ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 19:14
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ทหาร-การเมือง เส้นขนานที่ไม่ควรบรรจบ-เปลวสีเงิน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ทหาร-การเมือง เส้นขนานที่ไม่ควรบรรจบ-เปลวสีเงิน  (อ่าน 2249 ครั้ง)
แมมมอธ
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 133



« เมื่อ: 12-10-2008, 05:30 »

12 ตุลาคม 2551 

เสียงเรียกร้องให้ทหารยืนเคียงข้างประชาชน จากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นเสียงที่ดังสนั่นในโสตประสาทของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา


มาตั้งแต่เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

เพราะเขาไม่ใช่  พล.อ.สพรั่ง  กัลยาณมิตร ซึ่งเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นของพันธมิตรฯ

แต่หากเขาเป็นนายทหาร  ตท.10  เพื่อนร่วมรุ่นของ  พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร จึงมีความไม่ไว้วางใจ และคลางแคลงใจมาตลอดว่า ที่จริงแล้วเขาอยู่ฝ่ายไหนกันแน่

เป็นหนึ่งในแขนขาของระบอบทักษิณหรือไม่?

มีเสียงเรียกร้องมาตลอดระยะเวลาที่   พล.อ.อนุพงษ์   เผ่าจินดา   ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ให้แสดงจุดยืนทางการเมือง   ว่ายืนอยู่ข้างไหนและทำเพื่อใคร

มีความชัดเจนครั้งสำคัญในตัวนายทหารผู้นี้อย่างน้อย 2 ครั้งด้วยกัน

ครั้งแรกคือ การแถลงข่าวเมื่อวันที่  2  กันยายน  หลังการปะทะกันระหว่างพันธมิตรฯ กับ นปช.ที่ถนนราชดำเนิน จุดยืน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในเวลานั้นคือ

"ความขัดแย้งทางการเมืองต้องแก้ไขทางการเมือง   ต้องผ่านกลไกทางกฎหมายและกฎที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด"

ขณะนั้นอยู่ในยุครัฐบาลนายสมัคร  สุนทรเวช ซึ่ง ผบ.ทบ.ผู้นี้ฝากแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติไปยังรัฐบาลว่า

"กลไกที่จะดำเนินการได้ต้องเป็นกลไกทางรัฐสภา หรือกลไกพรรคการเมือง"

การให้ความเห็นด้วยมาดนุ่มนอกแข็งใน ณ วันนั้น  หลายคนคิดไปว่าเขามีความเหมาะสมน่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ พันธมิตรฯ เองก็แสดงความชื่นชมในระดับหนึ่ง

ต่อมาครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม หลังเหตุการณ์ 7 ตุลาเลือด ผ่านพ้นไปได้ 3 วัน

เป็นการเรียกร้องให้  รัฐบาลสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ รับผิดชอบกับคำสั่งปราบปรามประชาชน จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

"ผมไม่ได้กดดันว่ารัฐบาลผิดหรือไม่ผิด  แต่รัฐบาลต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำลงไป ต้องไปหาว่ารัฐบาลสั่งแล้วเป็นอย่างไร แล้วก็พิจารณากันเองว่าจะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร"

สิ่งที่  พล.อ.อนุพงษ์  เผ่าจินดา  แถลงนั้น กลั่นออกมาจากใจ หรือเป็นเพราะภาวะการเมืองบีบคั้นให้ต้องแสดงจุดยืนก็ตามแต่

แต่มีสิ่งหนึ่งปรากฏขึ้นมาคือ  ทหารถูกขีดวงให้ยืนในพื้นที่จำกัด ไม่เหมือนภาพที่เราเห็น และรับรู้ได้จากพฤติกรรมของบรรดานายพลในอดีตอีกต่อไป

นั่นคือแสดงออกด้วยการส่งสัญญาณไปยังฝ่ายการเมือง ว่าสิ่งที่ควรทำคืออะไร

ทหารควรแสดงจุดยืนทางการเมืองหรือไม่  และจำเป็นหรือไม่ที่ต้องประกาศตัวว่าอยู่ข้างไหน สิ่งเหล่านี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รู้ดี

แต่การก้าวข้ามไปไกลกว่านั้น   คือการยึดอำนาจ  รัฐประหาร  เป็นสิ่งที่ต้องไตร่ตรองและรอบคอบยิ่งกว่า

พล.อ.อนุพงษ์  เผ่าจินดา รู้ดีว่าการนำกองทัพเข้ามาสู่การเมืองด้วยการปฏิวัติ รัฐประหาร เป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะเมื่อได้อำนาจมาก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีศักยภาพพอที่จะรักษาอำนาจนั้นไว้ได้หรือไม่

สิ่งที่เกิดขึ้นกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ  (คมช.)  เตือนสติกองทัพว่า พวกเขาไม่มีศักยภาพพอที่จะจัด "การเมือง" ได้อีกต่อไป แม้จะมี "ผู้สนับสนุน" ที่มากไปด้วยบารมีก็ตาม

บทบาทที่ทหารทำได้ดีที่สุดคือ เฝ้ามองการเมืองและแสดงท่าทีไปตามสถานการณ์ โดยไม่เข้าไปคลุกคลีมากเกินไปจนถอนตัวไม่ขึ้น

แต่เสียงเรียกร้องที่ยั่วยวน จะทำให้ทหารอดใจไหวหรือไม่ ?

76  ปีแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ปฏิเสธไม่ได้ว่ากองทัพมีบทบาทสำคัญตลอดมา

และล้วนเป็นปฏิปักษ์กับคำว่า "ประชาธิปไตย"

เหตุการณ์นับแต่ พ.ศ.ก่อนกึ่งพุทธกาล  จนมาถึง  14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 เรื่อยมาถึงพฤษภาทมิฬ ปี  2535 และ 19 กันยายน 2549 เกิดขึ้นเพราะทหารมีความเชื่อว่า กองทัพสามารถขจัดปัญหาการเมืองให้ประเทศได้

ต่างจากเหตุการณ์  7 ตุลาคม ที่ทหารไม่เชื่อมั่นในตัวเองอีกต่อไป ว่าจะเข้าไปจัดการปัญหาการเมืองได้อย่างไร  เพราะการเมืองมีพัฒนาการไปไกล  เกินที่ทหารซึ่งมีกรอบความคิดเพียงยึดอำนาจเพื่อรักษาอำนาจนั้นเอาไว้ให้ได้จะตามทัน

แต่การเมืองที่พัฒนาไปไกลที่ว่า หาใช่การเมืองในภาค "นักการเมือง" ไม่

หากเป็น "การเมืองภาคประชาชน" ต่างหาก

ที่ทหารกลัว  มิใช่พวกเขาไม่รู้วิธีที่จะจัดการอำนาจที่ได้จากนักการเมือง แต่เขากลัวและไม่รู้วิธีรักษาอำนาจที่เขาได้จากประชาชน  ไม่รู้  "วิธีการจัดสรรอำนาจ" ในรูปแบบที่กองทัพไม่คุ้นเคยมาก่อนต่างหาก

เพราะประชาชนได้แสดงให้เห็นแล้วว่า แม้  "ระบอบทักษิณ"  ที่มีอำนาจล้นฟ้า มีเงินมหาศาล ยังต้องดิ้นรนต่อสู้กับอำนาจประชาชน และยังต้องต่อสู้กันต่อไป

นี่คือที่มาของคำว่า ทำไมทหารไม่กล้ารัฐประหาร?

แม้มีเสียงเรียกร้องให้ทหารทำการรัฐประหาร  เพื่อเปิดช่องไปสู่การจัดการกับอำนาจรูปแบบใหม่ คือการยึดอำนาจ "นักการเมือง" เพื่อประชาชน

ยกระดับการรัฐประหารให้เป็นการ "ปฏิวัติ"

แต่  พล.อ.อนุพงษ์  เผ่าจินดา  ไม่กล้าทำเช่นนั้น  ไม่กล้าที่จะยกระดับการรัฐประหารให้เป็นการปฏิวัติการเมืองการปกครอง  หรือใครจะเรียกว่าปฏิรูปการเมือง  หรือการเมืองใหม่ก็ตาม เพราะความล้มเหลวของ คมช.ยังคงตามหลอกหลอน 

อีกทั้งไม่แน่ใจว่า อำนาจที่จะได้มีหลังรัฐประหารนั้น  สามารถนำมาใช้เพื่อประชาชนได้จริงหรือไม่ เพราะหากมีการทำรัฐประหารขึ้น  "ผู้สนับสนุน"  อาจไม่ปล่อยให้  พล.อ.อนุพงษ์   เผ่าจินดา ใช้อำนาจตามลำพัง

ในอีกทางหนึ่ง  การเมืองภาคประชาชนเทียมที่มีนักการเมืองชักใยอยู่เบื้องหลัง เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถคาดเดาได้เช่นกัน   ดูจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่เมืองทองธานี  ความใหญ่โตมโหฬารที่เห็นเทียมๆ จะคงอยู่ได้นานแค่ไหนไม่มีใครรู้

เมื่อทหารมีความกลัว  แล้วไยประชาชนถึงต้องเรียกร้องให้ทหารเป็นอัศวินขี่ม้าขาว มาเป็นปฏิปักษ์กับนักการเมืองเพื่อประชาชนด้วยเล่า

หากประชาชนคิดว่า   เพราะทหารมีปืนอยู่ในมือ   และเป็นปืนที่มีศักยภาพสูงกว่าตำรวจภายใต้การบงการของนักการเมือง นั่นถือเป็นความคิดที่ผิดมหันต์

จุดเริ่มต้นของการสร้างการเมืองใหม่  หรือการปฏิรูปการเมือง ถือว่ามีความสำคัญมากพอๆ กับการเล็งผลเลิศว่า จะประสบความสำเร็จพาประเทศก้าวสู่มิติใหม่

ดังนั้น ย่างก้าวแรกของประชาชนต้องเดินด้วยตัวเอง และตลอดเส้นทางไม่ควรมีกองทัพเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะตัวละครหลัก

ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่า   เราถอยไปยอมรับอำนาจทหาร   เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 และสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ส่งสัญญาณว่าทหารจะอยู่ในกรม กอง อยู่ในกรอบกฎหมาย เท่านั้นก็ถือเป็นบุญของประเทศ ที่เรามีทหารอาชีพ และขอให้ท่านยึดมั่นในหลักการนี้ตลอดไป

การถอยออกมาเป็นเพียงคนดูของทหารนั้น   จึงน่าจะเป็นผลดีกับการต่อสู้ของประชาชน  และการเดินหน้าไปสู่การปฏิรูปการเมืองมากกว่า

เมื่อยักษ์ถูกจับและหลับอยู่ในตะเกียงแล้ว ทำไมเราต้องขัดตะเกียงให้ยักษ์ออกมาอาละวาดด้วยเล่า

ไม่มีใครตอบได้ว่า เมื่อไรที่คนเรียกยักษ์ออกมาอ่อนแอ จะถูกมันจับกินเหมือนในอดีตหรือไม่

การเปลี่ยนแปลงประเทศโดยประชาชน ถ้าสำเร็จจะมีความศักดิ์สิทธิ์และยืนยาว

อย่าให้มีรอยด่างและต้องแก้ไขเหมือนที่กำลังเผชิญอยู่อีกเลย!.





บันทึกการเข้า
May The Force Be With You
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 331


ขอพลังสถิตย์กับท่าน


« ตอบ #1 เมื่อ: 12-10-2008, 06:50 »

เห็นด้วยอย่างมากครับ
บันทึกการเข้า

"เจไดที่ฉลาดมากๆ คนหนึ่งเคยบอกข้าไว้ว่าเราไม่จำเป็นต้องชนะ แต่เราต้องสู้"
concordance democracy
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 313


« ตอบ #2 เมื่อ: 12-10-2008, 07:04 »

ตื่นเถิดพี่น้อง ประชาชนคนไทย



“ระบบ 70/30 ตั้งเค้าทะมึนมาแล้วครับ ขอรัองเถอะ ตื่นเถิดพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งหลาย กรุณาผนึกกำลังกันรักษาอำนาจประชาธิปไตยของพวกเราทุกคนไว้ให้ได้จนถึงที่สุด

มีคนไทยจำนวนไม่น้อย(ผู้รู้จริงไม่เกี่ยวนะครับ) ที่เข้าใจว่าประชาธิปไตยหมายถึงเสียงส่วนมาก ผิดครับ ประชาธิปไตยแปลความหมายได้ว่า ประชาชนมีสิทธิที่จะปกครองตนเอง นั่นก็คืออำนาจเป็นของพวกเราประชาชนทุกคน คำว่า เสียงส่วนมาก นั้นเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งที่นิยมนำมาใช้สำหรับตัดสินความคิดที่แตกต่างกันในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นเอง ที่จริงแล้วประชาธิปไตยคืออำนาจหรือเสียงของประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ตัวผู้เขียน"วิกฤตการเมืองไทย - เหตุ, ผล และหนทางแก้ไข" http://www.cdthai.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538764369 ไม่ได้อยู่ในเมืองไทย แต่ได้ปักหลักอาศัยอยู่ในประเทศต้นแบบที่เขาใช้ระบบนี้บริหารประเทศมานานร่วม 30 ปีแล้ว นานพอที่จะแยกแยะได้ว่าวิธีการบริหารประเทศแบบ Concordance Democracy ของเขานั้นดีหรือเลวอย่างไร เสถียรภาพของรัฐบาลของประเทศนี้จัดได้ว่ามั่นคงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง เป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบที่อำนาจในการปกครองเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ผู้เขียนเห็นว่าระบบ Concordance Democracy นี้มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ในประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยของพวกเราให้มั่นคงถาวรตลอดไป จึงได้นำมาเสนอ โดยได้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ระบบประชาธิปไตยแบบสอดคล้อง”

ระบบประชาธิปไตยแบบสอดคล้องเป็นระบบที่หล่อหลอมเสียงส่วนมากกับเสียงส่วนน้อยเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน โดยที่ระบบจะเริ่มที่ประชาชนทั้งประเทศส่งผู้แทนของแต่ละกลุ่มในรูปของส.ส.อิสระและส.ส.ที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆโดยใช้วิธีลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้เข้าไปจัดตั้งรัฐบาล เพื่อร่วมกันรับผิดชอบในการบริหารประเทศตามสัดส่วนจำนวนส.ส.ของพรรคฯ จึงนับได้ว่าเป็นระบบที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในระบบประชาธิปไตยแบบสอดคล้องจึงเป็นรัฐบาลของประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง

ระบบประชาธิปไตยแบบสอดคล้องนี้หากมีการทำการศึกษาให้เข้าใจอย่างละเอียด นำมาดัดแปลงรวมกับระบบเดิมให้ได้หลักการที่สอดคล้องที่จะใช้กับสังคมไทยแล้วนำไปใช้ในการบริหารประเทศได้ ก็น่าจะทำให้ความขัดแย้งของกลุ่มต่างๆลดน้อยลง เพราะทุกกลุ่มจะมีตัวแทนของกลุ่มที่มีตำแหน่งหน้าที่บริหารประเทศอยู่ในรัฐบาลตามสัดส่วนที่ยุติธรรม ทำให้ระยะห่างระหว่างการได้เปรียบเสียเปรียบลดนัอยลง เมื่อประชาชนทั้งประเทศพอใจ ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงแบบไร้เหตุผลก็จะไม่เกิดขึ้นอีก

กรุณาให้โอกาศแก่ประเทศไทยสักนิดเถิดครับ ท่านจะคิดหรือตัดสินใจเช่นไรก็เป็นสิทธิ์ของท่าน ผู้เขียนมีความจริงใจในการที่จะนำเสนอหนทางแก้ไขวิกฤตการเมืองไทยอย่างแท้จริง แต่ถ้าท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายปิดประตูลงกลอนไม่ยอมรับรู้อะไรจากเราเลยเราก็จนปัญญา เพราะลำพังเราฝ่ายเดียวคงจะไล่ตาม 70/30 ไม่ทันแน่”

Tom Politics / politics@bigbone.ch / 15 September 2008
บันทึกการเข้า
oho
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #3 เมื่อ: 12-10-2008, 07:42 »

“เลิศ ไม้เก่า”กลับใจ! เลิกจัดม็อบสนองนักการเมืองชั่ว-แฉจ้างมอบกระเช้าตำรวจ 1.2 แสนได้รับแค่ 2 หมื่น
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 ตุลาคม 2551 20:03 น.
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9510000120932
 

 
"เลิศ ไม้เก่า" มือจัดม็อบรับจ้างพิษณุโลก ประกาศหันหลังให้กับอาชีพนี้ หลังถูกนักการเมืองชั่วหักหลัง




 
  พิษณุโลก - “เลิศ ไม้เก่า”สำนึกได้ ประกาศหันหลังอาชีพแกนนำม็อบรับจ้าง เตือนม็อบทั่วประเทศหยุดเผาบ้านเผาเมืองแลกกับเศษเงิน แฉจ้าง 1.2 แสนบาท มอบกระเช้าให้ ผกก.เมืองสองแคว แต่เงินตกถึงแกนนำม็อบแค่ 2 หมื่น แถมต้องรับเสียงด่าระงม ขณะนักการเมืองเสนอหน้าเบิกเงินกับนายใหญ่ ล่าสุดยังมีคนอ้างชื่อจ้างชาวบ้าน 1 รถบัสไปร่วมงาน นปก.เมืองทองธานี   
   
       ที่ร้านอาหาร “นกน้อยในไร่ส้ม”นายบุญเลิศ เรืองทิม หรือ “เลิศ ไม้เก่า” ได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนในจังหวัดพิษณุโลก ขอยุติบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ พร้อมกับบอกว่า นักการเมืองหักหลัง
       

 
การจัดม็อบมอบดอกไม้ให้กำลังใจตำรวจเมื่อ 4 วันก่อนของ "เลิศ ไม้เก่า" ที่เขายอมรับว่า ได้เงินจากนักการเมือง 20,000 บาท แต่มีการเบิกจากนักการเมืองใหญ่ระดับชาติ 120,000 บาท


       “เลิศ ไม้เก่า”บอกว่า วันนี้บ้านเมืองไทยกำลังถูกเผาด้วยฝีมือคนไทยกันเอง บ้านเมืองกำลังหาทางลง แต่หาไม่ได้ ก็ขอให้คนไทยหันหน้าเข้าหากันเท่านั้นเอง ปัจจุบันเขาถูกแอบอ้าง เอาชื่อของไปใช้ ทั้งที่ไม่รู้เรื่องด้วย ฉะนั้นจะไม่รับผิดชอบใดๆ กรณีนักการเมืองขนคนพิษณุโลกจำนวน 1 รถบัสไปร่วมกับ นปก.ที่เมืองทองธานี กรุงเทพฯ

       
       เขาบอกว่า สาเหตุที่แถลงข่าว ก็เพื่อประกาศยุติบทบาทการเคลื่อนไหวใดๆ และขอให้ม็อบรับจ้างทั่วประเทศ หยุดเผาบ้านเผาเมืองตัวเอง หยุดโกหกตัวเอง เพราะม็อบที่เคลื่อนไหว ได้รับเพียงเศษชิ้นเนื้อจากนักการเมือง แต่นักการเมืองในพื้นที่กลับต่อสายนักการเมืองระดับประเทศอีกครั้ง เพื่อตบทรัพย์ โดยตัดรูปหรือข่าวจากหนังสือพิมพ์ไปเบิกตังค์
       

       "ยกตัวอย่าง การมอบกระเช้าดอกไม้ให้แก่ ผกก.เมืองพิษณุโลก ผบก.จว.พิษณุโลกเมื่อ 3 วันที่ผ่านมา เขารับกัน 120,000 บาท แต่เขาให้ผมแค่ 20,000 บาท แต่สิ่งที่ผมได้ คือ เสียงโทรศัพท์ เสียงด่าทุกวัน จนไม่อยากสู้หน้า แต่ไอ้พวกนักการเมืองในพิษณุโลกนั้นสบาย รับตังค์ เสนอหน้า เสนอข่าวไปเบิกตังค์กับนายใหญ่[/b]

       
       "แต่เชื่อเถอะว่า วันนี้มีม็อบซ้อนม็อบ หรือ มีเลิศ รุ่น 2 แทนผม สิ่งที่ทำได้คือ บอกให้ม็อบทั่วประแทศยุติอย่าเป็นเหยื่อนักเคลื่อนไหวตบทรัพย์นักการเมือง หมดเวลาโกหกตัวเอง มองไปข้างหน้า การเมืองไทย มันไกลเกินไปกว่าม็อบชนม็อบ ควรยุติเลิกเผาบ้านตัวเองเสียที ระวังศึกนอก เขมรจะถล่มไทย"นายบุญเลิศกล่าว


*****************************************************************************







 


*  (90.7 KB, 573x325 - ดู 421 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
    กระโดดไป: