลายแง่ แต่ในแง่การเมืองนั้น ประเด็นหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ ประชานิยมส่งผลให้องค์กรประชาสังคมหรือ ‘ภาคประชาชน’ จำนวนมากหายไป ‘ประชาชน’ กลายเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยม, เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน, รวมทั้งเป็นสาขาของเครือข่ายต่างๆ ที่รัฐบาลไทยรักไทยทำขึ้นมา

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ก็คือองค์กรหรือคนชั้นล่างจำนวนมากเข้าไปผนึกเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจรัฐ โดยมองไม่เห็นว่าในระยะยาว หรือจริงๆ ก็ไม่ใช่ระยะยาวด้วยซ้ำ ในระยะเวลาแค่ 10 ปี ทั้งหมดนี้ มันส่งผลให้ Grass-root Democracy แทบจะหายไปอย่างสิ้นเชิง

ถ้าเปรียบเทียบความตื่นตัวของขบวนการประชาสังคมในปี 2549 กับในสมัยรัฐบาลชวน ก็จะเห็นชัดว่าปี 2549 มีความตื่นตัวในระดับที่ต่ำลงไปมาก ขณะที่ในสมัยรัฐบาลชวนนั้น เราจะพูดอยู่ตลอดเวลาว่ารัฐบาลชวนปล่อยหมามากัดคนจน แต่ในช่วงที่เกิดนโยบายประชานิยม เราไม่มีคนจนชุมนุมหน้าทำเนียบต่อไปอีกแล้ว เพราะว่าคนจนมีสายสัมพันธ์กับคนในทำเนียบได้โดยตรง

ขณะที่ คนชั้นล่าง, คนชนบท และคนชั้นรากหญ้าจำนวนหนึ่งก็ผนึกตัวเองกับระบบนี้ เพราะรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าระบบนี้ให้ประโยชน์มากกว่าระบบแบบที่ผ่านมา คนจนและคนชั้นรากหญ้าอีกหลายกลุ่มกลับได้รับผลกระทบกระเทือนนโยบายจากต่างๆ ของรัฐบาล คนฝ่ายหลังมองไม่เห็นทางออกไปจากสภาพเช่นนี้ และในเงื่อนไขเช่นนี้เองที่พวกเขาหันไปฉวยใช้อะไรก็ได้ที่สามารถเป็นอาวุธในการขับไล่รัฐบาล

การเมืองในช่วงหลังจากนี้ไปจะอยู่ในจุดที่ชนชั้นล่างจะมีความสำคัญมากขึ้น

การเมืองในช่วงหลังจากนี้ไปจะหักล้างความเชื่อว่าคนชั้นล่างและคนจนไม่มีความสำคัญทางการเมือง ในทางตรงกันข้าม คนกลุ่มไหนประสบความสำเร็จในการช่วงชิงภาพของคนชั้นล่างและ ‘มวลชน’ ให้อยู่ฝ่ายตัวเองได้ คนกลุ่มนี้คือคนที่จะมีชัยชนะในการต่อสู้ทางการเมือง

ถ้าเชื่อว่าการต่อสู้ทางการเมือง คือการต่อสู้เพื่อบอกว่าอะไรคืออำนาจทางการเมืองที่ชอบธรรม อำนาจที่ชอบธรรมในสังคมสมัยใหม่คืออำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งคืออำนาจที่เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ หรือพูดอีกอย่างก็ได้ว่าอำนาจที่ชอบธรรมในการเมืองสมัยใหม่คืออำนาจที่วางอยู่บน ‘ปริมาณ’ และ ‘จำนวน’

ในเงื่อนไขแบบนี้ ยุทธศาสตร์สำคัญของฝ่ายที่ต้องการเชิดชูอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็คือ การหาช่องทางอะไรก็ได้เพื่อจะบอกว่าเขาเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ ต่อให้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งหรือสถาบันทางการเมืองที่ประชาชนควบคุมตรวจสอบได้ก็ตามที

ต้องยอมรับความจริงว่ารัฐบาลทักษิณเปรียบได้กับคนป่วยใกล้ตาย อุปกรณ์ช่วยชีวิตเพียงอย่างเดียวที่ทำให้คนป่วยรายนี้อยู่ได้ก็คือความชอบธรรมทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การฆ่าทักษิณจึงต้องเริ่มต้นที่การทำให้การเลือกตั้งไม่ได้เป็นฐานรากของความชอบธรรมทางการเมือง

 ‘ภาพ’ ของคนชั้นล่างจึงสำคัญที่สุดในการปฏิบัติภารกิจทางการเมืองข้อนี้ เพราะถ้าทำให้ ‘ภาพ’ ของคนชั้นล่างหรือ ‘คนส่วนใหญ่’ ไปอยู่ฝ่ายเดียวกับพวกเขาได้ ก็ย่อมชอบธรรมที่พวกเขาจะหักล้างอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง, รัฐธรรมนูญ และสถาบันการเมืองในระบบรัฐสภา

นักเคลื่อนไหวต้องเข้าใจประเด็นนี้ว่าเราไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่การเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นสูงอีกต่อไป แต่เราอยู่ในสถานการณ์ที่ชนชั้นนำ ‘จำเป็น’ ต้องอาศัยชนชั้นล่างเป็นฐานของการสนับสนุนทางการเมืองและความชอบธรรมทางการเมือง เพราะฉะนั้นลักษณะของการเมืองจากนี้ไป จึงเป็นการเมืองซึ่งมีลักษณะ ‘ข้ามชนชั้น’ นั่นก็คือการเมืองซึ่งคู่ต่อสู้แต่ละฝ่ายไม่ได้แสดงตัวว่าเป็นของชนชั้นหนึ่งชนชั้นใดอย่างเห็นได้ชัด แต่ทุกฝ่ายต้องอาศัยพลังต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับฝ่ายตัวเอง

ในกรณีของการเคลื่อนไหวปี 2549 เราก็จะเห็นว่ารัฐบาลไทยรักไทยเป็นตัวแทนของชนชั้นนายทุนอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่รัฐบาลไทยรักไทยก็มีฐานการสนับสนุนจากคนจนเมืองและคนชนบทระดับล่างจำนวนไม่น้อย ขณะที่ฝ่ายพันธมิตรฯ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประกอบด้วยคนชั้นสูง, เชื้อพระวงศ์บางส่วน, คนชั้นกลางในเมือง, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นายทุนระดับกลางและล่าง ฯลฯ ซึ่งพยายามระดมคนชั้นล่างจำนวนหนึ่งให้เข้าไปอยู่ฝ่ายเดียวกับเขา จึงจำเป็นต้องอาศัยองค์กรพัฒนาเอกชนและ Popular Movement เพื่อเป็นฐานทางการเมือง

สรุปให้สั้นก็คือ ในการที่จะล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างชอบธรรมนั้น ภาพและเสียงของคนชั้นล่างคือตัวแปรที่มีความสำคัญที่สุด เพราะถ้ามีเสียงจากคนชั้นล่างมากพอ คนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็ย่อมล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะสามารถอ้างได้ว่าเขาเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใหญ่กว่าการเลือกตั้ง ก็คือเขาเข้าถึงคนชั้นล่างได้โดยตรง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และคงจะต่อเนื่องไปถึงอนาคต การเมืองเรื่องการสร้างภาพของการเข้าถึงประชาชนและคนชั้นล่างโดยตรงคือหัวใจของชัยชนะทางการเมือง
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #7 เมื่อ: 09-07-2006, 09:25 »


วาทกรรมพระราชอำนาจในฐานะรัฐประหารของคนชั้นกลาง

ในขบวนการขับไล่ทักษิณนั้น ข้อที่น่าสนใจที่สุดคือคนชั้นสูงและเชื้อพระวงศ์ไม่ใช่เป็นคนกลุ่มที่มีบทบาทแข็งขันที่สุดในการใช้วาทกรรมพระราชอำนาจไปเพื่อต่อต้านอำนาจทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง แต่คือคนธรรมดาสามัญชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจแบบคนชั้นกลางและคนเมือง ไม่ต้องพูดถึงเรื่องมาตรา 7 และการเรียกร้องให้กษัตริย์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่นั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นนักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยที่กระ***นกระหือในการผลักดันเรื่องนี้มากกว่าใครๆ

ต้องยอมรับก่อนว่าขบวนการต่อต้านทักษิณใช้เหตุผลในการขับไล่นายกรัฐมนตรีรายนี้อย่างหลากหลาย แต่หนึ่งในเหตุผลที่ทรงพลังในการจูงใจผู้คนได้มากที่สุดคือข้อหาเรื่องการคอรัปชั่นเชิงนโยบาย, การใช้ตำแหน่งทางการเมืองไปเอื้อประโยชน์ทางการค้า, การฉ้อฉลนโยบายสาธารณะ, ความเป็นผู้นำแบบอำนาจนิยม , การแทรกแซงตลาดหุ้น หรือพูดให้สั้นก็คือการกระทำทุกวิถีทางเพื่อสถาปนาระบอบผูกขาดอำนาจของนายกรัฐมนตรี

อย่าลืมว่าการผูกขาดทุกชนิดเป็นอุปสรรคต่อความเติบโตทางเศรษฐกิจการเมืองของคนชั้นกลาง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม คนชั้นกลางต้องการตลาดหุ้นที่โปร่งใส พรรคการเมืองที่ไม่มีอำนาจมากเกินไป ระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้แข่งขันได้โดยเสมอภาค สื่อสารมวลชนที่อิสระจากรัฐบาล ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนถูกรัฐบาลทักษิณทำลายลงไป ไม่ในทางใดก็ทางหนึ่ง

ความไม่พอใจต่อการผูกขาดแบบนี้ผลักดันให้คนชั้นกลางเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับฝ่ายชนชั้นสูงและทหาร กลายเป็นฐานกำลังหลักของขบวนการพระราชอำนาจ และหันไปอาศัยอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เพื่อกำจัดผู้นำทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญ

คนต่างชนชั้นเหล่านี้เชื่อมโยงกันได้ด้วยวาทกรรมที่ชนชั้นสูงและทหารสร้างและเผยแพร่อย่างต่อเนื่องในช่วงหลัง พ.ศ. 2520 นั่นก็คือวาทกรรมต่อต้านประชาธิปไตยรัฐสภาที่โจมตีว่าสถาบันการเมืองต่างๆ ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นไม่ชอบธรรม เพราะว่ามาจากการซื้อเสียง รัฐสภาและพรรคการเมืองเป็นเพียงที่รวมของผู้รับเหมา, พ่อค้านายทุนท้องถิ่น, กลุ่มทุนผูกขาด ฯลฯ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ในที่สุดก็ผลิดอกออกผลเป็นทรรศนะคติต่อต้านประชาธิปไตยรัฐสภาในระดับที่ลึกซึ้งถึงขั้นเหยียดหยามว่ารัฐสภาเป็นแค่ที่รวมของ ‘นักเลือกตั้ง’ ซึ่งเข้ามามีบทบาททางการเมืองเพื่อ ‘ธุรกิจการเมือง’

สำหรับคนที่คิดแบบนี้ การเลือกตั้ง, พรรคการเมือง , และรัฐสภา คือเวทีให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ผูกขาดอำนาจการเมืองเพื่อสร้างการผูกขาดทางธุรกิจ และเมื่อการผูกขาดทางธุรกิจใหญ่ขึ้น การผูกขาดอำนาจทางการเมืองก็ยิ่งเติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กัน

ในระหว่างปี 2521-2531 ชนชั้นนำและทหารใช้ความรู้สึกนึกคิดแบบนี้ไปสร้างระบบการเมืองที่นายกรัฐมนตรีทุกคนล้วนเป็นทหาร ในปี 2534 ทหารใช้ทรรศนะคติแบบนี้รัฐประหารขับไล่นายกรัฐมนตรีที่มาจากรัฐสภา และในปี 2549 คนชั้นกลางหยิบยืมวาทกรรมต้านประชาธิปไตยนี้มาใช้ในทิศทางเดียวกัน

วาทกรรมเช่นนี้สำคัญต่อการกำหนดประเด็นหรือวาระทางการเมืองของคนชั้นกลางไทย เพราะเมื่อเห็นว่าอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งนั้นสกปรก ก็ย่อมเห็นต่อไปว่าอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีทางเป็นอำนาจที่ชอบธรรมได้ และในท้ายที่สุด ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องยอมรับว่าอำนาจที่อยู่นอกรัฐสภาและการเลือกตั้งคืออำนาจที่ชอบธรรม

นี่ไม่ใช่ปัญหาการเมืองเฉพาะหน้า แต่เป็นปัญหาของการเมืองในอนาคต เพราะวาทกรรมแบบนี้ถูกสร้างมาในระดับ 20-30 ปี จึงไม่มีทางจะเสื่อมพลังไปได้ง่ายๆ ซ้ำยังเป็นกรอบการคิดที่ยากจะสลัดให้หลุดออกไป นั่นหมายความว่าประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของไทยอยู่ในเนื้อดินที่เติบโตได้ยาก เพราะดำรงอยู่ท่ามกลางสังคมที่เห็นว่าองค์ประกอบทั้งหมดของประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเป็นเรื่องเลวไปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเสียง การรวบอำนาจ การแย่งตำแหน่งทางการเมือง หรือการใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลบิดเบือน

หากประเมินขบวนการขับไล่ทักษิณด้วยสายตาแบบนี้ ปัญหาที่สำคัญมากประการหนึ่งก็คือการเกิดพันธมิตรทางการเมืองที่วางอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างคนชั้นกลาง-ทหาร-คนชั้นสูง เพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีทรราชย์โดยวิธีการปฏิเสธการเลือกตั้ง นั่นเท่ากับว่าพันธมิตรแบบนี้สุ่มเสี่ยงต่อการถือว่าเสียงของคนชนบทและคนชั้นล่างจำนวนมากมี ‘น้ำหนัก’ และ ‘ความชอบธรรม’ น้อยกว่าเสียงของคนเมืองและคนในระดับบนของสังคม

พูดให้รุนแรงขึ้นก็ได้ว่า การเคลื่อนไหวในปี 2549 เป็น ‘รัฐประหารของคนชั้นกลาง’ ที่หยิบยืมวาทกรรมพระราชอำนาจมาใช้เพื่อเป้าหมายบางอย่างที่สอดคล้องผลประโยชน์ทางการเมืองของชนชั้นสูงและทหาร และแทบเป็นไปไม่ได้ที่ปฏิบัติการทางการเมืองจะบรรลุผลได้ หากหลักการเรื่อง Popular Sovereignty ไม่ถูกทำลายลงไป

ในเชิงสัญลักษณ์นั้น สภาพทั้งหมดนี้สรุปได้ง่ายๆ ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการเสื้อเหลืองในสถานการณ์ขับไล่ทักษิณในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา กับขบวนการเสื้อเหลืองทุกวันนี้ ซึ่งเสื้อเหลืองกลายเป็นสัญลักษณ์ที่คนแทบทั้งหมดใช้เพื่อแสดงความจงรักภักดีพร้อมกับประกาศจุดยืนต่อต้านทักษิณไปพร้อมๆ กัน


อันตรายระยะยาว การปฏิเสธอำนาจจากการเลือกตั้ง-ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาสร้างผู้นำทางการเมืองไม่ได้

ความเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้จะนำไปสู่สถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตยในระยะยาว นั่นก็คือสถานการณ์ที่ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไม่สามารถสร้างผู้นำทางการเมือง ทำให้สังคมทั้งสังคมต้องหันไปหาผู้นำทางการเมืองที่มาจากแหล่งอำนาจอื่น เช่นกองทัพ, ธุรกิจ หรือการจำแลงแปลงร่างของหลักนายกพระราชทาน

อันที่จริง ประเด็นนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาระยะหนึ่งแล้ว เริ่มต้นที่นายกรัฐมนตรีของไทยเกือบทุกคนในช่วงหลัง 6 ตุลาคม 2519 ล้วนไม่ได้เป็นผู้นำที่เติบโตมาจากประชาธิปไตยรัฐสภา แต่มาจากอำนาจนอกรัฐสภาอื่นๆ ตัวอย่างเช่นเกรียงศักดิ์และเปรมในช่วงปี 2521-2531 ซึ่งทั้งคู่ล้วนเป็นนายกรัฐมนตรีที่ใช้กองทัพเป็นฐานอำนาจทางการเมือง, อานันท์มาด้วยการพระราชทาน, ทักษิณสั่งสมอำนาจทางการเมืองโดยอาศัยความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน ฯลฯ

ในภาพรวมแบบนี้ การเมืองในอนาคตจะประสบกับปัญหาทางการเมืองที่สำคัญมากๆ นั่นก็คือประชาธิปไตยรัฐสภาไม่สามารถสร้างผู้นำที่มาจากระบบรัฐสภาได้ ทำให้ฐานอำนาจจากนอกรัฐสภากลายเป็นแหล่งเดียวที่เป็นไปได้ในการสร้างผู้นำทางการเมืองขึ้นมา

ฉะนั้น ผู้นำในตัวแบบนี้อาจไม่ได้มาจากทหารและการยึดอำนาจอย่างในอดีต แต่อาจมาจากอำนาจที่พิเศษกว่าอำนาจทหาร ซ้ำยังเหนือกว่าตรงที่มีความสามารถทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน

ลองนึกถึงคนรุ่นพวกเราดูก็ได้ว่า เวลาที่เรามองดูที่รัฐสภา เราก็รู้สึกว่าไม่มีใครที่จะเป็นผู้นำของเราได้ คนหลายคนรู้สึกว่าผู้นำน่าจะเป็นคนอย่าง สุเมธ ตันติเวชกุล, สุรยุทธ จุลานนท์ หรือใครก็แล้วแต่ นี่คือความเป็นจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และนี่คือวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงหลัง 6 ตุลาคม 2519 แล้วมันผลิดอกออกผลอย่างเต็มที่ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2549
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ThailandReport
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,415


« ตอบ #8 เมื่อ: 09-07-2006, 09:26 »

คุณ Snowfake
คุณกำลังทำอะไร?

ทำไมต้องทำแบบนี้หละ
หรือว่า วอร์รูม หมดตัวเล่นแล้ว ต้องเผยไพ่ที่ คว่ำไว้ออกมา งั้นหรือ

คนเล่นบอร์ดนี้ กดลิ้งค์เป็น นะ ขอบอก..
เลิก เว้นระยะ แล้วก้อปปี้ สิ่งไร้สาระมาลง ทำเหมือน แย่งชิงเนื้อที่ข่าวเหอะ
เราเสนอลบสถานภาพ พิเภก เพราะการกระทำ เป้าหมายแบบนี้ไป 1 คนแล้ว
ไม่อยากให้มีคนเห็นด้วยกะคนในวงการเลย แต่มันดูดี และมีประโยชน์ต่อส่วนรวม มากกว่าจะปล่อยต่อไป

ขอร้อง...ไม่อยากเสีย คนที่มีแนวคิดแตกต่างไป
(แต่ถ้ามันไร้คุณภาพ เอามากๆก็จำยอม)
บันทึกการเข้า

The only thing necessary for the triump of evil is for good men to do nothing !!
สิ่งเดียวที่จะทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ นั่นคือการที่ คนดีๆนิ่งดูดาย !
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #9 เมื่อ: 09-07-2006, 09:36 »

ดิฉันกะว่าจะ copy เนื้อหามาลงก่อน แล้วใส่ความคิดเห็นทีหลัง

ฟังเข้าใจไหมคะ? ถ้าคิดว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่าจะแนะนำก็เชิญ

เผอิญอ่านแล้วสรุปรวดเร็วอย่างคุณไม่เป็น

ไม่ถูกใจก็ไม่ต้องเข้ากระทู้นี้ก็ได้ เตือนไว้แต่ชื่อเรื่องแล้วนี่คะ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #10 เมื่อ: 09-07-2006, 09:39 »

ไม่เขียนแล้วก็ได้ค่ะ

มีอย่างอื่นที่น่าทำกว่าอีกเยอะ

bye
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ThailandReport
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,415


« ตอบ #11 เมื่อ: 09-07-2006, 09:48 »

อ้างถึง
ข้อความโดย: snowflake
ดิฉันกะว่าจะ copy เนื้อหามาลงก่อน แล้วใส่ความคิดเห็นทีหลัง

ฟังเข้าใจไหมคะ? ถ้าคิดว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่าจะแนะนำก็เชิญ

เผอิญอ่านแล้วสรุปรวดเร็วอย่างคุณไม่เป็น


กดลิ้งค์เป็น

ถ้าคิดจะไม่ให้กดลิ้งค์ ก็ไม่ต้องทำลิ้งค์ อยากก้อปมาลงก็ไม่ว่า
เมื่อทำลิ้งค์แล้ว จะก้อปมาอีกทำไม เปลืองเนื้อที่


ฟังเข้าใจไหม...(ขอย้อนถามมั่งนะ) (มิได้ด้วยอารมณ์)

อ้างถึง
ไม่ถูกใจก็ไม่ต้องเข้ากระทู้นี้ก็ได้ เตือนไว้แต่ชื่อเรื่องแล้วนี่คะ

บังเอิญว่า เราเป็นคนใจกว้าง และรับฟังผู้ที่คิดไม่เหมือนตัวเองได้ (ถ้ามันคือสิ่งไม่ไร้สาระจนเกินไป)
รับฟังมาตลอด รับฟังได้อย่างดี และรวดเร็วด้วย
...และถ้าอ่านดู จะทราบว่า เราตอบด้วยการวิจารณ์ในความคิดเห็นของเรา อย่างที่เจตนา คุณ Snowfake  เอามาลงบนบอร์ดนี้

เราผิดตรงไหนหรือ ..ผิดที่อ่านเร็ว หรือผิดที่ เขียนตอบตรงเกินไป ไม่ถูกใจคุณหรือ
หรือว่า คุณเริ่ม "ไม่มีสติพอจะรับฟังผู้ที่คิดไม่เหมือนตัวเองได้"

หรือว่าผิดเจตนาของคุณ ต้องการให้มาเชียร์
หรือให้แค่ดูเฉยๆ เท่านั้น

แล้วจาเอามาลงบอร์ด หาอาราย (ทำสีจางหวานแหวเพื่อลดโทนอารมณ์คนอ่าน)
บันทึกการเข้า

The only thing necessary for the triump of evil is for good men to do nothing !!
สิ่งเดียวที่จะทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ นั่นคือการที่ คนดีๆนิ่งดูดาย !
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 09-07-2006, 10:10 »

ประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการขับไล่นายกรัฐมนตรีสารเลว <<< นี่แหละข้ออ้างของคนหน้าเหลี่ยม

และส่วนใหญ่เป็นข้ออ้างของเผด็จการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จด้วย
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
AsianNeocon
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,277


中華萬歲﹗ LONG LIVE CHINA!


เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 09-07-2006, 10:46 »

1. คือแค่ชื่อกระทู้นะ "สำหรับคนที่เชื่อว่าตัวเองใจกว้างและมีสติพอจะรับฟังผู้ที่คิดไม่เหมือนตัวเองได้" ก็เหมือนกับสิ่งที่คุณ snowflake แสดงออกมาตลอด คือ คนอื่นเป็นไงไม่รู้ (คนอื่นออกแนวๆ พาล หยาบคาย ขาดสติ) แต่ยังไงก็ตามฉันจะบอกว่าฉัน snowflake ใจกว้าง มีสติ รักพ่อ แน่นอน และก็เป็นการพูดเพื่อหา "เกราะกำบัง" และ "ดัก" คนอื่นไม่ให้แย้งตัวเอง เพราะเมื่อแย้งเข้าฉันก็จะชี้นิ้วบอกคนอื่นว่า นี่คือความใจแคบ นิยมความรุนแรง พาล ในตอนท้ายก็มักจะบอกว่า จะแผ่เมตตาให้ ซึ่งผิดจากคนที่แผ่เมตตาวางอุเบกขาหรืออะไรก็แล้วแต่ได้สำเร็จจริง จิตใจคนวางอุเบกขาได้จริง จะไม่พูดพร่ำเพรื่อครับ

มันคล้ายๆกับ ทักษิณที่มักจะพูด "กติกา" "จะ โปรเท็กต์ ประชาธิปไตยด้วยชีวิต" อะไรลักษณะนั้นน่ะครับ คือ พยายามจะใช้คำว่าประชาธิปไตยและกติกา เป็นเครื่องมือพาตัวเองลอยตัวอยู่เหนือผลลัพธ์ทั้งหลายทั้งปวง พอใครที่แสดงตัว เพื่อสุดท้ายแล้วยังไงตัวเองก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรสักอย่าง ลงท้ายก็บอกว่า "ตถตา" แต่การกระทำไม่ได้้บ่งบอกว่าเขาเข้าใจ

ดังนั้นผมคิดว่า คุณ snowflake ควรถามคำถามนี้กับตัวเองก่อนอื่น



2. ผมไม่เชื่อในความบริสุทธิ์ใจของคณะราษฎร์ครับ ผมมีความสงสัยในตำราวิชาสังคมศึกษา (ขณะนี้เปลี่ยนไปถึงไหนไม่ทราบ) ซึ่งไม่บอก "ต้นสายปลายเหตุ" เลยของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไม่มีการอธิบายถึงเหตุการณ์ 2516 2519 เรียนมาเสร็จก็งงๆ เพราะสิ่งที่รับรู้ขัดแย้งกับสิ่งที่ได้ยินจากผู้หลักผู้ใหญ่ซึ่งมีชีวิตร่วมสมัย ตำราเรียนไม่เคยกล่าวว่า หลังจากนั้นมีการแย่งชิงอำนาจภายในกลุ่มบุคคลนั้นยังไงบ้างหลังจากนั้น เพื่อผู้เรียนจะได้วิเคราะห์ว่า คณะราษฎร์เองมีความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ตำราเรียนไม่เคยกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงของประเทศไทย จากการนำของ ป.พิบูลสงคราม ว่ามันเปลี่ยนแปลงไปเพียงใด เพื่อที่ผู้เรียนเขาจะได้ทบทวนว่า มันคุ้มหรือเปล่า

ผมเชื่อว่า ตำราเรียนก็คงจะพูดถึง ทักษิณ ชินวัตร ไม่ต่างจากป.พิบูลสงคราม เช่นเดียวกัน คือ ไม่บรรยายต้นสายปลายเหตุอะไร มีแต่การพูดผ่านๆไปอย่างรวดเร็ว แล้วก็อ้างเสร็จสรรพว่า "ตำราเรียนต้องเป็นกลาง"

3. พอผมอ่านจนถึงประโยค "ประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการขับไล่นายกรัฐมนตรีสารเลว" ผมก็เลิกอ่านแล้วครับ ผมก็จะบอกคุณ snowflake กับคุณศิโรตม์ ว่า งั้นก็กอดประชาธิปไตยไว้แน่นๆ และอย่าลืมตายเพื่อมันนะครับ

อยากให้ระลึกถึงหลายๆประโยคในเพลงชาติไทย ของเรานะครับ

"ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี"
สาัมัคคีนั้นจะต้องเป็น "สามัคคีธรรม" คือมีเจตนาบริสุทธิ์ครับ ไม่ใช่ "สามัคคีเภท" ซึ่งคือการสามัคคีกันอยู่อย่างสงบ แล้วปล่อยให้คนชั่วคิดร้ายต่อบ้านเมืองปู้ยี่ปู้ยำไปเรื่อยๆแบบนี้ คุณไม่เห็นเหรอว่า ในขณะที่รอคำตัดสินเรื่องยุบ/ไม่ยุบพรรค ทักษิณสร้างเรื่องใหม่กี่เรื่องแล้วครับ


"ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด"
ไม่มีใครไม่รักสงบครับ แต่หากข้าศึกผู้มุ่งหวังทำร้ายบ้านเมือง เราจะต้องต่อสู้กับมันครับ ไม่ใช่มาพร่ำพูดว่า รักสงบ รักสามัคคี


"สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี"
เพลงชาติไทยเรา ไม่มีท่อนไหนที่บอกว่า "สละเลือดทุกอยาดพลีเพื่อประชาธิปไตย" ตัวผมเองมิบังอาจยกตัวเองว่า มีความห้าวหาญถึงขั้นยอมตายเพื่อประเทศไทยหรอกครับ ผมเป็นคนรักตัวกลัวตาย แต่อย่างน้อยผมเห็นด้วยกับเพลงชาติไทย


นั่นหมายความว่า "ประเทศชาติ" จะต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-07-2006, 10:52 โดย ThaiTruth » บันทึกการเข้า

แนวสกา
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 633



« ตอบ #14 เมื่อ: 09-07-2006, 12:05 »

อ่านแล้วงงครับ ไม่ค่อยเข้าว่าผู้แต่งจะสื่อเรื่องใดแน่

วิธีการเขียนก็สำคัญครับ ทำให้งง หลังๆพอจะอ่านรู้เรื่องหน่อย

แต่ยังไม่เข้าใจเจตนาของคนเขียน สงสัยรอยหยักผมจะน้อยไป
Wink
บันทึกการเข้า

ทุกคนล้วนมักมีอำนาจวาสนา ตัวข้าต้องการเพียงเสพดื่มกิน
p
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,264


« ตอบ #15 เมื่อ: 09-07-2006, 12:11 »


ตกลงมันเกิดอะไรขึ้นกับคุณ Snowflake ครับ
ดูเหมือนจะมีอะไรแปลกๆนะผมว่า
และผมก็อ่านไม่ออกว่าจุดยืนของเขาคืออะไรกันแน่

 Surprised
บันทึกการเข้า

ถ้ามัวคิดแต่จะโกงและเอาเปรียบคนอื่น จะสอนลูกหลานให้เป็นคนดีได้อย่างไร
จูล่ง_j
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,901



« ตอบ #16 เมื่อ: 09-07-2006, 12:22 »

โอย เขียนซะยาวกว่าจะอ่านจบ น้ำเยอะจริงๆ

มีหลายส่วนที่ไม่เห็นด้วย เช่น

-เขาบอกให้พันธมิตรน่าจับประเด็น สิทธิมนุษยชนภาคใต้ และแทรกแทรงองค์กรณ์อิสระเป็นหลัก

ผมว่าเป็นไอเดียหาเรื่องให้พันธมิตรตายเร็วเลยนะนั่น

เพราะแม้วมันจะกล่าวหาว่าพวกประท้วงเป็นพวกหนุนหลังโจรภาคใต้

จะโดนสลายม๊อบและเข้าซังเตให้แม้วอย่างชอบธรรมเลย ไอเดีย ปัญญาอ่อนจริงๆ

ประเด็นแทรกแทรงองค์กรณ์นี่ก็ด่ามันอยู่บ่อยๆ แต่แม้วมันไม่ยอมรับซะอย่างจะทำไง หาหลักฐานกันง่ายๆเหรอของพวกนี้

-เขาบอกให้แสดงให้เห็นว่า รากหญ้าไม่ได้รับความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ

อันนี้ยิ่งเป็นไอเดียตลกเข้าไปใหญ่ รากหญ้าถูกอัดฉีดด้วยเงินกู้อย่างนี้ อีก 100 ปีคงดึงมาเป็นพวกด้วยประเด็นนี้ได้หรอกนะ

ศิโรตม์ บางอย่างก็เขียนดีนะ แต่แนวทางแกมันออกจะเป็นโลกในฝัน ไม่ดูสภาพเป็นจริง

คือต้องการให้ประท้วงแบบ ไม่กระทบอะไรเลย มีแต่ผลดี ไม่มีผลเสีย ไอ้โน่นก็ไม่ได้ ไอนี่ก็ระวัง ต้องรักษาไว้ทุกอย่าง

แถมแนะนำไอเดียอะไรที่มันดูแล้วไม่มีทางได้ผล อ่านผ่านแล้วผ่านเลยจริงๆ ไม่มีความน่าเอามาอ่านซ้ำ

ปล.คุณ Snowfake เลิกชอบพูดดักคอคนอื่นเถิดครับ มันดูไม่น่ารักเลย เห็นเป็นอย่างนี้ไม่รู้กี่ทีละ

อย่างตอนมีคนมาโพส พี่ทัก ก็มาดักคอเดี๋ยวโดนคนบอร์ดนี้ว่าเป็นลิ้วล้อเหลี่ยมนะ เรื่องไม่มีก็ทำให้มันเป็นเรื่อง เฮ้อ
บันทึกการเข้า

cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #17 เมื่อ: 09-07-2006, 12:30 »

เป็นเรื่องขัดแย้งส่วนบุคคล ผมไม่มีความเห็น

แต่ความจริงไอ้ศิโรฒน์มันก็อยู่ของมันดี ๆ ไม่รู้ไม่เห็นอะไร ไปดึงมันมาทำไม
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 09-07-2006, 12:38 »

ผมอ่านไม่จบเพราะยาวมาก จับใจความเฉพาะในส่วนของ "ฉันทานุมัติ" ซึ่งความจริงแล้วน่าพิจารณาอย่างยิ่ง
ว่านายหน้าเหลี่ยมนั้นพยายามทำ "ประชาธิปไตย" ให้เป็น "ฉันทานุมัติ" หรือไม่?
เพราะอ่านดูแล้วการอ้าง "ฉันทานุมัติ" คือเป็นการ "มอบอำนาจ" ให้ตัดสินใจอะไรก็ได้โดยไม่ทักท้วง
พฤติกรรมแบบนั้นมันเป็นพฤติกรรมของนายหน้าเหลี่ยม ที่พยายามกระทำตลอดมามิใช่หรือ
พระมหากษัตริย์นั้นมีฉันทานุมัติจริง แต่สำหรับในหลวงของเราพระองค์นี้ ทรงมี "พระบารมีสูง"
ไม่ใช่เพราะว่าทรงเป็นราชวงศ์จักรี หรือมิใช่เป็นเพราะสืบเชื่อสายมาจากใด
แต่เป็นเพราะคุณงามความดีที่พระองค์ทรงสะสมมาตลอดพระชนมายุ ดังนั้นการใดที่ทรงกระทำภายใต้รัฐธรรมนูญ
ด้วยพระบารมีเช่นนั้นจึงได้รับ "ฉันทานุมัติ" จากประชาชนอย่างไม่มีข้อโต้แย้งตลอดมา

พระราชอำนาจ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ หากใช้ให้ถูกต้องประชาชนย่อมสรรเสริญ
แต่ประชาธิปไตย อำนาจเป็นของปวงชน ไม่ใช่ "ฉันทานุมัติ" ไม่ใช่การหยิบเอาอำนาจไปใช้ได้ตามอำเภอใจ
ถึงวันนี้คงต้องลองถามตัวเองดูแล้วว่า ปัจจุบันอำนาจเป็นของปวงชน หรือว่าอำนาจเป็นของนายหน้าเหลี่ยมกันแน่  Sad
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
narong
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 654



เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 09-07-2006, 12:39 »

ผมขอออกความเห็นเกี่ยวกับทหารนิดนึงแต่ผมไม่ได้เป็นทหารแค่ชอบคิดแบบทหารเท่านั้น

ทหารสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นทหารอาชีพไม่มีความคิดเรื่องปฏิวัติและยุ่งทางการเมือง
มีแต่ทักษินที่พยายามแต่งตั้งคนที่ตนเองสั่งได้ไปควบคุมกองกำลังเพื่อเป็นฐานกำลัง
ในกรณีที่ต้องใช้กำลังกับคนที่ต่อต้าน


ซึ่งในความเป็นจริงถ้าทหารออกมาใช้กำลังโดยอยู่ฝ่ายทักษิน
ถามว่า ประชาธิปไตยที่เรียกร้องกันน่ะจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
ทหารตอนนี้ก็ยังแบ่งแยกเลย แล้วพวกท่านจะเรียกร้องประชาธิปไตยจ๋าเพื่อใคร?


เพราะฉนั้นในบางกรณีที่จะต้องให้เมืองไทยและประชาธิปไตยไทยเดินหน้าต่อไปได้
ก็จำเป็นต้องใช้วิธีที่แตกต่างจากระบบที่ฝรั่งมันบอกให้เราทำตามบ้าง
เพราะเมืองไทยกำเนิดมาจากระบอบกษัตริย์จึงมีที่ยืนให้คนไทยมาทะเลาะกันเองอยู่จนทุกวันนี้
ไม่ใช่อะไรๆก็ต้องระบบเลือกตั้งเท่านั้นถึงจะเป็นประชาธิปไตย


ทหารส่วนใหญ่ในปัจจุบันคิดถึงความมั่นคงเป็นหลักเพราะมีการแทรกแซง
จากนอกประเทศเพื่อให้คนไทยแตกแยกกันเองอยู่
บันทึกการเข้า

ผู้ที่ไม่สามารถจะใช้คนดี
ก็ย่อมจะใช้คนไม่ดีหรือคนเลว
ถ้าไม่เชื่อผู้ซื่อสัตย์หวังดีต่อตน
ก็จะต้องไปเชื่อคนประจบสอพลอ
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 09-07-2006, 12:53 »


ปล.คุณ Snowfake เลิกชอบพูดดักคอคนอื่นเถิดครับ มันดูไม่น่ารักเลย เห็นเป็นอย่างนี้ไม่รู้กี่ทีละ

อย่างตอนมีคนมาโพส พี่ทัก ก็มาดักคอเดี๋ยวโดนคนบอร์ดนี้ว่าเป็นลิ้วล้อเหลี่ยมนะ เรื่องไม่มีก็ทำให้มันเป็นเรื่อง เฮ้อ

เห็นด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #21 เมื่อ: 09-07-2006, 13:02 »

ประกายดาว ขอมา ส่งยิ้มหวานให้ คุณ ThaiTruth เจ๋ยๆ นะคะ
 Very Happy Very Happy Very Happy

และ ขอ ยืนยันว่า หนู ใจกว้างและ มีสติค่ะ ...อ้าว ตกไป สติ ต้องมาคู่กับ ปัญญา นี่นา
ประกายดาว มีน้อยไป หน่อยค่ะ ปัญญานี่  Tongue out



ขอเชิญชวนไป ทำบุญตักบาตรดอกไม้ วันอังคารที่ 11 กค .ที่วัดราชบพิตร กทม. นะคะ

วัดราชบพิธ แบบนี้ค่ะ
ขอบคุณ ความใจดี ของคุณเลิศภพฯ

 Very Happy
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-07-2006, 13:15 โดย ประกายดาว » บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
Neoconservative
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 407


We protect the Kingdom


« ตอบ #22 เมื่อ: 09-07-2006, 13:24 »

เรียน คุณ snowflake

เท่าที่กระผมอ่านมาแล้ว เข้าใจอย่างนี้ครับ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่

1. พันธมิตร ไม่ยอมรับอำนาจจากประชาธิปไตย โดยกล่าวหา ว่า นักการเมืองซื้อเสียง ไม่มีความชอบธรรม
2. นายความคิดของคนบางกลุ่มต้องการให้ ประเทศ เป็น ประชาธิปไตย แบบ มีข้อ ยกเว้น คือ อ้างใช้พระราชอำนาจ ได้ในทุกๆสถานการณ์
3. ผู้เขียน อยากให้ การเลือก ตั้ง เป็นหลักในการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาล
4. ในอนาคต การเมืองไทย จะให้ความสำคัญของทุกชนชั้นเท่าเทียมกัน
5. คุณ  ศิโรฒน์ สนับสนุน ทักษิณ
6. คุณ snowflake อยากให้ พันธมิตรเลิกประท้วง แล้ว ให้เดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง

ช่วยกรุณาชี้แนะด้วย

นีโอคอนเซอร์เวทีฟ
บันทึกการเข้า
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 09-07-2006, 13:28 »

เรียน คุณ snowflake

เท่าที่กระผมอ่านมาแล้ว เข้าใจอย่างนี้ครับ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่

1. พันธมิตร ไม่ยอมรับอำนาจจากประชาธิปไตย โดยกล่าวหา ว่า นักการเมืองซื้อเสียง ไม่มีความชอบธรรม
2. นายความคิดของคนบางกลุ่มต้องการให้ ประเทศ เป็น ประชาธิปไตย แบบ มีข้อ ยกเว้น คือ อ้างใช้พระราชอำนาจ ได้ในทุกๆสถานการณ์
3. ผู้เขียน อยากให้ การเลือก ตั้ง เป็นหลักในการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาล
4. ในอนาคต การเมืองไทย จะให้ความสำคัญของทุกชนชั้นเท่าเทียมกัน
5. คุณ  ศิโรฒน์ สนับสนุน ทักษิณ
6. คุณ snowflake อยากให้ พันธมิตรเลิกประท้วง แล้ว ให้เดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง

ช่วยกรุณาชี้แนะด้วย

นีโอคอนเซอร์เวทีฟ

อ่า .. ผมว่าคุณนีโอ อย่าสาดน้ำมันเข้ากองไฟดีกว่านะครับ โดยเฉพาะข้อความที่ 2 และ 6 ไม่อย่างนั้นผมจะเข้าใจว่าคุณนีโอ มาอยู่ที่เสรีไทยโดยมีวัตถุประสงค์แอบแฝง
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #24 เมื่อ: 09-07-2006, 13:35 »

ผมขอออกความเห็นเกี่ยวกับทหารนิดนึงแต่ผมไม่ได้เป็นทหารแค่ชอบคิดแบบทหารเท่านั้น

ทหารสมัยนี้ส่วนใหญ่เป็นทหารอาชีพไม่มีความคิดเรื่องปฏิวัติและยุ่งทางการเมือง
มีแต่ทักษินที่พยายามแต่งตั้งคนที่ตนเองสั่งได้ไปควบคุมกองกำลังเพื่อเป็นฐานกำลัง
ในกรณีที่ต้องใช้กำลังกับคนที่ต่อต้าน


ซึ่งในความเป็นจริงถ้าทหารออกมาใช้กำลังโดยอยู่ฝ่ายทักษิน
ถามว่า ประชาธิปไตยที่เรียกร้องกันน่ะจะเดินหน้าหรือถอยหลัง
ทหารตอนนี้ก็ยังแบ่งแยกเลย แล้วพวกท่านจะเรียกร้องประชาธิปไตยจ๋าเพื่อใคร?


เพราะฉนั้นในบางกรณีที่จะต้องให้เมืองไทยและประชาธิปไตยไทยเดินหน้าต่อไปได้
ก็จำเป็นต้องใช้วิธีที่แตกต่างจากระบบที่ฝรั่งมันบอกให้เราทำตามบ้าง
เพราะเมืองไทยกำเนิดมาจากระบอบกษัตริย์จึงมีที่ยืนให้คนไทยมาทะเลาะกันเองอยู่จนทุกวันนี้
ไม่ใช่อะไรๆก็ต้องระบบเลือกตั้งเท่านั้นถึงจะเป็นประชาธิปไตย


ทหารส่วนใหญ่ในปัจจุบันคิดถึงความมั่นคงเป็นหลักเพราะมีการแทรกแซง
จากนอกประเทศเพื่อให้คนไทยแตกแยกกันเองอยู่




เพราะฉนั้นในบางกรณีที่จะต้องให้เมืองไทยและประชาธิปไตยไทยเดินหน้าต่อไปได้
ก็จำเป็นต้องใช้วิธีที่แตกต่างจากระบบที่ฝรั่งมันบอกให้เราทำตามบ้าง

เพราะเมืองไทยกำเนิดมาจากระบอบกษัตริย์จึงมีที่ยืนให้คนไทยมาทะเลาะกันเองอยู่จนทุกวันนี้
ไม่ใช่อะไรๆก็ต้องระบบเลือกตั้งเท่านั้นถึงจะเป็นประชาธิปไตย




ถึงเวลานี้ การที่จะเลือก "เด็ดยอด" เพื่อเอาคำตอบแบบ "แยกส่วน" คงเป็นไปได้ยากมากครับ

จขกท.ก็น่าจะรู้ ว่า...นี่ ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมาก่อน


แม้แต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรนาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตย เมื่อ 2475

ก็ไม่ "ใหญ่" และ "น่ากลัว" เท่าปัจจุบันวันนี้

นี่ไม่ใช่แค่เกมการเมืองแย่งชิง/โค่นล้มอำนาจ แบบสามัญธรรมดา

ผม....จึงไม่สามารถให้คำตอบ จขกท. แบบ yes / no ได้หรอกครับ

คนอื่นอาจมีคำตอบ.....แต่ผม ตอบไม่ได้เลย





ถึงเวลานี้ การที่จะเลือก "เด็ดยอด" เพื่อเอาคำตอบแบบ "แยกส่วน" คงเป็นไปได้ยากมากครับ
จขกท.ก็น่าจะรู้ ว่า...นี่ ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมาก่อน




ความคิดของผม"ตกผลึก"แล้ว
ขอเสริมคุณ cameronDZ ด้วยวลีว่า "สงวนจุดต่าง แสวงจุดร่วม" ด้วย




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09-07-2006, 13:39 โดย ปุถุชน » บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #25 เมื่อ: 09-07-2006, 13:56 »

เรียน คุณ snowflake

เท่าที่กระผมอ่านมาแล้ว เข้าใจอย่างนี้ครับ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่

1. พันธมิตร ไม่ยอมรับอำนาจจากประชาธิปไตย โดยกล่าวหา ว่า นักการเมืองซื้อเสียง ไม่มีความชอบธรรม
2. นายความคิดของคนบางกลุ่มต้องการให้ ประเทศ เป็น ประชาธิปไตย แบบ มีข้อ ยกเว้น คือ อ้างใช้พระราชอำนาจ ได้ในทุกๆสถานการณ์
3. ผู้เขียน อยากให้ การเลือก ตั้ง เป็นหลักในการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาล
4. ในอนาคต การเมืองไทย จะให้ความสำคัญของทุกชนชั้นเท่าเทียมกัน
5. คุณ  ศิโรฒน์ สนับสนุน ทักษิณ
6. คุณ snowflake อยากให้ พันธมิตรเลิกประท้วง แล้ว ให้เดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง

ช่วยกรุณาชี้แนะด้วย

นีโอคอนเซอร์เวทีฟ

อ่า .. ผมว่าคุณนีโอ อย่าสาดน้ำมันเข้ากองไฟดีกว่านะครับ โดยเฉพาะข้อความที่ 2 และ 6 ไม่อย่างนั้นผมจะเข้าใจว่าคุณนีโอ มาอยู่ที่เสรีไทยโดยมีวัตถุประสงค์แอบแฝง




ถ้าคุณ นีโอฯ อ่านเนื้อหาของคุณศิโรตม์แล้ว อยากจะเข้าใจอย่างนั้น
คงไม่มีใครห้ามปรามหรือสนับสนุน เพราะคุณได้ใช้สติปัญญาของคุณแล้ว

ความคิดเห็นของคุณศิโรตม์ไม่ผิดหลักการและวิธีคิด ถ้าจะผิดบ้าง เพราะผลกระทบจากการที่คนรักทักษิณ สาวกฯ หวอรูม บิดเบือน ฉวยโอกาสนำความคิดเห็นของคุณศิโรตม์ตามแนวคิดระบอบประชาธิปไตยและการปกครองปกติที่มีรัฐบาลธรรมาภิบาล เบี่ยงเบนไปเป็นอื่นเพื่อผลประโยชน์ของ"รักษาการนายกฯ"และ 3 กกต. เพื่อให้คนที่มีความคิดตื้นเขิน เข้าใจผิดไปด้วย......
 
รัฐบาลที่บริหารบ้านเมืองโดยธรรมาภิบาล โปร่งใส แล้วกลุ่มบุคคลที่หวังจะแสวงหาอำนาจ ผลประโยชน์ส่วนตัว ล้มล้างรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ย่อมไม่ถูกต้อง และไม่มีใคร คนมีความคิด ความอ่าน ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย ไม่เป็น"ศรีธนชัย" คล้อยตามแน่นอน....

ผมคิดว่าคุณนีโอฯ คงไม่หลงตนเอง ไม่คิดว่าคุณมีวิจารณญาณ กว้างไกล ลึกซึ้งกว่า นักวิชาการ ผู้นำความคิด คณาจารย์ และประชาชนหลากหลายอาชีพที่เคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลรักษาการของคุณทักษิณอยู่ขณะนี้ 

ถ้าคุณนีโอฯ มีความคิดอ่านบ้าง ควรจะเฉลียวใจ ก่อนจะแสดงความเห็นพรรค์นั้น.....!

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 09-07-2006, 14:03 »

เรียน คุณ snowflake

เท่าที่กระผมอ่านมาแล้ว เข้าใจอย่างนี้ครับ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่

1. พันธมิตร ไม่ยอมรับอำนาจจากประชาธิปไตย โดยกล่าวหา ว่า นักการเมืองซื้อเสียง ไม่มีความชอบธรรม
2. นายความคิดของคนบางกลุ่มต้องการให้ ประเทศ เป็น ประชาธิปไตย แบบ มีข้อ ยกเว้น คือ อ้างใช้พระราชอำนาจ ได้ในทุกๆสถานการณ์
3. ผู้เขียน อยากให้ การเลือก ตั้ง เป็นหลักในการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาล
4. ในอนาคต การเมืองไทย จะให้ความสำคัญของทุกชนชั้นเท่าเทียมกัน
5. คุณ  ศิโรฒน์ สนับสนุน ทักษิณ
6. คุณ snowflake อยากให้ พันธมิตรเลิกประท้วง แล้ว ให้เดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง

ช่วยกรุณาชี้แนะด้วย

นีโอคอนเซอร์เวทีฟ
1. ไม่ใช่สาเหตุเดียว แต่เป็นหนึ่งในนั้น เพราะทักษิณชอบอ้างประชาธิปไตย เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ โดยลืมนึกไปว่า ประเทศเรามันซื้อเสียงกันมา
2. มุมมองผู้เขียนออกจะหนักไปทางทฤษฏี เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยยึดมั่นในสถาบัน จนมีคำพูดว่า King can do no wrong (แปลตรงๆ ก็บอกว่า ทำอะไรก็ไม่ผิด ซึ่งในหลวงบอกแล้วว่า ไม่ใช่ไม่ผิด แต่เพราะไม่มีคนเอาผิดกับพระองค์ ซึ่งทรงอยู่เหนือกฎหมาย ทำให้ยิ่งต้องดำรงตัวให้ไม่ทำผิด) ผู้เขียนไม่ได้เจาะจงกับพระองค์ไหน แต่พูดในภาพรวมว่า กษัตริย์ ก็ทำผิดพลาดได้ และคงไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดเกิดขึ้น
3. ไม่ใช่ค่ะ การเลือกไม่ได้หมายถืง ประชาธิปไตย แต่เป็นกลไกหนึ่ง
4. แสดงว่าอ่านลวกๆ มาก เค้าบอกแต่ต้นแล้วว่ารัฐบาลนี้หมดความชอบธรรม และออกมาไล่ตั้งแต่กรณีใช้กำลังในภาคใต้ (ไล่ก่อนพวกเรา)
5. แค่ยกบทความมาแปะ ไม่ได้แสดงเจตนาแบบนั้นค่ะ แต่บ่อยครั้งเธอกลายเป็นแพะจากคนตอบกระทู้ เพียงเพราะเห็นต่าง เลยประชดซะงั้น
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #27 เมื่อ: 09-07-2006, 14:05 »

ประกายดาว ขอมา ส่งยิ้มหวานให้ คุณ ThaiTruth เจ๋ยๆ นะคะ
 Very Happy Very Happy Very Happy

และ ขอ ยืนยันว่า หนู ใจกว้างและ มีสติค่ะ ...อ้าว ตกไป สติ ต้องมาคู่กับ ปัญญา นี่นา
ประกายดาว มีน้อยไป หน่อยค่ะ ปัญญานี่  Tongue out



ขอเชิญชวนไป ทำบุญตักบาตรดอกไม้ วันอังคารที่ 11 กค .ที่วัดราชบพิตร กทม. นะคะ

วัดราชบพิธ แบบนี้ค่ะ
ขอบคุณ ความใจดี ของคุณเลิศภพฯ

 Very Happy


ผมคิดว่าคุณริดกุนและผู้ดูแล"เสรีไทยเว็บบอร์ด" ควรบอกเล่าให้ชัดเจนว่า "เสรีไทยเว็บบอร์ด" นั้นเป็นกลางแบบไหน เสรีแบบไหน ใจกว้างแบบไหน มีขอบเขตเท่าใด เพื่อไม่ให้คนเข้ามาแสวงหา"ความเป็นกลาง" และ"ความใจกว้าง" ผิดหวัง เพราะประเมินสูงไป

และเพื่อลดกระทู้และคคห."ขยะ" บ้าง....



บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #28 เมื่อ: 09-07-2006, 14:12 »

เรียน คุณ snowflake

เท่าที่กระผมอ่านมาแล้ว เข้าใจอย่างนี้ครับ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่

1. พันธมิตร ไม่ยอมรับอำนาจจากประชาธิปไตย โดยกล่าวหา ว่า นักการเมืองซื้อเสียง ไม่มีความชอบธรรม
2. นายความคิดของคนบางกลุ่มต้องการให้ ประเทศ เป็น ประชาธิปไตย แบบ มีข้อ ยกเว้น คือ อ้างใช้พระราชอำนาจ ได้ในทุกๆสถานการณ์
3. ผู้เขียน อยากให้ การเลือก ตั้ง เป็นหลักในการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาล
4. ในอนาคต การเมืองไทย จะให้ความสำคัญของทุกชนชั้นเท่าเทียมกัน
5. คุณ  ศิโรฒน์ สนับสนุน ทักษิณ
6. คุณ snowflake อยากให้ พันธมิตรเลิกประท้วง แล้ว ให้เดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง

ช่วยกรุณาชี้แนะด้วย

นีโอคอนเซอร์เวทีฟ
1. ไม่ใช่สาเหตุเดียว แต่เป็นหนึ่งในนั้น เพราะทักษิณชอบอ้างประชาธิปไตย เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ โดยลืมนึกไปว่า ประเทศเรามันซื้อเสียงกันมา
2. มุมมองผู้เขียนออกจะหนักไปทางทฤษฏี เพราะต้องยอมรับว่าคนไทยยึดมั่นในสถาบัน จนมี คำพูดว่า King can do no wrong (แปลตรงๆ ก็บอกว่า ทำอะไรก็ไม่ผิด ซึ่งในหลวงบอกแล้วว่า ไม่ใช่ไม่ผิด แต่เพราะไม่มีคนเอาผิดกับพระองค์ ซึ่งทรงอยู่เหนือกฎหมาย ทำให้ยิ่งต้องดำรงตัวให้ไม่ทำผิด ) ผู้เขียนไม่ได้เจาะจงกับพระองค์ไหน แต่พูดในภาพรวมว่า กษัตริย์ ก็ทำผิดพลาดได้ และคงไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดเกิดขึ้น
3. ไม่ใช่ค่ะ การเลือกไม่ได้หมายถืง ประชาธิปไตย แต่เป็นกลไกหนึ่ง
4. แสดงว่าอ่านลวกๆ มาก เค้าบอกแต่ต้นแล้วว่ารัฐบาลนี้หมดความชอบธรรม และออกมาไล่ตั้งแต่กรณีใช้กำลังในภาคใต้ (ไล่ก่อนพวกเรา)
5. แค่ยกบทความมาแปะ ไม่ได้แสดงเจตนาแบบนั้นค่ะ แต่บ่อยครั้งเธอกลายเป็นแพะจากคนตอบกระทู้ เพียงเพราะเห็นต่าง เลยประชดซะงั้น




คำพูดว่า King can do no wrong (แปลตรงๆ ก็บอกว่า ทำอะไรก็ไม่ผิด  ซึ่งในหลวงบอกแล้วว่า ไม่ใช่ไม่ผิด แต่เพราะไม่มีคนเอาผิดกับพระองค์ ซึ่งทรงอยู่เหนือกฎหมาย ทำให้ยิ่งต้องดำรงตัวให้ไม่ทำผิด )......

พระราชดำรัสของในหลวงเกี่ยวกับ "King can do no wrong" พวกคนรักทักษิณ สาวกฯ หวอรูม ไม่นำไปพูดถึง หรือ ไม่เข้าถึงความหมาย เพราะเข้าใจว่า "คนที่ทำอะไรไม่ผิด"นั้น มีเฉพาะ"นาย" คนเดียวเท่านั้น....
 

บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Neoconservative
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 407


We protect the Kingdom


« ตอบ #29 เมื่อ: 09-07-2006, 14:23 »

เรียน คุณ ปุถุชน

กระผมไม่ได้คิดว่าตัวเอง เก่งเลิศเลอ อะไร ขนาดนั้น ผมคิดได้อย่างนั้น ถ้ามันไม่ถูกคุณ ปุถุชน ก็ต้องช่วยสอน ถ้าคุณอยากให้ คนที่มีข้อมูลน้อยอย่างกระผมเข้าใจสถานการณ์ ได้ถูกต้อง ก็ช่วยกรุณาสอนด้วย ผมยังเด็กอยู่ แต่อยากรู้เรื่องการเมือง การประชดประชันเรื่องระดับมันสมอง และ วิจารณญาณ ของกระผม คงไม่ช่วยให้กระผมเข้าใจสถานการณ์ การเมืองได้ดีขึ้น เมื่อตอน คุณเด็กๆตอนเริ่มสนใจการเมืองใหม่ๆ คุณก็คง อยากจะทราบความ จริงที่เกดขึ้นเหมือนกระผม กระผมไม่ได้พยายามตะแบงเถียง แต่ถ้าได้รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นบ้างกระผมอาจจะมีความรู้เพิ่มขึ้น

นีโอ
บันทึกการเข้า
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #30 เมื่อ: 09-07-2006, 14:53 »

ศิโรตม์เป็นหนึ่งในคนไทยน้อยรายที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคนนี้ลาออกตั้งแต่สองปีที่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์กรือเซะ-ตากใบ แต่ในช่วงที่คนหลายฝ่ายชูธงนายกพระราชทานเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี ศิโรตม์กลับเคลื่อนไหวในกลุ่มอดีตนักกิจกรรมและนักศึกษาไทยในต่างประเทศ เพื่อคัดค้านการต่อสู้แนวทางนี้มาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่เพราะเขาชื่นชอบทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย แต่เพราะเขาเห็นว่าประชาธิปไตยมีความหมายมากกว่าการขับไล่นายกรัฐมนตรีสารเลว

++++++++++++++++++++++

ตรงที่เน้นสีแดงไว้เพื่อจะนำมาขยายความอีกทีหนึ่งนั้น
เป็นการ "ตีความหมาย" ผิดพลาดอย่างมหันต์

คุณศิโรตม์และเพื่อนพ้องกลุ่มหนึ่ง ที่ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ องค์กรภาคประชาชนบางองค์กร อ.ธรรมศาสตร์หลาย ๆ คน รวมทั้งกลุ่มนักวิชาการอาวุโสที่มี อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นแกนนำ

ไม่ได้เห็นว่า การใช้วิธีทางประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ สำคัญกว่าการขับไล่ทักษิณ เลยแม้แต่นิด
แต่เป็นความหมายในด้านลึก ที่คงไม่มีใครกล้านำมากล่าวทางสาธารณะ
แต่ถ้ามีโอกาสไปร่วมวงสนทนา เสวนา กับคนเหล่านี้เป็นการเฉพาะ ก็คงพอจะทราบดีกว่า
พวกเขาต่อต้านการใช้ มาตรา 7 เพราะอะไร

สำหรับตัวผมเอง ผมเห็นด้วยในหลักการนี้ แต่ในความจริง เป็นเรื่องอุดมคติเกินไป และมัน "ไปไกล" มาก จนยากจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทย
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 09-07-2006, 14:58 »

คุณ cameronDZ กำลังจะได้เล่นปรากฏการณ์เฉียด 55555  Mr. Green
ผมว่าผมรู้น่า ผมก็คิดแบบคุณ cameronDZ น่านแหละ

 Very Happy Very Happy Very Happy
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
cameronDZ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,827


my memory


« ตอบ #32 เมื่อ: 09-07-2006, 15:07 »

คุณ cameronDZ กำลังจะได้เล่นปรากฏการณ์เฉียด 55555  Mr. Green
ผมว่าผมรู้น่า ผมก็คิดแบบคุณ cameronDZ น่านแหละ

 Very Happy Very Happy Very Happy

มะอาว ไม่เล่น เกมนี้ ความเสี่ยงสูง ค่าตอบแทนน้อย Mr. Green
บันทึกการเข้า

ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่มาหลายปี ยังไม่เคยได้รับคำขอโทษ ขอขมา
จากใครแม้แต่สักคนเดียวเลย
...เช่นกัน คำขอบคุณ ก็ยังไม่เคยมีสักคำ...
แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ในใจพวกเขาคงคิดคำเหล่านี้อยู่บ้างหรอก
...แค่คิด ไม่ต้องบอกออกมา ข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว...
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #33 เมื่อ: 09-07-2006, 16:09 »

ปลายสมัยคุณชวน หลีกภัย II นั้น
นักการเมืองในสภา นำโดยสส.ความหวังใหม่เร่งรัดให้คุณชวนลาออก
เมื่อคุณชวน ไม่ยอมลาออก ก็เรียกร้องให้ยุบสภา
เมื่อคุณชวน ไม่ยอมยุบสภา สส.ควม.ก็ทะยอยลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคฯและสภา
เหลือกลุ่มสส.ควม.กลุ่มคุณชิงชัย มงคลธรรม....

เหตุผลของการเรียกร้องให้ลาออก ให้ยุบสภา เพราะประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใหม่
ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ การมีรัฐสภาใหม่....

ประชาชนที่ได้ติดตามการเมืองในระยะนั้น ย่อมได้รับรู้ความคิดเห็นหลากหลาย
ทั้งสนับสนุนและคัดค้านการยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

คนที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหว เรียกร้องให้ยุบสภา คือแกนนำพรรคไทยรักไทย
ที่รอวันเวลาเลือกตั้งใหม่

ถ้าแกนนำพรรคไทยรักไทยยึดมั่น กติกา รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
คงไม่เรียกร้องให้คุณชวน ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญมีบทเฉพาะการให้รัฐบาลอยู่จนหมดสมัย....

ถ้าแกนนำพรรคไทยรักไทยยึดมั่น กติกา รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
คงไม่กวาดต้อนพรรคการเมือง สส.เข้าสังกัดเพื่อให้พ้นเงื่อนไข
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต้องมีคะแนนเสียงถึง 200 เสียงหรอก


ถ้าแกนนำพรรคไทยรักไทยยึดมั่น กติกา รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
คงไม่"เล่นเอาเถิด" ตีความกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เช่นในขณะนี้


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 09-07-2006, 16:15 »

ผมว่าคุณปุถุชนน่าจะใช้คำว่า "อุดมการณ์ประชาธิปไตย" มากกว่าคำว่า "ยึดมั่น กติกา รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง" นะครับ ตามความเข้าใจของผม เอ .. หรือว่าผมเข้าใจไม่ตรงหว่า
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #35 เมื่อ: 09-07-2006, 16:44 »

... อื้อหือ ช่างมีความสามารถในการพูดให้คนเข้าใจเสียนี่กระไร ไม่ทราบว่าหลุดมาจากห้องสมุดไหนหรือเปล่า

วิเคราะห์สถานการณ์ยังกับคุณไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างนั้นแหละ ทำอย่างกับคนต่างชาติที่มองประเทศเรา

คุณบอกว่าอะไรไม่ดี แต่ทำไมไม่บอกว่าอะไรดีล่ะ ทั้งหมดที่คุณพูดมานี่มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลยนะ ทั้งที่เวลานี้ควรจะถึงเวลาพูดเพื่อแก้ปัญหา

ไม่ใช่วิเคราะห์เหตุการณ์ ไอ้วิเคราะห์เนี่ย คุณไปวิเคราะห์ตอนที่มันจบเรื่องแล้วได้มั้ย ผมว่าทำยังงี้มันออกจะผิดกาลเทศะไปหน่อย

แต่ไม่ใช่แค่ผิดกาลเทศะ....ไม่ทราบว่าคุณมองผ่านแว่นอะไรหรือเปล่า คุณกล่าวหาว่าพันธมิตรกระ***นกระหือรือที่จะขอพระราชอำนาจ

ทั้งๆที่จุดประสงค์หลักคือการ "ไม่ยอมรับและัขับไล่สิ่งที่ไม่ถูกต้อง" ซึ่งวิธีการอาจจะไม่ถูกต้องที่สุดก็ได้

คุณมองว่าการเลือกตั้งนั้นถูกต้อง แต่ทำไมคุณไม่มองล่ะ ว่ากติกาการเลือกตั้งถูกต้อง กติการการเลือกตั้งสมบูรณ์ไร้ข้อบกพร่องแล้วหรือไม่

หรือแม้กระทั่งประชาธิปไตยไทยนั้นสมบูรณ์พร้อม ควรแก่การยึดถือแล้วหรือไม่

คุณพูดว่า "หากประเมินขบวนการขับไล่ทักษิณด้วยสายตาแบบนี้ ปัญหาที่สำคัญมากประการหนึ่งก็คือการเกิดพันธมิตรทางการเมืองที่วางอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างคนชั้นกลาง-ทหาร-คนชั้นสูง เพื่อต่อต้านนายกรัฐมนตรีทรราชย์โดยวิธีการปฏิเสธการเลือกตั้ง นั่นเท่ากับว่าพันธมิตรแบบนี้สุ่มเสี่ยงต่อการถือว่าเสียงของคนชนบทและคนชั้นล่างจำนวนมากมี ‘น้ำหนัก’ และ ‘ความชอบธรรม’ น้อยกว่าเสียงของคนเมืองและคนในระดับบนของสังคม"

ไม่เลย เราไม่ได้พูดเช่นนั้น แต่เราถือว่า ประชาธิปไตยที่ดีนั้น ต้องประกอบไปด้วยภาคประชาชนที่แข็งแรง มีความรู้ มีข้อมูลที่ประกอบการตัดสินใจ เพื่อที่จะได้ "รู้ทัน" เหล่าผู้แทนของตน

คุณพูดว่า เราเน้นการใช้อำนาจเบื้องสูงมาปฎิเสธระบบประชาธิปไตยแบบเดิมๆ แต่ผมมองว่า ถ้าคุณคิดว่าวิธีนั้นไ่ม่ดีแล้ว

คุณก็เสนอวิธีอื่นมาสิ เรายินดีรับฟัง อย่างผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับมาตรา7 ผมมองว่าพันธมิตรผิดพลาดไปตรงจุดนี้ แต่มันก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างหนึ่ง

รวมไปถึงการที่พันธมิตรดึงเบื้องสูงลงมาเกี่ยวข้อง เพื่อจะขับไล่นายทักษิณ ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนหรือไม่

ผมไม่รู้ว่าการที่เราหวังพึ่งแต่เบื้องบน มันจะเป็นอันตรายในระยะยาวหรือไม่

"แต่ผมรู้ว่า การมีอยู่ของนายทักษิณ มันเป็นอันตรายทั้งระยะยาวและสั้น อย่างแน่นอน"

ขอย้ำอีกหนนะ : ประเทศจะล่มจมอยู่แล้ว!! มาวิเคราะห์บ้าบออยู่ได้ บ้ารึเปล่าวะ ทำยังกับไม่ใช่คนไทย .... ตื่นสิคุณ ตื่น
บันทึกการเข้า
istyle
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 853



« ตอบ #36 เมื่อ: 09-07-2006, 16:48 »


อ่า .. ผมว่าคุณนีโอ อย่าสาดน้ำมันเข้ากองไฟดีกว่านะครับ โดยเฉพาะข้อความที่ 2 และ 6 ไม่อย่างนั้นผมจะเข้าใจว่าคุณนีโอ มาอยู่ที่เสรีไทยโดยมีวัตถุประสงค์แอบแฝง

ผมมองไปแล้วล่ะ ผมว่าเค้าคล้ายๆกับคุณอะไรจ๊ะ
บันทึกการเข้า
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #37 เมื่อ: 09-07-2006, 18:58 »

ดิฉันต้องขออภัยหากด่วนตัดสินไปว่า คุณมิได้อ่านบทความจนจบ ก็รีบสรุป
ทั้งนี้เพราะบังอาจไปกะเกณฑ์เอาเองว่า น่าจะใช้เวลาอ่านนานสักเท่าใด
ลืมคิดไปว่าย่อมมีคนฉลาดกว่า รวดเร็วกว่า และเข้าใจได้ดีกว่าเช่นคุณ
ทั้งนี้เพราะนึกไม่ถึงว่าจะมีใครเห็นว่าบทความนั้น “ห่วยแตก เพียงแต่รสชาติ แปลกใหม่” [#2]

ทั้งหลายทั้งปวงที่ นักวิชาการ(จอมปลอมรึเปล่าไม่ทราบ) ท่านนี้เขียนขึ้น..น่าอ่านมาก
เพราะใช้ความพยายามเหลือเกิน ที่จะอธิบาย ความคับแคบทางวิสัยทัรรศน์ของท่านออกมาให้คนเห็น

ลักษณะข้อเขียน นั้น เป็นกลางแล้วหรือ?...
มันก็แค่การหาความชอบธรรมให้กับอำนาจ ของรัฐบาลที่ กระทำผิดต่อบ้านเมือง หลายข้อ
ผิดทั้งทางกฎหมายและทางจริยธรรม คุณธรรม

รัฐถูกศาลตัดสินว่า ออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เช่นกรณีการไฟฟ้า - เอื้อประโยชน์สัมปทานต่างๆ จัดเลือกตั้งไม่สุจริต ฯลฯ
ผู้นำซุกหุ้น หาประโยชน์พวกพ้อง ปกป้องผู้รับเหมาที่เอาประโยชน์จากคอรัปชั่นเชิงนโยบาย ฯลฯ
หุ้นตก เศรษฐกิจหยุดนิ่ง ฯลฯ เพราะการเมือง ใช่หรือไม่


ไม่เคยเห็นผู้นำคนไหนจะ ไร้ยางอายขนาดนี้ ถ้าอารยะประเทศ เขาลาออกกันไปนานแล้ว !! ไม่ด้านอยู่ขนาดนี้หรอก
ด้านกันเป็นขบวนการ บ้านเมืองวิกฤติที่สุดในโลกขนาดนี้ ยังเกาะเก้าอี้แน่น หวงอำนาจ
คิดจะมองด้านเดียวแบบนี้ ไปสมัครเป็น กกต.เลยดีกว่าไหม?จะได้ชัดเจนกันไปเลย ไม่ต้องมาสวมบท ปลอมแปลงร่าง อ้างวิชาการ
ในเมื่อแก้ปัญหาความสงบไม่ได้นานแรมปี จะหวงอำนาจไปโดยอ้างอะไรเป็นความชอบธรรม ?
สรุปจะอ้างว่า บ้านนี้เมืองนี้ ไร้คนดีแล้วหรือ จำต้องให้ตัวกูเท่านั้น คือผู้นำตลอดกาล อย่างนั้นใช่ไหม?


สิ่งเหล่านี้หาไม่เจอในข้อเขียนที่คุณลิ้งค์ไป
คนที่เขาเป็นนักวิชาการ ต้องนำเสนอ ปัญหา...พร้อมทางออก
แต่นี้ เหมือน ร้องทุกข์แทนไอ้เหลี่ยม
หาการนำเสนอแก้ปัญหาไม่มีสักข้อ...
เก่งแต่หาข้อมูลมาอารัมภทออกแขก แล้วเลี้ยวโค้งมาสรุป เอาอย่างที่ปักธงไว้ในใจเท่านั้น

หวังว่าคุณ Snowfake คงมีจิตใจที่เปิดกว้าง เช่นกัน
ยอมรับว่า ข้อเขียนนี้ ห่วยแตก!! เพียงแต่รสชาติ แปลกใหม่ !!
อ่อนนุ่ม เหลวเละ แต่ลุนละไม
พร้อมมีผักชีโรยหน้าจำนวนมากมาย ดูสวยงาม อย่างที่คุณพูด
อย่างน้อยก็ดีกว่า ข้อเขียนของพวกลิ่วล้อที่ไม่ชอบลงแรง แม้ว่าท้ายสุดอ่านแล้วจะแสดงความเขลาของตนอออกมาเท่ากันก็ตาม

ฮา ไม่ออกจริงๆ
รู้สึกผิดหวังในตัวคุณ Snowfake หน่อยๆแล้วหละ เรา




หรือ “ไร้สาระ” [#8] หลังจากที่ได้อ่านโดยตลอดทั้งบทความ

คุณ Snowfake
คุณกำลังทำอะไร?

ทำไมต้องทำแบบนี้หละ
หรือว่า วอร์รูม หมดตัวเล่นแล้ว ต้องเผยไพ่ที่ คว่ำไว้ออกมา งั้นหรือ

คนเล่นบอร์ดนี้ กดลิ้งค์เป็น นะ ขอบอก..
เลิก เว้นระยะ แล้วก้อปปี้ สิ่งไร้สาระมาลง ทำเหมือน แย่งชิงเนื้อที่ข่าวเหอะ
เราเสนอลบสถานภาพ พิเภก เพราะการกระทำ เป้าหมายแบบนี้ไป 1 คนแล้ว
ไม่อยากให้มีคนเห็นด้วยกะคนในวงการเลย แต่มันดูดี และมีประโยชน์ต่อส่วนรวม มากกว่าจะปล่อยต่อไป

ขอร้อง...ไม่อยากเสีย คนที่มีแนวคิดแตกต่างไป
(แต่ถ้ามันไร้คุณภาพ เอามากๆก็จำยอม)

แต่ในเมื่อคุณยืนยันว่าอ่านแล้วและเห็นเช่นนั้นจริง
ก็คงต้องเชื่อและยอมรับว่าเป็นไปได้
และขยายกรอบแนวคิดของตัวเองให้กว้างขึ้นกว่าเดิม
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ThailandReport
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,415


« ตอบ #38 เมื่อ: 09-07-2006, 19:09 »

สงสัยกินหิมะมากไปไหมเนี่ย

มันเลยหลอนเอา

แต่ก็ยินดีนะ ที่การมาโพสต์ครั้งนี้ ลงท้ายว่า...เชื่อและยอมรับว่าเป็นไปได้
และขยายกรอบแนวคิดของตัวเองให้กว้างขึ้นกว่าเดิม...

ว่างๆเชิญไปเป็นแขกห้องกวีเขาหน่อย (ขออนุญาตเชิญแทนคุณ เลิศภพ จบกระบวนการ อิๆ)
ไป Fake  กันในบทกวี มันอาจจะทำให้บรรยากาศ ดีกว่านี้
บันทึกการเข้า

The only thing necessary for the triump of evil is for good men to do nothing !!
สิ่งเดียวที่จะทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ นั่นคือการที่ คนดีๆนิ่งดูดาย !
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #39 เมื่อ: 09-07-2006, 19:10 »


กดลิ้งค์เป็น

ถ้าคิดจะไม่ให้กดลิ้งค์ ก็ไม่ต้องทำลิ้งค์ อยากก้อปมาลงก็ไม่ว่า
เมื่อทำลิ้งค์แล้ว จะก้อปมาอีกทำไม เปลืองเนื้อที่


ทำทั้งสองอย่าง ด้วยวัตถุประสงค์ดังนี้

ทำ link

1) เพื่อแสดง “ที่มา” ให้ผู้อ่านได้ทราบว่าอยู่ที่ “เวบประชาไท”
ท่านจะได้ใช้วิจารณญาณประเมินความน่าเชื่อถือของ “สาร” ที่
นำเสนอ และท่านจะได้คัดสินใจว่าจะอ่าน/ไม่อ่าน ต่อไป
(เช่น เวบประชาไทนี้ เอียง/ไม่เอียงแค่ไหน? บิดเบือน เลือกข้าง หรือไม่?
เจ้าของและผู้ปฏิบัติงาน โง่/ฉลาด เชี่ยวชาญในด้านไหน?
ได้รับ sponsor จากที่ใด? ฯลฯ)
[ดิฉันไม่มีคำตอบให้กับทุกประเด็นที่ยกตัวอย่าง
เพียงบอกเป็นหลักการ ว่าทำไมจึงควรทราบ “แหล่งที่มา”
แต่สมาชิกบางท่านที่มีประสบการณ์ หรืออยู่วงใน อาจทราบและแบ่งปันได้]
2) เพื่อให้ผู้ที่กดตาม link ไป ได้อ่านความคิดเห็นท้ายบทความดังกล่าว
ตามที่แสดงในเวบต้นกำเนิดนั้น (ประชาไท)
ประการแรก จะได้เห็นว่าคนที่อยู่นอกบ้าน (เสรีไทย) คิดกันอย่างไร
ประการที่สอง บางความคิดเห็นอาจช่วยให้เข้าใจส่วนของเนื้อหา (บทสัมภาษณ์) ได้ดีขึ้น
เพราะมีการตีความ ขยายความ หรือใช้ถ้อยคำที่ต่างไป


Copy เนื้อหามาแปะ



ดิฉันกะว่าจะ copy เนื้อหามาลงก่อน แล้วใส่ความคิดเห็นทีหลัง


เพราะอยากแสดงความเห็นส่วนตัวที่มีต่อเนื้อหาส่วนนั้นๆ
และเห็นว่าจะเข้าใจได้ง่าย หรือถึงขั้นจำเป็นที่จะต้องมีข้อความแวดล้อม (บริบท) ประกอบ
ความหมายของข้อความขึ้นกับบริบท (context) ที่อยู่อย่างมาก
หากยกประโยคใดประโยคหนึ่งมาพียงประโยคเดียว
ก็อาจทำให้สื่อความหมายไม่ตรง หรือผิดไปจากที่ควรเป็น
อาจต้องอ่านทั้งหัวข้อย่อย หรือทั้งเรื่องจึงเข้าใจ

ตัวอย่าง เช่น ประโยคที่ highljght สีแดง ตอนก่อนเข้าเนื้อหา เป็นต้น
เป็นประโยคที่ทำให้เกิดความสนใจ ใคร่รู้และอ่านต่อไป
เพื่อความเข้าใจว่าผู้พูดหมายความว่าอย่างไรแน่

ซึ่งบางครั้งก็พบว่าผู้ทำบทสัมภาษณ์ ทำสรุปหรือจับประเด็นได้ไม่ตรง
กับผู้ตอบ/ให้สัมภาษณ์ก็มี โดยใส่ความเข้าใจ/การตีความของตัวเองลงไป
วิธีการที่ดีคือ ต้องให้ผู้พูดได้อ่านบทสัมภาษณ์และรับรองก่อนนำมาเผยแพร่

คุณ ThailandReport เห็นว่ามีวิธีอื่นที่เหมาะสมกว่าเชิญแนะนำได้ค่ะ
โดยส่วนตัว ไม่คิดว่า กรุณาตาม link ไปอ่านย่อหน้าที่ ... บรรทัดที่ ... ถึง ....
เป็นวิธีที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ

ส่วนเรื่อง “เปลืองเนื้อที่” เห็นด้วยกับการประหยัด
แต่ที่ใช้ไปเพราะ ไม่คิดว่าเป็นบทความ “ไร้สาระ”
จึงไม่คิดว่าสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ค่ะ
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ThailandReport
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,415


« ตอบ #40 เมื่อ: 09-07-2006, 19:13 »

ขออภัยที่เราตอบไวไปหน่อยหรือไม่ก็คุณsnow.... Fake ช้าไปนิด
เอาเป็นว่าเหลือกตาไปอ่านข้างบนก็ละกันนะ

จบข่าว..
บันทึกการเข้า

The only thing necessary for the triump of evil is for good men to do nothing !!
สิ่งเดียวที่จะทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ นั่นคือการที่ คนดีๆนิ่งดูดาย !
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #41 เมื่อ: 09-07-2006, 19:15 »

1. คือแค่ชื่อกระทู้นะ "สำหรับคนที่เชื่อว่าตัวเองใจกว้างและมีสติพอจะรับฟังผู้ที่คิดไม่เหมือนตัวเองได้" ก็เหมือนกับสิ่งที่คุณ snowflake แสดงออกมาตลอด คือ คนอื่นเป็นไงไม่รู้ (คนอื่นออกแนวๆ พาล หยาบคาย ขาดสติ) แต่ยังไงก็ตามฉันจะบอกว่าฉัน snowflake ใจกว้าง มีสติ รักพ่อ แน่นอน และก็เป็นการพูดเพื่อหา "เกราะกำบัง" และ "ดัก" คนอื่นไม่ให้แย้งตัวเอง เพราะเมื่อแย้งเข้าฉันก็จะชี้นิ้วบอกคนอื่นว่า นี่คือความใจแคบ นิยมความรุนแรง พาล ในตอนท้ายก็มักจะบอกว่า จะแผ่เมตตาให้ ซึ่งผิดจากคนที่แผ่เมตตาวางอุเบกขาหรืออะไรก็แล้วแต่ได้สำเร็จจริง จิตใจคนวางอุเบกขาได้จริง จะไม่พูดพร่ำเพรื่อครับ

มันคล้ายๆกับ ทักษิณที่มักจะพูด "กติกา" "จะ โปรเท็กต์ ประชาธิปไตยด้วยชีวิต" อะไรลักษณะนั้นน่ะครับ คือ พยายามจะใช้คำว่าประชาธิปไตยและกติกา เป็นเครื่องมือพาตัวเองลอยตัวอยู่เหนือผลลัพธ์ทั้งหลายทั้งปวง พอใครที่แสดงตัว เพื่อสุดท้ายแล้วยังไงตัวเองก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรสักอย่าง ลงท้ายก็บอกว่า "ตถตา" แต่การกระทำไม่ได้้บ่งบอกว่าเขาเข้าใจ

ดังนั้นผมคิดว่า คุณ snowflake ควรถามคำถามนี้กับตัวเองก่อนอื่น


ชื่อกระทู้ไม่เหมาะสมจริงอย่างคุณว่า
และน่าจะมีผลทำให้คนไม่อยากอ่าน หรือพาลไม่เปิดใจ
เพราะหมั่นไส้ หรืออารมณ์ในทางไม่ดีอื่นๆ
เป็น backfire ก่อให้เกิดผลร้ายตรงข้ามกับเจตนา
นิสัยชอบประชดประชันนี้ เป็นวิจีทุจริตที่ยังแก้ไม่หาย
แค่ลดความรุนแรงลงมาจากการด่าด้วยคำหยาบคาย แม้ในความคิด
(ซึ่งใครจะเห็นว่า กระแดะ ดัดจริต ... ก็เชิญตามสบาย)
ยังต้องพยายามลดละเลิกต่อไป ตามประสามนุษย์ผู้มีกิเลสหนา
และอารมณ์แกว่งไกว หวั่นไหวต่อแรงกระตุ้นได้ง่าย
มิใช่ผู้บรรลุธรรมไม่ว่าชั้นต้นหรือชั้นไหน
เพียงได้รับการสั่งสอนว่า
ทุกครั้งที่เกิดโทสะ ไม่ว่าต่อผู้ใด ไม่ต้องเพ่งว่าใครผิดหรือถูก
ให้ท่องบทแผ่เมตตา จนกว่าจะเย็นลง หายโมโหได้
ยังห่างไกลจากอุเบกขา การละวาง
หากวางได้จริงก็คงไม่สนใจมาทุ่มเถียงแสดงความคิดเห็น
ไม่ว่าในเวบบอร์ด หรือในชีวิตจริง

ซึ่งเรื่องมีความคิดเห็นนี้ ต้องโทษที่กระบวนการศึกษาในโลกเสรี
ที่บังคับให้ต้องคิดและแสดงความเห็น ไม่ว่าเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้งเพียงไหน
เรื่องที่ไม่เคยคิดจะไปสนใจติดตาม อย่าว่าแต่ให้บอกว่ารู้สึกอย่างไร เพราะเหตุใด
No comment ไม่ได้ บังคับให้บอกว่าทำไมถึง No?
เพราะมีสองแนวทางตรงข้ามที่หักล้างกันพอดี? จาะไนมาให้หมดทุกประเด็น

Opinionated น่าจะบั่นทอนอุเบกขา?
หรือจริงๆ แล้วหมายถึงต้องพิจารณาให้เสร็จก่อน
แล้วปล่อยวางให้ได้ในภายหลัง?
เชิญผู้มีคุณธรรมล้ำเลิศช่วยชี้แนะด้วย
จักเป็นวิทยาทานอันยิ่งใหญ่
ที่ได้ช่วยให้ผู้ “ไม่รู้” กลายเป็น “ผู้รู้” ได้

คุณ ThaiTruth หากมี “เมตตา”
“กรุณา” อย่าบอกว่าดิฉันคล้ายนายทักษิณ
เพราะไม่มีใครอยากไปคล้ายคนที่ตัวเองเกลียด
ขอร้องไม่เห็นใจ ดิฉันแผ่เมตตาอีกก็ได้
ไม่แน่ว่าต้องไปหาคาถาแรงกว่านี้มากำกับความฟุ้งซ่านของจิตใจ

หมดเวลาเหลวไหลแล้ว duty calls
ต้องไปทำงาน/ภาระที่รับผิดชอบ ในโลกจริง
แล้วจะมาใหม่เมื่อหาเวลาได้ และยังไม่โดน ban
บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
ศก
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 244



« ตอบ #42 เมื่อ: 09-07-2006, 19:59 »

Thaksin is the Worst PM Thais ever have.
บันทึกการเข้า
ประกายดาว
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,266


" ดาว " ดวงน้อยประกาย นั่นยังพร่างพราย.....


« ตอบ #43 เมื่อ: 09-07-2006, 20:54 »

อ้างถึง
ยังต้องพยายามลดละเลิกต่อไป ตามประสามนุษย์ผู้มีกิเลสหนา
และอารมณ์แกว่งไกว หวั่นไหวต่อแรงกระตุ้นได้ง่าย
มิใช่ผู้บรรลุธรรมไม่ว่าชั้นต้นหรือชั้นไหน
เพียงได้รับการสั่งสอนว่า
ทุกครั้งที่เกิดโทสะ ไม่ว่าต่อผู้ใด ไม่ต้องเพ่งว่าใครผิดหรือถูก
ให้ท่องบทแผ่เมตตา จนกว่าจะเย็นลง หายโมโหได้
ยังห่างไกลจากอุเบกขา การละวาง
หากวางได้จริงก็คงไม่สนใจมาทุ่มเถียงแสดงความคิดเห็น
ไม่ว่าในเวบบอร์ด หรือในชีวิตจริง

ซึ่งเรื่องมีความคิดเห็นนี้ ต้องโทษที่กระบวนการศึกษาในโลกเสรี
ที่บังคับให้ต้องคิดและแสดงความเห็น ไม่ว่าเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้งเพียงไหน
เรื่องที่ไม่เคยคิดจะไปสนใจติดตาม อย่าว่าแต่ให้บอกว่ารู้สึกอย่างไร เพราะเหตุใด
No comment ไม่ได้ บังคับให้บอกว่าทำไมถึง No?
เพราะมีสองแนวทางตรงข้ามที่หักล้างกันพอดี? จาะไนมาให้หมดทุกประเด็น

Opinionated น่าจะบั่นทอนอุเบกขา?
หรือจริงๆ แล้วหมายถึงต้องพิจารณาให้เสร็จก่อน
แล้วปล่อยวางให้ได้ในภายหลัง?
เชิญผู้มีคุณธรรมล้ำเลิศช่วยชี้แนะด้วย
จักเป็นวิทยาทานอันยิ่งใหญ่
ที่ได้ช่วยให้ผู้ “ไม่รู้” กลายเป็น “ผู้รู้” ได้

คุณ ThaiTruth หากมี “เมตตา”
“กรุณา” อย่าบอกว่าดิฉันคล้ายนายทักษิณ
เพราะไม่มีใครอยากไปคล้ายคนที่ตัวเองเกลียด
ขอร้องไม่เห็นใจ ดิฉันแผ่เมตตาอีกก็ได้
ไม่แน่ว่าต้องไปหาคาถาแรงกว่านี้มากำกับความฟุ้งซ่านของจิตใจ

หมดเวลาเหลวไหลแล้ว duty calls
ต้องไปทำงาน/ภาระที่รับผิดชอบ ในโลกจริง
แล้วจะมาใหม่เมื่อหาเวลาได้ และยังไม่โดน ban

ขอ แสดง ความชื่นชม คุณ  snowflake ใน ความเห็นนี้นะคะ

ในทั้งหมด ของพรหมวิหาร สี่ การวางอุเบกขา ยากที่สุดจริงๆ ค่ะ
แต่ การพยายามจะวาง หรือ การ รู้จัก ข้อเด่นข้อ ด้อยของตัวเอง
ประกายดาวว่า ก็ ยากพอๆ กัน ...

บันทึกการเข้า



วันที่ดาว ทวงฟ้า นภากระจ่าง
ดาวล้านดวง ทวงทาง ระหว่างฝัน
ผุดขึ้นมา  คราเดียว พร้อมพร้อมกัน
ประกาศมั่น.... วันนี้... เสรีไทย



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=twinkling-stars&group=1
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 09-07-2006, 21:32 »

ยังห่างไกลจากอุเบกขา การละวาง
หากวางได้จริงก็คงไม่สนใจมาทุ่มเถียงแสดงความคิดเห็น
ไม่ว่าในเวบบอร์ด หรือในชีวิตจริง


ไม่ถูกค่ะ อุเบกขา ตามหลักธรรม ไม่ได้หมายความว่า ละวางไม่ยุ่งไม่เกี่ยว ลอยตัวเหนือปัญหา

แต่หมายรวมไปถึง ก่อนที่จะมาถึงอุเบกขา ได้มี เมตตา กรุณา มุทิตา มาก่อน

เช่น มีข้อขัดข้อง เห็นทะเลาะเบาะแว้ง  (เมตตา) ช่วยชี้แนะ ชี้ประเด็น เพื่อให้เลิกแล้วต่อกัน (กรุณา)

ถ้าต่างฝ่ายเลิกแล้วต่อกัน เข้าใจเหตุผล ก็มีความยินดี (มุทิตา) แต่ถ้ายังตีกันไม่เลิกทั้งที่ทำตามวาระข้างต้นไปแล้ว ก็จึงละวาง (อุเบกขา)

การลอยตัวอยู่เหนือปัญหา ไม่ยุ่ง ไม่เกี่ยว ทั้งๆ ที่เห็นว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ถือว่า ไม่มีเมตตา ค่ะ

เพราะงั้นจะอ้างว่าเป็นอุเบกขา ก็ไม่น่าจะถูก เพราะอุเบกขานั้น ไม่ได้เกิดจากความเป็นธรรม

ต้องเริ่มต้นที่ ธรรม มาก่อน
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
ThailandReport
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,415


« ตอบ #45 เมื่อ: 09-07-2006, 21:35 »

สุดยอด
ส้าธุ
อมิตพุทธ
เจริญพร
 Shocked
บันทึกการเข้า

The only thing necessary for the triump of evil is for good men to do nothing !!
สิ่งเดียวที่จะทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ นั่นคือการที่ คนดีๆนิ่งดูดาย !
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 09-07-2006, 21:37 »

ว่าแล้วก็ ฟังกันอีกรอบเน้อ เหมือนง่ายแต่ยาก http://www.buddhismthailand.com/dhammasound/pa_payutto/2549/2549_03.wma เหมือนยากแต่ง่าย  Mr. Green
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #47 เมื่อ: 09-07-2006, 22:14 »

สุดยอด
ส้าธุ
อมิตพุทธ
เจริญพร
 Shocked



ผมห่างไกลจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ได้พลอยรับฟัง รับรู้บ้าง............ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
หน้า: [1]
    กระโดดไป: